วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อย่าลืมรีบยื่นทางอินเตอร์เน็ตนะครับ

จะได้เงินคืนเร็วๆ
sing_sing
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทำยังไงบ้างครับ ลบกวนขอข้อมูลหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เข้าไปที่เวบนี้เลยครับ

www.rd.go.th
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 11

Re: วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

chatchai เขียน:อย่าลืมรีบยื่นทางอินเตอร์เน็ตนะครับ

จะได้เงินคืนเร็วๆ
ไม่คิดว่าจะยื่นได้เร็วขนาดนี้ ขอบคุณมากครับ
ต.หยวนเปียว
Verified User
โพสต์: 1688
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ  :D
ยื่นเสร็จเมื่อตะกี้ครับ  :lol:
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
ภาพประจำตัวสมาชิก
pinklady
Verified User
โพสต์: 778
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เงินปันผลที่เค้าเขียนว่าไม่ได้รับเครดิตภาษีจะลงช่องไหนครับ
1. ดอกเบี้ย (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0)        
  ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ฯ
  ซึ่งผู้รับเป็นผู้ทรงคนแรก (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0)        
2. เงินปันผลจากกองทุนรวมหรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ    (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0)        
3. เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ
       
4.1. เงินปันผลฯ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยที่ต้องเสียภาษีเงินได้
  ในอัตราร้อยละ 30 (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0)        
4.2. เงินปันผลฯ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยที่ต้องเสียภาษีเงินได้
  ในอัตราร้อยละ 10 (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0)        
   (1) เงินปันผลฯ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยที่ต้องเสียภาษีเงินได้
  ในอัตราร้อยละ  (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0)        
   (2) เงินปันผลฯ จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทยที่ต้องเสียภาษีเงินได้
  ในอัตราร้อยละ  (เฉพาะที่ไม่เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0)
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

มีปันผลที่ไม่ถูกหักภาษี 10 % (เป็นของccet) คือจ่ายปันผลหุ้นละ 1.5 ก็ได้ 1.5 เลยไม่มีการหักภาษีนี่ จะลงช่องไหน รบกวนด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4638
ผู้ติดตาม: 56

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เงินปันผล ของบางบริษัทที่ ไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคล แต่มีหัก ณ.ที่จ่าย 10%

และ

เงินปันผล ของบางบริษัทที่ ไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคล และไม่มี หัก ณ.ที่จ่าย 10%

กรอกอย่างไร

ผมกรอกลงไป ในแบบฟอร์ม 40(4) ไม่ได้
เพราะโปรแกรมมันบอกว่าค่าเปอร์เซนต์ ภาษีเงินได้นิติบุคล ต้องมากกว่า 0

เมื่อก่อนผมยื่นที่จังหวัดเขาให้ยื่นรวมไปด้วย
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ต.หยวนเปียว
Verified User
โพสต์: 1688
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

abscisic เขียน:มีปันผลที่ไม่ถูกหักภาษี 10 % (เป็นของccet) คือจ่ายปันผลหุ้นละ 1.5 ก็ได้ 1.5 เลยไม่มีการหักภาษีนี่ จะลงช่องไหน รบกวนด้วยครับ
พวกไม่ได้เครดิตภาษี  ไม่ต้องลงครับ
เอาเฉพาะที่ได้เครดิตภาษี
แยกเป็นกลุ่ม 30%  25% ....
 :)
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 921

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ลูกอิสาน wrote:
             ติดตามคุณ Kao มานานครับ ทราบว่ามีความรู้ด้านภาษี   รบกวนถามนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นคำถามซ้ำๆหรือเปล่า     ผมก็สงสัยเช่นกันครับว่าเราต้องรวมเงินปันผลที่ไม่โดนหักภาษีเป็นเงินได้หรือเปล่า  และถ้าผมต้องการทำให้ถูกต้อง คือนำไปรวม  แล้วผมจะกรอกในช่องไหนครับ เพราะในโปรแกรมของกรม ไม่มีให้กรอกช่องที่เครดิตภาษี 0 %  เคยอ่านเจอว่าให้ไปกรอกในอีกหมวดหัวข้อรายได้อื่นๆ  ทำนองนี้หรือเปล่าครับ  อยากจะทำให้ถูกต้องน่ะครับ  จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร  



คำตอบคุณ Kao ครับ

อย่างที่คุณRogerบอกครับ ตามlinkในข้อที่20 และ 97(1)  ได้ยกเว้นภาษีครับ  http://www.rd.go.th/publish/554.0.html

นอกเหนือจากนี้ต้องยื่นครับ โดยเงินปันผลที่เครดิตภาษีไม่ได้ ให้กรอกในข้อ2ของเงินได้40(4)  "เงินปันผลฯจากกองทุนรวมหรือบรรษัทเงินทุนฯลฯ"            
(พอดีปีที่ผ่านมาผมสงสัยเหมือนกับคุณลูกอีสาน ก็เลยโทรไปถามที่สรรพากรมาครับ)

สรุปนะครับ   ถ้าโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ยื่นทุกรายการ  ถ้าไม่โดนหักภาษี ก็ไม่ต้องยื่นครับ
ผมสรุปอีกทีว่า ถ้าปันผลโดนหักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% แสดงว่าปันผลนี้ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เราต้องยื่นเป็นเงินได้ ไม่ว่าจะเครดิตภาษีได้หรือไม่ก็ตาม หากเครดิตภาษีไม่ได้ ให้กรอกในข้อ2ของเงินได้40(4)  "เงินปันผลฯจากกองทุนรวมหรือบรรษัทเงินทุนฯลฯ

หากปันผลไม่โดนหักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% แสดงว่าเป็นปันผลที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฏหมาย ไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้ครับ :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4638
ผู้ติดตาม: 56

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เมื่อปีที่แล้ว

เงินปันผล ของบางบริษัทที่ ไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคล และไม่มี หัก ณ.ที่จ่าย 10%

ผมก็เข้าใจว่าไม่ต้องนำไปรวมเสียภาษี จึงไม่รวมไป
แต่พนักงานสรรพากร ที่ตรวจสอบการคืนภาษี ที่จังหวัด
เรียกผมไปบอกว่า ให้นำมารวมด้วย เลยผมต้องรวมไปด้วย

มาตอนนี้ก็เลย งง งง
หรือพนักงานสรรพากรที่จังหวัด คนนั้นก็ไม่รู้เรื่อง
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 921

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ครรชิต ไพศาล เขียน:เมื่อปีที่แล้ว

เงินปันผล ของบางบริษัทที่ ไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคล และไม่มี หัก ณ.ที่จ่าย 10%

ผมก็เข้าใจว่าไม่ต้องนำไปรวมเสียภาษี จึงไม่รวมไป
แต่พนักงานสรรพากร ที่ตรวจสอบการคืนภาษี ที่จังหวัด
เรียกผมไปบอกว่า ให้นำมารวมด้วย เลยผมต้องรวมไปด้วย

มาตอนนี้ก็เลย งง งง
หรือพนักงานสรรพากรที่จังหวัด คนนั้นก็ไม่รู้เรื่อง
เจ้าหน้าที่ท่านนั้นอาจจะไม่รู้เรื่องก็ได้ครับ เพราะอาจจะไม่เคยเจอ
ผมก็ยื่นมา 2 ปีแล้ว จังหวัดเดียวกับพี่ โดยไม่ยื่นปันผลที่เครดิตภาษีไม่ได้  จำได้ว่าปีที่แล้วก็ได้คืนครบนะครับ แต่ผมสงสัยว่าอาจจะไม่ถูกต้องนัก ก็ได้อ่านที่คุณ Kao โพสต์ไว้ทำให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้นมากครับ

ปีนี้ผมจะลองทำให้ถูกต้อง คือปันผลที่เครดิตภาษีไม่ได้ จะกรอกในช่อง"เงินปันผลฯจากกองทุนรวมหรือบรรษัทเงินทุนฯลฯ  ครับ


หากเจ้าหน้าที่บอกให้รวมปันผลที่ไม่เสียภาษีหัก ณ.ที่จ่าย เราต้องอ้างตามในเวปกรมดังนี้ครับ เงินได้ที่ไม่ต้องนำมาเสียภาษี..

::เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี::    
           
                 เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี?

                 เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่
                 การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง
                 ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น  
                 เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้

                      1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือ ค่าพาหนะ
                 ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงาน
                 ให้ได้จ่ายไปโดยสุจริต
                 ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน
                 และได้จ่ายไปทั้งหมด ในการนั้น
                      2.
                 ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตรา
                 ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
                      3. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
                 เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็น
                 เพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก
                 หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงแล้ว
                 แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการย้ายกลับถิ่นเดิม
                 และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน
                 นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
                      4.
                 ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้
                 พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ
                 เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส
                 ให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดแล้ว
                 แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้
                 บทบัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม
                 เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัส  ส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงาน
                 อันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475
                 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
                      5. เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน
                 หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าสำหรับข้าราชการสถานทูต
                 หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
                      6. เงินได้จากการขาย
                 หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
                      7. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน
                 ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
                     8. ดอกเบี้ย  ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่
                 ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
                           (1) ดอกเบี้ยสลากออมสิน
                 หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก
                           (2) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
                           (3)
                 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภท
                 ออมทรัพย์เฉพาะ
                 กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน
                 10,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้
                 ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี ประกาศ(มาตรา 42(8))
                           (4)
                 ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศไทยและจากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ในประเทศ
                 เป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน
                 นับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน
                 25,000 บาทต่อเดือนและรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท
                     9. การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์
                 ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
                 แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป
                 เรือกลไฟหรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไปหรือแพ
                   10. เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
                 เงินได้ที่รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี
                 หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
                   11. รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ
                 รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสิน ของรัฐบาล
                 รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน
                 ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน
                 หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิด
                   12. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
                   13. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
                 เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
                   14. เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ
                 หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษี
                 ตามบทบัญญัติในส่วนนี้
                 แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
                   15. เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว
                 อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัว ได้ทำเอง
                   16.
                 เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดกซึ่งได้เสียภาษีเงินได้ไว้ในนามของกองมรดกแล้ว

                   17. รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย
                 เงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุง กาชาดไทย
                   18. ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
                   19.
                 เงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนที่สหกรณ์จ่ายให้แก่สมาชิก

                   20.
                 เงินปันผลที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบการขนส่งทางทะเลและ
                 ถือกรรมสิทธ์เรือไทย
                 หรือที่ประกอบกิจการอู่เรือที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.
                 ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521
                 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ก็ต่อเมื่อได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรแล้ว
                   21. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
                   22. เงินได้ของกองทุนรวม
                   23. เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตน
                 ได้รับจากกองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การประกันสังคม
                   24. เงินได้จากกิจการโรงเรียนราษฎร์ (โรงเรียนเอกชน)
                 แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ
                 การรับจ้างทำของหรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์
                 ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน
                   25.
                 เงินได้จากการจำหน่ายหรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
                   26.
                 เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงานในระหว่างเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าว
                 ซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนิสิตที่เข้ามาศึกษา ณ
                 สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้
                 ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
                   27. เงินได้ส่วนที่เป็น ค่ารักษาพยาบาล
                   28. เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน
                 หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้
                 อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร
                 เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพหรือ
                 เงินค่าอาหารทำการนอกเวลา
                   29. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ
                 ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มี
                 เงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง
                 หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
                   30. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร
                 เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพที่ได้รับจาก รัฐวิสาหกิจ
                 ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
                   31.
                 รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร
                   32. ดอกเบี้ยเงินสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ
                 ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
                   33. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ
                 ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้
                 โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
                   34. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ
                 บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
                   35.
                 ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์เฉพาะเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
                 ซึ่งใช้สมุดคู่ฝากในการฝากถอน
                   36.
                 เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้
                   37. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างและเงินใดๆ
                 บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ที่คนต่างด้าวซึ่งไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก
                         (1)
                 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงาน
                 ในประเทศไทย
                         (2)
                 รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจาก
                 อินโดจีนในประเทศไทย  
                   38.
                 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการ
                 ให้โดยเสน่หาที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล
                 หรือเมืองพัทยาหรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
                 ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท
                 ตลอดปีภาษีนั้น
                   39.
                 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน
                 บุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย
                   40. เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ
                 กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทน
                 ผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
                   41.
                 ดอกเบี้ยพันธบัตรขององค์การของรัฐบาลหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม
                 พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม ทั้งนี้ เฉพาะ
                 พันธบัตรที่จำหน่ายในต่างประเทศและผู้มีเงินได้พึงประเทศนั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
                   42.
                 ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                   43. เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
                 แต่ไม่รวมถึงเงินได้
                 จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
                   44. เงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.
                 2531
                 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อมาระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่
                 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทั้งนี้
                 เฉพาะที่ไม่นำรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิ
                   45. เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร
                 แล้วแต่กรณีจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
                 ที่มิใช่นิติบุคคลหรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
                 ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่เป็นการคำนวณจากเงินได้จากการขายโลหะดีบุกตั้งแต่วันที่
                 1 มกราคม พ.ศ. 2531 สำหรับโลหะดีบุกที่ซื้อระหว่างวันที่
                 กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2530
                 และรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการซื้อและขายโลหะดีบุกดังกล่าว
                   46.
                 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
                 โดยไม่มี ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา
                   47.
                 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
                 โดยไม่มี
                 ค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมนาชินีนาถ
                   48. เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
                 ทั้งนี้ เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน
                 และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
                   49. เงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้
                         (1)
                 ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ
                 ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและมีการจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคา
                 ไถ่ถอน
                 แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้ทรงคนแรก
                         (2)
                 ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ
                 ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก
                 ทั้งนี้ เฉพาะตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ไม่มี
ดอกเบี้ย
                         (3)
                 ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ
                 ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก
                 เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้
                 ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2)
                 แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ย ดังกล่าว ทั้งจำนวนไว้แล้ว
                   50.
                 เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย
                 ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคม ยุโรป
                   51.
                 เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                 พ.ศ. 2535
                   52.
                 เงินได้ที่คณะกรรมการอำนวยการปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทได้รับเพื่อประโยชน์ในการสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่และปรับปรุงพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
                   53.
                 เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละ
                 ไม่เกินสองชุดต่อปีและเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
                   54.
                 เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
                 ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15
                 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 290,000 บาท
                 สำหรับปีภาษีนั้น
                   55. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
                 ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย
                 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ
                 ทุพพลภาพหรือตายดังนี้
                         (1) กรณีเกษียณอายุลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า
                 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
                 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
                         (2) กรณีทุพพลภาพ
                 ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและ
                 แสดงความเห็นว่าลูกจ้างผู้นั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป
                 ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม
                         (3) กรณีตาย
                 ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่
                   56.
                 เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้น
                 ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้
                 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                   57.
                 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์
                 เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน
                 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น
                   58.
                 เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงาน
                 บนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
                   59. เงินได้ที่คณะกรรมการบริหาร "ทุนการกุศลสมเด็จพระเทพฯ"
                 ได้รับเพื่อประโยชน์ ของการกุศลสมเด็จพระเทพฯ
                   60. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
                         (1) บ้าน โรงเรียน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น
                 ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
                         (2) อสังหาริมทรัพย์ตาม (1) พร้อมที่ดิน
                         (3)
                 ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
                 ทั้งนี้เฉพาะกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตาม (1) - (3)
                 ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลา
                 ไม่น้อยกว่า 1 ปี
                 นับแต่วันที่ได้กรรมสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น
                   61.
                 ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
                 และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์
                 หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
                 ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
                 และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
                   62.
                 เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
                 เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
                   63. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
                 ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
                 เนื่องจากออกจากราชการ เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
                 หรือตาย ดังนี้
                        (1) กรณีเหตุสูงอายุ
                        (2) กรณีเหตุทุพพลภาพ
                 สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วย เจ็บ ทุพพลภาพ
                 ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
                        (3) กรณีเหตุทดแทน
                 สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิก หรือ
                 ยุบตำแหน่งหรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดหรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
                        (4) กรณีตาย
                 สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตายในระหว่าง
                 รับราชการ
                   64. เงินได้ที่คณะกรรมการกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติด
                 สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับ
                 เพื่อประโยชน์ของกองทุนลานกีฬาต้านยาเสพติดดังกล่าว
                   65. ดอกเบี้ยพันธบัตรออมสิน รุ่นพันธบัตรเงินฝากช่วยชาติ
                   66.
                 เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ
                 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
                 ได้รับจากศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาทำงาน
                 ในประเทศไทย
                 ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ
                   67.
                 รางวัลบัตรออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                   68.
                 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่
                 วัด วัดบาดหลวงโรมันคาทอลิค หรือมัสยิด
                 ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                 ทั้งนี้เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาทอลิค
                 หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่
                   69.
                 ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
                 หรือบริษัทจำกัดควบเข้ากัน
                 หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามหลักเกณฑ์
                 วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                 ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
                   70.
                 ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
                 แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
                 ทั้งนี้
                 เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย
                 แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
                   71. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
                 สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ
                 หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น
                 ตามจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท
                 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้เฉพาะที่จ่ายให้แก่

                        (1)
                 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                        (2)
                 กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
                 ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                        (3)
                 นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
                 ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจ
                 เพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้
                 เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจ ดังกล่าว
                 เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (1) หรือ
                 (2) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต
                 สหกรณ์หรือนายจ้าง
                   72.
                 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
                 บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์
                 หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อเช่าซื้อ
                 หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคาร
                 ที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น
                 ซึ่งรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท
                 แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งนี้
                 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
                   73.
                 เงินได้เท่าที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์
                 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท
                 สำหรับปีภาษีนั้น
                   74. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) (2) (6) (7) และ (8)
                 แห่งประมวลรัษฎากร
                 และเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิขสิทธิ์ที่มิได้รับโอนมาโดยทางมรดก
                 เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ
                 15 ของเงินได้ ทั้งนี้เงินได้ที่ได้รับยกเว้นข้างต้น
                 เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
                 ต้องไม่เกิน 300,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น
                   75. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
                 ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ
                 ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ
                 ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
                   76. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
                 ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
                 เมื่อครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ
                 ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
                 และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
                   77.
                 ยกเว้นเงินปันผลที่ได้จากการถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
                 ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน
                 และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มาตรา 5 อัฏฐารส
                 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
                 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.
                 2500
                 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
                 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
                   78.
                 ยกเว้นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
                 เพื่อประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน
                 และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตร 5 อัฏฐารส
                 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
                 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500
                 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
                 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545
                   79.
                 ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่กองทุนบำเหน็บบำนาญข้าราชการ
                 ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
                 สำหรับการกู้ยืมเงิน เพื่อซื้อ เช้าซื้อ
                 หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย รวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
                   80.
                 ยกเว้นดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                 แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ย ซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก
                 ทั้งนี้สำหรับสลากออกทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4
                 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
                   81.
                 ยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษีสำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน
                 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
                 เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
                 และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
                 ทั้งนี้สำหรับเบี้ยประกันที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
                 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
                   82.  ยกเว้นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
                           (ก) บ้าน โรงเรือน
                 หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
                           (ข) อสังหาริมทรัพย์ (ก) พร้อมที่ดิน
                           (ค)
                 ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
                          ทั้งนี้
                 เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็นที่อยู่
                 อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ
                 โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
                 นับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น
                 ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
                   83. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล
                 และบุคคลที่ถือว่า อยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้
                 ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
                   84. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการขาย แลกเปลี่ยน
                 ให้โอนกรรมสิทธ์หรือสิทธิครอบครอง
                 ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
                   85.
                 ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา
                 4 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
                 ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่
                 342) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50
                 (5) แห่งประมวลรัษฎากร และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว
                   86. ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย
                 และได้รับเงินส่วนแบ่งของกองทุนรวมที่จัดตั้ง
                 ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
                 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2)
                 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
                   87. ลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(3)(ก)
                 และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
                 สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรประเภทเงินฝากประจำ
                 ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด
                   88.
                 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
                 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
                         (1)
                 ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศ
                         (2)
                 ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วย
                 สหกรณ์ในประเทศ
                   89.
                 เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนแล้ว
                 โดยให้ยกเว้นเท่าจำนวนเงินที่บริจาคให้กองทุนปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์
                 ปีที่ 50
                   90.
                 เงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินเท่าจำนวนเงินที่บริจาคในการจัดสร้างเครื่องทรง
                 พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
                   91. เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้
                 หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
                 ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน
                 การขายสินค้าหรือการให้บริการและการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการ
                 ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
                   92.
                 ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา48(1)
                 เฉพาะส่วนที่ ไม่เกิน 80,000 บาทแรก สำหรับปีภาษีนั้น
                   93.
                 เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

                   94. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า
                 หรือการให้บริการ และการกระทำ
                 ตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
                   95.
                 เงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
                   96. เงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้า
                 หรือการให้บริการ
                 และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโดยนำหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงิน
                 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมาใช้โดยอนุโลม
                   97.
                 เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามกฎหมายอื่นในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
                 พ.ศ. 2520 ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้
                 ดังต่อไปนี้
                        (1)
                 เงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
                 ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล
                 ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น
                        (2) แห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
                 จากผู้ได้รับการส่งเสริมตามสัญญาที่
                 ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีกำหนดระยะเวลา
                 5
                 ปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
                   98. อื่นๆ            
           

           Navigator :  ความรู้เรื่องภาษี > ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา >
           เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เรื่องนี้ผมมีปัญหาเมื่อปีที่แล้วครับ คุณลูกอิสาน .........

คือเอาเฉพาะรายการที่เสียภาษีหรือได้BOI

คํานวนแล้วไม่เสียเพิ่ม  ได้คืนอีกหลายหมื่น .........

ผมก็รอนานมากหลายเดือน เอ ... ทําไมไม่ได้คืนเสียที ..............

อยู่ๆก็มีจดหมายจากสรรพากรเขต  ตามให้ไปจ่ายเพิ่มอีกหลายพัน ..............

มึนตึ๊บเลยครับ  หลายหมื่นไม่ได้คืน แถมโดนเรียกไปจ่ายเพิ่ม ............

ผมลุยสรรพากรเขตเลยครับ ...........

เขาว่าเราคํานวนผิด .............

ผมพิมพ์รายได้ที่ยกเว้นภาษี97ข้อในเว็บสรรพากรพร้อมทั้งพรบ.ส่งเสริมการล

งทุนไปให้เขาดู ...........

เขาก็ยืนยันว่าเราคํานวนผิด ...............

เพราะต้องนํามาคํานวนทุกรายการ  จะเลือกเฉพาะบางรายการไม่ได้ ......

*** ตามหนังสือแนะนําการกรอกภาษี หน้า2 ****

**** กรณี"เลือกนํา" เงินได้ตามมาตรา40(4) มารวมคํานวนภาษีกับเงินได้อื่น  หากได้รับเงินได้หลายรายการ ผู้มีเงินได้จะต้องนําเงินได้ที่ได้รับทุกรายการมารวมคํานวนภาษี   จะเลือกเฉพาะบางรายการไม่ได้ ******
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ถึงแม้ผมจะยืนยันด้วย รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี 97ข้อจากเว็บสรรพากรและพรบ.ส่งเสริมการลงทุน .............

สุดท้ายได้คุยกับหัวหน้าสรรพากรเขต .........

เขาว่าอย่างนี้ครับ ........

ถ้าคุณยืนยันว่าคุณถูก   ให้ยื่นอุธรณ์กับคณะกรรมการภาษีจังหวัดซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

และถ้าไม่พอใจกับคําตัดสินของคณะกรรมการระดับจังหวัด   สามารถยื่นต่อศาลภาษีได้อีก ...........

แต่ที่สําคัญ .............

เขาแนะนําให้ผมจ่ายไปก่อน  ระหว่างที่รอคําตัดสิน
มิฉะนั้นจะมีเบี้ยปรับเพิ่มและต้องถูกอายัดทรัพย์สิน ..................
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 30

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เป็นปัญหาด้านการตีความครับ ซึ่งสองข้อขัดแย้งกันเองเล็กน้อย
ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาข้อไหนขึ้นมาเป็นตัวหลัก

หลังๆ เจ้าหน้าที่สรรพากร ตีความไปในแนวเดียวกับที่คุณ LOSO ว่า
คือถ้าจะยื่นเครดิตภาษี ต้องยื่น "ทั้งหมด"

ได้ยินว่า ปีที่แล้วรัฐเก็บภาษีไม่เข้าเป้า
เลยมีคำสั่งให้ "ไล่บี้" เศษเล็กเศษน้อยให้หมด
ถ้ากำกวม ให้ตีความเข้าข้างรัฐไว้ก่อน
ถ้ามีอุธรณ์ ค่อยพิจารณาเป็นกรณีไป

ปีที่แล้ว กรมสรรพากรสั่งให้ผมจ่ายเพิ่ม
ที่ปรึกษากฎหมายเราก็แนะนำให้จ่ายไปเถอะ ไม่กี่พัน
แต่ภรรยาผมไม่ยอม

เลยไปอุธรณ์ เรื่องไปถึงหัวหน้าเขต จนในที่สุดก็ได้เงินคืนครบ

เผอิญปีที่แล้วผมไม่ได้ซื้อหุ้นที่ได้ BOI เลยครับ
แต่มี PTTEP อยู่ ซึ่งเจ้าหน้าที่นึกว่าเสียภาษี 30%
(หรืออะไรประมาณนี้แหละ จำไม่ได้แล้ว :P)
ต.หยวนเปียว
Verified User
โพสต์: 1688
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 17

โพสต์

:lol:  :lol:  ทำไงดี ผมยื่นทางเนตไปแล้วครับ
ปีที่แล้วไม่เอาที่ได้BOIใส่ไปด้วย (ไม่ได้ยื่นทางเนต)
ก็ไม่มีปัญหาอะไร

ปีนี้เงินปันผลจากกองทุนวายุ  ตามพรบ กองทุน2535
ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะหักค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
เลยตัดทิ้งไป ไม่เอามารวม  :lol:
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 18

โพสต์

สวัสดีครับ

ผมขอ post คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 119/2545  ตัวเต็มข้างล่างครับ โปรดดูข้อ 19 ครับ จากข้อความที่ว่า "ในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี"  ทำให้ผมตีความว่า เงินปันผลที่ไม่ได้รับเครดิตภาษี ไม่จำเป็นต้องนำมารวมครับ  ข้อความที่เขียนไว้ข้างหลังใบภ.ง.ด. คิดว่าเป็นข้อความที่ย่อมาจากข้อ 19 นี้ครับ  ผมเคยค้นกระทู้นี้ใน web ของสรรพากร ก็พบว่ามีคำถามนี้ ที่ถูกถามโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรเองครับ (แสดงว่าเจ้าหน้าที่ก็งงเหมือนกัน)  ผู้ตอบก็ตอบโดยคล้ายๆกับ copy คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 119/2545  ข้อ 19 มาตอบครับ

อย่างไรก็ตาม ผมไม่มั่นใจว่าผมตีความกฎหมายนี้ ถูกต้องหรือไม่ครับ

ณ นคร


คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 119/2545
เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร  
--------------------------------

เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้


ข้อ   1   ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.108/2544 เรื่อง การเครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544


ข้อ   2   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตในการคำนวณภาษี โดยนำอัตราภาษีเงินได้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อย ลบด้วยอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้น ได้ผลลัพธ์ เท่าใดให้คูณด้วยจำนวนเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเครดิตในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   3   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินปันผลเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินปันผลไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   4   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(3) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   5   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร จากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการ ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 262) พ.ศ. 2536


ข้อ   6   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน


ข้อ   7   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและบริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 263) พ.ศ. 2536


ข้อ   8   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงิน ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวจำนวนกึ่งหนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวจำนวนกึ่งนึ่งมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 ทวิ (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500


ข้อ   9   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม หรือได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งของกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลและเงินส่วนแบ่ง ของกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

              (1)  บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

              (2)  บริษัทจดทะเบียน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวทั้งจำนวนมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   10   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามข้อ 6 ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายจากเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ตามข้อ 7ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   11   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และเป็นเงินปันผลที่เข้าลักษณะตามข้อ 8 และข้อ 9 ผู้ได้รับเงินปันผลได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   12   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่า ไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจ่ายเงินปันผลซึ่งเป็นเงินปันผลที่จ่ายจากกำไรทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นตามข้อ 10 และกำไรจากการประกอบกิจการตามข้อ 11 ผู้จ่ายเงินปันผลจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่า เงินที่ได้จ่ายนั้นจำนวนใดได้รับเครดิตภาษี และจำนวนใดไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   13   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้หลายอัตรา เมื่อจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้จะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือ เงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด

              กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง จ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และผู้จ่ายเงินได้ไม่สามารถทราบโดยชัดแจ้งว่าจ่ายจากเงินกำไรหลังจากเสียภาษีในอัตราใด ผู้จ่ายเงินได้ต้องเฉลี่ยเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามส่วนของกำไรหลังจากเสียภาษีในแต่ละอัตราภาษี และจะต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ชัดเจนว่าเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายนั้นจำนวนใดได้มาจากกิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราใด


ข้อ   14   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี หรือนำไปใช้เครดิตภาษีถูกต้องตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   15   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่ใช้เครดิตภาษีไม่ถูกต้อง โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้ รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีเงินได้ต้องรับผิดตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจากผู้มีเงินได้ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   16   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้มิได้นำไปใช้เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   17   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้จะได้รับเงินภาษีคืนเกินไป หากผู้มีเงินได้ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืน หรือได้รับเงินภาษีคืนแต่ยังไม่เกินกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ผู้จ่ายเงินได้และผู้มีเงินได้ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   18   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายเงินปันผลแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง และผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกิน ไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเรียกคืนเงินจำนวนดังกล่าวหรือประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ผู้จ่ายเงินได้ก่อน แต่ถ้าเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้จ่ายเงินได้ไม่ได้หรือไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจเรียกคืนเงินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 18 แห่งประมวลรัษฎากร

              กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินปันผลจากผู้จ่ายเงินได้หลายราย และผู้จ่ายเงินได้บางรายแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12 และข้อ 13 ไม่ถูกต้อง หากผู้มีเงินได้นำไปใช้เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยเครดิตภาษีที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ อันเป็นเหตุให้ผู้มีเงินได้ได้รับเงินภาษีคืนเกินไปหรือชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งแสดงข้อความที่กำหนดให้ต้องระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ถูกต้อง ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ตามจำนวนเงินภาษีที่ได้รับคืนเกินไปหรือเงินภาษีที่ชำระไว้ไม่ครบถ้วน ตามมาตรา 47 ทวิ วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร


ข้อ   19   กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 11 ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นก็ได้ ในกรณีเลือกนำไปรวมคำนวณกับ เงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และในกรณีที่ได้รับเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีจากผู้จ่ายหลายราย ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้ดังกล่าวที่ได้รับในปีภาษีทุกรายมารวมคำนวณภาษี ไม่สามารถเลือกเฉพาะบางรายนำมารวมคำนวณภาษีเพื่อได้รับเครดิตภาษี


ข้อ   20   บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใด ที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้เป็นอันยกเลิก  



 
สั่ง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
วิชัย จึงรักเกียรติ
(นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
รองอธิบดี รักษาราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ผมจำได้ว่า รายได้ที่ไม่สามารถเครดิตภาษีได้นั้น

ในใบที่หักภาษีจะบอกว่า

เป็นรายได้ที่ไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีได้

ดังนั้นผมคิดว่าก็ไม่ควรนำมารวมเพื่อแจ้งรายได้ เพราะผมก็ยื่นเฉพาะที่เครดิตได้

อีกอย่างมีคำว่า เลือก อยู่ แสดงว่าจะรวมหรือไม่รวมก็ได้

เพราะถ้าบอกว่า ต้องนำมารวมทั้งหมด นี่สิคือว่าต้องรวม

หรือว่าผมเข้าใจผิด
Expecto Patronum!!!!!!
Neohapsis
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เข้าไปกรอกดูแล้วค่ะ แต่มีปัญหาคือจำนวนเงินที่ระบบคำนวณมาให้ไม่ได้รวมเงินปันผลที่เครดิตภาษี รวมเฉพาะยอดเงินปันผลที่ได้ทั้งหมดโดยที่ยังไม่ได้หักภาษี

ต้องไปใส่ข้อมูลเพิ่มตรงไหนคะ

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 921

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เอ..ยังไงกันครับเนี่ย :roll:  ฟังเพื่อนๆหลายท่านแล้วชักงงๆ
แต่ผมอยากให้เหมือนที่ท่าน ณ.นคร ตีความนะครับ
คือถ้าหากเครดิตภาษีได้ ต้องนำไปรวมทุกรายการ
ถ้าเครดิตไม่ได้ ไม่ต้องรวม

แต่เวลายื่นจริงๆ ผมจะยื่นตามที่คุณ Kao แนะนำครับ
เหตุผลก็คือ ถ้าหากมีการหักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% ก็แสดงว่าปันผลนั้นต้องเสียภาษี ไม่ว่าจะเครดิตได้หรือไม่ก็ตาม(ขอหักไว้ก่อน เผื่อเราเลือกจ่าย 10% ไม่เครดิตภาษี) แต่หากไม่หัก ก็แสดงว่าเงินปันผลนั้นไม่ต้องเสียภาษี   ดูมีเหตุมีผลดีไหมครับ


ถ้าหากต้องอุทธรณ์ก็คงต้องทำครับ เพราะปันผลที่ได้ boi ก็มากโขอยู่ครับ  กรณีคุณ LOSO คดียังไม่สิ้นสุด อาจจะชนะก็ได้นะครับ

กรมสรรพากรนี่ก็แปลก ทำไมต้องให้ตีความกันไป บอกให้ชัดๆไปเลยก็จบแล้ว ไม่ต้องเสียเวลา เสียอารมณ์ไปฟ้องร้อง เรื่องง่ายๆก็ทำให้ยาก ถ้าทำให้เป็นกฏชัดเจนก็หมดเรื่อง ทุกคนต้องทำตามกฏหมายอยู่แล้ว   หรือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ครับ เพราะคนเขียนโปรแกรมในเวป ยังไม่มีช่องให้กรอกเครดิตภาษี 0% เลยครับ    

ปีนี้ยื่นแล้วจะมาเล่านะครับว่าเป็นอย่างไร

ปีที่แล้ว เครดิตไม่ได้ผมไม่ยื่น แต่ได้คืนครับ แต่กว่าจะได้ไปที่เขตหลายรอบ ถามว่าทำไมขอเอกสาร หรือเพราะผมขอคืนเยอะหรือเปล่า เค้าบอกว่าเปล่า แต่เลือกสุ่ม 5% และผมเป็นหนึ่งในนั้น

คงยื่นอีก 1-2 เดือนครับ รอหนังสือหักภาษี ณ.ที่จ่ายของภรรยา :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เออรบกวนถามอีกข้อครับ คือช่อง"เงินได้พึ่งประเมิน" เนี่ยต้องกรอกปันผลที่ได้ก่อนหักภาษี 10% หรือกรอกเงินที่ได้รับจริงๆ(หลังหักภาษี) :oops:
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เดี่ยวยิ่งแปลกใหญ่  ผมซื้อตึกหลังหนึ่ง
และขอมิเตอร์ไฟฟ้าใหญ่หน่อย  และปล่อยเช่า
คนเช่าอยู่ได้สัก8 เดือน สรรพกร มาตรวจ
สงสัยว่าทำไมใช้มิเตอร์ตัวใหญ่  ทำอะไรหรือเปล่า

ผมเลยงง  รีบเอาสัญญาเช่า  ไปให้ดูพร้อม หลักฐานการ
เสียภาษี  

ผมว่าหมู่นี้  เจ้าหน้าที่ เขาสังเกตอะไรหลายอย่างจัง
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4833
ผู้ติดตาม: 171

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ผมขอคืนมา 2 ปี
ขอหลักฐานทั้ง 2 ปีเลยครับ
แต่ก็ไม่มีอะไรมาก เค้าขอมาผมก็ส่งใบปันผลไปทาง EMS แป๊บเดียวก็จบ
Stock Broker
Verified User
โพสต์: 2509
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 25

โพสต์

[quote="ลูกอิสาน"]ผมสรุปอีกทีว่า ถ้าปันผลโดนหักภาษี ณ.ที่จ่าย 10% แสดงว่าปันผลนี้ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เราต้องยื่นเป็นเงินได้ ไม่ว่าจะเครดิตภาษีได้หรือไม่ก็ตาม หากเครดิตภาษีไม่ได้ ให้กรอกในข้อ2ของเงินได้40(4)
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 1

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 26

โพสต์

พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
พ.ศ.2520


ภูมิพลอดุลยเดช
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ไม่เคยขอคืนเลยครับ อยากถามผู้ที่เคยยื่นหน่อยครับว่าเงินปันผลนี่ถ้าได้ตอนกลางปี 2548 ก็ต้องรอมาขอคืนตอนต้นปี 2549 เลยหรือครับ มีเร็วกว่านี้มั๊ยครับ  :?:
It's earnings that count
ภาพประจำตัวสมาชิก
abscisic
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 180
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 28

โพสต์

เออรบกวนถามอีกข้อครับ คือช่อง"เงินได้พึ่งประเมิน" เนี่ยต้องกรอกปันผลที่ได้ก่อนหักภาษี 10% หรือกรอกเงินที่ได้รับจริงๆ(หลังหักภาษี)  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
stp
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 252
ผู้ติดตาม: 0

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 29

โพสต์

CK เขียน: ได้ยินว่า ปีที่แล้วรัฐเก็บภาษีไม่เข้าเป้า
เลยมีคำสั่งให้ "ไล่บี้" เศษเล็กเศษน้อยให้หมด
ถ้ากำกวม ให้ตีความเข้าข้างรัฐไว้ก่อน
ถ้ามีอุธรณ์ ค่อยพิจารณาเป็นกรณีไป
ผมว่า point มันอยู่ตรงนี้แหละครับ
ปีก่อนขอคืน สองหมื่น ได้มาแค่ครึ่งเดียวใช้เวลาคืนก็นานมากๆ
ถ้าเป็นพนักงานคืนไม่กี่ร้อยสองสามอาทิตย์ก้อได้

งบประมาณสมดุลตามนโยบายรัฐบาล
ดูงบใช้จ่าย รายรับก้อต้องรีดเพิ่มตาม

ยังดีปีก่อนโน้นธุรกิจที่บ้านโดนรีดย้อนหลังจ่ายไป สองแสนกว่า จากตอนแรกขอ แปดกว่าๆ

น่ากัวจิงๆ

(^_^')
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 921

วันนี้คุณยื่น ภงด.90 กันหรือยัง

โพสต์ที่ 30

โพสต์

[quote="abscisic"]เออรบกวนถามอีกข้อครับ คือช่อง"เงินได้พึ่งประเมิน" เนี่ยต้องกรอกปันผลที่ได้ก่อนหักภาษี 10% หรือกรอกเงินที่ได้รับจริงๆ(หลังหักภาษี)
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว