บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
au
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 306
ผู้ติดตาม: 32

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อ่านงบ  cwt  มีเขียนว่า

บริษัทมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 53.441 ล้านบาท

งงมาก  เห็นตั้งกำไร 4 บาท    แต่งงตรง  กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้

มันไม่ใช่กำไรจริงใช่ไหมครับ  และ  เอามาจ่ายปันผลได้ไหมครับ

รบกวน  ช่วยแนะนำให้ทีนะครับ  

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

การปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร

ในความหมายอย่างกว้างนั้น การปรับโครงสร้างหนี้ คือกระบวนการอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ในขณะนั้น หรือมีแนวโน้มว่าในอนาคตโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ซึ่งทำไว้แต่เดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้

การที่โครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น

ประเภทของสินเชื่อ และวงเงินสินเชื่อที่ลูกหนี้ขอใช้จากสถาบันการเงินสำหรับธุรกิจของลูกหนี้ ไม่เหมาะสมกับสภาพของธุรกิจ เช่นลูกหนี้ใช้สินเชื่อระยะสั้น (Working Capital) ในประเภทของธุรกิจซึ่งควรจะใช้สินเชื่อระยะยาว (Long Term Financing) มากกว่า เป็นต้น หรือวงเงินสินเชื่ออาจมากเกินไป หรือน้อยเกินไป

ลูกหนี้มีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจที่ประกอบอยู่ทำให้สภาพ และความจำเป็นของสินเชื่อ และหนี้ที่มีอยู่ต่อสถาบันการเงินต้องเปลี่ยนแปลงไป

ในกรณีดังกล่าวข้างต้น การปรับโครงสร้างหนี้มักจะทำได้โดยการที่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ (ซึ่งโดยมากมักจะเป็นสถาบันการเงิน) จะตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และข้อกำหนดในสัญญาสินเชื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีสภาพของสินเชื่อ และหนี้ที่เหมาะสมกับสภาพของธุรกิจของลูกหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ในกรณีนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "การปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งไม่ใช่กรณีที่ลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่อง"

นอกเหนือจากการปรับโครงสร้างหนี้ข้างต้นแล้ว การปรับโครงสร้างหนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีปัญหาสภาพคล่องดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ในแบบหลังนี้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็น "การปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้มีปัญหาสภาพคล่อง" ซึ่งการปรับโครงสร้างนี้ในแบบนี้ มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

โดยทั่วไปแล้ววิธีการปรับโครงสร้างหนี้ อาจแยกตามลักษณะของความเสียหาย หรือสูญเสียซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้จะได้รับดังนี้

1. การปรับโครงสร้างหนี้ โดยไม่มีส่วนสูญเสียเกิดขึ้น คือการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน แม้ว่าหนี้ที่ได้รับชำระจะล่าช้าไปบ้าง หรือวิธีการในการชำระหนี้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ที่สำคัญ คือเจ้าหนี้จะต้องได้รับหรือถือว่าได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน

ตัวอย่างของการปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะนี้คือ การขยายเวลาการชำระหนี้ การปรับหนี้ระยะสั้นให้เป็นหนี้ระยะยาว การรับโอนทรัพย์สินอย่างอื่นเพื่อชำระหนี้ทั้งจำนวน (ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขให้สิทธิลูกหนี้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนหรือไม่ก็ตาม) การให้ระยะเวลาปลอด หรือพักการชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ย (เรียกว่าเป็นการให้ Grace Period ในการชำระหนี้) การแปลงหนี้เป็นทุนทั้งจำนวนเป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่มีส่วนสูญเสียเกิดขึ้น ย่อมเป็นยอดปรารถนาของฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายเจ้าหนี้มักจะพยายามให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่มีส่วนสูญเสียเกิดขึ้นคงต้องดูสถานะ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังอาจมีการใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่มีส่วนสูญเสียในหนี้บางประเภทร่วมกับการปรับโครงสร้างหนี้โดยมีส่วนสูญเสียสำหรับหนี้ประเภทอื่นของลูกหนี้รายเดียวกันก็ได้

2. การปรับโครงสร้างหนี้โดยมีส่วนสูญเสียเกิดขึ้น มีลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน ซึ่งหนี้ที่ไม่ได้รับคืนนั้นอาจจะเป็นส่วนของเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือหนี้ประเภทอื่นๆ ก็ได้ โดยฝ่ายเจ้าหนี้จะต้องปลดหนี้ส่วนที่ไม่ได้รับคืน (ส่วนสูญเสีย) ให้แก่ฝ่ายลูกหนี้ ส่วนสูญเสียของเจ้าหนี้นี้ในทางการเงินการธนาคารมีสำนวนเรียกว่า Hair-cut คือเป็นส่วนสูญเสีย หรือผลขาดทุนจากการไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวน

ตัวอย่างของการปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะนี้ คือ การลดอัตราดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมให้แก่ลูกหนี้ การลดต้นเงิน ดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมค้างรับ การรับโอนทรัพย์สินอื่นเพื่อชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วน การแปลงนี้เป็นทุนทั้งหมด หรือบางส่วน เป็นต้น
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เพิ่มเติมที่นี่นะครับ
siamlaw.co.th/publications/t1.htm

ผมตอบแทนในฐานะที่ทำให้ผมได้รู้จักกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ครับ
ถ้าไม่ถาม ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

สำหรับความเห็นผม มันไม่ใช่รายได้หลักจากการดำเนินงาน หรือความต้องการใช้สินค้าของบริษัท ผมถือว่าไม่ดี

และไม่รู้ว่าเขาได้รับการปรับโครงสร้างจากการลดดอกเบี้ย ให้ชำระโดยให้สินค้า หรือ ยืดเวลาในการจ่ายหนี้หรือเปล่า ฉะนั้นอาจไม่ได้เป็นตัวเงินสดด้วยครับ แค่เป็นการตามในสิ่งที่ควรจะได้

ถ้าความเห็นผมผิด หรือมีเรื่องอะไรน่าสนใจเพิ่มเติม
รบกวนผู้รู้แก้ไขให้ด้วยครับ

เพราะผมก็เพิ่งรู้วันนี้เหมือนกัน อิอิ
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
tanavut
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าเคยสำรองเผื่อหนี้จะสูญไปแล้ว
ปรับโครงสร้างหนี้ ที่เคยคิดว่าสูญ มันไม่สูญแล้ว
ก็เป็นกำไรสิคับ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

บริษัทมี กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ มันคืออะไรครับ งง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ในความเข้าใจของผม เช่น

มีบริษัทฯหนึ่งเกิดขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนกลายเป็นลูกหนี้ NPL
ส่งผลให้บริษัทฯเบี้ยว คือ ไม่ส่งทั้งเงินต้น และไม่ส่งดอกเบี้ย
แบงค์ก็เลยคำนวณทั้งดอกเบี้ย และค่าปรับผิดชำระหนี้ เอาไว้

แต่ถ้าบริษัทฯและแบงค์ได้มาคุยกัน เจรจากัน
ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ทั้งหมด เช่น

"ต่อไปบริษัทฯตกลงจะจ่ายเงินคืนแบงค์เดือนละเท่าไหร่ เป็นเวลากี่เดือน
โดยทั่วไปมักจะตกลงกันเป็น Sliding Scales
คือช่วงแรกน้อยหน่อย แล้วค่อยๆเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตามสมมุติฐานว่าบริษัทฯจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้น

ท้้งนี้แบงค์จะเชื่อใจลูกค้าได้
บริษัทฯนั้นอาจต้องมีการจดจำนองที่ดินเพื่อให้แบงค์อุ่นใจว่า ถ้าเอ็งไม่คืน ข้ายึด!!!
แปลว่าแบงค์ได้กำลังจะได้เงินคืน(จากเดิมไม่เคยได้ เพราะลูกค้าเบี้ยว ไม่จ่ายเลย) และแบงค์มีหลักทรัพย์มาวางเพิ่ม รวมทั้ง NPL ของแบงค์ก็จะลดลง
จะเห็นว่าแบงค์ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งๆที่บางทีแบงค์แทบจะแทงเป็นหนี้สูญไปแล้ว

ดังนั้นเมื่อตกลงกันได้เช่นนี้ คือ ลูกค้ายอมจ่าย และเอาหลักทรัพย์มาวางเพิ่ม
แบงค์จึงมักจะลดดอกเบี้ย หรือยกเว้นค่าปรับให้
ซึ่งจะทำให้กลายเป็นกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกค้า

ถือว่าเป็น win-win ครับผม ทั้งแบงค์และลูกค้า

ผิดถูกอย่างไร ช่วยแก้ไขด้วยนะขอรับ
(NPK น่าจะเคยเกิด Case นี้มาแล้วเช่นกัน)

(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
โพสต์โพสต์