ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 1

ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หรือกำไรที่แท้จริงมาจากเงินบาทอ่อนคับ
หรือว่ากำไรน้อยไป
หรือว่ากำไรขั้นต้นต่ำไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
infinity
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ส่วนใหญ่ ส่งออกจะมีการเซ็น contract กันไว้ล่วงหน้าแล้ว
ซึ่งโดยปกติจะมีรายรับเป็นดอลล่าห์ แต่มีรายจ่ายเป็นบาท
ทำให้ได้รับกำไรน้อยลงครับ
รวมถึงในระยะยาวที่ประมาณการส่งออกอาจจะลดลงด้วย
เช่น สมัยก่อนสั่งจากไทยถูกกว่า แต่ถ้าดอลล่าห์อ่อนค่าลงมากๆ
อาจจะซื้อจากในอเมริกาเองได้ถูกกว่า
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 28

ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เราไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดสินค้าและกำหนดราคาครับ เพราะฉะนั้น
ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงจะทำให้ราคาสินค้าเรา
fluctuate หรือไม่ก็ต้อง absorb losses

อีกอย่าง ต้นทุนบ้านเราขึ้นทุกวันครับ ค่าแรงขั้นต่ำ ขึ้นแล้วขึ้นอีก
ในขณะที่ประเทศจีน เวียดนาม และอินเดีย ค่าแรงค่อนข้างคงที่
ทำให้ต้นทุนโดยรวมค่อนข้างจะคงที่ เลยกำหนดราคาขายได้ง่าย

สินค้าทุกตัวที่เราส่งออก มีคู่แข่งซึ่งถ้าไม่ใช่จีนก็อินเดีย ไม่อินเดีย
ก็เวียดนาม

ตอนนี้แรงงานเราฝีมือสูงกว่า แต่ในอนาคตสิบปี จีนไล่เราทัน
แน่นอนครับ ส่วนเทคโนโลยี ขอเพียงเงินถึง ซื้อได้อยู่แล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ch_army
Verified User
โพสต์: 1352
ผู้ติดตาม: 2

ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ค่าเงินอ่อนน่าจะส่งออกดีนะครับ แต่กำไรขั้นต้นต่อชิ้นอาจจะลดลง
แต่คงได้จำนวนมาชดเชย
ส่วนค่าเงินแข็งเนี่ยส่งออกลำบากเพราะของเราแพง
แต่เค้าก็ประกันค่าเงินกันไว้แหละครับ พวก บริษัทในตลาดก็ไม่ใช่ขี้ไก่นิ
http://inspirationword.blogspot.com

-กำลังใจ มีอยู่ในตัวคุณ-
-พัฒนาทัศนคติ สู่ชีวิตแห่งชัยชนะ-
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 1

ทำไมผู้ส่งออกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จริงๆแล้วค่าเงินอ่อนก็ใช่ว่าจะดีสำหรับส่งออกซะทีเดียว ประเด็นแรกตามตำราเลยครับทฤษฎี J-curve effect คือการที่ค่าเงินอ่อนลงจะไม่ได้ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นในตอนต้น แต่ยอดขายกลับจะลดลงเนื่องจากผู้นำเข้าจะชะลอการซื้อเพื่อดูค่าเงินจนนิ่งจึถึงจะเริ่มนำเข้าทำให้กราฟปริมาณการส่งออกจะเคลื่อนเป็นรูป J อีกประเด็นคือการกดราคา ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างน่ากลัวกว่าคือทางผู้นำเข้าอาจหาเหตุอ้างเรื่องค่าเงินในการกดราคาแต่พอค่าเงินแข็งขึ้นกลับยืนราคาเดิม(ตรงนี้แหละครับขึ้นกับคุณภาพสินค้า+อำนาจต่อรอง)
ล็อคหัวข้อ