สรุป หนังสือ CHIPWAR by Seminar Knowledge page

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2646
ผู้ติดตาม: 273

สรุป หนังสือ CHIPWAR by Seminar Knowledge page

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สรุปหนังสือ CHIPWAR
เขียนโดย CHRIS MILLER ซึ่งเคยเขียนหนังสือมาแล้วสามเล่ม และ จบโทและเอกจากมหาวิทยาลัยเยล
ถ้าใครศึกษาบริษัทเทคโนโลยีที่ผลิตCHIPต้องไม่พลาด จะได้เข้าใจความเป็นมาของบริษัทต่างๆเช่น
TSMC , SMIC , SAMSUNG , INTEL , NVIDIA , AMD ,APPLE, TI เป็นต้น
หรือใครเรียนทางด้านวิศวะ อิเลคทรอนิคส์ หรือ วิศวะ คอม ก็จะได้รู้ความเป็นมาของสายที่เรียนมาว่าเกิด
ขึ้นมาได้อย่างไร

เริ่มเรื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดสงครางเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียต และเทคโนโลยี
ด้านอวกาศของรัสเซีย เจริญล้ำหน้าสหรัฐไป (เหมือนกับอาวุธนิวเคลียร์ ที่เดิม เยอรมันก้าวหน้ากว่าสหรัฐไปมาก)
ดังนั้นเพนตากอนเลยต้องรีบพัฒนายานอวกาศเพื่อแข่งขันกับสปุกนิค ก็เป็นโอกาสของบริษัทแฟร์ไชลด์ เซมิคอนดักเตอร์
ที่พึ่งแยกตัวมาจากชอกลีย์ ผู้ค้นพบ ทฤษฏี Solid state valve ซึ่งจะมาทดแทน หลอดสุญญากาศ ที่เทอทะ และประสิทธิภาพต่ำ

ผู้ก่อตั้งแฟร์ไชลด์ หลักๆคือ โรเบิร์ต นอยซ์ เป็นผู้คิดค้นวงจรรวม (Intergrate circuit) ในปี1959
และ กอร์ดอน มัวร์ ซึ่งเรารู้จักเขาดีในฐานะผู้คิดค้น กฎของมัวร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าพลังของการประมวลผลของชิปจะเพิ่มขึ้นสองเท่า ซึ่งได้โอกาสในการผลิตICให้กับนาซ่า สหรัฐ และเริ่มเข้าสู่ตลาดลูกค้าอื่นๆด้วยกลยุทธ์ลดราคาลง
เนื่องจากเจ้าของบริษัทแฟร์ไชลด์ ไม่ยอมแบ่งหุ้นกับผู้ก่อตั้ง พนักงานเริ่มลาออกจากบริษัทไปตั้งบริษัทใหม่

หลังจากที่ นอยซ์และมัวร์หันหลังกับแฟร์ไชลด์ และมาก่อตั้งบริษัท Intel และเปิดตัวสินค้าแรกคือหน่วยความจำ DRAM
และเปลี่ยนรูปแบบจาก magnetic core มาเป็นใช้ชิปซิลิคอนแทน ทำให้ข้อผิดพลาดลดลงและขนาดเล็กลงด้วย
ซึ่งชิปซิลิคอนนี่เอง ที่ทำให้ศจ คาร์เวอร์ มี้ด ทำนายว่าปี 1972 ทุกด้านของสังคมจะปกคลุมไปด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ
คอมขนาดจิ๋วซ่อนอยู่ในโทรศัพท์ เครื่องซักผ้า หรือรถของเรา (ซึ่งปัจจุบันคำทำนายเป็นจริงแล้ว)

ข้ามฟากมาที่เอเชีย ช่วงที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม แต่สหรัฐก็อยากให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี เลยทำให้เด็กหนุ่มคนนึง ชื่อว่า อากิโอะ โมริตะ หันเหจากธุรกิจเดิมคือ พ่อค้าสาเก หลังจากพบปะผู้บริหารของAT&T และขอใบอนุญาตผลิตทรานซิสเตอร์ ทำให้เขาและอิบุกะตัดสินใจผลิตทรานซิสเตอร์ให้คนญี่ปุ่นและคนทั่วโลกในนานโซนี่
ซึ่งข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงถูก และตั้งราคาตั้ง ต่างกับ TI ซึ่งตั้งราคาและการตลาดผิดพลาด และล้มเลิกธุรกิจอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ อากิโอะยังได้ชักชวน TI มาตั้งโรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งตอนนั้นต้องทำแบบหลบซ่อน ทำให้ต่อมาอากิโอะ กลายเป็น
นักธุรกิจที่โด่งดังจากสองฝากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ปี1979 โซนี่เปิดตัว Walkman เครื่องเล่นเพลงพกพา ถือว่าล้ำมากในช่วงนั้น ทุกคนต้องมีไว้พกพาฟังเพลงจากเทปม้วน
ส่วนตลาด DRAM ที่ญี่ปุ่น ได้เปรียบจากการเข้าถึงเงินทุนที่ถูกกว่าสหรัฐ ผู้ผลิตชิปอย่างฮิตาชิและมิตซูบิชิถึงแม้ยังทำกำไรไม่ได้ตอนนั้นแต่ยังมีสายป่านยาวกว่าเจ้าอื่น ทำให้กินmarket shareเพิ่ม ทำให้ Intel มีส่วนแบ่งลดลงเหลือ 1.7%

เจอร์รี แซนเดอร์ส ซีอีโอ ของ AMD เคยทำงานที่แฟร์ไชลด์ เหมือนกับ มัวร์ และ แอนดี้ โกรฟ หลังแยกตัวมาตั้ง AMD
ก็เป็นคู่แข่งกับ มัวร์ ที่ Intel มีข้อพิพาทด้านสินทรัพย์ทางปัญญามาตลอด ตลอดทาง AMD จะตามหลัง Intel มาตลอด
จนกระทั่งเมื่อปีก่อน สามารถแซงIntelขึ้นมาได้ ด้วยการผลิตchipที่มีขนาดเล็กกว่า Intelได้

ศัตรูของศัตรู คือมิตรแท้ของสหรัฐ เนื่องจากต้องการกีดกันญี่ปุ่นหลังโตเร็วมาก จึงสนับสนุนเกาหลี คือ SAMSUNG
ผลิต DRAM มาแข่งกับญี่ปุ่น

ตัดมาที่ไต้หวัน เค ที หลี่ รัฐมนตรีผู้มีอำนาจ เรียกตัว มอร์ริส ชาง (ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่ TI และเป็นผู้ที่ติดต่อกับหลี่เพื่อมาตั้งฐานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในไต้หวัน )มาที่สนง ของเขาที่ไทเป โดยจ้างชางให้มาเป็นผู้นำอุตสาหกรรม
ชิปของไต้หวัน ชางตัดสินใจลาออกจาก TI และไต้หวันให้ทุนเริ่มต้น48%ในการก่อตั้ง TSMC ซึ่งช่วงแรกอาศัยสายสัมพันธ์กับสหรัฐ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักออกแบชิปในสหรัฐ

คู่แข่งของไต้หวัน คือ จีน วิศวกร นาม เหรินเจิ้นเฟย ได้ก่อตั้งบริษัท หัวเหว่ย ช่วงนั้น จีนทำผิดพลาดเรื่องนโยบายเกี่ยวกับ
เทคโนโลยี ทำให้ล้าหลังประเทศอื่นหลายปี เหรินเจิ้งเฟยเริ่มธุรกิจอิเลคทรอนิคส์ช่วงปลายทศวรรษ1980 ดังนั้นต้องพึ่งพา
ชิปจากต่างประเทศ นำเข้าจากสหรัฐ ญี่ปุ่นและไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ

ริชาร์ค ชาง เป็นมิชชั่นนารีผู้นำพาการผลิตชิปขั้นสูงมาจีน เคยทำงานที่TI และเป็นผู้ก่อตั้ง SMIC ในปี2000
โดยระดมทุนจาก โกลด์แมน แซคส์ โมโตโลร่า และ โตชิบา กลยุทธ์คือทำตามที่ TSMC เคยทำมาก่อนในไต้หวัน

ได้เวลา ตัวละครอีกตัว ขึ้นเวที คือ สตีฟ จ็อบส์ ปี 2006 ร่วมมือกับ Intel นำcpu x86มาใช้กับพีซีของapple
หลังจากนั้น จ็อบส์ มาหาintelใหม่เพื่อคุยเรื่อง การทำcpu สำหรับมือถือ iphone ปรากฏว่าตกลงกันไม่ได้
เลยหันไปใช้สถาปัตยกรรมของ ARM ซึ่งแตกต่างจาก x86 ซึ่ง ARMปรับใช้ได้กับอุปกรณ์พกพาที่ใช้พลังงานต่ำ
ถือเป็นข้อผิดพลาดที่intelไม่ยอมร่วมมือกับจ็อบส์ทำ iphone ทำให้รายได้สูญหายไปมหาศาล

คิดว่าคงได้ข้อมูลสามารถปะติปะต่อ ทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของแต่ละบริษัทได้ดีขึ้น ถ้าต้องการรายละเอียดแนะนำ
อ่านต้นฉบับ หรือ ฉบับแปลของARROW โดย คุณ ศักดิ์ชัยและแพรพิไล จันทร์พร้อมสุขได้ครับ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: สรุป หนังสือ CHIPWAR by Seminar Knowledge page

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เล่มนี้บอกเลยว่า อ่านแล้วปวดหัว เนื่องจาก เจอคำศัพท์ ที่แปลกประหลาด แปลแบบไม่ไหลลื่น เหมือน ไม่ได้หยดน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์ประมาณนั้น
แต่ถ้าหากอ่านเอาสาระ ว่าความเป็นมาเป็นไปอย่างไร มันจะเห็นได้ว่า
Chip มาจาก อังกฤษ -> เติบโต ที่ US ด้านตะวันออกและตะวันตก โดยภาคในหน่วยงานทางด้านทหารก่อนเลย
จากนั้น เติบโตต่อที่ NASA แล้ว ต่อด้วย แฟนชายด์ ซิมิคอนดักส์เตอร์ เป็นตัวกลางเลย
ุทุกอย่างมาจากจุดนี้ เลย การแตกเพื่อเติบโต มาจากการแตกออกจาก แฟนชายด์ เป็น Intel และ AMD
ซึ่ง ฮ่องกงและจีนก็เข้ามาในห่วงโซ่ เพราะมือของสาวๆ ที่จัดเรียงแผงวงจร ที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนมือคนไม่สามารถจัดเรียงได้นั้นเอง
เรียกได้ว่า จีน อยู่ในห่วงโซ่ของการผลิต Chip ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว

ส่วนรัสเซีย (ในตอนที่เป็นสหภาพโซเวียต) นั้นลักลอบส่ง สปาย เข้ามาล่วงความลับ จาก US เลยทีเดียวแล้วไปพัฒนาต่อ ซึ่งพัฒนาตามหลัก US
แต่ที่สังเกตของหนังสือเล่มนี้ คือ การเล่นเรื่อง ประวัติศาสตร์ว่าใครทำอะไร ที่ไหนอย่างไร และ ความเกี่ยวข้อง ที่เป็นห่วงโซ่นั้นเอง

ดังนั้นการแบ่งห่วงโซ่ แล้ว สิ่งที่ US ดึงการผลิตชิปกลับไปที่ตัวเอง และการบอกห้ามส่งชิปได้นั้นคือ คำว่า สิทธิบัตร ที่ US ครอบครองไว้นั้นเอง
เป็นตัวบีบ ให้ทำได้นั้นเอง

เล่มนี้อาจจะหายไปจาก ร้านหนังสือเร็วหน่อย แต่ทว่าน่าเก็บไว้อีกเล่มหนึ่ง เพราะมันคือประวัติศาสตร์จริงๆ
:)
โพสต์โพสต์