สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1895
ผู้ติดตาม: 314

สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมอยู่ในตลาดหุ้นมานานและสังเกตเห็นว่า สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะแยกแนวทางการลงทุนระหว่างนักลงทุนกลุ่มหนึ่งกับนักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่งออกจากกันได้เด่นชัดที่สุดนั้น ไม่ใช่การเป็น “นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร” หรือไม่ใช่ “นักเทคนิคหรือเป็น VI” หรือไม่ใช่ “นักเล่นหุ้นเติบโตหรือเล่นหุ้นถูก” เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่นั้นต่างก็มีความเป็นนักเก็งกำไรและนักลงทุนอยู่ในตัว ไม่รู้จะแยกยังไง บางคนเป็น VI แต่ก็ดูกราฟด้วยหรือดูบ้าง นักเทคนิคที่ผมรู้จักจำนวนมากนั้น ต่างก็ดูพื้นฐานด้วยไม่ใช่มองแต่กราฟ เช่นเดียวกัน ผมแทบจะไม่เคยเห็นคนที่เล่นแต่ Growth โดยไม่สนใจหุ้นที่ถูกมากเลย

สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สามารถที่จะแยกนักลงทุนออกจากกันได้ชัดที่สุดนั้นน่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการลงทุนหรือมุมมองต่อเรื่องของระยะเวลาในการถือครองหุ้นหรือพูดง่าย ๆ คุณเป็นคน “เล่นสั้นหรือเล่นยาว” เหตุที่ผมใช้คำว่า “มุมมอง” นั้น เป็นเพราะว่านี่คือ “ฐานทางความคิด” ของการลงทุนในการพิจารณาเกี่ยวกับการเลือกหุ้น ถือหุ้น ขายหุ้น และเรื่องอื่น ๆ อีกมาก ถ้าจะหาชีวิตนักลงทุนเอกของโลกมาเปรียบเทียบที่ดี เราก็คงจะเห็นได้ชัดเจนว่า วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นน่าจะถือได้ว่าเป็นคนที่ “เล่นยาว” สุดโต่ง ในอีกด้านหนึ่ง จอร์จ โซรอส น่าจะเป็นตัวแทนของคนที่ “เล่นสั้น” และสองคนนี้ผมคิดว่ามีมุมมองต่อเรื่องของการลงทุนคนละด้านอย่างเห็นได้ชัดทั้งเวลาซื้อ เวลาถือครอง และเวลาขาย รวมถึงเรื่องของความเสี่ยงและประเด็นอื่น ๆ แต่ทั้งสองต่างก็ประสบความสำเร็จพอ ๆ กัน แน่นอนว่าบางครั้งบัฟเฟตต์ก็ถือหุ้นสั้นบ้างเช่นเดียวกับที่โซรอสเองก็น่าจะเคยถือหุ้นยาวแต่นั่นมักเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นรายการย่อยไม่ใช่รายการหลัก หุ้นหรือหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ของคนที่ “เล่นยาว” นั้นต้องถือยาว ส่วนคนที่ “เล่นสั้น” นั้น ต้องถือสั้น ไม่ว่าเจ้าตัวจะเรียกตัวเองว่าเป็นคนที่ลงทุนแนวไหน

ในความคิดของผมแล้ว คนที่ตั้งใจถือหุ้นไม่เกินประมาณ 1 ปี ก็ต้องถือว่าเป็นคน “เล่นสั้น” แม้ว่าเจ้าตัวจะบอกว่าตนเองเป็นคนลงทุนระยะยาว คนที่ตั้งใจถือหุ้นยาวกว่านั้นโดยเฉพาะที่ไม่ได้ตั้งเป้าเวลาที่จะขายเลยนั้นก็อาจจะถือว่าเป็นคนที่ “เล่นยาว” มองจากเกณฑ์นี้แล้วผมคิดว่านักลงทุนในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่ รวมถึงสถาบันลงทุน เช่น บลจ. ทั้งหลายที่บริหารเงินให้กับคนอื่น ก็น่าจะถือว่าเป็นคนที่ “เล่นสั้น” คนที่ “เล่นยาว” นั้น ผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในกลุ่มของ VI ที่อายุมากหน่อยหรือไม่ก็เป็นสถาบันลงทุนที่เน้นระยะยาวเช่นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมระยะยาว LTF หรือ RMF กองทุนของบริษัทประกันภัยหรือประกันชีวิต และกองทุนของบริษัทหรือกงสีที่ไม่เน้นที่จะต้องโชว์ผลงานการลงทุนให้กับใครมากนักและสามารถถือหุ้นได้โดยไม่ต้องพะวงกับการถูก “ถอน” การลงทุน

ความแตกต่างของมุมมองระหว่างนักลงทุนที่ถือสั้นกับถือยาวนั้นผมคิดว่ามีมากมายผมจะลองไล่ไปเรื่อย ๆ โดยสิ่งที่ผมจะพูดนั้นอาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากการศึกษาทางวิชาการแต่เป็นเรื่องที่ผมเคยได้ยินนักลงทุนโดยเฉพาะที่ชอบ “เล่นสั้น” พูดหรือทำ ส่วนสำหรับนักลงทุนระยะยาวนั้น นอกจากสังเกตจากคนอื่นแล้วก็เป็นเรื่องของความคิดผมเองในฐานะนักลงทุนระยะยาวที่มักจะมีความคิดและวิธีทำที่แตกต่างจากนักลงทุนระยะสั้น

เริ่มต้นก็คือประเด็นสำคัญเรื่องของผลตอบแทน คนที่เล่นสั้นนั้นเชื่อว่าการเล่นสั้นนั้นกำไรดีกว่าการเล่นยาว เหตุผลก็เพราะว่ามันสามารถทำกำไรได้ “หลายรอบ” เช่น ถ้าคุณซื้อและขายหุ้นแต่ละตัวภายใน 3 เดือน คุณก็จะมีโอกาสทำกำไรได้ปีละ 4 รอบ ถ้าได้รอบละ “แค่ 10%” ปีหนึ่งก็กำไรไปแล้ว 40% คนที่เล่นสั้นนั้นเชื่อว่าหุ้นแต่ละตัวจะมีจังหวะของการวิ่งเร็วเป็นบางช่วง ดังนั้น เราก็ควรซื้อก่อนที่มันจะ “วิ่ง” หรือเริ่มวิ่ง และขายเมื่อมันขึ้นไปอย่างรวดเร็วซึ่งมักจะไม่กี่เดือน หลังจากนั้นมันก็อาจจะขึ้นช้าลงหรืออาจจะปรับตัวลงมา ดังนั้นเราไม่ควรจะถือต่อแต่ควรจะขายทิ้งและไปหา “ตัวใหม่” ที่กำลังจะมา ส่วนคนที่เล่นยาวนั้น เชื่อว่าการถือหุ้นที่มีพื้นฐานมั่นคงโดดเด่นนั้น หุ้นก็มักจะมีแนวโน้มว่าจะโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ปีหนึ่งอาจจะถึง 10-20% โดยเฉลี่ยตามกำไรของบริษัทที่เขาค่อนข้างมั่นใจว่าจะโตไปได้เรื่อย ๆ ในอัตราที่ค่อนสูงเกิน 10% ต่อปีไปอีกหลายปี การขายและเปลี่ยนตัวเล่นนั้นเขาก็ไม่แน่ใจว่าตัวใหม่จะมีผลงานเท่าตัวเก่าหรือไม่ พวกเขากลัวว่าจะเป็นการ “ขายหมูแล้วไปซื้อควาย” อย่างที่ชอบพูดกันในหมู่นักลงทุน นั่นคือขายหุ้นที่ขึ้นต่อแล้วไปซื้อหุ้นที่ซื้อแล้วก็ตกลงมา

ประเด็นที่สองก็คือเรื่อง “จุดของการทำกำไร” นักเล่นสั้นนั้นบอกว่า “กำไรอยู่ที่การขาย” นั่นคือ การลงทุนนั้น กำไรที่มากนั้นมักจะมาจากการขาย นั่นก็คือ คุณต้องรู้ว่าจะขายหุ้นตัวที่ซื้อมาเมื่อไร เฉพาะอย่างยิ่งก็คือต้องขายในช่วงที่หุ้นดีดตัวขึ้นมาแรงสู่จุดที่สูงมากในระยะสั้น บางครั้งแค่พลาดไปไม่กี่วันหรือบางทีนาที กำไรก็อาจจะหายหมดหรือลดน้อยลงไปมาก ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของคนเล่นสั้นก็คือ การจับจังหวะขาย ส่วนคนเล่นยาวนั้นบอกว่าการขายนั้นไม่สำคัญ กำไรเกิดขึ้นเมื่อเรา “ซื้อหุ้นถูกตัว” นั่นก็คือหุ้นที่มีคุณภาพที่ดีเยี่ยมในราคาถูก ถ้าคุณซื้อหุ้นแบบนี้ได้ คุณไม่จำเป็นต้องรีบขายแม้ว่าในบางช่วงเวลาหุ้นอาจจะปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าปกติและคุณ “พลาด” ที่จะขายมัน แต่ในอนาคตต่อมา มันก็มักจะปรับตัวขึ้นมาอีกจนสูงเท่าหรือสูงกว่าเดิม ดังนั้น การขายไม่สำคัญ “กำไรอยู่ที่การซื้อ”

“ยาวคือเสี่ยง สั้นคือไม่เสี่ยง” นี่คือคติประจำใจของคนเล่นสั้นที่คิดว่าการลงทุนระยะยาวนั้นเสี่ยงมากเนื่องจากในระยะยาวแล้วทุกอย่างก็อาจจะเปลี่ยนไป ทั้งเรื่องของพื้นฐานของกิจการ ภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นก็เปลี่ยนไป ยิ่งเวลาผ่านไปมากโอกาสที่เรื่องร้าย ๆ จะเกิดขึ้นก็จะเพิ่มขึ้น ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้น การถือหุ้นยาวคือเสี่ยง บางคนนั้นแค่ถือหุ้นข้ามวันหยุดก็รู้สึกเสี่ยงแล้ว แต่นักเล่นยาวนั้นมองตรงกันข้าม พวกเขารู้สึกว่าในระยะสั้นนั้น ทั้งตลาดและราคาหุ้นจะมีความผันผวนขึ้นลงเอาแน่อะไรไม่ได้ แต่ในระยะยาวแล้ว ดัชนีหุ้นก็มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราถือยาวเป็น 5 ปีหรือ10 ปี หรือถ้าเริ่มตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์ 40 ปีที่แล้ว ดัชนีตลาดจะให้ผลตอบแทนถึงปีละ 10% โดยเฉลี่ย ไม่เสี่ยงเลย นอกจากนั้น สำหรับหุ้นรายตัวแล้ว ถ้าคุณซื้อหุ้นที่แข็งแกร่งและเติบโตระยะยาวโดยการพิจารณาพื้นฐานของกิจการอย่างถี่ถ้วน โอกาสก็สูงที่กำไรของบริษัทจะโตขึ้นเรื่อย ๆ และถ้าเป็นอย่างนั้น ราคาหุ้นก็ต้องปรับตัวขึ้นไปตาม ดังนั้น “ถือยาวไม่เสี่ยง ถือสั้นเสี่ยง”

คนที่เล่นสั้นนั้นชอบหุ้นที่มี “การเปลี่ยนแปลง” ซึ่งก็มีหลากหลาย คนที่เล่นสั้นมากชอบการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น หุ้นที่นิ่ง ๆ เขาไม่สนใจ เขาสนใจหุ้นที่กำลังขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจว่าบริษัททำอะไร คนที่เล่นสั้นแต่ไม่มากอาจจะชอบหุ้นของกิจการที่เป็นวัฏจักรและวัฏจักรกำลังเป็นขาขึ้น บางคนชอบหุ้นของกิจการที่กำลังฟื้นตัว จำนวนมากชอบหุ้นที่กำลังมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเนื่องจากสถานการณ์บางอย่างทางอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวย ทั้งหมดนั้นมักจะมีเงื่อนไขที่สำคัญก็คือ มันต้องเป็นหุ้นขนาดเล็กหรือมี Free Float ต่ำที่ทำให้ราคาหุ้นวิ่งได้เร็วมากและมโหฬารได้ พวกเขาคิดว่านี่คือการทำเงินได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น ส่วนพวกเล่นยาวนั้นมักจะชอบหุ้นที่ “ไม่มีการเปลี่ยนแปลง” แต่ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญก็คือ “ก็กิจการมันดีมากอยู่แล้ว” การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะนำไปสู่ความไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยง

สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือมุมมองเกี่ยวกับปันผล นักเล่นสั้นนั้นมักจะไม่ใคร่ “แคร์” เรื่องเงินปันผลมากนัก พวกเขาเห็นว่าเงินปันผลนั้นคิดเป็นผลตอบแทนน้อยนิด พวกเขาคิดว่า “เทรดแค่ 2-3 วันก็เท่ากับเงินปันผลทั้งปีแล้ว” ดังนั้น ปันผลจึงไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาจะมอง ส่วนนักลงทุนระยะยาวนั้น ปันผลเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกหุ้นลงทุนไม่น้อย ว่าที่จริงในระยะยาวแล้ว ปันผลในตลาดหุ้นไทยนั้นคิดเป็นผลตอบแทนเกือบครึ่งหนึ่งของผลตอบแทนทั้งหมด ดังนั้น บ่อยครั้งในการลงทุนพวกเขาคิดถึงปันผลในการเลือกหุ้นลงทุนด้วย
LionLamb
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
prasertpra
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อ่านแล้วยังสรุบไม่่ได้เนอะว่าอยา่งไหนดี. หรือว่าแล่วแต่จริตคน
cc_gardener
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 19
ผู้ติดตาม: 0

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ ผมมองว่า ไม่มีแบบไหนดีที่สุดหรอกครับ มันอยู่จริตของบุคคลคนนั้นมากกว่า ว่าเราเข้ากับแนวทางนั้นหรือเปล่า บางคนเล่นสั้นแล้วประสบความสำเร็จก็มีเยอะ บางคนถือยาวแล้วประสบความสำเร็จก็มีมาก อยู่ที่ใครจะรับความเสี่ยงแบบไหนได้มากกว่ากัน ผมถือว่าในการลงทุนแนวคิด และการบริหารจัดการเงินสำคัญที่สุด แต่ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า การลงทุนก็ถือการเอาเงินไปใส่ไว้ในบริษัทที่เรามองว่ามีโอกาสเติบโตในอนาคตครับ ผิดพลาดประการใดขอคำแนะนำด้วยครับ^^
วิธีคิดผ่าน วิธีการมาเอง
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
donnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 466
ผู้ติดตาม: 9

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ :) :)
"The Winners .... never Quit, The Quitters .... never Win"
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 14

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

“In the short run, the market is a voting machine but in the long run, it is a weighing machine.”

Benjamin Graham


:?: :?: :?:

ซึ่งทำให้มีการกังวล
กันเกี่ยวกับการบัญชี ใหม่ ที่อิง mark-to-market accounting
ต.ย.1 (2009 forbes)
http://www.forbes.com/forbes/2009/0413/ ... estor.html
Not so, under mark-to-market rules. In this scenario the bank would have to assess what that underwater mortgage might fetch in a distressed sale and ask you to make up the difference.

Mark-to-market accounting was intended to promote transparency, but its unintended consequence is unnecessary forced trading.
ต.ย2 (2013 HBR)
https://hbr.org/2013/03/why-fair-value-is-the-rule
Fair value accounting was blamed for some dubious practices in the period leading up to the Wall Street crash of 1929, and was virtually banned by the U.S. Securities and Exchange Commission from the 1930s through the 1970s. The 2008 financial crisis brought it under fire again. Some scholars and practitioners have connected its proliferation in accounting-based performance metrics to the actions of bankers and other managers during the run-up to the crisis. Specifically, as asset prices rose through 2008, the fair value gains on certain securitized assets held by financial institutions were recognized as net income, and thus sometimes used to calculate executive bonuses.
....

:
ซึ่ง
fair value gains ใน short run ที่ ถูกรับรู้ เข้าใน บัญชี
ก็จะทำให้เกิด กำไรที่บิดเบือน..
แต่ ดูเหมือน ...ถนนหลวงทางบช..เขากำลัง วิ่งไปสู่ Fair Value Model กัน???
...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 23

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบพระคุณ อ. IMERLOT อย่างสูงครับ

ขอบพระคุณ เจ้าของบทความด้วยครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
BenzBatutos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 0

Re: สั้น VS ยาว/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

สรุปสัมมนา'คุยหุ้นกับกวีชูกิจเกษม'(12/9/58)

https://www.facebook.com/porbaninvestor?fref=nf
โพสต์โพสต์