การส่งออกไทยปี 58

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

การส่งออกไทยปี 58

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ตัวเลขในภาคการส่งออกของไทย 2 เดือนแรกของปี 58 ออกมาแล้วครับ มีหลายๆประเทศที่ติดลบ เช่นอินโด สิงโปร์ มาเล
ไทยเองถ้าติดลบๆนานๆนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก ถึงแม้จะพยายามปรับและสนับสนุนภาคๆอื่นๆแทนส่งออกก็ตาม ผมว่าแบงค์ชาติตามตำราไปนิดใน การลดดอกเบี้ยช้า ในขณะที่ค่าเงินของเราแข็งเร็วมากมากเกินไป ทำให้เราแข่งขันกับประเทศต่างๆไม่ได้ คู่แข่งสำคัญที่มาแรงมากๆ คือเวียดนาม ที่ภาคการส่งออกโตไป 10% กว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆก็เริ่มขยับฐานไปที่เวียดนาม จากญี่ปุ่น จีน
ในภาคการเกษตรนั้นเวียดนามกำลังไล่จี้ไทยและ กำลังพัฒนาเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ถ้าไทยเองยังอยู่ในวังวนอย่างนี้ น่าเป็นห่วงมากครับในโลกที่ทุกอย่างเชื่อมกันไปหมด และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แต่ก็ยังมีอุตสาหกรรมที่เป็นพระเอกในตอนนี้ที่ 2 เดือนแรก ของปี 58 เติบโตและเริ่มกลับมามาก คือ ยานยนต์ในภาคส่งออก และก็ กลุ่มอิเล็กทรอนิค ที่ยังเติบโตชัดเจน ตามสัดส่วน
ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ปี 58 นี้อุตสาหกรรมไหนรุ่งไหนร่วงตลอดปี

รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
prichar s.
Verified User
โพสต์: 1426
ผู้ติดตาม: 0

Re: การส่งออกไทยปี 58

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"อีไอซี"ยก4ปัจจัยเสี่ยงฉุดส่งออกปีนี้ขยายตัวต่ำ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2015 เวลา 18:11 น. บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ข่าวรายวัน - ฐานออนไลน์

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรืออีไอซีออกบทวิเคราะห์ เรื่อง ส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์หดตัวต่อเนื่องที่ 6.1%YOY

Event

กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 อยู่ที่ 17,229.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวลงอีก 6.1%YOY ด้านการนำเข้ากลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ 1.5%YOY อยู่ที่ 16,839.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Analysis
มูลค่าการส่งออกสินค้าหลักของไทยยังคงไม่มีสัญญาณฟื้นตัว โดยใน 2 เดือนแรกของปี การส่งออกหดตัวลงถึง 4.8%YOY การส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องในเดือนกุมภาพันธ์จากราคาสินค้าที่ตกต่ำ โดยมูลค่าการส่งออกยางพาราและน้ำตาลหดตัวลงอีกกว่า 38.8%YOY และ 9.8%YOY ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลแปรรูปลดลงกว่า 16%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหภาพยุโรป ด้านสินค้าที่เชื่อมโยงกับน้ำมันดิบอย่างน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 15% ต่อการส่งออกทั้งหมดของไทยนั้น ต่างปรับตัวลดลงอีก 26.8%YOY, 20.3%YOY และ 9.4%YOY ตามลำดับ นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์มูลค่าการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบกลับมาหดตัวอีกครั้งที่ 1.3% จากการส่งออกไปยังตลาดอินโดนีเซียและญี่ปุ่นที่หดตัวลงกว่า 27.8%YOY และ 13.6%YOY ตามลำดับ การส่งออกเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบปรับตัวลดลงเช่นกันที่ 3.0%YOY จากการส่งออกไปตลาดฮ่องกงซึ่งลดลง 28.6%YOY ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ จะยังสามารถขยายตัวได้ดีที่ราว 17%YOY ก็ตาม

การส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า โดยมูลค่าการส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์นั้นลดลงอีก 15.1%YOY, 11.7%YOY และ 5.5%YOY ตามลำดับ นอกจากนี้ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียนยังหดตัวกว่า 8.3%YOY เนื่องจากเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ตกต่ำ ถึงแม้ว่าตลาด CLMV จะสามารถขยายตัวได้ราว 7%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ตาม อย่างไรก็ดีมีเพียงการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯที่สามารถขยายตัวต่อเนื่องโดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.1%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัว ซึ่งในปี 2015 นี้อาจมีเพียงตลาดสหรัฐฯ และตลาด CLMV ที่ช่วยพยุงการส่งออกของไทย


มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวเล็กน้อย จากการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 36.3%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ หดตัวน้อยลงจากเมื่อเดือนที่แล้ว ตามราคาน้ำมันโลกที่ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ด้านการนำเข้าสินค้าทุนปรับขึ้น 3.9%YOY โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 2 เดือน จากการนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบที่ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวราว 21%YOY อีกทั้งการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 12.7%YOY ส่งผลให้การนำเข้าโดยรวมของไทยปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 1.5%YOY


Implication

อีไอซีคาดมูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำต่อไป จากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ 4 ประการ 1) ราคาน้ำมันโลกที่ในปีนี้จะคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจะส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เชื่อมโยงกับน้ำมัน 2) ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ โดยเฉพาะราคายางพาราและราคาน้ำตาล 3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป และ4) การถูกตัดสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรปในทุกหมวดสินค้า

ทิศทางของค่าเงินบาทที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อต้นทุนการบริหารความเสี่ยงเงินของผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า โดยค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร จึงส่งผลให้ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปต้องนำเข้าสินค้าจากไทยในราคาที่แพงขึ้น ในขณะเดียวกันหาก Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็จะทำให้ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทิศทางของค่าเงินบาทที่แตกต่างกันในแต่ละสกุลเงินต่างประเทศนี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าของไทยต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน
watshira
Verified User
โพสต์: 163
ผู้ติดตาม: 0

Re: การส่งออกไทยปี 58

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อ.วีระ แจกแจงได้ดีมาก
https://youtu.be/rIs59ZUqltk
โพสต์โพสต์