7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1894
ผู้ติดตาม: 313

7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    การลงทุนให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องยึดมั่น “แก่น” ของการลงทุนวิธีนั้น ๆ อย่างมั่นคงแล้ว เราก็ควรจะเข้าใจ “จุดอ่อน” หรือ “ข้อจำกัด” ของวิธีการลงทุนนั้น ๆ  เพื่อให้แน่ใจว่า จุดอ่อนของการลงทุน “วิธีนั้น ๆ” จะไม่ใช่จุดที่ทำให้การลงทุน “ของเรา” ล้มเหลว และ ทำให้เราเสียศรัทธาในการลงทุนวิธีนั้นไป

    การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) เป็นการลงทุนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีผู้ที่ประสบความสำเร็จได้จำนวนมาก มีวิถี มีแบบอย่าง มีหลักการที่ถ่ายทอดกันอย่างเป็นระบบ และจับต้องได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของนักลงทุน VI จำนวนมาก แต่ไม่มีวิธีการลงทุนอะไรที่ไม่มีจุดอ่อน และนี่คือจุดอ่อนหลัก ๆ ของการลงทุนแบบ VI

    1. “เชื่อ” ในมูลค่าที่เราประเมินมากจนเกินไป อันที่จริงการลงทุนแบบ VI ไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแน่นอน 100% แม้ว่าจะมีส่วนต่างความปลอดภัยแค่ไหน หรือกิจการมีความแข็งแรงมากเพียงใด ก็อาจจะเกิด “เหตุการณ์” บางอย่างที่ไม่คาดฝัน ตัวอย่างล่าสุดอย่างหุ้นกิจการค้าปลีกที่ยิ่งใหญ่อย่างเทสโก ก็ประสบปัญหาและวอร์เรน บัฟเฟตต์ก็เสียหายจากการลงทุนครั้งนี้ อีกมุมหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเราไม่เข้าใจสิ่งที่เห็นอย่างถ่องแท้ หรือมองข้ามจุดอ่อนของกิจการบางอย่าง สรุปคือ เราอย่าดูถูกนายตลาดหรือ Mr. Market เพราะเขาฉลาดกว่าคุณมาก

    นอกจากนั้น ความเสียหายอาจจะขยายผลมากขึ้นมาก ถ้าเรา “ซื้อถัวเฉลี่ย” ขาลง รวมไปถึงการใช้บัญชีเงินกู้ หรือมาร์จิ้นโลน หลักการ VI อาจจะทำให้เราคิดว่าราคาหุ้นยิ่งลงยิ่งถูก อยากขายบ้านขายรถมาซื้อหุ้น แต่การจำกัดสัดส่วนของหุ้นแต่ละตัว จะช่วยลดความเสียหาย สำหรับมือใหม่ ผมคิดว่าเราไม่ควรถือหุ้นเกิน 25% ต่อตัว ไม่ว่าเราจะมั่นใจแค่ไหน 

    2. คุณเข้าใจหลักการ หรือความรู้ในการลงทุนน้อยเกินไป แม้ว่าคุณคิดว่าเพียงพอแล้ว แต่ความรู้ที่จำเป็นในธุรกิจที่คุณจะลงทุนเยอะกว่าที่คุณคิดมาก เป็นสิ่งที่คุณต้องมีภาระในการ “อ่าน” “อ่าน” “อ่าน” และ “อ่าน” ซึ่งเหมือนเป็นกิจกรรมหลักของการลงทุนแบบ VI ความเข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ แต่จุดอ่อนนี้คือจุดแข็งที่สุดของการลงทุนแบบ VI เพราะความรู้เกือบ “ทุกเม็ด” สามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิตการลงทุน และสามารถนำไปต่อยอดได้นับไม่ถ้วน

    3. จำเป็นต้องมี “นิสัย” และ “ทัศนคติ” ของการลงทุนที่ถูกต้องตั้งแต่แรก นิสัยเป็นส่วนที่ค่อย ๆ สร้างมาตั้งแต่คุณเกิดและชีวิตทั้งหมด “ก่อน” ที่คุณจะเริ่มลงทุน และยิ่งถ้าคุณเริ่มต้นลงทุนในตลาดหุ้นที่ร้อนแรงมาก ๆ ยิ่งทำให้โอกาสที่คุณจะ “เสียนิสัย” ที่จำเป็นต้องการลงทุนแบบ VI มากขึ้นและแก้ไขยาก นิสัยของการลงทุนที่ถูกต้อง เช่น ความอดทนรอคอย ไม่ตื่นเต้นกับราคาหุ้น แต่สนใจที่คุณค่าบริษัท ความมีวินัยที่จะพยายาม “รักษาเงินต้น” ก่อนที่จะ “มุ่งหวังกำไร” นิสัยที่กล้าในเวลาที่ควรตัดสินใจ มีความเป็นตัวของตัวเองและอิสระจากฝูงชน เป็นต้น

    4. การลงทุนแบบ VI ไม่จับจังหวะตลาดเท่าไหร่นัก นั่นหมายถึงว่า คุณมีโอกาสถือหุ้นโดยที่ราคาหุ้นไม่ไปไหนเลย ในขณะที่คนอื่นอาจจะทำกำไรมากมาย ซึ่งหมายถึงเรา “เสียโอกาส” ของการทำรอบของเงินทุน ยิ่งไปกว่านั้นความอดทนในการถือหุ้นมักจะหมดลง ทำให้เราขายหุ้นก่อนหุ้นจะขึ้น นักลงทุน VI ใช้ “โอกาส” ในการซื้อหุ้นในตลาดหุ้นได้ ต่อเมื่อตลาดหุ้นเป็นตลาดที่ Undervalued หรือต่ำกว่ามูลค่าเท่านั้น แต่ถ้าตลาดเป็นตลาดเก็งกำไร VI จะได้ประโยชน์น้อยกว่าในขาซื้อ แต่เป็นโอกาสในการขายแทน ซึ่งถ้าเป็นการลงทุนแบบอื่น อาจจะได้โอกาสจากตลาดตลอดเวลาถ้าสามารถเก็งตลาดได้ถูกต้อง

    5. VI มักจะจำกัดความถนัดตัวเองไปในหุ้นไม่กี่กลุ่ม อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่อง Circle of Competence แปลว่า หุ้นนอกกลุ่มที่เรารู้ เราจะไม่ลงทุน ซึ่งนั่นคือการมีข้อจำกัดในการลงทุนและเป็นการตัดโอกาสการลงทุนไป การลงทุน VI จำเป็นต้องมีความรู้มาก ดังนั้นโอกาสที่เราจะรู้จักหุ้นทุกตัว หรือเข้าไปลงทุนในหุ้นทุกตัว เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แตกต่างจากวิธีการลงทุนแบบอื่น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้จักหุ้นลึกซึ้งเหมือนการลงทุน VI หรือในบางวิธีการ การรู้จักหุ้นก็ไม่มีความจำเป็น

    6. เรื่องการบริหารความเสี่ยง VI ไม่มีแนวคิด cut loss ด้วย “ราคา” หุ้น หรือมี “กฏเกณฑ์” ที่ชัดเจน เช่นถ้าหุ้นลง 10% เราจะตัดขาดทุน แต่การบริหารความเสี่ยงขึ้นอยู่กับมุมมองว่าเรา “คิดผิด” รึเปล่ามากกว่า อีกส่วนหนึ่งคือ VI บริหารความเสี่ยงด้วยส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) และบริหารด้วยการสร้างพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการที่อาศัยศิลปะที่ต้องอาศัยประสบการณ์มาก

    7. จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดคือ การลงทุน VI ให้ชนะ ต้องอาศัย “จิตใจ” ที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝน การยกตัวอย่างของบัฟเฟตต์เรื่อง คุณต้องทนขาดทุนได้ 50% คือตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดของการเอาชนะ “จิตใจ” ของตัวเอง ถ้าเราบันทึกความรู้สึกของตัวเองทุก ๆ วันหรือทุก ๆ เดือน เราจะเห็นความปะปนของความตื่นเต้น ความสิ้นหวัง ดีใจ เสียใจ ที่เกิดขึ้นในใจตนเองตลอดเวลา และด้วยความเป็นวาระจิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของคนนั่นเอง ทำให้ความล้มเหลวในการลงทุนของการลงทุน VI จำนวนมาก เกิดจากการยอมแพ้ “ใจ” ตนเอง
[/size]
ลูกหิน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 1

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
worrapong.n
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
SUPERMARIO
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
SPACH
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เป็นบทความที่ดีมาก ขอบคุณครับ
pornchal
Verified User
โพสต์: 1070
ผู้ติดตาม: 0

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จุดอ่อนของนักลงทุน คือ คิดว่าตัวเองเป็น VI แต่จริง ๆ ตัวเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น...
The One
rattypor
Verified User
โพสต์: 82
ผู้ติดตาม: 1

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 7

โพสต์

จุดอ่อนของ Conservative Value Investor ในความคิดของผมคือ หลายๆท่านถือหุ้น 100%
เวลาตลาดเกิด crash หนักๆ ที่ทำได้คือ ไม่มีเงินสดพอ
คือ หลายๆครั้งต้องทนเห็นหุ้นตัวเองขาดทุน ในกรณีที่วิเคราะห์ MOS ไม่ดีพอ หรือต่อให้วิเคราะห์ MOS มาดีคือมี MOS มากกว่า 50% ก็ยังต้องเจอภาวะขาดทุนชั่วคราวเหมือนตอน ปู่บัฟเฟตซื้อ american express ตอนน้ำสลัด ว่าถูกแล้ว เจอราคาหุ้นที่ลดถูกกว่าราคาที่ซื้ออีก ทำให้ราคาที่ซื้อขาดทุนอีก 50% แต่สุดท้ายราคาหุ้นก็ขึ้นไปมากว่าทุนหลายเท่าตัว

เสี่ยยักษ์เคยให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า

เสี่ยยักษ์ ออกตัวว่าไม่ใช่ว่าวิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" จะไม่ดี คนที่สำเร็จกับวิธีนี้ก็มีเยอะ เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นจุดอ่อนบางมุม ยกตัวอย่างนะ...ในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ตกมากๆ อย่าคิดว่า แวลู อินเวสเตอร์ จะกล้าซื้อทุกคน คนที่ใส่ไปหมดหน้าตักแล้ว อยากซื้อก็ไม่มีตังค์จะซื้อ ส่วนกรณีของ แวลู อินเวสเตอร์ ที่อยากจะขาย คุณไปซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำเอาไว้เต็มพอร์ต ถ้าคุณขาย คุณก็เจ็บหนัก นี่ผมพูดจากประสบการณ์ในชีวิตจริงให้ฟัง ยิ่งคุณขาย...หุ้นยิ่งลงหนัก ตรงข้ามกับผม ตลาดหุ้นช่วงไหนเล่นแล้วไม่สบายใจ (รู้สึกว่าทำกำไรยาก) ผมล้างพอร์ตจาก 100% ลงมาเหลือ 10% ทันที "ถามว่า...เวลาหุ้นตกหนักๆใครมีเงินซื้อ ?? คุณหรือ ผม" เสี่ยยักษ์ ถามกลับ
เสี่ยยักษ์ยกตัวอย่าง "กรณี 9/11" (เครื่องบินผู้ก่อการร้ายพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) นั่นคือ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน มันนอกเหนือกฎเกณฑ์ วันนั้นขาดทุนทันที 26% คนที่กำลังจะ "เกิด" (กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว) ไปเจอเหตุการณ์อย่างงั้น ไม่รู้จะเกิดยังไง "จำเอาไว้...ในภาวะที่ตลาดหุ้นเป็น "ขาลง" หรือภาวะตลาดตื่นตระหนก คนที่มีพอร์ต 100% จะเสียเปรียบและเสียโอกาสมาก เพราะว่าคุณจะไม่มีเงินซื้อ ได้แต่รอ ได้แต่นั่งดูคนอื่น ในท้ายที่สุด เชื่อเถอะว่า คนที่ถือหุ้นเต็มพอร์ต ช่วงที่ตลาดหุ้นไม่ดี คุณนั่นแหละคือคนที่ขายหนีตาย (ขายหลังผมและขาดทุนมากกว่าผม)"


ลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะครับ
CARPENTER
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 433
ผู้ติดตาม: 3

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 8

โพสต์

rattypor เขียน:จุดอ่อนของ Conservative Value Investor ในความคิดของผมคือ หลายๆท่านถือหุ้น 100%
เวลาตลาดเกิด crash หนักๆ ที่ทำได้คือ ไม่มีเงินสดพอ
คือ หลายๆครั้งต้องทนเห็นหุ้นตัวเองขาดทุน ในกรณีที่วิเคราะห์ MOS ไม่ดีพอ หรือต่อให้วิเคราะห์ MOS มาดีคือมี MOS มากกว่า 50% ก็ยังต้องเจอภาวะขาดทุนชั่วคราวเหมือนตอน ปู่บัฟเฟตซื้อ american express ตอนน้ำสลัด ว่าถูกแล้ว เจอราคาหุ้นที่ลดถูกกว่าราคาที่ซื้ออีก ทำให้ราคาที่ซื้อขาดทุนอีก 50% แต่สุดท้ายราคาหุ้นก็ขึ้นไปมากว่าทุนหลายเท่าตัว

เสี่ยยักษ์เคยให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า

เสี่ยยักษ์ ออกตัวว่าไม่ใช่ว่าวิธีการลงทุนแบบ "แวลู อินเวสเตอร์" จะไม่ดี คนที่สำเร็จกับวิธีนี้ก็มีเยอะ เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นจุดอ่อนบางมุม ยกตัวอย่างนะ...ในช่วงที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ ตกมากๆ อย่าคิดว่า แวลู อินเวสเตอร์ จะกล้าซื้อทุกคน คนที่ใส่ไปหมดหน้าตักแล้ว อยากซื้อก็ไม่มีตังค์จะซื้อ ส่วนกรณีของ แวลู อินเวสเตอร์ ที่อยากจะขาย คุณไปซื้อหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำเอาไว้เต็มพอร์ต ถ้าคุณขาย คุณก็เจ็บหนัก นี่ผมพูดจากประสบการณ์ในชีวิตจริงให้ฟัง ยิ่งคุณขาย...หุ้นยิ่งลงหนัก ตรงข้ามกับผม ตลาดหุ้นช่วงไหนเล่นแล้วไม่สบายใจ (รู้สึกว่าทำกำไรยาก) ผมล้างพอร์ตจาก 100% ลงมาเหลือ 10% ทันที "ถามว่า...เวลาหุ้นตกหนักๆใครมีเงินซื้อ ?? คุณหรือ ผม" เสี่ยยักษ์ ถามกลับ
เสี่ยยักษ์ยกตัวอย่าง "กรณี 9/11" (เครื่องบินผู้ก่อการร้ายพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) นั่นคือ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน มันนอกเหนือกฎเกณฑ์ วันนั้นขาดทุนทันที 26% คนที่กำลังจะ "เกิด" (กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว) ไปเจอเหตุการณ์อย่างงั้น ไม่รู้จะเกิดยังไง "จำเอาไว้...ในภาวะที่ตลาดหุ้นเป็น "ขาลง" หรือภาวะตลาดตื่นตระหนก คนที่มีพอร์ต 100% จะเสียเปรียบและเสียโอกาสมาก เพราะว่าคุณจะไม่มีเงินซื้อ ได้แต่รอ ได้แต่นั่งดูคนอื่น ในท้ายที่สุด เชื่อเถอะว่า คนที่ถือหุ้นเต็มพอร์ต ช่วงที่ตลาดหุ้นไม่ดี คุณนั่นแหละคือคนที่ขายหนีตาย (ขายหลังผมและขาดทุนมากกว่าผม)"


ลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้นะครับ
1.หุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12%/ปี (capital gain+dividend yield) จากสถิติที่ผ่านมาในรอบ 25ปี
2.ผลงานของ Warren Buffett เหนือกว่านักลงทุนทางเทคนิเคิ้ลทุกคน
3.ผลงานของ ดร.นิเวศน์ ดีกว่าเสียยักษ์มาก
ถ้าทั้งสามข้อนนี้จริง ตรรกะ ของเสี่ยยักษ์มีข้อสงสัย สิ่งที่เสี่ยยักษ์ตั้งข้อสมมติฐานคือ เสี่ยยักษ์รู้ว่า
อนาคตจะเกิดอะไร เป็นการเปรียบเทียบระหว่างนักลงทุนที่รู้อนาคตกับ นักลงทุนแบบวีไอ
สิ่งที่เสี่ยยักษ์พูดเหมือนมีเหตุผล แต่มั่วในจุดนี้
BoatAttasit
Verified User
โพสต์: 168
ผู้ติดตาม: 0

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผลตอบแทนของเสี่ยยักษ์เฉลี่ยปีละกี่ %หรอครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 225

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมว่าบัฟเฟตต์ก็มีเงินสดอยู่ตลอดเวลานะครับ
และผมว่าการถือหุ้น 100% ตลอดเวลา ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็น VI ครับ

ในทางกลับกันถ้าเป็น VI ที่เคร่งครัด ถ้าไม่มีหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าจนมี Margin of Safety ที่เหมาะสม
การถือเงินสดก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งครับ

ถ้าตลาด crash เพราะเหตุผลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องราคาสูงกว่ามูลค่ามาก ๆ VI ก็คงไม่กังวลอะไรที่มี port 100%
แต่ถ้าตลาด crash เพราะราคาสูงกว่ามูลค่ามาก ๆ และไม่ขาย

นี่คือการตัดสินใจไปแล้วว่าจะ speculation ครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
rattypor
Verified User
โพสต์: 82
ผู้ติดตาม: 1

Re: 7 จุดอ่อนของ VI/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Linzhi เขียน:ผมว่าบัฟเฟตต์ก็มีเงินสดอยู่ตลอดเวลานะครับ
และผมว่าการถือหุ้น 100% ตลอดเวลา ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็น VI ครับ

ในทางกลับกันถ้าเป็น VI ที่เคร่งครัด ถ้าไม่มีหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าจนมี Margin of Safety ที่เหมาะสม
การถือเงินสดก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งครับ

ถ้าตลาด crash เพราะเหตุผลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องราคาสูงกว่ามูลค่ามาก ๆ VI ก็คงไม่กังวลอะไรที่มี port 100%
แต่ถ้าตลาด crash เพราะราคาสูงกว่ามูลค่ามาก ๆ และไม่ขาย

นี่คือการตัดสินใจไปแล้วว่าจะ speculation ครับ
ขยายความได้ยอดเยี่ยมครับ คุณ Linzhi ยังเข้ามาให้ความรู้เพื่อนๆเรื่อยๆครับ ขอบคุณครับ

คือที่ผมนำเอาคำพูดเสี่ยยักษ์มาไม่ใช่ว่า ผมศรัทธาอะไรแกหรอกครับ
แต่ถ้าศึกษาดูดีๆแกก็มีความรู้ทาง VI พอสมควรนะครับ (จากกรณีเข้าซื้อ PTT)

คืออยากจะบอกนักลงทุนบางท่าน (ส่วนใหญ่ไม่ใช่ VI) ที่อาจจะไม่เข้าใจ Concept ของ Value Investor
อย่างแท้จริงว่า เป็นพวกถือยาว ติดดอย ไม่ขาย

ผมคิดว่าแท้จริงแล้ว VI อย่างพวกเราจะมี Margin of Safty อยู่แล้ว ก่อนที่จะเข้าซื้อ
ราคาที่แกว่งไม่ได้มีผลอะไรกับ Intrinsic Value ครับ

ส่วนเรื่องที่ว่าจะถือเงินสดกี่ % ขึ้นอยู่กับ Port Management ของแต่ละท่านครับ
โพสต์โพสต์