สินทรัพย์เฟ้อ/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1894
ผู้ติดตาม: 313

สินทรัพย์เฟ้อ/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   หลังจากโลกต้องผ่านวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง คือวิกฤตเลห์แมน บราเดอร์ หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งส่งผลต่อสถาบันการเงินและระบบเศรษฐกิจในประเทศฝั่งอเมริกาหรือยุโรปโดยตรง วิธีแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศเลือกที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบอย่างที่เห็นจากมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง มากกว่าคงนโยบายรัดเข็มขัด นั่นหมายถึงการที่มีเงินใหม่เข้าระบบเป็นจำนวนมาก
	นับต่อจากนี้ไป สิ่งที่อาจจะเป็นผลพวงต่อเนื่องหรือมรดกชิ้นใหญ่จากมาตรการอัดฉีดมาหลายปี คือ สภาวะที่สินทรัพย์เกือบทุกประเภทที่มีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างมากหรือเกิดสภาวะสินทรัพย์เฟ้อ เพราะคนเลือกที่จะไม่ถือเงินสดที่เหมือนจะด้อยค่าลงทุกวัน อีกทั้งดอกเบี้ยในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาก็ต่ำมาก เนื่องจากนโยบายของภาครัฐต้องการคงดอกเบี้ยให้ต่ำที่สุด เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยนโยบายได้ทำสถิติต่ำที่สุดใหม่ในประวัติการณ์ของตลาดเงินทั่วโลกมาโดยตลอดในหลายปีที่ผ่านมา
	สิ่งนี้แตกต่างจากสภาวะเงินเฟ้อที่คงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ และวิธีการคิดเงินเฟ้อพื้นฐานจากสูตรคำนวณทางเศรษฐศาสตร์อย่างไรก็ดีบ่อยครั้งที่ตัวเลขเงินเฟ้ออาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกคนอยู่บ้างเช่นอัตราเงินเฟ้อในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตน้อยสุดในหลาย ๆ ปีให้หลังแต่ความรู้สึกเราคือสินค้ามีราคาแพงขึ้นมากยิ่งในช่วงหลังที่ผมเดินทางไปต่างประเทศเริ่มรู้สึกว่าราคาอาหารค่าครองชีพใกล้เคียงกับเรามากและของบางอย่างถูกกว่าเสียอีกโดยเฉพาะอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิด
	แต่ในทางกลับกันความรู้สึกว่าค่าครองชีพสูงขึ้นมากอาจจะมาจากราคาสินทรัพย์เฟ้อที่มีการติดตามหรือควบคุมน้อยกว่ามากสภาวะสินทรัพย์เฟ้อที่เกิดขึ้นเช่นราคาที่อยู่อาศัยปัจจุบันเช่นคอนโดกลางเมืองมีราคาสูงขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อทั่วไปหลายเท่าผมยังจำได้ว่าสิบปีที่แล้วราคาคอนโดสุขุมวิทมีราคาเพียงแค่ 50,000 กว่าบาทต่อตารางเมตรเท่านั้นปัจจุบันราคาสูงขึ้นกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรไปแล้วถ้าคิดอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาคือ15% ต่อปีทบต้น ซึ่งมากกว่าเงินเฟ้อพื้นฐานหลายเท่า
ยิ่งถ้าเปรียบเทียบราคาค่าเช่าที่ได้รับแล้วยิ่งทำให้เห็นภาพความเฟ้อของสินทรัพย์ยิ่งขึ้นในอดีตผู้ให้เช่าอาจหาผลตอบแทนการเช่าระดับ 8 - 10% ไม่ยากนักแต่ปัจจุบันผลตอบแทนค่าเช่าอาจจะต่ำเพียง 3-4% ซึ่งอันที่จริงแล้วแทบไม่ต่างจากเงินฝากธนาคารเลย
	นอกจากนั้นราคาที่ดินในกรุงเทพฯรวมถึงต่างจังหวัดก็ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมารวมถึงสินทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์กลางระดับโลกอย่างทองคำก็มีการปรับตัวขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดังนั้นสิ่งที่ตลาดหุ้นมีสภาพเป็นกระทิงในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาโดยมีการเติบโตของราคาหุ้นสูงกว่าการเติบโตของกำไรต่อหุ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ย PE ของตลาดหุ้นไทยก็เขยิบขึ้นมาจากระดับที่ต่ำกว่า 10 เท่าในช่วงหลายปีที่แล้ว เป็น 14 เท่าในปัจจุบัน รวมถึงเงินปันผลรวมทั้งตลาดที่ลดลงมาตลอดเป็นสภาวะเดียวกันกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และถ้าลองดูตลาดหุ้นอื่น ๆ ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาก็พบปรากฎการณ์เดียวกันเกือบทั้งสิ้นเรียกได้ว่าสภาวะเงินทุนส่วนเกินหรือ Fund Flow จากทั้งกระเป๋าสตางค์คนต่างชาติหรือคนไทยด้วยกันเองทำให้ดัชนีหุ้นและราคาหุ้น รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ถีบตัวสูงขึ้นทั้งกระดาน
	ปรากฎการณ์นี้ถ้าเป็นนักลงทุนเราควรจะทำอย่างไรบัฟเฟตต์เคยบอกว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการลงทุนคือการรอถ้าราคาสินทรัพย์พุ่งเกินพื้นฐานขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเราก็ไม่จำเป็นต้องซื้อแต่อย่างไรก็ดีผมคิดว่าถ้ามองกลับไปที่พื้นฐานบางสิ่งอาจจะขึ้นโดยไม่มีวันที่ราคาจะต่ำลงมาได้อีกเช่นต้นทุนค่าแรงเพราะเป็นแนวโน้มที่ “ค่าแรงของโลก”จะมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นและเป็นไปได้ยากขึ้นมากที่เราจะจ้างคนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันในราคาที่แตกต่างกันมากอย่างสุดกู่ดั่งเช่นในอดีต รวมถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดน้อยลงและขาดแคลนอย่างที่ดินสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาสูงขึ้นจากต้นทุน (Cost Push)โลกในช่วงนี้ ผมคิดว่าเป็นการปรับสมดุลครั้งใหญ่เนื่องจากการเชื่อมต่อกันของโลกสมัยใหม่
	อย่างไรก็ดีก็เป็นไปได้ที่สินทรัพย์มีราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาด (Demand Pull)หรือสูงขึ้นเพราะเหตุผลที่ว่าถ้าไม่ซื้อวันนี้จะไม่ได้ซื้ออีกแน่นอนในวันพรุ่งนี้เช่นสภาวะสินทรัพย์เฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 90 ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสุดท้ายก็จะเกิดสภาวะฟองสบู่ และขึ้นชื่อว่าฟองสบู่แล้ว ไม่มีฟองสบู่ไหนที่ไม่แตก แต่จะแตกแรงแตกเบาขึ้นอยู่กับ ฟองสบู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นก่อตัวปี 1985 โดยดัชนีนิเคอิอยู่ที่ 13,000 จุด และทำจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 38,957.44 ในวันที่ 29 ธันวาคม 1989 และดัชนีนิเคอิตกลงมากว่า  35% ในปีต่อมา และลดลงมาโดยตลอด และไม่เคยได้เห็นจุดนั้นอีกเลย 
	สินทรัพย์เฟ้อครั้งนี้ผมคิดว่าเกิดขึ้นทั้งสองเหตุผลหน้าที่ของนักลงทุนคือ หาความแตกต่างในความเหมือน ดั่งเช่นเพชรและถ่าน เพราะแม้จะเกิดจากธาตุคาร์บอนเหมือนกัน แต่ด้วยความแตกต่างบางอย่าง ทำให้สิ่งหนึ่งเป็นแค่ถ่าน แต่อีกสิ่งหนึ่งคือเพชร
[/size]
อินทรีย์ทองแดง
Verified User
โพสต์: 513
ผู้ติดตาม: 3

Re: สินทรัพย์เฟ้อ/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ เป็นบทความที่ให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์มากๆครับ
โพสต์โพสต์