เิงินร้อน โดย ดร.โกร่ง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
dekwat
Verified User
โพสต์: 259
ผู้ติดตาม: 0

เิงินร้อน โดย ดร.โกร่ง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

"เงินร้อน" โดย วีรพงษ์ รามางกูร

คอลัมน์ คนเดินตรอก

"เงิน ร้อน" เป็นคำแปลตรง ๆ มาจากภาษาฝรั่งว่า "hot money" หมู่นี้มีการกล่าวถึง "hot money" กันบ่อยครั้ง พอคนถามว่า เงินร้อนมันเป็นอย่างไร เป็นเงินของประเทศไหน เคยได้ยินแต่ "เงินเย็น" ของญี่ปุ่นเขา เงินร้อนเป็นของใครประเทศไหน

เงินร้อนก็คือเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็น เงินสกุลหลักของโลก เป็นเครื่องมือในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เป็นเงินที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่ใช้กู้ยืมกันไปมาระหว่างประเทศ และเป็นเงินตราสกุลเดียวที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ "เก็งกำไร" จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งการเก็งกำไรในตลาดทุน เช่น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ ทั้งที่เป็นตราสารหนี้ของรัฐบาลต่าง ๆ และตราสารหนี้ของเอกชน รวมทั้งการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

การที่สหรัฐอเมริกาสามารถขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง โดย การผลิตเงินดอลลาร์ออกมาให้ชาวโลกถือไว้ได้โดยไม่เป็น "เศษกระดาษ" ก็เพราะไม่มีเงินตราสกุลใดมีจำนวนมากพอที่จะสนองตอบต่อการถือเงินไว้เพื่อ วัตถุประสงค์หลักทั้ง 3 อย่างนั้นได้ เพราะประเทศอื่นที่เป็นเจ้าของเงินไม่ต้องการพิมพ์เงินออกมาในตลาดโลกมาก มายอย่างนั้น

อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวน กับเงินริงกิต เงินยูโร เงินปอนด์และเงินอื่น ๆ ทั่วโลก ก็จะเริ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์ แล้วอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินหยวน กับเงินริงกิต เงินยูโร เงินปอนด์และเงินอื่น ๆ ทั่วโลกก็จะปรับตามให้สอดคล้องกัน ไม่เขย่งกัน ถ้าเขย่งกันไม่สอดคล้องกัน

ก็จะมีผู้ที่หากำไรคอยจ้องซื้อขายเงินตรา สกุลนั้นจนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์ เงินบาทกับเงินหยวน เงินริงกิตหรือเงินอื่น ๆ สอดคล้องกัน สมมติเช่น หนึ่งดอลลาร์เท่ากับสามสิบบาท หนึ่งดอลลาร์เท่ากับหกหยวน ฉะนั้นหนึ่งหยวนต้องเท่ากับห้าบาทจึงเรียกว่าสอดคล้องกัน ไม่เขย่งกัน

เงิน ดอลลาร์จึงเป็นสกุลเงินที่ยังมีความสำคัญอยู่เสมอมา โดยเฉพาะสัดส่วนของความต้องการถือเงินดอลลาร์เพื่อใช้เก็งกำไรจะมีสัดส่วน มากขึ้นตามลำดับ เมื่อเทียบกับความต้องการถือเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และการถือเพื่อใช้เป็นทุนสำรอง

การเคลื่อนย้ายไหลไปมาของเงินดอลลาร์นั้นอาจจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆประเภท แรกเป็นการเคลื่อนย้ายอันเกิดจากการเกินดุลหรือขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นเงินที่ได้ขาด ไม่มีพันธะจะต้องจ่ายคืนหรือได้คืนในอนาคต ปัญหาไม่ค่อยมี

อีกประการหนึ่งก็คือปัญหาการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปมาระหว่างประเทศในรูปของเงินกู้ยืมและเงินลงทุน เงินประเภทนี้มีทั้งที่ เป็นปัญหาและไม่เป็นปัญหา เช่น การนำเงินมาลงทุนจริง ๆ ตั้งโรงงาน ซื้อที่ดิน เครื่องจักร นำมาหมุนเวียน เงินลงทุนอย่างนี้เรียกว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ foreign direct investment หรือ FDI เมื่อได้กำไรก็โอนเงินกำไรกลับ หรือเมื่อขาดทุนมากเข้าก็โอนเงินมาเพิ่มทุนในบริษัท

เงินลงทุนอีก ประเภทหนึ่งคือ เงินลงทุนซื้อหุ้นหรือซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า portfolio investment ในตลาดรอง หรือ secondary markets เงินที่ไหลเข้ามาในประเภทนี้เกือบทั้งหมดหรือจะเรียกว่าทั้งหมดก็ได้เรียก ว่า "เงินร้อน" หรือ "hot money" เพราะสามารถขายตราสารและนำเงินออกเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งมีทั้งในรูปเป็นทางการบนดินและไม่เป็นทางการอยู่ใต้ดิน แม้จะเป็นตราสารระยะยาวก็อาจจะขายขาดทุนแล้วนำเงินกลับไปก็ได้

เงิน ร้อนพวกนี้แหละที่ตำราเศรษฐศาสตร์ทุกตำรากล่าวว่า เป็นเงินที่ไม่ได้สร้างสรรค์ เป็นเงินที่ไม่มีประโยชน์หรือ "unproductive" เป็นเงินที่เป็นอันตรายและมีพลังการทำลายสูง หรือ "destructive" เพราะเงินพวกนี้เข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์หากำไรจากช่องว่างที่เขย่งกันของ อัตราผลตอบแทนของตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก หากำไรจากประเทศที่มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำแต่มีผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดอัตราผลตอบแทนโดยทางการที่ทำให้เกิดการเขย่งกัน ของดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนอื่น ๆ ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้ความแตกต่างหายไปจนเหลือแต่ความแตกต่างจากความ เสี่ยงด้านการเงิน

ยกตัวอย่างเช่นประเทศไทยมีความมั่นคงทางการเงิน สูง ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ทุนสำรองระหว่างประเทศสูง ความเสี่ยงในด้านนโยบายการเงินมีน้อย เพราะทางการประกาศว่าจะยึดมั่นในเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างมั่นคง พร้อมกับจะไม่ยอมลดอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงทางด้านการเมืองก็ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งต่างกับประเทศอื่น ๆ ที่ยังมีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ สูงอยู่ ดังนั้น "เงินร้อน" จึงไหลเข้ามาหากำไรจากความแตกต่างของผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งเข้ามาเพื่อ "ปั่นราคา" ตลาดที่มีสภาพคล่องสูง ให้ราคาสูงขึ้น เมื่อราคาสูงขึ้นถึงจุดหนึ่งก็ขายทำกำไร เมื่อถึงจุดนั้นเศรษฐกิจก็ทรุดตัวทำความเสียหายได้

การไหลเข้ามาของ "เงินร้อน" ดังกล่าวในประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคมั่นคงเท่ากันแต่ทางการให้ผลตอบแทนต่อ เงินสูงกว่าประเทศอื่น จะเริ่มจากตลาดหุ้น ตลาดตราสารแล้วก็ลุกลามไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์ แล้วก็ขยายไปยังภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ โดยที่การลงทุนจริง ๆ ในการสร้างโรงงานขยายโรงงานและอื่น ๆ เพื่อขยายการผลิตของภาคเอกชนมีน้อย

หรือ ไม่มีเลย ทำให้เศรษฐกิจร้อนแรงขึ้นในภาคการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ สภาพการณ์อย่างนี้นิยมเรียกกันในสมัยหลังว่า "เศรษฐกิจฟองสบู่" หรือ "bubble economies" เมื่อร้อนแรงถึงจุดหนึ่งที่ฟองสบู่แตก ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงินก็จะล่มสลายกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินได้อย่างที่เคยพบมาแล้วในประเทศไทยและประเทศ

อื่น ๆสิ่งที่น่าห่วงก็คือ ความรู้ความเข้าใจของทางการที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงิน บทบาทของดอกเบี้ยและมาตรการทางการเงินในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงหรือ real sector กับบทบาทในภาคการเงินหรือ financial sector

บทบาทดอกเบี้ยใน ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะเป็นตัวกดหรือกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนจริง ๆ หรือ direct investment เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนโดยตรง แต่ก็มีผลไม่มากเท่ากับการขยายตัวหรือการหดตัวของรายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการขยายตัวหรือชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน

แต่ ในภาคการเงินสำหรับเศรษฐกิจเล็กและเปิดอย่างประเทศไทย การเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อให้ดอกเบี้ยภายในประเทศมีความแตกต่างกับดอกเบี้ยภาย นอก ถ้าพื้นฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจยังอยู่เหมือนเดิม จะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้นแทนที่จะน้อยลง

การ จะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาคการเงินอันมีพื้นฐานมาจากการหลั่ง ไหลเข้ามาปั่นตลาดของ "เงินร้อน" หรือเงินทุนระยะสั้นโดยการขึ้นดอกเบี้ยจึงเป็นการกระทำที่ผิด ผลจะออกมาตรงกันข้ามกับที่เข้าใจ กล่าวคือ เศรษฐกิจจะร้อนแรงยิ่งขึ้น แทนที่จะลดความร้อนแรงลง เพราะจะมี "เงินร้อน" ไหลเข้ามามากขึ้น

การพิจารณาเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องจะเอาไปเปรียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงทาง ด้านมหภาคที่แตกต่างกันไม่ได้ เพราะนั่นเป็นความรู้สึกของเราเองซึ่งแตกต่างกับความรู้สึกของนักค้าเงินที่ นำเงินเข้ามาแสวงหากำไรอย่างตรงกันข้ามก็ได้ พฤติกรรมของตลาดเก็งกำไรนั้นไม่สามารถคาดการณ์ไปจากตัวเราเองได้ เป็นพฤติกรรมที่คาดการณ์ได้ยาก ทฤษฎีที่ว่าด้วยพฤติกรรมของตลาดเก็งกำไรจึงไม่มี

แม้ แต่เศรษฐกิจของเราเองในแต่ละช่วงเวลา ความเสี่ยงทางด้านมหภาคในสายตาของนักเก็งกำไรก็แตกต่างกัน ซึ่งเขาต้องนำมาพิจารณาด้วย ตัวอย่างเช่น มีผู้กล่าวว่า "เราเคยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้สูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ถึงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์มาเป็นเวลาหลายปีก็ไม่เห็นเป็นไร" เป็นการกล่าวที่ไม่เข้าใจ เพราะเมื่อ 3-4 ปีก่อนประเทศเราอาจจะมีความเสี่ยงด้านอื่น เช่น ความเสี่ยงทางด้านการเมือง ความเสี่ยงทางด้านนโยบายการคลัง ความเสี่ยงทางด้านนโยบายการเงิน หรือประเทศอื่นมีความเสี่ยงน้อยกว่าของเรา รวมทั้งปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาดโลก ความเสี่ยงใน ความมั่นคงของยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่อเมริกาที่เปลี่ยนไป การเปรียบเทียบกับประเทศอื่นจึงทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ ต้องดูตัวเราเองเป็นหลัก

ความเสียหายร้ายแรงจากการมาของเงินร้อนนั้น มีมากนัก จะเบาใจไม่ได้ ต้องช่วยกันคิด อย่าคิดว่าตนเองรู้ดีคนเดียว ที่สำคัญโลกทุกวันนี้ไม่มีความลับ อย่านึกว่าเราปิดได้

ความลับมีอย่างเดียวคือ เรารู้หรือไม่รู้เท่านั้น
Little Duck
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

Re: เิงินร้อน โดย ดร.โกร่ง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทางออกสำหรับปัญหาค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า โดย ดร.กอบศักดิ์

ช่วงนี้ ปัญหาเรื่องค่าเงินแข็งและเงินไหลเข้า ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนสนใจและต้องการรู้ว่า “ทางออกที่เหมาะสมกับประเทศไทย สำหรับปัญหาทั้งสองคืออะไร”

ในประเด็นนี้ มีท่านผู้รู้จำนวนมาก ที่ได้กรุณาออกมาให้ความเห็น ชี้แนะ ซึ่งต่างมีความเห็นของตนเอง ที่แตกต่างกันไป ประเภทอยู่คนละขั้ว บางคนต้องการให้ลดดอกเบี้ย บางคนแย้งว่า “ต่อให้ลดแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยอะไร” โดยยกตัวอย่าง หลักฐานต่างๆ มาสนับสนุน บางคนเรียกร้องว่า อยากให้แบงก์ชาติแทรกแซงค่าเงินให้เต็มที่ เช่น ตรึงไว้ที่ 30 บาท/ดอลลาร์ เป็นต้น และบางคนก็เริ่มไปไกลกว่านั้น ต้องการให้รัฐบาลจ่ายยาแรง ออกมาตรการสกัดเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อจัดการกับผู้ที่เข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน ด้วยเหตุนี้ หลายคนที่พยายามติดตามอ่านอยู่ข้างๆ ก็เริ่มงง เพราะมีหลายสำนักเหลือเกิน ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อใครดี

การที่เราจะเห็นถึงทางออกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับประเทศไทยในเรื่องเหล่านี้ ต้องเริ่มจากความเข้าใจในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ดอกเบี้ย เงินไหลเข้า และค่าเงินบาท ใน 3 ประเด็น

ข้อเท็จจริงแรก – ส่วนต่างดอกเบี้ยมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินไหลเข้า ตรงนี้ ถ้าเถียงว่าไม่จริง ก็ไม่ต้องดูอื่นไกล เมื่อ 5 ปีที่แล้ว นักลงทุนไทยแห่กันไปลงทุนที่เกาหลีกันใน “พันธบัตรกิมจิ” กันเป็นเงินถึง 4-5 แสนล้านบาท ถ้าจะถามว่าทำไมถึงไปลงทุนกันมากขนาดนั้น คำตอบง่ายๆ ก็คือ ดอกเบี้ยเกาหลีสูงกว่าไทย ให้ผลตอบแทนสูงถึง 4% ขณะที่ลงทุนในไทยได้ดอกเบี้ย 1-2% เท่านั้น ทำให้หลายคนสนใจไปลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลดังกล่าว ซึ่งในช่วงนี้ ในกรณีของประเทศไทย เนื่องจากดอกเบี้ยสหรัฐ ยุโรปต่ำกว่าเรามาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า เงินจากต่างประเทศได้ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรของเราเพิ่มขึ้นถึง 4 แสนกว่าล้านบาท ในช่วง 13 เดือนที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงที่ 2 – การจะลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้านั้น ควรทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า วัฏจักรเศรษฐกิจเรากำลังอยู่ที่จุดไหน ถ้าเศรษฐกิจเราอยู่ในช่วงขาลง การลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดเงินไหลเข้า และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน แต่ถ้าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น เช่นในปัจจุบัน การจะลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเรื่องเงินไหลเข้า ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าลดดอกเบี้ยจริงตามที่มีการเสนอกัน เงินที่เข้ามาหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย อาจจะลดลงไปบ้าง แต่พอเวลาผ่านไป 2-3 ปี การลงดอกเบี้ย จะส่งผลให้เศรษฐกิจของเราเฟื่องฟูเกินไป กลายเป็นฟองสบู่ (ทั้งจากปัญหาภาคอสังหา หนี้ครัวเรือน หุ้น) กลายเป็นปัญหาใหม่ให้เราแก้ไข ซึ่งถ้าจัดการได้ไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าการลดดอกเบี้ยช่วยลดเงินไหลเข้าได้ เฉพาะในส่วนของเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นสำคัญเท่านั้น เงินอื่นๆ ที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการลงทุนโดยตรง จะยังคงจะเข้ามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดิม

ข้อเท็จจริงที่ 3 – ปัญหาที่ทุกคนกังวลกันจริงๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่ยอมพูดให้ชัด ก็คือ “ค่าเงินแข็ง” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ที่กล้าพูดเช่นนี้ ก็เพราะปีที่แล้วมีเงินไหลเข้ามากว่า 5 แสนล้านบาทในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น แต่ไม่เห็นมีใครออกมาบ่นแต่อย่างไร ส่วนปีนี้ เงินที่ไหลเข้าตั้งแต่ต้นปีมีประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ได้มากจนเกินไปนัก ความจริงออกจะน้อยกว่าเมื่อปีที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป แต่คนกลับบ่นกันมากเรื่องเงินไหลเข้า

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะปัญหาจริงๆ คือ “ค่าเงิน” ไม่ใช่เงินไหลเข้า ปีที่แล้ว ค่าเงินไม่ขยับ เงินไหลเข้าจึงไม่เป็นประเด็น แต่ปีนี้ พอเงินบาทแข็งอย่างรวดเร็วช่วงต้นปี แม้เงินไหลเข้าจะน้อยกว่า ก็ยังถูกยกขึ้นมาเป็น “ผู้ร้ายตัวฉกาจ” เป็นประเด็นที่ท่านผู้รู้พยายามหามาตรการเพื่อจัดการให้ได้

ถ้าเป้าหมายตัวจริง คือ “ค่าเงิน” มาตรการที่ถูกนำเสนอ โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ย อาจจะไม่มีประสิทธิผลตามที่ตั้งใจไว้ โดยประสบการณ์จากประเทศต่างๆ พบว่า แม้ลดดอกเบี้ยแล้ว หรือมีดอกเบี้ยในระดับต่ำแล้วก็ตาม ก็ไม่ช่วยป้องกันเรื่องค่าเงินที่จะแข็งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ญี่ปุ่น ที่ดอกเบี้ยของเขาในช่วง 4-5 ปีนี้ อยู่ที่ 0.1-0.5% ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ มาก แต่ค่าเงินเยนก็ยังสามารถแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จาก 120 เป็น 76 เยน/ดอลลาร์

แล้วทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยคืออะไร

ทางออกของเรามีไม่มากนัก โจทย์สำคัญของประเทศไทย คือ “เราจะอยู่อย่างไรภายใต้ภาวะค่าเงินที่จะแข็งขึ้น และเงินจำนวนมากที่จะไหลเข้า” ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ

ปัญหาแรกเรื่อง ค่าเงิน การจะไปให้แบงก์ชาติไปฝืนค่าเงินเอาไว้ให้อยู่นิ่งๆ เช่นที่ 30-31 บาท/ดอลลาร์ เป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูงมาก (ยิ่งถ้าไปแทรกแซงแล้วทำไม่ตลอด ก็อาจจะนำมาซึ่งการขาดทุนจำนวนมากของแบงก์ชาติได้) ยิ่งช่วงนี้ ค่าเงินเอเชียกำลังแข็งทั้งภูมิภาค ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะไปฝืนเอาไว้ประเทศเดียวได้ ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้าน

1. ให้แบงก์ชาติ แทรกแซง ดูแลให้เงินบาท ไม่แข็งค่าเกินกว่าค่าเงินของคู่แข่งของเรา เช่น ค่าเงินริงกิต และเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งมีนัยต่อไปว่า ถ้าเงินภูมิภาคแข็ง เราก็แข็งเช่นกัน โดยมีเป้าหมายคือ ไม่แข็งมากกว่าประเทศอื่นๆ อันจะช่วยให้ผู้ส่งออกของเรายังแข่งขันกับคู่แข่งได้ และยังค้าขายได้ ซึ่งในเรื่องนี้ จะมีต้นทุนกับแบงก์ชาติในการเข้าแทรกแซง แต่จะน้อยกว่าการฝืนเอาไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ อยู่ในวิสัยที่ทำได้

2. การช่วยส่งเสริมให้ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวรับกับค่าเงินที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ โดย (1) พยายามกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินท้องถิ่นให้มากขึ้น เช่น ถ้าส่งไปจีน ก็คิดเป็นเงินหยวน ส่งไปมาเลเซียคิดเป็นเงินริงกิต ส่งไปลาว กันพูชา พม่า คิดเป็นเงินบาท เป็นต้น (2) พยายามทำ Hedging เพื่อปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน (3) การตั้งราคา price in ไว้ 3% 5% 7% (ตามที่จะเป็นไปได้) เผื่อว่าหากเงินบาทแข็งขึ้น ก็ยังจะกำไรได้ และ (4) การดำเนินการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไว้แต่เนิ่นๆ ในช่วง 6 เดือนนี้ เพื่อจะได้พร้อมหากค่าเงินจะแข็งขึ้นเพิ่มเติม

ส่วนปัญหาที่สองเรื่อง เงินไหลเข้า เราต้องเริ่มโดยยอมรับความจริงว่า ช่วงที่สภาพคล่องล้นโลก ประเทศใหญ่ทางเศรษฐกิจต่างแข่งกันพิมพ์เงิน อัดฉีดสภาพคล่อง การไปตั้งกระสอบทราย ตั้งกำแพงกั้นไว้ ไม่ให้เงินไหลเข้ามา เป็นเรื่องยากเช่นกัน ทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย จึงมีองค์ประกอบสำคัญเพิ่มเติมอีก 2 ด้าน

3. การเตรียมมาตรการที่จะดูแลผลพวงจากการไหลเข้าของเงินทุน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการที่ป้องกัน Easy money, Easy credit culture ที่สภาพคล่องที่จะไหลเข้ามาล้นระบบ จะทำให้บริษัทกู้ยืมจนเกินตัว ครัวเรือนบริโภคจนเกินฐานะ และแบงก์ปล่อยกู้จนสะสมความเสี่ยงไว้มาก เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดวิกฤตอีกครั้งเหมือนกับเมื่อปี 2540 ซึ่งในจุดนี้ หมายถึงการที่รัฐบาลต้องเตรียมนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่จะคุมเข้มภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต่อไป (เช่นเดียวกับที่ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ได้ทำมาแล้ว) ตลอดจนนโยบายที่จะกำกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ทั้งนิ้ มาตรการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ก็จะช่วยเช่นกัน การเร่งเปิดเสรีด้านการไหลออก ไม่ว่าจะเป็นการลดข้อกำหนดต่างๆ การอนุญาตให้คนไทยไปลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น การสนับสนุนให้บริษัทเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ต่างจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับมาตรการที่หลายคนกำลังเสนอกัน คือ มาตรการสกัดกั้นเงินทุนเคลื่อนย้าย นั้น จากประสบการณ์พบว่า “ไม่ได้ผล เรื่องค่าเงินแข็ง” โดยมาตรการที่ถือเป็นยาแรงที่สุดของโลกในการสกัดเงินทุนไหลเข้า เช่น บราซิลเก็บภาษีเงินไหลเข้าถึง 6% หรือ ไทยสั่งตั้งมาตรการสำรอง 30% ต่างก็ไม่สามารถช่วยหยุดเรื่องการแข็งค่าของเงินไว้ได้ โดยหลังจากเราประกาศมาตรการสำรอง 30% ค่าเงินบาทยังคงแข็งขึ้นต่อเนื่องจาก 35.9 เป็น 31.1 บาท/ดอลลาร์ (ที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ มาเลเซีย ไม่ได้มีมาตรการอะไร ค่าเงินของเขากลับแข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินไทย โดยแข็งขึ้นจาก 3.52 เป็น 3.13 ริงกิต/ดอลลาร์) ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นอุทาหรณ์สำหรับเราทุกคนว่า ไม่ควรไปฝากความหวังไว้กับมาตรการสักเงินไหลเข้า ซึ่งเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และกลับไปมุ่งเน้นนโยบายพื้นๆ คือ การแทรกแซงค่าเงินโดยตรงจะได้ผลดีกว่า

4. การเตรียมการสำหรับช่วงเงินไหลออก จากประสบการณ์พบว่า ช่วงเงินไหลเข้า ทุกคนจะร่าเริงไปกับสภาพคล่องที่ล้นในระบบ แต่เมื่อเงินเริ่มไหลออก ปัญหาอาจจะเกิดได้ และอาจจะนำมาซึ่งวิกฤต โดยรอบนี้ ถ้ามองดูไปแล้ว ทุกประเทศในเอเชียต่างจะได้รับเงินไหลเข้ากันเป็นจำนวนมาก วิกฤตรอบหน้าจึงมีโอกาสอย่างยิ่ง ที่จะเกิดขึ้นแถวบ้านเราในเอเชีย อันจะกระทบกับไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เพื่อไม่ประมาท เราคงต้องเตรียมการเพื่อให้ไทยอยู่ในสภาพที่จะรับกับช่วงเงินไหลออก และฝ่าฟันกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลต้องพยายามลดหนี้ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นนี้ เพื่อเพิ่ม Fiscal Room ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เราผ่านพ้นจากช่วงดังกล่าวได้

จุดเปลี่ยนเรื่องการดึงสภาพคล่องกลับ จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณต้นปี 2015 เป็นต้นไป ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย Fed Fund ตามที่ได้ประกาศไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างปี 2016-2017 เมื่อดอกเบี้ยของสหรัฐเริ่มขยับขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงที่ 4% อีกครั้ง ทุกคนที่ได้หลงไปกู้เงินมาใช้จนเกินตัวในช่วงก่อนหน้า ก็ต้องระวังเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง

กล่าวโดยสรุป มาตรการทั้ง 4 ด้านนี้ เป็นทางออกของไทย สำหรับการบริหารเศรษฐกิจใน 3-5 ปีข้างหน้า ถ้าเราเตรียมการดี เข้าใจว่าโจทย์คืออะไร เลือกทางออกที่เหมาะสม เราก็จะผ่านพ้นปัญหารอบนี้ไปได้ แต่ถ้าเราตีโจทย์ผิด เลือกทางออกผิด เราก็จะมีโอกาสพอสมควร ที่จะเสียหายกันอีกรอบ ก็ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

หมายเหตุ สนใจอ่านเพิ่มเติม หรือเสนอแนะได้ที่ “Blog ดร. กอบ” ที่ www.kobsak.com ครับ

ที่มา : คอลัมน์ อนาคตเศรษฐกิจไทย
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556
Someday We will be Great Swan...
ถือหุ้นที่ดี ไม่แพง แล้วก็รอ แค่นั้นแหละ
เค้าว่าล้านแรกจะไ้ด้มายากที่สุด ล้านต่อ ๆ ไปจะไ้ด้มาง่ายขึ้น หวังว่าคำพูดนี้จะเป็นความจริงนะ
:wink:
Little Duck
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

Re: เิงินร้อน โดย ดร.โกร่ง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถ้าเราจะลดดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินไหลเข้า
ดอกเบี้ยของประเทศไทยเรา ต้องไปอยู่ที่เท่าไร ???

แล้วลดแล้วเงินจะไม่ไหลเข้าจริง ๆ เหรอ ???
Someday We will be Great Swan...
ถือหุ้นที่ดี ไม่แพง แล้วก็รอ แค่นั้นแหละ
เค้าว่าล้านแรกจะไ้ด้มายากที่สุด ล้านต่อ ๆ ไปจะไ้ด้มาง่ายขึ้น หวังว่าคำพูดนี้จะเป็นความจริงนะ
:wink:
โพสต์โพสต์