'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ธุรกิจ : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ
วันที่ 12 มกราคม 2556 11:30
'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ทีดีอาร์ไอ"วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

งานวิจัย ภาพรวมนโยบายรายได้ไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวันและเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท โดย รศ.ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์และคณะ ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานไทยยังไม่เหมาะสมกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่า ยังมีแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 4 ล้านคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ความไม่สมดุลดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า การคุ้มครองแรงงานยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงที่จะทำให้แรงงานได้รับค่าจ้างสอดคล้องกับค่าครองชีพอีกเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของแรงงานตกต่ำเสี่ยงต่อความยากจนและภาระหนี้สิน

การดำเนินนโยบาย “ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท” ของรัฐบาลให้ครบทุกจังหวัดใน 2 ครั้งคือ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 คิดเป็นการเพิ่มค่าแรงถึงร้อยละ 80 ของค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย ซึ่งนโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นนโยบายที่มีความสำคัญและจะมีผลกระทบอย่างมหาศาลกับตลาดแรงงานไทย ผลการศึกษานำเสนอข้อดีและข้อเสียของนโยบายดังกล่าว ดังนี้

ข้อดี:

·ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่ากันทั่วประเทศ มีฐานะความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้นเนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนจากการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น
·การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทำให้แรงงานได้ประโยชน์โดยตรงประมาณ 3.2 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 30 ของลูกจ้างเอกชนทั้งหมด
·ค่าจ้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำและมีอำนาจต่อรองน้อย

ข้อเสีย:

·ทำให้ต้นทุนรายจ่ายของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น หรือ แรงงานฝีมือสูงขึ้นมาก เช่น กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการ เป็นต้น
·มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 1 จากกรณีปกติ และอาจจะลดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่สูงขึ้นของไทย ทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้น
·ภาระด้านต้นทุนค่าแรงงานของนายจ้างจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลให้สัดส่วนการจ้างงานของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมลดลงมากและเคลื่อนย้ายไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ (informal economy) มากขึ้น
·ถ้าไม่สามารถปรับระดับผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 8 - 10 อาจจะส่งผลให้การขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ลดลงมากกว่าร้อยละ 1.7 จากกรณีปกติ
ผลกระทบด้านต่าง ๆ จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

1.ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ผลการศึกษา พบว่า การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นสูงและทันที และเมื่อพิจารณาถึงสาขาที่จะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างรวมมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรมซึ่งอาศัยแรงงานเป็นหลัก (labour intensive) โดยหากคิดเป็นจำนวนเงินแล้ว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นจำนวน 2,125 - 2,936 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นการเพิ่มร้อยละ 21.71 - 29.99

สาขาที่จะได้รับผลกระทบมากอันดับที่ 2 ได้แก่ สาขากิจการโรงแรงและบริการด้านอาหาร ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้น 465 - 861 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 - 14.32 อันดับต่อมาคือ สาขาก่อสร้าง โดยจ่ายเพิ่มขึ้น 836 - 1,308 ล้านบาท คิดเป็นค่าจ้างที่ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.01 - 10.98

จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น คือ พึ่งพาแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนสูงและอัตรากำไรสุทธิต่ำ โดยสรุปแล้ว การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งอาจจะมีผลดังนี้

1.1ผลกระทบด้านการส่งออก

ภาคส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่าร้อยละ 62-65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) และมีแรงงานอยู่ในระบบกว่า 5.5 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 15 กลุ่มในภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าค่าจ้างแรงงานของประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงและจะเป็นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว

1.2ผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อ

การปรับค่าจ้างตามนโยบายจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นลูกโซ่ทั้งแผง เนื่องจากสินค้ากว่าจะมาถึงผู้บริโภคได้ต้องผ่านห่วงโซ่อุปทานประมาณ 10 อุตสาหกรรม แต่ละช่วงต้องมีการผลักภาระค่าจ้างบางส่วนใส่เข้าไปในตัวสินค้า ทำให้สินค้าเมื่อถึงมือผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น เป็นต้นทุนของภาคการผลิต ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

1.3การกระจายรายได้และการกระจุกตัว

การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑล เพราะไม่มีแรงจูงใจที่จะกระจายการผลิตไปในต่างจังหวัดซึ่งมีรัศมีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร เนื่องจากระยะทางที่ยาวไกลจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ในระยะยาวจะเป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่

1.4ผลกระทบด้านการลงทุน

ไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากไทยจำเป็นที่จะต้องขยายภาคการผลิตเข้ามารองรับแรงงานใหม่ในแต่ละปี หากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2.3 เท่า จะทำให้การลงทุนในประเทศมีการชะลอตัว ทั้งนี้ ในระยะสั้นและกลาง ภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องใช้การผลิตที่มีแรงงานเข้มข้นอยู่ในระบบการผลิตก่อนที่ไทยจะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Productive Industry) มากขึ้น

1.5แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น

ค่าแรงที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านของไทยจะเป็นการกดดันให้มีแรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม โดยตารางข้างล่างเปรียบเทียบค่าแรงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
รายชื่อประเทศค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือน (เหรียญสหรัฐ)
ประเทศไทย260 เหรียญสหรัฐ
ประเทศพม่า50-60 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 5.2 เท่า)
ประเทศกัมพูชา60-70 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 4.3 เท่า)
ประเทศลาว70 เหรียญสหรัฐ (ต่ำกว่าไทย 3.7 เท่า)
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในไทยประมาณ 3.8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายประมาณ 8.9 แสนคนเท่านั้น ผลกระทบของค่าแรงที่สูงขึ้นมากในไทยเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงปัญหาด้านความมั่นคง สวัสดิการสังคมและอื่น ๆ ตามมา

2.ผลกระทบต่อภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการ

โดยภาพรวม ต้นทุนการผลิตรวมจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.0 โดยหากพิจารณาผลกระทบเป็นรายกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลาง ใหญ่จะได้รับผลกระทบเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 90-94 เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกได้รับผลกระทบมากที่สุดร้อยละ 98 ตามมาด้วยภาคเหนือร้อยละ 96 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ95ภาคใต้ร้อยละ 90 และภาคกลางได้รับผลกระทบน้อยที่สุดร้อยละ 89

สำหรับผลกระทบกับรายสาขาธุรกิจ พบว่า ธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเข้มข้นในภาคการผลิต เรียงลำดับผลกระทบมากไปน้อย ได้แก่ ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวาย ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลิตพลอยเจียระไน เครื่องนุ่งห่ม เครื่องกระเป๋าหนัง เป็นต้น ในส่วนภาคบริการ ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างบ้านและธุรกิจการขนส่งทางบก เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วมีการคาดการณ์ว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การลดลงของความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

บทสรุป

การตัดสินใจขึ้นค่าแรงสูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นประเทศที่มีค่าแรงสูงทันทีซึ่งอาจจะอยู่ในช่วงเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสม คือ ตลาดแรงงานกำลังขาดแคลนแรงงาน (ระดับล่าง) อย่างรุนแรง ภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจะมีการลดการจ้างงาน ลดคนงานเดิมและชะลอรับคนงานใหม่ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดการใช้แรงงาน ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการประสานความร่วมมือเพื่อปรับและเพิ่มทักษะให้กับแรงงานให้มีสรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้โครงสร้างตลาดแรงงานไทยมีความแข็งแกร่งและลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้กับหลายภาคส่วนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

http://bit.ly/RJOGWP
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4256
ผู้ติดตาม: 6

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ธุรกิจ
วันที่ 11 มกราคม 2556 19:13
นักวิชาการชี้ขึ้นค่าแรงก้าวกระโดดศก.'ช็อก'

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผอ.ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผอ.ศูนย์วิจัยม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ย้ำปรับค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด ทำให้เศรษฐกิจช็อกได้ บางธุรกิจล้มหายตายจาก บางธุรกิจปรับตัวได้รอด

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผอ.ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300บาท มีผลทำให้ผู้ประกอบการไม่พร้อมต้องล้มหายตายจาก และส่งผลให้ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ด้านที่ปรับที่มีความเหมาะสม คือแรงงานมีอยู่จำนวนมาก ส่วนที่ไม่เหมาะคือการปรับ300บาททุกพื้นทีทำให้ต้นทุนต่างกัน ดังนั้นบางจังหวัดน่าจะได้300บาท บางจังหวัดน่าจะได้ไม่ถึง300 บาท

ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวว่าการปรับค่าแรง เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อมีส่วนดีกับแรงงาน แต่การปรับก้าวกระโดดอาจช๊อคทางเศรษฐกิจได้ เพราะเมื่อดูการปรับค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทยอยู่อันดับ3 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอย่างอินโดนีเซียปรับค่าแรงขั้นต่ำเช่นกัน โดยปรับขึ้น70% แต่ปรับภูมิภาคไม่เท่ากัน โดยที่ชวาปรับขึ้น40% ถูกกว่าที่จาร์กาตาครึ่งหนึ่ง ทำให้เงินลงทุนไหลไปสู่ชวา ซึ่งเป็นการกระจายความเจริญ

"การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดจะกระทบขีดความสามารถการแข่งขันอย่างมาก อย่าธุรกิจซื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ บางธุรกิจปรับตัวได้ บางธุรกิจปรับตัวไม่ทันและการปรับค่าแรงอย่างเท่ากันทุกจังหวัด ทำให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาในเมืองไทยมาก โดยที่ไม่ต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เพราะได้เงินเท่ากัน"ดร.เกียรติอนันต์ กล่าวย้ำ

http://bit.ly/RJRxz0
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
marble
Verified User
โพสต์: 430
ผู้ติดตาม: 0

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วันละ300บาท คิดว่าสูงแล้วเหรอ... :twisted:

เลือกตั้งครั้งต่อไป นโยบายค่าแรงจะเป็นกลยุทธ์หลักที่ใช้ในการหาเสียง

เพราะทุกพรรคการเมืองก็เห็นกันแล้วว่านโยบายนี้โดนใจผู้ใช้แรงงานมากมายขนาดไหน

เอาเท่าไหร่ดี 400 หรือ 500 หรือ 600 บาทต่อวัน

ผู้ประกอบการเล็กๆทั้งหลาย ปรับตัวให้ทัน ๆ...

นี่มันแค่เริ่มต้นเท่านั้น... :twisted:
คำว่า listen นั้นใช้ตัวอักษรชุดเดียวกับคำว่า silent
naphas12
Verified User
โพสต์: 950
ผู้ติดตาม: 1

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หลัง ๆ มานี้ มีแนว แอบการเมือง บ่อย
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 5

โพสต์

1.3การกระจายรายได้และการกระจุกตัว

การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ ในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑล เพราะไม่มีแรงจูงใจที่จะกระจายการผลิตไปในต่างจังหวัดซึ่งมีรัศมีระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร เนื่องจากระยะทางที่ยาวไกลจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ในระยะยาวจะเป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่
กรณีนี้ขอมองต่างมุม ผมคิดว่า จะเป็นจริงตามความเห็นนี้ ได้ระยะเวลาไม่นานเท่าใดนัก ระยะเวลาอาจคงอยู่แบบนี้ไม่ถึง 3 ปี

ส่วนถ้ามีใครคิดย้ายโรงงานกลับมาอยู่ในส่วนกลาง เกรงว่าโรงงานใหม่อาจยังสร้างไม่เสร็จ สถานะการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนอีกแล้ว

ผมคิดว่า ไม่นานนักหลังจาก 300บาท เข้ารูปเข้ารอย ค่าจ้างส่วนกลางก็จะสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ(300บาท)มากขึ้นไปอีกแน่นอน เพื่อจะดึงแรงงานกลับเข้ามาทำงานในส่วนกลาง(เพื่อมาเติมส่วนที่ขาดอยู่เดิมแล้ว หรือชดเชยแรงงานที่กลับบ้านแล้วไม่กลับมาทำงานอีก) เพียงแต่จะเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งสูงหรือเปล่าเท่านั้น โดยเกิดจากช่วงแรก แรงงานส่วนใหญ่อาจขาดแรงจูงใจมาอยู่ส่วนกลาง เพราะเมื่อใกล้บ้านก็จะได้ค่าแรงเท่ากัน แต่ค่าครองชีพถูกกว่าที่อยู่ในส่วนกลาง

ในระยะยาวก็อาจจะไม่เป็นการทำลายโครงสร้างค่าจ้างปัจจุบันที่เน้นให้อุตสาหกรรมขยายตัวไปในจังหวัดที่ห่างไกลเพื่อเป็นการกระจายรายได้และกันคนให้อยู่ในพื้นที่ก็ได้ ขอมองต่างไปอีกมุมหนึ่ง ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 25

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 6

โพสต์

TDRI หลังๆนี่ออกแนวการเมืองมากเลย ไม่รู้ว่าเดินมาทางนี้จะถูกหรือเปล่า จะวิเคราะห์อะไรต้องคิดแล้วคิดอีก ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ดูเหมือนเป็นผู้ให้ข้อมูล
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 7

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 7

โพสต์

1.1ผลกระทบด้านการส่งออก

ภาคส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่าร้อยละ 62-65 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) และมีแรงงานอยู่ในระบบกว่า 5.5 ล้านคน ซึ่งอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น 15 กลุ่มในภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าจ้างแรงงานของไทยยังสูงกว่าค่าจ้างแรงงานของประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงและจะเป็นปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว

อันนี้ผมมองเป็นข้อดีเลยด้วยซ้ำ ภาวะที่เศรษฐกิจโลกผันผวนสูง
การพึ่งพิงการส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอาจเป็นนโยบายที่ผิดพลาด
หลายๆประเทศในโลกก็พยามปรับระบบเศรษฐกิจให้พึ่งพิงตัวเองมากขึ้น
มันเป็นเทรนของโลกไปแล้ว


1.4ผลกระทบด้านการลงทุน

ไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากไทยจำเป็นที่จะต้องขยายภาคการผลิตเข้ามารองรับแรงงานใหม่ในแต่ละปี หากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามซึ่งอัตราค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2.3 เท่า จะทำให้การลงทุนในประเทศมีการชะลอตัว ทั้งนี้ ในระยะสั้นและกลาง ภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องใช้การผลิตที่มีแรงงานเข้มข้นอยู่ในระบบการผลิตก่อนที่ไทยจะปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Productive Industry) มากขึ้น
1.5แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น(ผลจาก1.4)

ถึงไม่ขึ้นค่าแรงยังไงอุตสากรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น value addedต่ำ เน้นกดค่าแรง productivityต่ำ
ก็ต้องย้ายฐานการผลิตแน่ๆ ยังไงก็ต้องไปพม่า กัมพูชา อนาคตก็ต้องไปแอฟริกา
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
greenman
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 11

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ที่เพิ่มขึ้นแน่คือเงินเฟ้อ มาจากทั้ง cost push and demand pull ส่งออกที่เน้นแรงงานปรับตัวด่วน ต้องดูมาตราการเยียวยาของภาครัฐ
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 17

Re: 'ทีดีอาร์ไอ'วิเคราะห์ผลดี/ผลเสียขึ้นค่าแรง300

โพสต์ที่ 9

โพสต์

TDRIนี่ เล่นการเมืองรึป่าว ขนาดคำขวัญวันเด็กยังออกมาคอมเม้นท์ บางทีก็รู้สึกว่ามากเกินไปนะ :?
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
โพสต์โพสต์