รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
kosch
Verified User
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

kosch
Verified User
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอย้อนไปตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ

http://www.thairath.co.th/content/eco/164199
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มติ ครม.เมื่อ ๒๐ พค.๕๕ อนุมัติแผนพัฒนาพื้นที่ในไทยเพื่อรองรับการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกและอุตสาหกรรมทวาย

มีรายละเอียดตามนี้

http://www.komchadluek.net/detail/20120 ... DJp7qCWisw
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เมื่อ ๒๐ ส.ค. ๕๕ นายวิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายก่อสร้าง ของ AMATA ได้เปิดเผยว่าจะเข้าไปลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่เมืองทวาย มีรายละเอียดตามนี้

http://oohho.com/feed/%E0%B8%82%E0%B9%8 ... 2%E0%B8%A2
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

กรมทางหลวงดัน ๔ มอเตอร์เวย์เชื่อมศูนย์การเดินทางที่บางปะอิน หวังรองรับการเชื่อมโยงภาคเหนือ-อิสาน และท่าเรือน้ำลึกทวาย ผ่านช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง และเส้นทางวงแหวนกาญจนาภิเษก-บางนา เชื่อมบูรพาวิถี สู่ท่าเรือแหลมฉบัง

รายละเอียดตามนี้

http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=478
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เมื่อคราวประธานาธิบดีเต็งเส่งของพม่าได้มาเยือนไทยในเดือน กค.๕๕ ทั้งสองประเทศได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองทวาย ที่ฝ่ายไทยให้ความเห็นชอบที่จะมอบความช่วยเหลือในหลายส่วน ซึ่งรวมทั้งด้านความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งสนับสนุน และไทยมุ่งมั่นที่จะผลักดันความร่วมมือกับพม่าให้เป็นรูปธรรม

รายละเอียดตามนี้

http://www.manager.co.th/indochina/View ... 0000090450
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

หลังจากที่ไทยได้ลงนาม MOU เรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับพม่าแล้ว ครม.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อสรุปนโยบายเกี่ยวกับภาพรวมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยมี สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เป็นแม่งาน โดยเบื้องต้นจะวางโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคในงบประมาณ ๓-๔ แสนล้านบาท

รายละเอียดตามนี้

http://www.biothai.net/news/13844

และในวันที่ ๑๓-๑๕ กันยายน ๕๕ นี้ นายกฯไทยกำหนดจะเยือนพม่า เพื่อนำคณะเข้าหารือกับประธานาธิบดีฯพม่า อย่างเต็มรูปแบบในการดำเนินการโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายนี้

รายละเอียดตามนี้

http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คลังดันอิตาเลียนไทยสร้างท่าเรือทวาย [ ไทยรัฐ, 5 ก.ย. 55 ]

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเตรียมหาลู่
ทางในการช่วยผลักดัน การลงทุนในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
หลังจากความคืบหน้าการลงทุนโดยบริษัทอิตาเลียนไทย ซึ่งรับสัมปทานการลงทุน ดำเนินงานช้ากว่าเป้า
หมายส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงการดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากหรือมากกว่าโครงการลงทุนในมาบตาพุดถึง
10 เท่า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คอลัมน์: รายงานพิเศษ: โอกาสไทยในพม่า. ต้องรีบคว้าก่อนไม่มีที่ยืน!!
Source - มติชน (Th), Monday, September 17, 2012
มนต์ทิพย์ ธานะสุข



หัวกระไดบ้านแทบไม่แห้งเลยสำหรับพม่า หลังเดินหน้าปฏิรูปประเทศจนทำให้เราได้เห็นพัฒนาการเชิงบวกในพม่าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาเพียงแค่ปีกว่าๆ พัฒนาการดังกล่าวได้รับเสียงชื่นชมและการตอบรับอย่างดีจากประชาคมโลก โดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เคยลงดาบพม่า อย่างหนักด้วยมาตรการคว่ำบาตรรุนแรงมานานหลายสิบปี

แต่ตอนนี้ใครๆ ก็อยากเข้าไปผูกสัมพันธ์กับพม่า เพราะอย่างที่รู้กันว่าพม่ามีศักยภาพมากมายหลายด้าน โดยจะเห็นตัวแทนรัฐบาลและภาคเอกชนจากประเทศต่างๆ แวะเวียนเข้าไปในพม่าอยู่ไม่ขาดสาย เมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งมีนักลงทุนสหรัฐคณะใหญ่เดินทางเข้าไปสานไมตรีกับรัฐบาลและภาคเอกชนของพม่า เห็นอย่างนี้แล้วก็อดจะห่วงไทยเราไม่ได้ เพราะขณะที่คนอื่นเขาพาเหรดเข้าไปในพม่าเพื่อแสวงหาโอกาสให้กับตนเองกันครึกโครม แต่นักลงทุนไทยยังดูไม่กระตือรือร้นเท่าที่ควรในการจะฉกฉวยโอกาสเหล่านั้นไว้ ทั้งๆ ที่เราอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบชาติอื่นอยู่มาก

ที่พูดได้อย่างนี้ก็เพราะจากที่มีโอกาสเข้าไปพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจและนักลงทุนไทยในพม่า รวมถึงท่าน พิษณุ สุวรรณชฎ เอกอัครราชทูตไทยประจำพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ต่างสะท้อนให้เห็นถึงความห่วงกังวลที่ไทยอาจจะสูญเสียโอกาสอันดีนี้ไปเพียงเพราะลังเลหรือการตัดสินใจช้าของนักลงทุนไทยเราเอง

คุณจุรี เศรษฐวรพันธ์ นักธุรกิจหญิงไทยที่เข้าไปทำธุรกิจประมงในพม่าตั้งแต่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ก่อนจะมาจับธุรกิจร้านอาหารจนมีหลายร้านหลายสาขาอยู่ในขณะนี้ บอกถึงข้อได้เปรียบของนักลงทุนไทยในพม่าว่ามีอยู่มากเมื่อเทียบกับนักลงทุนจากชาติอื่น เพราะคนพม่าคุ้นเคยกับคนไทยและรู้สึกดีกับเรามากกว่า แต่นักลงทุนไทยยังดูกลัวๆ ที่จะเข้ามาลงทุน ผิดกับ นักลงทุนจากชาติอื่นที่เข้ามากันเยอะอย่างญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียถือว่าน่ากลัวมากในแง่ของการบุกตลาดน้ำมันปาล์ม

คุณสุพิสรา ทองมาลัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด แผนกศูนย์การค้าของบริษัท ชเว ตอง เดเวลลอปเมนต์ จำกัด ของพม่า ที่บอกว่าตอนนี้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในพม่าเยอะ โดยเฉพาะเกาหลีและญี่ปุ่นที่เข้ามาแบบเชิงรุก ทูตพาณิชย์ของเขาจะเข้ามาช่วยติดต่อหา ช่องทางในการทำธุรกิจที่นี่ให้ แต่นักลงทุนไทยเราค่อนข้างช้าและยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเข้ามาลงทุนทั้งๆ ที่โอกาสที่นี่มีอยู่เยอะมาก

ส่วน คุณกนก อินทรวิจิตร ผู้จัดการบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สาขาย่างกุ้ง กล่าวถึงบรรยากาศการลงทุนในพม่าตอนนี้ว่า ถือว่าดีมากและคนพม่าให้การตอบรับนักลงทุนไทยดี โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับนักลงทุนจีนที่คนพม่าเขายังไม่ไว้วางใจ เพราะสร้างปัญหาไว้ให้พวกเขาเยอะ ส่วนปัญหาของ นักลงทุนต่างชาติที่นี่ถือว่ายังมีอยู่มาก กฎระเบียบต่างๆ ที่แม้ตอนนี้จะผ่อนปรนมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ เรื่อง ค่าครองชีพ ค่าเช่าที่ดินอาคารสำนักงานก็ยังเป็นปัญหาเพราะราคาปรับขึ้นไปมาก

ข้างต้นเป็นมุมมองและประสบการณ์บางส่วนของนักลงทุนไทยที่ได้เข้ามาสัมผัสและเห็นด้วยตากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพม่า ท่ามกลางความเชื่อมั่นว่าพัฒนาการเชิงบวกที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไทยที่จะก้าวเข้ามาแข่งขันในตลาดพม่ามากขึ้น ความเชื่อมั่นนี้ต้องตรงกับทรรศนะของเอกอัครราชทูตไทยประจำพม่าที่เล็งเห็นถึงโอกาสทองของนักลงทุนไทยในพม่าว่ามีอยู่มาก

อย่างไรก็ดี ท่านทูตพิษณุมีความห่วงกังวลที่ นักลงทุนไทยส่วนใหญ่ยังลังเลไม่กล้าตัดสินใจเข้ามา ซึ่งท่านเห็นว่าปัญหาหนึ่งอาจมาจากการรับรู้ของสังคมไทยเกี่ยวกับพม่าในบางเรื่องที่อาจคลาดเคลื่อนไปไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้โอกาสหรือผลประโยชน์ในมิติต่างๆ ที่ไทยเราพึงมีพึงได้หลุดลอยไป ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วบรรยากาศการค้าการลงทุนในพม่าขณะนี้ถือว่าดีมาก ท่านทูตบอกว่าบรรยากาศที่ดีขึ้นเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพม่าที่เห็นชัดเจน มีอยู่ 4 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลพม่าได้แสดงความมุ่งมั่น ตั้งใจให้ได้เห็นตรงนี้ที่จะผลักดันประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 2 .กระบวนการปฏิรูปการเมืองพม่าและการปรองดองภายในชาติมีความ คืบหน้าอย่างสำคัญ เห็นได้ชัดจากการเจรจาปรองดองกันได้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่เคยรบราฆ่าฟันกันมาในอดีต 3.การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนที่สุด โดยพม่าได้แก้ไขกฎหมายต่างๆ มากมายที่จะเกื้อกูลต่อการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ เช่น การปรับระบบค่าเงิน ให้เป็นระบบกึ่งลอยตัว (managed float) ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของพม่ามีลักษณะตรงตามข้อเท็จจริงมากขึ้น และ 4.การยกเลิกหรือผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่บังคับใช้กับพม่าในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้ข้อจำกัดดังกล่าวเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ท่านทูตบอกว่าทั้งหมดนี้ไม่เพียงจะทำให้พม่าเดินหน้าไปบนเส้นทางประชาธิปไตยและถนนแห่งการพัฒนา แต่ยังจะทำให้พม่าก้าวไปสู่ความรุ่งเรืองและช่วยให้พม่าเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนตามแผนที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรให้พม่ามองไทยในฐานะเป็นหุ้นส่วนสำคัญด้านการค้าการลงทุน ท่านพิษณุบอกว่า "ไทยและพม่ามีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมายาวนาน คิดว่าเรื่องทำให้พม่ามองไทยไม่น่าเป็นกังวล เพราะพม่าให้ความสำคัญกับไทยอยู่แล้วในฐานะเป็นมิตรประเทศ เป็นมิตรที่พึ่งพาได้และเห็นไทยเป็นแบบอย่างหนึ่งของการพัฒนา แต่ทำอย่างไรให้คนไทยเข้ามาในพม่านี่สิ เป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อย ผมเข้าใจดีว่าธรรมชาติของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในที่ใดก็ตาม ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ภาวะการณ์ของพม่าในเรื่องเงื่อนเวลามีความสำคัญ ผมคิดว่าสำหรับนักธุรกิจไทยที่จะเข้ามาในพม่า ควรจะต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วและเข้ามาดูเพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง" ท่านทูตพิษณุกล่าว

และว่า "ใน 3 ปีข้างหน้า ผมถือว่าเป็นปีทองของนักลงทุนไทยที่จะเข้ามาในพม่า เพราะพม่าจะมีงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนและระดับภูมิภาค โดยในปีหน้าพม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ปีถัดไปจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน แต่ที่สำคัญกว่านั้นพม่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในปี 2558 รัฐบาลเขาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำสัญญาต่างๆ ที่ให้ไว้กับประชาชนให้ประสบความสำเร็จในทุกๆ เรื่อง ซึ่งหนีไม่พ้นการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ฉะนั้นใน 3 ปีข้างหน้า ถือเป็น 3 ปีทองของธุรกิจไทยที่จะต้องหาที่ยืนในระบบเศรษฐกิจของพม่าให้ได้ แต่ถ้าเราไม่ยังสามารถหาที่ยืนได้ภายใน 3 ปีที่ว่านี้ หลังจากนั้นจะยิ่งยากมากขึ้น เพราะเราจะมีคู่แข่งเป็นจำนวนมากและเป็นคู่แข่งระดับเฮฟวี่เวตที่มีประสบการณ์มากและมีเงินทุนมากมายมหาศาล โอกาสที่จะแข่งขันและให้ได้รับชัยชนะในสังเวียนที่ว่าคงยากและ ซับซ้อนมากพอควร"

ท่านทูตพิษณุยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสและลู่ทางต่างๆ ในพม่าที่รอนักลงทุนไทยอยู่อีกมาก โดยเฉพาะในตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคที่สินค้าไทยได้รับความนิยมอยู่อย่างมาก, ตลาดพลังงานและวัตถุดิบต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ อย่างไรก็ตาม ท่านทูตให้ข้อควรตระหนักไว้ว่าการจะตัดสินใจเข้ามาลงทุนในพม่ายังอาจเผชิญอุปสรรคปัญหา เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ยังอาจมีอยู่จำกัดหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริง, กฎระเบียบต่างๆ ที่ ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนมากขึ้น และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังอาจไม่สมบูรณ์พร้อม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นการบ้านที่นักลงทุนไทยจะต้องเข้ามาศึกษาหาข้อมูลให้ดี

ตอนนี้ใครที่กำลังจดๆ จ้องๆ จะกระโจนเข้าไปแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์ในพม่า ก็ควรรีบศึกษาหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนรอบคอบแล้วตัดสินใจ ไม่เช่นนั้นจะไม่ทันกินคนอื่นเขา...

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เจโทรหนุนไทยเดินหน้านิคมทวาย

ที่มา http://www.thaipost.net/news/051012/63240

เจโทรยืนยันพร้อมจัดสรรเงินทุนสนับสนุนไทย พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานในโครงการทวาย ด้าน กนอ.เร่งศึกษาพื้นที่ตั้งนิคมฯ รองรับการลงทุนในจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมโชว์ 11 เดือนขายที่ดิน 3.8 พันไร่
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายเซ็ทซึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ) หรือเจโทร เข้าพบพร้อมยืนยันจะให้การสนับสนุนและจัดสรรเงินทุนให้ประเทศไทย เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ท่าเรือ ตลอดจนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลพม่าในเวทีการประชุมอาเซียนซัมมิตเมื่อเดือน ส.ค.55 ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน
นายเปรมชัย กรรณสูตร ประธานบริหาร (ไอทีดี) กล่าวว่าขณะนี้โครงการก่อสร้างถนนที่มุ่งสู่โครงการทวาย ระยะทาง 160 กม. มูลค่าก่อสร้าง 1 พันล้านเหรียญฯ และโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่าก่อสร้าง 2 พันล้านเหรียญฯ ได้ผ่านกระบวนการรายงานผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว คาดว่าภายในเดือน ต.ค.นี้ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนท์ (ซีซีดี) จะเซ็นสัญญากับรัฐบาลพม่าในการดำเนินโครงการก่อสร้างดังกล่าว
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ได้ว่าจ้าง บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมชายแดนเพื่อรองรับการลงทุน ตามนโยบายระเบียบเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งภายใน พ.ย.นี้ จะรายงานความคืบหน้าให้กับ กนอ.ทราบ โดยเบื้องต้น กนอ.ได้พิจารณาเลือกพื้นที่บ้านทุ่งศาลา-บ้านลำทราย ตำบลบ้านเก่า และอำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 600 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากด่านชายแดนพุน้ำร้อน ประมาณ 15 กิโลเมตร รูปแบบการจัดตั้งจะพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมบริการด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับธุรกิจด้านโลจิสติกส์และขนส่งสินค้า สำหรับยอดขายพื้นที่ของ กนอ.ในรอบ 11 เดือนของปีงบประมาณ 2555 (ต.ค.2554 - ส.ค.2555)มียอดขายพื้นที่ 3,843 ไร่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 999 ไร่ ซึ่งปัจจัยหลักมาจากความได้เปรียบในเรื่องฝีมือแรงงาน และการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว พม่า และเวียดนาม0
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

คลังยังไม่สรุปช่วยเงินอิตาเลียนไทยผุดทวาย

"คลัง"ยังไม่สรุปแผนช่วยเหลือด้านเงินทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายแก่อิตาเลียนไทย หลังความชัดเจนด้านนโยบายระหว่างไทยกับพม่ายังไม่นิ่ง

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)กระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมหารือถึงแนวทางความช่วยเหลือภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายประเทศพม่า แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิความเป็นเจ้าของต่างๆ รวมถึง ผู้ร่วมลงทุนรายอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ เข้าใจว่า ทางสถาบันการเงินของญี่ปุ่นก็แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมด้านเงินทุนด้วย

นอกจากนี้ ในภาพใหญ่ของการลงทุนนั้น ขณะนี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนจากทั้งสองรัฐบาลระหว่างไทยกับพม่า ทั้งเรื่องการสนับสนุนจากรัฐบาลพม่า และ ไทยเองต้องการให้หน่วยงานเข้าไปช่วยพัฒนาบ้าง แม้ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศจะได้หารือในประเด็นดังกล่าวหลายรอบแล้วก็ตาม

“ต้องดูภาพใหญ่ว่า ทางพม่าจะสนับสนุนอะไร และอยากให้ไทยร่วมด้วย ส่วนไทยเองก็ต้องชัดเจนว่า หน่วยงานใดที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาโครงการ ซึ่งขณะนี้ ความนิ่งของ 2 ประเทศยังไม่ชัด แต่ที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของสองประเทศก็ได้คุยกันหลายรอบ โดยสภาพัฒน์เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ประสานงานในภาพใหญ่ ส่วนภาพย่อยนั้น สศค.ได้รับมอบหมายให้ช่วยดูด้านสภาพคล่อง โดยได้เชิญบริษัทอิตาเลียนไทยเข้าร่วมหารือแล้ว แต่ต้องรอให้ภาพใหญ่นิ่งก่อน”เขากล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ก.ล.ต.จัดหนักรับระดมทุน มอเตอร์เวย์ไปทวายเล็งออกกองทุน

ตลาดทุนไทย ประกาศความพร้อมเป็นศูนย์กลางลุ่มน้ำโขง ก.ล.ต.จัด 5 เครื่องมือรองรับระดมทุน ทั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โฮลดิ้ง คัมปะนี ไพรเวตอิควิตี้ และการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ ได้เห็นอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์กองแรกโครงการมอเตอร์เวย์ไปทวาย

นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก.ล.ต. แสดงปาฐกถาหัวข้อ โอกาสและความท้าทายของประเทศไทยจากการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ในงานประชุมระดับนานาชาติ Thailand Investment Conference ซึ่งจัดโดยก.ล.ต.และสมาคมซีเอฟเอ ไทยแลนด์ ร่วมกับสถาบันซีเอฟเอ,นิวยอร์ก,สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่าขณะนี้ก.ล.ต.ได้สร้างรูปแบบและเครื่องมือการลงทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนในกลุ่มประเทศนี้ มี 5 รูปแบบ ประกอบด้วย การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน(อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์) กองทุนรวมเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (รีท) การจัดตั้งบริษัทเพื่อการลงทุน หรือโฮลดิ้ง คัมปะนี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กองทุนเพื่อการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (ไพรเวตอิควิตี้ ) และการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (ซิเคียวริไทเซชัน)
"เครื่องมือในการระดมทุนเหล่านี้พร้อมส่งเสริมการเติบโตและพัฒนาของกลุ่มประเทศ GMS ขณะที่ประเทศไทยก็มีส่วนสำคัญและมีความร่วมมือกับ GMS ในหลายด้าน เช่น ความร่วมมือกับ ก.ล.ต.เวียดนาม ลาว กัมพูชา มีการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพ เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ (ตลท.) นอกจากนี้ ก.ล.ต.ยังมีความร่วมมือกับเมืองคุนหมิงของจีน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภูมิภาค เพราะคุนหมิงถือเป็นศูนย์กลางทางการเงิน การค้า การลงทุน เศรษฐกิจ ของภาคใต้ตอนล่างของจีน"
นายวรพล กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีธุรกิจแสดงความสนใจที่จะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งอีก 1 ราย ในธุรกิจโรงไฟฟ้า หลังจาก ก.ล.ต.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจไทยที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ สามารถจัดตั้งโฮลดิ้งเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศที่อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า และในระยะต่อไปเชื่อว่ากลุ่มนิคมอุตสาหกรรมจะแสดงความสนใจที่จะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งเช่นกัน
ส่วนการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขณะนี้มีบริษัทจดทะเบียน 1 รายได้ยื่นไฟลิ่งกับ ก.ล.ต.แล้ว และคาดหวังว่าจะจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแรกได้ในปลายปี 2555 แต่ยอมรับว่าการอนุมัติการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีความซับซ้อน มีรายละเอียดและขั้นตอนในหลายๆด้าน ทั้งด้านภาษี การทำสัญญาโอนทรัพย์สิน ดังนั้นจึงต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการย่อย 4 คณะร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อวางแนวทางการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อการพัฒนาใน 4 ด้านสำคัญต่อระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ได้แก่ ระบบราง ทางถนน ทางอากาศและทางน้ำ อย่างไรก็ตาม การหารือกับกระทรวงคมนาคมดังกล่าวยังไม่ได้มีการหารือถึงโครงการที่ลงทุนรวมถึงวงเงินที่ต้องการระดมทุน เพียงแต่เป็นการหารือแนวทางและวิธีการระดมทุนเท่านั้น
สำหรับการจัดตั้งกองรีทก.ล.ต.เตรียมประกาศหลักเกณฑ์ได้ในไตรมาส 4/55 เพื่อเป็นเครื่องมือระดมทุนสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่จะมีความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์เบื้องต้นกองทุนนี้สามารถก่อหนี้ได้ 60% และลงทุนทรัพย์สินที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ 10%
นายประกิต บุณยัษฐิติ ผู้ช่วยเลขาธิการก.ล.ต. กล่าวว่า สำหรับรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาปรึกษาก.ล.ต. เพื่อระดมทุนในรูปกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)(บมจ.) หรือทอท.และรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน และโครงการท่าเรือ
ส่วนโครงการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด คือ โครงการของการทางพิเศษฯในการสร้างมอเตอร์เวย์ เชื่อมโยงฝั่งตะวันตก (สายบางใหญ่-กาญจนบุรี) โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า เนื่องจากไม่ติดขัดหลักเกณฑ์ของรัฐวิสาหกิจเรื่องพ.ร.บ.ร่วมทุน และไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแต่หากจะให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็วและสามารถระดมทุนได้ทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบัน จะต้องเป็นโครงการที่สร้างเสร็จและมีรายได้แล้ว ส่วนหากจะนำโครงการที่เพิ่งเริ่มก่อสร้างนั้นจะมีเฉพาะนักลงทุนสถาบันเท่านั้นที่สามารถลงทุนได้
ทั้งนี้โครงการสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี มีมูลค่าโครงการ 4.5 หมื่นล้านบาท
ส่วนโครงการของทอท.นั้นที่ผ่านมาได้เข้ามาปรึกษากับก.ล.ต. ซึ่งเบื้องต้นยังมีปัญหาหลายส่วนโดยเฉพาะเรื่องการนำแหล่งรายได้เพื่อนำมาดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากสนามบินของทอท.มีแหล่งรายได้ที่หลากหลายจึงยากที่จะนำมาจัดการให้เกิดความชัดเจนของแหล่งรายได้ ฉะนั้นคงไม่ง่ายหากทอท.จะหันมาใช้เครื่องมือระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ก่อนหน้านี้ ก.ล.ต. ได้ออกหลักเกณฑ์รองรับการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสามารถรองรับทั้งการลงทุนโดยตรงในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน หรือการลงทุนโดยกองทุนเข้าไปถือหุ้นเกินกว่า 75% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดในบริษัทที่มีการลงทุนหรือมีรายได้หลักจากกิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่งทางราง ทางพิเศษ ไฟฟ้า น้ำประปา สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม พลังงานทางเลือก ระบบบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งระบบป้องกันภัยธรรมชาติ และมีมูลค่าการลงทุนในแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาท และกรณีที่เป็นกิจการประเภทไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท และยังสามารถลงทุนในโครงการที่ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ (greenfield project) ได้ด้วย

http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=443
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ท่าเรือทวายคิดละเอียดหรือยัง ?

รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแผนลงทุนสองล้านล้านบาทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ เป็นการเปลี่ยนประเทศไทยให้สามารถเดินหน้าเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน มีทั้งโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบราง การสร้างรถไฟความเร็วสูง โครงการบริหารจัดการน้ำ โครงการสร้างโครงข่ายโลจิสติกส์เชื่อมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกทวายในประเทศพม่า โครงการบริหารจัดการน้ำ โครงการพัฒนาระบบประสิทธิภาพระบบราง และการสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นไม่มีปัญหาเพราะเป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรทำมานานแล้ว สิ่งเดียวที่ต้องดูให้ดีคือการต่อเชื่อมเส้นทางต่าง ๆ ของโครงข่ายระบบรางต้องไปในทิศทางที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพสามารถต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านสามารถลดต้นทุนในการขนสินค้าขนคนได้จริง

โครงการท่าเรือน้ำลึกที่ทวายในประเทศพม่า เดิมเป็นโครงการที่ภาคเอกชนคือบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ได้สัมปทานมาโดยร่วมกับบริษัทเอกชนและรัฐบาลของพม่า แต่ไม่สามารถผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นมาได้เพราะสถาบันการเงินจากญี่ปุ่นไม่สนับสนุน
ต่อมารัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ทำท่าจะเข้าไปสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมีการพูดจากับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่าถึงสองครั้งและยังผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้าไปร่วมทุน โดยหวังว่าการผลักดันการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวายและการเชื่อมระบบโลจิสติกส์เชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังจะเป็นการสร้างระเบียงเศรษฐกิจในเส้นทางระหว่างสองท่าเรือได้

เมื่อรัฐบาลไทยจะเอาภาครัฐเข้าไปสนับสนุนโครงการท่าเรือน้ำลึกในพม่า ก็เท่ากับเอาเงินงบประมาณไปสนับสนุน การเอาเงินภาษีคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศนั้นไม่มีปัญหาถ้าเป็นการลงทุนที่ถูกที่ถูกทาง สร้างผลประโยชน์ได้คุ้มค่า แต่โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายรวมทั้งระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อกันนั้น มีการศึกษาชัดเจนหรือยังว่าจะได้ประโยชน์จริง

ประเด็นที่มีการสอบถามกันมากเกี่ยวกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายเรื่องแรกคือ โครงการนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้จริง เพราะโรงงานต่าง ๆ ที่จะมาลงทุนใช้ประโยชน์จากท่าเรือน้ำลึก ถ้าไม่ใช่ของญี่ปุ่นก็ต้องเป็นของจีน ลำพังโรงงานของประเทศไทยและพม่าคงไม่มีความสามารถที่จะไปปลุกให้โครงการท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้นได้

ประเด็นที่สองท่าเรือน้ำลึกที่ทวายนั้น บรรดาบริษัทเดินเรือทั้งหลายประสงค์ที่จะเข้าใช้หรือไม่ มีสายการเดินนานาชาติใดที่ประกาศตัวแล้วว่าพร้อมจะใช้ท่าเรือทวาย

เราเห็นว่าก่อนที่รัฐบาลไทยจะลงทุน เอาเงินที่ประเทศหามาด้วยความเหนื่อยยากจากการส่งออก เป็นเงินที่ได้จากการเอาแรงงานไปแลกดอลลาร์มา 15 ปี ควรจะหาคำตอบที่ชัดเจนในสองประเด็นนี้ให้กับคนไทยเสียก่อน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,781 วันที่ 7-10 ตุลาคม พ.ศ. 2555
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ใครว่าจีน ญี่ปุ่นไม่สนับสนุนให้สร้างทวาย. เค้าอยากให้รีบๆทำต่างหาก แต่ที่ต้องการคือให้ไทยสร้างถนนและรางรถไฟเชื่อมต่อไปถึงท่าเรืออื่นๆด้วยคือมาบตะพุดกับท่าเรือที่เวียตนาม เพราะถ้าไทยมัวยืดยาดมีท่าเรือทวายไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์

เงินที่เอามาใช้ก็หนักไปทางชยายถนนกับปรับปรุงรางรถไฟทั้งนั้นแหละ มันก็ต้องทำอยู่แล้ว จีน ญี่ปุ่นเค้าพร้อมจะให้กู้เพราะเค้าเองได้ประโยชน์ด้วย สินค้าต่างชาติสัญชาติไทยจะได้ขนส่งได้เร็วขึ้น ประหยัดเวลาและค่าขนส่งได้เยอะเพราะไม่ต้องลงเรือไปทางสิงคโปร์
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

อิตาเลียนไทยเคลมรัฐลงขันแสนล. 60ธุรกิจรุมจองที่ดินกนอ.600ไร่ดันทวายโปรเจ็กต์
updated: 09 ต.ค. 2555 เวลา 17:24:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

13497783231349778424l.jpg
อิตาเลียน ไทยโล่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกแรงช่วยเต็มที่ "โครงการทวาย" 1 แสนล้าน "เสี่ยเปรมชัย กรรณสูต" เผยตอนนี้เนื้อหอมจัด มีเอกชน 60 รายจองที่ดินนิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ "นิคมอมตะ" โผล่จองด้วย 600 ไร่ กระทรวงคมนาคมเร่งสร้างมอเตอร์เวย์ "บางใหญ่-กาญจนบุรี" เสริมอีกแรง

นาย เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เปิดเผยว่า เป็นที่ชัดเจนว่าโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ทางรัฐบาลไทยจะเข้ามาช่วยหาแหล่งเงินทุนและผู้ถือหุ้นในบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (DDC) ซึ่งเป็นบริษัทรับสัมปทานโครงการนี้ แผนลงทุนหลักจะมีการก่อสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึก มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท จากทั้งโครงการที่ใช้เงินลงทุน 3 แสนล้านบาทโดยรัฐบาลไทยจะหาผู้ร่วมลงทุนให้ โดยตั้งเป็นรูปแบบ SPV ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทจัดการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ ระดมทุน แนวคิดจะมีทั้งรัฐวิสาหกิจ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และบริษัทรายใหญ่ในประเทศไทย เช่น บริษัทกลุ่มพลังงาน อาทิ บริษัท ปตท.สผ. เป็นต้น

สำหรับ ITD เมื่อมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามา ก็จะลดสัดส่วนถือหุ้นในบริษัท DDC ลงจาก 60% เหลือ 25% โดยมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic partner) คือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น

หรือไจก้า ถือหุ้นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 20% แลกกับเงื่อนไขทางญี่ปุ่นจะเป็นผู้ให้กู้หลักในโครงการ ในสัดส่วน 80% ของมูลค่าลงทุนรวม ที่เหลือ 20% มาจากสัดส่วนผู้ถือหุ้น

"พอมีความ ชัดเจนเรื่องถนนและท่าเรือแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาภายในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนี้ทุกอย่างจะเดินหน้าได้ ทั้งหมดก็จะไม่มีปัญหา ทั้งโรงไฟฟ้าที่ตอนนี้ทาง บมจ.ราชบุรีโฮลดิ้งจะเข้ามาถือหุ้น 30% รายอื่น ๆ กำลังเจรจา ซึ่งเราจะลดการถือหุ้นลงจากเดิม 60%"

ส่วนพื้นที่นิคม อุตสาหกรรม นายเปรมชัยกล่าวว่า ขณะนี้ได้รับความสนใจสูงมาก มีผู้ประกอบการหลายรายติดต่อมาประมาณ 60 ราย ในพื้นที่กว่า 600 ไร่ รายใหญ่ ๆ เช่น นิคมอุตฯอมตะของประเทศไทย และนิคมอุตฯจากญี่ปุ่น เป็นต้น

นาย เปรมชัยกล่าวต่อว่า สำหรับ SPV ที่ตั้งขึ้นมาจะมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินคือ ถนน และท่าเรือน้ำลึก พร้อมกับได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการ ทางด้านรัฐบาลพม่าจะถือหุ้นในส่วนของท่าเรือน้ำลึก และได้เจรจาให้ปรับแผนธุรกิจเร็วขึ้น โดยขอให้เปิดบริการท่าเรือน้ำลึกปลายปี 2557 จากแผนเดิมจะเปิดปลายปี 2558

นาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการทวาย นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ตั้ง 6 คณะทำงานเพื่อผลักดันให้สำเร็จ ในส่วนคมนาคมจะเข้าไปช่วยลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในฝั่งประเทศไทย

ขณะ ที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นว่า อยากฝากให้รัฐวิสาหกิจไปคิดถึงการขยายบทบาทการลงทุนไปสู่สากล เช่น การลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งต้องถามว่าทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย สนใจและพร้อมจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือไม่ รวมถึงการลงทุนสาธารณูปโภคด้านอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมระหว่างกัน ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็คงจะต้องพิจารณาว่าจะเข้าไปเป็นผู้ลงทุนหรือ ผู้ร่วมลงทุนหรือไม่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร จากโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย

Written By [v] on 31 พฤษภาคม 2555 | 13:45

1. ภาคตะวันตกของไทย (กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี) และกรุงเทพฝั่งตะวันตก จะเป็น “ฐานการผลิต” และฮับโลจิสติกส์ (Logistic Hub) ในการนำเข้าและส่งออก

2. พื้นที่ของ กาญจนบุรี-ราชบุรี-สุพรรณบุรี จะเป็น Gate Way ของ 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และสิงค์โปร์) ซึ่งเท่ากับไทยจะเป็น “ศูนย์กลางการขนส่งแห่งภูมิภาค” แทนเกาะสิงค์โปร์ทันที

3. จุดแข็งของไทยในการเป็นศูนย์กลางผลิตและส่งออกผลิตผลทางอาหารแปรรูป หรือ “ครัวโลก” (World Food Supply) เด่นชัด เป็นจริง

4. ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้นในเขตพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ (กาญจนบุรี) จะเติบโตแบบก้าวกระโดด

5. เมืองหน้าด่านทางตะวันตก (จ.กาญจนบุรี) จะเป็นเส้นทางการค้าแห่งใหม่ของโลก จุดเชื่อมต่อของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) (อุตสาหกรรมอยู่ที่ชายแดนไทย-พม่า สินค่าที่ต้องใช้แรงงานทำที่พม่า และมาประกอบ-บรรจุในไทย แล้วส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบัง)

• สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังพม่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก เคมีภัณฑ์ รถยนต์และอุปกรณ์ ผ้า ผลิตภัณฑ์ข้าว อาหารสำเร็จรูป เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น
• สิ้นค้าที่พม่าส่งออกมายังไทย ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ เนื้อสัตว์ ไม่ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะ พืช ผัก ผลไม้ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง สัตว์น้ำสดและแช่แข็ง เป็นต้น
• แต่ปัญหาความมั่งคง และความสงบเรียบร้อย รวมถึงปัญหาชนกลุ่มน้อย ยังเป็นอุปสรรคต่อโครงการเส้นทางการค้านี้

ที่มา :จากเวบบอร์ด บ้านพุน้ำร้อน-ท่าเรือน้ำลึกทวาย
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

นายกฯเตรียมไปท่าเรือน้ำลึก-นิคมฯทวาย พัฒนาความร่วมมือกับพม่า พ.ย.นี้

วันที่ 04 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 18:40:09 น.

นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กยอ.เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้รับทราบความคืบหน้าการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพลเอกเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า จะเดินทางลงพื้นที่โครงการ เพื่อรับทราบรายงานความคืบหน้า นอกจากนี้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะสนับสนุนงบประมาณการลงทุนของโครงการเบื้องต้น ตามข้อตกลงการยกระดับเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อส่งสัญญาณให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการรับทราบว่า รัฐบาลมีความพร้อมร่วมพัฒนาโครงการอย่างแท้จริง

สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโครงการนั้น ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างยกร่างแผนแม่บทการพัฒนาความเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจของไทยกับโครงการทวายของพม่า มี 6 แผนงานหลัก คือ งานพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย, งานพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและธุรกิจชุมชน, งานพัฒนาไฟฟ้าและพลังงาน, งานพัฒนาสังคมและชุมชน, งานปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับ และงานสนับสนุนทางการเงิน

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางการให้ความสนับสนุนทางการเงินของโครงการดังกล่าว ล่าสุด อยู่ระหว่างการพิจารณาโครงสร้างการลงทุนที่เหมาะสมและสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างรัฐ-เอกชนของไทย กับญี่ปุ่น และพม่า รวมทั้งแหล่งเงินที่เหมาะสม คาดว่าเร็วๆ นี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา จากนั้นจึงตั้งคณะเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป

ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

"ยิ่งลักษณ์"สั่งลุยโครงการทวายเต็มพิกัดเร่งจัดกระบวนทัพภาคเอกชนไทยบุกพม่า


นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเร่งทำหนังสือถึงรัฐบาลพม่าเพื่อเชิญรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันในประเทศไทย มโดยจะต้องจัดให้มีการประชุมก่อนการประชุมอาเซี่ยนซัมมิต ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในระหว่างวันที่ ๑๗-๒๐ พ.ย. ที่จะถึงนี้

ขณะนี้ โครงการฯทวายได้รับความสนใจจากนักลงทุนและรัฐบาลทั่วโลก ทั้งในกลุ่มประเทศเอเซีย และในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรปและอเมริกา ดังนั้น เพื่อยืนยันถึงความสำคัญของโครงการนี้ในการประชุมอาเซียนซัมมิตที่จะเกิดขึ้น นายกรัฐมนตรีของไทย และประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ของพม่า จะใช้เวทีการประชุมดังกล่าวประกาศความชัดเจนในการเดินหน้าโครงการทวาย จะมีการประกาศแผนความร่วมมือ ๖ สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าง สาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ พลังงาน การพัฒนาชุมชน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการเงิน

ดังนั้น จึงต้องหารือในกลุ่มย่อยระหว่างคณะทำงานของทั้งสองประเทศก่อน เพื่อกำหนดรายละเอียดในความร่วมมือด้ายต่าง โดยคณะทำงานที่จะเชิญมาร่วมประชุมในครั้งนี้ จะเ็ป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทีมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธานฝั่งไทย และพม่ามีรองประธานาธิบดี เป็นประธานร่วม ซึ่งภายหลังจาำกที่มีการประชุมอาเซียนซัมมิต นายกรัฐมนตรีของไทย จะนำ ครม. และนักธุรกิจที่สนใจเข้าไปลงทุนในทวาย เข้าพบกับรัฐบาลพม่าด้วย

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/eco/297631
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ภาพประกอบจาก FB ของคุณ Perk BK นะครับ
แนบไฟล์
306509_447570998628520_1873925827_n.jpg

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ของปีที่แล้ว สำหรับคนที่ยังไม่ได้ฟัง

การเสวนา ท่าเรือน้ำลึกทวาย โอกาสทางเศรษฐกิจและช่องทางธุรกิจ

ดำเนินรายการโดย คุณชัยวัฒน์ วณิชวัฒนะ
บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรม เซ็นทรัลเพลช มหาชัย สมุทรสาคร

ตอนที่ ๑
http://www.youtube.com/watch?v=iT_TIDCm ... ure=relmfu

ตอนที่ ๒
http://www.youtube.com/watch?v=LM6C3GFFbK8

ตอนที่ ๓
http://www.youtube.com/watch?v=lgR_IE1F ... ure=relmfu

ตอนที่ ๔ (หาไม่พบ)
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ยันผุดท่าเรือปากบาราไม่คุ้ม-ใช้ทวายแทน ชี้สู้ท่าเรือใหญ่ในแถบเอเชียไม่ได้แน่นอน กระทุ้งรัฐใส่ใจโลจิสก์ติกส์ภาคเกษตรด้วย

โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล ศูนย์ข่าว TCIJ
วันที่เขียนบทความ 08/08/2555


(จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในหลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ)

ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ ระบุแผนโลจิสติกส์ช่วยไทยลดต้นทุน-เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน หากดำเนินการได้ตามแผน แต่นักการเมืองต้องไม่มีวาระแอบแฝง แนะภาครัฐเร่งพัฒนาระบบเชื่อมต่อท่าเรือทวาย รับเปิดเสรีอาเซียน ดันไทยได้ประโยชน์มหาศาล ยันไม่จำเป็นต้องสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะทำลายอาชีพ การท่องเที่ยว ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่คุ้มค่าลงทุน และสู้ท่าเรือใหญ่ในประเทศแถบนี้ไม่ได้แน่นอน แนะพัฒนาโลจิสติกส์ช่วยเหลือเกษตรด้วย ไม่ควรเน้นเฉพาะภาคอุตสาหกรรม

ตำแหน่งแห่งหนของประเทศไทยบนแผนที่โลกกล่าวได้ว่า ตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม เป็นชุมทางด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การขนส่ง ที่จะทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในอนาคต วิสัยทัศน์นี้ผลิตแนวคิดที่ต้องการสถาปนาไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของอาเซียน ซึ่งทั้งกดดันและหนุนเสริมให้ไทยต้องคิดหาแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อตอบสนองความทะเยอทะยานนี้

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2549-2554 ฉบับที่ 2 กำลังอยู่ในกระบวนการเตรียมคลอด ซึ่งยังคงคล้ายคลึงและต่อยอดความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยจากฉบับแรก เพียงแต่มีโจทย์ใหม่ถูกเพิ่มเติมมาให้ขบคิดคือการเปิดเสรีอาเซียน และการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศพม่า

อภิโครงการทวายที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดรวมกันถึง 10 เท่า คาดว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ และโลจิสติกส์ในภูมิภาคชนิดที่เลี่ยงไม่ได้ บีบให้ไทยจำเป็นต้องลงไปปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและทันท่วงที เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ภาครัฐของไทยตอบสนองอย่างกระตือรือร้น ด้วยแนวคิดการสร้างถนนเชื่อมจากทวายตัดตรงสู่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง หวังเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้เข้าด้วยกัน และแน่นอนว่า หากโครงการเสร็จสมบูรณ์ จะช่วยฉุดดึงตัวเลขทางเศรษฐกิจได้เป็นกอบเป็นกำ และเป็นหน้าเป็นตาแก่รัฐบาล

(ยังมีรายละเอียดอีกมาก สมใจติดตามได้ที่ http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=969)
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เร่งผุด 5 มอเตอร์เวย์สายใหม่ ทล.เปิดแบบโซนตะวันออก เชื่อมทวาย โยงลาว

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 10:49 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

กรมทางหลวง ไม่สนเปิดทวายปีไหน เดินหน้าผลักดันมอเตอร์เวย์โซนตะวันออกเชื่อมโยงสปป.ลาวและทวายผ่านแหลมฉบังและมาบตาพุด เร่งปรับทางขนานและก่อสร้างรั้วตลอดแนวสาย 7 ช่วงชลบุรี-พัทยาเพื่อเตรียมเก็บค่าผ่านทางหลังเปิดให้บริการฟรีมานาน ส่วนช่วงพัทยา-มาบตาพุด คาดออกแบบเสร็จปลายปีนี้ วงในเผยหวั่นชาวนครปฐมประท้วงช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี และปัญหาอีไอเอล่าช้า ก่อนชงครม.ลุ้นชี้ชัดรูปแบบลงทุน

นายชัชวาล บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากปริมาณรถที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงการขนส่งและการท่องเที่ยว ส่งผลให้ทล.มีนโยบายเร่งรัดการศึกษาและสำรวจออกแบบโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)ระยะเร่งด่วนตามแผนปี 2555-2563 ใน 5 เส้นทางหลักรวมกว่า 705 กิโลเมตร ประกอบด้วยช่วงบางปะอิน-นครราชสีมาระยะทาง 196 กิโลเมตร ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร ช่วงชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 89 กิโลเมตร ช่วงนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง 118 กิโลเมตร และช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์ระยะทาง 206 กิโลเมตร

ส่วนความคืบหน้าโครงการมอเตอร์เวย์ในแต่ละเส้นทางนั้น ขณะนี้ในช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และช่วงบางปะอิน-นครราชสีมา ออกแบบแล้วเสร็จ รอนำเสนอรัฐบาลชี้ความชัดเจนด้านการลงทุนเท่านั้น ส่วนช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์ อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ ขณะที่ช่วงนครปฐม-ชะอำ อยู่ระหว่างการออกแบบ สำหรับช่วงพัทยา-มาบตาพุด คาดว่าออกแบบแล้วเสร็จปลายปีนี้

"เล็งเห็นว่าช่วงพัทยา-มาบตาพุด จะเกิดขึ้นได้เร็ว เพราะจะส่งผลให้การเดินทางเชื่อมโยงสู่ภาคตะวันออกได้ง่าย สะดวก รวดเร็วขึ้น ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์เชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอีกด้วยโดยคาดว่าจะใช้งบลงทุนประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท"

นายชัชวาลย์กล่าวอีกว่าโครงการมอเตอร์เวย์ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 38 กิโลเมตรนั้น จัดเป็น 1 ใน 5 สายเร่งด่วนของกรมทางหลวง สถานะโครงการล่าสุดคาดว่าปลายปีนี้สำรวจออกแบบแล้วเสร็จ ทั้งนี้ได้ทำการเบี่ยงจุดที่เป็นปัญหากับชุมชนเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการรับรองการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เหตุที่มาเร่งพัฒนาเส้นทางนี้เพราะเส้นทางสั้นกว่า ปริมาณรถเริ่มหนาแน่น ส่วนทวายยังใช้เวลาอีกนานกว่าจะเปิดให้บริการ ขณะนี้จึงได้เร่งรัดการออกพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อทำการก่อสร้างต่อไป ส่วนการเปิดประกวดราคาได้เมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลชี้ชัดรูปแบบการลงทุนว่าจะใช้งบจากกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหรือจากงบอื่นๆ มาดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ปริมาณการจราจรจากการคาดการณ์ในเส้นทางดังกล่าวพบว่าในช่วงปีแรกนั้นตั้งแต่ช่วงมาบประชัน-บ้านซากแง้วปริมาณรถ 19,920 คันต่อวัน ช่วงบ้านซากแง้ว-เขาชีโอนปริมาณรถ 22,580 คันต่อวัน และช่วงเขาชีโอน –อู่ตะเภา ปริมาณรถ 16,250 คันต่อวัน ส่วนปีที่ 2 จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

นอกจากนั้นล่าสุด ทล.ยังเร่งศึกษาความเหมาะสมทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี-หนองคาย ซึ่งจัดเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ที่มีความสำคัญสูงในการรองรับการเดินทางของประชาชนและภาคการขนส่งสินค้าหากมีการเปิดการค้าเสรีอาเซียนให้เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ผ่านเมืองหลักของภูมิภาค ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย บริเวณพรมแดนไทย-ลาว

แหล่งข่าวระดับสูงจากกรมทางหลวงกล่าวว่า ขณะนี้กรมยังเป็นห่วงการก่อสร้างเส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรีที่แบ่งออกเป็นช่วงๆ ดังนี้คือ ช่วงบางใหญ่-นครปฐม ช่วงนครปฐม-กาญจนบุรี และช่วงกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน โดย 2 ช่วงแรกขณะนี้อีไอเอผ่านและออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนช่วงกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อนอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมก่อนที่จะออกแบบรายละเอียดต่อไป อีกทั้งยังรออีไอเออีกประมาณ 1 ปี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ 2 ช่วงแรกที่ชาวนครปฐมจำนวนหนึ่งไม่เห็นชอบและบอกว่าจะยืนหยัดต่อต้านให้ถึงที่สุดนั้นคงต้องเร่งทำความเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาเส้นทางดังกล่าวต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,785 วันที่ 21-24 ตุลาคม พ.ศ. 2555
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 23

โพสต์

วันที่ 26 ตุลาคม 2555 07:06

'ยิ่งลักษณ์'ถกความคืบหน้าลงทุนทวายวันนี้

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นายกฯเรียกทีมที่ปรึกษา-หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องถกความคืบหน้าลงทุนทวายวันนี้ ก่อนร่วมประชุมตัวแทนพม่า 7 พ.ย. นี้

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมไทย-พม่า ว่าด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง เป็นประธานฝ่ายไทย จะประชุมร่วมกับตัวแทนรัฐบาลพม่าในวันที่ 7 พ.ย. 2555

เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมติดตามความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 14.30 น. แต่เลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 26 ต.ค. 2555 แทน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีข้อเสนอที่ไม่ตรงกัน ระหว่างทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกับหน่วยงานราชการ โดยที่ปรึกษานายกฯ เสนอให้รัฐบาลดำเนินโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยรัฐบาลไทยทำข้อตกลงเบื้องต้นกับรัฐบาลพม่า ให้รัฐบาลพม่ารับผิดชอบภาระทางการเงินที่ใช้ในการลงทุน ขณะที่ไทยจะเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนและประเทศที่ 3 ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนให้ ส่วน ไอทีดี เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ ส่วนแนวทางการระดมทุนจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมาหารือกันอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลไทยมีความตกลงกับรัฐบาลพม่าในรูปแบบรัฐต่อรัฐ

ญี่ปุ่นตั้งแง่ปล่อยกู้แลกร่วมทุน

นอกจากนี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้แจ้งว่า การที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) จะปล่อยกู้ เพื่อก่อสร้างโครงการทวายได้ จะต้องเป็นโครงการในลักษณะจีทูจี หรือมีเอกชนของญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนด้วย

ขณะที่ความเห็นของกระทรวงการคลังในรูปแบบการลงทุนนั้น ได้เสนอ 3 แนวทาง คือ

1.การจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ เอสพีวี เข้ามาระดมทุนโดยการทำซิเคียวริไทเซชั่น โดยมีรัฐบาลไทย รัฐบาลพม่า รัฐบาลประเทศที่ 3 และ ไอทีดี ร่วมถือหุ้น

2.ตั้งซูเปอร์โฮลดิ้งขึ้นมาระดมทุน โดยใน ซูเปอร์โฮลดิ้งจะมีเอสพีวีย่อยที่แยกระดมทุนตามโครงการ

3.รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลประเทศที่ 3 ในการจัดหาแหล่งเงินทุน โดยรัฐบาลพม่าเป็นผู้รับภาระ โดยจะมีการเลือกรูปแบบการลงทุนในวันที่ 7 พ.ย. ในการหารือกับรัฐบาลพม่า

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%89.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ทวายเปิดทางลงทุนพร้อมรับเอสเอ็มอี

วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555 เวลา 08:00 น.

ท่าเรือน้ำลึกทวาย เปิดตัวต้อนรับเอสเอ็มอีกลุ่มเออร์ลี สิ่งทอ การเกษตร อาหารกระป๋อง จองพื้นที่ ชี้โครงการมีแต่สัญญาณทางบวก

ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ผู้พัฒนาพื้นที่ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เขตจังหวัดทวาย ตอนเหนือของอ่าวเมืองมะกัน ประเทศสหภาพเมียนมาร์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการว่า การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ทำควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบคมนาคมเข้าสู่พื้นที่ รวมถึงการจัดรูปที่ดิน สร้างชุมชนใหม่ให้ราษฎรเมียนมาร์ ในพื้นที่ก่อสร้าง

“นอกจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทางนิคมฯได้จัดเตรียมพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมกลุ่มเออร์ลี หรือกลุ่มขั้นต้น ซึ่งจะเข้าอยู่และเริ่มประกอบการได้ในปี 2558 ตอนนี้ก็ติดต่อขอรับทราบข้อมูลการลงทุนกับบริษัทได้แล้วผ่านทางฝ่ายการตลาด” ดร.สมเจตน์กล่าว

กลุ่มอุตสาหกรรมขั้นต้น ที่นิคมอุตสาหกรรมทวายจัดเตรียมไว้จะอยู่ในพื้นที่พิเศษ มีท่าเรือขนาดเล็กรองรับ ได้แก่ อุตสาหกรรม สิ่งทอ เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ ยางพารา รองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารบรรจุกระป๋องและงานไม้ โดย ดร.สมเจตน์ อธิบายว่า แม้ระบบใหญ่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ระบบย่อยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมขั้นต้น ที่พัฒนาควบคู่จะทำงานได้ มีบริการครบถ้วน เช่นระบบไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรม ท่าเรือ รวมถึงสิทธิพิเศษทางการค้า (จีเอสพี) รัฐบาลของทั้งไทยและเมียนมาร์มีความเห็นชอบร่วมกันในการลงทุน โดยมีรายงานว่า ผู้นำระดับสูงของประเทศเมียนมาร์จะเดินทางตรวจเยี่ยมโครงการในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับภาพรวมความเชื่อมั่นของโครงการ ดร.สมเจตน์กล่าวว่า ขณะนี้มีแต่สัญญาณทางบวกโดยรัฐบาลไทยซึ่งเป็นฝ่ายจัดหาทุน ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการแล้ว หากการสนับสนุนทางการเงินได้เร็วก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ส่วนความน่าเชื่อถือของการลงทุนในพื้นที่ 2 ประเทศ ดร.สมเจตน์กล่าวว่า ผู้ลงทุนบางรายอาจเป็นห่วงต่อระดับความเชื่อถือของประเทศเปิดใหม่ แต่ควรพิจารณาถึงระบบปฏิบัติการ ระบบบริหาร ตลอดจนกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น การที่เมียนมาร์หยุดการพัฒนาการลงทุนไป 50 ปี ก็มีโอกาสตามประเทศอื่นทันอย่างรวดเร็ว ซึ่งอยู่กับทัศนคติของผู้นำ อย่างไรก็ดี ทางโครงการไม่วิตกต่อประเด็นทางการเมือง เพราะทั้งสองประเทศมีข้อตกลงร่วมกันชัดเจน มีบรรยากาทางบวกที่สำคัญ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/businesss/163764
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 25

โพสต์

มุมมองต่อโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ของคุณจุลพงศ์ อยู่เกษ กรรมการในคณะประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี

ทำไมโครงการทวายจึงสำคัญกับประเทศไทย ?

โดย : จุลพงศ์ อยู่เกษ
วันที่ 24 ตุลาคม 2555

รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้เห็นชอบในแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชื่อมโยงฝั่งตะวันตกของประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ด้วยเห็นว่าพม่ามีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจและรัฐบาลไทยเห็นว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายซึ่งภาคเอกชนไทยได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาโครงการจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายตั้งอยู่ที่เมืองทวายในเขตตระนาวศรีของพม่า ห่างจากกรุงเทพมหานคร ราว 350 กม. โดยแบ่งการก่อสร้าง คือ ระยะที่ 1 ช่วงปี 2554-2558 เป็นการก่อสร้างท่าเรือด้านใต้และถนนเชื่อมทวายและชายแดนพม่า -ไทยที่บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ระยะที่ 2 ช่วงปี 2556-2561 ครอบคลุมการสร้างถนนทั้งหมด ศูนย์การค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ และ ระยะที่ 3 ช่วงปี 2559-2563 ครอบคลุมท่าเรือด้านเหนือ รถไฟ สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซและท่อน้ำมันเชื่อมโยงประเทศไทย

หากนึกภาพไม่ออกว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายมีขนาดมหึมาเพียงใดก็ขอให้ดูตัวเลขในตารางที่เปรียบเทียบกับท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดของไทยเราในบทความนี้ ขนาดของท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย นี้ Daiwa Instituteof Research ของญี่ปุ่นจัดให้เป็นศูนย์หรือนิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว

ด้วยขนาดและที่ตั้งของโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายนี่เองจึงทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งมีศักยภาพในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการค้าของเอเชียตะวันออกและประเทศฝั่งตะวันตกได้แก่เอเชียใต้ ตะวันออกกลางและยุโรป

ความสำคัญของโครงการนี้สำหรับประเทศไทยนั้น นอกจากจะเป็นประตูการค้าใหม่ในการเชื่อมเชื่อมโยงเศรษฐกิจแล้ว นักลงทุนไทยสามารถขยายฐานการผลิตอุตสาหกรรมต้นน้ำโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า รวมทั้งจะเป็นการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ขนาดใหญ่ทางภาคตะวันตกของไทย ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายจะสามารถเพิ่มอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของผลิตมวลรวมในประเทศไทยได้อีกประมาณร้อยละ 1.9 ในระยะแรก

เมื่อกล่าวถึงโครงการนี้ ก็สมควรยกย่องและชื่นชมกลุ่มอิตาเลี่ยนไทยที่เป็นของคนไทยไปบุกเบิกและต่อสู้จนได้จนได้สัมปทานโครงการนี้มาได้อยู่ในความดูแลของคนไทย มิฉะนั้นโครงการมหึมานี้คงตกเป็นของญี่ปุ่นหรือจีนไปแล้ว จีนนั้นถึงแม้ปัจจุบันจะลงทุนสูงเป็นอันดับหนึ่งในพม่าด้วยเงินลงทุนถึงปลายปี ค.ศ. 2011 ถึง 14 พันล้านดอลลาร์ แต่ความมุ่งมั่นจะได้โครงการนี้น่าจะเป็นญี่ปุ่นที่ยอมยกเงินช่วยเหลือถึง 3.2 พันล้านดอลลาร์แก่พม่า แต่ในที่สุดรัฐบาลพม่าก็ตัดสินใจให้บริษัทคนไทยได้สิทธิ์ในโครงการนี้ ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงไม่อาจให้โครงการนี้หลุดมือคนไทยไปได้เป็นอันขาด

ความคืบหน้าฝั่งพม่าคือการที่พม่าออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone Law) และกฎหมายเขตเศรษฐกิจทวาย (Dawei Special Economic Zone Law) เพื่อให้สิทธิ์พิเศษเบื้องต้นแก่นักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งพม่ายังดำเนินการออกกฎหมายนี้ได้รวดเร็วกว่าการออกกฎหมายลงทุนต่างชาติ (Foreign Investment Law) ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ประกาศใช้เป็นกฎหมายแต่อย่างใด นอกจากนี้พม่ายังรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟเข้ามาสำรวจและช่วยแนะนำระบบการเงินของพม่าเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ

นอกเหนือจากการที่รัฐบาลไทยจะเข้าไปลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายแล้วรัฐบาลไทยยังน่าจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การวางแผนและยกระดับแรงงานชาวพม่า การช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการบริหารการคมนาคมและขนส่ง เป็นต้นเพื่อช่วยให้ประเทศเพื่อนบ้านนี้ได้ยกระดับการพัฒนาให้ทัดเทียมเพื่อนบ้านโดยไม่ละเลยการเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมและผู้คน

เมื่อเดือนที่แล้ว ผมไปย่างกุ้งและได้เข้าเยี่ยมดอกเตอร์อู เทียน เทียนที่มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไป (เทียบเท่าตำแหน่งซีอีโอบ้านเรา) ของบริษัท Myanmar Insurance ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทประกันภัยแห่งเดียวในพม่าและเป็นของรัฐ ดอกเตอร์อู เทียน เทียน ซึ่งได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากออสเตรเลียได้บอกผมว่าคนพม่าส่วนใหญ่ชื่นชมประเทศไทยและคนไทย และท่านยังได้กล่าวอย่างชื่นชมในการที่บริษัทไทยมาเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายแทนที่จะเป็นบริษัทจากชาติอื่น ซึ่งท่านเชื่อว่าโครงการนี้จะยกมาตรฐานความเป็นอยู่คนพม่าให้ดีขึ้น

ดังนั้น โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายจึงสำคัญต่อประเทศไทยไม่เพียงเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นมีความสำคัญที่เป็นโซ่คล้องความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... %A2--.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ภาคอุตสาหกรรม

การนิคมอุตสาหกรรมฯ เร่งพัฒนา ๓ นิคมชายแดน "พุน้ำร้อน"

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดน 3 แห่ง ได้แก่ "พุน้ำร้อน-เชียงของ-แม่สอด" รับการค้า-ลงทุนขยายตัว คาดเสร็จก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยังเป็นทางออกของอุตสาหกรรมไทย เพราะการตั้งโรงงานยากลำบากมากขึ้น ดังนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดน 3 แห่ง คือ

1.นิคมอุตสาหกรรมชายแดนพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรีเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า โดยนิคมอุตสาหกรรมพุน้ำร้อน มีระยะห่างจากนิคมฯ ทวาย 160 กิโลเมตร

2.นิคมอุตสาหกรรมชายแดนเชียงของ จ.เชียงราย จะเชื่อมการลงทุนจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยก่อนหน้านี้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดนเชียงแสน แต่ชุมชนคัดค้านเพราะขัดกับวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงมาเริ่มศึกษาที่เชียงของ และ

3.นิคมอุตสาหกรรมชายแดนแม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดที่รัฐบาลชุดที่แล้วศึกษาไว้ "นิคมอุตสาหกรรมชายแดนทั้ง 3 แห่ง มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น หากมีชุมชนคัดค้านก็ควรคัดค้านแบบมีเหตุผลจึงจะอยู่ร่วมกันได้

นอกจากนี้ กนอ. ยังได้ศึกษาการตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่จ.ขอนแก่น ซึ่งทางจ.ขอนแก่นเป็นผู้เสนอมาให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อให้ขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาค โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้ศึกษาพื้นที่ในจังหวัด พบว่ามีความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม

กนอ.คาดนิคมฯกาญจนบุรีเริ่มได้ปี 2556

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม รองผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมชายแดนพุน้ำร้อน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี 70 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 500-1,000 ไร่ โดย กนอ.ได้รับงบประมาณศึกษาความเป็นไปได้ 12.6 ล้านบาท และจะศึกษาเสร็จภายในเดือนก.ย. 2555 ซึ่งหากมีความเป็นไปได้ก็จะเริ่มพัฒนาพื้นที่ในปี 2556-2557 ในเบื้องต้นคาดว่า กนอ.จะเป็นผู้พัฒนาสาธารณูปโภคและถ้ามีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสนใจร่วมพัฒนาก็จะดูความเป็นไปได้อีกครั้ง ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวจะรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากทวาย โดยทวายจะเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงถลุงเหล็ก ปิโตรเคมี การผลิตไฟฟ้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาพื้นที่เป็นโลจิสติกส์ปาร์กเพื่อเชื่อมการขนส่งระหว่างพม่ากับไทย

สำหรับนิคมอุตสาหกรรมชายแดนเชียงของได้รับงบศึกษา 6.6 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษาเดิมและศึกษารูปแบบการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ซึ่งนิคมดังกล่าวมีพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ รองรับการลงทุนที่เชื่อมกับจีนตอนใต้ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปยาง ยา อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งจะมีโลจิสติกส์ปาร์กเพื่อรองรับเส้นทางการขนส่งจากจีนตอนใต้มาถึงภาคเหนือของไทย เช่น เส้นทางอาร์ 3 เอ โดยจะต้องพัฒนาให้เสร็จก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และรองรับสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จะเสร็จในปลายปี 2555

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมชายแดนแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ กนอ.ได้ประสานการใช้พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้รองรับการลงทุนกิจการที่ใช้แรงงานมาก เช่น เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมชายแดนได้

"การดำเนินการขณะนี้ มีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลัก ที่จะพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ซึ่งการดำเนินการจะต้องติดตามร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดว่ามีเป็นไปได้หรือไม่ เพราะขณะนี้มีความล่าช้า"

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ทวายเป็นเมกะเทรนด์ที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจเพราะมหาสมุทรอินเดียจะเป็นจุดสนใจที่สุด โดยมีพื้นที่รองรับการลงทุน 250 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่กว่ามาบตาพุด 10 เท่า "เห็นด้วยที่ กนอ. จะตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดนที่ จ.กาญจนบุรี เพราะว่าพ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไม่ให้อำนาจ กนอ.ไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ แต่ก็ต้องไปตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ชายแดน แต่ถ้า กนอ.จะไปลงทุนตั้งนิคมในต่างประเทศก็ต้องแก้กฎหมาย"

ส.อ.ท.หนุนตั้งนิคมฯชี้ดูแลง่าย

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนเห็นด้วยที่ภาครัฐจะผลักดันนิคมอุตสาหกรรมชายแดนเพราะพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีน้อย โดยต้องการให้ กนอ.ศึกษาการตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดนที่ติดกับลาวและกัมพูชาด้วย รวมทั้งวางระบบโลจิสติกส์เชื่อมพื้นที่การลงทุนแต่ละแห่งเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตจะต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้บริหารจัดการง่าย เนื่องจากที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมถูกต่อว่าในเรื่องทำลายสิ่งแวดล้อมมาก และถ้ามีนิคมอุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นจะต้องมีการวางผังเมืองและกำหนดพื้นที่กันชนระหว่างโรงงานกับชุมชน

ที่มา http://www.jpp.moi.go.th/detail.php?section=8&id=70
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 27

โพสต์

กนอ.ตีกรอบนิคมฯ ใหม่ “อีโค อินดัสเตรียล เอสเตท”

ผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศกำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยก็ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนาอุตสาหกรรม กนอ. ในฐานะหน่วยที่ดูแลพื้นที่อุตสาหกรรมเริ่มกำหนดกรอบการดูแลนิคมฯ ใหม่ โดยมุ่งนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ ที่เรียกว่า “อีโค อินดัสเตรียล เอสเตท”

วีรพงศ์ ไทยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวจากนี้ไป นิคมอุตสาหกรรมตั้งใหม่ทุกแห่งจะต้องเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศหรือ อีโค อินดัสเตรียล เอสเตท ซึ่ง กนอง ทำข้อกำหนดหลักนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศไว้ 5 มิติ คือ

1. มิติกายภาพที่มีทำเลที่ตั้งอยู่กับผังเมืองและสิ่งแวดล้อม
2. มิติเศรษฐกิจที่มีความคุ้มค่าในการผลิต และสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น
3. มิติสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดการที่ดี ลดมลพิษ ใช้ทรัพยากรและพลังงานคุ้มค่า
4. มิติสังคมที่ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและชุมชนน่าอยู่และ
5. มิติการบริหารจัดการที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

ขณะนี้ กำลังทำตัวชี้วัดของแต่ละมิติว่าต้องดำเนินการมากน้อยเพียงใด จึงจะเรียกว่านิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เช่น การวัดปริมาณการรีไซเคิล ในกระบวนการผลิต เขาบอกว่า กนอ. เริ่มให้นิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดรวมทั้งต่อมาปี 2554 ดำเนินการที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมหนองแค และในปี 2555 ดำเนินการที่นิคมอุตสหกรรมอมตะซีตี้

การผลักดันนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีเป้าหมายเพื่อให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยต้องนำแผนไปพูดคุยกับชาวบ้านว่าต้องการอะไร ซึ่งในมาบตาพุดมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการประชากรแฝง การจัดการสิ่งแวดล้อม และ สาธารณสุข เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และ จะทำให้เป็นซีเอสอาร์ของจริง และเมื่อได้แผนมาก็จะต้องดำเนินการตามแผน ทบทวนหรือปรับปรุงแผนไปตลอดชีวิตตราบใดที่ยังมีนิคมอุตสาหกรรมอยู่

นอกจากนี้ การลดมลพิษในมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เดียวกัน 5 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล และนิคมอุตสาหกรรมผาแดง และมีท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่ง คือ ท่าเรือมาบตาพุด รวมพื้นที่ 21,862 ไร่ ผู้ประกอบการ 147 ราย ซึ่งในพื้นที่มาบตาพุดได้สร้างระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมนำร่องที่พร้อมตรวจสอบได้ รวมทั้งมีมาตรการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ มอนิเตอริ่ง

โดย กนอ. ร่วมมือกับโรงงานและชุมชนเข้าตรวจสอบโรงงานในพื้นที่ทุก 3 เดือน และจะมอบธงขาวดาวเขียวให้โรงงานที่ผ่านการตรวจสอบ ซึ่งโครงการนี้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2550 มีโรงงานที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบเพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งได้ตั้งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทำหน้าตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางอากาศ โดยมีสถานีตรวจวัดในชุมชน มีระบบการตรวจที่ปากปล่อง และมีรถตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่

ส่วนทางน้ำจะมีสถานีตรวจวัดในคลองสาธารณะและระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง ซึ่งการทำงานจะมีการทำฐานข้อมูลสารอินทรีย์ระเหยง่าย ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ และระบบติดตามการขนส่งกาก ส่วนในด้านการประชาสัมพันธ์จะมีป้ายแสดงผลสิ่งแวดล้อมระบบกระจายข่าวด่วน วิทยุสื่อสารและศูนย์กระจายข่าวในชุมชน 30 แห่ง รวมทั้งด้านความปลอดภัยมีการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 300 จุด และเชื่อมต่อระบบสัญญาณเตือนภัยของโรงงานเข้ามาที่ศูนย์

วีรพงศ์ กล่าวว่า กนอ.ต้องการทำให้ชุมชนเชื่อใจว่าอุปกรณ์ และระบบที่นำมาติดตั้งเป็นเครื่องมือที่เชื่อใจได้ โดยนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งต้องทำตามมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่วแวดล้อมที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว แต่นิคมอุตสาหกรรมที่เข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด โดยจะเน้นการพูดคุยทำความเข้าใจกัน เพื่อให้น้ำ และอากาศดีกว่ามาตรฐาน และให้อุตสาหกรรมอยู่กับชุมชนได้ด้วยความไว้ใจกัน

ขณะนี้ กนอ. กำลังรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเป็นคลัสเตอร์เสริมความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และรัฐบาลต้องการให้ไทยรักษาฐานการผลิตเหล่านี้ไว้ได้เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว (เออีซี) ซึ่งถ้าจะต่อยอดอุตสาหกรรมหรือขยายปลายน้ำมากขึ้นก็ต้องเตรียมพื้นที่รองรับ โดยถ้าผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสนใจก็จะให้เข้ามาดำเนินการเพื่อความรวดเร็วในการพัฒนาพื้นที่

ส่วนอุตสาหกรรมบางประเภทที่ยังไม่มีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสนใจพัฒนา เช่น นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งอาจยังไม่ใช่อุตสาหกรรมเป้าหมายของภาคเอกชนหรือไม่ดึงดูดใจให้เอกชนลงทุนพัฒนานิคมก็เป็นหน้าที่ กนอ.ที่ต้องไปผลักดันรวมทั้ง กนอ. ต้องเตรียมพื้นที่ลงทุนในชายแดนเพื่อรองรับเออีซี โดยจะเน้นการพัฒนาพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้แรงงานมากเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งพัฒนาเพื่อรองรับธุรกิจบริการโลจิสติกส์ เพราะจะเกิดการค้าข้ามแดนมากขึ้น

ขณะนี้ กนอ.กำลังศึกษานิคมอุตสาหกรรมชายแดนสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่แม่สอด จ.ตาก และศึกษานิคมอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ที่พุน้ำร้อนจ.กาญจนบุรี และ จ.เชียงราย

พื้นที่รองรับอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญของไทยขณะนี้ กนอ.เห็นว่ามี 2 พื้นที่ คือภาคกลาง และ ภาคตัวออก โดยการพัฒนาพื้นที่ในภาคตะวันออกมีภาคเอกชนเข้ามาพัฒนานิคมอุตสาหกรรมได้ดี

ทั้งนี้ กนอ. อาจเข้ามาดูจุดที่ยังเป็นช่องว่างในการพัฒนาขึ้นที่อุตสาหกรรม โดยอยู่ระหว่างการศึกษาตั้งนิคมอุตสาหกรรมพลาสติก หรือ พลาสติกปาร์ค เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกให้มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นที่ตั้งของโรงงานปิโตรเคมีที่เป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมพลาสติก โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ซึ่งยังมีพื้นที่ สำหรับตั้ง หรือขยายนิคมอุตสาหกรรมได้แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมสะอาด

สำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคกลางเป็นบริเวณที่ถูกน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่อยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานีถูกน้ำท่วมไป 7 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรีแลนด์ เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนครและสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ซึ่งทำให้การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหรือการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมจะต้องมองปัจจัยนี้ด้วย เพราะเกี่ยวกับความเชื่อมั่นการลงทุน

โดย กนอ. มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาทำดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการวัดระดับน้ำในจุดที่สำคัญเพื่อเป็นตัวชี้วัด เช่น ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ และถ้าถึงจุดที่อาจเกิดผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรม ก็จะนำแผนป้องกันมาใช้

วีรพงศ์ กล่าวว่า การศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะดูเรื่องภูมิศาสตร์ด้วยว่าพื้นที่ใดที่เหมาะสมในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยถ้าพื้นที่ใดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาแล้วพบมีต้นทุนการดำเนินการสูงก็จะต้องมองพื้นที่ใหม่ที่จะรองรับการตั้งนิคมอุตสาหกรรม

เขากล่าวว่า กนอ.เตรียมศึกษาตั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้ 4 แห่ง ที่ ขอนแก่น นครพนม หนองคายและนครราชสีมา โดยที่หนองคายและนครพนมมีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านก็จะรองรับการทำธุรกิจข้ามแดนด้วย ส่วนที่ขอนแก่นมีผู้ประกอบการในพื้นที่เสนอมาว่าต้องการมีนิคมอุตสาหกรรมแต่ต้องการให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งทั้ง 4 นิคม อุตสาหกรรมจะเริ่มศึกษาได้ในปี 2556

จากนี้ไป เราจะเห็นนิคมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเป็น”อีโค อินดัสเตรียล เอสเตท” และความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับนิคมอุตสาหกรรมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะเป็นดัชนีชี้วัดที่ดีที่สุดว่านิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะเป็นจริงได้หรือไม่

ที่มา http://www.kanchanaburi-ieat.com/news/8 ... 80%9D.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 28

โพสต์

(เพิ่มเติมข่าวจาก กนอ.)

นายวีรพงศ์ กล่าวอีกว่า กนอ.ยังมีแผนในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ เพื่อรองรับการลงทุนในอนาคตที่จะเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน ได้แก่ โครงการจัดตั้งนิคมฯ ชายแดนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่ง กนอ.ได้รับงบประมาณ 12 ล้านบาท เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ และสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม เป็นจำนวนพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ โดยรูปแบบการพัฒนาจะเป็นนิคมฯ บริการด้านโลจิสติกส์ การขนส่งสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดน เชื่อมโยงกับโครงการท่าเรือน้ำลึก สำหรับนิคมฯทวาย ประเทศพม่า โครงการจัดตั้งนิคมฯ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม โดยจะพัฒนาในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมบริการด้านโลจิสติกส์ การขนส่งสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งสินค้าผ่านแดน และเชื่อมโยงกับโครงการท่าเรือน้ำลึก และนิคมฯทวาย
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ไทย-พม่าตั้งคณะกรรมการลุยทวายวันนี้2ประเทศได้ฤกษ์ประชุมหารือพัฒนาเขตเศรษฐกิจ-โครงการลงทุนอย่างเป็นทางการ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, November 07, 2012


โพสต์ทูเดย์ -ไทย-เมียนมาร์ ร่วมประชุมตั้งคณะกรรมการ "ทวาย" ครั้งแรก 7 พ.ย.นี้

วันที่ 7 พ.ย.นี้ นายญาณทุน รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ และรัฐมนตรีกระทรวงขนส่ง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานไฟฟ้า กระทรวงการคลังและรายได้ จะเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องกับนายกิตติรัตน์ ณระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคมกล่าวว่า การประชุมหารือระหว่างไทยและเมียนมาร์จะมีทั้งระดับสูงและระดับคณะอนุกรรมการ 6 สาขา ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ พลังงานการพัฒนาชุมชน กฎระเบียบ และการเงิน

ทั้งนี้ ไทยและเมียนมาร์จะหารือและตกลงจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วม 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JHC) ซึ่งเป็นกลไกระดับ

นโยบาย มีรองนายกรัฐมนตรีไทยและรองประธานาธิบดีเมียนมาร์เป็นประธานร่วมคณะกรรมการประสานงานระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JCC) มีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ รมว.อุตสาหกรรมเมียนมาร์เป็นประธานร่วม โดยทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ JHC

อนุกรรมการ (Sub-Committees) ใน6 สาขา ได้แก่ สาขาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง สาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ สาขาพลังงาน สาขาการพัฒนาชุมชน สาขากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสาขาการเงิน โดยมีรัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ประธานร่วม

"เราจะพยายามเซตอัพว่าการประชุมคณะอนุกรรมการชุดย่อยๆ จะเป็นอย่างไรเพราะโครงการทวายมีความสำคัญมาก ทั้งในแง่เป็นประตูทางตะวันตกของไทย และเป็นแหล่งซัพพลายวัตถุดิบให้อุตสาหกรรมในประเทศ เช่น เหล็ก" นายชัชชาติ กล่าว

ขณะเดียวกันจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การตั้งนิคมอุตสาหกรรมของไทยให้เมียนมาร์ฟัง เช่น มาตรการภาษีและแหล่งเงินลงทุน

ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล สว.สรรหาได้หารือถึงนายกรัฐมนตรี ว่า อยากทราบว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงพลังงานบริจาคเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊สจากโรงไฟฟ้าหนองจอกและโรงไฟฟ้าลานกระบือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้กับประเทศพม่าเพื่อผลประโยชน์ใดเพราะเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊สจากโรงไฟฟ้าหนองจอกสร้างเมื่อปี2537 จำนวน 4 เครื่องมีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท แต่ กฟผ.ใช้น้ำมันในการผลิตได้แค่ปีเดียวก็หยุดผลิต เนื่องจากไม่คุ้ม และทราบมาอีกว่า ปตท.ยอมจ่ายเงิน 600 ล้านบาท เพื่อรื้อถอนและยกให้กับประเทศพม่า จึงอยากถามว่าเมื่อยกให้แล้วใครได้ประโยชน์

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนนัก แต่น่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 30

โพสต์

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 14:48

'ยิ่งลักษณ์'ถกรองปธน.เมียนมาร์ผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

นายกรัฐมนตรี ถกรองประธานาธิบดีเมียนมาร์ ลั่นผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายญาณ ทุน รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ เข้าเยี่ยมคารวะนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ในการเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเจรจาทำงาน (Working Visit) โดยฝ่ายไทยได้ทำพิธีต้อนรับคณะรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งรองประธานาธิบดีฯได้ลงนามสมุดเยี่ยม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีและรองประธานาธิบดีฯได้เป็นสักขีพยานพิธีมอบหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยการจัดตั้งกลไกคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูง และทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเต็มคณะ

โดยเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (http://www.thaigov.go.th) รายงานว่า นายญาณ ทุน เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 ในฐานะประธานร่วมฝ่ายเมียนมาร์ โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานฝ่ายไทย

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี กล่าวยินดีต้อนรับในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย และกล่าวว่ามีโอกาสได้พบกับพลเอกเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ที่การประชุม ASEM ซึ่งพลเอกเต็งเส่งมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษทวาย และรับปากจะเร่งให้คณะทำงานร่วมกันดำเนินการโดยเร็ว และหวังว่าจะได้มีโอกาสพบหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา และอาจมีการแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงในครั้งนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีในการเชิญชวนประเทศที่มีศักยภาพและสนใจให้เข้ามามีส่วนร่วม

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมผลักดันและสนับสนุนให้โครงการทวายเดินหน้าโดยเร็วที่สุด เชื่อมั่นว่าการประชุมในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันดำเนินโครงการสำคัญนี้ โดยในการประชุมนี้เห็นควรว่าจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้ชัดเจนเพื่อกำหนดโครงการในส่วนที่ควรเร่งดำเนินการตามที่เคยได้หารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ไว้ นอกจากนี้ ไทยยังจะให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่อย่างเต็มที่ และยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ และในขณะนี้ไทยได้ดำเนินการซ่อมแซมสะพานมิตรพานแม่สอด-เมียวดี และกำลังพัฒนาถนนเมียวดี-กอกะเร็ก

นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณเมียนมาร์ที่ได้อำนวยความสะดวก พร้อมทั้งกล่าวขอการสนับสนุนจากรัฐบาลเมียนมาร์ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ ไทยกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างถนนต่อจากกอกะเร็กเชื่อมโยงไปยังเมาะลำใยด้วย นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยมีความสนใจในเขตการพัฒนาอื่น ๆ ในเมียนมาร์ด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไปเยี่ยมชนพื้นที่ในโอกาสต่อไป และในโอกาสนี้ได้ขอให้รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ช่วยติดตามความคืบหน้าการเปิดจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่

นายกฯ กล่าวอีกว่า ไทยยินดีที่จะมอบเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊สจากโรงงานไฟฟ้าหนองจอกและโรงไฟฟ้าลาดกระบังไปติดตั้งที่กรุงย่างกุ้ง เชื่อมั่นว่าความร่วมมือด้านพลังงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเมียนมาร์ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพกิจกรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ อาทิ การเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ และการประชุม WEF เป็นต้น

รองประธานาธิบดีเมียนมาร์ กล่าวแสดงความมั่นใจว่า การเดินทางมาเยือนไทยในครั้งนี้จะเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างทั้งสองประเทศ และในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการดูแลเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาร์ มีความยินดีที่นักลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนชาวไทยสนใจที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ ในขณะนี้มีนักลงทุนไทยคิดเป็นร้อยละ 26.9 หรือเป็นอันดับ 2 ของผู้ลงทุนในเมียนมาร์ ซึ่งการเข้าไปลงทุนจะทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองประเทศ

โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรีและรองประธานาธิบดีเมียนมาร์ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมอบหนังสือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์เพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเมียนมาร์

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
โพสต์โพสต์