ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ช่วงนี้กำลังฮิต นสพ. ชอบเน้นเรื่องยูโรโซน ต่อเนื่อง ถ้าจะยาว
ลองนำมาไว้ที่ดียวกันในนี้เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์



การเงิน - การลงทุน : เศรษฐกิจต่างประเทศ
วันที่ 14 กรกฎาคม 2555 11:13

กูรูชี้ยูโรโซนกำลังขาดสภาพคล่อง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รูปภาพ

นักเศรษศาสตร์แบงก์เยอรมนีชี้ยูโรโซนกำลังขาดสภาพคล่อง
นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเบอร์เรนเบิร์ก แบงก์ ของเยอรมนี กล่าวว่า ข้อมูลสถิติที่เปิดเผยโดยธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) บ่งชี้ว่ายูโรโซนกำลังขาดสภาพคล่อง โดยหลังจากที่วิเคราะห์สภาพคล่องจากการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธนาคารของอีซีบี และสภาพคล่องนอกภาคธนาคารแล้ว เบอร์เรนเบิร์ก แบงก์ สรุปในรายงานว่า มาตรการกระตุ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงและการอัดฉีดสภาพคล่องของอีซีบีจำกัดอยู่ในภาคธนาคารเท่านั้น

รายงานดังกล่าว ระบุว่า ถึงแม้ว่าสภาพคล่องที่อีซีบี อัดฉีดเข้าสู่ภาคธนาคารในปีนี้ จนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้น 65% แต่กระแสเงินสดในในระบบเศรษฐกิจนอกภาคธนาคาร หรือ M1 เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 4% เท่านั้น นอกจากนี้ การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบธนาคารเพิ่มเติมยังคงไม่เพียงพอที่จะนำยูโรโซนผ่านพ้นภาวะถดถอยไปได้

“ในทำนองตรงกันข้าม อีซีบี จะต้องรับประกันว่ามาตรการกระตุ้นทางการเงินของธนาคารได้เข้าถึงภาคเศรษฐกิจอย่างแท้จริง มิฉะนั้น ยูโรโซน จะประสบกับภาวะเงินฝืดอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางภาวะถดถอยที่ย่ำแย่ลง" นักเศรษฐศาสตร์เยอรมนี กล่าว

เบอร์เรนเบิร์ก แบงก์ แนะนำว่า วิธีที่ดีที่สุดในการยุติวัฏจักรความวิตกกังวลและการแก้ไขนโยบายกลไกด้านการเงินในปัจจุบันก็คือจุดยืนที่ชัดเจนของอีซีบีเพื่อไม่ให้มีการผิดนัดชำระหนี้สาธารณะเกิดขึ้น

แต่นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารคาดว่า อีซีบี จะยังคงลังเลอยู่เช่นเดิม แต่ก็จะมีการตัดสินใจที่เด็ดขาดมากขึ้นในที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงของยูโรโซนในการป้องกันความเสี่ยงขาลงที่อาจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านราคา


ขอขอบคุณ ที่มาของข่าว นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... คล่อง.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

IMF: Eurozone in critical danger

Published: 18/07/2012 at 10:05 PM
Online news: Economics

The eurozone is in "critical" danger but can restore credibility with urgent action for a banking union, with some form of eurobonds, and if the ECB ramps up injections of cash, the IMF said on Wednesday.

The IMF said that the eurozone is in "critical" danger but can restore credibility with urgent action for a banking union, with some form of eurobonds, and if the ECB ramps up injections of cash.

The European Central Bank should pull harder on its levers of special measures to buy government debt and fund banks, and should be open about its targets, the IMF said.

In a hard-hitting review of policies for the euro area, it warned: "The euro area crisis has reached a new and critical stage.

"Despite major policy actions, financial markets in parts of the region remain under acute stress, raising questions about the viability of the monetary union itself."

A worsening of the crisis would have a big impact on neighbouring European countries "and the rest of the world."

It warned: "A determined move toward a more complete union is needed now."

On growth, the International Monetary Fund said that the "stark" truth was that eurozone countries had lagged the best performers for 50 years.

The euro is slightly over-valued by zero to 5.0 percent, the IMF estimated, but some countries in crisis needed a much bigger adjustment, of 5.0-10.0 percent for Italy and 10.0-15.0 percent for Spain.

Determined programmes for structural reforms to raise competitiveness were vital, the IMF said, warning also of a risk of deflation and suggesting that strong countries in northern Europe could allow wages and inflation to rise.

EU authorities should be flexible in mobilising new rescue funds (EFSF and ESM) to prevent contagion, for example if a crisis in a big bank threatened the financial system.

These IMF recommendations on eurobonds, inflation in strong countries and the role of the ECB run counter to the line taken by Germany, the main pillar of strength in the eurozone, and the ECB is also reticent about ramping up its special measures.

The view of the IMF is particularly significant because the fund is committed with EU authorities to direct bailouts for Greece, Ireland and Portugal, in defining the conditions and auditing the progress of rescue programmes.

The IMF stressed that the key to growth was further action to put over-strained public finances on a sound basis, coupled with longer-term reforms to increase efficiency.

Even by halving the gap with best practice in other countries and in four areas -- employment and tax laws, and opening up markets for tradeable and non-tradeable goods -- growth could be boosted by five percentage points over five years.

The term non-tradeable goods refers implicitly in part to the public sector.

The IMF prescribed policies which it considered should be pursued urgently. Amounting to a radical adjustment of the so-called European economic model, they said:

- "The first priority is a banking union for the euro area." This must be in line with rules for all 27 members of the European Union but was urgent for the 17 eurozone countries.

It could combine a pan-European scheme to guarantee bank deposits, a "bank resolution" mechanism involving private creditors in the orderly winding-down of a failed bank, and common bank supervision which could be assigned to the ECB for the eurozone.

- This had to be backed by fiscal integration and "more risk sharing" to prevent a shock in one country from imperilling the entire eurozone.

- The "introduction of a limited form of common debt" could be a half-way step towards "fiscal integration and risk sharing," it said in an implicit reference to some form of eurobonds.

- The European Central Bank still had some room to reduce interest rates, could announce a big programme to buy bonds on the secondary market, (known as Quantative Easing), and could announce more long-term operations guaranteeing banks access to cheap funds for several years.

It could also dilute further its conditions for collateral from banks in return for funds.

- Wage and asset price rises and "higher inflation" in northern eurozone countries would reduce a gap between current account surpluses in the north and deficits in the south, and to "reduce the risk of debt-deflation spirals in the south."

- The authorities should make clear that the ECB and the rescue funds would not have priority over private investors in the event of a default. "A clear commitment to accept equal status ... as in the case of Spain" would boost confidence, the IMF said, referring to a rescue for Spanish banks.

- "Long-standing structural rigidities need to be tackled to raise long-term growth prospects", focusing on "improving competitiveness". This was "essential".

- Short-term support for growth will also be needed, partly to offset the recessionary effects of budget rigour in countries overwhelmed by debt. Budget correction must be pursued, urgently in the weakest countries and at a measured pace where crisis is less acute.

- "If the crisis escalates, policymakers will have to stand ready to support the euro area banking system, including through a flexible use of the European firewall."

In any case the outlook was bleak, with average eurozone growth set to fall from 1.5 percent in 2011 to shrinkage of 0.3 percent this year and of 0.7 percent next year.

Unemployment rates would remain high this year, from 5.5 percent in Germany to 24.0 percent in Spain, and these differences would persist.

The risk of deflation was low in the faster-growing economies but "significant in the periphery."

The causes of the crisis had not been tackled, the IMF suggested, saying the authorities still lacked the "basic tools" to prevent government debt, banking tensions and low growth from generating a vicious cycle of crisis.

http://www.bangkokpost.com/business/eco ... rescue-imf
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
nongnoykung
Verified User
โพสต์: 400
ผู้ติดตาม: 0

Re: ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ไอเอ็มเอฟชี้'ยุโรป'เข้าขั้นวิกฤติ
ไอเอ็มเอฟประเมินสถานการณ์กลุ่มยูโร ล่าสุด อันตรายเข้าขั้นวิกฤติ แต่ยังฟื้นฟูความเชื่อมั่นได้ หากเร่งเดินหน้าตั้งสหภาพธนาคารขึ้นมาเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือ ด้านโพลล์นักเศรษฐศาสตร์มองเอเชียแย่ลง คาดฟื้นปลายปี ขณะที่เบอร์นันเก้ แสดงความวิตก มาตรการขึ้นภาษีและลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่จะมีผลบังคับใช้ในต้นปีหน้า อาจทำให้เศรษฐกิจปี 2556 ตกอยู่ในภาวะถดถอย
VI ค่อยๆไป โปรดท่องให้ขึ้นใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

กลุ่มยูโรโซนอนุมัติเงินแสนล.ช่วยสเปน
21 กรกฎาคม 2555 เวลา
รัฐมนตรีคลังชาติสมาชิกยูโรโซน อนุมัติโครงการความช่วยเหลือธนาคารของสเปนเป็นมูลค่า 100,000 ล้านยูโร

รัฐมนตรีคลังจาก 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน อนุมัติโครงการนี้ในระหว่างการประชุมทางไกลผ่านโทรศัพท์ซึ่งใช้เวลาประชุมไม่ถึง 2 ชั่วโมง การประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายบรรลุข้อตกลงในรายละเอียดแผนการช่วยเหลือธนาคารของสเปน เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินช่วยเหลือ กรอบเวลาในการปฏิบัติตามแผนและเงื่อนไขต่างๆ ในแผนความช่วยเหลือ

เงินช่วยเหลือเบื้องต้นจะนำมาจากกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรปอย่างถาวร (อีเอสเอ็ม) ในปลายปีนี้ เงินดังกล่าวจะส่งถึงธนาคารสเปนที่ประสบปัญหาโดยผ่านกองทุนแก้ปัญหาระบบธนาคารของรัฐบาลสเปน ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติให้แต่ละธนาคารเป็นรายกรณีหลังจากผ่านการตรวจสอบบัญชีและทดสอบประสิทธิภาพการรับมือวิกฤติการเงิน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดในอนาคต ซึ่งผลการตรวจสอบบัญชีธนาคารของสเปนคาดว่าจะทราบได้ในเดือนกันยายนนี้

http://bit.ly/SMhwDb
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 35

Re: ข่าว เกี่ยวกับยูโรโซน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

วันที่ 21 กรกฎาคม 2555

ฟันธงหนี้ยุโรปเล่นงานศก.โลกอ่วมทั้งปี
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

รูปภาพ

รอยเตอร์เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก ฟันคงวิกฤติหนี้ฉุดเศรษฐกิจโลกขยายตัวแค่ 3.2%
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับภาวะยากลำบากในปีนี้ หลังจากที่เคยตั้งความหวังในช่วงก่อนหน้านี้ว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะยังคงเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจสหรัฐที่ฟื้นตัว และเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้คาดการณ์แบบนั้นอีกต่อไป ในปัจจุบัน เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ แสดงสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน และเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออกสินค้าในเอเชีย ก็ได้รับความเสียหายจากอุปสงค์ที่ลดน้อยลงในยุโรป มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจยูโรโซน อาจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ในทางบวกอย่างระมัดระวังว่า ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชีย เช่น จีน จะเริ่มมีเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจโลกเติบโตเร็วขึ้นในปี 2556

ผลสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตราว 3.2 % ในปีนี้ และ 3.7 % ในปี 2556 โดยตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้ ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์เดือนเม.ย. และชะลอตัวลงจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ 3.9 % ในปี 2554 ที่ประเมินโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

นายเจอราร์ด ลียองส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวว่า เศรษฐกิจของชาติตะวันตก และประเทศตลาดเกิดใหม่จะยังคงปรับตัวแตกต่างจากกัน

"ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตกยังคงอยู่ในภาวะไม่ดีนัก โดยความเชื่อมั่นอยู่ในภาวะเปราะบาง และนโยบายที่สามารถนำมาใช้ได้ก็มีอยู่ไม่มากนัก ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ อยู่ในภาวะไร้ทิศทาง โดยความเชื่อมั่นในประเทศกลุ่มนี้สามารถรักษาความแข็งแกร่งไว้ได้ดีกว่าชาติตะวันตกเป็นอย่างมาก และสิ่งที่สำคัญมากก็คือว่าประเทศตลาดเกิดใหม่มีนโยบายที่สามารถนำมาใช้ได้หลายนโยบาย โดยเฉพาะในจีน จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของสถานการณ์ในช่วงต่อไปในปีนี้" นายลียองส์ กล่าว

นายลียองส์ ระบุว่า มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยจะได้รับผลกระทบจากเหตุร้ายแรงครั้งใหม่ในต่างประเทศ เช่น การพุ่งขึ้นอย่างฉับพลันของราคาน้ำมัน ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้ว
ตกต่ำลงได้

นักวิเคราะห์ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และคาดว่ามีโอกาส 50 % ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (คิวอี3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ

โพลล์คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโต 2.0 % ในปีนี้ ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ที่ 2.2 % ในเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ โพลล์ฉบับล่าสุด ยังคาดการณ์อีกด้วยว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโต 2.1 % ในปี 2556

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลง 0.4 % ในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีแนวโน้มดีกว่าเศรษฐกิจยูโรโซนเป็นอย่างมาก ขณะที่คาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวแข็งแกร่งกว่าประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ในปีนี้ ผลจากอุปสงค์ในระดับสูงภายในประเทศ แต่นักวิเคราะห์ได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลผลิตภาคโรงงานลง

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและจีน โดยผลสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจเติบโต 2.2 % ในช่วงหนึ่งปีสิ้นสุดเดือนมี.ค. 2556 ลดลงจากระดับ 2.3 %ที่เคยคาดการณ์ไว้ในโพลล์เดือนมิ.ย.

ผลสำรวจคาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนอาจร่วงลงสู่ 8.0 % ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นอัตราที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรง และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเล็กน้อย และโพลล์ ยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอินเดีย อาจเติบโตเพียง 6.3 % ในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี

ด้านนายวิษณุ วราธาน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารมิซูโฮะ คอร์ปอเรท กล่าวว่า "เศรษฐกิจเอเชียจะฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้าและยากลำบาก" และเขาคาดว่าในครั้งนี้เศรษฐกิจเอเชียจะไม่ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนรูปตัว V ซึ่งเคยเกิดขึ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2551-2552

ถึงแม้เศรษฐกิจอินเดียและจีน จะไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเอเชียให้เติบโตขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเท่ากับช่วงก่อนเกิดวิกฤติ แต่เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีแนวโน้มสดใสเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆในเอเชีย

นายแดเนียล มาร์ติน นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทแคปิตัล อิโคโนมิคส์ กล่าวว่า "ข้อดีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือว่า ภูมิภาคนี้ไม่มีปัญหาภายในประเทศเหมือนกับอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี และไม่มีปัญหาเรื่องภาวะเงินเฟ้อเหมือนกับอินเดีย ในขณะที่ปัญหาเรื่องการปกครองก็ลดน้อยลงอย่างมาก"

http://bit.ly/OHC3YG
โพสต์โพสต์