หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 31

โพสต์

แบบที่หนึ่ง ในกรณีที่เราได้กำไร การลงทุนประสบความสำเร็จ และเหตุผลที่เราใช้ในการตัดสินใจลงทุนถูกต้อง เช่น เราลงทุนในหุ้น ก. เพราะเราเชื่อว่ากำไรของบริษัทนี้กำลังเติบโตก้าวกระโดดในไตรมาศหน้าและจะ เติบโตต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 3-4 ปี โดยที่ราคาหุ้นที่เห็นนั้นยังไม่ได้ปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับพื้นฐานที่กำลัง ดีขึ้นและราคายังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาก เราก็จดบันทึกไว้ หลังจากนั้น เมื่อกำไรในไตรมาศถูกประกาศออกมาก็เป็นจริงดังคาดและดูแล้วอนาคตก็น่าจะยัง โตต่อเนื่อง ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปในระดับหนึ่งประมาณ 20% ซึ่งสอดคล้องกับกำไรที่ดีขึ้น ถ้าเป็นแบบนี้ เราอาจจะสรุปได้ว่าสิ่งที่เราคิดนั้นถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ขายหุ้นออกไปเพราะเราเชื่อว่ากำไรจะยังเติบโตดีมากอยู่และในอนาคต ราคาก็จะยังปรับตัวขึ้นไปได้อีกมาก ในภาษาของนักลงทุน เรา “Right for the right reason” เราถูกต้อง นั่นอาจจะหมายความว่าเรามีฝีมือ


หรือ ที่อาจารย์ท่านเคยเขียนไว้เกี่ยวกับสไตล์การลงทุน วงสวิงที่ถูกต้อง ความมุ่งมั่นที่

จะวิเคราะห์กิจการ ความตั้งใจในการลงทุน

และ ที่ขาดไม่ได้ ความอดทนที่แรงกล้า ที่จะเดินเีคียงข้างกิจการไป

สิ่งนี้คือ สิ่งที่พวกที่ถูกเรียกว่า ไวไว ไม่มี

หรือไม่ก้ เก็บตำรายัดใส่ตุ่มฝังดินไว้ หันมาใช้พลังหยางแทน
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 32

โพสต์

เส้นบางๆคั่นระหว่าง ความเป็น VI and VIVI(ไวไว)

หันหลังคืนฝั่ง ก้ยังเดินบนทางที่เคยเดิน ถ้าตาดูดาว เท้าลอยได้ ก้จงเป็นไวไว ต่อไป
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 33

โพสต์

หุ้นที่ดีที่สุดในสายตาเราควรเป็น หุ้นของกิจการที่เราเห็นว่ามี
1. โมเดลทางธุรกิจที่เราชอบ (+ซึ่งค่อนข้าง wide moat)
2. เป็นกิจการที่เราคาดการณ์ได้แม่นยำถึงอนาคตที่เรากำหนดไว้ (เพราะ Model+wide moat นั้นทำให้คาดการณ์ได้ง่าย
เช่น ขยายมาแล้ว ...สาขาปีนี้ ขยายอี กี่สาขา SSS growth เป็นต้น ต้องตีแตก โมเดลด้วย)
3. เป็นหุ้นที่มีราคาที่เหมาะสมหรือถูกกว่าความเป็นจริงมากจากการประเมินของเรา (แต่ถ้ามันเริ่มแพงแล้ว..??)
4. และเมื่อเราตัดสินใจซื้อลงทุนแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาเกือบทุกอย่างเป็นไปตามคาด
ขอเรียกว่า มี "High Probabilities of an event"
Learn to Think in Probabilities
Bridge is a card game in which the most successful players are able to judge mathematical probabilities to beat their opponents. Perhaps not surprisingly, Buffett loves and actively plays the game, and he takes the strategies beyond the game into the investing world.

Buffett suggests that investors focus on the economics of the companies they own
(in other words the underlying businesses),
and then try to weigh the probability that certain events will or will not transpire, much like a Bridge player checking the probabilities of his opponents' hands.

He adds that by focusing on the economic aspect of the equation and not the stock price, an investor will be more accurate in his or her ability to judge probability.

Thinking in probabilities has its advantages. For example, an investor that ponders the probability that a company will report a certain rate of earnings growth over a period of five or 10 years is much more apt to ride out short-term fluctuations in the share price. By extension, this means that his investment returns are likely to be superior and that he will also realize fewer transaction and/or capital gains costs.

Read more: http://www.investopedia.com/articles/st ... z1is6xhYPa
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 34

โพสต์

relate topic:
ความน่าจะเป็น

โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร



วิธีคิดเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญมากต่อการที่จะเป็นนักวิเคราะห์ หุ้นแบบ Value Investment ที่ดีก็คือ การคิดคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตแบบที่ใส่ “ความน่าจะเป็น” หรือ Probability เข้าไปด้วย



ลองมาคาดดูสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราก็จะพบว่ามีเหตุการณ์น้อยมากหรือแทบไม่มีเลยที่มีความแน่นอนร้อย เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในเรื่องของเศรษฐกิจหรือตลาดหุ้น แต่เหตุการณ์บางอย่างนั้นมักจะมีความ “แน่นอน” หรือมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงกว่าเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งมาก



โอกาสที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นในวันพรุ่งนี้เป็นเท่าไร? ร้อยเปอร์เซ็นต์! โอกาสที่ฝนจะตกในวันพรุ่งนี้ที่กรุงเทพและที่ถนนรางน้ำเป็นเท่าไร? นักพยากรณ์อากาศอาจจะบอกว่า 80% โดยพิจารณาจากภาพถ่ายของกลุ่มเมฆหนาที่ก่อตัวขึ้นบนท้องฟ้าเหนือกรุงเทพใน วันนี้ แต่ถ้าถามใหม่ว่าฝนจะตกไหมในอีก 7 วันข้างหน้า? คำตอบอาจจะเป็น 50-50 โดยที่นักพยากรณ์ไม่ได้ดูกลุ่มเมฆแต่ดูว่าในช่วงฤดูฝนในประเทศไทยนั้น โอกาสที่ฝนจะตกในแต่ละวันคือ 50%



การพยากรณ์นั้น ดูเหมือนว่าถ้าพยากรณ์ในระยะเวลาสั้น ๆ ในอนาคต โอกาสที่จะพยากรณ์ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงจะสูงกว่าการพยากรณ์อะไรที่ อยู่ห่างออกไป เหตุผลก็คือ ในการพยากรณ์นั้น เรามักจะมีข้อมูลต่าง ๆ มาสนับสนุนเช่นกลุ่มเมฆที่ปรากฏขึ้น และเมฆนั้นเป็นตัวชี้ว่าในไม่ช้ามันจะกลั่นตัวเป็นฝน



ถามว่าพรุ่งนี้หุ้นจะขึ้นหรือหุ้นจะลง? ข้อมูลที่มีอยู่ก็คือราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นในวันนี้ ทั้งในตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศ นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มักจะเชื่อว่าถ้าวันนี้หุ้นขึ้นแรงและมีปริมาณการซื้อ ขายมาก พรุ่งนี้ดัชนีหุ้นก็มักจะปรับตัวขึ้น เขาอาจจะบอกว่าพรุ่งนี้หุ้น “น่าจะ” ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตลาดหุ้นนิวยอร์คเปิดแล้วหุ้นวิ่งขึ้น เพราะเขาเชื่อว่าหุ้นไทยนั้น มักจะปรับตัวขึ้นลงตามหุ้นนิวยอร์ค



แต่ถ้าถามต่อไปว่าหุ้นขึ้นแล้วยังไง? เราจะเข้าไปซื้อหรือ? ถ้าซื้อก็แปลว่าเราซื้อแพง แล้ววันต่อไปมันลงเรามิขาดทุนหรือ? ดังนั้น การคาดการณ์แบบนี้แม้ว่าจะถูกแต่ก็ไม่มีประโยชน์ในการที่จะทำให้เราได้กำไร ได้ และนี่ยังไม่ได้รวมถึงค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายที่อาจจะกินกำไรของเราไปอีก



นักลงทุนหลายคนกลัวไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ปี2009 ดังนั้นเขาขายหุ้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวออกหมดเพราะเขาคิดว่าถ้ามันลามไป มาก ๆ การท่องเที่ยวจะถูกกระทบหนัก คนจะไม่เดินทาง แต่ถามว่าโอกาสที่มันจะลามไปอย่างควบคุมไม่ได้นั้นมีกี่เปอร์เซ็นต์? เขาอาจจะไม่ได้คิด แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าก็คือ ราคาหุ้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอาจจะตกต่ำลงไปมากแล้วจนมันคุ้มค่ามากเมื่อ เทียบกับทรัพย์สินของบริษัท พูดง่าย ๆ ถ้าจะสร้างทรัพย์สินแบบเดียวกัน จะต้องใช้เงินมากกว่าการซื้อหุ้นมาก



ในกรณีดังกล่าว เราลองตั้งคำถามใหม่ว่า โอกาสที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่จะยังมีผลต่อการท่องเที่ยวเดินทางในอีก 2-3 ปีข้างหน้านั้นเป็นเท่าไร? คำตอบของเราอาจจะเป็นว่า “น้อยมาก” เหตุผลก็คือ เมื่อถึงเวลานั้น โลกอาจมีวัคซีนที่แพร่หลายแล้ว ไข้หวัดอาจจะหายไปหรือกลายเป็นเหมือนไข้หวัดใหญ่ธรรมดาที่คนส่วนใหญ่มีภูมิ คุ้มกันแล้ว หรือทุกประเทศก็มีการติดเชื้อใกล้เคียงกัน จะอยู่หรือไปที่ไหนก็เหมือนกัน ดังนั้น ผลประกอบการของบริษัทท่องเที่ยวเดินทางก็น่าจะกลับมาเหมือนเดิมในอีก 2-3 ปี และถ้าราคาหุ้นได้ตกลงมามากมายเช่นเหลือเพียงครึ่งเดียว การลงทุนในหุ้นดังกล่าวก็อาจจะมีโอกาสได้กำไร 100% ในเวลา 2-3 ปี ซึ่งคุ้มค่ามากในการลงทุน



ถามว่าวิกฤติเศรษฐกิจนั้น จะฟื้นไหมในช่วงครึ่งปีหลัง? โอกาสอาจจะเป็น 50-50 หรือ 50% ถ้าเราเปลี่ยนคำถามใหม่เป็นว่า โอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นในปีหน้าเป็นเท่าไร? คำตอบอาจจะเป็น 70% โอกาสที่จะฟื้นในอีก 2 ปีข้างหน้าเป็นเท่าไร? คำตอบอาจจะเป็น 80% ถ้า 3 ปี อาจจะเป็น 90% หรือมากกว่า



การยืดเวลาทำให้ความแน่นอนหรือความเป็นไปได้สูงขึ้น และถ้าเรามั่นใจมากว่าภายในเวลา 3-4 ปีเศรษฐกิจต้องฟื้นแน่ คำถามต่อไปก็ง่ายขึ้น นั่นคือ บริษัทไหนจะได้ประโยชน์แน่ ๆ และกำไรของบริษัทจะต้องกลับมาอย่างน้อยเท่าเดิมก่อนที่จะเกิดวิกฤติ? หลังจากนั้นก็มาดูว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นตกต่ำลงมาแค่ไหนและราคาควรจะกลับ ไปที่เดิมได้หรือไม่? ทั้งหมดนั้น แน่นอน เป็นการคาดการณ์ แต่ที่สำคัญก็คือ “ความน่าจะเป็น” เป็นเท่าไร ถ้าคำตอบก็คือ สูงมาก เช่น 80-90% แบบนี้ ถ้าเราลงทุนในหุ้นตัวที่ราคาตกลงมาครึ่งหนึ่ง ก็มีโอกาสสูงที่เราจะกำไร 100% ในเวลา 3-4 ปีซึ่งคุ้มค่ามาก



เท็คนิคในการ “ยืดเวลา” เพื่อ “เพิ่มความแน่นอน” ในการพยากรณ์นี้ ดูเหมือนจะขัดแย้งกับสามัญสำนึกปกติของคนที่ว่า “ยิ่งนานยิ่งไม่แน่นอน” เพราะ “ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก” แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเหตุการณ์หรือสิ่งที่ผมยกมานั้นเป็นเรื่องที่ รุนแรงและไม่ปกติ ซึ่งเรื่องแบบนี้มักจะไม่สามารถอยู่ได้นานมาก “เวลา” จะช่วยรักษาหรือแก้ไขให้มันกลับมาสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ถ้าเรา “ทนรอ”ได้ เราก็อยู่ในสถานะที่จะฉกฉวยโอกาสที่เกิดขึ้นเนื่องจากคนส่วนใหญ่ “รอไม่ได้”



สำหรับผมเองนั้น การลงทุนหรือการที่จะซื้อหุ้นตัวไหนนั้น ผมต้องการ “ความแน่นอน” ซึ่งแน่นอน ไม่ใช่โอกาสเกิดขึ้นต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ผมต้องการความน่าจะเป็นที่ประมาณ70-80% ขึ้นไป และในเรื่องของกิจการหรือหุ้นนั้น การหาความ “แน่นอน” ขนาดนั้นได้ ส่วนใหญ่ผมต้อง “ยืดเวลา” ในการพยากรณ์ออกไปไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีขึ้นไป และคำถามมักจะเป็นว่า บริษัทจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นหรือไม่ และ ราคาหุ้นในขณะนี้ถูกหรือไม่เมื่อถึงเวลานั้น



ที่มา : Thai VI
http://www.moneymartthai.com/guru/index ... know_id=83
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 35

โพสต์

สำหรับผมเองนั้น การลงทุนหรือการที่จะซื้อหุ้นตัวไหนนั้น ผมต้องการ “ความแน่นอน” ซึ่งแน่นอน ไม่ใช่โอกาสเกิดขึ้นต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ผมต้องการความน่าจะเป็นที่ประมาณ70-80% ขึ้นไป และในเรื่องของกิจการหรือหุ้นนั้น การหาความ “แน่นอน” ขนาดนั้นได้ ส่วนใหญ่ผมต้อง “ยืดเวลา” ในการพยากรณ์ออกไปไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีขึ้นไป และคำถามมักจะเป็นว่า บริษัทจะมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นหรือไม่ และ ราคาหุ้นในขณะนี้ถูกหรือไม่เมื่อถึงเวลานั้น
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 36

โพสต์

สำหรับ ช้า..ได้พร้า เล่ม งาม..
ต่อ..for the right reasons..
สัญญาณแห่งคุณค่า
Posted on June 7, 2010 by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โลกในมุมมองของ Value Investor 5 มิถุนายน 2553

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ในการค้นหาว่าหุ้นตัวไหนจะมี Value หรือมีคุณค่า หรือมีคุณค่ามากขึ้นนั้น นอกจากกำไรที่ควรจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ต่อไปนี้คือสัญญาณบางอย่างที่จะช่วยบอกเราว่าหุ้นตัวนั้นจะเป็นหุ้น Value ที่น่าสนใจในอนาคตและเป็นหุ้นที่เราควรพิจารณาลงทุน

(1.) สัญญาณแรกก็คือ Market Share หรือส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้เป็นสัญญาณที่ดีมาก เนื่องจากมันบอกว่าความสามารถในการแข่งขันของบริษัทกำลังเพิ่มขึ้น และการได้หรือมีธุรกิจมากขึ้นมักจะก่อให้เกิดความได้เปรียบในแง่ของต้นทุน การผลิตและการขายของสินค้าต่อหน่วยซึ่งจะลดลง และนั่นก็จะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้นไปอีก ก่อให้เกิด “วงจรแห่งความรุ่งเรือง” ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

(2.)สัญญาณข้อที่สองก็คือ บริษัทสามารถควบคุมราคาขายของสินค้าของบริษัทได้ดี นั่นก็คือ บริษัทสามารถกำหนดหรือควบคุมราคาขายสินค้าของบริษัทได้ในระดับที่มีเหตุผล คือมีกำไรที่เพียงพอ นี่เป็น Value หรือคุณค่าของกิจการ ถ้าเราพบว่ากิจการไม่สามารถควบคุมราคาขายได้เช่นกิจการที่ขายสินค้า โภคภัณฑ์ หรือกิจการที่มีการแข่งขันกันรุนแรงมาก แบบนี้เป็นสัญญาณว่ากิจการมีคุณค่าน้อย
(+คือไม่ต้องตัดราคา กับคู่แข่ง)

(3.)สัญญาณที่สามคือ ลูกค้ามีความภักดีต่อสินค้าหรือยี่ห้อของบริษัท ถ้าพบว่าลูกค้ามีความภักดีมาก ไม่เปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งง่าย ๆ แบบนี้ก็ถือว่าเป็น Value ที่มีคุณค่า ตรงกันข้าม ถ้าลูกค้ามักจะเปลี่ยนไปซื้อสินค้าหรือบริการจากคู่แข่งอยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลสารพัดเช่นเวลาที่มีโปรโมชั่นพิเศษ หรือมีสินค้าหรือบริการใหม่ที่แตกต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อย แบบนี้ต้องถือว่าบริษัทไม่ค่อยมี Value เท่าไรนัก


(4.)สัญญาณที่สี่ก็คือ Profit Margin หรือเปอร์เซ็นต์กำไรเมื่อเทียบกับยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นสัญญาณที่ต้องมองย้อนหลังไปหลาย ๆ ไตรมาศหรืออาจจะหลายปี ถ้าพบว่า Margin ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเช่น จากเดิมกำไรต่อยอดขายเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ ปีต่อมาเป็น 3.2 ปีที่สามเป็น 3.4 ปีที่สี่เป็น 3.5 ปีที่ห้าเป็น 3.6 แบบนี้แปลว่าบริษัทสามารถทำกำไรต่อยอดขายเพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุหลาย อย่างเช่น บริษัทสามารถขายสินค้าในราคาแพงขึ้นหรือสามารถลดต้นทุนลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งถือว่าเป็น Value หรือคุณค่าที่ดีมาก

(5.)สัญญาณข้อห้า Return On Equity (ROE) หรือ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูงและสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้น
(5.1) ตัวเลขที่จะแสดงถึง Value หรือคุณค่านั้นผมคิดว่าน่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 14-15% ต่อปี ยิ่งสูงก็ถือว่ามี Value มากขึ้นเท่านั้น
(5.2)แต่นี่ก็ต้องหมายถึงว่าบริษัทไม่ได้กู้หนี้มากเกินกว่าที่ควรเป็นซึ่งก็คือ ควรจะมีหนี้ไม่เกิน 4-5 เท่าของกำไรต่อปี ยกเว้นกิจการที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอนเช่นพวกกิจการสาธารณูปโภคที่ อาจจะยอมให้มีหนี้มากกว่านั้นได้

เรื่องของ ROE นั้น ผมคิดว่าแทบจะบอกได้เลยว่าถ้ากิจการไหนมี ROE ต่ำมากเช่นต่ำกว่า 10% ต่อปีอย่างต่อเนื่องยาวนาน แบบนี้ต้องบอกว่าหุ้นไม่ค่อยมี Value เท่าไร

สัญญาณข้อที่หก เป็นกิจการที่สร้างกระแสเงินสดดี ไม่ใช่กิจการที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ค่อนข้างมากและตลอดเวลา ยิ่งกิจการที่ขยายตัวได้โดยแทบจะไม่ต้องลงทุนเพิ่มก็ต้องถือว่าเป็นกิจการ ที่มีคุณค่าสูง เพราะกิจการแบบนี้เมื่อมีกำไรก็มักจะสามารถจ่ายปันผลได้ในอัตราที่สูง นอกจากนั้น กิจการเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะกลายเป็นกิจการที่ “ปลอดหนี้” เงินกู้จากสถาบันการเงินซึ่งทำให้ความเสี่ยงของบริษัทลดลงมาก

(6.)สัญญาณสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ เรื่องของผู้บริหาร คุณค่าของกิจการนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้บริหารค่อนข้างมาก
(6.1)ผู้บริหารที่มีความโปร่งใส เปิดเผยหรือเปิดตัวต่อสาธารณชนไม่แอบอยู่ใน “มุมมืด”
(6.2)ผู้บริหารที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารที่ทำอะไรมีเหตุมีผล
(6.3) ผู้บริหารที่ตัดสินใจอะไรก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และที่สำคัญ
(6.4) ผู้บริหารที่จัดสรรผลกำไรอย่างเหมาะสม นั่นคือ จ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอย่างยุติธรรม เหล่านี้เป็นคุณค่าของบริษัท

ตรงกันข้าม ผู้บริหารที่เก็บตัวไม่ยอมให้ข่าวสารกับผู้ถือหุ้น เวลาจัดสรรผลกำไรของกิจการนั้นมองดูไม่สมเหตุสมผล หรือเป็นคนที่เข้าใจได้ยากเวลาตัดสินใจทำอะไรเกี่ยวกับบริษัท แบบนี้เป็นสัญญลักษณ์ของความไม่มีคุณค่า

การมองหา “คุณค่า” นั้น ยังมีสัญญาณอื่น ๆ อีกมาก ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงบางส่วนที่สำคัญและเป็นเรื่องทั่วไปที่ใช้ได้กับทุก กิจการหรือทุกอุตสาหกรรม นักลงทุนที่มุ่งมั่นและศึกษาบริษัทที่จะลงทุนจะต้องคิดอย่างละเอียดขึ้นว่า หุ้นที่ตนเองสนใจนั้น มีคุณค่าหรือ ด้อยคุณค่าอย่างอื่นที่สำคัญหรือไม่เพื่อที่จะได้วิเคราะห์อย่างถูกต้องว่า หุ้นของตนเองนั้น มี Value หรือกำลังมี Value เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

สรุปก็คือ ในการวิเคราะห์ในแบบของ Value Investment นั้น เราจะต้องมองหาคุณค่าของบริษัท ยิ่งบริษัทมีคุณค่าสูงหรือกำลังมีคุณค่าสูงขึ้น นั่นก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะคุณค่านั้นในไม่ช้าก็จะแปลงออกมาเป็นราคาหุ้นที่สูงขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าเราพบว่า Value ของกิจการกำลังลดลง แม้ว่าตัวเลขผลประกอบการจะยังดูดีอยู่ แต่ในที่สุด ผลประกอบการก็จะตกต่ำลงตามคุณค่าที่ลดลง และราคาหุ้นก็จะลดลงตามมา
การมองหา “คุณค่า” =มองหา right reason...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 37

โพสต์

imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ส่วน มุม ชอบความเร็ว ไวไว..
ก็ลองทบทวน..

โลกในมุมมองของ Value Investor 18 กันยายน 53

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ในตลาดหุ้นไทยนั้น ใครที่ซื้อหุ้นแล้ว “ถือยาว” ก็เรียกกันว่า “นักลงทุน” ส่วนคนที่ซื้อแล้วขายในระยะเวลาอันสั้นก็มักถูกเรียกว่า “นักเก็งกำไร” เท่าไรถึงจะเรียกว่ายาวหรือสั้นก็ไม่ชัดเจนแล้วแต่ใครจะคิด บางทีตอนซื้อก็คิดว่าจะถือสั้น “เก็งกำไร” แต่พอหุ้นตกติดหุ้นก็เลยต้องถือยาวกลายเป็น “ลงทุน” การแบ่งแยกว่าใครเป็นนักเก็งกำไรหรือใครเป็นนักลงทุนนั้น บ่อยครั้งไม่ใคร่ชัดเจน แม้แต่เจ้าตัวเองบางทีก็ไม่รู้จริง คนจำนวนมากคิดว่าตนเองเป็นนักลงทุนแต่จริง ๆ แล้วพฤติกรรมที่ทำอยู่เป็นการเก็งกำไรก็มีไม่น้อย บทความนี้จะพยายามกำหนดว่าแนวความคิดหรือพฤติกรรมแบบไหนเป็นการเก็งกำไรหรือ ลงทุน ไม่ใช่เรื่องเดียวแต่หลาย ๆ เรื่อง คนที่มีพฤติกรรมแบบเก็งกำไรมาก ๆ ผมก็คิดว่าเขาเป็นนักเก็งกำไรโดยธรรมชาติ คนที่มีพฤติกรรมของการลงทุนมาก ผมก็สรุปว่าเขามีธรรมชาติเป็นนักลงทุน

(1.)ข้อแรก ก็แน่นอน นักเก็งกำไรมักจะถือหุ้นสั้น แต่ละตัวมักจะถือไม่เกิน 3-6 เดือน ส่วนนักลงทุนมักจะถือหุ้นแต่ละตัวมากกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ย คนที่ถือครองหุ้นแทบจะว่าเฉลี่ยไม่เกิน 7 วัน หรืออาจจะเรียกว่า Day Trader หรือเล่นหุ้นรายวันนั้น แทบไม่ต้องสงสัยว่าเป็นนักเก็งกำไรแน่นอนไม่ต้องดูพฤติกรรมข้ออื่นเลย

(2.)ข้อสอง นักเก็งกำไรเวลาเล่นหุ้นต้องมี “ข่าว” หรือ “ข่าวลือ” หรือมี Story หรือเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ ข่าวหรือเรื่องราวนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นและมีผลต่อ ราคาหุ้น เช่น ข่าวการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน เช่น การแจกวอแร้นต์ การแตกพาร์ การจ่ายปันผล เป็นต้น หรือไม่ก็เป็นข่าวทางด้านธุรกิจเช่นมีการขยายธุรกิจใหม่ ข่าวว่าจะได้รับงานใหม่ เป็นต้น

ส่วนนักลงทุนนั้น ก็มักจะสนใจลงทุนในหุ้นที่มองว่าจะเติบโตไปได้ในระยะยาวด้วยพื้นฐานที่แข็ง แกร่งของตัวกิจการเป็นหลัก

(3.)ข้อสาม นักเก็งกำไรส่วนมากจะชอบเล่นหุ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น “ขาขึ้น” หรือเป็นช่วงที่หุ้นบูม เพราะในยามนี้ หุ้นจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า สำหรับนักเก็งกำไรบางกลุ่มแล้ว การซื้อหุ้น “แพง” นั้นไม่มีปัญหาหากมันจะแพงขึ้นไปอีก ดีกว่าการซื้อหุ้น “ถูก” ที่มันจะถูกลงไปอีกในยามที่ตลาด “กำลังตก”

ส่วนนักลงทุนนั้น พวกเขามักจะชอบซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาด “ปกติ” หรือบางคนอาจจะชอบซื้อในช่วงที่ตลาดตกต่ำเพราะเขาชอบซื้อหุ้นที่มีราคา ถูกกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น

(4.)ข้อสี่ นักเก็งกำไรมักจะชอบซื้อหุ้นของกิจการที่มีความไม่แน่นอนสูง เช่น ธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิเช่นสินแร่โลหะ พืชผลทางการเกษตร พลังงาน ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิค การเดินเรือ นอกจากนั้น
(4.1) ยังชอบกิจการที่มียอดขายและกำไรผันผวนเพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อราย ใหญ่ที่มักทำให้ยอดขายแต่ละปีไม่แน่นอน ความคิดก็คือ เล่นหุ้นพวกนี้ถ้า “เก็ง” หรือคาดการณ์ถูก หรือมีข้อมูล “อินไซ้ต์” ก็จะสามารถทำกำไรจากหุ้นได้มาก

ตรงกันข้าม นักลงทุนมักชอบกิจการที่มีความสม่ำเสมอของยอดขายและกิจการที่ทำให้สามารถคาด การณ์ผลประกอบการได้ง่ายกว่า

(5.)ข้อห้า นักเก็งกำไรชอบเจ้าของกิจการที่สนใจและ “ดูแลหุ้น” ดี นั่นคือ ให้ข้อมูลกิจการและ “โปรโมต” หุ้นสม่ำเสมอ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เจ้าของกิจการเป็นข่าวอยู่ในสื่อและหนังสือพิมพ์ธุรกิจและหุ้นสม่ำเสมอ ข่าวที่ออกมามักเป็นข่าวดีและสนับสนุนราคาหุ้น

ส่วนนักลงทุนนั้น อาจจะรู้สึกสงสัยและระมัดระวังถ้าพบว่าผู้บริหาร “เชียร์หุ้น” มากเกินไป พวกเขาชอบเล่นหุ้นที่เจ้าของหรือผู้บริหารให้ข่าวพอดี ๆ ไม่มองโลกในแง่ดีเกินไป และไม่เน้นเรื่องราคาหุ้นว่าถูกหรือแพง

(6.)ข้อหก นักเก็งกำไรมักจะชอบใช้มาร์จินในการเล่นหุ้น พวกเขาคิดว่านี่คือการทำเงินได้เร็วเป็นสองเท่าโดยที่ต้นทุนดอกเบี้ยนั้นต่ำ มาก สิ่งที่พวกเขากลัวไม่ใช่ดอกเบี้ยแต่เป็นการถูกเรียกหลักประกันเพิ่มในกรณี ที่หุ้นตก

ส่วนนักลงทุนนั้นมักจะไม่ใช้มาร์จินในการลงทุน พวกเขาอาจจะไม่ได้คิดว่าหุ้นจะให้ผลตอบแทนมากพอที่จะคุ้มกับค่าดอกเบี้ยที่ ต้องเสีย หรือถึงคุ้มในแง่เม็ดเงินแต่ก็ไม่คุ้มกับความเสี่ยงจากการเป็นหนี้ และที่สำคัญ เวลาหุ้นตก การขาดทุนก็อาจจะเพิ่มเป็นสองเท่าเช่นกัน

(7.)ข้อเจ็ด นักเก็งกำไรมักจะเล่นหุ้นเป็นตัว ๆ คือในแต่ละช่วงเวลานั้นมักมีหุ้นจำนวนน้อยมาก บางทีก็มีเพียงตัวเดียวสำหรับคนที่พอร์ตยังมีขนาดเล็ก นั่นก็คือ พวกเขาจะเล่นหุ้นตัวที่ “กำลังร้อน” เมื่อได้กำไรหรือคิดว่าพลาดแล้วซึ่งมักจะใช้เวลาไม่นาน เขาก็จะขายทิ้งแล้วไปเล่นตัวใหม่

ส่วนนักลงทุนนั้น พวกเขาจะลงทุนในหุ้นหลาย ๆ ตัวเป็นพอร์ตโฟลิโอ จะมีการขายหุ้นบางตัวแต่ก็มักจะเปลี่ยนไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่คิดว่าดีกว่า

(8.)ข้อแปด หุ้นที่นักเก็งกำไรจะเล่นนั้นจะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงหรือเคยมีสภาพ คล่องสูง พวกเขาเห็นว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่เขาจะขายทิ้งเมื่อได้กำไรตามเป้า หมายแล้ว

ส่วนนักลงทุนนั้น ความจำเป็นต้องมีสภาพคล่องสูงนั้นมีน้อยกว่ามาก

(9.)ข้อเก้า เป็นเรื่องของแนวความคิดที่ผมสังเกตเห็นจากคนที่เป็นนักเก็งกำไรที่โดดเด่น บางคนหรือบางกลุ่ม นั่นคือ นักเก็งกำไรเชื่อว่า
(9.1) ข้อแรก การเล่นหุ้นสั้นไม่เสี่ยงแต่การลงทุนยาวนั้นเสี่ยง เหตุผลเพราะในระยะยาวแล้วเรา “ไม่รู้” คาดไม่ได้
(9.2) ข้อสอง ถ้าซื้อแล้วขาดทุนต้องขายตัดขาดทุนเร็วแต่ถ้ามีกำไรก็ let profit run คือถือให้กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนจะขายเมื่อเห็นว่าราคาจะเริ่มกลับตัว อย่างไรก็ตาม นักเก็งกำไรรายย่อย ๆ จำนวนมากก็ทำตรงกันข้าม
(9.3)ข้อสาม นักเก็งกำไรมักจะชอบเล่นหุ้นกันเป็นหมู่หรือรวมกลุ่มกันหลาย ๆ คน นี่อาจจะเป็นความคิดว่าการรวมกันเล่นจะมีผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่าทำอยู่คน เดียว
(9.4) และข้อสี่ นักเก็งกำไรนั้น เชื่อในเรื่องของจิตวิทยาตลาดและมวลชนว่ามีผลต่อราคาหุ้นมากกว่าพื้นฐานระยะ ยาวของกิจการ ดังนั้น นักเก็งกำไรเวลาซื้อขายหุ้นมักจะคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ และนักเก็งกำไรที่เป็น “ผู้นำ” อาจจะต้องสร้างสถานการณ์แบบนั้นให้เกิดขึ้นด้วย

ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องของพฤติกรรมว่าเป็นอาการของนักเก็งกำไรหรือนักลง ทุน โดยทั่วไป เราทุกคนต่างก็มีพฤติกรรมทั้งสองแบบในตัว การที่จะบอกว่าใครน่าจะเป็นนักเก็งกำไรหรือใครน่าจะเป็นนักลงทุนนั้น จึงต้องดูภาพรวมว่าเป็นอย่างไร ถ้าพิจารณาหรือสังเกตดูแล้วพบว่าเรามักจะถือหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างสั้นทั้ง ๆ ที่ในใจเราตั้งใจจะถือยาวเมื่อซื้อ นอกจากนั้น เรายังมักมีหุ้นเพียง 1 หรือ 2 ตัว ไม่ใคร่ได้ถือเกินนั้น เรามักซื้อหุ้นเพราะมันกำลังมีข่าวและหุ้นตัวที่ซื้อเราก็มักได้มาจากกลุ่ม เพื่อนที่ชักชวนให้ซื้อเพราะมันกำลังมีข่าวดี หุ้นที่เราเล่นมักจะมีปริมาณการซื้อขายสูงติดหนึ่งในสิบอันดับทั้งที่เป็น หุ้นตัวเล็ก ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า แท้ที่จริงแล้วเราเป็น “นักเก็งกำไร” ทั้ง ๆ ที่ใจเรานั้นบอกว่าเราเป็นนักลงทุน
http://www.thaivi.com/2010/09/554/
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 39

โพสต์

(9.3)ข้อสาม นักเก็งกำไรมักจะชอบเล่นหุ้นกันเป็นหมู่หรือรวมกลุ่มกันหลาย ๆ คน นี่อาจจะเป็นความคิดว่าการรวมกันเล่นจะมีผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่าทำอยู่คน เดียว
(9.4) และข้อสี่ นักเก็งกำไรนั้น เชื่อในเรื่องของจิตวิทยาตลาดและมวลชนว่ามีผลต่อราคาหุ้นมากกว่าพื้นฐานระยะ ยาวของกิจการ ดังนั้น นักเก็งกำไรเวลาซื้อขายหุ้นมักจะคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ และนักเก็งกำไรที่เป็น “ผู้นำ” อาจจะต้องสร้างสถานการณ์แบบนั้นให้เกิดขึ้นด้วย(9.3)ข้อสาม นักเก็งกำไรมักจะชอบเล่นหุ้นกันเป็นหมู่หรือรวมกลุ่มกันหลาย ๆ คน นี่อาจจะเป็นความคิดว่าการรวมกันเล่นจะมีผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่าทำอยู่คน เดียว
(9.4) และข้อสี่ นักเก็งกำไรนั้น เชื่อในเรื่องของจิตวิทยาตลาดและมวลชนว่ามีผลต่อราคาหุ้นมากกว่าพื้นฐานระยะ ยาวของกิจการ ดังนั้น นักเก็งกำไรเวลาซื้อขายหุ้นมักจะคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ และนักเก็งกำไรที่เป็น “ผู้นำ” อาจจะต้องสร้างสถานการณ์แบบนั้นให้เกิดขึ้นด้วย
...รู้สึกเหมือนจะเกิดขึ้นไม่นาน มานี้ ใกล้ๆ ยังไงไม่รู้..
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 225

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 40

โพสต์

คุณ imerlot เอาบทความเก่าๆดีๆ มารวมกันได้ประโยชน์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากครับ :cool:
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 41

โพสต์

chukieat30 เขียน:... การไม่ปั่นหุ้น เป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ ...
ขนาดนั้นเลยเหรอครับ...

แบบนี้เม่าๆ อย่างพวกเราเล่นหุ้นไปวันๆ โดยไม่ได้ปั่นหุ้นนี่เท่ากับได้ทำบุญทุกวันเลยนะครับ... ดีจังๆ


ปล. แค่แซวเล่น ขำๆ นะครับ... อย่าคิดมาก
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 42

โพสต์

picatos เขียน:
chukieat30 เขียน:... การไม่ปั่นหุ้น เป็นบุญที่ยิ่งใหญ่ ...
ขนาดนั้นเลยเหรอครับ...

แบบนี้เม่าๆ อย่างพวกเราเล่นหุ้นไปวันๆ โดยไม่ได้ปั่นหุ้นนี่เท่ากับได้ทำบุญทุกวันเลยนะครับ... ดีจังๆ

ปล. แค่แซวเล่น ขำๆ นะครับ... อย่าคิดมาก
เพราะความดีอันนี้ พี่ picatos ก้เลยได้ประสบความสำเร็จเป็นนักลงทุนหลายร้อยล้าน

บุญส่งเสริมครับพี่ picatos

ภาษาและวาจา แม้จะเปลี่ยนไปบ้าง แต่แนวคิดก้ไม่เปลี่ยนไปเลยนะครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 2

Re: หุ้นที่ผมชอบที่สุด/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 43

โพสต์

little wing เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

	“หุ้นที่ผมชอบที่สุด”  นั้น  เมื่อเวลาผ่านไปเราก็อาจจะมีหุ้นตัวใหม่ที่ขึ้นมาแทนตัวเดิม  นี่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้  แต่ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ  เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น  ก็อาจจะเป็นเครื่องแสดงว่าเรากำหนดหุ้นที่เราชอบง่ายเกินไป  และถ้าเป็นอย่างนั้น  ปัจจัยของหุ้นอาจจะไม่ได้ดีพอ  หรือไม่อย่างนั้น  เราก็อาจจะมีการซื้อขายเปลี่ยนตัวหุ้นมากเกินไปจนเราไม่ได้เจอกับหุ้นที่เป็นซุปเปอร์สตาร์ของเราจริง ๆ              

ขอบคุณอาจารย์ครับ
ตรงนี้เป็น"วรรคที่ผมชอบที่สุด" เลยครับ :)