The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Modern

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Modern

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Another very very interesting book written by Daniel Yergin, "The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Modern". I haven't bought it yet but probably will order from Amazon.com at about $22 before the shipping cost. The book is sold in Australia for A$45 so I am willing to wait.

Having read the first sentence in the Introduction page (from Amazon), I feel it won't take long at all to finish the 816-page well written book about the energy sector.

The book official website is http://danielyergin.com/
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เคาะขวาสั่งซื้อจาก Amazon เรียบร้อยแล้วครับ รวมค่าส่งมาออสเตรเลียประมาณ $32 ครับ ผมตัดแปะจากเว็ปของผู้เขียนมาเรียกน้ำย่อยละกันครับ สำหรับคนที่สนใจ สามารถหาซื้อได้จากร้าน kinokuniya ที่เมืองไทยได้นะครับ ราคา 1,139 บาท (ที่ออสเตรเลียนี่ค่าหนังสือแพงจริงๆ มิน่าละ ร้านหนังสือถึงต้องปิดตัวลง เพราะคนหันไปซื้อออนไลน์หมด ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ)

The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Modern World presents a gripping account of the quest for the energy that our modern world needs. Daniel Yergin continues the riveting story begun in his Pulitzer Prize–winning book, The Prize. A master storyteller as well as a leading energy expert, Yergin shows us how energy is an engine of global political and economic change. The Quest is a story that spans the energies on which our society has been built and the new resources that are competing to replace them.

The New World Of Oil
The Gulf War opened a new era—one defined by the tumultuous politics that accompanied the break-up of the Soviet Union, the Iraq War, turmoil in the Middle East, the surprising impact of innovation, and China’s emergence as a huge thirsty oil consumer.

In this new setting, rivals jockeyed for control of pipelines and energy fields in Central Asia. Sober observers wondered out loud—and continue to wonder—whether the United States would clash with China over petroleum reserves. And the shock of higher oil prices reverberated across the world economy, redistributing wealth on a global basis – and affecting every consumer at the gasoline pump.

The interplay between world events and oil – the world economy’s most important commodity – continues today.

Securing The Supply
On the eve of World War I, Winston Churchill, then the First Lord of the Admiralty, faced a momentous decision: whether to push Britain’s Royal Navy to convert its fuel source from domestic coal to imported oil. Oil would improve the fleet’s speed and flexibility, but he was deeply troubled by one risk—that the navy might somehow be cut off from the main source of its oil supplies in Persia, now modern Iran.

Churchill’s answer would become a fundamental touchstone of energy security: diversification of supply. “On no one quality, on no one process, on no one country, on no one route, and on no one field must we be dependent,” he told Parliament in July 1913. “Safety and certainty in oil lie in variety and variety alone.” That precept has proved itself again and again.

The challenges of energy security are more complex than ever. They begin with the Middle East and traditional geostrategic concerns, but the risks now include cyber terrorism, extreme weather, rapidly-growing demand from the emerging markets, political clashes in other regions, and the vulnerability of the world’s supply lines to piracy. It is not only oil—the growing global natural gas market and the electricity grid are all subject to systematic shocks.

Securing the Supply explores the vulnerabilities of our energy system and how to bolster its security around the globe.

The Electric Age
The Electric Age captures the evolution of our increasingly electric society – from that moment in 1882 when Thomas Edison pulled the switch for his Pearl Street Station in Lower Manhattan, to the U.S. Navy’s development of nuclear reactors, to the quandary of fuel choice, to the nuclear disaster at Fukushima.

In the 1950s, Ronald Reagan—as a spokesperson for GE—hailed the virtues of the “all-electric home.” Today, electricity is pervasive—animating everything from our iPhones to massive factories.

Yet, as consumers, we are largely oblivious to the immense complexity behind the smooth delivery of power. When we turn on the lights, there is none of the uncertainty and anxiety that gripped Thomas Edison when he threw the switch in 1882. We simply expect the electricity to flow. It is only when something goes wrong—like the East Coast blackout of 2004 or the California electricity crisis—that we take notice. The Electric Age shows how this system came to be, how it is getting “smarter” and the cascading consequences when it falters.

Climate And Carbon
How did climate change go from being a subject of interest to a few scientists to a dominating issue of our time? Climate and Carbon tells the unexpected story of how man’s scientific quest to understand the earth’s atmosphere merged with policy to make climate central to the future of energy.

More than a century ago, high in the Alps, a few scientists and explorers began to ask questions about the age of the earth. They came to a heretical conclusion: there had been an Ice Age before our present age, and the composition of the atmosphere might explain why.

Today we know that carbon dioxide (CO2) and other greenhouse gases are part of the 62-mile-high blanket of gases separates us from the emptiness of outer space. These gasses are climactic balancers. If the concentration of greenhouse gases grows too high, the temperature within this global greenhouse will rise.

While early scientists considered the concept of climate change a curiosity, today the prospect is viewed with alarm. Burning fossil fuels releases carbon in massive quantities, a practice that some scientists have called “the experiment.” Climate and Carbon explores how scientists came to understand the atmosphere—and the political struggles that have ensued and are sure to intensify.

New Energies
New Energies vividly illuminates the forces that are remaking our energy world. Entrepreneurs, scientists, environmental activists, politicians and venture capitalists are all seeking to catalyze the emergence of a large-scale renewable energy industry.

It’s not the first time. A bold effort in the 1970s to push for alternatives to imported oil and fossil fuels foundered in the 1980s in the face of a collapse in prices, energy gluts, and a major political shift. The Economist described this once buoyant solar industry as “a commercial graveyard for ecologically minded dreamers.”

Yet today, renewables are back, and with new strength – led by wind and solar.

Wind power has been utilized for thousands of years, but it is only in the past decade that it has started to achieve scale. The science of photovoltaics was first explained by Albert Einstein in 1905, but its practical application was still decades away. While solar cells remain costly, they are considered one of the most-promising long-term prospects for providing large-scale carbon free electricity.

In addition to these renewables, there is one more technology with the potential to improve sustainability in our energy sector – efficiency, the giant of conservation potential.

Road To The Future
How long will oil hold onto its dominance as biofuels and batteries percolate through the transportation system?

A century ago, at the dawn of the automotive age, a great contest emerged between Thomas Edison and Henry Ford over the heart of the automobile. Would it be a battery, or an internal combustion engine? Despite Edison’s best efforts, his electrics were outclassed by the engine and what Edison called the “hydrocarbon.” Ford may have called Edison the greatest man he had ever known, but it was Ford, not Edison, who was the victor in this epic race.

Batteries and biofuels had seemed destined for the dustbin of “could have been” technologies—but today they are back.

The race between electric vehicles and internal combustion engines that seemed so thoroughly decided by 1911 is on again–the second lap has only just begun.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ได้รับหนังสือเล่มนี้จาก Amazon เมื่อวันจันทร์แล้วครับ มาเร็วกว่ากำหนดถึง 10 วัน จริงๆแล้วใช้เวลาส่งมาถึงเพิร์ธประมาณ 10 วันครับ เริ่มอ่านไปได้บ้างแล้ว สมกับที่รอคอยจริงๆครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
tech
Verified User
โพสต์: 331
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แล้วรบกวนสรุปให้ฟังคร่าวๆ สัก 2 - 3 ประโยคด้วยครับ
ถ้าไม่รบกวนจนเกินไป ขอบคุณครับ
อยากรู้เหมือนกันว่า แนวโน้มพลังงานโลกจะเป็นอย่างไรบ้าง??
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 5

โพสต์

แค่ 2-3 ประโยคเองเหรอครับ 5555...จะพยายามครับ ตอนนี้เพิ่งจะอ่านบทแรกจบไปครับ โดยบทแรกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศรัสเซีย ประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากประเทศหนึ่ง แต่ด้วยความที่ระบบการปกครองในอดีตไม่มีประสิทธิภาพทำให้ประเทศต้องล้าหลังประเทศตะวันตกไปไกล

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์ใหญ่ๆ 3 ประการครับ

1) เราจะมีพลังงานใช้เพียงพอในอนาคตหรือไม่เพื่อรองรับการใช้ที่เพิ่มขึ้น และในราคาเท่าไหร่ และด้วยเทคโนโลยีอะไร

2) เราจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบพลังงานที่โลกต้องพึ่งพาได้อย่างไร

3) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร และ การพัฒนาแหล่งพลังงานจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ผมคิดว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราอย่างมาก แต่เราไม่ได้ตระหนักถึงว่ามันมีความสำคัญมากเพียงใด ประเทศไทยไม่มีแหล่งพลังงานในประเทศที่พอเพียงต่อการใช้ในประเทศ ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากภายนอก หรือไม่ก็ต้องออกไปหาแหล่งใหม่ๆในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยมีคือความอุดมสมบูรณ์ของผืนดิน มีปริมาณน้ำที่มากเพียงพอสำหรับการใช้ในการเกษตร เพราะฉะนั้นในอนาคต biofuel น่าจะเป็นทางเลือกอันดับต้นๆของประเทศไทยสำหรับแหล่งพลังงาน นอกเหนือจาก พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

เอาเป็นว่าอยากให้หาซื้อมาอ่านจริงๆครับ ภาษาเขียนไม่ยากเลย ไม่ซับซ้อน ได้รู้ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในอดีตที่สำคัญๆ และน่าจะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้ด้วยครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
L.
Verified User
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 6

โพสต์

offshore-engineer เขียน:แค่ 2-3 ประโยคเองเหรอครับ 5555...
งั้น 2 - 3 หน้า ก็ได้ค่ะ :) .. แต่จริงๆ อยากอ่านมุมมอง ความคิดเห็น ของ คุณ Offshore ด้วยค่ะ ..
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 7

โพสต์

คุณ L ไปพักร้อนมาเหรอครับ ไม่เห็นตั้งนาน ผมกะว่าถ้ามีเวลาก็จะสรุปให้ทีละบทสองบทละกันครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
L.
Verified User
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 8

โพสต์

offshore-engineer เขียน:คุณ L ไปพักร้อนมาเหรอครับ ไม่เห็นตั้งนาน ผมกะว่าถ้ามีเวลาก็จะสรุปให้ทีละบทสองบทละกันครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ ... :)

พอดีอพยพไปอยู่ ชะอำ ระยอง และกลับมาพักโรงแรมที่กรุงเทพ รอน้ำลดอีก 10 วัน รวมๆ ก็ 38 วัน ... เหมือนไปพักร้อนเลยค่ะ.. แต่ไม่สนุกซักเท่าไหร่ เพราะต้องคอยตามข่าวน้ำท่วมทุกวัน ว่าเมื่อไหร่ น้องน้ำ เธอจะกลับบ้านซะทีน๊า ..
tech
Verified User
โพสต์: 331
ผู้ติดตาม: 0

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 9

โพสต์

offshore-engineer เขียน:แค่ 2-3 ประโยคเองเหรอครับ 5555...
เกรงใจครับ
แต่ถ้าจะสรุปให้ฟังทุกบท ก็จะเป็นพระคุณอย่างมากครับ :P
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 10

โพสต์

L. เขียน:
offshore-engineer เขียน:คุณ L ไปพักร้อนมาเหรอครับ ไม่เห็นตั้งนาน ผมกะว่าถ้ามีเวลาก็จะสรุปให้ทีละบทสองบทละกันครับ
ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ ... :)

พอดีอพยพไปอยู่ ชะอำ ระยอง และกลับมาพักโรงแรมที่กรุงเทพ รอน้ำลดอีก 10 วัน รวมๆ ก็ 38 วัน ... เหมือนไปพักร้อนเลยค่ะ.. แต่ไม่สนุกซักเท่าไหร่ เพราะต้องคอยตามข่าวน้ำท่วมทุกวัน ว่าเมื่อไหร่ น้องน้ำ เธอจะกลับบ้านซะทีน๊า ..
เสียใจด้วยนะครับ ปีนี้สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรงจริงๆครับ จะเกี่ยวกับ climate change มากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้นะครับ หนังสือเล่มนี้มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
untrataro25
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1053
ผู้ติดตาม: 39

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ภาษาปะกิต ผมไม่ค่อยแข็งแรง
แต่แอบอยากรู้เนื้อหาภายใน ด้วยอีกคนครับ :mrgreen:
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Hahaha....ไม่มีใครอ่านเป็นเพื่อนเลยหรือครับ

Part 1 จะพูดถึงโลกใหม่ของน้ำมัน ซึ่งบทแรกจะกล่าวถึงรัสเซียหลังจากที่ USSR แตกออกเป็นประเทศย่อยๆ หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง รัสเซียมีแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพหลายแหล่ง แต่บางแหล่งต้องใช้เงินทุนและเทคโนโลยีที่รัสเซียไม่มีในการพัฒนา การ privatization ทำให้มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนด้วย ทำให้กำลังการผลิตฟื้นกลับมาได้

บทที่ 2 และ 3 พูดถึง Kazakhstan และประเทศในแถบ Central Asia เช่น Azerbaijan, Turkmenistan หลังจากแตกออกมาจาก USSR ประเทศเหล่านี้ตั้งอยู่ Caspian Sea ซึ่งเป็นทะเลปิด ดังนั้นจึงมีการแข่งขันกันระหว่างประเทศเพื่อกำหนดแนว pipeline และจุดที่สามารถส่งออกน้ำมันและก๊าซไปยังตลาดโลกได้ หลักๆเป็นการแข่งขันกันระหว่างรัสเซียกับประเทศตะวันตก ซึ่งในท้ายที่สุด แนว pipeline หลักได้วางจากเมือง Baku-Tbilisi-Ceyhan เพื่อส่งออกผ่านทะเล Mediterranean อย่างไรก็ดี การแย่งชิงอำนาจเหนือแหล่งปิโตรเลียมและการขนส่งยังคงดำเนินต่อไป เพราะความมั่นคงทางพลังงานนั่นเอง

บทที่ 4 พูดถึงการเกิดใหม่ของ Supermajors อย่าง ExxonMobil, Chevron, BP และ ConocoPhillips ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤติต้มยำกุ้งที่มีต้นตอจากประเทศไทยนั่นเองครับ ในช่วงนั้น ราคาน้ำมันดิบตกต่ำ ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ต้องรวมตัวกันเพื่อความอยู่รอดครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ช่วงปีใหม่ อ่านไปได้เพิ่มอีกนิดนึงครับ (มัวแต่ไปเที่ยว พักผ่อน ซะเป็นส่วนใหญ่)

บทที่ 5 นั้นพูดถึงเรื่องราวของ Petro-State โดยเฉพาะ PDVSA ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของเวเนซูเอลา ภายใต้การนำประเทศของ Hugo Chavez แหล่งน้ำมันในประเทศทั้งหมดถูกโอนให้เป็นของรัฐ รายได้จากการผลิตน้ำมันทั้งหมดจึงเป็นของรัฐ และ รัฐเป็นผู้ดูแล ในช่วงที่ราคาน้ำมันสูง ทำให้รัฐใช้จ่ายไปกับนโยบายประชานิยมเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจของตน ในขณะเดียวกันก็ละเลยการลงทุนในสาธารณูปโภคที่สำคัญ เมื่อเผชิญกับภาวะราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้รัฐเกือบจะถังแตกเลยทีเดียว

บทที่ 6 กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบโลกที่มีผลต่อการผลิตน้ำมัน เช่น การก่อการร้ายในประเทศไนจีเรีย และ ภัยธรรมชาติจากพายุเฮอริเคน Katrina และ Rita เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นและมีผลอย่างมากเช่นกันคือ สงครามในประเทศอิรัค ซึ่งได้กล่าวไว้ค่อนข้างละเอียดในบทที่ 7

ในบทที่ 8 อธิบายถึงสาเหตุของการถีบตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบในช่วงปี 2003-2008 และ การปรับตัวลงอย่างรุนแรงหลังฟองสบู่ subprime ระเบิด การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบอย่างมากนั้นเป็นผลจากความต้องการที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะจากประเทศจีน (Demand Shock) ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบที่ต่ำก่อนหน้านั้นทำให้บริษัททั้งหลายไม่ได้ลงทุนในการเพิ่มอัตราการผลิต เมื่อผสมโรงกับ financial speculation และความกังวลกับทฤษฎี peak oil ราคาก็เลยกลายเป็นอย่างที่เห็น ทางแก้ของราคาน้ำมันแพงนั้นก็คือราคาน้ำมันที่แพงนั่นเองครับ เมื่อราคาขึ้นไปสูงมากในระดับที่มีผลต่อปากท้องของคน การบริโภคน้ำมันก็ลดลงไปเอง และ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง

ผมไปเจอกราฟราคาน้ำมันจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาแปะไว้ให้ดูละกันครับ เผื่อว่าอ่านมาถึงบทนี้แล้วจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
แนบไฟล์
Oil Pulse.jpg

Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
chinn
Verified User
โพสต์: 226
ผู้ติดตาม: 4

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 14

โพสต์

กำ จะกด+ ดันปุ่มเล็ก โดนลบ แทน ขออภัย และขอบคุณสำหรับบทความครับ
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 15

โพสต์

chinn เขียน:กำ จะกด+ ดันปุ่มเล็ก โดนลบ แทน ขออภัย และขอบคุณสำหรับบทความครับ
ไม่เป็นไรครับ : ) ตอนนี้ต้องเร่งอ่านครับ เพราะงานที่บริษัทเริ่มเยอะขึัน เดี๋ยวไม่มีเวลา อีกเหตุผลคือ มีหนังสืออีก 2 เล่มที่น่าสนใจรออยู่ครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ลืมพูดไปหนึ่งประเด็นครับ ถ้าสังเกตุกราฟราคาน้ำมันที่แปะไว้ด้านบนจะเห็นว่า ราคา Brent เริ่มสูงกว่า WTI เหตุผลหนึ่งที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ การผลิตก๊าซธรรมชาติในอเมริกาจาก Shale Gas เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุดราคาก๊าซที่ Henry Hub อยู่แถวๆ $3 (ที่เมืองไทย ราคาขายก๊าซของ PTTEP น่าจะอยู่ราวๆ $4-5) ประเด็นนี้ต้องจับตาดูให้ดีครับ อุตสาหกรรมปิโตรอย่าง Dow Chemical หันมาเปิดโรงงานในอเมริกาแทนเพราะราคาก๊าซอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง Shale Gas ในบทที่ 16 ครับ ไว้อ่านถึงแล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 17

โพสต์

offshore-engineer เขียน:ลืมพูดไปหนึ่งประเด็นครับ ถ้าสังเกตุกราฟราคาน้ำมันที่แปะไว้ด้านบนจะเห็นว่า ราคา Brent เริ่มสูงกว่า WTI เหตุผลหนึ่งที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ การผลิตก๊าซธรรมชาติในอเมริกาจาก Shale Gas เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุดราคาก๊าซที่ Henry Hub อยู่แถวๆ $3 (ที่เมืองไทย ราคาขายก๊าซของ PTTEP น่าจะอยู่ราวๆ $4-5) ประเด็นนี้ต้องจับตาดูให้ดีครับ อุตสาหกรรมปิโตรอย่าง Dow Chemical หันมาเปิดโรงงานในอเมริกาแทนเพราะราคาก๊าซอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง Shale Gas ในบทที่ 16 ครับ ไว้อ่านถึงแล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกทีครับ
A little bit side-track from the book, the Resources and Energy Quarterly for December Quarter 2011 published by Bureau of Resources and Energy Economics, Australian Government explains the causes for price differential between WTI and Brent.
Crude oils differ in quality across fields and regions. Generally crudes with low density (light) and low sulphur content (sweet) are of higher quality compared to high density (heavy), high sulphur content (sour) crudes. Light sweet crudes require less processing, produce more valuable products and, therefore, attract higher prices.

West Texas Intermediate is light sweet crude oil that is typically produced in northern US and Canada, and is the traditional price benchmark for US crude oil. WTI is traded on the New York Mercantile Exchange and priced against delivery to Cushing, Oklahoma. Generally, WTI is refined in the Midwest of the US or transported to Cushing for distribution to other refineries.

Brent North Sea crude, or Brent, originates from the North Sea, northeast of the United Kingdom. It is also a light sweet crude, although typically of lower quality than WTI. Consequently, WTI has historically attracted a higher price than Brent.

However, since the start of 2011, the price relationship between WTI and Brent has not reflected their relative quality and in September 2011, the price of Brent averaged US$24 a barrel, or 28 per cent, higher than WTI.

Several factors have contributed to this price premium reversal. One factor is the effect of increase stocks of WTI crude in Cushing, which have put downward pressure on the WTI price. Increased production of unconventional oil in the US and Canada, combined with a recent lull in consumption in the US, and a bottleneck in pipeline capacity out of Cushing, has caused WTI stocks to climb.

Meanwhile, other factors have placed upward pressure on the price of Brent. Firstly, production in the North Sea during 2011 has decreased relative to 2010. Secondly, production shut-ins in Libya during the 2011 civil war disproportionally affected the Brent market, as Libyan crude is a key source of oil for many European refineries.

In October 2011, the price premium for Brent over WTI declined, reflecting the restart of Libyan production. As production in Libya continues to increase, this output will place further downward pressure on the price of Brent.

In 2012, the price premium for Brent is likely to diminish. There are plans to reverse a pipeline that connects the Gulf of Mexico to Cushing, allowing 150 000 barrels a day of crude to flow to the Gulf coast from the second quarter of 2012, increasing up to 400 000 barrels a day by 2013. News of the pipeline reversal saw the Brent premium fall to as low as nine dollars in November. The pipeline reversal should relieve the bottleneck, reduce stocks in Cushing and put upward pressure on the WTI.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เคยคิดว่ารู้เกิ่ยวกับ WTI กับ Brent
แต่จากบทความของ offshore.. มันครบถ้วนกว่าที่ผมรู้
กด like ให้เลยครับ
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Paul Octopus เขียน:เคยคิดว่ารู้เกิ่ยวกับ WTI กับ Brent
แต่จากบทความของ offshore.. มันครบถ้วนกว่าที่ผมรู้
กด like ให้เลยครับ
ขอบคุณครับ : )

ตอนนี้อ่านเพิ่มไปได้อีก 2 บทซึ่งพูดถึงประเทศจีนได้อย่างน่าสนใจครับ บทที่ 9 จะเล่าถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศจีนซึ่งผูกพันกับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ แต่ไหนแต่ไรมา รัฐบาลจีนมีความกังวลกับความมั่นคงทางพลังงานมาโดยตลาด จนกระทั่งการค้นพบแหล่งน้ำมัน Daqing ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ในประเทศและแหล่งอื่นๆในประเทศ ทำให้ประเทศจีนสามารถผลิตน้ำมันได้มากกว่าการใช้ในประเทศและเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ในราวต้นทศวรรษ 1990 รัฐบาลจีนเริ่มตระหนักว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้การใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมากและจะทำให้จีนต้องกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันในท้ายที่สุด นี่เป็นที่มาของการนำบริษัทอย่าง Petrochina, Sinopec และ CNOOC ไปจดทะเบียนในตลาดอเมริกา เพราะต้องการให้บริษัทเหล่านี้แปลงสภาพกลายเป็น INOC (International national oil company) ที่มีศักยภาพทั้งทางด้านเงินทุนและเทคโนโลยีเพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ถ้ายังจำกันได้ในปี 2005 CNOOC ขอเสนอซื้อ Unocal แต่ในท้ายที่สุดเจอแรงกดดันจากรัฐบาลอเมริกา และมีคู่แข่งอย่าง Chevron เข้ามาขอซื้อ Unocal ด้วย CNOOC จึงถอนตัวไปและ Unocal ตกเป็นของ Chevron ในท้ายที่สุด (ถ้า CNOOC เป็นผู้ชนะ เราคงจะได้เห็นบริษัทนี้บริหารแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยครับ)

สำหรับบที่ 10 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของตอนที่ 1 พูดถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้ความต้องการน้ำมันของประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์ (ในปี 2010 ยอดขายรถยนต์ใหม่แซงหน้าอเมริกาไปแล้ว) การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ฯลฯ ความพยายามของประเทศจีนในการเข้าไปเป็นเจ้าของแหล่งน้ำมันในต่างประเทศ ทำให้เกิดความกังวลว่าจะไปขัดขากับอเมริกาเข้าสักวันหนึ่งเพราะอเมริกาเป็นผู้บริโภคน้ำมันมากที่สุดในโลก และจีนเป็นที่สองนั่นเอง แต่ผู้เขียนคิดว่า ทั้งคู่น่าจะหันมาร่วมมือกันซะมากกว่าเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศทั้งสองเอง
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขยันจริงๆ ได้ประโยชน์สำหรับคนขี้เกียจอ่านอย่างผมมากๆเลย
ขอบคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 21

โพสต์

dome@perth เขียน:ขยันจริงๆ ได้ประโยชน์สำหรับคนขี้เกียจอ่านอย่างผมมากๆเลย
ขอบคุณครับ
ยินดีครับพี่โดม : )

ช่วงที่ผ่านมาเริ่มอ่านตอนที่ 2 ไปได้บ้างบางส่วนแล้ว ตอนที่ 2 เป็นเรื่องของ Securing the Supply มีทั้งหมด 6 บทด้วยกัน (บทที่ 11-16)

บทที่ 11 ตั้งคำถามว่าน้ำมันจะหมดไปจากโลกนี้หรือไม่ ซึ่งคำตอบคือไม่ เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและราคาน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้น ในช่วงที่ราคาน้ำมันขยับราคาขึ้นจะมีการพูดถึงทฤษฎี Peak Oil ซึ่งคิดขึ้นโดย Marion King Hubbert (ในบางครั้งจะใช้คำว่า Hubbert's Peak) ทฤษฎีของเขากล่าวว่าอัตราการผลิตน้ำมันในอเมริกาจะขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงปี 1965-1970 และจะถดถอยลงเรื่อยๆ (คิดในปี 1956) แต่ในความเป็นจริงแล้วอัตราการผลิตได้ปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2010 อเมริกาผลิตน้ำมันได้ 5.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่ Hubbert ประเมินสำหรับปี 1971 ถึงเกือบ 4 เท่าตัว สิ่งที่ Hubbert ไม่ได้ประเมินในการคำนวณของเขาคือ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ ปริมาณน้ำมันสำรองที่อยู่ใต้ดิน เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น แหล่ง unconventional ทั้งหลายก็มีคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการพัฒนาและผลิต ทำให้อุปทานของน้ำมันมีเพิ่มขึ้น

สำหรับ แหล่ง unconventional หลักๆ นั้นได้อธิบายในบทที่ 12 ครับ ในช่วงเริ่มต้นน้ำมันจะถูกค้นพบบนบกและมีความง่ายในการผลิต แต่เมื่อความต้องการมีมากขึ้น นักสำรวจจึงต้องไปสำรวจในที่ที่มีความยากลำบากมากขึ้น เริ่มต้นจากในทะเลน้ำไม่ลึกมากก่อน (Shallow Water) จนกระทั่งไปถึงระดับน้ำลึกมากกว่า 1000 เมตร (Deepwater / Ultradeep water) ที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการขุดเจาะและผลิต อย่างไรก็ดีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดนั่นมีสูงดังเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2010 ที่เกิดขึ้นกับหลุม Macondo ที่ Gulf of Mexico ซึ่งบริหารโดยบริษัท BP การรั่วของน้ำมันจนควบคุมไม่ได้ทำให้แท่นขุดเจาะเกิดไฟไหม้และมีการสูญเสียชีวิตเกิดขึ้น นอกจากนี้น้ำมันที่รั่วออกมายังส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือขึ้นระหว่างรัฐบาลและบริษัทต่างๆในการหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก รวมไปถึงการเตรียมการรับมือหากมีเหตุการณ์ลักษะนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลอเมริกาต้องออกมาตรการยุติการขุดเจาะในแหล่งน้ำลึกชั่วคราว ปัจจุบันมาตราการดังกล่าวได้ยกเลิกแล้ว แต่เนื่องจากมาตราการความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้การอนุมัติการขุดเจาะใช้เวลามากขึ้น และแน่นอนการขุดเจาะในแหล่งน้ำลึกของ GoM คงจะไม่คึกคักเหมือนในอดีตในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แต่การสำรวจในแหล่งน้ำลึกจะไปเน้นหนักขึ้นในอีกสองแหล่งหลักๆ คือ ที่ West Africa และ Brazil (เมื่อรวมกับ GoM จะเรียกว่า Golden Triangle of Deepwater) โดยเฉพาะแหล่ง Presalt นอกชายฝั่ง Brazil ซึ่งถือเป็นการค้นพบแหล่งน้ำมันขนาดยักษ์ตั้งแต่ปี 2000 ที่พบแหล่งน้ำมันขนาดยักษ์ที่ Kazakhstan แน่นอนเงินลงทุนในการพัฒนานั้นมหาศาล (ระดับล้านล้านเหรียญ) แต่ถ้าสำเร็จจะทำให้ Brazil เป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับต้นๆของโลกในทันที และแซงหน้า Venezuela ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งในละตินอเมริกา

*** อ่านมาถึงตรงนี้ทำให้ผมสนใจ บริษัท Petroleo Brasiliero S.A. (หรือที่เรารู้จักกันในนาม Petrobras) ขึ้นมาทันที ทำให้ผมต้องตามไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทนี้ครับ อ่านไปได้คร่าวๆ ก็รู้สึกสนใจบริษัทนี้มากๆ จนอยากจะไปเป็นผู้ถือหุ้นด้วยเลยครับ จากแผน 5 ปีของบริษัท (2011-2015) บริษัทจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น $225 billion (น่าจะมากที่สุดสำหรับการลงทุนของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเลยครับ ผมไม่เคยเห็นบริษัทไหนจะใช้ CAPEX มากเท่านี้มาก่อน) โดยเงินลงทุนกว่าครึ่งหนึ่งจะใช้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยเฉพาะแหล่ง Presalt deepwater นี่แหละครับ บริษัทวางแผนเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันอีกเท่าตัวหนึ่งภายในปี 2020 และ เพิ่มการผลิตปิโตรเลียมจากในปัจจุบันที่ราวๆ 2.7 mmboed ไปเป็นราวๆ 4.0 mmboed ในปี 2015 และมากกว่า 6.4 mmboed ในปี 2020 สำหรับผู้ที่สนใจ บริษัทนี้มี American Depository Share (ADS) จดทะเบียนที่ NYSE ด้วยครับ โดย 1 ADS จะเท่ากับหุ้นสามัญ 2 หุ้น ตัวย่อคือ PBR ครับ ***

อีกแหล่ง unconventional ที่มีขนาดใหญ่มากคือ Oil Sand ครับ ซึ่งมีอยู่มากในประเทศ Canada (PTTEP เข้ามาลงทุนในแหล่ง oil sand ที่แคนาดาเช่นกัน) การค้นพบ oil sand ทำให้แคนาดากลายเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมมากที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากประเทศ Saudi Arabia

นอกจาก oil sand แล้วยังมี oil shale (ไม่เหมือนกับ shale oil นะครับ) และ tight oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่ติดอยู่ในหิน (shale oil / shale gas)

แหล่ง unconventional เหล่านี้จะเข้ามาเพิ่ม supply เพื่อรองรับ demand ในอนาคต ในท้ายที่สุด unconventional ก็จะกลายเป็น conventional
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 22

โพสต์

:B ดีจริงๆ สำหรับคนแก่สายตาไม่ค่อยจะดี อ่านหนังสือมากๆไม่ไหว :mrgreen:

ว่าแต่ mmboed = Million barrels of oil equivalent per day ใช่มั้ยครับ

ในหนังสือมีพูดเรื่องการพัฒนา Shale Gas ในจีนบ้างรึเปล่า เพราะจีนมีปริมาณสำรองมากที่สุดในโลก แต่เรื่องนี้จีนกับเงียบมากเป็นเพราะ Technology Limitation หรือ แหล่ง Shale Gas เหล่านั้นไม่เหมาะสมกับการพัฒนาเอาขึ้นมาใช้?
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 23

โพสต์

Paul Octopus เขียน::B ดีจริงๆ สำหรับคนแก่สายตาไม่ค่อยจะดี อ่านหนังสือมากๆไม่ไหว :mrgreen:

ว่าแต่ mmboed = Million barrels of oil equivalent per day ใช่มั้ยครับ

ในหนังสือมีพูดเรื่องการพัฒนา Shale Gas ในจีนบ้างรึเปล่า เพราะจีนมีปริมาณสำรองมากที่สุดในโลก แต่เรื่องนี้จีนกับเงียบมากเป็นเพราะ Technology Limitation หรือ แหล่ง Shale Gas เหล่านั้นไม่เหมาะสมกับการพัฒนาเอาขึ้นมาใช้?
ผมว่าพี่ Paul ยังไม่ได้แก่ขนาดนั้นหรอกครับ : )

ใช่ครับ mmboed หมายความตามนั้นครับ

ผมยังอ่านไม่ถึงบท shale gas ครับ (อดใจรอหน่อยนะครับ อีก 1-2 บทข้างหน้าเท่านั้น) แต่เท่าที่ผมอ่านเจอจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ การพัฒนา shale gas ในประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่มากๆครับ กล่าวคือกำลังทำการสำรวจอยู่ เหตุผลที่ shale gas boom มากๆในอเมริกานั้นเป็นเพราะอเมริกามีเครือข่าย pipeline และ infrastructure ต่างๆ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมไปถึงการมีบริษัท services contractor ที่มากพอ อย่างไรก็ดี แหล่ง shale gas แต่ละที่มีคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าที่จีนเป็นอย่างไร จีนคงใช้เวลาอีกสักพักนึงครับ แต่บริษัทอย่าง Petrochina, CNOOC และ Sinopec น่าจะเริ่มเห็นศักยภาพและคงพร้อมที่จะเข้าไปลงทุนครับ

เห็นพี่ Paul สนใจเรื่อง shale gas ที่ประเทศจีน ผมมีบทความจากนิตยสาร Economist เรื่อง Breaking new ground : A special report on global shale gas developments ถ้าพี่ Paul สนใจเดี๋ยวผมส่งไปให้อ่านครับ บทความดังกล่าวไม่ได้พูดถึงแต่ประเทศจีน แต่ยังรวมถึงประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีศักยภาพในการผลิต shale gas
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 5

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับหนังสือ และการสรุปดี ๆ

ให้ความรู้ดีมากเลยครับ :D
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 25

โพสต์

offshore-engineer เขียน:
Paul Octopus เขียน::B ดีจริงๆ สำหรับคนแก่สายตาไม่ค่อยจะดี อ่านหนังสือมากๆไม่ไหว :mrgreen:

ว่าแต่ mmboed = Million barrels of oil equivalent per day ใช่มั้ยครับ

ในหนังสือมีพูดเรื่องการพัฒนา Shale Gas ในจีนบ้างรึเปล่า เพราะจีนมีปริมาณสำรองมากที่สุดในโลก แต่เรื่องนี้จีนกับเงียบมากเป็นเพราะ Technology Limitation หรือ แหล่ง Shale Gas เหล่านั้นไม่เหมาะสมกับการพัฒนาเอาขึ้นมาใช้?
ผมว่าพี่ Paul ยังไม่ได้แก่ขนาดนั้นหรอกครับ : )

ใช่ครับ mmboed หมายความตามนั้นครับ

ผมยังอ่านไม่ถึงบท shale gas ครับ (อดใจรอหน่อยนะครับ อีก 1-2 บทข้างหน้าเท่านั้น) แต่เท่าที่ผมอ่านเจอจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ การพัฒนา shale gas ในประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่มากๆครับ กล่าวคือกำลังทำการสำรวจอยู่ เหตุผลที่ shale gas boom มากๆในอเมริกานั้นเป็นเพราะอเมริกามีเครือข่าย pipeline และ infrastructure ต่างๆ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมไปถึงการมีบริษัท services contractor ที่มากพอ อย่างไรก็ดี แหล่ง shale gas แต่ละที่มีคุณลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าที่จีนเป็นอย่างไร จีนคงใช้เวลาอีกสักพักนึงครับ แต่บริษัทอย่าง Petrochina, CNOOC และ Sinopec น่าจะเริ่มเห็นศักยภาพและคงพร้อมที่จะเข้าไปลงทุนครับ

เห็นพี่ Paul สนใจเรื่อง shale gas ที่ประเทศจีน ผมมีบทความจากนิตยสาร Economist เรื่อง Breaking new ground : A special report on global shale gas developments ถ้าพี่ Paul สนใจเดี๋ยวผมส่งไปให้อ่านครับ บทความดังกล่าวไม่ได้พูดถึงแต่ประเทศจีน แต่ยังรวมถึงประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีศักยภาพในการผลิต shale gas
ขอบคุณครับน้อง Offshore ถ้าพอมีเวลาส่งให้ผมด้วยครับ ผมเชื่อว่า Shale Gas มันกำลังเปลี่ยนโครงสร้างด้านพลังงาน และ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของโลก เลยทีเดียว :D
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 26

โพสต์

พี่ Paul พอจะแชร์มุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รึเปล่าครับ ว่า Shale gas จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมนี้มากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ราคาก๊าซที่อเมริกาหล่นลงมาเหลือ $2.6 ต่อ mmbtu แล้วครับ ผมอ่านข่าวเจอว่า Dow Chemical หันกลับไปสร้างโรงปิโตรเคมีที่อเมริกาแทน
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 27

โพสต์

offshore-engineer เขียน:พี่ Paul พอจะแชร์มุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รึเปล่าครับ ว่า Shale gas จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมนี้มากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ราคาก๊าซที่อเมริกาหล่นลงมาเหลือ $2.6 ต่อ mmbtu แล้วครับ ผมอ่านข่าวเจอว่า Dow Chemical หันกลับไปสร้างโรงปิโตรเคมีที่อเมริกาแทน
เป็นสิ่งที่ผมสังเกตุเห็นได้เช่นกันว่าขณะนี้เริ่มมีการลงทุนสร้างโรงผลิตเม็ดพลาสติกในอเมริกา หลังจากที่หยุดมาเป็นเวลานานเพราะต้นทุนที่แข่งขันไม่ได้
ราคา Gas ที่ถูกมากเพียงหนี่งในสามของเมืองไทย ย่อมกระตุ้นให้เกิดโอกาสในการลงทุน

ไม่เพียงแต่ทำให้ Feed Stock ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ราคาต่ำลง แต่ราคา Gas ได้ทำให้ราคาต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลงเช่นกัน อุตสหกรรมที่เกี่ยวกับ Chain ของ โซดาไฟ (NaOH)เช่นการถลุงแร่ บ๊อกไซด้ (อลูมิเนียม) และ คลอรีนเช่นการผลิต PVC และ/หรือ Polyester มีความน่าสนใจมากขึ้น เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ไฟฟ้ามาก (การแยก Na และ Cl จาก เกลือต้องใช้ไฟฟ้า)

นอกเหนือจากนี้ อเมริกาได้เริ่มสร้าง Warehouse ขนาดใหญ่กระจายอยู่ตามเมืองท่าหลายเมือง เพื่อเก็บเม็ดพลาสติกสำหรับส่งออก (แต่เดิมโรงงานจะผลิตเพื่อใช้ในประเทศ จึงไม่ได้สร้างอยู่ริมทะเลเหมือนเมืองไทย ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ)
ผมคาดเดาได้ว่าไม่ใช่เฉพาะเม็ดพลาสติกที่เป็น Specialty (High value added) แต่เม็ดพลาสติกพื้นฐานเช่น PE PP PVC ABS ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นที่อเมริกาเช่นกัน

คำถามคือว่าแล้วจีน ที่มี shale gas มากกว่าอเมริกาจะมีโอกาสเช่นเดียวกันหรือไม่ครับ
offshore-engineer
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2166
ผู้ติดตาม: 8

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอบคุณพี่ Paul สำหรับมุมมองนะครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
6 Dimensions
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 641
ผู้ติดตาม: 2

Re: The Quest: Energy, Security, and the Remaking of the Mod

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เพิ่งได้มีโอกาสอ่านกระทู้นี้ของพี่ offshore ครับ :D
Risk Management = Risk Measurement + Risk Controlling+ Risk Taking

--------------------
โพสต์โพสต์