แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 31

โพสต์

กรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เผยใช้งบประมาณฟื้นฟูดอนเมือง-ถนน-สถานศึกษา รวม 18,441.011 ล.


พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ว่า ที่ประชุม กฟย.ได้เห็นชอบแนวทางการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 3 รายการตามที่ กคฐ.เสนอ โดยใช้งบประมาณฟื้นฟูรวม 18,441.011 ล้านบาท โดยจะเสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไปวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้



ทั้งนี้ แนวทางการฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 รายการ ได้แก่ การฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมืองของบริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. การฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมขนส่งของกรมทางหลวง ทั้งเส้นทางสายหลัก และโครงข่ายที่สำคัญที่เชื่อมต่อภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งโครงข่ายต่อเนื่องรวม 708 โครงการ



และการฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเร่งฟื้นฟูโดยเน้นสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจริงหลังจากระดับน้ำลดลงจำนวน 34 จังหวัด รวม 799 แห่ง



“การกู้ดอนเมืองจะพยายามเร่งรัดให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว ทั้งงานฟื้นฟูทางวิ่งทางขับและลานจอดอากาศยานฝั่งตะวันออก โดยใช้เวลา 60 วันหลังจากน้ำลดและสามารถส่งวัตถุอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้างได้และงานฟื้นฟูอาคารผู้โดยสารหมายเลข 1 ทางวิ่งทางขับ และลานจอดฝั่งตะวันตก รวมถึงอาคารสำนักงานและระบบสาธารณูปโภค ใช้เวลา 60 วันหลังน้ำลด” พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว



สำหรับเส้นทางสายหลักและโครงข่ายที่สำคัญ คาดว่าใช้เวลาฟื้นฟูไม่เกิน 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 - กุมภาพันธ์ 2555 และโครงข่ายต่อเนื่องใช้เวลาไม่เกิน 9 เดือน เริ่มเดือนธันวาคม - สิงหาคม 2555 ขณะที่เส้นทางของกรมทางหลวงชนบทจะมีทั้งการฟื้นฟูเส้นทางหลักที่สนับสนุนการขนส่งโลจิสติกส์และเส้นทางเข้านิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ 4 สายทาง และเส้นทางสายรอง 454 สายทาง



ขณะที่การฟื้นฟูสถานศึกษาเร่งดำเนินการให้ทันต่อการจัดการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจะฟื้นฟูทั้งสถานศึกษา และครุภัณฑ์สื่อการเรียนการสอน
ที่มา...http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ศึกษา.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ธ.โลกให้ไทยกู้3หมื่นล.ลงทุนป้องน้ำท่วมข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 15 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 08:51 น.share25 ฟังคลิปเสียงข่าว
ธนาคารโลก เสนอเงินกู้พิเศษ ให้ไทย 3 หมื่นล้าน ลงทุนในโครงการป้องกันน้ำท่วม ในระยะยาว


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ภายหลังเข้าร่วมประชุมนอกรอบกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ที่นครฮอนนาลูลู รัฐฮาวาย ของสหรัฐ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า ธนาคารโลกได้เสนอให้เงินกู้กรณีพิเศษ จำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 30,000 ล้านบาท) แก่รัฐบาลไทย เพื่อนำไปลงทุนในโครงการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว โดยขณะนี้ รัฐบาลไทยยังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวอยู่

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยอีกว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเช่นกัน

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวในที่ประชุมธุรกิจเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Business Symposium) ซึ่งจัดโดยสถาบันวิชาการอีสต์-เวสต์ เซ็นเตอร์ (อีดับเบิลยูซี) ว่า ประเทศไทยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ เนื่องจากมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยรัฐบาลนั้นได้อนุมัติแผนพื้นฟูและบรรเทาอุทกภัยแล้ว อีกทั้งยังได้อนุมัติงบราว 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3 แสนล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูด้านต่างๆ หลังน้ำลด โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นเงินช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อีก 5

Link : http://www.innnews.co.th/ธ-โลกให้ไทยกู้ ... 52_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 33

โพสต์

รมช.คลัง เผย ครม. เห็นชอบพักหนี้เกษตรกรรายย่อย และประชาชนที่มีหนี้ค้างต่ำกว่า 5 แสน ของ ธ.ก.ส.


นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ค้างต่ำกว่า 500,000 บาท ใช้สำหรับลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 6.3 แสนราย วงเงินกว่า 7.7 หมื่นล้านบาท และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 5 แห่ง จำนวน 1.3 แสนราย วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท รวมเป็นวงเงิน 9 หมื่นล้านบาท โดยใช้ในการพักชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 - วันที่ 30 กันยายน 2557 โดยเกษตรสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป นับเวลา 3 เดือน

Link : http://www.innnews.co.th/ครม-เห็นชอบพัก ... 77_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 34

โพสต์

รมว.กระทรวงการคลัง เผย ครม. ผ่านแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปรับโครงสร้างหนี้เพิ่ม 9.48 หมื่นล. ก่อหนี้ใหม่ 2.69 แสนล. ใช้รับจำนำข้าว, กองทุนน้ำมัน ดันสัดส่วนหนี้ต่อ GDP แตะ 44.8 % ยัน ไม่หลุดกรอบ



นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในวันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น จำนวน
94,800 ล้านบาท และการก่อหนี้ใหม่ จำนวน 269,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการรับจำนำข้าวของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 2.6 แสนล้านบาท และใช้ในกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อบริหารจัดการกองทุนจำนวน 10,000 ล้านบาท

โดยการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าว จะอยู่ที่ร้อยละ 43.5 ของ GDP แต่เมื่อมีการปรับ GDP ลดลงร้อยละ 1.9 สัดส่วนหนี้จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 44.8 ซึ่งยังถือว่าอยู่ในกรอบวินัยการคลัง ที่กำหนดหนี้ไม่เกินร้อยละ
60 ของ GDP

Link : http://www.innnews.co.th/ธีระชัย-เผยครม ... 74_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ครม. อนุมัติเงินเยียวยาภาคอุตฯจากน้ำท่วมกว่า7พันล้าน พร้อมเงินช่วยเหลือครอบครัวละ5พันบาทอีกกว่า2พันล้าน พร้อมซ่อมสนามบินดอนเมือง935ล้าน

ทำเนียบ-นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในวันนี้ (15 พ.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน (กศอ.) เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2554 ได้แก่ มาตรการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน

โดยมีสาระสำคัญตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอมาตรการช่วยเหลือต่อภาคอุตสากรรม ครอบคลุมผู้ประสบภัย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการ 2) นิคมอุตสาหกรรม และ3)มาตรการความช่วยเหลือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ได้เสนอโครงการภายใต้แผนการฟื้นฟูผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและการวางระบบบริการจัดการในอนาคตของกระทรวงอุตสาหกรรมเพิ่มเติม จำนวน 11 โครงการ ใช้วงเงินงบประมาณ 7,427.99 ล้านบาท

นางฐิติมา กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ยัง เห็นชอบมติ กศอ. เกี่ยวกับกรอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยและฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมแบบเร่งด่วน จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 112.84 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการจัดตั้งศูนย์พักพิงอุตสาหกรรม วงเงิน 50 ล้านบาท , โครงการบริหารจัดการความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และกากอุตสาหกรรมในสถานประกอบการที่ประสบภัย วงเงิน 22 ล้านบาท โครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดินและสารปนเปื้อนของสารพิษอุตสาหกรรมในสถานการประกอบทั้งในและนอกนิคม วงเงิน 25 ล้านบาท และโครงการความช่วยเหลือในการระบายน้ำจากนิคมอุตสาหกรรม วงเงิน 15 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาทเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 จำนวน 509,127 ครัวเรือน เป็นเงิน 2,545,635,000 บาท อีกทั้ง ที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยของธนาคารออมสิน โดยรัฐบาลจะรับภาระการชดเชยส่วนต่างระหว่างต้นทุนเงินกับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บผู้กู้ให้ธนาคารออมสิน (ชดเชยส่วนของต้นทุนเงินของธนาคาร) อยู่ร้อยละ 4.22 ต่อปี หรือคิดเป็นเงินชดเชยตลอด 7 ปี ที่ไม่เกิน 4,431 ล้านบาท

ครม. ยังได้อนุมัติงบให้มีการฟื้นฟูสนามบินดอนเมือง ในวงเงิน 935 ล้าน เพื่อซ่อมแซมทางวิ่ง ทางขึ้น ลานบิน ระบบสาธารณูปโภค และอาคารผู้โดยสาร 1

และที่ประชุม ครม. ยังได้เห็นชอบให้มีการฟื้นฟูถนนทางหลวง และเส้นทางชนบทที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เป็นวงเงิน 4,940 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังอนุมัติให้มีการซ่อมแซมโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษากว่า 790 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เป็นวงเงิน 900 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... นล้าน.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554 17:12:29 น.
นายวีระพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.)เปิดเผยว่า การประชุม กยอ.นัดแรกในวันนี้ได้พิจารณากรอบการดำเนินงานด้วยการวางเป้าหมายระยะสั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักลงทุนในและต่างประเทศว่าฤดูฝนในปีหน้าจะไม่เกิดภาวะน้ำท่วมหนักเหมือนเช่นในปีนี้อีก ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการน้ำและการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายเกิดขึ้น


รวมทั้งวางเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาประเทศที่จะนำปัจจัยเสี่ยงจากน้ำท่วมกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่จะเกี่ยวข้องในด้านภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน ระบบน้ำ การบริหารจัดการพื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่เกษตร และเขตทางน้ำไหล

การดำเนินงานของ กยอ.ภายใน 12 เดือนข้างหน้า อยู่ภายใต้การตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย, คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทลบจากอุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน, คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอุทกภัย ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอุทกภัยด้านการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ มีนายพันศักดิ์ วิญรัตน์ เป็นประธาน, คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือและสร้างความมั่นใจภาคเอกชน มีนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นประธาน, คณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรถาวรและการปฏิบัติตามแนวบริหารราชการแผ่นดิน มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการด้านการเงินแบะตลาดทุน มีนายศุภวุฒิ สายเชื้อ เป็นประธาน

ส่วนการสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจประกันภัยนั้น ขณะนี้ทางคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) อยู่ระหว่างการหารือกับเอกชนเพื่อพิจารณาว่าการรับประกันภัยต่อจากปัจจัยเสี่ยงน้ำท่วม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของภัยทั้งหมด ซึ่งจะนำมาใช้ในการต่อรองค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการรับประกัน หากรัฐบาลให้ความมั่นใจว่าจไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำอีก น่าจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายประกันภัยให้กับภาคธุรกิจได้

นายวีระพงษ์ กล่าวว่า พร้อมจะเป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างเอกชนกับรัฐบาลเพื่อให้ความมั่นใจกับภาคธุรกิจและบริษัทรับประภันภัย ส่วนบริษัทประกันภัยในต่างประเทศที่อาจจะไม่รับประกันภัยต่อกรณีน้ำท่วมนั้น ก็จะเดินทางไปหารือกับบริษัทรับประกันภัยต่อขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ลอยด์ของอังกฤษ เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดูแลปัญหาน้ำท่วมให้ดีที่สุด พร้อมกับมอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปดูแลต่อกรณีที่บริษัทต่างชาติรับประกันภัยในราคาที่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม ในการหารือวันนี้ยังไม่ได้พิจารณาวงเงินลงทุนทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งจะมีการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการลงทุน ขณะเดียวกันยอมรับว่ามีแนวคิดเสนอให้นำเงินทุนสำรองฯส่วนหนึ่งมาใช้ลงทุนแก้ไขปัญหาน้ำทั้งระบบ ซึ่งอาจจะให้รัฐบาลออกพันธบัตรมารองรับ โดยจะต้องให้ผลตอบแทนดีกว่าการนำเงินทุนสำรองฯไปให้รัฐบาลสหรัฐกู้

"การลงทุนเพื่อป้องกันน้ำท่วมในระยะยาวต้องสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะค้องพิจารณารอบคอบ โดยจะมีคณะกรรมการ กยน.(คณะกรรการยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธาน)เป็นผู้พิจารณาโครงการ เมื่อได้รับรายงานแล้ว กยอ.จะนำมาพิจารณาว่าจะใช้เงินในโครงการใดบ้าง ใช้ที่ไหน และเมื่อไหร่"นายวีรพงษ์ กล่าว

นายวีระพงษ์ กล่าวว่า จากที่ได้มีโอกาสพบกับประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)ก็ได้รับความมั่นใจว่าภาคธุรกิจญี่ปุ่นยังมีความมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไป รวมไปถึงการขยายกำลังการผลิตในอนาคต เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบในหลายด้าน โดยเฉพาะแรงงานที่มีคุณภาพเหนือประเทศเพื่อนบ้าน มีประสบการณ์ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายจ้าง และรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้

ขณะเดียวกันได้เสนอให้ไทยอำนวยความสะดวกในการออกใบอนุญาตทำงานเป็นการชั่วคราวให้แก่วิศวกรหรือเจ้าหน้าที่จากญี่ปุ่นที่จะเข้ามาซ่อมแซมฟื้นฟูโรงงานของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย

ส่วนผู้ประกอบการรถยนต์จากญี่ปุ่น ยังยืนยันจะขยายการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อให้ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านคันในอนาคต จากปัจจุบัน 1 ล้านคัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ไทยเป็นศุนย์กลางผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดรองจากญี่ปุ่น แต่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) และหน่วยงานอื่น ๆ

"น้ำท่วมเที่ยวนี้แม้เป็นวิกฤติ แต่ถือเป็นโอกาสการยกระดับความเจริญของอุตสาหกรรมไทยขึ้นมาอีกระดับ หากเราลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเห็นชอบร่วมกันในการแบ่งโซนอุตสาหกรรมในระยะข้างหน้า ซึ่งมีความจำเป็น ทางเขายินดีให้ความร่วมมือเต็มที่ เจโทรมีความพร้อมทั้งเรื่องเงิน เทคนิค และด้านต่างๆ ที่จะช่วยเหลือไทยหากมีความต้องการ"ประธาน กยอ.กล่าว

นอกจากนั้น ที่ประชุมวันนี้ยังได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นฝ่ายเลขานุการของ กยอ.และให้ตั้งสำนักงาน กยอ.เป็นหน่วยงานในสภาพัฒน์ โดยขั้นต้นได้ขอกำลังบุคลากร 30 คนเพื่อทำงานในสำนักงานดังกล่าว

ด้านนายอาคม กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การฟ้องกันน้ำท่วมในปีหน้าจะวางระบบป้องกัน 2 ระบบ คือ ระบบป้องกันเขตนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับปรุงแก้ไขเอง ขณะที่รัฐบาลจะจัดเงินกู้ผ่อนปรนในการลงทุนสร้างแนวป้องกันให้ และยังมีกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นแหล่งระดมทุน

ส่วนที่ 2 เป็นระบบป้องกันนอกนิคมอุตสาหกรรมและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างที่คณะกรรมการจัดการน้ำฯ จะวิเคราะห์และออกแบบการป้องกัน

--อินโฟเควสท์ โดย จารุวรรณ ไหมทอง/ศศิธร/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 01:48:14 น.
นส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/54 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในไตรมาส 3 ปีนี้ ส่งผลให้สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 17.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัว 15.1% ในไตรมาส 2 โดยสินเชื่อธุรกิจขยายตัว 17.3%

ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยกรอส เอ็นพีแอล ลดลงเหลือ 2.8% และเน็ตเอ็นพีแอลเหลือ 1.4% ซึ่งเป็นการลดลงในเกือบทุกภาค จากการบริหารความเสี่ยง และการดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง

นส.นวพร กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่จะมีผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป ยังมาจากทั้งปัจจัยต่างประเทศจากความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ของกลุ่มประเทศหลัก และปัจจัยในประเทศ โดยเฉพาะจากปัญหาน้ำท่วม ส่วนปัญหาน้ำท่วมจะสร้างปัญหาให้ระบบเอ็นพีแอลระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น หรือไม่ ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินได้ เนื่องจากสถานการณ์ยังน้ำท่วมไม่จบ แต่หากพิจารณาจากสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยให้กับกลุ่ม 7 นิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ในพื้นที่ เช่น อยุธยา ปทุมธานี และลพบุรี เป็นต้น แล้วพบว่า มีประมาณ 1.21 แสนล้านบาท

ส่วน สินเชื่อทั้งหมดนั้น จะเป็นหนี้เสียทั้งหมดหรือไม่ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้เช่นกัน เพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมจะสิ้นสุดเมื่อไร และการฟื้นฟูจะทำได้เร็วมากน้อยแค่ไหนเป็นสำคัญ นอกจากนี้เห็นว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แม้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่พบว่าหลายโรงงานยังมีแหล่งผลิตวัตถุดิบจากทื่อื่นๆมาช่วยทดแทน และโรงงานบางส่วนได้มีการย้านฐานการผลิตไปพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่ง

"มอง ว่า ก่อนเกิดน้ำท่วมธุรกิจโรงงานต่างๆที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมีความเข้มแข็ง โดยธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เงินทุนในการดำเนินธุรกิจจากการกู้ยืม แต่เป็นเงินที่มาจากเงินทุนของบริษัทแม่ ขณะที่ปัจจัยด้านวัตถุดิบห่วงโซ่อุปทานก็มาจากบริษัทแม่ในเครือ ขณะที่ภาครัฐก็ออกมาตรการมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในแง่สินเชื่อที่จะกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าไม่ได้กระทบ รุนแรง"นาวสาวนวพร กล่าว

สำหรับ ภาพรวมแนวโน้มสินเชื่อนั้นคาดการณ์ว่า แม้ไตรมาส 3/54 สินเชื่อจะกลับมาขยายตัวได้ดี แต่ยังมีปัจจัยของความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และปัญหาน้ำท่วมน่าจะมีผลภาคการผลิตแน่นอน ดังนั้น หลังสถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติ สินเชื่อน่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการนำเงินเข้ามาฟื้นฟูธุรกิจกิจการ หรือครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม แต่จะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับภาคธุรกิจจะสามารถรักษาอัตราการ ผลิต ได้มากน้อยขนาดไหน รวมถึงรักษาความเชื่อมั่นในเรื่องของออร์เดอร์ได้หรือไม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 01:48:19 น.
12 บริษัทชั้น ผนึกกำลัง ร่วมตั้งกองทุน"พลังน้ำใจไทย" เป้าหมายฟื้นฟูประเทศหลังน้ำลด เริ่มเคาะโครงการ 15 พ.ย. เริ่งจากผลิตสายรัดข้อมือขาย หาเงินเข้ากองทุนฯ เล็งเป้าแรกไปที่การฟื้นฟูระบบการศึกษา แล้วขยายผลไปยังการฟื้นฟูชีวิตคนในหลายรูปแบบ

บริษัทเอกชนชั้นนำของไทย 12 ราย รวมตัวกันจัดตั้งกองทุน"พลังน้ำใจไทย" เพื่อร่วมฟื้นฟูประเทศหลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ โดยบริษัทเอกชนทั้ง 12 รายประกอบด้วย1.ธนาคารกรุงเทพ 2.บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 3.กลุ่มเซ็นทรัล 4.บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น 5.บริษัท ไทเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) 6.บ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น 7.บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต 8.บ.บีทีเอส กรุ้ปฯ 9.กลุ่มมิตรผล 10.บ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ 11.บ.แอ๊ดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส 12.บ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล ในเครือสหพัฒน์

ทั้งนี้รูปแบบโครงการคือทุนเริ่มแรกจะมีการจัดหามาจากแต่ละองค์กรเพื่อจะสามารถนำมาเป็นทุนในการระดมทุนในกิจกรรมอื่นต่อไป เช่น โครงการร่วมในการระดมทุน คือ การทำ wrist band "พลังน้ำใจไทย Power of Thai" ที่จะออกแบบโดยใช้สีของธงชาติมาเป็นแกนในการออกแบบ ซี่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบ จากนั้น จะมีการผลิต wristband จำนวน 1 ล้านชิ้น ออกจำหน่าย ในราคาชิ้นละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 100 ล้านบาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย เพื่อใช้เป็นทุนเริ่มต้นในการดำเนินการ

การระดมทุนโดยการออกผลิตภัณฑ์พิเศษสำหรับโครงการ "พลังน้ำใจไทย Power of Thai " โดยแต่ละองค์กรจะไปจัดกิจกรรมหรือสินค้าเพื่อจำหน่าย ภายใต้สัญญลักษณ์ "พลังน้ำใจไทย Power of Thai" โดยจะนำรายได้ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดเข้าร่วมในกองทุนครั้งนี้ รวมถึงการระดมทุนในรูปแบบอื่นๆ จะมีการจัดต่อไปตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ระยะเวลาเริ่มโครงการวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 และตั้งเป้าหมายในการสรุปผลของการระดมทุนของโครงการที่วันที่ 30 มิถุนายน 2555 โดยวัตถุประสงค์หลักของของโครงการคือ การฟื้นฟูด้านการศึกษา ซึ่งจากวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป ได้มีการแบ่งคณะทำงานที่จะศึกษาสภาวะปัญหาและความต้องการของภาคการศึกษา เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นขั้นตอนการดำเนินการฟื้นฟูและช่วยเหลือต่อไป

อย่างไรก็ตามโครการฯจะเน้นไปที่การฟื้นฟูระบบการศึกษาเป็นหลักก่อน โดยหลังจากนี้ ทุกบริษัทจะเคาะวงเงินสมทบก้อนแรกที่จะส่งเข้ากองทุนฯ หลังจากนั้นแต่ละบริษัทก็จะผลิตสินค้าพิเศษขึ้นมาเพื่อจำหน่ายแล้วนำเงินมาสบทบกองทุนต่อไป

นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า " กลุ่มเซ็นทรัลใช้งบประมาณรวมกว่า100 ล้านบาท จัดโครงการ "น้ำใจเซ็นทรัล เพราะมีคุณ...ถึงมีเรา" เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ประสบภัย 3 ขั้นตอน คือ 1. การช่วยเหลือขั้นต้น (Relief) 2. ขั้นสร้างความมั่นคงและมั่นใจขณะอพยพ (Reassurance) 3. ขั้นฟื้นฟูหลังน้ำลด (Restore) ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลได้เริ่มดำเนินงานใน 2 ขั้นตอนแรกไปแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา และในช่วงหลังน้ำลด กลุ่มเซ็นทรัลจะเริ่มกระบวนการขั้นที่ 3 คือ ขั้นฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน โรงเรียน และวัด เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับศักยภาพของบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล สอนการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากไทวัสดุ สอนการระมัดระวังในการ ใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมจากเพาเวอร์บาย ,สอนทำอาหารและเครื่องดื่มจากเซ็นทรัลฟู้ดรีเทล , สอนนวดและการทำสปาจากโรงแรมในเครือเซ็นทารา
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 17:40:09 น.
สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เร่งรัฐบาลประเมินผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม ที่กระทบภาวะเศรษฐกิจ ฐานะการคลัง และตัวเลขความเสียหาย รวมทั้งสรุปแนวทางป้องกันน้ำท่วม พร้อมเสนอโรดแมพ 3 ระยะ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อวางแนวทางเร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจ รวมไปถึงสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และตลาดทุนไทยด้วย รวมทั้งการระดมทุนเสนอให้ผ่านตลาดทุนที่มีต้นทุนต่ำ เตรียมเข้าพบและเสนอต่อนายกรัฐมนตรี

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยหลังการหารือสมาชิกทั้ง 7 สมาคมในตลาดทุนถึงแนวทางการฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุนและแนวทางการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วว่า สภาฯ มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการและเศรษฐกิจไทยในระยะยาว รัฐบาลควรเร่งประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจมหภาค ฐานะการคลังของประเทศ และสรุปตัวเลขที่ชัดเจนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับนักลงทุนอย่างทั่วถึง รวมทั้ง เร่งสรุปแนวทางป้องกันน้ำท่วมในอนาคตที่เป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นข้อมูลให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการตัดสินใจลงทุนและวางแผนการดำเนินงานต่อไป

สภาฯ จึงขอนำเสนอ Roadmap 3 ระยะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย เพื่อช่วยเร่งสร้างภูมิคุ้มกัน และเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ตลาดทุนและเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้มีเสถียรภาพ โดยจะนำคณะกรรมการและผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อหารือมาตรการต่างๆ ในรายละเอียดต่อไป

ข้อเสนอแบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ นักลงทุน และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว โดยเสนอให้รัฐบาลพิจารณาเร่งดำเนินการ คงมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ให้เหลือ 20% ไว้ตามเดิม แต่ขอให้ชะลอเวลาการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทันที 0.5% เพื่อแบ่งเบาภาระภาคธุรกิจ กระตุ้นการบริโภคและการลงทุน

พร้อมทั้งออกมาตรการภาษีเพื่อการฟื้นฟูภาคธุรกิจ เช่น การยกเว้นภาษีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำมาทดแทนของเดิม สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม รวมทั้ง การยกเว้นการนำส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

อีกทั้งสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) หรือสนับสนุนทางการเงินให้กับบริษัทจดทะเบียน อุตสาหกรรม หรือ SME ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้มีทุนหมุนเวียนและสามารถฟื้นตัวได้โดยเร็วยิ่งขึ้น

และชะลอหรือเลื่อนกำหนดเวลาการส่งมอบงานให้กับภาครัฐ กรณีอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามสัญญา โดยร่วมกับภาคเอกชนในการพิจารณาระยะเวลาการส่งมอบงานตามความเหมาะสม

รวมถึงเร่งออกมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างที่ตกงาน เช่น การรักษาสภาพการจ้างงานโดยรัฐบาลอาจจะช่วยจ่ายค่าแรงบางส่วนแทนนายจ้าง รวมทั้ง จัดการฝึกอบรมและจัดหาอาชีพเสริมให้ลูกจ้างที่ต้องหยุดงาน เป็นต้น

สำหรับมาตรการระยะกลาง การฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตครั้งนี้ ควรให้ตลาดทุนเป็นกลไกสำคัญในการระดมทุนเพื่อการฟื้นฟู เพราะการระดมทุนในตลาดทุนมีต้นทุนที่ต่ำ ด้วยการระดมทุนผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การระดมทุนผ่านตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน การระดมทุนผ่านกองทุนรวม ตามมาตรการต่อไปนี้

1.เร่งจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เพื่อระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนากิจการสาธารณูปโภคที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม ทางพิเศษ ท่าอากาศยาน ท่าเรือน้ำลึก ระบบขนส่งทางราง เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลควรส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนรวมร่วมทุน หรือ Venture Capital Fund เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนอีกทางหนึ่งให้กับภาคธุรกิจ

2.สภาฯ เสนอให้จัดตั้งทีมเจรจาทางการค้าและที่ปรึกษาเพื่อการฟื้นฟู เนื่องจากในระหว่างที่ภาคอุตสาหกรรมต้องหยุดการดำเนินงานอาจทำให้คู่ค้ายกเลิกการสั่งซื้อสินค้า รวมทั้ง การตั้งทีมที่ปรึกษาพิเศษขึ้นเพื่อให้ปรึกษาผู้ประกอบการในเรื่องฟื้นฟูกิจการ และการวางแผนฟื้นฟูด้านการเงิน เป็นต้น

3.สภาฯ ขอเสนอให้รัฐบาลใช้กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุก เพื่อสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยสื่อสารผ่านกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าต่างประเทศ รวมทั้งการสื่อสารกับผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศโดยตรง ผ่านการจัด Road show ต่างประเทศ จัดทำภาพยนต์โฆษณาหรือสัมภาษณ์ผู้นำหรือผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ต่างประเทศที่มีศักยภาพ

สำหรับมาตรการระยะยาวนั้น รัฐบาลควรมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและภัยพิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยเสนอให้รัฐบาลน้อมนำแนวพระราชดำรัสเรื่องการจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ และศึกษาข้อผิดพลาดจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเตรียมแนวทางในการแก้ไขต่อไป เนื่องจากภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างประเทศต้องการความมั่นใจว่าเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต

และเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินนโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างถนน ปรับปรุงระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟ การสร้างเขื่อนและคันกั้นน้ำถาวร การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น รวมทั้งวางแผนการจัดทำ Zoning นิคมอุตสาหรรมใหม่โดยให้มีการกระจายไปอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอุทกภัย เพื่อลดความเสี่ยงกรณีเกิดภัยพิบัติในบางพื้นที่

--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 40

โพสต์

สมาพันธ์อุตฯ ขอเอี่ยววางแผนฟื้นฟู เหตุส.อ.ท.ไม่ได้เป็นผู้แทนภาคอุตฯทั้งหมด จี้คลังกำหนดเวลาเว้นภาษีชิ้นส่วนให้ชัดเจน หวั่นกระทบผู้ผลิตภายใน

โฆษณาโดย Google
เริ่ม ต้น ธุรกิจ ออนไลน์ วัน นี้
เว็บไซต์ฟรีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดย Google
www.goonline.in.th
วิธีรวย"ทอง"ใน 2ชั่วโมง
ทำกำไรหลักแสน จาก ทอง Gold Futures วิธีลดเสี่ยงด้วย หลักสูตร Gi ฟรี !
rak-asset.com/086-301-4089นายประเสริฐ ธรรมนูญ ประธานสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี โดยในช่วงที่ผ่านมาเอสเอ็มอีเหมือนโดนทิ้งเพราะรัฐบาลเน้นการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรม แต่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในนิคมฯ แต่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน

ทั้งนี้ รัฐบาลควรให้สมาพันธ์ฯเข้าร่วมในคณะกรรมการชุดต่างๆเพื่อฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม เพราะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ไม่ได้เป็นผู้แทนภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และต้องการให้มาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลตรงกลุ่มมากขึ้น แทนที่จะเป็นมาตรการที่ใช้ในภาพรวม

"กระทรวงการคลังได้ยกเว้นภาษีนำเข้าชิ้นส่วนให้กับโรงงานที่ถูกน้ำท่วมจนกว่าสถานการณ์จะปกติ ซึ่งปัจจุบันเอสเอ็มอีไทยผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ได้เกือบทุกชนิด ถ้ากระทรวงการคลังไม่กำหนดช่วงเวลาลดภาษี จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้รับผลกระทบ โดยกระทรวงการคลังควรระบุให้ชัดเจนว่าเมื่อใดสถานการณ์จะปกติ เพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยที่ไม่ถูกน้ำท่วมยังผลิตสินค้าได้ แต่ไม่มีงาน เพราะผู้ผลิตรายใหญ่ไม่มั่นใจว่าจะผลิตได้"นายประเสริฐ กล่าว

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสนับสนุนมีผู้ประกอบการประมาณ 20,000 ราย เช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเอสเอ็มอีหลายรายหยุดผลิตมาแล้ว 1 เดือน และยังจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่ถ้าหยุดผลิต 3 เดือน จะสูญเสียรายได้เดือนละ 20,000-30,000 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ื้นฟู.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ขอโทษครับอันนี้ลืมตัดออกครับ โฆษณาโดย Google
เริ่ม ต้น ธุรกิจ ออนไลน์ วัน นี้
เว็บไซต์ฟรีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดย Google
www.goonline.in.th
วิธีรวย"ทอง"ใน 2ชั่วโมง
ทำกำไรหลักแสน จาก ทอง Gold Futures วิธีลดเสี่ยงด้วย หลักสูตร Gi ฟรี !
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 42

โพสต์

"ยิ่งลักษณ์" แจงยูเอ็นตั้งคกก.3ชุดแก้น้ำท่วม ชี้ฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมภายใน 45 วัน


www.chaipradit.co.th/T084-643-9342นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้เดินทางถึงทำเนียบรัฐบาล โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ จากนั้นนายกรัฐมนตรี ได้เชิญนายบัน คี มูน ลงนามในสมุดเยี่ยมบริเวณโถงหน้าห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า และหารือข้อราชการ ซึ่งนายบัน คี มูน กล่าวถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่นนี้เราจึงควรที่จะต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และนำมาใช้ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต โดยกล่าวต่อไปว่า 1 ใน 5 หลักสำคัญของสหประชาชาติ คือ การป้องกัน (Prevention)

นายกฯได้แสดงความรู้สึกยินดีที่มีโอกาสต้อนรับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติในโอกาสเดินทางเยือนไทยตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี พร้อมกับแสดงความยินดีที่นาย บัน คี มูน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติเป็นสมัยที่ 2 และย้ำว่า รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างไทยกับสหประชาชาติ รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของสำนักงานสหประชาชาติในประเทศไทย ตลอดจนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติอย่างแข็งขัน

จากนั้นเวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี และเลขาธิการยูเอ็น ได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณเลขายูเอ็นที่ได้แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมกล่าวว่า รัฐบาลได้ร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และรัฐบาลได้จัดทำนโยบายระยะยาวสำหรับการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติอุทกภัยขึ้นอีกในอนาคต ทั้งนี้รัฐบาลได้แจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ ของยูเอ็นทั้งหมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องขอขอบคุณยูเอ็นที่ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาวิกฤติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และไทยให้ความสำคัญและยังคงสนับสนุนภารกิจของยูเอ็นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการกระชับความสัมพันธ์ในการเป็นหุ้นส่วนกับยูเอ็นทั้ง 3 เสาหลัก ได้แก่ ความมั่นคง การพัฒนา และสิทธิมนุษยชน

จากนั้นก็มีการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ตั้งคำถามกับนายกฯและเลขาฯยูเอ็น 4 คำถาม แบ่งเป็นสื่อไทย 2 คำถาม สื่อต่างประเทศ 2 คำถาม โดยผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการฟื้นฟูโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ที่ถูกน้ำท่วมอย่างไร ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ตอนนี้เราคุมสถานการณ์ได้ดีแล้ว และในการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงาน 3 ด้านด้วยกันคือการให้ความช่วยเหลือ การฟื้นฟู และการสร้างใหม่ โดยจะเร่งทำงานฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจให้กลับคืนมาให้เร็วที่สุดภายใน 45 วันจะเร่งฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมให้กลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามเดิม สำหรับการสร้างใหม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 คณะ คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ หรือ (กยน.) ที่จะมาทำงานวางยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศไทยระยะยาว และสร้างสาธารณูปโภคเพื่อป้องกันอุทกภัยในอนาคต

"ทั้งนี้ในระยะยาวอาจจะมีการขอความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศหรือประชาคมโลกเกี่ยวแผนฟื้นฟูระยะยาว ซึ่งจะต้องมีการหารือกันในรายละเอียด แต่ทางรัฐบาลยินดีรับความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟูประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งดังเดิม"นายกฯ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการพบปะกัน เลขาธิการสหประชาชาติพร้อมคณะจะเดินทางไปเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทยในเช้าวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 4 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... 45วัน.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 43

โพสต์

กทม.สั่งเขตเร่งรับลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท พร้อมเตรียมส่ง'ปภ.'สรุปล็อตแรก 20 พ.ย. ลั่นภายใน 22 ธ.ค.ทุกอย่างเสร็จ


ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เปิดรับลงทะเบียนผู้ประสบอุทกภัยเพื่อรับเงินช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท เพื่อเยียวยาความเสียหายและบรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้รายได้ลดลง โดยผู้ประสบภัยน้ำท่วมแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.น้ำท่วมบ้านฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 2.น้ำท่วมบ้านติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน ทรัพย์สินเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประสบภัย

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า หลักฐานและเอกสารที่จะต้องนำไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย 1.กรณีบ้านของตัวเอง ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หากไม่สามารถเดินทางไปยื่นเอกสารได้ด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ 2.กรณีบ้านเช่า ได้แก่ สำนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือสัญญาเช่า หนังสือรับรองของผู้ให้เช่าหรือหนังสือรับรองของประธานชุมชน และหากไม่สามารถเดินทางไปยื่นเอกสารได้ด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางwww.bangkokgis.com/floodหรือ โทร.1555

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เรื่อง ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่ กทม. ได้แก่ ผู้ที่พักอาศัยในพื้นที่เขตต่างๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้ หนองจอก ลาดกระบัง คลองสามวา มีนบุรี ยานนาวา ราษฎร์บูรณะ คลองเตย บางกอกน้อย บางซื่อ บางพลัด บางคอแหลม ดุสิต สาทร ธนบุรี คลองสาน พระนคร สัมพันธวงศ์ ดอนเมือง บางแค บางเขน สายไหม หนองแขม จตุจักร ตลิ่งชัน หลักสี่ ลาดพร้าว วังทองหลาง ภาษีเจริญ คันนายาว ทวีวัฒนา ดินแดง และบางกอกใหญ่

“ กทม.ขอให้ประชาชนติดต่อดำเนินการยื่นเรื่องโดยเร็ว จากนั้น กทม.จะส่งให้ ปภ.ดำเนินการให้เสร็จสิ้นทุกรายภายในวันที่ 22 ธ.ค.นี้”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว

ผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า ได้มอบนโยบายให้สำนักงานเขตอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการรับลงทะเบียน ต้องไม่ทำให้เสียเวลาและไม่ให้เรียกเอกสารเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เช่น ตามประกาศของ ปภ.ไม่ได้ระบุว่าต้องแนบภาพถ่ายบ้านน้ำท่วมหรือหลักฐานการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ประการใด อีกทั้งกรณีที่ประชาชนไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ก็ขอให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง ส่วนหลักฐานอื่นๆ เช่น กรณีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวรหรือชั่วคราวโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน ให้เป็นไปตามประกาศคือ ให้ใช้พยานบุคคลหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควร

ด้านเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัด กทม. กล่าวว่า ได้เรียกประชุมผู้อำนวยการเขต 50 เขต เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน และมอบหมายให้รองปลัด กทม.แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละโซนพื้นที่ โดยเน้นขั้นตอนปฏิบัติที่กระชับและรวดเร็วที่สุด ซึ่งสำนักงานเขตอาจมีการตั้งจุดรับบริการนอกพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัย คาดว่าจะสามารถจัดส่งคำร้องของประชาชนไปยัง ปภ. ภายในวันที่ 20 พ.ย.นี้

ปลัด กทม. เจริญรัตน์ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนที่ประสบอุทกภัยไปยื่นเอกสารเพื่อขอรับเงินเยียวยาได้ที่สำนักงานเขต หรือจุดบริการต่างๆ ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องใช้รูปถ่าย ส่วนลายเซ็นรับรองจากพยานบุคคลต้องเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น สก. สข. ประธานชุมชน หรือตัวแทนที่สำนักงานเขตรับรอง

หลังจากยื่นคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานแล้ว เจ้าหน้าที่เขตจะทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นจะนำส่งรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ามายังส่วนกลาง กทม.เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนจะส่งไปยัง ปภ. และธนาคารออมสิน เพื่ออนุมัติสั่งจ่ายให้กับผู้ประสบภัย โดยกระบวนการทั้งหมดจะต้องเสร็จสิ้นใน 45 วันนับตั้งแต่ยื่นเอกสารคำร้อง

ขณะที่สัญญา จันทรัตน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า แนวทางฏิบัติสำคัญที่ กทม.ได้ประชุมหารือเพิ่มเติม คือ การมอบหมายให้มีคณะกรรมการชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรวบรวมคำร้องของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระของหน่วยราชการได้ นอกจากนี้ หากมีภาพถ่ายประกอบการพิจารณาจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

“ กรณีผู้ประสบภัยไม่มีบ้านเลขที่ก็ให้ใช้หลักฐานราชการอื่นๆ ประกอบได้ เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ซึ่ง กทม.จะดำเนินการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง ” นายสัญญา กล่าว

นายพิบูล เวคะวากยานนท์ ผู้อำนวยการเขตหนองแขม กล่าวว่า ทางเขตได้เปิดรับลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะนี้มีผู้มายื่นคำร้องกว่า 2,000 ครัวเรือน หากผู้ประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ให้เตรียมหลักฐานให้เพร้อม โดยจะเปิดรับลงทะเบียนทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น.

นางอรุณ พ่วงสมบัติ ผู้อำนวยการเขตมีนบุรี กล่าวว่า ทางเขตได้กำหนดจุดรับคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือที่สำนักงานเขตมีนบุรีหรือตามสถานที่ที่กำหนด โดยต้องเป็นบ้านที่พักอาศัยอยู่เป็นประจำที่มีทะเบียนบ้านหรือเป็นบ้านเช่า (เฉพาะชั้นที่ถูกน้ำท่วม) ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... 0พ.ย..html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 44

โพสต์

คณะอนุกรรมการฯด้านคมนาคม ชงครม.29พ.ย.นี้ ของบฟื้นฟูเพิ่ม 4.1 พันล้านบาท ให้ 3 หน่วยงาน ขุดลอกร่องน้ำ-ซ่อมทางรถไฟ-ระบบเดินอากาศ

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ การให้ความช่วยเหลือด้านคมนาคม ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (กคฐ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อขออนุมัติงบประมาณฟื้นฟูจากรัฐบาล พบว่ามีอีก 3 หน่วยงาน ที่ได้รับผลกระทบ รวมมูลค่า 4,181.3 ล้านบาท คือ 1.กรมเจ้าท่า เพื่อขุดลอกร่องน้ำ 1,515.60 ล้านบาท 2.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อซ่อมแซมรางและระบบอาณัติสัญญาณ 2,598 ล้านบาท และ3.บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบเดินอากาศ 67.7 ล้านบาท

ส่วนกรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างประเมินมูลค่าความเสียหาย หากสรุปได้ทันอาจเสนอรวมกับ 3 หน่วยงานข้างต้น ซึ่งคณะอนุกรรมการฯจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกคฐ. และคณะกรรมการการเพื่อช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) โดยคาดว่าจะเสนอให้ครม.พิจารณาในวันที่ 29 พ.ย.นี้

สำหรับการฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมืองนั้น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จะเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อฟื้นฟูอาคารผู้โดยสาร 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และปรับปรุงทางวิ่งฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินค่าใช้จ่าย โดยครม.จะพิจารณาว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือไม่

ทั้งนี้ เหตุอุทกภัยยังสร้างความเสียหายต่อถนนในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 8,540 สายทาง และสะพานอีก 175 แห่ง ใน 40 จังหวัด คิดเป็นมูลค่า 6,252 ล้านบาท โดยกรมฯต้องจำแนกถนนที่เสียหายตามจังหวัด เพื่อป้องกันข้อครหาเรื่องความไม่ทั่วถึงในการกระจายความช่วยเหลือ

ส่วนงบประมาณฟื้นฟูถนนของกรมทางหลวง ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้วนั้น ตามขั้นตอนต้องรอให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณผ่านความเห็นชอบจากสภาฯก่อน แต่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะอาจชำรุดเพิ่มขึ้น จึงจะเสนอครม.เพื่อขอความเห็นชอบในการดำเนินการประกวดราคาและลงนามในสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง ก่อนร่างพ.ร.บ.งบประมาณจะผ่านความเห็นชอบ โดยงบเร่งด่วนที่จะใช้มีจำนวน 1,800 ล้านบาท จากวงเงินรวม 11,898 ล้านบาท
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... พันล..html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ผู้ว่าฯธปท. แนะ รัฐกู้เงินบาท แทนใช้ทุนสำรองฟื้นฟูประเทศ หลังน้ำลด ชี้ ต้นทุนถูกกว่าสกุลดอลลาร์

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า กรณีที่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. มีแนวคิดที่จะนำเงินลงทุนสำรองระหว่างประเทศบางส่วนมาใช้ในการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วมนั้น ในขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนว่า กยอ. จะดำเนินการด้วยวิธีใด แต่เห็นว่าการออกพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินบาท ขายให้กับ นักลงทุนทั่วไปน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจาก สามารถดำเนินการได้ง่ายและมีต้นทุนถูก เนื่องจาก ขณะนี้พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยต่ำ อยู่เพียงแค่ร้อยละ 3.44 ขณะที่ การออกพันธบัตรรัฐบาลในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็สามารถทำได้แต่จะใช้ต้นทุนสูง โดยพันธบัตรดอลลาร์สหรัฐนั้น 10 ปี ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.3

Link : http://www.innnews.co.th/ธปท-แนะรัฐกู้เ ... 11_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 46

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2554 15:36:18 น.
นายกรัฐมนตรีโยชิฮิโกะ โนดะ ของญี่ปุ่น ขอให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วยดำเนินการให้บริษัทของญี่ปุ่นที่ถูกน้ำท่วมกลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้งโดยเร็ว

ในระหว่างการพูดคุยเป็นเวลานาน 30 นาทีนอกรอบการประชุมอาเซียนที่บาหลีนั้น นายโนดะกล่าวกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า การที่บริษัทญี่ปุ่นฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วนั้น นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า รัฐบาลไทยจะสนับสนุนญี่ปุ่นด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ การยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่จำเป็น เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริษัทญี่ปุ่นกลับมาดำเนินงานได้อีกครั้ง

นอกจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังเสนอให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและญี่ปุ่นร่วมมือกันร่างแผนฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เพื่อพื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นายโนดะและน.ส.ยิ่งลักษณ์ย้ำว่า ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ อย่างการบริหารจัดการภัยพิบัติในภูมิภาค เป็นต้น

นอกจากเหนือจากประเทศไทยแล้ว ประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีโอกาสเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างไต้ฝุ่นหรือน้ำท่วมเช่นกัน

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้มอบเงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้ไทย ส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเสียหาย และอนุญาตให้คนงานไทยในบริษัทญี่ปุ่นไปทำงานที่ญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราวภายใต้ข้อตกลงพิเศษ สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ภาคอุตสาหกรรม จับมือภาคเอกชนจัดโครงการคืนพื้นนิคมฯบางปะอิน พรุ่งนี้ เพื่อนำร่องการฟื้นฟูนิคมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 5 แห่ง


นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการรวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ย.54) เพื่อนำร่องการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 5 แห่ง

ทั้งนี้ จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟู 58 วัน คือ ระหว่างวันที่ 20 ต.ค. - 16 ธ.ค. 54 ทั้งในเรื่องการทำให้น้ำไหลผ่านนิคมฯ และเขตอุตสาหกรรม ลดปริมาณน้ำเข้าสู่กรุงเทพฯ เพิ่มการระบายน้ำ และลดระดับน้ำให้ได้ประมาณ ร้อยละ 50 สูบน้ำ และกู้พื้นที่ให้เข้าไปยังโรงงานได้ ผู้ประกอบการเข้าซ่อมแซมอุปกรณ์ ปรับปรุงโรงงาน และเริ่มประกอบกิจการ และแรงงานเข้าทำงานได้ในวันที่ 16 ธ.ค. นี้ โดยนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน คาดว่า จะมีโรงงานเปิดทำการได้ 60-70 แห่งจากทั้งหมด 90 แห่ง

Link : http://www.innnews.co.th/ภาคอุตฯจับมือเ ... 29_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 48

โพสต์

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.)ว่าในวันนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติด้วยหลักการ ตามที่คณะกรรการชุดเล็ก เสนอมาทั้งด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ คณะกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคณะกรรมการคุณภาพชีวิตเสนอมา โดยให้กลับไปทบทวนในรายละเอียดรายย่อยของคณะกรรมการแต่ละชุดเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน และไม่ให้เกิดความซับซ้อน ในดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการดังกล่าวนั้น จะใช้งบประมาณจากปี 2554 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะใช้เม็ดเงินจำนวนเท่าใด นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือเพิ่มเติมพิเศษให้กับประชาชนที่ยังประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้นั้น ก็มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการแต่คงต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบเนื่องจากอาจเกิดข้อพิพาทได้

Link : http://www.innnews.co.th/กิตติรัตน์เผยก ... 80_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 49

โพสต์

นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญสมาคมการค้าและผู้ส่งออกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม มาชี้แจงมาตรการในการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐจากปัญหาน้ำท่วมโดยแบ่งเป็น 4 ระยะ 10 มาตรการ ประกอบด้วย ระยะเฉพาะหน้าจะมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ส่งออก ระยะการช่วยเหลือระหว่างน้ำท่วมสูงคือ การประเมินความเสียหายและผลกระทบของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ระยะการฟื้นฟูหลังน้ำลดจะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มของผู้นำเข้าสินค้าด้วยการจัดโรดโชว์ การเยียวยาผู้ประกอบการ และการจัดระบายสินค้าที่อยู่ในสต๊อกของผู้ส่งออก และประสานในการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต และระยะสุดท้ายคือ การปรับโครงสร้างถาวรด้วยการกระชับ และสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้า ด้านความปลอดภัยของอาหาร ในขณะที่ภาคเอกชน มีความเป็นห่วงเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงมาตรการในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต

Link : http://www.innnews.co.th/พณ-เผยมาตรการเ ... 37_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 50

โพสต์

มะเช้าฟังข่าว มีบางบริษัทตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามเรียบร้อยแล้ว...T^T
เหตุผลสองข้อ คือน้ำท่วมและค่าแรงขั้นต่ำ T^T
เอาใจช่วยกรรการชุดนี้ครับ...จะทำอะไรก็รีบทำเน้อ...เพื่อ อนาคตของประเทศ^^
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 51

โพสต์

น.พ.วรรณรัตน์" เผย ไจก้าให้เงิน 500 ล้านเยน สร้างคันกั้นน้ำตัวอย่างในนิคมฯ รอ "กิตติรัตน์" เคาะสถานที่



น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ นายอิซูมิ อาไร รองประธานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ว่า ทาง JICA มีความประสงค์ที่จะให้การช่วยเหลือ
ประเทศไทยในการกอบกู้และฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมเพิ่มเติม โดยจะสร้างแนวคันกั้นน้ำท่วมตัวอย่างให้กับ 1 นิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ใช้เป็นต้นแบบให้กับนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายใต้งบประมาณของทาง JICA ไม่
เกิน 500 ล้านเยน ทั้งนี้จะต้องรอหารือร่วมกับ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน (กศอ.) เพื่อพิจารณาสถานที่ว่าจะเป็นนิคมฯใด หลังจากเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้โดยเร็ว และเสร็จทันรับมือกับสถานการณ์น้ำในปีหน้า

Link : http://www.innnews.co.th/วรรณรัตน์เผยJI ... 60_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ซอฟท์โลน ให้นิคมฯ สร้างเขื่อนกันน้ำท่วม 15,000ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01 % ใน 7 ปีแรก


นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การให้สินเชื่อซอฟท์โลน ของธนาคารออมสิน เพื่อการพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย แก่นิคมอุตสาหกรรมวงเงิน 15,000 ล้านบาท นั้น เบื้องต้นทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่างหลักเกณฑ์การออกแบบและเงื่อนไข ในการระบายน้ำฝนและการป้องกันอุทกภัย คาดว่า จะดำเนินการก่อสร้างโครงการได้ในช่วงกลางเดือน ม.ค. 2555 เบื้องต้นคาดว่า จะใช้เวลาการดำเนินก่อสร้างภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ทางธนาคารออมสิน กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดการให้กู้เงิน ซึ่งคาดว่าจะให้ระยะเวลาสินเชื่อ 15 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ใน 7 ปีแรกและปีที่ 8-15 ปี จะคิดอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนตลาด

Link : http://www.innnews.co.th/ออมสินปล่อยกู้ ... 94_02.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 53

โพสต์

picklife เขียน:มะเช้าฟังข่าว มีบางบริษัทตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามเรียบร้อยแล้ว...T^T
เหตุผลสองข้อ คือน้ำท่วมและค่าแรงขั้นต่ำ T^T
เอาใจช่วยกรรการชุดนี้ครับ...จะทำอะไรก็รีบทำเน้อ...เพื่อ อนาคตของประเทศ^^
เวียดนามความเสี่ยงน้ำท่วมไม่มากหรือครับ เมืองติดชายฝั่งขนาดนั้น
ค่าแรงต่ำกวาเราก็จริง แต่ต้นทุนก็พุ่งเช่นกัน สาเหตุมาจากลดค่าเงิน...
ลงทุนเพื่อชีวิต
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ผุดเขื่อนหมื่นล้านกั้นนิคมอุตฯ ออมสิน พร้อมปล่อยสินเชื่อ
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554 01:48:50 น.

"โกร่ง"จับมือ "แบงก์ออมสิน"สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติ ด้วยการปล่อยกู้ให้ นิคมอุตสาหกรรม สร้างระบบป้องกันอุทกภัย ในเดือนธันวาคมนี้ เผย4นิคมฯยื่น รมว.คลัง ปรับเงื่อนไขการให้การช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นายวีระพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย ระหว่าง ธนาคารออมสิน และให้ นิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย เป็นวงเงิน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ต่ำร้อยละ 0.01 ระยะเวลา 7 ปี

นายวีรพงษ์ กล่าวว่า การพิจารณาระบบป้องกันอุทกภัยดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรม สมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและเงื่อนไข (Design Criteria and Condition) ของระบบระบายน้ำฝน และระบบป้องกันอุทกภัย โดยในเบื้องต้นได้กำหนดระดับความสูงของสันเขื่อนหรือโครงสร้างอื่นเพื่อป้องกันอุทกภัยต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 70 ปี (70 Year cycle) โดยโครงสร้างเขื่อนต้องมีความแข็งแรงเพียงพอในการต้านแรงดันน้ำจากภายนอก คาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้ภายในเดือน ธันวามคม 2554 และเริ่มก่อสร้างระบบป้องกันอุทกภัยดังกล่าวได้ภายในเดือนมกราคม 2555

ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการหารือกับ 4 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน สวนอุตสาหกรรมนวนคร และส่วนอุตสาหกรรมบางกระดี ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย ซึ่งทั้ง 4 นิคมฯ ได้ยื่นข้อเสนอให้ รมว.คลัง พิจารณา ได้แก่ 1.ให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปเป็น 15 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 7 ปี 2.ให้บริษัทที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำรายจ่ายที่เกิดจากการผ่อนชำระสินเชื่อ มาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ และ 3. ให้มีการพิจารณาปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟโลน)ให้กับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาน้ำท่วมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่ง รมว.คลัง แล้ว ก็ได้มีการรับไปพิจารณา
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 55

โพสต์

pak เขียน:ผุดเขื่อนหมื่นล้านกั้นนิคมอุตฯ ออมสิน พร้อมปล่อยสินเชื่อ[/b]
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554 01:48:50 น.

"โกร่ง"จับมือ "แบงก์ออมสิน"สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติ ด้วยการปล่อยกู้ให้ นิคมอุตสาหกรรม สร้างระบบป้องกันอุทกภัย ในเดือนธันวาคมนี้ เผย4นิคมฯยื่น รมว.คลัง ปรับเงื่อนไขการให้การช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นายวีระพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย ระหว่าง ธนาคารออมสิน และให้ นิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย เป็นวงเงิน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ต่ำร้อยละ 0.01 ระยะเวลา 7 ปี

นายวีรพงษ์ กล่าวว่า การพิจารณาระบบป้องกันอุทกภัยดังกล่าว กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรม สมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและเงื่อนไข (Design Criteria and Condition) ของระบบระบายน้ำฝน และระบบป้องกันอุทกภัย โดยในเบื้องต้นได้กำหนดระดับความสูงของสันเขื่อนหรือโครงสร้างอื่นเพื่อป้องกันอุทกภัยต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 70 ปี (70 Year cycle) โดยโครงสร้างเขื่อนต้องมีความแข็งแรงเพียงพอในการต้านแรงดันน้ำจากภายนอก คาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้ภายในเดือน ธันวามคม 2554 และเริ่มก่อสร้างระบบป้องกันอุทกภัยดังกล่าวได้ภายในเดือนมกราคม 2555

ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการหารือกับ 4 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน สวนอุตสาหกรรมนวนคร และส่วนอุตสาหกรรมบางกระดี ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย ซึ่งทั้ง 4 นิคมฯ ได้ยื่นข้อเสนอให้ รมว.คลัง พิจารณา ได้แก่ 1.ให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปเป็น 15 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 7 ปี 2.ให้บริษัทที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำรายจ่ายที่เกิดจากการผ่อนชำระสินเชื่อ มาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ และ 3. ให้มีการพิจารณาปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟโลน)ให้กับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาน้ำท่วมที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่ง รมว.คลัง แล้ว ก็ได้มีการรับไปพิจารณา



เป็นข่าวที่ดีมากจริงๆครับ ขอบคุณพี่ภาค ครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ถือเป็นนิมิตที่ดีครับ

หากเค้ามั่นใจปีหน้าไม่ท่วมอีก เค้าอยู่แน่นอน

ได้เวลาแรลลี่ สำหรับ คนที่ได้ประโยชน์แน่ๆๆ จาก 1หมื่นล้านที่จะลงไปครับ

เค้าจะให้รับเหมาเจ้าไหนได้งานนี้ครับ

เค้าจะสั่งอุปกรณ์ก่อสร้าง ที่ใช้ทำ จากที่ไหน ใช้อะไรบ้าง


มันถึงเวลาที่หุ้นมันควรจะตอบสนองต่อ E ที่กำลังจะเกิดเสียทีนะครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 57

โพสต์

อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผย เตรียมแผนช่วยผู้ประกอบการในแหล่งผลิตอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม


จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เผยว่า ขณะนี้ทางกรมฯ รับรู้ถึงปัญหา และได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เกี่ยวข้อง รวมถึง โรงงานในแถบจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารอันดับ 1 ของโลก ทำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 150,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป ที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าวจำนวนมาก ซึ่งกรมฯ จะพยายามผลักดันแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ครอบคลุมทั้งระบบ อาทิ วงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน

ซึ่งขณะนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก เตรียมหารือร่วมกับภาคเอกชน โดยในเบื้องต้น สภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับช่วยเหลือเยียวยาผู้ส่งออกไทย ในเรื่องมาตรการยกเว้นภาษี สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบ การนำเข้าเครื่องจักรใหม่ รวมถึง อุปกรณ์ชิ้นส่วนและอะไหล่ และสามารถที่จะนำค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมโรงงานและเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหาย รวมถึง การลงทุนใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหายนั้น มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 3 เท่า




Link : http://www.innnews.co.th/กรมการส่งออกเต ... 29_02.html
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 16

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 58

โพสต์

thaloengsak เขียน:
picklife เขียน:มะเช้าฟังข่าว มีบางบริษัทตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามเรียบร้อยแล้ว...T^T
เหตุผลสองข้อ คือน้ำท่วมและค่าแรงขั้นต่ำ T^T
เอาใจช่วยกรรการชุดนี้ครับ...จะทำอะไรก็รีบทำเน้อ...เพื่อ อนาคตของประเทศ^^
เวียดนามความเสี่ยงน้ำท่วมไม่มากหรือครับ เมืองติดชายฝั่งขนาดนั้น
ค่าแรงต่ำกวาเราก็จริง แต่ต้นทุนก็พุ่งเช่นกัน สาเหตุมาจากลดค่าเงิน...
ลดค่าเงินต้องดูด้วยว่าธุรกิจเค้าประกอบกิจการยังไงด้วยครับ ซึ่งเข้าใจว่าพวกโรงงานในนิคมคงจะส่งออกเป็นหลัก ต่อให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ สุดท้ายส่งออกก้อเจ๊ากันไปอยู่ดีครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 59

โพสต์

กทม.ตั้งงบซ่อมถนนหลังน้ำลด 826 ล้านบาท หลังสำนักการโยธา สำรวจพบมีถนนได้รับความเสียหาย 98 เส้นทาง

นายวินัย ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งว่า ตนได้รายงานการประเมินงบประมาณในการซ่อมแซมถนน ที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่กทม. ในเบื้องต้น ให้กับนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. โดยทางสำนักการก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา รวบรวมข้อมูล มีถนนได้รับความเสียหาย 98 เส้นทาง จึงได้เสนอของบซ่อมแซมจำนวน 826,847,777 บาท

ได้แก่ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 1 ของบ 212,747,000 บาท มี 27 เส้นทางประกอบด้วย ถนนมิตรไมตรี ถนนสังฆสันติสุข ถนนคู้-คลองสิบ ถนนคลองสิบ-สิบสี่ ถนนอยู่วิทยา ถนนผดุงพันธ์ ถนนร่วมพัฒนา ถนนคลองเก้า ถนนฉลองกรุง ถนนนิมิตใหม่ ถนนสีหบุรานุกิจ ถนนประชาร่วมใจ ถนนพระยาสุเรนทร์ ถนนกรุงเทพกรีฑา ถนนสายไหม ถนนสุขาภิบาล 5 ถนนวัชรพล ถนนพหลโยธิน(คลองบางบัว-คลองถนน) ถนนลาดปลาเค้า ถนนเสนานิคม ถนนคู้บอน ถนนนวลจันทร์ ถนนนวมินทร์ ถนนสวนสยาม ถนนจันทรุเบกษา ถนนรามอินทรา 40 ถนนลาดพร้าว-วังหิน

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 2 ของบ 21,741,334 มี 6 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนมหาราช ถนนพระจันทร์ ถนนหน้าพระธาตุ ถนนเยาวราช ถนนสามเสน ถนนราชวงศ์

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 3 ของบ 167,052,214 บาท มี 13 เส้นทาง ประกอบด้วยถนนฉลองกรุง ถนนประชาพัฒนา ถนนลาดกระบัง ถนนเชื่อมคลองมอญ ถนนหลวงแพ่ง ถนนพัฒนาชนบท 3 ถนนขุนทอง-ลำต้อยติ่ง ถนนเจ้าพระคุณทหาร(ฝั่งเหนือ) ถนนเจ้าคุณทหาร (ฝั่งใต้) ถนนร่มเกล้า 1 ถนนคุ้มเกล้า ถนนเลียบคลองมอญ ถนนหลวงพรตพิทยพยัต

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 4 ของบ 337,263,585 บาท มี 40 เส้นทางประกอบด้วย ถนนเพชรเกษม ถนนสิริธร ถนนราชวิถี ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนอรุณอัมรินทร์ ถนนบรมราชชนนี ถนนสวนผัก ถนนบางระมาด ถนนทุ่งมังกร ถนนฉิมพลี ถนนชัยพฤกษ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนราชมนตรี ถนนบางไผ่ ถนนบางแวก ถนนสุขาภิบาล 1 ถนนอินทาปัจ ซอยเพชรเกษม 63 ถนนทวีวัฒนา ถนนมาเจริญ ถนนทวีวัฒนา-ถนนกาญจนาภิเษก ถนนศาลาธรรมสพน์ ถนนพาณิชย์ธนบุรี ถนนอุทยาน ถนนอัสสัมชัญ ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ ถนนเทิดไท ถนนร่มไทร ถนนบางบอน 2 ถนนบางบอน 3 ถนนบางบอน 5 ถนนเลียบคลองภาษีฝั่งเหนือ ถนนเลียบคลองภาษีฝั่งใต้ ถนนวัดแก้ว-พุทธมณฑลสาย 1 ถนนบางเชือกหนัง ถนนบางขุนนนท์ ถนนรัชมงคลประศาสน์ ถนนศาลธนบุรี

ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 5 ของบ 7,921,202 บาท มี 4 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนบางบอน 1 ถนนบางบอน 4 ถนนเอกชัย และถนนบางขุนเทียน ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 6 ของบ 80,122,442 บาท มี 8 เส้นทาง ประกอบด้วย ถนนพลโยธิน(สะพานข้ามคลองบางบัวถึงสะพานข้ามคลองบางซื่อ) ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนเทศบาลสงเคราะห์ ถนนกำแพงเพชร 1 ถนนงามวงศ์วาน ถนนพหลโยธิน (แยกจันทรุเบกษา-สะพานข้ามคลองบางเขน) ถนนกำแพงเพชร 6 (สะพานข้ามคลองหลักสี่-สุดเขตกทม.)ถนนกำแพงเพชร 6 (สะพานข้ามคลองบางเขน -สะพานข้ามคลองหลักสี่)
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... 8เส้น.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์ที่ 60

โพสต์

บริษัทประกันต่างชาติให้เวลาไทย3เดือนทำแผนป้องกันน้ำท่วมก่อนเจรจาอีกครั้งว่าจะรับประกันภัยในไทยต่อหรือไม่

แม้ วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้รับการตอบรับค่อนข้างดีจากการเดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อเจรจากับบริษัทประกันภัยชั้นนำของโลก 13 บริษัท และลอยด์ ตลาดกลางการทำประกันภัยต่อลอนดอนให้ทำการรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยของไทยเหมือนเดิม


อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการรับประกันภัยต่อจากบริษัทประกันภัยไทยต่อหรือไม่ ซึ่งทางลอยด์ยังไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่จะไม่เกิดขึ้นอีก แต่ได้ให้เวลาฝ่ายไทยอีก 3-4 เดือน ถึงค่อยบินไปเจรจากันใหม่ เพื่อดูว่าแผนป้องกันน้ำท่วมมีความเป็นไปได้และชัดเจนแค่ไหน

แบงก์ช่วยลูกค้าซ่อมบ้าน

ด้านภาคเอกชนนำโดยสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ได้จับมือกับธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง เพื่อรับซ่อมบ้านให้กับลูกค้าของธนาคารภายใต้เงื่อนไขสินเชื่อพิเศษ โดยธนาคารกสิกรไทยให้วงเงินสูงสุดเท่ากับสินเชื่อที่ได้ผ่อนชำระมาแล้ว คิดดอกเบี้ย 0% นาน 6 เดือน ขณะที่ลูกค้าใหม่สามารถนำบ้านมาค้ำประกันเพื่อกู้ได้เช่นกัน โดยให้กู้สูงสุด 80% ของราคาประเมินคิดดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้ผ่อนเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อเพื่อการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้มีน้ำหนักเพียง 35% จากเดิมที่ต้องกันสำรองสูงถึง 75% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้ธนาคารสามารถลดดอกเบี้ยลงได้ถึง 1%

ส่วนธนาคารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้มีสินเชื่อพิเศษเช่นกัน ธนาคารกรุงไทย ให้ผ่อนชำระนานถึง 60 งวด และคิดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (เอ็มอาร์อาร์) ลบ 1.75% ธนาคารกรุงเทพ จะคิดดอกเบี้ยปีแรกต่ำมากแค่ 5% ก่อนจะปรับเป็นดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ในปีถัดไป ลูกค้าสามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่กู้เพิ่มได้สูงสุด 5 ปี

เศรษฐกิจปีนี้โตเพียง 1.5%

ผลกระทบจากน้ำท่วมยังไม่จบ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวเพียง 1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3.5-4% โดยประเมินว่าสถานการณ์น้ำท่วมตั้งแต่เดือน ก.ย. สร้างความเสียหาย 2-3 แสนล้านบาท หรือ 8.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 4 ติดลบ 3.7% แม้ว่าในไตรมาส 3 ขยายตัว 3.5% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกและ 2 ที่เติบโตในอัตรา 3.2% และ 2.7% ตามลำดับ ส่งผลให้ 9 เดือนปีนี้ขยายตัว 3.1%

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555 สศช.ประเมินว่าจะขยายตัวที่ 4.5-5.5% ซึ่งเป็นผลจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนเครื่องจักรของภาคเอกชน

สอดคล้องกับมุมมองของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะเชื่องช้าลงในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2554 และจะซึมต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปีหน้า จากผลกระทบภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกแห่งใดปรับลดอันดับเครดิตของประเทศไทยเลย

30 พ.ย.นี้หนีไม่พ้นลดดอกเบี้ย

ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดย โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ เห็นว่า กนง.ควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ควรลดฮวบฮาบ เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อในระยะยาว