ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ฉวยเวียดนามข้าวหมดไทยเร่งส่งออก พาณิชย์มั่นใจปีนี้ปั๊มยอดเฉียด 10 ล้านตัน
   นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงสถานการณ์ส่งออกข้าว
ไทยว่า ขณะนี้ เวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว จึงเป็นโอกาสที่ไทย
จะส่งออกข้าว ซึ่งสอดคล้องกับแผนระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่ขณะนี้กรมจัดทำใกล้เสร็จสิ้นแล้ว
โดยเบื้องต้นกำหนดการระบายหลายวิธี แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเกรงจะทำให้ตลาด
ข้าวปั่นป่วน ส่วนการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ขณะนี้การเจรจามีความคืบ
หน้ามาก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยปริมาณ และราคาที่มีเจรจาขายได้ แต่ส่วนใหญ่จะเจรจาขาย
ข้าวสาร 5% ปีการผลิต 51-52 "ปีนี้การส่งออกข้าวไทยจะไม่น้อยกว่าที่ผ่านมา เราเคยส่งออก
สูงสุด 10 ล้านตัน และต่ำสุด 8.5 ล้านตัน เชื่อว่าปีนี้จะส่งออกได้ในกรอบนี้จากการระบายข้าว
ในสต๊อกก่อนฤดูข้าวใหม่ออกสู่ตลาดในเดือน พ.ย.นี้แน่ แต่ไม่จำเป็นต้องขายหมดสต๊อกเพราะ
ต้องเก็บสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งของไทย และอาจต้องเผื่ออาเซียนด้วย"
ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

      17 ส.ค.-ไทยรัฐ
..........ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าปีหน้าอาจมีการขาดแคลนในเรื่องของอาหาร
ที่อาจเกิดขึ้น หุ้นตัวไหนที่เพื่อนๆคิดว่ามีผลทางตรงและทางอ้อมบ้างครับ
chotipat
Verified User
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ทางตรง นึกได้แค่ CPALL ครับ ส่วนของข้าวตาฉัตร
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เจ้าสัวธนินทร์เคยบอกครับ เค้าขายถูก ก็ให้เค้าขายไปก่อน ให้หมดก่อน แล้วของแพงอย่างเรา จะออกมาขายทีหลังครับ

ก็ทำให้ขายได้ราคาดีขึ้น
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

newbie_12 เขียน:เจ้าสัวธนินทร์เคยบอกครับ เค้าขายถูก ก็ให้เค้าขายไปก่อน ให้หมดก่อน แล้วของแพงอย่างเรา จะออกมาขายทีหลังครับ

ก็ทำให้ขายได้ราคาดีขึ้น
ถ้้าเช่นนั้นหากวันใดวันหนึ่งที่เวียดนามปลูกข้าวจนเพียงพอที่จะขายได้ทั้งปีไม่มีหมด ประเทศไทยก็จะกระทบหนักสิครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
siebelize
Verified User
โพสต์: 451
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

newbie_12 เขียน:เจ้าสัวธนินทร์เคยบอกครับ เค้าขายถูก ก็ให้เค้าขายไปก่อน ให้หมดก่อน แล้วของแพงอย่างเรา จะออกมาขายทีหลังครับ

ก็ทำให้ขายได้ราคาดีขึ้น
เขาหมายถึงข้าว หรือว่า ราคาหุ้น TRUE อะครับ  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บริษัทไหนในตลาดขายข้างบ้างครับพี่
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

picklife เขียน:บริษัทไหนในตลาดขายข้างบ้างครับพี่
kaset
pr
ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

manuel เขียน:
picklife เขียน:บริษัทไหนในตลาดขายข้างบ้างครับพี่
kaset
pr
ครับ
ขอบคุณครับพี่ งั้นรบกวนถามต่อว่า
1.เวียตนามเขาขายถูกกว่าเราเยอะไหมครับ มีตัวเลขคร่าวๆไหมครับ
2.สาเหตุที่เขาขายถูกกว่าเพราะต้นทุนเขาถูกกว่าใช่ไหมครับ เพราะอะไรบ้างครับ
3.ปกติข้าวเรากับเขาที่ขายเกรดเดียวกันปะครับ
4.เวียดนามข้าวหมดเพราะอะไรครับ ขายดีผลิตไม่ทัน หรือมีปัญหาการผลิตครับ

:bow:ขอบคุณมากครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

พอดีงานยุ่งๆ จัดนี้ไปอ่านก่อนครับ
ASTVผู้จัดการรายวัน -- กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ประกาศปรับตัวเลขส่งออกข้าวปีนี้ใหม่เป็น 6.5 ล้านตัน และอาจจะพิจารณาปรับขึ้นเป็น 7 ล้านตัน หลังจากสำรวจใหม่ พบว่า ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวได้มากกว่าที่คาดไว้แต่แรก นอกจากนั้น ในเดือน ส.ค.นี้ ยังมีข้าวสารเก็บสตอกอีกกว่าล้านตัน
     
      การปรับเป้าส่งออกใหม่ยังมีขึ้นขณะที่จีนสั่งซื้อข้าว 500,000-600,000 ตัน อย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
     
      การปรับตัวเลขส่งออกยังมีขึ้นหลังจากไทยกับอินเดียปรับลดเป้าส่งออก และความต้องการในตลาดโลกสูงขึ้น หลังจากรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่หยุดส่งออกอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป
     
      นายเหวียนจี๊หง็อก (Nguyen Tri Ngoc) อธิบดีกรมเก็บเกี่ยวพืชพล กระทรวงเกษตรฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เทยบ่าวกีงเต (Thoi Bao Kinh Te Vietnam) หรือ “ข่าวเศรษฐกิจ” เวียดนาม
     
      ด้วยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและปริมาณสำรองที่เหลืออยู่มาก และตลาดโลกต้องการมากขึ้น เป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้ทุกฝ่าย เชื่อว่า เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้ 6.5-7 ล้านในปีนี้ ซึงจะเป็นการสร้างประวัติการณ์ใหม่
     
      ตามตัวเลขของสมาคมอาหารเวียดนาม จนถึงเดือน ก.ค.รัฐบาลยังคงเป้าส่งออกที่ 6 ล้านตัน ในเดือน ส.ค.นี้ส่งออกข้าวได้กว่า 4 ล้านตัน อีก 2 ล้านตัน ลูกค้าสั่งซื้อจนครบทั้งหมดแล้ว ยังไม่นับรวมยอดใหม่ที่จีนสั่งซื้อ
     
      สมาคมอาหารฯ กล่าวก่อนหน้านี้ ว่า ได้สอบถามตัวเลขต่างๆ ไปยังกระทรวงเกษตรฯ เพื่อหาความเป็นไปได้ในการส่งออกข้าวเพิ่มจากเป้าหมายอีก 500,000 ตัน
 อธิบดีกรมเก็บเกี่ยวพืชผลเปิดเผยกับ TBKT ว่า การเก็บเกี่ยวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ เมื่อต้นปี ชาวนาทั่วประเทศได้ผลผลิตรวมทั้งสิ้น 26 ล้านตันข้าวเปลือก จากนี้ถึงสิ้นปีคาดว่าจะผลิตข้าวได้อีกทั้งหมด 13 ล้านตัน ในที่นา 300,000-500,000 ไร่ โดยข้าวใหม่จะทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนนี้ ซึ่งจะทำให้ได้ข้าวเปลือกทั้งหมด 39 ล้านตัน
     
      ชาวนาเวียดนามผลิตข้าวได้ปีละ 38-39 ล้านตัน แต่หลายปีมานี้ผลิตได้ลดลง ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ขณะที่ต้องเลี้ยงดูประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี และในขณะนี้มีเกือบ 87 ล้านคน ปีที่แล้วเวียดนามส่งออกข้าว 6 ล้านตัน ลดลงจาก 6.5 ล้านตัน ในปี 2551
     
      ปีที่แล้วเวียดนามยังนำเข้าข้าวจากกัมพูชาอีก 300,000-400,000 ตัน เป็นข้าวที่เวียดนามจ้างชาวนาในประเทศนั้นเพาะปลูก และปีนี้คาดว่าจะได้มากขึ้นถึง 1 ล้านตัน นายจี๊หง็อก กล่าว
     
      ขณะเดียวกัน บริษัทข้าวภาคเหนือกับภาคใต้ (Vinafood) คือ วีนาฟู้ด 1 กับ วินาฟู้ด 2 ซึ่งเป็นบริษัทค้าข้าวของรัฐบาลยังมีข้าวในสตอกเหลือรวมกันอีก 1.1 ล้านตัน สตอกของผู้ส่งออกเอกชนรายอื่นๆ รวมกันยังเหลืออีก 300,000 ตัน
     
      จากรูปการทั้งหมดจะเห็นว่า แม้จะปรับเพิ่มยอดส่งออกเป็น 6.5-7 ล้านตัน เวียดนามก็จะยังมีข้าวเหลือส่งออกอีกมาก และ ยังมีเพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ
     
      อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ผู้นี้ กล่าวว่า เวียดนามยังจะต้องระวังเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศที่เป็นตัวแปรสำคัญในการทำนา พายุกับฝนตกหนักกำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า แต่ละปีมีพายุพัดเข้าเวียดนาม 7-9 ลูก สภาพความรุนแรงต่างกัน แต่โชคดีปีที่ 2 ปีมานี้ ไม่มีพายุพัดเข้าเขตอู่ข้าวของประเทศ
     
      นอกจากนั้น การขยายพื้นที่นาข้าวออกไปอย่างกว้างขวาง ชาวนาต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มากขึ้น รวมทั้งแมลงศัตรูข้าวกับโรคข้าวด้วย
     
      ปัจจุบันเวียดนามกำลังลดพื้นที่ปลูกข้าวคุณภาพต่ำ IR50404 ลงเรื่อยๆ ถึงแม้ประเทศกำลังพัฒนาจะยังนิยมบริโภค (รวมทั้งลอตที่จีนสั่งซื้อล่าสุด) แต่เป็นข้าวที่ขายยากในตลาดโลกทั่วไป การปลูกมีต้นทุนสูงกว่า และผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าข้าวคุณภาพดี
......
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ข้อมูลเก่า...
สถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวในเวียดนาม
( มกราคม – เมษายน 2551 )

1. การผลิต
                     
                      ข้อมูลที่สำคัญ

                      เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวถึง  4  ใน  5  ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดหรือประมาณ
กว่า   7   ล้านเฮกแตร์       พื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ   ได้แก่   บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง                  ( Mekong  River  Delta ) ทางภาคใต้   ซึ่งถือว่าเป็นอู่ข้าวของเวียดนามเพราะผลิตข้าวได้ตลอดปี  โดย         มีผลผลิตปีละประมาณกว่า  9   ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น  55 -  60 %  ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ และมากกว่า  90%  ของข้าวที่เวียดนามส่งออกเป็นข้าวที่ผลิตในบริเวณนี้     รองลงมา คือ  บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยม        ปากแม่น้ำแดง  (  Red  River  Delta )  ทางภาคเหนือผลิตข้าวได้ประมาณ  30%  ของผลผลิตทั้งหมด

                     เวียดนามผลิตข้าวได้   3   ช่วง  คือ  ฤดูหนาว – ใบไม้ผลิ  เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคม -  เมษายน  เป็นช่วงที่ข้าวให้ผลผลิตมากที่สุด    ฤดูร้อน – ใบไม้ร่วง  เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม  และฤดูใบไม้ร่วง – หนาว  เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม    ข้าวที่ส่งออกส่วนใหญ่ได้จากฤดูการผลิต    2   ช่วงแรก    

                     เวียดนามกำหนดยุทธศาสตร์ข้าวสำหรับปี 2550 – 2553  โดยมีมาตรการสำคัญ    คือ
• คงระดับผลผลิตข้าว( paddy  rice) ให้ได้ที่ปริมาณ  36  ล้านตันต่อปี และ
ส่งออกข้าว   4   ล้านตันต่อปี
• กำหนดพื้นที่เพาะปลูกเพื่อการส่งออกคือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
ขนาด  1   ล้านเฮกแตร์  และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงขนาด   3   แสนเฮกแตร์   เพื่อรัฐบาลสามารถมุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทั้งในกระบวนการผลิตและการค้าขายในตลาดโลก
• รัฐบาลจะปรับปรุงคลังสินค้าข้าวเพื่อให้สามารถเก็บรักษาข้าวไว้ได้ใน
ระยะยาวและให้การสนับสนุนผู้ส่งออกข้าว  ในการเผยแพร่เครื่องหมายการค้าให้ตลาดโลกรู้จัก
• ผู้ส่งออกข้าวต้องลงทุนในการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรแทน
แรงงานคน
ผลผลิตข้าวปี  2551
                         กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม ( Ministry of Agriculture  and Rural  Development  :  MARD  ) ประมาณการว่า  ผลผลิตข้าวของเวียดนามในปี 2551  จะมีประมาณ  36.55  ล้านตัน  เป็นปริมาณที่มากกว่าเป้าหมายการผลิตที่รัฐบาลตั้งไว้  คือ 36.0 ล้านตัน  โดยมีผลผลิตแต่ละช่วงการผลิตดังนี้
                           -    ฤดูหนาว - ใบไม้ผลิ   เก็บเกี่ยวแล้วได้ผลผลิตข้าวทั้งหมดประมาณ  17.6  ล้านตัน  
                           -    ฤดูร้อน – ใบไม้ร่วง   คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวประมาณ   10.1   ล้านตัน  
                           -    ฤดูใบไม้ร่วง – หนาว คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวประมาณ   8.8  ล้านตัน  

                          ผลผลิตข้าวเปลือกในช่วง  4  เดือนแรกของปี 2551 ( winter – spring paddy)  มีจำนวน 17.6  ล้านตัน  รวมกับผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม  2550  ( 3rd  crop paddy)  อีก 1.2  ล้านตัน  เป็น  19.8  ล้านตันซึ่งเวียดนามกันข้าวเปลือกจำนวน  14.8  ล้านตันไว้เพื่อการบริโภคในประเทศ   ส่วนที่เหลืออีก  5  ล้านตัน ( หรือเท่ากับ 2.8  ล้านตันข้าวสาร ) เพื่อการส่งออก
                          ในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2551  เวียดนามส่งออกข้าวแล้ว 1.57  ล้านตัน  เหลืออยู่ในสต็อก  1.23  ล้านตัน

                         เป็นที่น่าสังเกตว่า ปี 2551 เป็น ปีแรกที่รัฐบาลต้องนำข้าวจาก  Mekong  Delta  ไปช่วยทางภาคเหนือจำนวน 200,000  ตัน  หลังจากที่ไม่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือมาเป็นเวลา 7 – 8  ปี   ทั้งนี้เพราะภาคเหนือประสบภาวะอากาศแปรปรวนอย่างมาก  และส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง   จนรัฐบาลต้องอนุญาตให้พื้นที่เขต  Mekong River Delta  ปลูกข้าวในช่วงฤดูพิเศษ ( extra crop )ในระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ขนาดพื้นที่ประมาณ  300,000  เฮกแตร์   เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวสำหรับสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ต่อครับ
2.  ภาวะการค้าข้าวในประเทศ

                         ราคาข้าวในตลาดเวียดนาม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2551  โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย  คือ  
                           -   ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามในปี 2550  สูงขึ้นถึง   41%  ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2549  ทำให้ราคาข้าวในประเทศสูงตามไปด้วย
                           -   ปริมาณผลผลิตข้าวและธัญพืชในหลายประเทศลดลงรวมทั้งเวียดนาม   ทำให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญหลายประเทศประกาศใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าว  ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างมาก
                             -   เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในเวียดนาม   โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551   อัตราเงินเฟ้อสูงถึง   16.4  %    ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของหมวดอาหารถึง  25.91 %    
                             การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวในประเทศเวียดนาม  ทำให้รัฐบาลเวียดนามกังวลใจเรื่องภาวะเงินเฟ้อ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเดือนเมษายน2551  อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น  21.42  %   ซึ่งนับว่าสูงสุดในเอเชีย ราคาสินค้าในหมวดอาหารสูงถึง 38.21 %    เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  ทำให้เวียดนามประสบกับ  ‘ rice fever  ‘  อย่างรุนแรงโดยเฉพาะในเขตนครโฮจิมินห์    
                          ราคาข้าวในประเทศ
                                ราคาข้าวเปลือกของเดือนเมษายนมีการปรับตัวสูงขึ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนจนถึงปลายเดือน    ราคาข้าวในประเทศช่วงปลายเดือนเมษายน  2551  สูงกว่าต้นเดือนประมาณ 28 %  ( ตารางที่  1)      ทั้งนี้  สมาคมอาหารของเวียดนาม ( Vietnam Food Association  :  Vietfood  )   แถลงว่า การที่ราคาสูงขึ้นมิได้เกิดจากการขาดแคลนข้าวของเวียดนามแต่เกิดจากการเก็งกำไรและการกักตุนของพ่อค้าข้าว ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ      

ตารางที่ 1  ราคาข้าวเปลือกโดยเฉลี่ยในปี 2551  ( บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง)

     หน่วย  :   เวียดนามด่อง / กิโลกรัม
 อัตราแลกเปลี่ยน   :  500  VND = 1 บาท
ปี 2550 2551 เมษายน  2551
ธค. มค. กพ. มีค. ต้นเดือน กลางเดือน ปลายเดือน
3,650 - 3,750 3,700 - 3,800      3,850 4,400 - 4,100 1/ 4,300 - 4,550 4,700 - 5,500  2/ 6000 – 7,000 3/

   ที่มา  :  รวบรวมจากข่าวท้องถิ่น  ( หนังสือพิมพ์  Tuoi  Tre   และ  Thanh  Niem )
    หมายเหตุ   :  1/  ช่วงปลายเดือนมีราคาลดลงเพราะรัฐบาลประกาศนโยบายปรับเป้าหมายการส่งออกลดลง
                               และให้ยุติการเซ็นสัญญาขายข้าวใหม่จนกว่าจะสิ้นเดือนมิถุนายน 2551
                          2 /  ราคาสูงขึ้นเมื่อขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ได้   750  เหรียญสหรัฐ / ตัน
                          3 /  ราคาสูงขึ้นเมื่อขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ได้   1,200  เหรียญสหรัฐ / ตัน
               


 


                          ปัจจุบัน ( ต้นเดือนพฤษภาคม)  ราคาข้าว ณ Mekong  River Delta  โดยเฉลี่ยยังมีราคาสูงมาก แต่ยังไม่มีการปรับตัวรวดเร็วเช่นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา คือ
                               -  ข้าว   5%    ราคา  7,500  ด่อง / กิโลกรัม
                               -  ข้าว  10%   ราคา  7,400  ด่อง / กิโลกรัม
                               -  ข้าว  15%   ราคา  7,300  ด่อง / กิโลกรัม
                               -  ข้าว  25%   ราคา  7,200  ด่อง / กิโลกรัม
การดำเนินการลดภาวะ  rice fever  ของเวียดนาม
• นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เปิดให้มี  Teleconference  เป็นครั้งแรกในทันทีที่เกิดวิกฤตการณ์  ( 27  เมษายน  2551 )  เพื่อแถลงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในรอบ  4   เดือนของปี 2551   พร้อมระดับผู้นำของกระทรวงและผู้แทนรัฐบาลท้องถิ่นของจังหวัดต่าง ๆ   เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ประเทศไม่ได้ขาดแคลนข้าว  และประกาศจะลงโทษอย่างหนักต่อผู้กักตุนข้าวและพ่อค้าที่ขึ้นราคาโดยไม่มีเหตุผล
• รัฐบาลได้แทรกแซงราคาข้าวโดยผ่านสมาคมอาหารของเวียดนาม ( Vietfood  )  ซึ่งมี
สมาชิกกระจัดกระจายทั่วประเทศ   โดยขอให้สมาชิกในเขต Mekong River  Delta  นำข้าวคุณภาพส่งออกออกมาขายในห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าสหกรณ์ในแต่ละจังหวัดในราคาไม่เกิน 11,000  เวียดนามด่อง / กิโลกรัม
• ผู้ค้าส่งข้าวปฏิเสธคำสั่งซื้อข้าวที่มากกว่า   1  ตัน   เพื่อป้องกันการเก็งกำไร
• หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการตลาดได้ออกมาตรวจตราเพื่อให้
การค้าข้าวดำเนินการโดยผู้มีใบอนุญาต ( licence) เท่านั้น  และต้องแสดงราคาสินค้าด้วย
• ร้านค้าสหกรณ์ได้ซื้อข้าวเพิ่มเติมอีก  2,000  ตัน ไว้สำหรับรองรับการจับจ่ายใน
วันหยุดที่  30  เมษายน 2551  ( Dependent  Day of Vietnam )  

                        จากการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาล  ทำให้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2551  ราคาข้าวในตลาดเวียดนามมีแนวโน้มลดลง   ( ตารางที่  2 )













ตารางที่ 2  ราคาข้าวสาร ณ  นครโฮจิมินห์  ปี 2551        
                                                                                         หน่วย  :    เวียดนามด่อง / กิโลกรัม  
                                                                                อัตราแลกเปลี่ยน   :  500  VND = 1 บาท
มีค. เมย. พค.
(ช่วง  rice fever )
ข้าวขาว
   - ราคาร้านค้า 14,000 - 15,000 19,000 - 20,000 12,000 - 13,000
   - ราคาห้างสรรพสินค้า 13,000 15,000 11,800
ข้าวหอมมะลิ
   - ราคาร้านค้า 17,000-18,000 25,000 17,000
   - ราคาห้างสรรพสินค้า 15,000 17,000 - 20,000 15,000 - 17,000
   ที่มา    :   รวบรวมจากข่าวท้องถิ่น  ( Tuoi Tre & Thanh Nien )
                 
                           
3. การส่งออกข้าว
                    รัฐบาลเวียดนามได้ใช้มาตรกำหนดโควตาการส่งออกข้าวมากว่า  2  ปีแล้ว   เพื่อควบคุมการส่งออกและรักษาระดับราคาข้าวในประเทศ   รวมทั้งเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร   สำหรับโควตาการส่งออกข้าวปี 2551ที่กำหนดไว้เมื่อช่วงต้นปี 2551จำนวน  4.5  ล้านตัน   และต่อมาได้ลดลงเหลือ   4   ล้านตัน    
และลดลงอีกในที่สุดเหลือ   3.5  ล้านตัน เมื่อเดือนเมษายน 2551    

                     สำนักงานสถิติ  ( General  Statistics  Office) ของเวียดนามได้รายงานว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วง  4  เดือนแรก ( มค. – เมย. ) ของปี  2551  มีปริมาณ  1.57  ล้านตัน  มูลค่า  775  ล้านเหรียญสหรัฐ   โดยปริมาณเพิ่มขึ้นเพียง 12 %   ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นถึง  72.7%   เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  

                   ราคาส่งออก
                    นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนพฤษภาคม  2551   ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยเพิ่มจาก   370 เหรียญสหรัฐ / ตัน  ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น  500 – 600 เหรียญสหรัฐ /  ตัน  ในเดือนมีนาคม  และขยับสูงขึ้นเป็น  750 – 760  เหรียญสหรัฐ / ตัน ในต้นเดือนเมษายนและขยับสูงขึ้นเป็น  1,200 เหรียญสหรัฐ / ตัน ในช่วงกลางเดือนเมษายน ( ตารางที่  3 )   เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550  ที่ผ่านมาแล้วราคาส่งออกข้าวของเวียดนามได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า   2  เท่าตัว( 220 – 233 % )  ทั้งนี้  Vietfood คาดว่าราคาส่งออกข้าวจะสูงขึ้นถึง 1,400 เหรียญสหรัฐ / ตัน  

ตารางที่  3  ราคาข้าวส่งออกของเวียดนาม  ปี  2551
              หน่วย  :   เหรียญสหรัฐ / ตัน
ปี 2550 2551
ธค. มค. กพ. มีค. เมย.
320 355 370 500 - 600 ( ต้นเดือน )     750 - 760
( กลางเดือน )    1,200

  ที่มา  :  Vietfood  ,   5 พฤษภาคม 2551
               
                         ตลาดรับซื้อข้าวที่สำคัญของเวียดนาม  ได้แก่  ประเทศในแถบเอเซีย( 57% )  แอฟริกา         (  21% )     คิวบา ( 12% )   และประเทศในแถบตะวันออกกลาง ( 8% )
                       กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม  ( MARD)  ยืนยันว่าจนถึงสิ้นเดือนกันยายน  2551   เวียดนามจะสามารถส่งออกข้าวได้ถึง  3.2  ล้านตัน   และจนถึงสิ้นปี 2551  จะสามารถส่งออกข้าวได้  
3.5 -  4  ล้านตัน   โดยยังคงข้าวพอเพียงสำหรับการบริโภคในประเทศและยังมีการเก็บสำรองข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

            มาตรการเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของเวียดนาม

                       เมื่อวันที่  26  มีนาคม  2551   Vietfood   ได้ออกมาตรการสำหรับการส่งออกข้าวดังนี้
• กำหนดปริมาณข้าวที่ผู้ส่งออกจะได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเพื่อการส่งออก
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 ต้องไม่เกิน  50%  ของปริมาณส่งออก  2  ปีที่ผ่านมา( 2549 – 2550 )โดยเฉลี่ย
• กำหนดให้สมาชิกผู้ส่งออกข้าวต้องเก็บสำรองข้าวอย่างน้อย  50%  ของปริมาณ
ข้าวที่จดทะเบียนเพื่อการส่งออก  
• ปริมาณข้าวส่งออกทั้งหมดต้องไม่มากเกินกว่าดุลข้าวรายไตรมาสที่จัดทำโดย
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม  และราคาส่งออกตามสัญญาต้องสอดคล้องกับราคาที่พิมพ์เผยแพร่โดย  Vietfood    ณ  เวลาที่มีการเซ็นสัญญากัน    นอกจากนี้  การส่งมอบสินค้าต้องกระทำภายใน  2  เดือนนับแต่มีการเซ็นสัญญา  เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการแกว่งตัวของราคาข้าว  
• ผู้ส่งออกรายบุคคลจะได้รับอนุญาตให้สามารถส่งออกข้าวโดยตรงได้เพียง  30  %
ของจำนวนข้าวที่ระบุไว้ในสัญญา  ส่วนที่เหลือ Vietfood   จะพิจารณามอบให้สมาชิกผู้ส่งออกรายอื่น ๆ





4. การนำเข้าข้าวของเวียดนาม

                         ในปี 2551  เวียดนามกำหนดโควตาการนำเข้าข้าวจากกัมพูชาเป็นจำนวน  150,000  ตัน   และปี  2552   เป็นจำนวน  200 ,000  ตัน  
                         ส่วนการนำเข้าจากไทยนั้น    ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551  เวียดนามนำเข้าข้าวจากไทยมูลค่า  0.45  ล้านเหรียญสหรัฐ   โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าปลายข้าวเหนียว   ส่วนข้าวที่นำเข้าจะเป็นข้าวหอมมะลิ  100 %และข้าวหอมปทุมธานี  100%   โดยมีผู้นำเข้ารายใหญ่  2   ราย คือ  บริษัท ซี พี  ซึ่งนำเข้าข้าวภายใต้เครื่องหมายการค้าร่มฉัตร   และบริษัท  VT Trading  Group  นำเข้าข้าวภายใต้เครื่องหมายการค้านาสยาม

5. ข้อสังเกตุ  
         
                       5.1  นโยบาย  rice  export  restriction  ของรัฐบาลยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการและผู้ส่งออกของเวียดนาม   โดยกล่าวว่านโยบายดังกล่าวทำให้เวียดนามขาดทุนจากการไม่ได้ใช้ศักยภาพที่ตนมีในขณะที่ราคาสินค้าในตลาดโลกมีราคาสูงและเสียโอกาสที่จะสร้าง  trademark   ข้าวของเวียดนามให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดโลก    นอกจากนี้  การดำเนินนโยบายดังกล่าวยังเป็นการเพิ่มวิกฤตราคาข้าวในตลาดโลก ให้สูงขึ้นอีกด้วย
                          นักวิชาการได้เสนอแนะว่าในระยะสั้นรัฐบาลเวียดนามควรมุ่งเน้นการพัฒนาข้าวพันธ์ต่างๆ  ที่ให้ผลผลิตสูงและมีความต้านทานโรคได้ดีมากกว่ามุ่งพัฒนาข้าวคุณภาพดีแต่ให้ผลผลิตน้อยเช่นประเทศไทย   เวียดนามควรใช้ความได้เปรียบที่ผลผลิตข้าวต่อเฮกแตร์มากกว่าไทย  คือสามารถผลิตข้าวได้ถึง  7 – 8  ตัน / เฮกแตร์    และสามารถเพิ่มผลผลิตได้อีกถึง  11 -12  ตัน / เฮกแตร์  หากนำวิธีการทันสมัยและเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการใช้ข้าวพันธุ์ผสมคุณภาพดี

                           สมาชิกของ Vietfood  เองมองว่าราคาส่งออกข้าวที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์นี้อาจจะลดลงในอนาคต    ดังนั้นเวียดนามจึงไม่ควรหยุดส่งออกข้าว  นอกจากนี้  ผู้ส่งออกยังต้องรับซื้อข้าวจากเกษตรกร
ต่อไป   ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาข้าวใน สต็อก และต้องกู้เงินจากธนาคารเพื่อรับซื้อข้าวจากเกษตรกร   จึงเรียกร้องให้เวียดนามเข้าร่วมประมูลขายข้าวต่อไป









                       5.2  รัฐบาลเวียดนามมักฟังข้อคิดเห็นของประชาชนโดยเฉพาะนักวิชาการและเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม  ที่ผ่านมา  นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ( นายเหงียน ตัน ยุง) ได้ประกาศจะพิจารณานำมาตรการเก็บภาษีข้าวส่งออก ( rice export  tax  policy )  มาใช้กำกับดูแลความมีเสถียรภาพของข้าวในประเทศ  ตาม
ข้อเสนอของนักวิชาการที่เสนอให้รัฐบาลเก็บภาษีส่งออกข้าวส่วนที่เกินโควตา   โดยให้เหตุผลว่าการเก็บภาษีข้าวส่งออกจะช่วยผู้ส่งออกไตร่ตรองก่อนการเซ็นสัญญาข้าว  เมื่อราคาข้าวในตลาดในประเทศสูงขึ้น  รัฐบาลสามารถเพิ่มภาษีส่งออกให้สูงขึ้นตามเพื่อจำกัดปริมาณการส่งออก  ขณะเดียวกันเมื่อราคาข้าวในตลาดโลกลดลง  รัฐบาลก็สามารถภาษีส่งออกลงเพื่อกระตุ้นผู้ส่งออกให้ส่งออกมากขึ้น


---------------------------------------




สคต. ณ นครโฮจิมินห์
8  พฤษภาคม  2551
manuel
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

การค้าข้าวของเวียดนามที่มีผลต่อข้าวไทย

การผลิต
เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวลดลงจาก  4.47  ล้านเฮคตาร์เมื่อปี 2543  เป็น  4  ล้านเฮคตาร์ในปัจจุบัน  เนื่องจากการขยายระบบเมืองและการเติบโตของเขตอุตสาหกรรม  กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามคาดว่าภายในปี 2563  พื้นที่เพาะปลูกข้าวของเวียดนามจะลดลงเป็น  1.8   ล้านเฮคตาร์   โดยมีผลผลิตข้าวสูงสุดเป็น  21  ล้านตัน  
             การผลิตข้าวฤดูกาลต้นปี  2553  ของเวียดนามมีผลผลิตออกมาประมาณ 19.7  ล้านตัน ส่วนในฤดูกาลที่สองกำลังเก็บเกี่ยว พื้นที่ปลูกข้าวในเขตภาคกลางและภาคเหนือของเวียดนามกำลังประสบปัญหาภัยแล้งหนักคาดว่าจะเสียหายประมาณ  600,000 ไร่หากยังไม่มีฝนตกหรือจัดหาน้ำได้เพียงพอ   ส่วนภาคใต้เนื่องจากต้นปีมานี้ฝนตกล่าช้าทำให้ฤดูกาลปลูกข้าวช้ากว่าปกติถึง  1  เดือนครึ่ง  ทำให้พื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก 3  ครั้งต่อปีอาจจะปลูกได้แค่ 2  ครั้งในปีนี้คือในเขตจังหวัด บัคเลียว  กะเมา  ซ๊อคจาง  เบ็นแจ และเตี่ยนยาง                                                         กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามตั้งเป้าว่าผลผลิตปี 2553  จะเป็น  39  ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว  และสามารถส่งออกข้าวได้  5.5  ล้านตัน  แต่สมาคมอาหารเวียดนามกลับคาดว่าในปี 2553  นี้  เวียดนามจะสามารถส่งออกข้าวได้   6.4  ล้านตัน   มูลค่ากว่า  2 .4   พันล้านเหรียญสหรัฐ
สถานการณ์การค้าข้าวในเดือนมิถุนายน 2553            
เมื่อเดือนมิถุนายน 2553  นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ออกคำสั่งให้สมาคมอาหารเวียดนาม ( VFA )    และบริษัทส่งออกข้าวของเวียดนามซื้อข้าวเปลือกเก็บเข้าสต๊อกจำนวน   1  ล้านตันซึ่งเป็นผลผลิตช่วงฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2553   โดยให้รับประกันว่าชาวนาต้องมีกำไร 30%  เพื่อช่วยในการพยุงราคาข้าวในประเทศ  จากคำสั่งดังกล่าวทำให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมจะร่วมกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทและVFA     ทำการซื้อข้าวในช่วงระหว่างวันที่  15  กรกฎาคม – 15  พฤศจิกายน 2553  ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ  3,500  ด่ง  หรือ 0.18  เหรียญสหรัฐ  โดยบริษัทที่มีคุณสมบัติในการซื้อขายข้าวภายใต้คำสั่งนี้จะสามารถขอเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยเพื่อซื้อข้าวได้ทั้งนี้เป็นไปตามกลไกตลาด   และธนาคารแห่งชาติเวียดนามจะเป็นผู้เลือกธนาคารพาณิชย์ที่จะทำการปล่อยเงินกู้  
              ในความเป็นจริงผู้ค้าและพ่อค้าคนกลางยังไม่รับซื้อเนื่องจากอ้างว่ามีข้าวค้างสต๊อกจำนวนมาก ไม่มีที่เก็บ  เหตุผลที่สำคัญคือราคาส่งออกกำลังลดลง   ณ วันที่  30  มิถุนายน 2553  ราคาเสนอซื้อที่เวียดนามได้รับสำหรับข้าว 5 %  ราคาตันละ  350 เหรียญสหรัฐ  และข้าว  25 %  ราคาตันละ  300  เหรียญสหรัฐ

ราคาข้าว
ช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2553  ราคาข้าวตกเขียวในเขตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงอยู่ที่กก.ละ  4,000 – 4,100  ด่ง ( ประมาณ 6.80 – 7.20  บาทต่อ กก.  )  ข้าวเปลือกราคาตั้งแต่  5,500 – 5,750 ด่ง ( ประมาณ 9.50 – 10.00 บาทต่อ กก. ) ข้าวสารราคา  5,510 – 6,600 ด่งต่อ กก. ( ประมาณ 9.25 – 11.50 บาท ต่อ กก. )



                    เมื่อวันที่   30   มิถุนายน  2553  ที่ผ่านมาราคาราคาข้าวสารวัตถุดิบเกรด 1  ราคา กก.ละ 5,000 ด่ง    เกรด 2  ราคา กก.ละ  4,600  ด่ง  และข้าว  5  %  ราคา กก.ละ  6,300  ด่งที่ท่าเรือนครโฮจิมินห์
                    ปัญหาจากผู้ส่งออก เนื่องจากปีนี้แห้งแล้งทำให้ผลผลิตข้าวคุณภาพไม่ดี ผู้ส่งออกต้องผสมข้าวที่รับซื้อมาในฤดูกาลนี้กับข้าวเก่าต้นปีทำให้ต้นทุนสูงเนื่องจากข้าวที่รับซื้อเก็บเข้าสต๊อกตอนต้นปีราคาสูงกว่ามาก  ผู้ส่งออกบางรายแจ้งว่ายังมีข้าวที่รับซื้อเก็บอยู่ในสต๊อกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ขายและราคาข้าวส่งออกต่ำลงทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง  
                     ราคาข้าวฤดูกาล Dong Xuan เมื่อต้นปีที่ผ่านมาราคารับซื้ออยู่ที่ประมาณ  4,000  ด่งต่อ กก
                     รัฐบาลสนับสนุนให้ผู้ส่งออกรับซื้อข้าวโดยขอให้ผู้ซื้อรับประกันให้เกษตรกรมีกำไร  30 % ซึ่งราคาจะต้องอยู่ที่ประมาณ  4,000  ด่ง ต่อ กก ซึ่งผู้ส่งออกไม่และพ่อค้าคนกลางไม่กล้ารับซื้อ
                           ราคาข้าวผลผลิตฤดูกาลปัจจุบันที่กำลังเก็บเกี่ยว (He Thu) เริ่มปลูกเมื่อปลายมีนาคม ราคาอยู่ที่เฉลี่ย ประมาณ  2,800  ด่ง สำหรับข้าวเปียก และ  3,200 – 3,400  ด่งสำหรับข้าวตากแห้ง   ซึ่งราคานี้เป็นราคาที่เกษตรกรขาดทุน
                            ราคาข้าวสารส่งออกของเวียดนามมีแนวโน้มลดลง ตั้งแต่ช่วงต้นปี  2553  เช่นข้าว  5%  จาก ตันละ 517 เหรียญสหรัฐเมื่อเดือนธันวาคม  2552   เหลือ   358  เหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา   ข้าวสาร 25 % ลดลงจากตันละ  466  เหรียญสหรัฐ  เหลือตันละ  335  เหรียญสหรัฐ
                            ราคาข้าวส่งออกเมื่อเดือนมิถุนายน 2553  สูงขึ้นเล็กน้อยเป็น  373  และ 340  เหรียญสหรัฐ สำหรับข้าว 5% และ 25% ตามลำดับ    
      การส่งออกข้าวของเวียดนามช่วง  6  เดือนแรกของปี 2553
             สมาคมอาหารเวียดนาม (  Vietnam  Food Association  : VFA )  คาดว่าปี  2553  จะเป็นปีที่สดใสสำหรับตลาดข้าวส่งออกของเวียดนาม   เพราะผลผลิตข้าวของประเทศผู้ผลิตสำคัญลดลงขณะที่ความต้องการใน
ตลาดโลกเพิ่มขึ้น  ทั้งนี้  ตั้งแต่ช่วง  6  เดือนแรกของปี 2553  เวียดนามส่งออกข้าวได้  3.3  ล้านตัน  คิดเป็นมูลค่า  1.48  พันล้านเหรียญสหรัฐ    ปริมาณลดลง  8.76 %   แต่มูลค่าลดลงเพียง  1.32 %   ส่วนในไตรมาสที่  3 ได้มีการ   ลงนาในสัญญาแล้ว  1.6  ล้านตัน  จะส่งมอบในเดือนกรกฎาคม  สิงหาคม  และกันยายน  จำนวน  6  แสนตัน
5.5  แสนตัน  และ 4.5  แสนตัน  ตามลำดับ   ทำให้การส่งออกข้าวทั้ง  3  ไตรมาสเป็น  4.9  ล้านตัน  ซึ่งปริมาณส่งออกลดลง  9.08 % ( y-on-y)  แต่มูลค่าส่งออกลดลงเพียง  0.8 % ( y-on-y)  


         

        ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553  ราคาส่งออกข้าวโดยเฉลี่ยเป็น  445.08  เหรียญสหรัฐ /  ตัน  ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  33.54  เหรียญสหรัฐ / ตัน

     ในเดือนมิถุนายน 2553  ตลาดเอเชียและแอฟริกาเป็นตลาดนำเข้าข้าวหลักของเวียดนาม  โดยมีสัดส่วนจำนวนการนำเข้า  56%  และ  33.6 %  ตามลำดับ   ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคิดเป็นกว่า  50 %

                เวียดนามมีคู่แข่งมากขึ้นในตลาดเช่น  พม่า  กัมพูชา  ปากีสถาน  ซึ่งส่งออกข้าวคุณภาพต่ำเป็นตลาดเดียวกับเวียดนาม

         VFA  คาดว่าการบริโภคและการส่งออกข้าวในไตรมาส 3 ของปี 2553  จะเผชิญความลำบากมากกว่าช่วงต้นปี  เมื่อราคาข้าวจะลดลง เพราะผลผลิตข้าวฤดูร้อน – ใบไม้ผลิ   ซึ่งคาดว่ามีปริมาณผลิต  2  ล้านตัน ออกสู่ท้องตลาดแต่บริษัทค้าข้าวในท้องถิ่นได้สต๊อกข้าวไว้จำนวนมากแล้วประมาณ  1.35  ล้านตัน  และคาดว่าความต้องการข้าวในตลาดโลก  จะยังคงลดลงในช่วงที่จะมาถึงเพราะประเทศผู้นำเข้าข้าวส่วนใหญ่ได้ซื้อข้าวพอเพียงสนองความต้องการบริโภคในประเทศแล้ว

                UN  Food Agriculture Organization  ได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4 %  ในช่วงปี  2553 – 2554  ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อราคาข้าวในช่วงเวลาอันใกล้นี้

           ประเด็นที่น่ากังวลต่อข้าวไทย  คือ  ปี 2553  เวียดนามสามารถเจาะตลาดข้าวฮ่องกงได้เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าสังเกตโดยในช่วง  5  เดือนแรกของปี 2553  เวียดนามสามารถส่งออกข้าวไปยังฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ได้  11  ล้านเหรียญสหรัฐ  ซึ่งเกือบเท่ามูลค่าส่งออกข้าวไปยังฮ่องกงทั้งปี 2552   ( มูลค่า  12  ล้านเหรียญสหรัฐ )  ทั้งนี้  กงสุลพาณิชย์ของเวียดนามประจำฮ่องกงและมาเก๊ากล่าวว่า  ผู้นำเข้าข้าวของฮ่องกงมีแผนจะนำเข้าข้าวจากเวียดนามเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลภายในเร็ว ๆ นี้  และจะมีผลให้การส่งออกข้าวของเวียดนามมายังฮ่องกงในครึ่งหลังของปี 2553  สูงขึ้น   เพราะนักธุรกิจจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกงกำลังแสวงหาบริษัทจัดหาข้าวขนาดใหญ่และมีชื่อเสียง    เจ้าหน้าที่การค้าเวียดนามจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อรักษาสัญญาข้าวตลาดนี้ไว้   รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้า  บรรจุภัณฑ์และการส่งมอบสินค้าตามเวลา
             ทั้งนี้ ตลาดฮ่องกงเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีและเป็นตลาดสำคัญตลาดหนึ่งของข้าวไทยด้วย

-------------------------------

สคร.นครโฮจิมินห์
14  กรกฎาคม 2553
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ อ่านไม่ทันเลย นี่ขนาดงานยุ่งนะครับเนี๊ยะ 555+
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
jackkrit
Verified User
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เหวียด โดนพายุทุกปี คงยากที่จะผลิตข้าวได้จนพอขายทั้งปี
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เวียดนาม
--ปกติส่งออก 5-6 ล้านตัน แต่ปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ถึง 7 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
--ราคาข้าวขาว100% ของเวียดนาม อยู่ประมาณ 380 USD/MT FOB แต่ราคาข้าวได้ขยับขึ้นมา ประมาณ 490 USD/MT ในเดือน สิงหาคมนี้
--เวียดนามมีการพัฒนาพันธ์ข้าวที่เรียกคล้ายกับข้าวไทย   Jasmine Rice
ราคาประมาณ 740-760 USD/MT คุณภาพใกล้เคียงกับข้าวหอมปทุมธานีบ้านเรา
-- ปัจจุบันนโยบายของ เวียดนาม ต้องการขยายตลาดแข่งกับข้าวไทย ที่ขณะนี้เสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปทุกขณะ เพราะนโยบายของรัฐบาลทำให้ข้าวไทย แพงมากเมื่อเปรียบเที่ยบกับข้าวเวียดนาม

ไทย
--กำลังสูญเสียตลาดข้าวสำคัญให้ เวียดนาม พม่า กัมภูชา  ที่ต่างก็พัฒนา Jasmine rice ของตัวเอง  ในราคาที่ถูกกว่าข้าวไทยมาก
--ข้าวหอมไทย หรือ Jasmine rice ขายอยู่ที่ราคาประมาณ 990-1000 USD/MT ในขณะที่คุณภาพต่างกัน อยู่ แต่ ราคาไม่จูงใจแก่ผู้ซื้อต่างประเทศมาก  เพราะต้นทุนของ ผู้ส่งออก และโรงสี นั้น สูงมาก เนื่องจาก จะสังเกตุได้ว่า ต้นปี รัฐบาลประโคมข่าว ว่าข้าวเปลือกกิโลละ 20 บาท ทำให้ในขณะนั้น โรงสี และผู้ส่งออกสต็อกในราคาที่สูง  และราคาข้าวก็ดิ่งเหวลงมา   ทำให้ต้นทุนสูงมาก ในขณะที่ขายได้น้อยลง

สถานการณ์ข้าว
ข้าวในประเทศคงไม่ขาดแคลนเนื่อง ภาคกลาง และภาคอื่น ยังทำนาปรังเยอะมากในราคาที่จูงใจปลูก  และน้ำ โดยทั่วไปในประเทศก็เริ่มมีฝนตกโดยตลอด  ยกเว้น แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางพื้นที่ ที่ค่อนข้างแล้ง  น่าจะมีผลต่อข้าว หอมนาปี ของไทย  แต่ตลาดข้าวโดยรวมไม่น่าจะมีผลมากนัก

ในระยะสั้น
- รัสเซีย ที่เผชิญกับปัญหาแล้ง และไฟป่า ที่ระยับการส่งออกเมล็ดภัณ ทำให้ราคา comodity ปรับตัวขึ้นในระยะนี้
- ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาข้าว FOB ปรับตัวสูงขึ้น
-รัฐบาลที่พยายามจะระบายสต็อคเก่าที่เก็บค้างมา 2 ปี
-เวียดนามที่ส่งออกไปเยอะเมื่อต้นปี  เริ่มปรับกลยุท มาเน้นขายทำกำไรทำให้ราคาข้าวเวียดนามปรับตัวสูงขึ้น   ส่วนข้าวไทยนั้นก็ปรับตาม แบบ งงๆ  :x

โดยรวมในระยะยาวนั้น ไทยกำลังสูญเสียตลาดข้าวให้กับประเทศ เวียดนาม กัมภูชา และ พม่า ที่มีพื้นที่เพาะปลูกใกล้เคียงกับไทย ในต้นทุนที่ถูกกว่า

ในขณะที่ผุ้ส่งออกข้าวไทยต้องหาวิธีเล่นแล่แปรธาตุ  เพื่อรักษาลูกค้า ในราคาที่ถูกลง ----> ผลสุดท้าย ข้าวก็คุณภาพไม่สม่ำเสมอ

ในระยะยาวรัฐบาล คงต้องหาวิธีการที่ดีกว่านี้เพื่อรักษาตลาดข้าวไทยเอาไว้

-- เอาใจชาวนา--> โรงสีผุ้ส่งออกแย่ ----> ผู้ซื้อเปลี่ยน
-- เอาใจโรงสี ผุ้ส่งออก --->ชาวนาแย่ ---->ส่วนแบ่งตลาด

สุดท้ายผู้ก็ยังคิดว่ารัฐบาลคงเอาใจฐานเสียงเอาไว้ อยู่ดี 5555   ส่วนในระยะยาว เราอาจจะไม่ใช่ผู้ส่งออกข้าว อันดับ 1 อีกต่อไป  เวียดนามกำลังจี้ตามก้นประชั้นชิด   ขาดแต่ technology ในการ ปรับปรุงข้าว
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
benz145
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 62
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เวียดนามนำไทยเรื่องข้าวภายใน สามปีนี้แน่นอนครับ หมายถึงปริมาณนะครับ

ถามว่าทำไม?

คนเวียดนามเดิมเป็นคนขยันมากๆ เรื่องงานที่ใ้ช้แรงงานนี่ จึงเกิดประสิทธิผลมากกว่ามากครับ

รัฐก็ส่งเสริมในทุกๆด้าน ตั้งแต่เรื่องน้ำ พันธุ์ข้าว ไปจนถึง การตลาดส่งออก เรียกว่า ทุกทบวงกรม ดินตามนโยบายรัฐอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ เพราะการเมืองเขานิ่งมาก คอรัปชั้นน้อย นอกจากนี้ ทางเขายังลดค่าเงินดองเพื่อให้ส่งออกได้ง่ายขึ้นอีก

ถามว่าเิงินดองจะไม่มีค่าในเวียดนามใช่มั้ย ตอบก็คือไม่เสมอไป เพราะคนเวียดนามเขาเคยชินกับการใช้เิงินตราสองค่า อยู่แล้ว ฝากธนาคารเป็นเงินดอลยังได้เลยครับ ทำบัญชีก็ใช้เป็นดอลยังได้เลยครับ (ระบบการเงิน และบํญชี ยังไม่เข้มงวดมากนัก)

เจ้าสัวธนินท์คิดอย่างเขาก็ถูกครับ เพราะคิดแบบนักธุรกิจ เขาคิดว่าควรจะให้ราคาข้าวขึ้น รวมไปถึงค่าแรงคนไทย แต่คำถามต่อมาคือว่า คนไทยยอมกินข้าว ราดแกงจานละร้อยได้หรือเปล่า ถ้ายอมกันได้ ผมว่าชาวนาไทยก็คงไม่จนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
canuseeme
Verified User
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เวียดนามไม่มีข้าวขาย

เพราะขายหมด(ก่อนไทย)

ตกลงเป็นเรื่องน่ายินดีเพราะเราขายราคาแพง ยังงั้นเหรอครับ

งง
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา

There is no fate but what we make

https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Little Boy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1318
ผู้ติดตาม: 0

ขณะนี้ เวียดนามไม่มีผลผลิตข้าวขายแล้ว..คิดยังไงกันครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อ่านแล้วอยากให้ PATO ไปเจาะตลาดเวียดนามจัง
อุ๊ย...เชียร์ออกนอกหน้าไปมั้ยหวา??

ปล.ผมไม่มีหุ้น pato แล้ววว :8)
ความรู้..อาจมีขอบเขตจำกัด แต่จินตนาการ..ไร้ขีดจำกัด
โพสต์โพสต์