ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีครับ ผมเป็นมือใหม่พึ่งศึกษาการลงทุนในหุ้น (แต่เคยกระโดดเข้าไปเล่น forex และทองคำมาแล้ว เจ็บครับ) แล้วได้รับความกรุณาจากพี่ ส.สลึง เรื่องหนังสือและพี่ทุกคนในการศึกษาแง่คิดต่างๆในการลงทุนในเวป thaivi  จนผมคิดว่าผมมีวิธีการเลือกหุ้นในแบบของตัวเอง  อยากจะให้พี่ๆ ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ เอาให้เต็มที่เลยครับ(จะด่าด้วยก็ได้)  วิธีกรองหุ้นของผมมีดังนี้ครับ
1. เลือกหุ้นที่ปันผล
2. ศึกษาวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัท
3. ดูอัตราส่วนระหว่าง กำไรต่อทรัพย์สิน
4. คำนวณ FCF เพื่อหามูลค่าของหุ้น
5. ติดตามข่าวและตัวสินค้าของบริษัท
เชิญพี่ๆ ทุกท่านวิจารณ์ได้เลยนะครับ ขอบคุณพี่ๆ ทุกคนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมก็เคยกระโดดเข้าไปเล่นทองครับก้อนใหญ่ด้วยครับ....ผลคือ-100%ครับ T^T
ส่วนForexนี่ศึกษามาบ้างแต่ยังไม่เคยเข้าไป...แต่ก็อยากเข้าไปซัก1หมื่นเอาไปหาประสบการณ์เหมือนกันะครับ...อิอิ

ผมก็ยังเป็นเด็กละอ่อนคนหนึ่งในTVIนะครับเห็นตั้งกระทู้มาก็เข้ามาสร้างสีสันซะหน่อยครับแต่เท่าที่ผมดูวิธีเลือกหุ้นคุณมันก็ดูปกตินิครับ ไม่ได้แปลกพิศดาลอะไรซักเท่าไหร่....เพียงแค่อาจจะจะมองไม่ครบทุกมุมเท่านั้นคงต้องมองกันไม่ต่ำกว่า10เรื่อง แต่ที่คุณgold5599โพสมามีแค่5ข้อ ซึ่งผมคิดว่าจริงๆคุณgold5599คงคิดมากกว่านี้แน่ๆแต่เพียงอาจเป้นเพราะไม่รูตัวเองหรือเขียนไม่หมดหรือเขียนเฉพาะสิ่งที่เน้นเป็นอันดับแรก.....

ซึ่งสิ่งที่เน้นเป็นอันแรกสุด(เน้นว่าแรกสุดนะครับ)ผมว่าสำคัญที่สุดนะครับเช่น
1.เน้นที่ธุรกิจที่เข้าใจง่าย รู้จักดี ก็อาจจะเข้าไปกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วหาตัวที่ดีที่สุด(ซึ่งอาจจะใช้PE ROE หรือDivYคัดหุ้นในลำดับต่อไปค่อยว่ากันอีกที)
2.เน้นกลุ่มธุรกิจที่กำลังบูมในปีนี้ ก้จะเข้าไปเลือกหุ้นที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้
3.เน้นที่PEก็จะเอาหุ้นทั่งหมดในSETมาเรียงจากน้อยไปหามากแล้วไล่หาหุ้นที่ดีทีละบริษัทจากบนลงล่าง
3.เน้นที่ROEก็เรียงจากมากสุดไปน้อยสุดแล้วค่อยๆไล่ดูจากบริษัทที่สูงสุดไล่ลงมา
4.เน้นที่PBVก็เรียงจากมากสุดไปน้อยสุดแล้วค่อยๆไล่ดูจากบริษัทที่สูงสุดไล่ลงมา
5.เน้นที่DivYก็เรียงจากมากสุดไปน้อยสุดแล้วค่อยๆไล่ดูจากบริษัทที่สูงสุดไล่ลงมา
6.อื่นๆ

ซึ่งอันนี้คือตัวอย่างของอันดับแรกสุดที่มองนะครับ ผมไม่ทราบว่าคุณgold5599อาจจะมีข้อ1หรือข้อ2เป็นอันดับอยู่ในใจก่อนหรือปล่าว?ซึ่งถ้าใช่ก็ดีไป แต่หากไม่ใช่จู่ๆไปกรองจากDivYจากมากไปหาน้อยจากหุ้นทุกตัวในตลาดแล้วนั่งไล่ผมว่ามีผลเสียดังนี้ครับ
   สมมุติคุณอ่อนมากมองแค่ปีล่าสุดไม่ใช้Avr.ก็อาจจะเจอกำไรพิเศษมาหลอกได้.....หรือถ้าคุณเก่งหน่อยไปเจอปันผลที่สูงทุกๆปีจริงๆ แต่คุณไม่ดูผลตอบแทนจริงๆเลยก็อาจจะทำให้คุณได้เสียโอกาสไปเพราะหลายๆบริษัทเอาเงินปันผลมาแจกหมดไม่ลงทุนต่ออัตราผลตอบแทนคุณก็เท่าๆกับปันผลนั้นเอง
   แทนที่คุณจะมองที่กำไรPEด้วยคุณก็จะเห็นผลตอบแทนทั้งหมดที่ไม่เฉพาะปันผล จะมีผลทำให้คุณไม่เสียโอกาสมองหุ้นดีๆไป เพราะหากคุณมองว่าผลตอบแทนของการลงทุนคือปันผลอย่างเดียวนั้นผิดมากเพราะผลตอบแทนมี2อย่างคือปันผลกับมูลค่ากิจการที่เพิ่มขึ้น(อย่าลืมเราเป้นเจ้าของนะครับไม่ใช่นักเก็งกำไร) หรือหากคุณเถียงว่าๆไม่ๆผมเน้นที่PEด้วยนะครับงั้นก็เป้นไปได้ที่คุณจะได้หุ้นดีจริงแต่คุณอาจจะเสียเวลานานกว่าจะไล่ลงมาเจอหุ้นที่ดีจริง
ซึ่งผมมองว่าวิธีที่ดีที่สุดสำหรับแนวคุณคือ 1.มองกิจการ 2.ดูPE 3.ดูปันผล เพิ่มข้อ1กับ2ไปก่อนข้อ1คุณ ซึ่งคุณอาจจะมีอยู๋แล้วแต่ลืมเขียนลงไปอันนี้ผมก็ไม่แน่ใจครับแต่ที่เขียนมาผมวิจารณ์อย่านี้ครับ

แนวการหลักเลือกหุ้นผมในปัจจุบันคือ
1.ดูกิจการที่น่าสนใจมั่นคงแนวโน้มดี
2.ดูหุ้นที่ดีที่สุดในกิจการนั้น
 2.1 ROE
 2.2 หาPEที่ตลาดให้กับกิจการ เทียบกับPEในอนาคต
 2.3 ความเถียรของGPM
 2.3 อื่นๆเยอะครับ
3.สรุปโดยใช้ปัจจัยเชิงคุณภาพมองว่าในอนาคตบริษัทไหนน่าเจริญรุ่งเรืองกว่า โดยใช้ข้อ2เป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจ ถ้าข้อ2ต่างกันมากการตัดสินใจก็จะให้น้ำหนักกับข้อ2มาก  แต่หากข้อสองใกล้เคียงกันมากการตัดสินใจก็จะให้น้ำหนักที่เชิงคุณภาพครับ

สรุป.สังเกตุว่าผมใช้คำว่าแนวหลัก แต่แนวรองก็มีเพราะเราไม่ควรปืดโอกาสตัวเอง เช่นลองนั่งเรียงจากROE PE PBV ศึกษาคร่าวๆซัก20บริษัทเผื่อมีบริษัทที่มองข้ามไป....

ปล.แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป วิธีของผมมันจะทำให้ผมเจอบริษัทที่ถูกใจโดยใช้เวลาที่น้อยที่สุดครับ(แต่ไม่ได้บอกนะครับว่าจะได้หุ้นที่ดีที่สุดเพราะพอรืทผมหุ้นเน่าก็เยอะครับ อิอิ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2913
ผู้ติดตาม: 10

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอแชร์แนวคิดหน่อยนะครับ

การลงทุนสำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่เคยชินกลับสภาพตลาด ยังไม่ค่อยคุ้นกับการที่อยู่ๆมันก็ขึ้น อยู่ๆมันก็ลง เงินเพิ่ม เงินหายวันละหลายพัน หรือหลายแสนบาท ควรเลือกวิธีการที่เรากันตัวเองจากสภาพตลาดที่เลวร้ายได้ (อย่าไปเทียบกับคนที่เค้าอยู่ในตลาดมานาน ที่เคยชินแล้ว หรือพวก full-time investor นะครับ พวกนี้เสือเขี้ยวตันทั้งนั้น เรายังไม่เก่งพอครับ)

วิธีการเลือกหุ้นที่จะทำให้เราปิดตาจากสภาวะตลาดที่ผันผวนได้ ผมมีแนวคิดแบบนี้ครับ

ต้องดูที่ตัวธุรกิจก่อน จะต้องเป็นธุรกิจที่เราทำความเข้าใจได้ง่าย สามารถสำรวจกิจการได้ง่ายๆ กิจการดีหรือไม่ดี สามารถสำรวจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้ความเซียน หรือความเทพในการหาข้อมูลใดๆ ที่สำคัญที่สุด ต้องบริษัทที่ "แพ้ยาก" สำหรับธุรกิจนั้นๆ

ถ้าคิดอะไรไม่ออก ว่าจะดูธุรกิจตัวไหน ให้ไปตลาดนัดผู้ลงทุนไทย ที่จัดโดย อ ไพบูลย์ กะ ดร นิเวศน์ ดูว่าท่านเชียร์ตัวไหน วิธีการเลือกหุ้นของท่าน ดร นิเวศน์ จะเหมาะกับมือใหม่มากๆครับ คือไม่ค่อยเสียง และจะเป็นหุ้นที่ชนะ ในระยะยาว

ส่วนอัตราส่วนทางการเงิน ก็ใช้ที่ จขกท ใช้มาก็ ok แล้วครับ พยายามเลือกหุ้นที่ปันผลเหมาะสม ROA ROE ที่สูงๆ

ส่วนวิธีคำนวน discount cash flow แนะนำว่าอย่าไปทำเลยครับ ทำไปก็ไม่ตรง เพราะตัวแปรเปลี่ยนนิดเดียว ค่าที่ได้ก็เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ถ้าจะทำเล่นๆขำๆ ก็ไม่เป็นไรครับ

หลังจากที่ผ่านพ้นจากความเป็นมือใหม่แล้ว เคยชินกับสภาะตลาด และเอาตัวรอดจากสภาพตลาดที่เลวร้ายได้อย่างน้อยซัก 5 ปี ก็ถือว่าเริ่มที่จะเซียนแล้วครับ หลังจากนี้ จะไปลองเก็งกำไรบ้าง ทายตลาดบ้าง เล่นแนวรวยเร็ว เจ๊งเร็วบ้าง ก็ถือว่าไม่ค่อยจะเสี่ยงละครับ

(ผมก็มือกลางเก่ากลางใหม่นะครับ ลองเอาไปคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผลเอง จะดีที่สุดครับ)
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
o-bo-ja-ma
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอลองให้ความเห็นของผมเองอย่างนี้ ถ้าเราลองอ่านหนังสือไปสักพักหลาย ๆ แนวจะพบว่าทุก ๆ แนวดีหมด แต่ถ้าในส่วนของมือใหม่ปัญหาคือจะต้องกวาดทุกอย่างให้เข้ามาอยู่ในหัวซึ่งยากมาก อย่างไรก็ตามผมมองแบบนี้ครับ ไม่ว่าวิธีไหนก็แล้วแต่ ให้คุณลองทำเลย ผิดถูกว่ากันอีกที เราจะรู้เอง (เหมือนที่มีผู้แต่งในหนังสือ ใครเอาเนยแข็งของฉันไป) ซึ่งบางวิธีก็อาจหอมหวานในบางขณะ บางวิธีก็สุดขื่นขมในบางที แต่ทุก ๆ คน จะมีพื้นฐานไม่เหมือนกันแม้ว่าวิธีการจะเหมือนกัน บทสรุปจะต่างกันเสมอ เพราะฉะนั้น วิธีที่คุณเขียนมาเป็นวิธีที่ถูกต้องครับ แต่คุณลองทำหรือยัง และได้ผลเป็นอย่างไร จากนั้นให้เข้าสู่ขั้นตอนของ PDCA เลย แต่ถ้าคุณยังไม่ทำแล้วถาม คำตอบที่ได้จะไม่ใช่คำตอบที่คุณอยากได้ ... ลองทำเลยครับ คุณทำมาถูกทางแล้ว :o
chavanakorn
Verified User
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมคิดว่าวิธีทางความคิดของเจ้าของกระทู้นั้นเดินมาถูกทางแล้วครับ แต่เราปรับขั้นตอนนิดเดียวก็น่าจะเป็นวิธีที่ใช้ได้ในระยะยาว โดยส่วนตัวผมคิดว่าการลงทุนในบริษัทใดๆก็ตามสิ่งที่เราสนใจเป็นอันดับ 1 ได้แก่

1.สินค้าของบริษัทโดยดูง่ายๆดังนี้ครับ
1.1 อายุของสินค้าว่าจะสามารถขายได้ไปอีกนานไหม
1.2 ความต้องการสินค้าในอนาคตเป็นอย่างไร เพิ่ม ลด หรือว่าคงที่
1.3 โอกาสและความเสี่ยงที่จะทำให้สินค้าหมดความนิยมไปมีหรือไม่

2.การจัดการภายในของบริษัท
2.1 ต้นทุนของกิจการเป็นอย่างไร
2.2 กิจการมีโครงการใดๆบ้างที่จะลดต้นทุน หรือเพิ่มคุณภาพให้แก่สินค้าในอนาคต
2.3 อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ในการวัดความสามารถของกิจการ

3.ประเมินมูลค่าของกิจการ
4. ดูปันผลว่าจ่ายสม่ำเสมอไหม (สำหรับคนที่วิเคราะห์มองหาหุ้นปันผล)

การวิเคราะห์ในข้อ 1 2 และ 3 นั้นความยืดหยุ่นในตัวแปรที่มองขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่ามีมุมมองต่อตัวธุรกิจและการเลือกหุ้นอย่างไร ซึ่งผมคิดว่าถ้าทำวิธีง่ายๆข้างบนได้ก็น่าจะทำให้สามารถทำำกำไรในตลาดหุ้นได้ในระยะยาวครับ
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
bladew124
Verified User
โพสต์: 97
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

:D
ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมครับ
บางครั้ง หุ้นที่กิจการยอด DCA ดียอดเยี่ยม ดีครบตามสูตร
แต่สุดท้ายปัญหาคือ ราคามัน ก็สูงยอด ด้วยเหมือนกัน (พีอีสูง)
ยิ่งเลือก กลุ่มธุรกิจที่บูมสุดๆในปีสองปีนี้ เช่น ค้าปลีก
อย่างนั้น ก็คงได้แต่มอง

บางท่านจึงต้อง แสวงหา หุ้นดี ที่คนยังไม่มอง
หรือภาพยังไม่ชัดขนาดเรียกว่า หุ้นดีเยี่ยม
พวกนี้ ก็ติดปันผลต่ำ หรือไม่ปันผล เพราะต้องเก็บไว้ ลงทุน

บางท่าน ก็เลือกหุ้นเติบโต ที่ตอนนี้ ภาพโตยังไม่ชัด แต่คาดว่ามันจะโต
พวกนี้ ก็อาจมี DE สูง

ถ้าเน้นปันผลดี ก็อาจจะ สภาพคล่องน้อย หรือ ราคาหุ้นนิ่งสนิท เป็นได้แค่ cashcow

นั่นคือ แทนที่เราจะเน้นสไตล์defensive stock อย่างเดียว
ก็ควรมี growth stock อยู่ในพอร์ทด้วย
และที่แจ๋วสุด ควรมีหุ้นประเภทspeculative stock เพื่อไว้ตีแตกด้วย

หุ้นแต่ละแนว ก็มีวิธีการเลือกไม่เหมือนกัน
เพราะถ้าใช้หลักการเดียวกัน เราจะได้หุ้นเหมือนกันทั้งพอร์ท

ทั้งหมดนี้ ก็คือการmanage port นั่นเองครับ

สรุปคือ นอกจาก stock selection แล้ว การ managed port ก็สำคัญมากๆ ครับ
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำของทุกๆ ท่าน บังอาจสงสัยหน่อยนึงนะครับพี่ ผมติดใจที่ว่า "ส่วนวิธีคำนวน discount cash flow แนะนำว่าอย่าไปทำเลยครับ ทำไปก็ไม่ตรง เพราะตัวแปรเปลี่ยนนิดเดียว ค่าที่ได้ก็เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ถ้าจะทำเล่นๆขำๆ ก็ไม่เป็นไรครับ " สรุปแล้วพี่ๆในเวปไม่มีใครใช้ FCF แล้วใช่ไหมครับ  เพราะอะไรถึงไม่ใช่ครับ  ในส่วนของ FCF ผมอ่านหนังสือแทบตายลองแล้วลองอีกเพราะผมมองมันเป็นส่วนที่สำคัญในการจับจังหวะในการเข้าซื้อ ถ้ายังไงพี่ๆ ช่วยอธิบายด้วยครับ  ขอบคุณครับ
o-bo-ja-ma
Verified User
โพสต์: 1601
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

[quote="gold5599"]ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำของทุกๆ ท่าน บังอาจสงสัยหน่อยนึงนะครับพี่ ผมติดใจที่ว่า "ส่วนวิธีคำนวน discount cash flow แนะนำว่าอย่าไปทำเลยครับ ทำไปก็ไม่ตรง เพราะตัวแปรเปลี่ยนนิดเดียว ค่าที่ได้ก็เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ถ้าจะทำเล่นๆขำๆ ก็ไม่เป็นไรครับ " สรุปแล้วพี่ๆในเวปไม่มีใครใช้ FCF แล้วใช่ไหมครับ
neo_potato_Th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1588
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

[quote="o-bo-ja-ma"][quote="gold5599"]ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำของทุกๆ ท่าน บังอาจสงสัยหน่อยนึงนะครับพี่ ผมติดใจที่ว่า "ส่วนวิธีคำนวน discount cash flow แนะนำว่าอย่าไปทำเลยครับ ทำไปก็ไม่ตรง เพราะตัวแปรเปลี่ยนนิดเดียว ค่าที่ได้ก็เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ แต่ถ้าจะทำเล่นๆขำๆ ก็ไม่เป็นไรครับ " สรุปแล้วพี่ๆในเวปไม่มีใครใช้ FCF แล้วใช่ไหมครับ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
หมักเตา
Verified User
โพสต์: 232
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มุมมองส่วนตัวนะครับ

วิธี PE Ratio มีจุดแข็งคือ เป็นคณิตศาสตร์ง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก
แต่ก็มีจุดอ่อนคือ เกิดเป็นกับดักในหุ้นวัฏจักร หรือ เบี่ยงเบนได้ในกรณีมีกำไรพิเศษหรือขาดทุนพิเศษ หรือ ไม่ได้มองถึงเรื่องกระแสเงินสดอิสระที่ถือเป็นปัจจัยบวก

วิธี DCF มีจุดแข็งคือเรื่องกระแสเงินสด และเป็นการมองอดีตเพื่อทำนายอนาคต อาจช่วยให้มองเห็นแนวโน้มวัฏจักรหรือกำไรขาดทุนพิเศษได้
จุดอ่อนคือ ตัวแปรเยอะเป็นบ้า การคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นสิบปีก็ว่ายากแล้ว ถ้านำไปใช้ในธุรกิจที่การเติบโตไม่สม่ำเสมอ ลงทุนไม่สม่ำเสมอ จะยิ่งคาดการณ์ยากขึ้นไปอีก
การประเมิน DCF แบบอนุรักษ์นิยมเข้าไว้ และอาจจะตั้งสมมติฐานให้บริษัทเติบโตไม่เกินระยะสามถึงห้าปี จากนั้นโตน้อยลงหรือหยุดโต ก็น่าจะปลอดภัยขึ้น

สรุปคือ ผมว่า PE Ratio เหมาะกับบางประเภทของกิจการ ขณะที่ DCF ก็เหมาะกับบางประเภทของกิจการ
ถ้ามันก้ำกึ่งก็น่าจะลองทำทั้งสองวิธี เพื่อเอากรอบราคาของทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกัน อาจจะได้กรอบราคาใหม่ที่แคบลงที่ทั้งสองวิธีเห็นตรงกันครับ
เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว
จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณพี่ๆ ครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น ผมได้ลองอ่านบทความ Valuation 1 ของคุณมนตรี นิพิฐวิทยา  ที่บอกว่า
มีนักลงทุนถามต่อว่า การประเมินมูลค่านั้นทำได้แต่เฉพาะการคิดลดกระแสเงินสดหรือ Discounted Cash Flow เท่านั้นหรือ?

ตอบ ได้เต็มปากเต็มคำเลยครับว่าใช่!!!

สรุปแล้วนักลงทุนสมัยก่อนเค้าประเมินมูลค่าของหุ้นใช้แค่วิธี FCF เท่านั้นใช่ไหมครับ แต่ทำไมทุกวันนี้ผมเห็นไม่ค่อยมีคนพูดถึง FCF แต่จะพูดไปถึง PE  ROE  PV  PBV อะไรประมาณนี้ครับ  อยากจะถามความเห็นพี่ๆ ที่อยู่ในโลกการลงทุนนานกว่าผมว่า 2 วิธีขั้นต้นที่กล่าวมานั้น ทำไม่ปัจจุบันถึงพูดถึงน้อยลง  แต่วิธีหลังกลับได้รับความนิยมมากขึ้น  ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
poppo
Verified User
โพสต์: 1356
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

[quote="gold5599"]ขอบคุณพี่ๆ ครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น ผมได้ลองอ่านบทความ Valuation 1 ของคุณมนตรี นิพิฐวิทยา
จงทนอด และอดทน
ภาพประจำตัวสมาชิก
atsu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1223
ผู้ติดตาม: 3

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมมีบทความที่คุณ Invisible hand เคยเขียนให้ในงานสัมมนาของเวปเมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว
น่าจะตอบข้อสงสัยของคุณ gold5599 ได้เรื่อง DCF
ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ?  

หลายคนอาจจะสงสัยว่า  VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF  หรือไม่    หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น     แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF  คร่าวๆ  ก่อนครับ

DCF   =  กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( Present value )  +  เงินสด ( หนี้สิน ) สุทธิ

การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน  คือ  การ discount   ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate    โดย discount rate  

Discount rate
ถ้า discount rate  เท่ากับ 10%    เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 100 บาท   ในปัจจุบัน      เหตุผลที่เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้ามีมูลค่า 100 บาทในปัจจุบันเนื่องจากหากนำเงิน 100 บาทไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนเท่ากับ 10%   เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110  บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า

ดังนั้นหากมีใครมาถามเราว่าให้เลือกระหว่างได้เงิน 100 บาทในปีนี้    หรือจะเลือกเงิน 110 บาทในปีหน้า     ภายใต้สมมุติฐานว่าเราสามารถนำเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 10%   เราจะเลือกแบบไหน    คำตอบที่หลายคนจะตอบก็คือ   เลือก 100 บาทวันนี้   เพราะถ้าเป็นปีหน้าเดี๋ยวคนให้เงินจะเปลี่ยนใจไม่ให้แล้ว     แต่คำตอบในเชิงการเงินก็คือ   เลือกแบบไหนก็ได้   ค่าเท่ากันครับ

ดังนั้นเงิน 100 บาทในปัจจุบัน   จะมีมูลค่ามากกว่า 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้ามาก   หรืออาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 200 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำไปครับหากอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากพอ

หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหามูลค่าปัจจุบันหรือ present value แล้ว     ตัว discount rate  หรือที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า WACC     โดยถ้าหุ้น 2 ตัวมีปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด   หุ้นตัวที่ใช้ discount rate สูงจะมีมูลค่าแบบ DCF  ต่ำกว่า    

สำหรับ discount  rate   นั้นขึ้นกับตัวแปรต่างๆ  ดังนี้ครับ

-   อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด   ส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ย ( yield ) ของพันธบัตรอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิง    ถ้าดอกเบี้ยสูง   discount rate ก็จะสูง
-   Beta   คือ  ความผันผวนของราคาหุ้นตัวนั้นๆ เทียบกับความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์    ซึ่ง beta   ในทางทฤษฎีการเงินคือเป็นตัววัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น    โดยตั้งอยู่ในสมมุติฐานว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงจะมี beta สูง   คือ  จะมีความผันผวนของราคาสูง    ซึ่งทฤษฎีนี้ใกล้เคียงความจริงหรือไม่ผมคิดว่าก็มีความใกล้เคียงอยู่บ้าง     เช่น  หุ้นที่มี beta สูงในตลาดไทย เช่น  หุ้นไฟแนนซ์   หุ้นรับเหมาก่อสร้าง   หุ้นอสังหาฯ   วัสดุก่อสร้าง    ซึ่งล้วนแล้วมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง      ส่วนหุ้นที่มี beta ต่ำก็มักจะเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่า  
หุ้นที่มี beta สูง   discount rate ก็จะสูงตามไปด้วยครับ

ดังนั้น    ถึงตรงนี้เราได้ 2 ประเด็นแล้วครับว่า    ถ้าช่วงไหนดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น    discount rate   ที่ใช้คำนวณ DCF ก็จะสูง     ทำให้ราคาหุ้นตามวิธี DCF  ก็จะต่ำลง    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงและมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงเมื่อมีข่าวว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น   ดังนั้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น   หุ้นมักจะมี p/e ต่ำ   แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง   หุ้นจะมี p/e สูง

ส่วนเรื่อง beta  หรือความเสี่ยงนั้น   ก็เช่นกันครับ   หุ้นที่มีความเสี่ยงหรือ beta สูง   ก็จะทำให้ discount rate สูง    ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง      ดังนั้นหุ้นที่มี beta หรือความเสี่ยงสูง  ก็ควรจะมี p/e ต่ำกว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ

การคิดกระแสเงินสดสุทธิ  หรือ   Free cash flow   มีสูตรดังนี้ครับ

Free cash flow  =   กำไรสุทธิ  +   ค่าเสื่อมราคา  + การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน  +   รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์

เงินทุนหมุนเวียน  คือ   เงินสด   ที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการขายสินค้าและบริการ    

รายการการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น ลบ  ก็ต่อเมื่อ
มีการ   เพิ่มขึ้น ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ   เพราะต้องใช้เงินในการซื้อวัตถุดิบ
มีการ   เพิ่มขึ้น  ของลูกหนี้การค้า    แสดงว่ารายได้ 100 บาท   เข้ามาเป็นเงินสดไม่ถึง 100 บาท
มีการ   ลดลง    ของเจ้าหนี้การค้า   แสดงว่ารายจ่าย 100 บาท   ยังไม่ต้องจ่ายทั้งหมด 100 บาทในทันที

การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น   บวก  ก็ต่อเมื่อ

มีการ   ลดลง ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ   แสดงว่าสินค้าที่ขายออกไปมีมากกว่าที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามา
มีการ  ลดลง    ของลูกหนี้การค้า  
มีการ   เพิ่มขึ้น  ของเจ้าหนี้การค้า

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า   ในธุรกิจทั่วๆ ไป   เมื่อมีการขยายกิจการ  คือ  มีการผลิตสินค้ามากขึ้น   ก็ย่อมจะต้องมีการสั่งวัตถุดิบและมีจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น      เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นก็ย่อมทำให้ลูกหนี้การค้ามากขึ้น     ดังนั้นธุรกิจทั่วๆ ไปเมื่อมีการขยายกิจการจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะติดลบ    คือธุรกิจนั้นๆ  จะต้องใช้เงินสดในกิจการมากขึ้น     ดังนั้นธุรกิจส่วนใหญ่แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้น    แต่เงินสดที่เข้ามาในบริษัทมักจะต่ำกว่ากำไร      แต่ธุรกิจที่เมื่อขยายสาขาหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กลับยิ่งมีเงินสดมากขึ้น   คือธุรกิจค้าปลีก   เพราะมีการขายเป็นเงินสด    แต่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ    ดังนั้นวันที่เปิดสาขาใหม่   ก็จะได้เงินสดมาทันทีแต่เงินสดนั้นจะถูกจ่ายให้กับเจ้าหนี้ในอีก 45-60 วัน    ดังนั้นหากมีการคิด DCF  ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ   ถ้ากำไรสุทธิต่อปีเท่าๆ กัน    ธุรกิจค้าปลีกจะมีกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ      จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหุ้นค้าปลีกจึงมี p/e สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ  ที่มีการเติบโตของกำไรเท่าๆ กัน

ยิ่งธุรกิจใดให้เครดิตลูกหนี้การค้ายิ่งนาน    บริษัทนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนติดลบมากกว่าบริษัทที่ให้เครดิตลูกหนี้สั้นกว่า     และบริษัทใดที่ขายสินค้าเป็นเงินสด   ก็จะทำให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่ามาก  

บริษัทใดที่มีการขายสินค้าโดยใช้เวลานาน   ก็จะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าบริษัทที่ขายสินค้าในเวลาอันสั้นกว่า    และอย่างที่ผมพูดไปในหน้าก่อนๆ  คือ   ยิ่งขายได้เร็วก็ทำให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง   ดังนั้นสิ่งที่เถ้าแก่คนจีนนิยมทำนานมาแล้วคือ   เน้นการขายเร็วๆ  มากๆ  เอา volume   ก็เป็นความคิดที่ถูกต้องตามทฤษฎีการเงิน    แม้ว่าอาเฮียเหล่านั้นจะไม่ได้เรียน MBA มาก็ตาม

รายจ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์     เป็นรายการ ลบ ในการหา Free cash flow   ยิ่งมีการลงทุนมากๆ   Free cash flow ก็ยิ่งมีโอกาสติดลบมากขึ้น     ดังนั้นหุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการขยายกิจการ    ก็จะทำให้  Free cash flow   ติดลบมากกว่าหุ้นที่สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก     โดยทั่วไปหุ้นในภาคการผลิต  อุตสาหกรรม   มักจะต้องใช้เงินลงทุนในการขยายกิจการมากกว่าหุ้นประเภทธุรกิจบริการ     เมื่อใช้เงินทุนน้อย  กระแสเงินสดก็จะเป็นบวกได้มากกว่า    หุ้นภาคบริการมักจะมีมูลค่าแบบ DCF สูงกว่าหุ้นในภาคการผลิตแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิในแต่ละปีหรือปัจจัยอื่นๆ  ใกล้กัน     ดังนั้นหุ้นที่ทำธุรกิจบริการมักจะมี p/e สูงกว่าหุ้นในภาคอุตสาหกรรม

หุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียน  ( เงินสด ) จำนวนมากในการเพิ่มยอดขาย   มักจะต้องมีการกู้เงินระยะสั้น หรือ Bank O/D  จากธนาคารเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน     และยังอยู่ในธุรกิจที่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต    และยิ่งหุ้นดังกล่าวมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงด้วยนั้น   หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมีโอกาสสูงที่จะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อชดเชยกระแสเงินสดที่ติดลบในอนาคต    ดังนั้นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันจึงมีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนสูง   เมื่อหุ้นมีการเพิ่มทุนก็ย่อมทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง   ดังนั้นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนมักจะมี p/e  ที่ต่ำกว่าหุ้นที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน

การเติบโตทางธุรกิจ    เนื่องจากการทำ DCF คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต  ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตสูง   ก็จะมีกระแสเงินสดในอนาคตที่เพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก    ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตสูงจึงจะมี DCF  สูงกว่าหุ้นที่มีการเติบโตต่ำ    

ปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อการคำนวณ DCF  ก็คือ  มูลค่าเงินสด หรือหนี้สินสุทธิ   ซึ่งก็คือ
เงินสดสุทธิ  =   เงินสดในบริษัท -  หนี้สินระยะยาว  - หนี้สินระยะสั้นที่มีดอกเบี้ย

ดังนั้น   ถ้าปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด  หุ้นที่มีเงินสดสุทธิเป็นบวกก็จะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีหนี้สิน

สรุป  มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF  จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้ครับ

-  อัตราดอกเบี้ย   ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง   มูลค่า DCF จะสูงขึ้น
-  ความเสี่ยงของธุรกิจ   ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง   DCF  ก็จะต่ำ
-  การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ   DCF จะต่ำ
-  การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ   DCF จะสูง
-  ขายสินค้าได้เร็ว   มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ   DCF  จะสูง
-  ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ  ในการขยายกิจการ   เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี  DCF จะต่ำ
-   มีการเติบโตสูง   DCF จะสูง
-   มีหนี้มากๆ   DCF จะต่ำ

               สำหรับ DCF  กับ p/e  จะมีความสัมพันธ์กัน   หากหุ้น 2 ตัวที่ปัจจุบันมีกำไรสุทธิเท่ากัน   หุ้นตัวที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี  DCF สูงกว่า    จะมี p/e  ที่เหมาะสมสูงกว่าหุ้นที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF  ต่ำกว่า    ดังนั้น   ด้วยย่อหน้าข้างบน  เราสามารถเปลี่ยนคำว่า DCF  เป็น p/e  ได้เป็น

-  อัตราดอกเบี้ย   ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง   p/e ของหุ้น   จะสูงขึ้น
-  ความเสี่ยงของธุรกิจ   ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง   p/e   ก็จะต่ำ
-  การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ   p/e  จะต่ำ
-  การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ   p/e  จะสูง
-  ขายสินค้าได้เร็ว   มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ   p/e  จะสูง
-  ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ  ในการขยายกิจการ   เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี  p/e จะต่ำ
-   มีการเติบโตสูง  p/e  จะสูง
-   มีหนี้มากๆ   p/e   จะต่ำ

ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจหลักของ DCF แล้ว     เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ model DCF  ก็ได้   เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร     มีการเติบโตสูงหรือต่ำ    มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงหรือไม่     เมื่อต้องการขยายธุรกิจต้องใช้เงินทุนจำนวนมากหรือไม่      มีหนี้มากหรือน้อยเพียงใด

วันนี้ก็คงขอจบบทความลงเท่านี้ครับ     ขอให้เพื่อนๆ ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จกับการลงทุนในแนวทาง VI  ครับ    ขอบคุณมากครับ

Invisible Hand
ส่วนอื่นของบทความนี้ก็สุดยอดไม่แพ้ท่อนนี้เลยนะครับ
ลองไปอ่านกันได้ที่นี่เลย  http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... sc&start=0
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

[quote="gold5599"]สรุปแล้วนักลงทุนสมัยก่อนเค้าประเมินมูลค่าของหุ้นใช้แค่วิธี FCF เท่านั้นใช่ไหมครับ แต่ทำไมทุกวันนี้ผมเห็นไม่ค่อยมีคนพูดถึง FCF แต่จะพูดไปถึง PE
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

[quote="chatchai"][quote="gold5599"]สรุปแล้วนักลงทุนสมัยก่อนเค้าประเมินมูลค่าของหุ้นใช้แค่วิธี FCF เท่านั้นใช่ไหมครับ แต่ทำไมทุกวันนี้ผมเห็นไม่ค่อยมีคนพูดถึง FCF แต่จะพูดไปถึง PE
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3780
ผู้ติดตาม: 75

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ส่วนตัวผมมองความน่าสนใจลงทุนในหุ้น เป็น 2 ประเด็น
ตามข้อมูล ประสบการณ์ แล้วก็ ทักษะ ของผู้ลงทุนครับ :roll: ...

คือ หนึ่ง...

ถ้าเราเข้าใจ และมองธุรกิจ ว่าเป็นเครื่องผลิตเงินสด
และเงินสด ก็เป็นของผู้ถือหุ้น :)
DCF จะเป็นการประเมินมูลค่าของธุรกิจได้อย่างเหมาะสมที่สุด

แต่จากประสบการณ์ของผม ผมพบว่าวิธีนี้
จะเหมาะกับการประเมินมูลค่าตัวธุรกิจที่ตัวเราเอง
เข้าใจธุรกิจนั้นมากๆ และต้องเข้าใจวิธีการ
และที่มาของเงินนั้นจริงๆ เพราะไม่อย่างนั้น
เราจะคาดการณ์ fcf ในแต่ละปีของธุรกิจนั้นไม่ได้

หรือถ้าเราจะหา fcf มาได้ เพราะเราคิดว่าเราเข้าใจธุรกิจนั้นดี
Margin of Safety ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่ดี :?

จากประสบการณ์ของผม หลายครั้งที่ผมไม่สามารถ
หา fcf ของธุรกิจได้ จึงเป็นที่มาของ สอง...

การใช้ Ratio ต่างๆ เข้าช่วยประเมินมูลค่า
ซึ่งส่วนตัวผมมองว่ามันก็เป็นหลักยึดเหนี่ยวได้
แต่การประเมินความน่าสนใจลงทุน
ต้องประเมินควบคู่ไปกับการประเมินเชิงคุณภาพด้วย
ไม่อย่างนั้น นักลงทุนอาจจะไปติดกับดักของตัวเลข Ratio ต่างๆ ได้ครับ
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

สวัสดีพี่ ส. สลึง ครับ(ท่านผู้มีพระคุณอย่างสูง) ขอบคุณครับสำหรับแง่คิด ติดอยู่ประโยคหนึ่งครับที่ว่า "จากประสบการณ์ของผม หลายครั้งที่ผมไม่สามารถหา fcf ของธุรกิจได้"  เหตุผลเพราะอะไรครับที่ไม่สามารถหาได้เพราะทุกบริษัทก็สามารถหาเงินสดได้ในตัวธุรกิจของมันเองไม่ใช่เหรอครับ ช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับ  ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3780
ผู้ติดตาม: 75

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

gold5599 เขียน:สวัสดีพี่ ส. สลึง ครับ(ท่านผู้มีพระคุณอย่างสูง) ขอบคุณครับสำหรับแง่คิด ติดอยู่ประโยคหนึ่งครับที่ว่า "จากประสบการณ์ของผม หลายครั้งที่ผมไม่สามารถหา fcf ของธุรกิจได้"  เหตุผลเพราะอะไรครับที่ไม่สามารถหาได้เพราะทุกบริษัทก็สามารถหาเงินสดได้ในตัวธุรกิจของมันเองไม่ใช่เหรอครับ ช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับ  ขอบคุณครับ
ไม่เป็นไรครับพี่ gold5599 ยกย่องเกินไปครับ
ผมแค่มีหนังสือที่ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ :bow:

มีธุรกิจเยอะแยะมากมายก่ายกองครับ ที่ผมกะ fcf ไม่ได้
เนื่องจากความรู้ของผมมีจำกัด และที่คิดว่ากะได้ ก็ไม่แน่ว่าจะกะถูก
เอาเป็นว่ามีธุรกิจที่กล้ากะมากๆ กับที่ไม่กล้ากะเลย ก็แล้วกันครับ

ยกตัวอย่างธุรกิจที่ผมไม่กล้ากะเลย ก็เช่น รับเหมาทั้งหลายแหล่
ส่วนธุรกิจที่กล้ากะมากๆ ก็เช่น ธุรกิจที่มั่นใจมากๆ ว่า
fcf ใน 5 ปีข้างหน้าจะไม่ลดลง และให้ Growth เป็น MOS ตัวนึงครับ
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

[quote="ส.สลึง"][quote="gold5599"]สวัสดีพี่ ส. สลึง ครับ(ท่านผู้มีพระคุณอย่างสูง) ขอบคุณครับสำหรับแง่คิด ติดอยู่ประโยคหนึ่งครับที่ว่า "จากประสบการณ์ของผม หลายครั้งที่ผมไม่สามารถหา fcf ของธุรกิจได้"
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

มีพี่ๆท่านใดพอใจให้คำแนะนำเกี่ยวกับ FCF เพิ่มได้มั่งไหมครับ
gold5599
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ไม่มีใครมาตอบ ไม่เป็นไรครับผมขอถามอีกคำถามล่ะกัน
สมมุตินะครับ ถ้าหากผมสามารถที่จะทำ FCF ได้ถูกต้อง 100%
แล้วการลงทุนของผมจะพบกับคำว่า ขาดทุนไหมครับ
แล้วมีโอกาสที่ผมจะเลือกหุ้นผิดมีประมาณกี่% ครับ
KB
Verified User
โพสต์: 1558
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

gold5599 เขียน:ไม่มีใครมาตอบ ไม่เป็นไรครับผมขอถามอีกคำถามล่ะกัน
สมมุตินะครับ ถ้าหากผมสามารถที่จะทำ FCF ได้ถูกต้อง 100%
แล้วการลงทุนของผมจะพบกับคำว่า ขาดทุนไหมครับ
แล้วมีโอกาสที่ผมจะเลือกหุ้นผิดมีประมาณกี่% ครับ
บอกไม่ได้ว่าจะขาดทุนรึเปล่า อาจมีอะไรมากระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัทก็ได้ ทำให้กำไรไม่เป็นไปตามที่คิด แล้วราคาหุ้นก็ยังขึ้นอยู่กับอารมณ์ของตลาดอีก แล้วก็ยังอยู่ที่การควบคุมอารมณ์ของเราเองด้วย

ไม่น่าจะคำนวนได้ถูกต้อง 100% ถ้ายังไม่รู้อนาคต
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3780
ผู้ติดตาม: 75

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เห็นด้วยกับพี่ KB อนาคตเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิด
และไม่จำเป็นต้องคำนวณ fcf ได้ถูกต้อง 100% ก็สามารถมีกำไรได้
ในเมื่อมีคนคิด mos มาให้ใช้ ทำไมเราจะไม่ใช้ล่ะ
ส่วนเลือกหุ้นผิด เพราะคิดว่าเลือกผิด แต่มีกำไรติดมือ
ผมก็เคยทำได้บ่อยๆ :lol:
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ยังไม่มีใครในโลก สามารถคำนวณ fcf สำหรับระยะเวลายาวในอนาคต
ได้ถูกต้อง 100%
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

gold5599 เขียน:ไม่มีใครมาตอบ ไม่เป็นไรครับผมขอถามอีกคำถามล่ะกัน
สมมุตินะครับ ถ้าหากผมสามารถที่จะทำ FCF ได้ถูกต้อง 100%
แล้วการลงทุนของผมจะพบกับคำว่า ขาดทุนไหมครับ
แล้วมีโอกาสที่ผมจะเลือกหุ้นผิดมีประมาณกี่% ครับ
ขอเคลียร์นิดนึงก่อนว่า ตามที่ผมเข้าใจ FCF นี่ย่อมาจาก Free Cash Flow นะครับ...

ถึงแม้จะหา FCF ได้ถูกต้อง 100% แต่อีก Factor นึงที่เราไม่รู้คือ Discount Rate หรือว่า WACC ตามบทความของพี่ IH ว่าไว้นั่นแหละครับ... ซึ่ง Discount Rate จะทำให้มูลค่าที่คำนวณได้จากโมเดล DCF อาจจะเหวี่ยงขึ้นลงได้

นั่นอาจจะทำให้คุณกำไร หรือ ขาดทุนก็ได้ หาก Discount Rate เปลี่ยนแปลงไป

แล้วถ้าสมมติว่า คุณ gold5599 เป็นผู้หยั่งรู้อนาคตขนาดว่ารู้ทั้ง fcf และ discount rate ที่นี้ก็ต้องกลับมาดูที่นิยามคำว่า "ขาดทุน" ของคุณ gold5599 ว่าหมายถึงอะไร?

ถ้าเป็น ขาดทุนทางบัญชี แน่นอนครับว่ายังมีโอกาสขาดทุนอยู่...
แต่ถ้าคุณ gold5599 ซื้อและลงทุนในกิจการนั้นไปจนวันตาย ในทางทฤษฎีแล้วถ้าคุณ gold5599 ซื้อหุ้นของกิจการนั้นๆ ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ประเมินได้ ยังไงก็กำไรชัวร์ แต่ถ้าซื้อสูงกว่า ยังไงก็ขาดทุนชัวร์ครับ...


อ้อ... ในกรณีที่คุณทองห้าห้าเก้าเก้ารู้ FCF ได้ชัวร์ 100% จริงๆ ไม่ต้องหา wacc ก็ได้นะครับ... แก้สมการหา discount rate โดยให้ราคาที่ซื้อหุ้น เท่ากับ มูลค่าที่ได้จาก dcf แล้ว discount rate ที่ได้จะเท่ากับผลตอบแทนที่คุณ gold จะได้รับหากถือกิจการไปจนวันตาย


ส่วนโอกาสที่คุณ gold จะเลือกหุ้นถูกหรือผิด ภายใต้สมมติฐานว่าคุณ gold ถือหุ้นตัวนั้นจนวันตาย จะขึ้นอยู่กับ 1) โอกาสที่ FCF ที่ผิดเพี้ยนไปจากที่คุณ gold ประเมินเอาไว้ และ 2) ราคาหุ้นที่คุณ gold ซื้อเอาไว้ว่ามี MOS มากขนาดไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

มาคิดดูอีกที... ถ้ารู้ fcf ชัวร์ๆ แสดงว่ากระแสเงินสดนั้นปราศจากความเสี่ยง ดังนั้นสามารถใช้ zero curve ที่สร้างมาจาก yield ของพันธบัตรรัฐบาล discount ได้เลยมั้ง

ถ้าราคาซื้อต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินได้ ก็กำไรชัวร์ รวมไปถึงในทางตรงกันข้าม

แต่จะขาดทุนเงินเฟ้อรึเปล่าไม่รู้นะ... ถ้าจะให้ดีควรใส่สมมติฐานว่า yield curve สะท้อนอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเข้าไปแล้ว อย่างถูกต้องก็ดีนะ...
leksmile
Verified User
โพสต์: 2126
ผู้ติดตาม: 1

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

^
^
^

คนข้างบนดึกแล้วไม่ทำการบ้านเหรอครับ

.
.
.
.
เดี๋ยวก็ไม่มีหุ้นใหม่เด็ดๆหรอก  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ถามพี่ๆเกี่ยวกับ.......fcf, zero curve,  Discount Rate, WACC, DCF

1.ถ้าไม่รู้จัก...จะสามารถเป็นนักลงทุนได้ไหมครับ?
2.กลุ่มนี้สำหรับนักลงทุนมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องใช้มันครับ?
3.ช่วยวิจารณ์ความคิดด้วยนะครับ(เพราะผมไม่รูจริงๆว่าที่คิดถูกหรือผิด)....ผมมองว่า PE ROE PBV และงบการเงิน ก็น่าจะเพียงพอแล้วกับการลงทุน ผมมองว่ากลุ่มนี้เปรียบเสมือนการเลือกบ้าน เลือกทำเล  เราใช้ PE ROE PBV และงบการเงิน ในการเลือกบ้านและทำเลก็น่าจะเพียงพอหากเราต้องการแค่อยู่อาศัย....แต่หากต้องการอยู่สบายขึ้นก็ไปดูสูตรต่างๆมากมายก็เสมือนการเข้าไปดูที่ห้องนอน ห้องน้ำ เตียงนอน ฯลฯ
ซึ่งหากเราไปมัวแต่มองความละเอียดมากเกินไป ก็อาจจะทำให้เราหลุดจากภาพใหญ่ได้ ยกเว้นแต่ว่ามีเวลามากๆสามารถมองละเอียดๆได้ทุกๆกิจการทุกๆบริษัทแล้วเองมาเปรียบเทียบกัน ผมมองว่าถ้ามือใหม่มาเน้นที่จุดนี้มากเกินไปอาจทำให้หลุดจากภาพใหญ่ได้ แทนที่จะใช้ภาพใหญ่หาหุ้นเกรดABซึ่งอาจจะได้ทั้งAและBปนๆกันไป  แต่ก็ไม่ซีเรียสเพราะมันดีทั้งคู่ แต่หากเราใช้สูตรยากๆเข้าประเมินAและB ก็อาจจะทำให้เราเสริมศักยภาพเลือกหุ้นAได้มากกว่าBเหมือนเป็นตัวช่วยเสริมการบินแต่ไม่ใช่ตัวที่จะทำให้บิน
ซึ่งในกลับกันหากเหล่าน้องใหม่ที่มัวไปเน้นตัวเลขทางการเงินยากๆก็อาจจะทำให้ถลำลึกเกินไปได้เพราะอาจจะได้ห้องนอนที่ดีห้องน้ำที่ดี แต่พอถอยหลังกลับมาดูอ่าว....เดินทางลำบาก ทำเลไม่ดีไปซะงั้น หรืออาจจะเผลอไปได้หุ้นเกรดCDมาแล้วก็พยายามหาD+หาC+
   สาเหตุที่ผมมองอย่างนี้เพราะผมเห็นว่า PE ROE PBV และงบการเงิน น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการลงทุน เพราะข้างในมันมีทุกอย่างอยู๋แล้ว และที่สำคัญคือ คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เพราะราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงขึ้นอยู๋กับรายย่อยครับ และรายย่อยส่วนมากก็มักมองแค่ PE ROE PBV และงบการเงิน เป็นหลักไม่ไปมองอะไรจุกจิกมากนัก ผมเชื่อครับว่าหากตัวเลขยากพวกนี้ดีจริงๆสุดท้าย PE ROE PBV และงบการเงิน ก็จะดีตาม แต่ทำไมเราจะต้องอ้อมละครับในเอเครื่องมือ PE ROE PBV และงบการเงิน ที่มีมันก็สุดยอดมากๆแล้วหากใช้เป็น...

หรือพี่ๆว่ายังไงครับช่วยปรับทัศนคติผมด้วยครับหากมุมมองผมผิดไป ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

[quote="picklife"]ถามพี่ๆเกี่ยวกับ.......fcf, zero curve,
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

ขอความกรุณาพี่ๆ ช่วยวิจารณ์วิธีการเลือกหุ้นของผมด้วยครับ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

[quote="leksmile"]^
^
^

คนข้างบนดึกแล้วไม่ทำการบ้านเหรอครับ

.
.
.
.
เดี๋ยวก็ไม่มีหุ้นใหม่เด็ดๆหรอก
โพสต์โพสต์