อ่านให้มันมากกก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หลายท่านอาจจะเคยอ่านแล้ว
แต่หลายท่านอาจจะยัง

ผมถาม ท่านปรมจารย์ ih กรุณาตอบ

http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic



1.เรื่องของ free flaot และ ผู้ถือหุ้นใหญ่ มีคนตั้งข้อสังเกตุว่า หุ้นที่มี freefloat สูงมากๆ เช่น เกิน 80%
จะเป็นหุ้นที่ขึ้นยาก เพราะหุ้นอยู่ในมือรายย่อยเกือบเยอะไป ทำให้ไปได้ไกลๆยาก เช่น zmico
Freefloat 80% (http://capital.sec.or.th/webapp/freefloat/freefloat.php) หุ้นน่าจะขึ้นยากกว่า finance ตัวอื่นๆ เช่น bls ที่ free float 35%
อยากถามดังนี้
1.1ถ้าหุ้นที่พิ้นฐานเหมือนกันหมด คุณ ih คิดว่า free float ประมาณเท่าไหร่ หุ้นน่าจะขึ้นง่ายที่สุด

- ถ้าตอบแบบดูเรื่อง vol การซื้อขายเป็นหลัก free float ต่ำไป เช่น ต่ำกว่า 25% ก็น่าจะทำให้สภาพคล่องน้อยเกินไป แต่ถ้าสูงมาก เช่น เกิน 70-80% ก็ทำให้หุ้นก็ค่อนข้างหนักเหมือนกันครับ ยกตัวอย่าง เช่น NFS แต่ก็มีข้อสังเกตครับว่า TTA นั้นมี free float สูงมากแต่หุ้นก็ขึ้นลงหวือหวาและมี vol การซื้อขายเยอะมาก

ถ้าตอบในเชิงพื้นฐาน หุ้นที่ free float ต่ำมาก คือ เจ้าของหรือผู้บริหารถือหุ้นเกิน 75% ทำให้มีอำนาจในการควบคุมบริษัทมากเกินไปทำให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยไม่มีอำนาจมากพอที่จะสอบทานหรือคัดค้านมติที่สำคัญได้ และเจ้าของมักจะบริหารงานได้แบบสบายใจและตามใจโดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกใครมา take over ได้

ส่วนที่ float สูงมาก แสดงว่าผู้บริหารและเจ้าของถือหุ้นน้อย ก็อาจจะมีข้อเสียคือ ถ้าธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของผู้บริหารไม่ดี ก็มีแรงจูงใจที่ทำให้ผลประโยชน์ต่างๆ อาจจะไม่ตกกับบริษัทได้ครับเพราะผู้บริหารและเจ้าของไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกำไร ปันผลและราคาหุ้นของบริษัทมากเท่าที่ควร

1.2 ถ้าหุ้นตัวนั้นมีเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เช่นเจ้าหนี้ที่แปลงหนี้เป็นทุน คุณ ih คิดว่าจะมีผลทำให้
หุ้นขึ้นยากกว่า การไม่มีเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไหม

- ปกติเจ้าหนี้มักจะไม่ค่อยมีนโยบายลงทุนระยะยาวในหุ้นแปลงหนี้เป็นทุนจึงมักจะหาโอกาสลดการลงทุน ซึ่งอาจจะขายออกในกระดานหรือหาผู้ซื้อแบบ big lot ถ้าเป็นแบบแรกก็ทำให้ supply หุ้นนั้นเพิ่มขึ้นก็ทำให้ในระยะสั้นๆ หุ้นตัวนั้นจะขึ้นได้ยาก แต่ในระยะยาวราคาหุ้นก็ขึ้นกับกำไรและเงินปันผลครับ เช่น กรณีของ BH นั้นในช่วงปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ๆ นั้น BBL ก็ถืออยู่เยอะครับแต่ทาง BBL เน้นการขายออกมาแบบ PO และ big lot

2.การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี ev/ebitda นั้น เหมาะสมกับหุ้นที่มีหนี้และค่าเสื่อมเยอะๆใช่ไหม
เช่นกลุ่ม สื่อสาร คุณ ih ใช้ ev/ebitda วิเคราห์หุ้นบ้างหรือไม่ อย่างไร

- แต่ถ้าค่าเสื่อมเป็นค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่ต้องลงทุนทดแทนสินทรัพย์ที่หมดอายุหรือล้าสมัย เช่น เครื่องจักร รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ค่าเสื่อมราคาที่บวกกลับใน ebitda นั้นก็ไม่ได้เป็น free cash flow แต่ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ต้องทดแทนในระยะเวลาที่สินทรัพย์นั้นตัดค่าเสื่อมจนหมด เช่น อาคาร ฯลฯ หุ้นประเภทนี้อาจจะเหมาะจะใช้ ebitda มากขึ้นมาหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ebitda นั้นบวกกลับด้วยดอกเบี้ยและภาษีเข้าไปด้วยซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปจริง ดังนั้น ebitda จึงไม่สะท้อนเงินสดที่เข้าบริษัทได้

ส่วนใหญ่ถ้าจะใช้ ebitda ก็จะไม่ค่อยใช้หา valuation ครับ แต่มักจะใช้เปรียบเทียบความถูกแพงของหุ้นในกลุ่มธุรกิจ อุตสาหกรรมเดียวกันมากกว่า เพราะ ebitda จะไม่สะท้อนความแตกต่างของอัตราภาษี ต้นทุนเงินทุน และนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาที่ต่างกัน ดังนั้น ebitda margin ( ebitda / sale ) จะสะท้อนความสามารถในการทำกำไร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัท A และ B มีนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ประเภทเดียวกันในจำนวนปีที่ต่างกันเช่น 20 ปีและ 30 ปี แม้ทุกอย่างจะเหมือนกันหมดแต่หุ้น A จะมี p/e สูงกว่า B เพราะ A จะมีค่าเสื่อมราคาสูงกว่า แต่ A จะมี cash flow ดีกว่า B เพราะ A จะเสียภาษีน้อยกว่า ( เพราะกำไรทางบัญชีก่อนหักภาษีของ A ต่ำกว่า B )

3.การทำ stock repurchase ถ้าไม่ได้ทำตอนเกิดวิกฤคิตลาดหุ้นเพื่อพยุงราคาหุ้น (รู้สึกว่า gmm ทำตอน
เครื่องบินชนตึก world trade ) เรื่องนี้จะสะท้อนถึง วิสัยทัศน์ได้ไหมว่า ไม่สามารถเอาเงิน ไปลงทุนอะไรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นได้( ก็เลยซื้อหุ้นคืนเพื่อทำให้ eps สูงขึ้น ปันผลเยอะขึ้น หรือมีอีกอย่าง ซื้อหุ้นคืน
น่าจะป้องกันการ take over อย่างไม่เป็นมิตรได้ )

- ตอนนั้นธุรกิจของ GMMM ช่วงนั้นดีกว่าตอนนี้อยู่ระดับหนึ่งเพราะการแข่งขันของคลื่นวิทยุยังไม่รุนแรงเท่าตอนนี้ และผู้บริหารอาจจะมองว่าราคาหุ้นตอนนั้นน่าจะต่ำไปเมื่อเทียบกับภาวะแวดล้อมทางธุรกิจตอนนั้น แต่เมื่อสถานการณ์ทางธุรกิจแย่ลงก็ทำให้กำไรและราคาหุ้นลดลงมาก็เลยทำให้ Gmmm ไม่มีทางเลือกคือจะต้องลดหุ้นที่ซื้อคืนไป เพราะถ้าขายออกมาในกระดานจะต้องรับรู้ผลขาดทุนมาก

4. ข้อความจาก web prakard นะครับ โดยนายประกาศ เกี่ยวกับ property fund
http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=27270

"ถ้าคุณถามผมว่าหลักการมันผิดตรงไหน ผมก็บอกได้ว่ามันผิดมาตั้งแต่วันแรกที่ไปคิดว่านักลงทุนต้องการผลตอบแทนแค่ 8% คุณจะไปรู้ได้ยังไงว่าจริงๆ นักลงทุนต้องการเท่าไรที่เขาจะคิดว่ามันจะ cover ความเสี่ยงได้จริงๆ เพราะพวกนักลงทุนเองเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอกว่า quality ของ underwrite asset ที่แต่ละกองทุนจะไปซื้อมามันคืออะไร ขณะที่แต่ละกองก็ลงใน asset ที่ไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงมันย่อมมีไม่เท่ากันด้วย

อย่างกองที่ 1 ลงใน industrial leasing กอง 2 ลงใน residential กอง 3 ลงในสนามบิน แล้วบอกว่าให้ spread 2.5 หรือ 3 เท่ากันหมดนี่ผมว่าหลักการมันผิดแล้วนะ เพราะ underwrite asset แต่ละกองมันต่างกัน คุณภาพหรือความเสี่ยงของ underwrite asset มันก็จะเป็นคนละเรื่องกันด้วย อย่างคุณลงใน industrial leasing นี่ความเสี่ยงสูงสุดเลยนะ คนในวงการอสังหาฯ รู้กันดี แล้วคุณจะให้นักลงทุนรับเท่ากันทุกกองเลยหรือ ข้อเท็จจริงมันเป็นแบบนี้

พี่ ih รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับว่า industrial leasing กับ residential ต่างกันอย่างไร
และ spread 2.5 หรือ 3 คืออะไรเหรอครับ

- Spread 2.5 และ 3 นั้นคือ ผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้เป็นตัวเทียบวัด ( ปกติใช้ 10 ปี )

Industrial estate ก็เป็นพวกโรงงาน โกดังให้เช่น ส่วน residential ก็เป็นพวกเซอรวิสอพาร์ตเมนต์ บ้านเช่า

ในทางทฤษฎี Industrial estate อาจจะถูกมองว่าเสี่ยงกว่าตรงที่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีนั้นอาจจะมีโรงงานที่ปิดตัวทำให้ผู้เช่าย้ายออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นต่างประเทศ residential นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนในประเทศตัวเอง แต่ของไทยกองทุนอสังหาฯ ที่เป็น residential นั้นเป็นเซอร์วิสอพารต์เมนต์ระดับ A และบ้านเช่าแบบราคาแพงซึ่งผมว่าก็ sensitive กับเศรษฐกิจอยู่พอสมควร ถ้า residential บ้านเราเป็นพอร์ตที่เป็นอพาร์ตเมนต์ระดับ 3000-5000 บาทต่อเดือนหรือหอพักนักศึกษา ที่มีคนเช่าเต็มหรือเกือบเต็ม ( ไม่ใช่ยังสร้างไม่เสร็จและยังไม่รู้ว่าจะมีคนเช่าหรือเปล่า ) แล้วผมว่าน่าสนใจและความเสี่ยงต่ำตามทฤษฎีจริงๆ

ตัวที่เป็นตัวกำหนด spread ของกองทุนอสังหาฯ บ้านเราผมคิดว่าเป็นเรื่องสิทธิของการใช้ที่ดินครับ กองทุนอสังหาฯ ที่เป็น freehold จะต้องมี yield ที่ต่ำกว่า leasehold ครับโดยเฉพาะ leasehold ที่กำหนดชัดเจนว่าเมื่อครบอายุเจ้าของทรัพย์สินจะเอาคืนไปแน่ๆ เช่น กองอสังหาฯ ของ Future park เป็นต้น ( กองทุนสมุยนี่ผมไม่แน่ใจครับเพราะสัญญาเขียนแล้วอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ) 6.เรื่องการซื้อหุ้นคืนของ se-ed น่ะครับ
ผมดูในงบส่วนผู้ถือหุ้น งบรวม
ของปี 49 จะเห็นว่ามีรายการ สำรองหุ้นทุนซื้อคืน 122ล้าน
และรายการหักหุ้นทุนซื้อคืน ที่ติดลบ 122ล้าน
ว่า การที่ se-ed ซื้อหุ้นคืนในช่วงปี 47
ผมดูงบปี 47 กระแสเงินสดการจัดหาเงิน ติดลบ 122 ล้านจากการซื้อหุ้นคืน
มูลค่า122 ล้านนั้น se-ed จะต้องเสียเงินสดไปก้อนแรกแล้ว
และยังต้องมาหักกำไรสะสมอีก ก้อนนึงคือ 122 ล้าน หรือ


อยากเรียนถามดังนี้ จริงๆแล้ว se-ed เสียเงินจริงๆ แค่ 122 ล้านในงบปี 47
ส่วนที่ตั้งสำรองในส่วนผู้ถือหุ้น ไม่ได้เสียเงินสดจริงถูกไหมครับ
แต่มีผลทำให้กำไรสะสมลดลง แต่ส่วนผุ้ถือหุ้นไม่ได้ลดลงจริง
เพราะมีรายการ 2 รายการ สำรองซื้อคืน กลับหักหุ้นทุนซื้อคืน (เป็นบวกกับลบ
หักล้างกัน = 0)
และพอลดทุนจริงในปี 50 ก็ไม่ได้เสียเงินเพิ่มแค่มีผลต่อกำไรสะสมลด

ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องไหม ถ้าเข้าใจถูกหมดก็รบกวนพี่ ih ข้ามข้อนี้ได้เลย
หรือถ้าเข้าใจผิดหรือพี่ ih มีอะไรจะเสริมก็เชิญเลยครับ

- ข้อนี้ขอติดไว้ก่อนครับขอไปดูรายละเอียดอีกทีเพราะเรื่องงบการเงินในเชิงบัญชีเป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยถนัดนักครับ




ขอรบกวนถามพี่ IH เพิ่มเติมกรณีนี้นะครับ คือผมมี csl ลงทุนไว้นานแล้วครับ ตั้งแต่ราคายังไม่สูงนักจนล่าสุดก็มีหุ้นมากพอสมควร เนี่องจากผมได้ปันผลก็นำมาซื้อเพิ่มตลอดทุกปี ตอนนี้ก็มีจำนวนพอสมควร ล่าสุดผมได้ซี้อเพิ่มอีกซึ่งก็ราคาสูงกว่าเดิมมาก แต่ผมมองในแง่ของปันผลมาตลอด ซึ่งก็ไม่เคยขายหุ้นตัวนี้เลย แต่พอมีกรณีลดทุนในครั้งนี้ ผมไม่ทราบว่าจะมีปัญหากับเงินปันผล/ราคาหุ้นหรือไม่ครับ เพราะผมตามดูมาตลอดก็เห็นว่าตัวกิจการหลักก็ไม่ค่อยมีการเติบโตเท่าไหร่นัก จากรายได้จากการให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ลดลงจากแรงแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ปีนี้ก็ได้จากส่วนที่ไปลงทุนในกิจการอื่นที่ไม่ใช่ในกิจการหลักที่ตนเอง รายได้จากบริษัทย่อย ได้แก่ TMC (โฆษณาผ่านสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง), ADV (โฆษณาผ่านหน้าเวปไซต์) และ Watta (โฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์) ยังทรงตัว แล้วถ้าหากมีการลดทุน ถึงแม้บริษัทจะมีกระแสเงินสดมาก แต่จะกระทบในส่วนของทุน และ เงินปันผล/ราคาหุ้นหรือไม่ เพื่อที่จะได้ตัดสินใจที่จะถือต่อหรือขายออกไปลงทุนในตัวอื่นแทน

ขอความกรุณาข่วยวิเคราะห์ให้ด้วยครับ ของคุณครับ

- ธุรกิจ internet ของ CSL จะมีรายได้ลดลงในส่วน dial up และ broadband ( internet ความเร็วสูง ) แต่จะไปเพิ่มส่วนของ leaseline คือ ส่วนลูกค้าองค์กร ถ้าดูงบปีก่อนจะเห็นว่ารายได้รวมของธุรกิจ internet จะคงที่พอดี ส่วนธุรกิจสมุดหน้าเหลือง ปัจจุบันแม้ไม่ใช่รายได้ที่มากที่สุด แต่น่าจะเป็นตัวที่ทำกำไรมากที่สุดครับเพราะแทบไม่มีคู่แข่ง ดังนั้นผมว่า CSL น่าจะเปลี่ยนชื่อบริษัทเพื่อให้สะท้อนธุรกิจที่ทำกำไรหลักในปัจจุบันมากกว่านี้ หรือแยกเอาบริษัทสมุดหน้าเหลืองมา list ( แต่ก็ไม่ค่อยน่าทำเพราะ CSL มีเงินสดเหลือเยอะ ) ผมเคยคุยกับผู้ถือหุ้นของ CSL เค้าไปศึกษาและบอกว่าธุรกิจสมุดหน้าเหลืองที่ต่างประเทศนั้นมี p/e 20-30 เท่า ส่วนที่ไปซื้อหนังสือ วัฎฎะ ผมว่าเป็นการซื้อที่ดีครับและน่าจะปรับปรุงและสร้างรายได้ในอนาคตเพิ่มขึ้นได้เพราะว่าธุรกิจหนังสือพวก classified ก็ต้องมี website ของตนเองและ 2 รูปแบบนี้จะสนับสนุนกันอยู่

การลดทุนของ CSL ไม่น่าจะมีปัญหากับปันผลของหุ้นในระยะยาวครับ ผมยังเชื่อว่า CSL น่าจะปันผลได้เกือบๆ 100% ของกำไรได้อยู่ครับ เว้นเสียว่าจะมีการลงทุนใหญ่ๆ ที่ต้องใช้เงินลงทุนมาก7 ทำไมรายได้ของธุรกิจโรงไฟฟ้าถึงจะต้องมีผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆคับ
ใช่ว่าตอนหลังๆตอนคืนให้รัฐเลยผลิตน้อยปะครับ

- เป็นรูปแบบที่เค้าคิดกันไว้ตั้งแต่แรก แต่ถ้าผมเดา การให้กำไรมากๆ ช่วงแรกก็ดีกับผู้ถือหุ้นโรงไฟฟ้าครับเพราะเงินที่ได้มาเร็วกว่าย่อมมีมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้ตอนหลังๆ ตามหลัก present value นอกจากนี้เงินที่ได้ช่วงแรกก็ทำให้บริษัทสามารถเอาเงินนี้ไปลงทุนขยายหรือสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ได้ด้วยครับ

8.ขอถามเกี่ยวกับเรื่องการ cap ดอกเบี้ยเป็นต้นทุนของหุ้นอสังหริมทรัพย์หน่อยนะครับ


หุ้นกล่ม property นั้นนอกจาก ดอกเบี้ยจ่ายแล้วจะมีดอกเบี้ยจ่ายตัวที่สองในงบกระแสเงินสด
ที่เขียนว่า ดอกเบี้ยจ่าย (ประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายสำหรับดำเนินการ และดอกเบี้ยจ่ายสำหรับต้นทุนโครงการ)

8.1ผมอยากถามว่า ดอกเบี้ยจ่ายในงบกระแสเงินสด ก็คือต้นทุนของโครงการ ถ้าสมมุติว่าบ้านยิ่งสร้างนานเท่าไหร่
Grossmarginก็ยิ่งหาย

- เท่าที่ทราบเค้าจะมี limit เหมือนกันครับว่าจะ cap ได้ไม่เกิดเท่านั้นเท่านี้ ดังนั้นสำหรับโครงการเก่าเก็บที่เปิดนานแล้วถึงจุดหนึ่งต้นทุนที่ดินจะไม่เพิ่มแล้วครับ แต่ถ้าช่วง 1-3 ปีหลังจากเปิดโครงการแล้วขายไม่หมดช่วงนี้ดอกเบี้ยจะถูกรวมเข้าไปในต้นทุนที่ดินครับ

8.2ต่อจากคำถามก่อนหน้า ถ้าเป็นการสร้างคอนโด ต้นทุนก็ควรสูงกว่า เพราะใช้เวลาสร้างนานแต่กลับมี gross margin
สูงกว่า มันจะคัดแย้งกันไหมครับ
- ไม่ขัดแย้งครับและควรจะเป็นเช่นนั้นด้วยครับ เพราะคอนโดฯ สร้างนานกว่า เงินจึงไปจมมากกว่า ( ทั้งเงินของบริษัทและเงินเจ้าหนี้ ) จึงมี asset และ inventory turnover ต่ำกว่าการสร้างบ้านเดี่ยวหรือทาวเฮาส์ ดังนั้นการทำคอนโดฯ ขายจะมีรอบการหมุนเงินช้ากว่า ดังนั้นถ้าจะให้ ROA การทำคอนโดฯ เท่ากับบ้านเดี่ยว จำเป็นต้องให้มี margin สูงกว่า เพราะ ROA คือ Asset turnover คูณด้วย net profit margin ครับ

8.3.ถ้าดอกเบี้ยจ่ายในงบกระแสเงินสดระหว่างก่อสร้างเป็นต้นทุนการก่อสร้างที่ ถูกรวมเป็นต้นทุนค่าขาย
แล้วดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนจะมาจากอะไรเหรอครับ ใช่ค่าโฆษณา เงินเดือนพนักงานขายปะครับ

- มาจากโครงการเก่าที่ cap ดอกเบี้ยไปในต้นทุนไม่ได้แล้ว และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นดอกเบี้ยที่กู้มาเพื่อใช้ในการสร้างตัวบ้านครับ ( แต่ส่วนหลังไม่แน่ใจครับ ) ปกติแล้วถ้าซื้อที่ดินแล้วยังไม่เปิดโครงการ ดอกเบี้ยที่เกิดก่อนเปิดโครงการจะเข้าไปในต้นทุน แต่ถ้าเปิดแล้วเหมือนว่าดอกเบี้ยจะต้องเข้าไปในค่าใช้จ่าย เรื่องนี้ผมไม่สันทัดนักลองปรึกษาคุณ Mon Money ดูอีกทีได้ครับ

8.4.คำว่า ที่ดินและต้นทุนในการพัฒนาโครงการ สุทธิ ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะหมายถึง
คอนโด หรือบ้านที่ขายไปแล้ว แต่ยังรอการโอน หรือว่า แค่ที่ดินเปล่าเหอรครับ

- เป็นที่ยังไม่ได้โอนครับ แต่ถ้าเป็นที่ดินเปล่า น่าจะเป็นรายการ ที่ดินรอการพัฒนา ดังนั้นรายการนี้ควรจะเป็นโครงการที่กำลังจะเปิด ( เช่น ถมดินอยู่ สร้างบ้านตัวอย่างอยู่ ) และเปิดไปแล้วและอยู่ระหว่างการขายครับ

9.คุณ ih ช่วยแนะวิธีการดูหน่อยได้ไหมครับว่า บริษัท property ว่า จะมีจุดสังเกตยังไงว่า จะต้องเพิ่มทุนไหม
เช่น เปิด project ใหม่แต่ ยังไม่มี landbank รอ หรือ free cash flow ติดลบต่อนื่อง (ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวไหม)

- นั่นสิครับ ส่วนหนึ่งคงต้องดู d/e ด้วย และยังขึ้นอยู่กับ project ปัจจุบันและ project ในอนาคตที่อยู่ในใจผู้บริหารด้วย ( ซึ่งอย่างหลังนั้นเราไม่รู้ ) แต่จากบทเรียนและประสบการณ์ที่ผมเห็นคือ บริษัทที่เดิมทำบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ถ้าจะเปลี่ยนไปทำคอนโดฯ ก็จะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นเยอะ ดังนั้น บริษัทไหนที่จะมียอดขายเป้าหมายโต 50-100% จากปัจจุบัน เสี่ยงในการเพิ่มทุนครับ ส่วนจะเพิ่มทุนด้วยวิธีใดและกระทบผู้ถือหุ้นแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทครับ อีกประเด็นหนึ่ง ถ้าบริษัทที่กู้มาเยอะ เช่น d/e ซัก 2 เท่า และเกิดยอดขายและการรับรู้รายได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญซัก 2-3 ไตรมาสติดกัน ก็จะเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องและอาจจะต้องเพิ่มทุนครับ

10.การที่ cpall มีการเช่าพื้นที่ แต่ bigc เป็นที่ดินของตัวเอง ถ้าเข้า model
dcf จะสะท้อนว่า cpall พอหมดสัญญาเช่า ต้อง assume ว่า จะจ่ายค่าเช่า
ต่อไปเท่าไหร่ ถูกต้องไหม และการเช่าไม่มีที่เป็นของตัวเอง cash flow investing
สูงเท่าไหร่ แต่ก็สะท้อนว่าต้องมี cash flow investing มาเรื่อยๆ เมื่อหมดสัญญาเช่า คละๆกันแล้ว น่าจะทำให้ cash flow ของทั้ง cpall และ bigc makro พอฟัดพอเหวี่ยงกัน ไม่ทราบว่าพี่ มีมุมมองอย่างไร

- การจ่ายค่าเช่าของ cpall จะอยู่ในค่าใช้จ่าย sg&a อยู่แล้ว ซึ่งการเช่าตึกแถวของ cpall มักจะจ่ายค่าเช่าคงที่แม้หมดสัญญาก็คงไม่เพิ่มมากเพราะไม่ใช่สัญญาเช่าระยะยาว 30 ปีแบบพวกศูนย์การค้าที่ทำสัญญาเช่าไปเมื่อ 20-30 ปีก่อนที่ค่าของเงินตอนสมัยนั้นต่ำกว่าปัจจุบันมาก

เนื่องจาก cpall ไม่ต้องซื้อที่ดิน หรือสร้างอาคาร ดังนั้น cash flow from investing หรือ capex ของ cpall จะไปหนักเอาส่วนของพวกส่วนตกแต่งร้าน ตู้วางสินค้า ระบบ computer ซึ่งไม่น่าจะมีสัดส่วนมากเมื่อเทียบกับกำไร ซึ่งต่างจากพวก BigC ดังนั้นค่าเสื่อมราคาของ cpall น่าจะเป็นค่าเสื่อมที่ต้องนำมาลงทุนทดแทนจึงไม่ค่อยจะเป็น free cash อย่างค่าเสื่อมอาคารของ BigC Makro

ดังนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบลองดูครับ ว่าอัตราส่วน ค่าเสื่อมราคา / กำไรสุทธิ ของ CPALL BIGC MAKRO CPN MINT เป็นเท่าไหร่ แล้วถ้าได้มาเล่าให้ฟังและวิเคราะห์กันได้นะครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมถามต่อ




http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic



1.พี่ ih ครับ ต่อจากกระทู้ที่แล้วที่พี่ ih บอกว่าให้ลองหา ค่าเสื่อม/กำไรสุทธิของ กล่ม modern trade ดู
ตัวแรก bigc ค่าเสื่อม 2057 กำไร 2502 หารกันได้ 0.82 เท่า cpall งบเดี่ยวนะครับ ค่าเสื่อม 1798 กำไร
2504 หารกันได้ 0.71 ตามที่พี่ ih เคยบอกว่าก่อนหน้านี้ กรณีสองตัวนี้เป็นเพราะ cpall จ่ายค่าเช่า เลยทำให้
มีสินทรัพย์ตัดค่าเสื่อมน้อยกว่า อัตราส่วนนี้ที่สูงกว่า ย่อมดีกว่า ปะครับ
แต่ว่า cash flow from operation ของทั้งสองตัวมีใกล้เคียงกันเลยนะครับ 6000 ล้านกับ 7000 ล้าน
ของ cpall งบเดี่ยว

- ถ้าค่านี้สูง หากั้ง 2ตัวคือ BigC และ CPALL หยุดขยายสาขาทั้งคู่ BigC จะมีเงินสดต่อหุ้นเข้ามามากกว่า เพราะเงินสดคือ net profit + depre แต่หากยังต้องขยายสาขาต่อไป การที่มีค่าเสื่อมสูงๆ เทียบกับกำไร ก็สะท้อนว่าหุ้นตัวนี้การขยายต้องใช้เงินลงทุนมาก แต่ข้อดีของ BigC ก็ยังดีตรงที่ว่าค่าเสื่อมเป็นค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีอายุยาวไม่ต้องลงทุนทดแทนในระยะสั้น และธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนหรือ working cap เป็นบวกซึ่งเป็นผลจากการขายเงินสด ทำให้ BigC พอจะนำเงินค่าเสื่อม + เงิน supplier และเงินกู้บางส่วนมาขยายสาขาใหม่ ทำให้ไม่ต้องใช้เงินกู้มากนัก

1.2มวยคู่ถัดมาบ้าง cpn กับ mint
ค่าเสื่อมของ cpn/กำไร 1246/1783 ได้ 0.7 เท่าน้อยกว่า bigc พอๆกับ cpall เลย
ส่วนของ mint 1295/1610 ได้ 0.80 เท่า โอ้ พอๆกับ bigc
ลูกรักตัวสุดท้าย makro 683/1291 โอ้ต่ำสุดเลยครับ ได้แค่ 0.52 เอง
ผมจะลองหาเหตุผลเท่าที่ผมนึกออกนะครับ
จริงๆแล้วหุ้นไหนที่มี ratio นี้ใกล้เคียงกับ 1เท่าน่าจะดีกว่าเพื่อน เพราะว่า pe ของ modern trade
ควรเอา กำไร+ค่าเสื่อม ฉะนั้นในแง่นี้ bigc สมควรมี pe สูงกว่าเพื่อนแต่ makro สมควรมี pe ต่ำกว่าเพื่อน
แต่ในแง่ของ dcf นั้นค่าเสื่อมที่น้อยน่าจะสะท้อน cash flow investing ที่น้อยกว่าด้วยทำให้ fcf เหนือกว่า
สังเกตได้จาก makro ปันผลมากที่สุดเพราะ fcf น่าจะดีกว่าเพื่อน


- ก็เข้าใจถูกแล้วครับ การมี depre / กำไรต่ำของ Makro สะท้อน 2 อย่างคือ ใช้เงินลงทุนขยายสาขาต่ำกว่าคู่แข่ง และบางสาขาเดิมๆ นั้นในส่วนอุปกรณ์และส่วนตกแต่งตัดค่าเสื่อมจนหมดแล้ว ถ้ามองในแง่ cash flow ใช่ครับ bigc น่าจะมี p/e สูงกว่า makro แต่การที่ makro ปันผลออกมาได้มากกว่า ก็ทำให้ในแง่มุมนี้ makro ควรมี p/e สูงกว่า bigc ทั้ง bigc makro ต่างมีจุดเด่นกว่าคนละอย่างเลยทำให้ท้ายสุดแล้ว p/e จึงสูสีกัน

ส่วน cpn ธุรกิจในแง่การลงทุนในสินทรัพย์ไม่ค่อยต่างกับ mint มากนัก แต่ที่ ratio ของ cpn ต่ำกว่าเพราะว่าสินทรัพย์ที่สร้างกำไรหลักคือ เซ็นทรัล ลาดพร้าว น่าจะตัดค่าเสื่อมเกือบหมดแล้ว

ผิดถูกยังไงท่านอาจารย์โปรดบอกด้วยคร้าบบบ




2.คุณ ih คิดว่า bv มีผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นมากน้อยแค่ไหน เท่าที่ดูแล้วตลาดจะให้มูลค่าหุ้น
ที่ความสามารถการทำกำไรและเงินสดมากกว่า
แต่ผมมีข้อสังเกต 2 อย่างดังนี้
2.1ถ้าหุ้นสองตัวมี bv เท่ากันแต่ตัวนึงมีกำไรสะสม 50% อีกตัว 10% ตัวแรกน่าจะมีคุณภาพสูงกว่า

- คุณภาพคงจะสูงกว่าในแง่ความสามารถในการจ่ายปันผลออกมา แต่การจ่ายปันผลได้มากหรือน้อยปัจจัยหลักคงเป็นเรื่องการมี current ratio มากน้อยเพียงใด

2.2เรื่อง fcf ถ้าหุ้น modern trade ที่ตัดค่าเสื่อมหมดแล้ว bv จะต่ำ เพราะสินทรัพย์น้อยลง ฉะนั้น modern trade bv สูงก็เพราะ หาเงินสดได้โดยที่สินทรัพย์ตรงนั้นหมดไปแล้ว (ไม่รู้มั่วป่าวครับ ช่วยท่วงติงด้วยนะครับถ้ามั่ว)

- ส่วนใหญ่ modern trade จะยังตัดค่าเสื่อมยังไม่ค่อยหมดกันครับเพราะตัวอาคารตัด 25-30 ปี แต่สาขาที่มีในปัจจุบันส่วนใหญ่มีอายุไม่ค่อยจะเกิน 20 ปี แต่อาจจะมีสินทรัพย์บางส่วนที่ตัด 5-10 ปี ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วแต่ยังใช้งานต่อได้ เช่น ชั้นวางสินค้า ส่วนปรับปรุงตกแต่งอาคาร ดังนั้นก็จะมีบางส่วนที่ตัดค่าเสื่อมหมดไปแล้วแต่ยังใช้งานต่อเช่นกัน

กรณีในอนาคตที่ค่าเสื่อมหมดจริงๆ ผลที่ตามมาก็คือถ้า ebitda margin หรือกำไรจากการดำเนินงานหลังหักต้นทุนขายและค่าบริหาร ( กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม ) เท่าเดิม หุ้นเหล่านั้นควรจะมี net margin สูงขึ้นครับ

หุ้นค้าปลีกบางตัวที่ bv สูงเป็นเพราะกลยุทธ์ asset light คือ มีการถือครองสินทรัพย์ต่ำมาก เพราะเน้นการเช่าพื้นที่ ทำให้สินทรัพย์หลักคือ คน brand และระบบต่างๆ ที่วางไว้มายาวนาน จากการที่ผมได้ไปอบรมด้านธุรกิจค้าปลีกมา 2 วัน เห็นว่า retail is detail จริงๆ ครับ รายละเอียดเยอะมากและการทำให้ธุรกิจค้าปลีกมีสาขาจำนวนมากและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและแข็งขันได้นั้นไม่ง่ายเลยครับ ดังนั้น asset หนึ่งที่ไม่มีตัวตัวและไม่อยู่ใน book ก็คือ ทีมผู้บริหารและระบบจัดการครับ ดังนั้นหุ้นค้าปลีกคงจะต้องดูประเด็นนี้นอกเหนือจากเรื่อง bv ด้วยนะครับ3.คุณ ih เชื่อสมมุติฐานว่า prin จะมีรายได้ 4300 ตาม oppday หรือไม่ และคุณ ih คิดว่า ปีนี้
Prin น่าจะมี profit margin สักเท่าไหร่

- ถ้า book รายได้คอนโดฯ ราชปรารภได้ประมาณ 95% ซึ่งต่ำกว่ายอด presale ในปัจจุบันอยู่หน่อย ก็น่าจะรับรู้รายได้ได้เฉพาะคอนโดฯ ราชปรารภประมาณ 1,400 ล้านบาท ส่วนโครงการแนวราบ คือ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตัวหลักๆ ที่จะรับรู้รายได้ปีนี้ก็จะเป็นโครงการใหม่อย่าง โครงการ ถ. สามัคคี พระราม 5 และโครงการเก่าที่พอจะขายได้เรื่อยๆ อย่าง โครงการเพชรเกษม 69 บางบอน 5 หรือ เกษตร- นวมินทร์ รวมไปถึงโครงการร่วมทุนกับ UV ดูแล้วก็น่าจะรับรู้ในส่วนแนวราบได้ไม่น้อยกว่าปีก่อนที่ทำได้ประมาณ 2,500 ล้านบาท ดังนั้นถ้า conservative เลยก็ประมาณ 3,900-4,000 ล้านก็ได้ครับ มากกว่านั้นก็ถือว่าเป็นโบนัสไป

ส่วน profit margin นั้น โครงการที่ร่วมทุนกับ uv จะมี margin ต่ำสุดคือต่ำกว่า 20% ส่วนแนวราบถ้าเป็นโครงการใหม่ๆ ก็จะประมาณ 28-29% แต่ถ้าเก่าๆ หน่อยบางโครงการอาจจะลงมาเหลือ 25% เพราะต้องการให้ขายเร็วขึ้น ส่วนคอนโดฯ ผู้บริหารยังยืนยันประมาณ 35% ดังนั้นเฉลี่ยๆ ของปีนี้ผมคิดว่า gross margin น่าจะอยู่ประมาณ 28-29% ครับ

หากให้ gross margin เฉลี่ยทั้งปีอยู่ประมาณ 28% และเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการขายและบริหารแล้ว prin น่าจะมี net margin ประมาณ 10% หากให้รายได้ 4 พันล้านก็น่าจะมีกำไร 400 ล้านบาท หรือประมาณ 0.38 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นที่ 2.68 ในปัจจุบันที่ลดลงมามากจากต้นปีน่าจะสะท้อนข้อมูลจาก Opp day ที่ว่ารายได้ในไตรมาส1 จะรับรู้ได้เพียง 450 ล้านบาทเนื่องจากลูกค้ารอมาตรการภาษีจึงทำให้การรับรู้รายได้จะไปอยู่ Q2-Q4 เสียมาก และกำไรคงไม่ดีนักเพราะมีค่าใช้จ่ายโฆษณาคอนโดฯ เข้ามาบันทึกใน Q1 ด้วย ดังนั้น หาก Prin สามารถทำกำไรได้ประมาณ 0.38 บาทต่อหุ้น ณ ราคาปัจจุบันก็มี p/e ประมาณ 7 เท่า ซึ่งก็ต่ำกว่ากลุ่มธุรกิจอสังหาฯ ตัวอื่นๆ พอสมควรครับ

4.อัตราการแจก warrant ของ prin ที่ 3 หุ้นสามัญต่อ 1 หุ้น warrant พี่ ih พอจะคำนวณได้ไหมครับว่า
ราคา warrant น่าจะสักประมาณกี่บาทต่อหุ้น

- ปกติแล้วผมก็ต้องใช้ ราคาตลาด ราคาใช้สิทธิ แต่ตอนนี้ราคาใช้สิทธิสูงกว่าราคาตลาด ดังนั้นถ้า warrant ตัวนี้หมดอายุพรุ่งนี้ มูลค่าจะเป็นศูนย์ แต่ warrant ของ prin จะมีอายุ 2 ปีดังนั้นมูลค่าที่มีอยู่คือ time value ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะให้เท่าไหร่ แต่ถ้าคิดแบบ vi มูลค่า warrant ก็น่าจะเป็น ราคาเป้าหมายที่เรามองไว้เมื่อ warrant ใกล้หมดอายุ ลบด้วย ราคาใช้สิทธิครับ5.ผมตั้งข้อสังเกตุอย่างนึงนะพี่ ih
อีตา ธันยาวัช บอกว่า lotyboy เป็นกระแส

เพราะขนมปังแค่มีกลิ่นหอม แล้วตอนแรกๆก็มีคนไปต่อคิวเยอะ
หลังๆ รู้สึกที่สยามก็ปิดไปแล้วหรือไงเนี้ย
แต่ที่ผมงงก็คือทำไม อานตี้แอ๊น ผมว่ามันก็แป้งธรรมดา
เอามาม้วนเล่น คนเยอะตลอดเลย เหมือนไม่เป็นแค่กระแส
ทุกวันนี้ที่ เซ็นทรัลพระราม สอง
ก็คนเยอะ ผมเลยสับสนว่า เอ ตอนแรก อานตี้แอ๊นก็น่าจะเป็นเหมือน
lotyboy นี้นา ทำไมมันยังขายดีอยู่ได้

- หากเคยทานทั้งคู่ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า lotyboy หวาน หอม ทานครั้งแรก จะอร่อย แต่ทานครั้งหลังๆ จะเริ่มเลี่ยน บางทีอาจจะรู้สึกเลยว่าครึ่งชิ้นแรกอร่อย แต่ครึ่งชิ้นหลังกินเพราะเสียดายขี้เกียจทิ้ง ส่วนอานตี้แอ๊น ไม่หวานมากเกินไปนัก และสินค้ามีให้เลือกหลายอย่าง และถ้าถามผม ผมก็ว่ามันก็อร่อยดีนะครับแต่แคลอรี่จะสูงไปหน่อย คงไม่เป็นกระแสมั้งครับเพราะคงไม่มีใครซื้ออานตี้แอ๊น 10-20 กล่องเพื่อไปฝากคนในที่ทำงานหรือที่บ้านเพื่อให้ลองชิมกันแบบ lotyboy

อย่าว่าแต่ lotyboy เลยครับที่กินครั้งหลังๆ แล้วเบื่อ ผมไปกินร้านข้าวแกงหรืออาหารตามสั่ง ก็เห็นเจ้าของร้านหรือลูกจ้างนั่งกินก๋วยเตี๋ยว หรือกินก๋วยเตี๋ยวก็เห็นเจ้าของร้านหรือลูกจ้างกินข้าวแกง แม้ว่าร้านที่ว่านี้จะเป็นอาหารที่คนเรากินได้ทุกวันก็ตาม สำหรับ lotyboy นั้นก่อนเปิดร้านถ้าเจ้าของร้านลองกินทุกวันๆ ละ 2-3 ชิ้น ลองดูว่าจะกินได้ต่อเนื่อง 30-60 วันได้หรือไม่

ดังนั้นกรณีของ loty boy ก็เป็นการตลาดว่าด้วยเรื่องกลิ่น ( เหมือนที่ Starbuck หรือร้านกาแฟทำ ) การสร้างกระแส แม้กระทั่งมีคนตั้งข้อสังเกตว่าการต่อคิวในช่วงแรกๆ เป็นลูกค้าจริงๆ ทั้งหมดหรือไม่ แต่โดยรวมคนที่เข้าคนที่เปิดร้านคนแรกๆ ก็กำไรแต่คนที่เข้าตอนท้ายๆ ก็คงจะขาดทุน

ดังนั้น loty boy อุปมาอุปไมย ก็เหมือนหุ้นเก็งกำไร หุ้นเหล่านี้ขึ้นจริง คนที่ซื้อถ้ากำไรเป็นตัวเงินจริงๆ เอาไปใช้ซื้อของได้แน่นอน แต่คนที่เข้าคนแรกๆ และสามารถผลักดันให้หุ้นขึ้นมาได้ก็จะได้กำไรไปในจำนวนมาก ส่วนคนที่เข้าหลังๆ ก็ได้กำไรลดหลั่นไปและถึงขึ้นขาดทุนน้อยไปถึงขาดทุนจำนวนมาก หรืออาจจะเปรียบเทียบกับการซื้อหุ้นพื้นฐานบางตัวแต่เรารู้ว่ามันดีช้ากว่าคนอื่นและราคาที่เราซื้อนั้นสะท้อนพื้นฐานที่ดีไปมากแล้ว ก็อาจจะได้ผลตอบแทนไม่มากอย่างที่คาดหวังไว้ก็เป็นได้ครับ

ตัวที่ก้ำกึ่งระหว่าง loty กับ อานตี้แอ๊น ก็คือ Cripy cream ( ไม่แน่ใจสะกดถูกรึเปล่า ) ของที่อเมริกา ซึ่งตอนออกใหม่ๆ คนก็ต่อคิวกันยาวมากเหมือนกัน แต่ปัจจุบันก็ยังอยู่ได้แม้ว่าจะไม่ hot เหมือนเดิมก็ตาม

จะว่าไปคล้ายๆ กับเวลาห้างค้าปลีกอย่าง BigC Lotus Makro เปิดใหม่ๆ ในต่างจังหวัดคนวันแรกจะเยอะมาก เพราะทุกคนเห่ออยากมาดูว่าเป็นยังไง มีอะไรขายและมีร้านค้าอะไรบ้าง6.
ขอ discuss เรื่อง bcg model หน่อยนะครับ
ผมเองมองว่าหุ้นที่มีการคาดหวังสูง แม้ธุรกิจจะดี แต่ว่า

ก็มีความเสี่ยงสูงตาม เพราะ พื้นฐานที่ดีของธุรกิจ ก็ price in

ไปแล้ว(reflect in price) ผมเลยคิดงี้ครับ สมมุติว่า ถ้าไปถาม

ใครๆว่า เฮ้ นายว่า ใครเป็น star แล้วทุกคนก็ฟันธงว่า mint (ยกตัวอย่าง)

หน้าที่ของพวกเราก็คือ หา the next of mint ก็คือ ช่อง ? เพราะถ้าพวกเรา

ซื้อ mint เท่ากับว่า เราไม่ต้องทำการบ้านเลย เพราะทุกคนก็รู้

เลยสามารถพูดได้อย่างว่า หุ้นที่ยังเป็น ? นั้น ข้อดีคือ ถ้าเรามีข้อมูลพอจะ

bet มันได้ว่าจะเป็น star จะดีกว่า เหมือนที่เฮีย bet bh ตอนราคาต่ำๆ

- Peter Lynch ให้ระวังหุ้นประเภท The next ไม่ใช่หรือครับ ? ha ha
ตลาดตอนนี้ก็มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งที่สะท้อนพื้นฐานที่ดีของกิจการและผู้บริหารที่มีความสามารถ แต่บางครั้ง ผู้บริหารที่มีความสามารถสูงและมีธรรมาภิบาลที่ดี มักจะทำเรื่องดีๆ กว่าที่เราคาดบ่อยๆ ทำให้หุ้นบางตัวที่ว่าแพงแล้วกลับมีราคาหุ้นขึ้นไปได้อีกเพราะกำไรยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกัน ผู้บริหารที่มีความสามารถน้อยแถมยังขาดธรรมาภิบาล ก็มักจะทำเรื่องแย่ๆ กว่าที่เราคิดประจำ บางทีเราคิดว่าหุ้นได้สะท้อนสิ่งที่แย่ๆ ไปหมดแล้ว แต่กลับมีสิ่งที่แย่เกิดขึ้นเพิ่มอีก หุ้นบางตัวจึงอยู่ในภาวะถูกซ้ำถูกซาก p/bv ต่ำอยู่ตลอด และเป็นกับดักนักลงทุน vi รุ่นใหม่ได้เป็นระยะ

ดังนั้นคงต้องดูเป็นรายตัวครับว่าหุ้นบางตัวที่แพง p/e สูง p/bv สูง แพงเพราะว่าผู้บริหารมีความสามารถสูงและธรรมาภิบาล หรือมีความสามารถกลางๆ แต่ cycle ธุรกิจหรือปัจจัยภายนอกมันเอื้ออำนวย

อย่างเมื่อ 7-8 ปีก่อน มีหุ้นยานยนต์ตัวหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนถึง 7-8 เท่า เป็นผู้ผลิตรถกระบะดัดแปลง และชิ้นส่วนรถยนต์ โดยเหตุผลที่หุ้นปรับขึ้นมาตอนนั้นคือเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ยอดขายรถเติบโตดีขึ้นมาก รวมไปถึงการที่เราเริ่มส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนมากขึ้น แต่ภายหลัง ค่ายรถยนต์หันมาผลิตรถกระบะแบบดัดแปลงเอง เช่น Toyota Fortuner Isuzu MU 7 และมี SUV ออกมาอีกค่อนข้างมาก รวมไปถึงลูกค้าหลักคือ Isuzu ที่ไปรวมกับ GM ทำให้การซื้อวัตถุดิบเป็นแบบ Global sourcing ทำให้บริษัทนี้มีสัดส่วนการขายให้ Isuzu น้อยลง ท้ายสุดราคาหุ้นก็ลดลงจาก peak ที่ 14 บาทเหลือประมาณ 2-3 บาทในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องระวังหุ้นคุณภาพกลางๆ แต่กำไรหรือราคาขึ้นเพราะว่าปัจจัยภายนอกอำนวยด้วยครับหุ้น dog ก็น่าสนใจในแง่ที่ว่า สะท้อนความคาดหวังที่แย่มากๆเอาไว้ ถ้ามีอะไรดีขึ้นนิดเดียวหุ้นก็วิ่งได้เลย

- ก็เป็นไปได้ครับ เพื่อนสนิทผมสมัยเรียนป. ตรี เคยบอกว่า spec ผู้ชายของเค้าคือ ชอบผู้ชายที่ดูเลวๆ ( จริงๆ ใช้คำหนักกว่านี้แต่คงเขียนไม่ได้มั้งครับ ) แต่จริงๆ มีบางอย่างดี ประมาณว่าทำไม่ดี 10 อย่างแต่ดีซัก 1-2 อย่างก็นับว่าเป็นผู้ชายดีตาม spec แล้ว ซึ่งผู้หญิงที่ชอบแนวนี้มีไม่น้อยนะครับ ก็เลยเป็นเหตุให้ผู้ชายบางคนที่ผู้ชายด้วยกันมองว่าไม่น่ามีผู้หญิงคนไหน แต่กลับหาแฟนได้เรื่อยๆ ตบตี แย่งรถกัน ให้เห็นอยู่เป็นประจำ : ) สรุป จริงๆ แล้วมุมมองต่างๆ ของผู้หญิงและผู้ชายต่างกันมาก ดีแต่น่าเบื่อ สู้ดีน้อยหน่อยแต่ชีวิตมีรสชาติไม่ได้มั้งครับ หุ้นก็เหมือนกันครับ หุ้นดี แต่ราคาไม่หวือหวาธุรกิจเค้าใจง่ายไป อาจจะสู้หุ้นหวือหวาเล่นแล้วได้ลุ้นไม่ได้

ตอนนี้เวลาผ่านไปมากกว่า 10 ปีแล้ว เพื่อนคนที่ว่านี้ยังโสด เพราะสิ่งที่เป็น spec เค้านั้นสงสัยจะไม่ค่อยมีมั้งครับ ไม่รู้ว่าไปหาแถวบางขวางอาจจะพอมีบ้างไหม

บางครั้งการเป็นอะไรที่ต้นทุนต่ำ ทำแย่ก็เสมอตัว ทำดีขึ้นมาผู้คนก็ชื่นชม ถ้าอ่านข่าวการเมืองก็มีการยกประเด็นนี้ขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่อง สส. ต้นทุนต่ำ แม้เรื่องดารา ผมแน่ใจเลยว่าดาราละครหลังข่าวที่ตอนเล่นละครใส่เสื้อผ้ามีพื้นที่รวมกันไม่ถึง 1 ตร.ม. และตอนถ่ายนิตยสารใส่เสื้อผ้าเหลือรวมกันประมาณผ้าเช็ดหน้า 2 ผืน ถ้านางเหล่านี้ท้องก่อนแต่งงาน แฟนคลับและสังคมจะพอรับได้และไม่ค่อยประณาม เพราะนางเอกเหล่านี้ก็มีข่าวออกมาเป็นระยะอยู่แล้ว เช่น เปลี่ยนแฟนบ่อย ผู้ชายทะเลาะแย่งกัน แย่งผู้ชายกันหรือช่วยเพื่อนแย่งก็มี ดังนั้นก็ถือว่าดารากลุ่มนี้ manage expectation ได้ดี ซึ่งต่างจาก case ของนางเอกระดับเจ้าหญิงซึ่งความคาดหวังของแฟนคลับนั้นสูงกว่ามาก

แต่ดาราที่ว่านี้ ภาพลักษณ์ที่ออกมาถ้าถามเราคนทั่วไป แม้ว่าจะสวยยังไงแต่ถ้าเราอยากแต่งงานด้วยหรือไม่นั้นคงเป็นคำถามที่เราคงมีคำตอบในใจ แต่คนส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกว่าถ้าคบกัน 3 เดือน 1 ปีอาจจะ ok ดังนั้น อุปมาอุปมัยได้กับหุ้นที่มีความคาดหวังต่ำมั้งครับส่วนใหญ่จะไม่ค่อยจะเป็นหุ้นที่ถือได้ยาวเท่าไหร่ แต่บางตัวก็อาจจะเหมาะกับการลงทุนระยะสั้นถึงกลางได้ครับ

( ขออภัยแฟนคลับดาราด้วยนะครับที่ยกมาเป็น case เข้าใจครับว่าดาราจำนวนไม่น้อยที่นิสัยดีแต่ภาพลักษณ์หรือข่าวอาจจะแย่กว่าตนตัวตนจริงๆ ก็อาจจะคล้ายหุ้นบางตัวครับที่พื้นฐานไม่ได้แย่นักแต่ความรู้สึกนักลงทุนอาจจะแย่กว่าความเป็นจริง หลังๆ ดาราหรือศิลปินดังๆ จึงมีฝ่ายที่ดูแลเรื่องภาพลักษณ์ซึ่งก็เหมือนหุ้นหลายๆ ตัวที่ มี IR )

เลยพูดนอกเรื่อยหน่อยเลย เรื่อง expection นั้นผมคิดว่าเป็นสิ่งผู้ที่ขายสินค้าและบริการจะต้องเรียนรู้และบริหารให้ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น expectation ของ stakeholder ต่างๆ เช่น ลูกค้า พนักงาน ฯลฯ ผมเคยไปทานร้านขนมแห่งหนึ่งแถวซ. อารีย์ กาแฟแก้วละ 70-80 บาท ปาท๋องโก๋ชิ้นละ 8 บาท ขอนมข้นหวานครั้งที่ 2 ต้องเสียเงิน 10 บาท ส่วนน้ำเชื่อมที่เติมในกาแฟนั้นพนักงานขอคืนเอาไปให้โต๊ะอื่นเติมต่อ พนักงานและผู้จัดการมีท่าทีและการพูดจาที่ไม่ค่อยดีนักหลังจากที่ผมสอบถามเรื่องว่าทำไมต้องเสียค่านมข้นหวานเพิ่มด้วยเพราะนมข้นหวานไม่แพงอะไรเลย ( ร้านมีสังขยาให้ครับแต่รสชาติไม่อร่อยเลย ) ผมไปทานร้าน seafood หรือร้านอาหารเวียดนาม ขอน้ำจิ้มเพิ่มก็ไม่เห็นต้องเสียเงิน เราคงทานกุ้งเผา ปูนึ่งเปล่าๆ หรือสุกี้ mk โดยไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้มไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อสังขยาไม่อร่อย ผมจะทานปาท๋องโก๋เปล่าๆ ได้อย่างไร เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าผมจะไม่ไปทานร้านนี้อีกเพราะผมจ่ายกาแฟแก้วละ 80 บาทและปาท๋องโก๋ชิ้นละ 8 บาท ผมไม่คิดว่าจะต้องจ่ายค่านมข้นหวานอีกถ้วยละ 10 บาทแล้วล่ะครับ

ดังนั้นเรื่อง expectation นั้นสำคัญมากโดยเฉพาะหากเราจะทำธุรกิจด้านการบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล ธุรกิจบริการที่จะทำได้ดีจะต้องทำให้เหนือกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง

วันก่อนผมไปกินร้าน ถูกและดี ของ Foodland เค้ามีใบแปะไว้ที่ร้านเป็นข้อเตือนใจพนักงาน ผมถ่ายรูปเก็บไว้ ข้อความมีดังนี้ครับ

จงบริการลูกค้าเกินกว่าที่เขาคาดหวัง
จงให้ในสิ่งที่เขาต้องการและเกินกว่านั้น
เรามีเจ้านายอยู่คนเดียวคือลูกค้า
และเขาสามารถไล่ทุกคนในบริษัทออกได้นับแต่ประธานลงมา
เพียงแต่เขาไปใช้เงินในที่แห่งอื่น

ผมชอบหนังเรื่อง Great Expectation ที่เขียนโดย Charles Dicken และแสดงโดย อีธาน ฮ๊อกส์ ครับ สร้างเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว หนังเรื่องนี้ถูกนำมาสร้างหลายๆ รอบพอๆ กับเรื่อง Oliwer Twist ที่ชอบเรื่อง Great expectation ก็เนื้อหาส่วนหนึ่ง แต่ที่ชอบมากคือชื่อเรื่องครับ รู้สึกคำว่า Great Expectation บอกอะไรเราได้มาก ส่วนเรื่องเนื้อหาก็จะแล้วแต่ว่าแต่ละคนจะตีความอย่างไร ผมเองได้ดูแต่เป็นภาพยนตร์แต่ยังไม่ได้อ่านหนังสือถ้าอ่านหนังสือน่าจะได้แง่มุมได้มากกว่าการดูหนังมากส่วน cash cow นั้นไม่ต้องพูดถึง

ราคาหุ้นเชื่องช้า ไม่ถูกใจวัยรุ่นอย่างพี่ ih

- อ้าว พอร์ตผมก็มีหุ้นประเภทปันผล 8-10% ดูแล้วกำไรในอนาคตไม่ติดลบ แต่อาจจะโตไม่มากนัก ดังนั้น cap gain บวกปันผลอาจจะได้ปีละ 10-20% หุ้นพวกนี้เวลาตลาดลงมากๆ เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและไม่เสียราคานัก ถ้าตลาดไม่ลงก็ถือกินปันผลไปได้เรื่อยๆ สบายใจดี แต่ข้อแม้คือถ้าเห็น trend ว่ากำไรเริ่มจะลดลงก็ต้องขายออกไปเช่นกันครับ แต่หุ้นพวกนี้ผมจะเลือกพวกหุ้นที่ค่อยมีวัฎจักรทางธุรกิจเท่าไหร่ เช่น ทำปลาสเตอร์ยา เป็นต้นผมว่านี้เป็นการเอา bcg model มาถกในมุมของการคาดหวัง

ซึ้งน่าจะช่วยสะท้อน bcg medel ในแง่การลงทุนมากกว่า

มุมเดิมๆ

- พูดถึง bcg ก็ย่อมาจาก Boston consulting growth model ซึ่งเป็นของบริษัทที่ปรึกษา Boston consulting พอพูดถึงบริษัทนี้คนจะนึกถึง model นี้เลย คือ Dog, Question mark ( หรือ problem child ) , Star และ cash cow ผมคิดว่า model นี้ทำให้ Boston consulting ใช้หากินได้ไปเป็นร้อยปีเลย อย่างกรณีของ Michael E Porter คนก็จะนึกถึง five force ดังนั้นบางทีชั่วชีวิตคนเรามีผลงานระดับ masterpiece แค่ชิ้นเดียวก็สบายแล้วครับ ก็คล้ายๆ กับการลงทุนถ้ารอบ 5 ปีเจอหุ้นตีแตก 1-2 ตัวแล้วให้น้ำหนักการลงทุนมากพอก็สร้างความแตกต่างให้กับผลตอบแทนแล้วครับ7.จากข้อที่ผ่านมา พี่ ih มีวิธีในการดูไหมครับว่าหุ้นตัวไหน มี ความคาดวังสูงหรือต่ำ ณราคานั้นๆ เท่าที่ผมคิดออกก็คือการ
ดูใน saa consensus ว่าคาด earining เท่าไหร่แต่ก็ไม่แน่ใจว่าวิธีนี้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน

- ใช้ประสบการณ์จากการอ่านข่าวดารามาช่วยด้วยมั้งครับ ha ha
ความคาดหวัง อาจจะประเมินได้หลายทาง เช่น p/e ที่ตลาดให้เมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน ประมาณการเติบโตของรายได้และกำไรของนักวิเคราะห์ จำนวนคนที่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น อย่างหุ้นบางตัวประชุมผู้ถือหุ้นบางปีไม่มีรายย่อยมาเลย เกณฑ์พนักงานมานั่งฟังประธานอ่านวาระให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ จนบางทีทำให้คิดว่าหน้าที่ของประธานกรรมการบางบริษัทแต่ละปีคือมานั่งอ่านวาระการประชุมให้ฟังหรือเปล่า

8.มีคนพูดติดตลกว่าการซื้อหุ้น cpall น่าจะดีกว่าการซื้อ แฟรนไช เพราะว่าคนที่ซื้อ แฟรนไช ไปคนแรกกำลังขายดีๆ อยู่ๆ ก็มี 7-11 มาเปิดอีกห่างไปไม่มากด้วย คนซื้อ แฟรนไชเสียประโยชน์เพราะมีคนมาช่วยแชร์ส่วนแบ่ง
แต่ 7-11 ได้เพราะว่า ได้ขายแฟรนไช แถมได้ block พื้นที่คู่แข่งไปในตัว คุณ ih มองยังไงครับ

- ผมได้ยินบางคนอาจจะพูดติดตลกร้ายยิ่งกว่ารึเปล่าครับว่าถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เช่น ต้องนำสินค้าของตนเองไปขายในร้าน หรือเข้าไปซื้อของใช้จำเป็นหรืออาหารในร้าน ฯลฯ ก็อย่าไปยุ่งกับกลุ่มนี้ ผมว่าถ้า 7-11 ขาย Lotus ที่จีนสำเร็จ การซื้อหุ้น 7-11 อาจจะดีกว่าเป็นเจ้าของร้านตามที่ว่า แต่ถ้าขายไม่สำเร็จ ผมก็ไม่แน่ใจว่าการซื้อแฟรนไชส์เป็นเจ้าของร้านอาจจะยังดีกว่าก็ได้นะครับ ดังนั้น ทางเลือกที่เหลือที่จะได้ประโยชน์ก็อาจจะลองพิจารณาการเป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ดีไหมครับ

การมีระบบแฟรนไชส์ของ 7-11 เป็นระบบที่ฉลาดมากครับ และประสบความสำเร็จงดงาม เพราะการที่เราจะจ้างผู้จัดการร้านซักคนคงจะต้องจ้างด้วยเงินเดือนมากกว่า 2 หมื่น และคงไม่มีผู้จัดการร้านที่เป็นลูกจ้างคนไหนที่อยากจะรับผิดชอบร้าน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นจะต้อง available ที่จะแก้ปัญหา คนกลุ่มหนึ่งที่ต้อง available 24 ชั่วโมงได้คือ หมอผ่าตัดและหมอสูตินารีแพทย์ แต่คนกลุ่มนี้มีรายได้ 1-5 แสนบาทต่อเดือนครับ ดังนั้นระบบแฟรนไชส์ก็จะ set อยู่แล้วว่าให้เจ้าของร้านมีผลตอบแทนที่เหมาะสมคือ ค่าเช่าตึก ( ถ้าเจ้าของร้านเป็นเจ้าของตึกเอง ) + เงินเดือนผู้จัดการร้าน ( มากกว่าผู้จัดการร้านอยู่หน่อย ) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านที่ทาง 7-11 ควบคุมง่ายด้วยเพราะมีระบบที่ดีที่ทำให้ร้านแฟรนไชส์จะต้องซื้อของจากทาง 7-11 และเมื่อสาขาไหนมีกำไรต่อเดือนมากกว่าเงินเดือนผู้จัดการร้านมากเกินไป 7-11 ก็เปิดสาขาใหม่ทันที ซึ่ง 7-11 ก็ได้สาขาเพิ่ม ยอดขายก็ต้องเพิ่มมาบางส่วนแม้ว่าจะกินกันเองบ้าง แต่คนที่อยากทำธุรกิจอื่นๆ หรือมองว่าอยากเป็นเจ้าของกิจการอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจด้านการบริการในอนาคต การซื้อแฟรนไชส์ ของ 7-11 มาบริหารก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่อาจจะดีกว่าการเรียนภาคทฤษฎีในมหาวิทยาลัยครับ
9.คุณ ih เคยบอกว่าหุ้นหลักทรัพย์บางช่วงมี pe สูงถึง 20 เท่านั้น reasonable เพราะว่า ช่วงที่ได้ volume สูงขึ้นเยอะๆ นั้น หุ้นหลักทรัพย์แถบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเลย แค่ให้ broker แต่ละคนรับ order เยอะขึ้น
หรือไปเช่าพื้นที่ขยายสาขาเพิ่มขึ้น

อยากถามว่ามีหุ้นกลุ่มไหน ตอนสถานการณ์ไหนอีกไหมที่สามารถเพิ่มรายได้สูงๆได้รวดเร็วมากโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

ตอบ

- พวกหุ้นค้าปลีกหรืออาหารประเภท chain restaurant ที่ขยายสาขาโดยการเช่าพื้นที่เป็นหลักครับ

- หุ้นประกันชีวิตที่หลักๆ ก็จ้างพนักงานขาย และตั้งสำนักงานตัวแทนเพิ่ม ( ก็เช่าตึก 2-3 ห้องใช้เงินไม่มาก )

- หุ้น brand name บางตัวที่เน้นทำเฉพาะ R&D และ marketing ส่วนการผลิตจะ outsource เอาหมด หุ้นประเภทนี้เมืองนอกมีเยอะแต่เมืองไทยไม่ค่อยมีครับ

- หุ้นโรงแรมที่เน้นการรับบริหาร เมืองไทยก็ไม่ค่อยมีอีกเช่นกันครับ เมืองนอกก็พวก Accor Marriott ครับ



10.ต่อจากข้อที่แล้ว ทำให้หุ้น oem นั้นไม่สามารถ trade ที่ high pe ได้ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนก้ตาม เพราะว่า oem นั้นรายได้เพิ่มสูงๆ ก็ต้องแลกกับการลงทุนเพิ่มสูงๆตลอดเวลา ไม่ทราบว่าถูกต้องไหม

- ลองเอาหุ้น OEM แต่ละตัวเข้า five force ของ Michael E. Porter ดูสิครับว่ามีปัจจัยอะไรเด่นบ้าง OEM นอกจากจะแข่งกับตัวเอง แข่งกับคู่แข่งแล้ว ยังต้องลุ้นด้วยว่าภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมต้องเติบโตด้วย และต้องลุ้นด้วยว่าลูกค้ารายใหญ่มีสถานภาพการแข่งขันหรือ mkt share ดีหรือแย่ เพราะถ้าลูกค้ารายใหญ่ตกอยู่ในภาวะถดถอยทาง mkt share ก็ทำให้ order ลดลง หรือแย่ที่สุดลูกค้าอาจจะไม่มีเงินจ่ายค่าสินค้าก็เป็นได้

OEM ที่มีเทคโนโลยีสูงหน่อยหรือมีจุดเด่นในการผลิตก็จะอยู่ในสถานะที่ดีกว่า OEM ที่ใช้เทคโนโลยีต่ำและใครๆ ก็เข้ามาทำได้ OEM ที่ไม่มี niche ก็จะต้องถูกบีบจาก supplier อยู่เรื่อยๆ ในเรื่องราคาขาย ดังนั้นสิ่งที่ OEM จะทำได้ดีที่สุดก็คือการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในเรื่องการบริการ การคุมคุณภาพการผลิต การลดต้นทุน และเมื่อต้องการเพิ่มรายได้ก็จะต้องลงทุนในโรงงานเครื่องจักรเพิ่ม แต่มักจะไม่ค่อยได้ประโยชน์จาก economy of scale เท่าไหร่เพราะลูกค้ามักจะฉลาดก็รู้เรื่องนี้จึงมักจะมีเงื่อนไขว่าถ้าจะขายมากขึ้น ก็ต้องลดราคาลง โดยรวมๆ หุ้น OEM นั้นก็เปรียบเหมือนการวิ่งบนสายพานตลอดเวลา คือ ตัวไม่ค่อยไปข้างหน้าแต่ถ้าหยุดวิ่งเมื่อไหร่ก็ถอยหลังไปทันที
11.ท่านอาจารย์ วิศิษฐ์ เคยบอกว่า การเพิ่มทุนนั้นอาจจะผลดีได้ถ้า บ.ล. เอาเงินที่ได้จากการเพิ่มทุน ไปซื้อสินทรัพย์ใหม่ที่ให้ roa สูงกว่า roa เดิม หุ้นตัวนั้นจะ perform ดีมาก

ไม่ทราบว่าพี่ ih มี case study กรณีคล้ายๆอย่างนี้ไหม

- ก็เหมือนกรณีของหุ้น IPO น่ะครับ ถ้าเอาเงินที่ได้ไปลงทุนขยายกิจการน่าจะทำให้กำไรและราคาหุ้นดีกว่าหุ้นที่นำเงินไปคืนหนี้แต่ไม่ได้ขยายอะไร แต่ที่แย่ทีสุดก็คือ ไม่มีหนี้อยู่แล้วแต่ IPO แล้วเอาเงินไปแช่เฉยๆ โดยให้เหตุผลว่ารอโอกาสในการลงทุน เพราะการคืนหนี้ก็ยังดีตรงที่ผลตอบแทนของเงินก้อนนั้นคือประมาณ 7% คือดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงนั่นเองครับ

กรณีของ AH ที่นำเงินเพิ่มทุนแบบ PP ประมาณปี 44-45 ไปซื้อโรงงานผลิต Chassis ของ Isuzu ซึ่งเป็นโรงงานที่มีสัญญากับ Isuzu ตลอดอายุ model D-max โรงงานนี้เดิมเป็นของบริษัทลูกของ GM ( บ. แม่ของ Isuzu ) ที่ชื่อ Dana corp ผลตอบแทนใน 3-4 ปีแรกของเงินลงทุนที่ใช้ซื้อโรงงานดีมากครับจึงทำให้ราคาหุ้น AH ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 เท่านับจากวันที่ประกาศ deal

หลังจากนั้น ปี 48-49 ทาง AH ได้เพิ่มทุนแบบ PP อีกครั้งที่ราคา 32 บาท โดยตอนนั้นยังไม่มี project ที่แน่นอน ซึ่งต่างจากตอนแรกที่มี deal การซื้อกิจการก่อนแล้วค่อยเพิ่มทุน เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนนั้นแช่อยู่ใน AH ซักพักใหญ่ๆ ก่อนที่จะประกาศ deal ควบรวมกับ KPN ซึ่งดูเหมือนว่าการซื้อ KPN ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานั้นมี ROA ที่ต่ำมาก ผลก็คือ ราคาหุ้นลดลงเหลือ 11 บาท ซึ่งก็คงต้องดูกันต่อไปว่า AH จะปรับปรุง ROA ของ KPN ในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด12.อยากให้คุณ ih ช่วยแชร์เกี่ยวกับ ประสบการณ์เล่นหุ้นแบบ turn around หน่อยครับ ว่ามีวิธีการดูอย่างไรบ้าง เก็งยังไง

- อืม ถ้าเล่าไม่รู้จะเล่ายังไงได้ละเอียดนะครับ ช่วงหลังๆ ไม่ค่อยมีหุ้น turn around เท่าไหร่นะครับไม่เหมือน 5-6 ปีก่อน หลักๆ มันมีตัวกรองหลายๆ อย่าง เช่น p/bv p/e สมัย 5-6 ก่อน หุ้น p/e 3-5 เท่าแล้วธุรกิจไม่ขี้เหร่นั้นมีเป็นกระจาดเหมือนกันครับ ตัวกรองอีกตัวที่ได้ผลกว่า bv ก็คือ price / replacement cost ครับ โดยเฉพาะใช้กับหุ้น commodity เพราะถ้าหุ้น trade ต่ำกว่าการสร้าง capacity ใหม่ทั้งบริษัท มักจะเป็นเป้าหมายการถูก take over หรือการที่ราคาหุ้นต่ำกว่า replacement มากๆ ธุรกิจนั้นจะไม่มีการขยาย supply เลยเพราะหุ้นเหล่านั้นจะไม่สามารถเพิ่มทุนได้ เมือ supply ไม่เพิ่ม พอ demand ฟื้น ราคาผลิตภัณฑ์ขึ้นแรง กำไรและราคาหุ้นจะฟื้นตัวแรงมาก ตัวอย่างก็จะเห็นในพวกปิโตรฯ เรือ โรงกลั่น

แต่ระยะ 2-3 ปีหลังหุ้นที่ออกจาก rehab ก็อาจจะเรียกว่าหุ้น turnaround เหมือนกันแต่มันไม่ค่อยน่าซื้อเหมือนช่วง 5-6 ปีก่อน ประมาณว่าอาหารสดดีๆ อยู่ในตู้เย็นหลายๆ ปีมันก็เน่าได้เหมือนกันนะครับ

13.ท่าน อาจารย์นิเวศน์ เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อน Microsoft ในบางช่วงนั้นเคยมี pe สูงถึง 1000 เท่า
แต่คนที่ซื้อตอน pe 1000 กลับได้กำไร หลายร้อยเท่า เพราะคนเหล่านั้นมองว่าในอนาคต Microsoft จะกลายเป็นเจ้าโลก ที่มีคนใช้ทั่วโลกเป็นพันล้านคน ฉะนั้น pe 1000 ก็ถูก คุณ ih มีมุมมองต่อเรื่องนี้ยังไงครับ

- ถ้ามองหุ้นประเภท mega big trend บางทีดู p/e ไม่ได้ครับ ให้ดูเลยว่าหุ้นตัวนี้ในอนาคตจะมีบทบาทต่อชีวิตคนในโลกนี้แค่ไหน ดังนั้นสินค้าที่คาดว่าคนจะใช้ทั่วโลก แต่ถ้าตอนนี้คนยังใช้แค่ 1-2% มันก็มีโอกาสเติบโตได้มาก ดังนั้นคงจะต้องดู mkt cap เลยครับ ถ้าเราคิดว่าหุ้นตัวนั้นๆ จะมีอิทธิพลต่อโลกสูง หุ้นตัวนั้นควรจะมี mkt cap อยู่ใน 1 ใน 50 ของตลาดหุ้นสหรัฐ ดังนั้น mkt cap ของหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะอย่างน้อยเท่ากับหุ้นที่มี mkt cap มากเป็นอันดับที่ 50

14.คุณสุมาอี้เคยบอกว่า แมคโดนัล ได้เปรียบ เบอร์เกอร์คิงเพราะมี สาขาเยอะกว่า ทำให้ เวลาโฆษณา แล้วได้ประโยชน์สูงกว่า ในแง่ จำนวณ โฆษณาต่อสาขา

ถ้าเป็นแบบนี้จริงอีกหน่อย cpall bigc มีสาขาเยอะมากๆ แล้วยังจ่ายค่าโฆษณาเท่าเดิม ก็จะทำให้ sg&a เทียบกับ sale ดีขึ้น ถูกต้องหรือไม่

- ครับ โดยหลักการ ธุรกิจที่ใหญ่กว่ามียอดขาย สาขามากกว่า ก็จะมี fix cost หลายๆ อย่างถูก share และลดลง สิ่งที่ cpall bigc ได้เปรียบจากการมีสาขามากน่าจะเป็นเรื่อง volume การซื้อของจาก supplier ซึ่งมีผลต่อราคาและอำนาจการต่อรอง ค่า shelf ส่วนเรื่องการโฆษณาของห้างค้าปลีกนั้นก็มีผลบ้างแต่คงจะไม่มากเท่า อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการองค์กรใหญ่ก็ยากขึ้นเป็นเงาตามตัวครับ เหมือนขับรถสิบล้อก็คงจะยากกว่าขับรถเก๋ง ถ้าเป็นร้านอาหารที่มีสาขาเยอะๆ นั้นสิ่งที่ต้องทำให้ดีคือการควบคุมคุณภาพครับ เพราะถ้ามีเพียง 1-2 สาขาที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพอาหาร หรือบริการ อาจจะเสียทั้งเครือได้เลยครับ ที่สหรัฐเคยมี case ที่มีเด็กกินแฮมเบอร์เกอร์แล้วเสียชีวิต ถ้าจำไม่ผิดคือ Jack in the box หรือยังไง ท้ายสุดผมไม่แน่ใจว่าร้านในเครือนี้ยังอยู่หรือเปล่า ดังนั้นผมสังเกตว่าร้านอาหารแบบที่ไม่น่าจะขยายสาขาได้มาก แต่เริ่มขยายสาขาและทำได้ค่อนข้างดี เช่น ครัวเจ๊ง้อ ร้านอาหารทะเลแหลมเจริญ เชียงกรีล่า คิทเช่น แสดงว่าเค้าจะต้องมีระบบการจัดการและควบคุมคุณภาพได้ดี ไม่ได้มีจุดเด่นด้านฝีมือการทำอาหารอย่างเดียว
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 3

โพสต์

แล้วผมก็ถามต่อไปอีกว่า

http://www.bbznet.com/scripts3/view.php ... r=numtopic


1.อยากทราบรายละเอียดของคำที่พูด ih เคยพูด คำนั้นก็คือ
Low operating risk can have high financial risk
พี่ ih เคยบอกเบื้องต้นหุ้น high business risk คือหุ้นที่คุมชะตาชีวิตตัวเองไม่ได้ เช่น แบงค์ ส่งออก
ประมูล ของพวกนี้ขึ้นอยู่กับ เงินบาทบ้าง การเมืองบ้าง ส่วน low business risk
ก็เช่น ค้าปลีก โรงพยาบาลซึ้งราคาหุ้นมีปัจจัยที่ตัวบริษัท คุมได้เยอะ

แต่ประเด็นก็คือ1.1 หุ้นอย่างกลุ่มอสังห นั้นเราจะถือว่าเป็น low หรือ high business risk
เพราะว่าลดดอกเบี้ย อสังห คุมไม่ได้ กำลังซื้อก็คุมไม่ได้ และถ้าในกลุ่มอสังห เหมือนกัน หุ้นที่ทำ
คอนโดหมดอย่าง lpn กับ หุ้น อย่าง ps จะถือว่า ตัวไหน high business risk ถ้าดอกเบี้ยลด
กำลังซื้อหด คงกระทบไม่เท่ากัน


ตอบ หุ้นอสังหาฯ ถ้าสร้างเพื่อขายถือว่าเป็น high business risk ครับ เพราะยอดขายต้องนับ 1 ทุกปี แต่ถ้าเป็นอสังหาฯ ที่จับลูกค้าระดับกลางถึงล่าง นั้นถือว่าความเสี่ยงน้อยลงหน่อยตรงที่เป็นบ้านหลังแรก ที่แต่ละปีจะมี real demand ซึ่งเกิดจากความจำเป็นในการแยกครอบครัวออกมา ซึ่งสาเหตุหลักๆ คือการแต่งงาน ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจไม่เลวร้ายระดับปี 41 ตลาดอสังหาฯ จะมี real demand อยู่ประมาณหนึ่งครับ ส่วน LPN และ PS ก็มีกลุ่มเป้าหมายเป็นระดับราคาประมาณ 0.7 2.0 ล้านบาท ซึ่งก็นับว่าเป็นบ้านหลังแรก ดังนั้นความเสี่ยงอาจจะไม่สูงนักครับ แต่ LPN จะเสี่ยงกว่าอยู่ตรงที่ LPN นั้นลูกค้าทุกคนต้องโอนตอนสร้างเสร็จทั้งโครงการ การเปิดโครงการจะไม่สามารถทยอยเปิดเป็นเฟสได้เหมือน PS ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจไม่ดี PS จะปรับตัวด้วยการชะลอการเปิดโครงการได้ดีกว่าในขณะที่ LPN ถ้าเปิดขายโครงการไปแล้วก็ต้องลุยเดินหน้าต่อแล้วต้องไปลุ้นว่าตอนสร้างเสร็จแล้วลูกค้าจะมาโอนหรือไม่ ซึ่งตั้งแต่ขายถึงโอน LPN จะใช้เวลาประมาณ 0.6-1.5 ปี แต่ของ PS จะใช้เวลาน้อยกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน


1.2 หุ้นอย่าง hmpro นั้นเราถือว่าเป็น Low operating risk can have high financial risk
หรือไม่เพราะว่า ธุรกิจเก็บเงินสด ไม่อิงประจัยภายนอกเกินไป แต่มี d/e ที่สูง แต่อีกมุมนึงบางคน
ก็บอกว่า hmpro กับ it ถือว่าคุมชะตาตัวเองไม่ค่อยได้นะครับ เพราะเศรษฐกิจไม่ดีพวกนี้ ปีที่แล้ว
Sss ติดลบเลย ถ้าเทียบกับพวก cpall makro จะบอกว่า hmpro it เป็น Low operating risk
ดีหรือไม่

- หุ้น HMPRO ถ้าเทียบกับค้าปลีกด้วยกันก็ถือว่ามี business risk สูงกว่า และสูงกว่า IT เพราะสินค้า IT นั้นบางส่วนเป็นการซื้อเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่าในเชิงธุรกิจและการดำเนินชีวิต ดังนั้นแม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่การซื้อสินค้า IT เพื่อสำนักงานเช่น คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ ยังต้องคงอยู่ หรือแม้การใช้ในบ้านเพื่อการทำงานหรือการศึกษาก็ทำได้แค่ชะลอการซื้อไปซักพักหนึ่งเท่านั้น อย่างถ้าเศรษฐกิจไม่ดี มีคนตกงาน การหางานใหม่เดี๋ยวนี้ก็ต้อง search ทาง internet ซึ่งคอมพิวเตอร์ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ส่วนสินค้าแบบ hmpro น่าจะชะลอการซื้อได้ยาวนานกว่า IT

หากมอง operating risk ครอบคลุมตั้งแต่ความสม่ำเสมอของยอดขายและโครงสร้างการหมุนของเงินทุนหมุนเวียน HMPRO จะเสี่ยงในแง่ความผันผวนของยอดขาย แต่จะไม่เสี่ยงในแง่การรับเงินจากลูกค้าเพราะรับเป็นเงินสด ดังนั้น HMPRO น่าจะจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลางหรือ moderate operating risk ครับ แต่ถ้ามีธุรกิจไหนที่ขายสินค้าแบบ HMPRO ทุกอย่างแต่ขายลูกค้าเป็นเงินเชื่อแล้วก็จะกลายเป็น high operating risk ทันที เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีจะมีปัญหาทั้งเรื่องยอดขายที่ลดลงและลูกหนี้ที่ตามเก็บไม่ได้

2.คำว่า right for the wrong reason ที่พี่ ih เคยบอกนั้น ถ้าสมมุติว่าพี่รู้ว่า หุ้นเกษตรจะดี
แต่ไม่สามารถ คำนวณราคาที่เหมาะสม ได้ ก็จะถือว่า การซื้อเป็น wrong reason ทันทีเลยหรือ
ถ้าเรารู้ว่า kaset จะได้รับผลดี แต่ว่า ราคายังไม่ตอบรับอะไรเลย แต่เราไม่สามารถ คำนวณได้ว่า
Kaset จะมีรายได้โตเท่าไหร่ รู้แต่ว่าได้รับผลดี อย่างนี้จะถือว่า เป็น vi หรือไม่ ครับ


- กรณีนี้เราต้องมีข้อมูลที่เชื่อมั่นได้ว่าหุ้น KASET น่าจะได้ผลประโยชน์จากกรณีนีชัดเจนที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าไปซื้อหุ้น Kaset เพียงแค่เห็นว่าราคาข้าวสูงขึ้นเท่านั้นผมคิดว่าข้อมูลที่เรามียังไม่พอครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเค้าไปรับ order ส่งออกล่วงหน้าที่ราคาต่ำไว้หรือเปล่า ผมยกตัวอย่างช่วงหนึ่งที่ราคายางปรับเพิ่มขึ้นมาก แรกๆ หุ้น STA Trubb ก็กำไรดีมาก ไปๆ มาๆ บางไตรมาสขาดทุนเฉยเลย แม้ว่าไตรมาสนั้นราคายางยังดีก็ตาม ดังนั้นผมคิดว่าหุ้นที่เป็นลักษณะซื้อมาขายไปของสินค้า commodity การเกษตรนั้นคงจะดูแค่ราคาสินค้าไม่ได้เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าเค้าไปทำสัญญาล่วงหน้าอะไรไว้บ้าง

4.หุ้น bh ที่ราคาแถว 32-33 ผมก็มองๆอยู่เหมือนกัน มีประเด็นเกี่ยวกับหุ้นตัวนี้อยากเรียนถามดังนี้
ปีที่แล้วมีกำไรจากการขาย โกเบิล แคร์ โซลุชั่นให้ Microsoft ประมาร 839 และบันทึกขาดทุนจาก
การด้อยค่า H 2000 370 ล้าน กำไรปีที่แล้วจึงควรจะเป็น net income -839+370 คือ 1136
ปัจจุบัน market cap 23000 ล้านที่ แต่ยังมีหุ้นกู้แปลงสภาพเกิด dulute อีก 24% เป็น 902 หุ้น
Pe ก็ 25 เท่า คิดยังไงๆ ก็ไม่น่าจะถูก


4.1 คุณ ih คิดว่า ราคาตรงนี้มองว่ายังแพง อยู่ไหม แล้วถ้าเทียบกับตึกใหม่ที่จะเปิดในเดือน เมย นี้ pe
ระดับนี้ถูกไหม

- ถ้าเทียบกับ growth ในระยะ 2-3 ปีนี้ที่ดูเหมือน growth จะเหลือเพียง 10-15% ต่อปีก็คิดว่าคงไม่ค่อยถูกมากนัก แต่ถ้ามองยาวๆ ว่าธุรกิจโรงพยาบาลจะโตได้ในระดับ 10-20 ปีจากนี้อย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะเริ่มน่าสนใจ ดังนั้นถูกหรือแพงคงต้องดูว่าเรามีหุ้นตัวอื่นๆ ที่น่าสนใจในช่วง 2-3 ปีจากนี้ไปมากกว่า BH หรือเปล่า ส่วน p/e 25 เท่าถ้าถามกองทุนต่างประเทศเค้าก็ว่าไม่ถูกไม่แพงเพราะ p/e หุ้น รพ. ในภูมิภาคอย่าง Parkway Raffle ก็สูงกว่าหรือสูงประมาณนี้ครับ ส่วนตึกใหม่ของ BH นั้นปัญหาคงอยู่ที่จำนวนลูกค้าต่างชาติในช่วง 1-2 ปีนี้เพิ่มน้อยกว่าที่เค้าคาดไว้พอสมควรจึงทำให้ utilization rate ของตึกใหม่ยังไม่ค่อยมากและความจำเป็นที่จะต้องรีบย้าย facility จากตึกเก่าไปตึกใหม่เลยยังไม่ต้องรีบเร่งมากนัก

4.2คุณ ih มองเกี่ยวกับ บริษัทที่ต่างประเทศของ bh เช่น bh ดูไบ และศุนย์โรคไต รีนับ แคร์ ฮ่องกง
ว่า จะสามารถ ช่วยสร้าง growth ให้ bh ได้มากน้อยแค่ไหน

- เรื่องศูนย์ไตผมเองไม่มีข้อมูลเลยครับ แต่สาขาที่ดูไบ ผมยังมองไม่ออก ถ้ามองในแง่ดีก็เป็นการไปหาลูกค้าถึงที่ และน่าจะสร้างฐานลูกค้ามากขึ้น แต่ถ้ามองในแง่ลบก็คือ มันอาจจะลดจำนวนและความจำเป็นที่ลูกค้าจะต้องบินมารักษาเมืองไทย ซึ่งตรงนี้ BH อาจจะเสียประโยชน์เพราะ BH ถือหุ้นใน BH ดูไบไม่ถึง 50% ดังนั้นผลประโยชน์ที่ BH ได้รับจากลูกค้า 1 คนที่มารักษาที่ BH ดูไบจะน้อยกว่าการบินมารักษาเมืองไทย

4.3เข้าใจว่า bh คิดค่ายาถูกกว่า bgh พี่ ih คิดว่า มีโอกาสที่ bh จะปรับราคายาขึ้นไหม

- ในทางกลับกัน BGH มีโอกาสปรับค่ายาลงไหมเพราะคิดแพงเหลือเกิน !!! ถ้าดูช่วงนี้ที่จำนวนผู้ป่วยของ BH เริ่มโตน้อยลง BH คงคิดมากขึ้นถ้าจะปรับราคาขึ้นครับเพราะตอนนี้หลายๆ รพ. เอกชนในกรุงเทพฯ ก็เริ่มที่จะแข่งกันเรื่องลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น เว้นเสียว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้งครับ



4.4คุณ ih สอนทริกเกี่ยวกับการดูหุ้นค้าปลีก จะต้องใช้ net income + ค่าเสื่อม (ใช้ค่าเสื่อมสัก50%)
ที่เหลือเผื่อลงทุนซ้ำ อยากทราบว่า หุ้นอย่าง bh เราจะมี จุดสังเกตการณ์ดู pe อย่างไร นอกจากเรื่อง
Brand name ที่มีสูง ถ้าเทียบกับ makro bigc กลุ่มค้าปลีกหรือกลุ่มโรงบาล(เฉพาะ bh ) ควรมี pe สูงกว่า
ผมว่า bh อาจจะด้อยกว่าเรื่องค่าเสื่อมที่ต้องลงทุนซ้ำ แต่เรื่อง brand ที่สูงกว่ามากนั้น ไม่รู้ว่าจะคำนวณได้ไงว่า
ควรจะมี pe สูงกว่า ค้าปลีกหรือป่าว

- p/e จะสูงหรือต่ำกว่าสำหรับหุ้น BH กับค้าปลีกคงจะต้องดู growth ในระยะยาวๆ ครับ ตอนนี้ p/e ของ BH สูงกว่าแสดงว่าตลาดน่าจะกำลังมองว่า health care cost / GDP ของประเทศไทยและของโลกในระยะยาวน่าจะเพิ่มขึ้นได้อีกพอสมควร ในขณะที่สินค้าของ bigc makro นั้นเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งจะโตตาม GDP แต่เป็น % ของ GDP อาจจะไม่ค่อยเพิ่ม แต่สิ่งที่ bigc makro นั้นเติบโตอยู่นั้นคือการเพิ่ม mkt share คือการกินส่วนแบ่งมาจาก traditional trade

.ใช่ครับ ถ้ามองประเด็น net income + ค่าเสื่อมนั้น ค้าปลีกจะดีกว่า รพ. เพราะค่าเสื่อมของหุ้น รพ. นั้นเป็นรายการเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์เสียเยอะซึ่งเป็นส่วนที่ต้องซื้อซ้ำทดแทนของเดิมที่ล้าสมัย

5.ps มียอดขาย town house เพิ่ม 44% บ้านเดี่ยว 96% คุณ ih คิดว่าราคาที่ 12 บาท
เทียบกับยอด presale ไตรมาสแรก มองว่าราคาตอบรับ over เกินไปไหม
5.2การที่ ps ทำยอด presale บ้านเดี่ยวสูงขึ้นได้ขนาดนี้จะเป็นสัญญาณว่าบ้านเดี่ยวฟื้นใช่ไหม
คุณ ih คิดว่ามีหุ้นตัวไหนที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นของบ้านเดี่ยวมากที่สุด ใช่ lh ไหม

- คิดว่าตลาดรวมส่วนหนึ่งน่าจะฟื้น แต่ที่สำคัญผมคิดว่า PS น่าจะแย่ง mkt share จากคู่แข่งมาได้เหมือนกัน ช่วงหลังผมไม่ค่อยเห็นบ้านจัดสรรของโครงการผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์มากเท่าปี 46 หรือเท่าก่อนวิกฤติ ล่าสุดผมอ่านหนังสือพิมพ์ก็พบว่า KK ที่เดิมเคยเน้นปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ รายย่อย ก็จะลดสัดส่วนธุรกิจนี้ลงเพราะเห็นว่ามีความเสี่ยงสูง ตอนนี้ผมคิดว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการมากขึ้นครับ ส่วน LH ก็ควรจะได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของตลาดรวมแต่อาจจะน้อยกว่าอสังหาฯ รายอื่นๆ เพราะผมสังเกตว่าโครงการของ LH ช่วงหลังทำเลไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ

5.3ตัวผมเองไม่ซื้อ ps เพราะว่าคิดว่าปีนี้ eps 0.8 pe ไม่น่าจะเกิน 12.5เท่า ไม่เกิน 10 บาทก็เลยรอๆๆ
แล้วมันก็ไปเลย พี่ ih ครับ การเล่นหุ้น property เนี้ย key หลักเราจะต้องคาด presale ให้ออกเหรอครับ
ผมยังสับสนว่าจะดูจากอะไรดี

- หุ้น prop ช่วงตลาดไม่ดีก็ให้ p/e 7-8 เท่า แต่พอตลาดเริ่มดีบางทีเคยขึ้นไปถึง 15-20 เท่า ดังนั้นผมคิดว่าถ้าจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้คงจะต้องอ่าน trend ของตลาดด้วยเหมือนกันว่าในปีนั้นๆ นักลงทุนสถาบันมองหุ้นอสังหาฯ เป็นอย่างไร

6.spali มี gross margin สูงที่สุดในอุตสาหกรรม คุณ ih คิดว่าเกิดจากอะไรครับ
6.1ใช่มีต้นทุนที่ดินเก่าราคาถูกไหม หรือว่า เพราะไม่เน้น asset turnover เลยขายแบบแพงๆ ให้ได้ margin ไว้ก่อน

- เหตุผลที่ว่ามาก็น่าจะมีส่วนครับ จะเห็นว่า spali ดีหลายๆ อย่างแต่ข้อเสียคือ inventory turnover ต่ำ แสดงว่าอาจจะไม่กล้าเอาบ้านในโครงการที่ขายไม่ดีมาลดราคา ทำให้บางส่วนที่ขายไม่ดีค้างในสต๊อก ผมเห็นโครงการ คาซ่า ริว่า คอนโดฯ ตรงเจริญกรุง ริมแม่น้ำยังขายอยู่เลยทั้งๆ ที่เปิดขายมา 4 ปีแล้วไม่ทราบว่าทำไมขายไม่หมดเหมือนกัน

6.2ผมดูๆแล้ว back log ปี 07 คือ 12003 ปี 06 8651 เพิ่มขึ้นเกือบๆ 40% แต่ราคาหุ้น 11/4/08 3.74 นั้นก็แทบไม่ตอบรับ back log ที่เพิ่มเลย ราคาย้อนหลังไป 1 ปีก็แถวๆนี้เลย ยังนี้หมายความว่า เป็นหุ้นถูกได้ไหมครับ

- Back log เยอะขนาดนั้นเลยหรือครับ ได้ตัวเลขนี้มาจากไหนครับจะได้ลองไปดูด้วย

6.3สาเหตุที่ spali ยังมี pe ถูกตลอด ถ้าเทียบกับ ap lh ps ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะ balance sheet ที่ไม่
Strong หรือว่า biz model กันแน่

- ผมก็งงครับ และก็เชื่อว่าหลายๆ คนก็อาจจะงงเหมือนผม และหากไปดูบทวิเคราะห์ของ broker ใหญ่ๆ ก็ไม่ค่อยมีพูดถึง spali ด้วย ส่วนหนึ่งเท่าที่สังเกตคือเรื่องกิจกรรม IR เช่นการจัด analyst meeting อาจจะทำได้ไม่ดีเท่า AP LH PS และการให้ข้อมูลนักวิเคราะห์และนักลงทุนดูเหมือนจะทำได้ไม่ดีเท่า และจากที่ผมเคยได้ไปคุยกับผู้บริหารทั้ง LH AP PS LPN SPALI รู้สึกว่าผู้บริหาร spali จะพูดเก่งน้อยที่สุดครับซึ่งตรงนี้ก็มีผลเพราะนักลงทุนสถาบันเค้าก็ชอบผู้บริหารที่พูดฟังแล้วประทับใจแบบน้ำหูน้ำตาไหลกลับไปซื้อหุ้นแทบไม่ทัน

อีกส่วนหนึ่งที่คนจะพูดถึงกันมากคือเรื่อง warrant ที่จะออกมากไปหน่อย และอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่อง gross margin ที่สูงจนคนมองว่า too good to be true และส่งสัยว่าด้านบัญชีมีอะไรที่เราไม่รู้หรือเปล่า แต่ความเห็นผมส่วนตัวผมไปดูโครงการของ spali ก็รู้สึกไม่ค่อยประทับใจในคุณภาพการก่อสร้างและแบบบ้านเท่าไหร่ แต่ที่เห็นเป็นจุดเด่นก็คือหลายๆ โครงการเค้าก็เลือกทำเลได้ดีครับ
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

และผมก็ตามเพิ่มไปอีกว่า

1.คุณ ih พอจะรู้ไหมครับว่าทำไม หุ้นรับเหมา ขนาดใหญ่ถึงมี pe สูงมาก itd ck
นักลงทุนคาดหวังอะไรในบริษัทพวกนี้เหรอครับ ถ้าได้โครการใหญ่ๆ พื้นฐานจะเปลี่ยนเลยหรือครับ

- ก็อาจจะคาดหวังโครงการใหญ่ๆ อยู่เหมือนกันมั้งครับ อย่างโครงการรถไฟฟ้าก็ได้คาดหวังกันมาตั้งแต่ปี 45-46 แล้ว แต่บางทีโครงการใหญ่ๆ ที่ได้มานั้นก็มีความเสี่ยงจากราคาวัสดุก่อสร้างและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงค่าปรับกรณีส่งมอบงานช้าอยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างกรณี stecon กับโครงการ airport link ซึ่งเสร็จช้ากว่ากำหนดและน่าจะต้องเจอกับต้นทุนการก่อสร้างที่แพงขึ้นมาก โดยรวมผมคิดว่าหุ้นรับเหมาคงไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวรับเงินปันผล แต่คงเหมาะกับการลงทุน style หนึ่ง และเป็นการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่สนใจเรื่องข่าวการประมูลงานซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้นมากกว่ากำไรหรือเงินปันผลที่ได้รับ

2.หุ้น ที่ขึ้นมาเป็น 10 เท่า( ยกเว้นเรือ ) ถ้าเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน ก็คือ banpu ptt ผมสังเกตว่า 2 บริษัทที่ว่านี้มีกลยุทธ์ที่เหมือนกัน ก็คือ การไปซื้อกิจการที่แย่สุดๆแล้ว กำลังจะฟื้น เช่น
Banpu ไปซื้อเหมืองที่อินโด ตอนราคาถ่านหิน แค่ 20 เหรียญ และไปซื้อ atc ตอนราคาต่ำๆ
หรือ ptt ก็ซื้อ top atc ตอนราคา floor มากๆ พอเลยมีคำถามดังนี้ครับ
2.1หุ้นที่ market cap จะขึ้นได้เป็น 10 เท่า ในเวลา4-5 ปีนั้น คงจะไม่สามารถทำได้ด้วยกำไรของตัวเอง
เท่านั้น ก็เลยใช้วิธี ซื้อกิจการที่กำลังจะ turn around เป็นการเพิ่มมูลค่าให้หุ้นตัวเอง ไปด้วย บวกกลับกำไร
ของตัวเองที่เพิ่ม ก็เลยได้สองเด้ง พี่ ih เห็นด้วยไหม

- เห็นด้วยครับ การเติบโตของกำไรมาได้หลักๆ จาก

1 ตลาดรวมโตขึ้น
2 market share เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการขยายตลาดด้วยตัวเองหรือไป take over คู่แข่งมา
3 margin ดีขึ้น
ดังนั้นหุ้นที่จะเพิ่มขึ้นได้ 5-10 เท่าส่วนใหญ่น่าจะต้องมีการเติบโตของกำไรมาจากหลายๆ ทาง

2.2ในรอบ 1-2 ปีนี้มีหุ้นที่ไปซื้อกิจการแย่ๆ อยู่ไหมครับ หรือว่าตอนนี้ใครๆ ก็ turn around หมดแล้ว
เลยไม่มีใครทำแบบนี้ได้

- ล่าสุดก็กรณี SCC ไปซื้อ TGCI ครับ สำหรับกรณีนี้ผมเองก็ยังประเมินไม่ได้ว่าเป็นการซื้อที่ดีหรือไม่ แต่ประเมินได้อย่างเดียวว่าเป็นการซื้อที่ใจถึงทีเดียวเพราะ TGCI มีหนี้เยอะและมี non-performing asset เยอะทีเดียวครับ

ก่อนหน้านี้ก็มี major ไปซื้อ TRAF ครับ กรณีนี้ผมเองไม่ทราบจะให้ความเห็นอย่างไรเหมือนกัน

2.3การที่ mint เริ่มไป take ร้านอาหาร ต่างประเทศ มากขึ้น คุณ ih มองว่าก็เป็นกรณี คล้ายๆกับที่
Ptt banpu ทำไหมครับ ก็คือซื้อธุรกิจที่กำลังจะเป็นขาขึ้น

- ถ้าจะให้มั่นใจผมต้องเดินทางไปประเทศที่ MINT เข้าไปซื้อกิจการ คือ ออสเตรเลียและสิงคโปร์และลองใช้บริการร้านอาหารที่ MINT เข้าไปซื้อดูครับ แต่ตอนนี้ผมยังไม่มีโอกาสได้เดินทางไป 2 ประเทศดังกล่าว คล้ายๆ กับว่าถ้าผมจะถือหุ้น 7-11 ผมอาจจะต้องหาโอกาสเดินทางไปเมืองจีนเพื่อเปรียบเทียบระหว่าง Walmart Carrefour และ Lotus ว่า Lotus ที่จีนนั้นมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพื่อประเมินว่าทางกลุ่ม CP มีแรงจูงใจมากแค่ไหนที่จะซื้อกลับไปบริหารเอง และกรณีของ MINT ต่างกับ PTT Banpu ก็คือร้านอาหารที่ mint ไปซื้อน่าจะเป็นร้านที่ไปได้ดีพอประมาณและมีกำไรอยู่แล้ว ไม่ได้ไปซื้อกิจการที่มีปัญหามา ดังนั้นอนาคตคงขึ้นกับว่าหลัง MINT เข้าไปซื้อแล้วจะทำให้ร้านเหล่านี้มีการเติบโตของรายได้และกำไรอย่างไรครับ และคงต้องดูว่าสภาพการแข่งขันของธุรกิจอาหารของประเทศเหล่านี้เป็นอย่างไรด้วยครับ

3.เรื่องการเกิดฟองสบู่แตกของตลาดหุ้นน่ะครับ คือ อย่างตอนดัชนี 1700 นั้น หุ้นตัวใหญ่ๆ อย่างปูนซีเมนส์
ทีพีไอ สมัยก่อนมี d/e เยอะๆ ใช่ไหมครับ แต่เดี่ยวนี้หุ้น blue ship บ้านเรา d/e ค่อนข้างต่ำ ทำให้ไม่น่าเกิดวิกฤติ และอีกอย่างตอนดัชนี 1700 pe ตลาดก็ 30 เท่า ฉะนั้นถ้าจะดู bubble ตลาดหุ้น ดูจาก pe กับ de ก็พอแล้วปะครับ

- จะว่าไปวิกฤติก็มีหลายแบบครับ นอกเหนือจากวิกฤติทางเศรษฐกิจก็อาจจะมีวิกฤติอื่นๆ ได้ เช่น วิกฤติการเมือง สงคราม โรคระบาด ภัยธรรมชาติ โรคร้อนฯลฯ ตอนปี 40 เราเจอวิกฤติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการที่ตลาดหุ้นจะลดลงมากๆ ก็อาจจะเกิดจากวิกฤติอื่นๆ ซึ่งก่อนหุ้นลงมากๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องก่อตัวเป็นฟองสบู่ก่อนก็ได้ครับ ดังนั้นยังไงเราเองก็ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและจัดการลงทุนให้มีการกระจายและบริหารความเสี่ยงที่ดี รวมไปถึงพยายามใช้ชีวิตและวางตนให้มีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงต่อวิกฤติในอนาคต เช่น ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่จำเป็น ช่วยเหลือสังคม การศึกษา การรักษาพยาบาลในรูปแบบต่างๆ ตอนนี้ผมคิดว่าสังคมโลกและสังคมไทยจะใช้วิธีต่างคนต่างอยู่ไม่เบียดเบียนใครไม่พอแล้วล่ะครับ ต้องพยายามช่วยเหลือสังคมด้วยครับเพราะปัจจัยคุกคามโลกและประเทศไทยมันมาได้จากรอบด้านทีเดียว

เรื่องฟองสบู่นั้น ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ยังห่างไกลจากฟองสบู่ ก่อนวิกฤติ ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารคือ 15% ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ( ตอนนั้นตลาดยังไม่ค่อยใหญ่ ) น่าจะประมาณ 10-12% แต่หุ้นมี p/e 30 เท่า การที่ p/e 30 เท่านั้น คิดเป็น earning yield ( E/P หรือส่วนกลับของ p/e ) = 1/30 3.3% ดังนั้นการซื้อหุ้นให้ yield 3.3% แต่ต้นทุนเงินทุนคือดอกเบี้ยคือ 15% ดังนั้น earning yield spread ซึ่งคือ e/p ลบด้วยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ติดลบไปกว่า 10% หุ้นแทบทุกตัวแม้ว่าจะปันผล 100% ของกำไรก็ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินฝากธนาคาร ดังนั้นคนซื้อหุ้นหวังได้อย่างเดียวคือ growth ถ้าหยุด growth เมื่อไหร่เสร็จเมื่อนั้น

มาดูปัจจุบัน ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลคือ 4.5% แต่ p/e หุ้นในตลาดเฉลี่ยประมาณ 15 เท่า ดังนั้น earning yield หรือ E/P คือ 1/15 = 6/6% ซึ่ง earning yield spread เป็นบวกประมาณ 2% ดังนั้นหมายความว่า ผลตอบแทนของหุ้นในตลาดสูงกว่าต้นทุนเงินทุน ( ดอกเบี้ย ) แสดงว่าตอนนี้หุ้นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นที่มีปันผลค่อนข้างดี ยังให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่าเงินฝากธนาคาร
ข้างบนจะเห็นว่า ที่หุ้นนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร หรือโดยเปรียบเทียบหุ้นยังไม่แพงนัก เพราะตอนนี้ดอกเบี้ยในท้องตลาดอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในรอบหลายๆ ปี ซึ่งเป็นผลจากดอกเบี้ย FED นั้นอยู่ที่ 2% ดังนั้นถ้ามีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ FED fund rate เพิ่มเป็น 5% หรือกระทั่ง 10% ดอกเบี้ยประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นจะขึ้นตามไป 10% ถึงตอนนั้นหุ้นไทย p/e 15 เท่าก็ถือว่าแพงทันทีครับ เพราะ e/p ที่ 6.6% จะต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ 10% ไปแล้ว ดังนั้นในระยะยาวๆ การลงทุนในหุ้นอย่าชะล่าใจว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำแบบนี้ไปตลอดครับ





4.คุณ ih ครับ กระทู้ที่คุณ ih พูดถึง gc คุณ ih บอกว่า ถ้า gc เน้นเพิ่มมาร์จินก็จะไม่ทำให้กระแสเงินสดติดลบมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเน้นเพิ่มยอดขายเงินสดน่าจะแย่ลงเพราะว่า การเพิ่ม sale ต้องเพิ่ม ยอดขายเยอะ
เราสามารถพูดได้ไหมครับว่าถ้าหุ้นที่ workingcap ต่อ sale ยิ่งเยอะเท่าไหร่ กลยุทธ์ที่ถูกต้องคือการ หาสินค้าเพิ่ม margin มากกว่า เพิ่ม sale แต่ถ้า workingcap ต่อ sale น้อยๆ หรือ ติดลบ ไปเลยเช่นค้าปลีก เราควรเน้นเพิ่มยอดขายมากกว่าเน้นเพิ่ม margin เพราะเงินสดจะได้เยอะกว่า ถูกต้องไหมครับ

- การเพิ่มประเภทสินค้าที่สามารถทำให้ margin เพิ่มได้ก็เป็นกลยุทธ์ที่ดี ล่าสุด HMPRO แม้จะมี same store sale ลดลงมา 2 ปีแล้วแต่ก็ยังมี margin เพิ่มขึ้นได้จากการปรับปรุงกระบวนการจัดหาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จัดหามาขายเอง บริษัทจดทะเบียนที่ดี ผู้บริหารและกรรมการควรมองรอบทิศครับ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย margin กำไร กระแสเงินสด เพื่อกำหนดกลยุทธ์ บางทีไปเน้นยอดขายมากไป แต่ margin และกระแสเงินสดแย่ลงก็ไม่ดีครับ

หุ้นที่ working cap ต่อ sale เยอะๆ ทางที่จะช่วยได้มากคือต้องลด inventory day และ account receivable day ลงให้มาก โดยเฉพาะเรื่อง inventory day เพราะเป็นปัจจัยภายในที่พอบริหารเองได้มากกว่าครับ
5.เคยอ่านเจอมีการประเมินมูลค่าหุ้นบางกลุ่มโดยใช้ ev เป็นตัวตั้งหารด้วยรายละเอียดตามอุตสาหกรรมต่างๆเช่น cable tv ใช้ eb/number of subscribers = value per subsubcriber
Air line .ใช้ ev/annual passenger miles = value per passenger mile
ค้าปลีก ev/store

คุณ ih คิดว่าการประเมินมูลค่าหุ้นแบบนี้ สามารถสะท้อนมุมมองอะไรเพิ่มเติมจากวิธีเดิมๆอย่าง pe pbv ครับ

- EV = Market cap + debt ครับ ดังนั้น EV จะสะท้อนหนี้สินของบริษัทด้วย เพื่อเป็นการปรับบริษัทที่มีหนี้และไม่มีหนี้ให้อยู่ในตัวเทียบวัดเดียวกัน เช่น ธุรกิจหนึ่งใช้เงินลงทุน 1 แสนล้าน บริษัท A ใช้ d / e 2 เท่า บริษัท B ใช้ 1 เท่า ถ้าหลายๆ อย่างใกล้เคียงกันบริษัท B น่าจะมี mkt cap สูงกกว่า เพราะหนี้น้อยกว่าดอกเบี้ยจ่ายน้อยกว่า กำไรน่าจะมากกว่า ดังนั้นถ้าเทียบ p/e หรือ mkt cap / sale หรือ mkt cap / subscriber นั้น บริษัท B จะแพงกว่า A ทั้งๆ ที่บริษัท B ก็มีเหตุผลที่จะแพงกว่า ดังนั้นการใช้ EV จึงเป็นการปรับการใช้หนี้ที่ต่างกัน

อีกอย่าง บางทีที่เราใช้ EV เผื่อการเข้าซื้อกิจการด้วยเพราะถ้าบริษัทเราจะซื้อกิจการใดๆ ก็จะต้องรับผิดชอบภาระหนี้ของบริษัทนั้นด้วย

ประเด็นสุดท้าย ในแง่นักลงทุน การดู EV ก็เป็นการคำนึงถึงหนี้ของบริษัทด้วย การซื้อหุ้นที่มีหนี้มากๆ ผลก็คือปันผลต่ำเพราะต้องนำเงินไปคืนเงินต้นให้ได้พอสมควรก่อนครับ

6.ผมอ่านเจอว่า lpn มี key of success คือ ไม่สะสมที่ดินเพื่อเก็งกำไร และจะสร้างจำนวนยูนิต
ครั้งละเยอะๆ เพื่อต่อรองกับ supply เพื่อลดต้นทุนก่อสร้าง และสร้าง blue ocean เก่ง
ส่วน ps หนี้น้อย สร้างเร็ว เป็นเจ้าตลาดกระแสเงินสดดี

อยากถามพี่ ih ว่า ผมเช็กราคาหุ้นกลุ่มอสังห ตัวที่มี pbv มากกว่า 3 เท่า ก็มี ps lpn ap lh
ผมเองไม่รู้ว่า คุณภาพของ ap เป็นยังไงถึงมี pbv สูงขนาดนี้ด้วย พี่ ih ช่วยสรุป key of success ของ ap สั้นๆให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

- การที่ p/bv สูง แสดงว่า ROE ต้องสูง การที่ ROE สูงก็มาจากการจัด capital structure ที่เหมาะสม ( ไม่กู้มากไป และไม่ใช่ว่าไม่กู้เลย ) และที่สำคัญคือ ROA ต้องสูง ดังนั้น ROA สูงหลักๆ ต้องมาจาก inventory turnover เร็ว และ net margin สูงพอ ธุรกิจอสังหาฯ เป็นลักษณะเงินต่อเงิน ดังนั้น inventory turnover เป็นเรื่องสำคัญที่จะปล่อยให้เงินส่วนใหญ่ไปจมกับบางโครงการใหญ่ๆ ไม่ได้ การที่ inventory turnover เร็วก็ต้องมาจากการที่เลือกทำเล ออกแบบ ตั้งราคาเหมาะสมที่ทำให้แต่ละโครงการที่เปิดใหม่นั้นมียอดขายหมดได้เร็ว และการบริหารการก่อสร้างต้องทำได้ดีเพื่อให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาที่เร็วกว่าคู่แข่ง เช่น ถ้าทำคอนโดฯ 30 ชั้น ต้องสร้างเสร็จและขายหมดภายในไม่เกิน 2 ปี และถ้าได้ 1.5 ปีก็จะยิ่งดีมาก หรือถ้าคอนโดฯ low rise ก็ต้องภายใน 1 ถึง 1.5 ปี ถ้าเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ควรขายให้หมดภายใน 2 ปีนับจากเปิดโครงการ ลองสังเกตโครงการที่มี p/bv ต่ำดูนะครับ โครงการส่วนใหญ่ของเค้าเปิดมาแล้ว 5 ปี หรือ 10 ปีบางทียังขายไม่หมด

7.โดยส่วนตัวผมค่อนข้างสนใจ oishi เพราะชอบคุณตัน แต่ติดตรงประเด็นว่าผมไม่รุ้ว่าเมื่อไหร่จะออก product โดนๆอีก ผมเลยอยากคุยกับพี่ ih เรื่องตัว product ของ oishi หน่อยน่ะครับ
รู้ว่าว่าน้ำส้ม เซกิ เนี้ย ออกมาแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ การออก promotion เอาฝา oishi ไปดูหนังได้ก็ไม่โดน
ล่าสุดเรื่องไปเที่ยวญี่ปุ่นกับคุณตัน ไม่แน่ใจว่า success แค่ไหน แต่ก็ชอบตรงที่เราติดตามได้ง่ายดี
ก็เลยจะขอถามพี่ ih ว่า คิดยังไงกับสินค้าใหม่อย่าง coffio ที่ขาย 25 บาทในปริมาณ 230 มล คิดว่าได้ผลดีแค่ไหน และการที่เริ่มออก product ไม่ต้องกับของเดิมคือ ร้านอาหาร หรือชาเขียว พี่ ih มองยังไง

- สินค้าใหม่ๆ ถ้าไม่โดน ก็มี limit loss คือ ค่าโฆษณาช่วงออกสินค้า ถ้าขาดทุนติดต่อกันนานๆ ก็ยกเลิกสินค้าหรือลดการผลิตลงได้ แต่ถ้าสำเร็จเมื่อไหร่ upside ก็เปิดกว้างทันทีและสามารถเก็บเกี่ยวกินยาวได้ ยกตัวอย่างก็เหมือนสินค้าชาเขียวนั่นเอง ถ้าเป็นไปได้ Oishi คงอยากออกแคมเปญฝาละล้านอีกแต่ติดที่ทางการมีกฎห้ามไว้ จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นชิงโชคแทน ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคหลังๆ ไม่ชอบการชิงโชคเพราะเสียเวลาและขี้เกียจรอ จึงชอบโชคซึ่งๆ หน้ามากกว่า ดังนั้นสมัยที่เป็นฝาละ 1 ล้านจึงเหมือนการซื้อล็อตเตอรี่ราคา 20 บาท รู้ผลทันทีแถมยังได้กินชาเขียวฟรีปลอบใจถ้าไม่ถูกรางวัลอีก กลยุทธ์ดังกล่าวจึงประสบความสำเร็จอย่างมาก

ส่วนสินค้าใหม่คือ coffio นั้นผมได้ทานประมาณ 10 ขวดแล้ว ข้อดีคือเวลาซื้อทานในรถนั้นไม่ต้องกลัวมันหกเหมือนเวลาซื้อกาแฟกระป๋องหรือกาแฟเป็นแก้วๆ เพราะแบบขวดมีฝาปิดมิดชิด รสชาตคงแล้วแต่คนจะชอบ สำหรับผมๆ คิดว่ามันก็อร่อยกว่ากาแฟกระป๋องระดับหนึ่งและน่าจะอนามัยกว่าเพราะกาแฟกระป๋องบางทีมักจะมีคราบๆ ตรงฝาเปิดเวลาทานแล้วอาจจะต้องไปล้างน้ำก่อน เท่าที่ถามพนักงาน 7-11 ก็เห็นว่าขายดีพอใช้ได้ แต่ในระยะยาวๆ ที่ผมไม่มั่นใจคือ ราคาขายที่ 25 บาทนั้นจะสูงไปหรือไม่ และเป็นราคาที่ไม่น่าจะเจาะตลาด mass เท่าไหร่นัก กาแฟต่างจากชาเขียวตรงที่ชาเขียวเจาะตลาดวัยรุ่น แต่กาแฟจะเจาะตลาด mass กว่าคือจะเจาะตลาดกลุ่มคนขับรถ นักเดินทาง ซึ่งมากกว่าครึ่งของคนขับรถต่างจังหวัดเป็นการขับรถเป็นอาชีพ ( ไม่ใช่เดินทางท่องเที่ยว ) จึงมีรายได้ไม่มากนัก แต่ก็ไม่แน่ครับผมเพิ่งทราบมาว่าคนขับรถ 10 ล้อเดี๋ยวนี้เค้าทานซุปไก่แบรนด์กันแล้ว แก้ง่วง และแก้ง่วงได้นานกว่าการทานกาแฟกระป๋องหรือเครื่องดื่มชูกำลัง บางที coffio อาจจะต้องขึ้นไปแข่งกับแบรนด์กันก็ได้นะครับ

8.คุณ ih คราวที่แล้ว ยก case study ของ ah เรื่องการไปสิน asset ใหม่ที่ roa สูงแล้ว
คราวนี้อยากทราบว่ามีกรณี เพิ่มทุนแล้วเอาเงินไปใช้หนี้ แต่ eps เพิ่มขึ้นเพราะ ลดดอกเบี้ยจ่ายได้มากกว่า
Eps ที่สูงขึ้นไหม ไม่แน่ใจว่าอย่าง irpc จะใช่หรือป่าว

- EPS อาจจะไม่สูงขึ้นมากหรือลดลงนะครับ เพราะการเพิ่มทุนแสดงว่าจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ตัวหารก็ต้องเพิ่มครับ แต่การเพิ่มทุนไปคืนหนี้ ที่แน่ๆ คือ ROE ลงแน่ครับสำหรับหุ้นที่มี ROE ค่อนข้างสูง เช่นถ้า ROE ประมาณ 20% แล้วเพิ่มทุนไปคืนหนี้ที่ดอกเบี้ยจ่าย 7% ก็เท่ากับว่าผลตอบแทนของเงินทุนส่วนที่เพิ่มก็เท่ากับดอกเบี้ยที่ลดลง นั่นคือ 7% ของเงิน ถ้า ROE เดิมคือ 20% ผลตอบแทนของเงินเพิ่มทุนใหม่ คือ 7% ดังนั้นเฉลี่ยแล้ว ROE จะลดลงครับ
9. จากกระทู้ที่แล้วที่เคยถามเรื่อง หุ้น turn around นั้นสามารถสรุปได้ว่า หุ้น ที่จะ turn นั้น
Price/ Replacement cost จะต้องถูกเพราะไม่มีผู้สร้างใหม่ถูกปะครับ สรุปว่า sign ที่เราจะดูก็คือ
ถ้าหุ้นในอุตสาหกรรมนั้นๆ หลายตัวต่ำกว่า replacement cost แถมไม่มีข่าวการสร้างโรงงานใหม่
แสดงว่า downside ของหุ้นก็จะน้อยเพราว่า ยังไงก็ไม่มี supply เข้ามา ส่วนถ้า demand เข้ามา
กว่าจะสร้างโรงงานเสร็จพอก็อาจใช้เวลาเป็นปี แสดงว่าหุ้นพวกนี้ ยังไงถ้า demand เข้ามาเราก็ร้องเพลงรอได้เลย เพราะว่ากว่าคุ่แข่งจะเข้ามาได้ (สร้างโรงงาน) ก็ตั้งนานอยู่แล้ว พี่ ih ช่วยให้ความเห็นหน่อยครับ

- น่าจะตามนั้นครับ ยกเว้นธุรกิจที่มันกำลังถูกทดแทนโดยสินค้าใหม่ๆ เช่น โรงงานผลิต TV จอ CRT หรือเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในประเทศที่สูญเสียความสามารถการแข่งขัน เช่น สิ่งทอในไทย อย่างโรงงานทอผ้าที่ใช้เครื่องปั่นแบบกระสวยในไทยที่อยู่ในตลาดหุ้นคงจะต่ำกว่า replacement cost มากและไม่มี supply ใหม่ แต่ก็คงแทบไม่มีโอกาส turnaround ครับ อุตสาหกรรมที่เป็น commodity บางตัวผมก็เห็นว่าไม่รู้จะ turn ได้รึเปล่า อย่างหุ้น tuntex ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะธุรกิจไม่ดีหรือมีปัญหาเรื่องการจัดการ หรือทั้งสองอย่าง

10.การ replacement cost ผมเคยอ่านเจอว่า ของ hmpro จะใช้ มูลค่า leasing ระยะยาวทุกสาขารวมกัน
ลบหนี้ หารเป็นจำนวณหุ้น อยากทราบว่าถ้าจะคิด replacement cost ของ tpipl หรือ irpc จะคำรวณประมาณไหน สังเกตว่าตอนนี้ tpipl ดูจาก market cap แล้วรู้สึกว่าถูก

- TPIPL กับ IRPC คงจะหา replacement cost ลำบากโดยเฉพาะตัวของ IRPC เพราะธุรกิจมีหลายอย่าง แต่หากดูด้วยตาเปล่า จาก mkt cap เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตของธุรกิจหลักๆ นั้นก็เห็นว่าน่าจะต่ำกว่า replacement cost มากพอสมควร สำหรับ IRPC ก็น่าจะมีโอกาสที่จะปรับปรุงการดำเนินงานได้เรื่อยๆ ในอนาคต แต่สำหรับ TPIPL คุณ hong ก็พอจะทราบเหมือนที่ผมทราบว่าปัญหาของหุ้นนี้คืออะไรและการคิด replacement cost ไปก็อาจจะเปล่าประโยชน์ครับ

11.คราวที่แล้วเคยคุยเรื่อง lotiboy ไป คราวนี้ขอคุยเรื่อง swenzen กับ baskin robins บ้างนะครับ
ผมเคยเข้าไปกินทั้งสองที่ ปรากฏว่าผมชอบ baskin robins เพราะเนื้อมันเข้มข้นกว่า และละลายช้ากว่า
แต่น่าแปลก รู้สึกว่า baskin robins จะขายไม่ดีจนกระทั่งต้องมา มี promotion ซื้อหนึงแถมหนึ่งตั้ง 31 ครั้ง
คุณ ih ดูแล้วทำไม swenzen (mint) ถึงภาษีเหนือกว่าล่ะครับ

- คนไทยไม่ค่อยถูกปากกับไอศกรีมที่มีสัดส่วนของนมสูงอย่าง Baskin ครับ แต่จะถูกปากกับ Swensen มากกว่า ซึ่งหลังๆ ทั้งสองยี่ห้อก็น่าจะมีกลุ่มลูกค้าแตกต่างกัน แรกๆ ตอนทำการตลาด Baskin จะแพงกว่า Swensen ในระดับหนึ่งโดยเฉพาะการสั่งจำนวนหลายๆ ลูกซึ่ง Swensen มี menu ที่ดึงคนระดับ mass ได้ด้วย menu Earthquake ซึ่งคิดเฉลี่ยต่อลูกแล้วเพียง 10 กว่าบาท ( สมัยก่อนนะครับ ) ส่วนด้านการบริการนั้น Swensen ทำได้ดีกว่าอยู่หน่อยแต่หลังๆ Baskin ก็ปรับปรุงมาได้ดี ตอนนี้หากไปเทียบราคาก็เห็นว่าราคา Swensen ก็ไม่ได้ถูกกว่า Baskin มากแล้วแต่ถึงปัจจุบัน Swensen ก็ยึดหัวหาดไปยังห้างใหญ่ๆ และห้างค้าปลีกได้มากแล้วซึ่ง Baskin ก็คงแทรกเข้าไปแข่งลำบากครับ

หลายๆ สินค้าที่ประเทศไทยมี mkt share ที่ต่างจากต่างประเทศ เช่น ที่เมืองนอก Mcdonald จะมียอดขายสูงกว่า KFC แต่เมืองไทย KFC ดีกว่า Mc เยอะ เพราะคนไทยคุ้นกับการทานไก่มากกว่าทานเนื้อ หรือกรณีของเบนซ์กับ BMW โค้กกับเป๊ปซี่ ฯลo
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 5

โพสต์

และก็ยังมีอีกว่า

1.เคยได้ยินมาว่าจอสโซรอส นั้นแปลกตรงที่เวลาลงทุนนั้นเขามักจะผิดมากกว่าถูก
แต่ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงได้กำไรเยอะขนาดนี้ คุณ ih พอทราบไหมครับ

- การลงทุนโดยเฉพาะการซื้อหรือที่เรียกว่า long position นั้น ถ้ากำไรจะกำไรได้ไม่มีขีดจำกัด เช่น สามารถกำไรได้ถึง 10-100 เท่า หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ 1000-10000% แต่กรณีการขาดทุนขาดทุนได้แค่เงินลงทุนที่ลงทุนไป คือ 100% ดังนั้นการซื้อหุ้นหรือ long position นั้น upside นั้นเปิดกว้างแต่ downside ปิด

ส่วนของโซรอส ผมคิดว่าก็เป็นไปได้ว่าเค้าอาจจะผิดมากกว่าถูก แต่ครั้งที่ผิดเค้าก็น่าจะมี limit loss คือ จำกัดความเสียหายไว้ประมาณหนึ่ง และไม่มีการผิดวินัยที่เข้าไปเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนที่ผิดพลาดเพื่อหวังว่าต้นทุนเฉลี่ยจะต่ำลงแน่นอน และกรณีที่การลงทุนมีแนวโน้มที่จะได้ผลตอบแทนสูงด้วยความน่าจะเป็นที่สูง โซรอสก็น่าจะให้น้ำหนักการลงทุนสูงและเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเมื่อเห็นแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ

ผมฟังรายการวิทยุ เห็นนักลงทุนบ้านเราถือ PTTAR กันจำนวนไม่น้อย และเมื่อหุ้นลงมา 35 32 30 ก็ตามซื้อเพิ่มเพื่อเฉลี่ยต้นทุนให้ต่ำลง โดยที่จริงๆ ผมไม่แน่ใจว่าได้วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและแนวโน้มธุรกิจละเอียดหรือไม่ การซื้อเฉลี่ยเพียงเพื่อให้ต้นทุนลดลงแต่ไม่ได้มีความมั่นใจหรือผ่านการศึกษามาอย่างละเอียดนั้นก็น่าจะส่งผลให้แม้ว่านักลงทุนถูกมากกว่าผิด แต่การลงทุนที่ผิดบางครั้งก็ลบล้างการลงทุนที่ถูกหลายๆ ครั้งได้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่หน้าใหม่หรือไม่ได้ศึกษาดีพอ เวลากำไร ก็กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็รีบขาย แต่เวลาซื้อแล้วหุ้นลงมักจะถือยาว มิหนำซ้ำยังซื้อเพิ่มเข้ามาอีก เค้ามีหลักว่า cut loss, let profit run แต่ผมเห็นหลายคนยึดหลัก cut profit, loss let it run กันอยู่มากครับ




2.เรื่องตลาด future คุณ ih คิดว่าเป็นการลงทุนหรือการเก็งกำไรครับ สมัยก่อน
ใครๆก็มองว่าหุ้นเป็นการพนัน ไม่เหมือนตอนนี้ คุณ ihคิดว่าเป็นไปได้ไหมครับว่า
อีกหน่อย พอมีการให้ความรู้ในวงกว้าง คนก็จะมองว่า future คือการลงทุน

- ผมมองตลาด future เป็นการลงทุนยังไม่ค่อยไหวอยู่ดีครับ แต่สามารถใช้ในกรณี hedging หรือประกันความเสี่ยงได้ เช่น หากเราเลือกหุ้น 3 ตัวที่เรามั่นใจว่าพื้นฐานดีมาก มีการเติบโตสูง ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่เราก็กลัวปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเมือง ฯลฯ ซึ่งมีโอกาสที่ทำให้หุ้นลงหนักได้ แต่ยังไงเราก็เชื่อว่าหุ้นที่เราถือนั้นน่าจะลงน้อยกว่าตลาดเช่นกัน ถ้าเป็นเช่นนี้คือ เรากลัวเรื่องการเมืองมากแต่ก็มั่นใจในหุ้นที่เราเลือกมาก แทนที่เราจะขายหุ้นดีๆ ทิ้งเพราะกลัวการเมือง เราก็ไม่ต้องขาย ถือต่อ แต่มา short future แทน ถ้ามีเหตุการณ์ร้ายจริง หุ้นที่เราถือก็ลงมาบ้างแต่เราก็ไปได้กำไรจากการ short future ซึ่งถ้าหุ้นที่เราถือนั้นลงน้อยกว่าตลาด เราก็จะมีส่วนต่างตรงนี้อยู่ แต่ในทางกลับกัน ถ้าตลาดขึ้น แม้ว่าหุ้นเราจะขึ้น แต่เราก็ไปขาดทุนจาก future ด้วย ดังนั้นต้องเข้าใจว่าการประกันความเสี่ยงนั้นต้องมีทั้งได้เงินและเสียเงิน โอกาสที่ได้ทั้ง 2ทางก็มีแต่โอกาสไม่มาก เช่น หุ้นที่เรามีขึ้นแต่ตลาดรวมลง ก็คล้ายๆ กับการทำประกันรถหรือชีวิตนะครับ ถ้าเราจะได้ประโยชน์จากบริษัทประกันก็ต่อเมื่อเราต้องขับรถไปชนหรือเข้า รพ.

แม้หลักการประกันความเสี่ยงนั้นก็ดูดี แต่ในการลงทุนจริง ผมก็ยังไม่ได้ใช้ future ในการประกันความเสี่ยงครับ เหตุผลก็คือ ผมไม่ชอบขาดทุนครับ แม้ว่าเป็นการขาดทุนขาหนึ่งและอีกขาหนึ่งจะกำไรก็ตาม เพราะแม้ตลาดจะลงเละเทะแต่ผมเชื่อว่าหุ้นที่ผมถือก็จ่ายปันผลเท่าเดิมหรือลดลงไม่มาก ดังนั้นสิ่งที่ลดเป็นแค่ราคาที่ตลาดจะให้แต่กระแสเงินสดที่ผมจะได้รับจากการถือหุ้นก็เท่าเดิม ถ้าไม่สบายใจกับภาวะตลาดจริงๆ ผมก็จะเลือกที่จะถือเงินสดเพิ่มขึ้นโดยขายหุ้นที่ค่อนข้าง sensitive กับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกไปบ้าง หรือไปถือหุ้นที่ผลประกอบการไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศเลย
3.คุณ ih มีความเห็นยังไงกับหุ้น ifec ผม screen คร่าวๆแล้วเป็นหุ้นที่ pe ต่ำแต่ จุดอ่อนอยู่ที่เป็น
ผู้นแทนจ่ำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสารนั้นหมายถึง asset ที่ใช้หากินหลักๆ ไม่ใช้ของตัวเอง และมีประเด็น
ไปลงทุนในร้านอาหารในเมืองจีนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เลยอยากถามพี่ ih ว่าณ ราคาแถวนี้ ifec ราคาถือว่า
Reasonable หรือยังครับ

- ผมไม่ได้ศึกษาเลยครับ แต่ถ้าใช้ข้อมูลจากที่คุณ hong ถามมานั้น การที่เรามองว่าธุรกิจนั้นๆ มีความเสี่ยงอยู่สูง ก็แสดงว่า p/e ที่เราควรจะให้ก็คงจะต้องต่ำในระดับหนึ่ง และคงจะต้องศึกษาปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะกระทบต่อกำไรในอนาคตให้ละเอียดและมากพอครับ ส่วนการลงทุนในร้านอาหารก็เป็นเรื่องที่แตกต่างจากธุรกิจเดิมอย่างสิ้นเชิงนะครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำได้ไม่ดี เพียงแต่ว่าเราจะมีกระบวนการที่ทราบได้อย่างไรว่ามันจะดีหรือไม่ดี อย่างน้อยอาจจะต้องลองถามผู้บริหารดูครับ และหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมเช่น อย่างน้อยลอง search ใน google ดูครับ ว่ามีการพูดถึงกันบ้างหรือไม่อย่างไรบ้าง

ผมให้ข้อคิดว่า ถ้าเราคิดว่าหุ้นที่เราซื้อมีความเสี่ยงที่เรายากที่จะรู้ล่วงหน้าหรือควบคุมไม่ได้ แม้ว่าราคาที่เราซื้อมาจะถูก แต่ต้องประเมิน style การลงทุนเราด้วยว่าเราชอบแบบนี้หรือไม่ บางคนซื้อหุ้นแบบนี้มาแล้วนอนหลับสบายใจรับความเสี่ยงได้ ตรงนี้ผมว่าก็ไม่น่าจะเป็นไร แต่ถ้าซื้อแล้วกังวล คิดซ้ำแล้วซ้ำอีก นอนไม่หลับ แม้จะกำไรก็อาจจะไม่คุ้มกับความกังวลนะครับ หรือถ้าไม่ชัวร์จึงซื้อน้อย เวลาขึ้นกำไรเป็น % ก็มากแต่มีผลต่อพอร์ตน้อย กลายเป็นว่าหุ้นที่ซื้อนั้นขึ้นแต่ไม่รู้ควรจะดีใจหรือเสียใจดี มานั่งคิดต่ออีกว่ารู้งี้ซื้อมากกว่านี้ก็ดีเป็นงั้นไป ดังนั้นซื้อหุ้นที่เราถือแล้วกินอิ่มแล้วนอนหลับนั้นดีที่สุดครับ แต่หุ้นที่ถือแล้วกินอิ่มนอนหลับสำหรับแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกันครับเพราะแล้วแต่ความถนัด ความรู้ในธุรกิจต่าง การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่แต่ละคนมีครับ แต่ที่แน่ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการกินอิ่มนอนหลับก็คือการเข้าใจในธุรกิจและบริษัทที่เราลงทุนอย่างถ่องแท้ครับ ซึ่งถ้าเราซื้อหุ้นตามคนอื่นโดยไม่ศึกษานั้นโอกาสที่จะกินอิ่มนอนหลับอาจจะไม่เต็มที่ อย่างบางทีหุ้นที่ผมแนะนำพรรคพวกไปบางวันก็ขึ้นไปมาก บางวันก็ลงไปมาก วันเช่นนี้ผมต้องรับโทรศัพท์เพื่อตอบคำถามว่าหุ้นขึ้นเพราะอะไร ลงเพราะอะไร ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบยากและยากที่จะตอบมาก บางทีอยากจะตอบแค่ว่า ที่ขึ้นมากนั้นเพราแรงซื้อ aggressive กว่าแรงขาย เวลาลงมากก็เพราะแรงขาย aggressive กว่า บางทีตอบได้แค่นั้นจริงๆ แต่อย่าเผลอไปตอบแบบที่เคยได้ยินในรายการวิทยุว่า ที่หุ้นขึ้นเพราะแรงซื้อมากกว่าแรงขายแล้วกันครับ เพราะหุ้นทุกตัว order ซื้อกับขายต้อง match กันดังนั้นมันต้องเท่ากันครับ ถ้าไม่มีคนขายให้แล้วคนซื้อจะซื้ออะไรในทางกลับกันถ้ามีแต่คนขายไม่มีคนซื้อก็ไม่ได้ครับ
4.ไม่ทราบว่า npv กับdcf ต่างกันอย่างไร

- ตามความเข้าใจของผมน่าจะเหมือนกันนะครับ ก็คือการประมาณการกระแสเงินสดอิสระ ( Free cash flow ) ในอนาคต และปรับ ( discount ) ให้มาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( present value ) ครับ NPV มักจะใช้บ่อยในการคิดหามูลค่าการลงทุนต่างๆ ที่ไม่ใช่หุ้น แต่ DCF มักจะเป็นชื่อที่ใช้ในการหามูลค่าหุ้น โดยรวมก็คือตัวเดียวกันครับ



5.irr กับ wacc ต่างกันไหมครับ เท่าที่รู้ irr คือ % ที่ทำให้ npv เท่ากับ 0

- ใช่ครับ irr คือ % discount rate ที่ทำให้ npv เท่ากับ 0
ส่วน wacc คือ % discount rate ที่เราใช้หา NPV หรือ IRR ครับ

ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคาเท่ากับ NPV ก็หมายความว่าเราจะได้ผลตอบแทนเท่ากับ discount rate ที่เราใช้หรือเท่ากับ % WACC นั่นเองครับ ถ้าซื้อต่ำกว่า NPV หมายความว่าผลตอบแทนจะมากกว่า % WACC ครับ




6.เคยได้ยินมาว่าธุรกิจไฟฟ้าเมื่อก่อนมี irr มากกว่า 10% แต่เดี่ยวนี้ไม่เกิน 10% อยากทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด

- ยุคแรกที่มีการประมูลโรงไฟฟ้าตั้งแต่ EGCO RATCH BLCP นั้นเป็นครั้งแรกๆ ของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือ IPP ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยช่วงนั้นอยู่ที่ 10% บวกลบ ผลตอบแทนหรือ IRR จึงต้องมากกว่าดอกเบี้ย แต่ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 2-3% ดังนั้นผลตอบแทนของโรงไฟฟ้าปัจจุบันจึงลดลงตาม อีกอย่างหนึ่งคือ หลังจากที่การดำเนินงานของ EGCO RATCH ผ่านไปได้ด้วยดี และรัฐบาลก็ปฎิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด ทำให้นักลงทุนต่างชาติจึงให้ความสนใจในการเข้าประมูลรอบใหม่มากขึ้น หากเปรียบเทียบ IPP ของไทยกับโรงไฟฟ้าในจีนจะเห็นว่า คนที่ลงทุนในโรงไฟฟ้าในจีนเจอปัญหามากกว่าเพราะการจีนมีการแทรกแซงมากกว่า และมีข้อจำกัดในการปรับราคาค่าไฟฟ้าตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น

7.ผมเคยได้ยินนักลงทุนท่านนึงถาม อาจารย์ นิเวศว่า อาจารญื พ่อแม่ของหนูตกนรก (ซื้อหุ้นช่วงวิกฤติและหมดตัวหลังวิกฤติ) ทำไมอาจารย์ถึงไม่ตกนรกบ้างล่ะค่ะ ด.ร.นิเวศน์บอกว่าผมไม่ตกนรกเพราะว่าผมเกิดจากนรก
(ซื้อหลังจากที่ดัชนีลงจาก 1700 เหลือ 800)ผมเลยอยากถามว่าถ้า pe ตลาด 30 เท่าแล้วคุณ ih จะลงทุนในหุ้น 100% ไหมครับ หรือว่าเลิกเล่นหุ้นไปเลย หรือถือเงินสดครึ่งนึง เผื่อว่าจะได้เกิดจากนรกแหมือนอาจารย์นิเวศน์

- p/e ตลาด 30 เท่า คือ p/e เฉลี่ย ดังนั้นแม้หุ้นส่วนใหญ่จะแพง แต่อาจจะมีหุ้นบางตัวที่ไม่แพงนัก แต่ถ้าผมหาหุ้นที่น่าสนใจไม่ได้ก็คงต้องถือเงินสดมากขึ้นครับ ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 2-3% แต่หุ้นหลายๆ ตัวปันผลได้ประมาณ 3-8% และ p/e ก็อยู่ 10 กว่าเท่า ดังนั้นปัจจุบันนี้ผมก็ยังคิดว่าหุ้นยังน่าสนใจและน่าจะปกป้องเงินเฟ้อได้ดีกว่าการฝากเงินครับ

8.อยากทราบมุมมองทางธุรกิจของบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้นหน่อยครับสอง บ.ล.นะครับ
คือ mk กับ มาลีฟราน
8.1 mk เป็นธุรกิจที่มี market share สูงมาก และมี manage ระดับสุดยอด แต่หลังๆ mk เริ่มแตกไลน์อกมาก็คือ ยาโยอิ ไม่รู้ว่าจะเป็นสัญญาณได้ไหมว่าตลาดสุกี้ อิ่มตัว ถ้า mk อยู่ในตลาดหุ้น และ pe 20 เท่า คุณ ih จะซื้อหรือไม่

- คงต้องดูงบก่อนครับว่าการเติบโตของรายได้และกำไรในระยะหลังๆ เป็นยังไง ส่วนการแตก line ร้านยาโยอิ ผมมีโอกาสได้ลองทานก็เห็นว่ารสชาติใช้ได้และลูกค้าก็เยอะใช้ได้ จุดเด่นของยาโยอิคือ ราคาถูกกว่า Fuji อาหารได้เร็ว การจัดร้าน บรรยากาศและแสงในร้านเร่งให้ลูกค้าใช้เวลาทานไม่นานนัก ดังนั้น turnover น่าจะสูง ส่วนการอิ่มตัวของ MK นั้นอาจจะยังไม่ถึงเวลาเพราะช่วง 1-2 ปีนี้ทั้ง Lotus และ BigC ก็ยังมีการขยายสาขาอยู่มากพอสมควรครับ ที่แตก line เพราะ MK อาจจะมองว่าแม้ว่าจำนวนสาขาของ MK จะยังเพิ่ม แต่จำนวนลูกค้าต่อสาขาอาจจะยังเพิ่มไม่มากนักเพราะอาจจะเสียลูกค้าส่วนหนึ่งไปให้กับร้านอาหารญี่ปุ่น ดังนั้นอาจจะคิดว่าถ้างั้นก็น่าจะไปทำร้านอาหารญี่ปุ่นแข่งด้วยเลยน่าจะดีกว่า

8.2ธุรกิจอีกอันคือ ธุรกิจลดความอ้วน มารีฟรานซ์ ผมว่า ผู้หญิงกลัวความอ้วนกันก็ต้องแห่กันไปทำ
แถมเขาชอบเอาคนดังๆเช่น ดารา มาถ่ายรูปก่อนเข้า course กับ หลังเข้า course เคยเห็น โอ้โห ผอมได้จริงขนาดนั้นเลยเหรอ เคยได้ยินว่า course นึงหลายหมื่น ไม่แน่ใจว่ามี บาง course เกือบแสนหรือป่าว
แต่ดูๆแล้วเป็นธุรกิจที่ไม่มี barry to entry เท่าไหร่ เพราะใครๆ ก็คงจ้างดาราได้ แต่คิดว่าเป็นธุรกิจที่ maigin สูงมาก ถ้า มารีฟรานซ์ pe 10 เท่าพี่ ih จะซื้อลงทุนไหม

- คงต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย แต่ pe 10 เท่าสำหรับหุ้นที่มี brand name ก็นับว่าไม่แพง ผมคิดว่าการสร้าง brand ของธุรกิจลดความอ้วนก็ต้องใช้เวลาสะสมอยู่เหมือนกันครับ เพราะถ้าให้ผมนึกถึง brand ที่มีชื่อเสียงตอนนี้ก็นึกได้ 2 brand เท่านั้นคือ มารีฟรานซ์กับ body shape ครับ

การลงทุนลดความอ้วนแม้ว่าจะแพงแต่อาจจะมีผลตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินสูงสำหรับลูกค้าก็ได้นะครับ และกลุ่มคนที่ผลักดันและกระตุ้นให้ผู้หญิงอยากผอมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมก็คือพวกผู้ชายมิใช่หรือครับ 9.มีผู้ประกอบการอสังหาท่านนึงบอกว่า lpn กับ ps มาร์จินดีเพราว่า ทั้งสองเป็นผู้รับเหมามากกว่า developer
ไม่ทราบว่า พี่ ih มองยังไงครับ

- PS สร้างเองเกือบหมดครับจึงมีสภาพเป็นผู้รับเหมาเองด้วย และยังใช้เทคโนโลยี pre-fab ที่มีต้นทุนต่ำกว่า และจำนวนสร้างก็มากจึงทำให้ต้นทุนต่ำ ส่วน LPN ก็มีการบริหารจัดการต้นทุนได้ดีมาก ส่วนเป็นผู้รับเหมาเองหรือไม่นั้นผมยังไม่มีข้อมูลครับ


10.พี่ ih ครับ ข้อความท่อนนี้เอามาจากของด.ร.นิเวศน์เรื่อง psr
บางคนอาจจะบอกว่าค่า PSR นั้น ไม่ได้สะท้อนพื้นฐานที่สำคัญนั่นคือ กำไรของบริษัท เขาอาจจะบอกว่ายอดขายนั้นไม่มีประโยชน์ถ้าขายมากแต่ไม่มีกำไร ดังนั้น ค่า PSR ไม่น่าจะเป็นตัวที่ดูคุณค่าของบริษัทได้ ข้อนี้ผมกลับคิดว่า ค่า PSR อาจจะดีกว่าค่า PE ในแง่ที่ว่า มันน่าจะสะท้อนกำไรของบริษัทในระยะยาวได้ดีกว่า เหตุผลก็คือ กำไรที่จะยั่งยืนนั้นจะต้องมาจากยอดขาย ในหลาย ๆ บริษัทนั้น เขาถึงกับยอมกำไรน้อยหรือขาดทุนเพื่อเพิ่มยอดขายเพื่อยึดส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อที่ว่าในอนาคตเขาจะได้เปรียบคู่แข่งและทำกำไรมากขึ้นในภายหลัง ส่วนบริษัทที่กำไรดีในวันนี้แต่ยอดขายต่ำ เขาอาจจะประสบกับอุปสรรคหรือสภาวะทางการตลาดเปลี่ยนแปลงทำให้กำไรในปีต่อ ๆ ไปตกต่ำลง

พี่มีความเห็นยังไงบ้างครับ

- ก็มีทั้งกรณีหุ้นที่ Price to sale ratio ( PSR ) ต่ำ และท้ายสุดพอ margin ดีขึ้นก็จะทำให้กำไรดีขึ้นมาก และราคาหุ้นก็ค่อยๆ ปรับขึ้นได้ และกรณีที่ margin ไม่ดีขึ้นและ PSR ก็ต่ำยังไงก็ต่ำอย่างนั้นอยู่วันยังค่ำ เพราะหุ้นบางตัวผู้บริหารทำงานเพื่อคน 2 กลุ่มเท่านั้นคือ ลูกค้าและเจ้าหนี้ ดังนั้นคงต้องดูปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยกับ PSR ครับ

11.เท่าที่ดูๆแล้ว บ.ล.ที่ทำอนุพันธ์ทางการเงินส่วนใหญ่จะเสร็จทุกรายเช่น tpi ขาดทุนจาก DEUTSHE MARK เมื่อปี 36-37 และที่ ucom ขาดทุน โดยทำสัญญาธุรกรรมจาก fix เป็น float แต่ดอกเบี้ยกลับขึ้น ทำให้จ่ายดอกเพิ่ม หลายร้อยล้าน และเหยื่อรายล่าสุดก็คือ pttep ถ้าผมจะสรุปว่าถ้าเมื่อไหร่ที่ผมเห็น บ.ล.ไหนทีอนุพันธ์
ผมก็ short หุ้นนั้นเลยคุณ ih มองยังไงครับ

- บางบริษัทในช่วงหลังๆ อาจจะทำเพื่อ hedging ซึ่งแม้จะขาดทุนจากอนุพันธ์อาจจะไปกำไรอีกขา เช่น เราซื้อหุ้นเต็มพอร์ตแต่กลัวหุ้นลงก็อาจจะไป short TFEX ถ้าหุ้นขึ้นเราก็กำไรจากหุ้นแต่ไปขาดทุนจาก Tfex แต่ส่วนใหญ่ถ้าบริษัทไปเล่นตลาดอนุพันธ์เพื่อลดต้นทุนหรือเพิ่มกำไรนั้นอาจจะน่ากลัว เช่น เปลี่ยนดอกเบี้ย fix เป็น float ซึ่งก็จะมีความเสี่ยงหากดอกเบี้ยขึ้นแรงๆ ปกติคนที่ไปเปลี่ยน fix เป็น float ควรจะเป็นสถาบันการเงินที่ต้องการปรับต้นทุนดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับสัดส่วนรายได้จากการให้กู้ของตัวเองมากกว่า

แต่อย่างไรผมเองก็ไม่ค่อยชอบให้บ. Commodity ไปป้องกันความเสี่ยงของการลดลงของราคาขายผลิตภัณฑ์ด้วยการขายล่วงหน้า เท่าไหร่ เพราะ investor can diversify ( or hedging ) by themselves กล่าวคือ ถ้าผมคิดว่าน้ำมันแพงและต้องการ hedging พอร์ตตัวเองด้วยการซื้อหุ้นสำรวจน้ำมันตัวหนึ่ง แต่ถ้าหุ้นสำรวจน้ำมันตัวนั้นเกิดไปขายน้ำมันล่วงหน้าที่ 90 เหรียญไปเกือบหมดของกำลังการผลิตปีนั้นแล้ว ก็เท่ากับว่าบริษัทนั้นก็จะไม่ได้ประโยชน์จากน้ำมันขาขึ้นเท่าที่ควรจะเป็น อย่างกรณีของหุ้นที่ทำเหมืองสังกะสีตัวหนึ่งเมื่อ 2-3 ปีก่อนก็ขายล่วงหน้าไปมากทำให้ไม่ได้ประโยชน์จากราคาสังกะสีขาขึ้นมากเท่าที่ควร

12.อาจารย์ วิกรมเคยบอกว่า แกมีสูตรคือ ให้ขายหุ้นในปีที่ดัชนีขึ้นมากกว่า 100% ซึ้งใน 30 ปี มีปี
2520 2532 2546 และให้ซื้อหุ้นในปีที่ดัชนีลงมากกว่า 40% ได้แก่ปี 2522 2540 2543 อยากถามว่าคุณ ih มีความ
เห็นต่อสูตรนี้อย่างไร และจะถือเป็น miracle numbeไหมที่เฉลี่ย ทุกๆ 10 ปี จะมีปีที่หุ้นขึ้น 100% และลง 40% 1 ปี

- ก็น่าจะให้ผลดีและถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ครับ อาจจะยกเว้นปี 40 ที่ถ้าซื้อหุ้นไปก็อาจจะอ่วมเพราะหุ้นลงหนักมากอีกปีคือปี 41 ซึ่งสิ่งที่ถูกหลายๆ ครั้งอาจจะมลายหายไปหมดหากเราพลาดครั้งใหญ่ๆ เพียงครั้งเดียว ดังนั้นเรื่อง magic number เป็นเรื่องที่น่าสนใจแต่เราไม่ควรยึดติดตายตัวว่าต้องทำทุกครั้งไปครับ

13.ทำไมเดี่ยวนี้ในตลาดหุ้นถึงไม่มี cover warrant เหมือนเมื่อก่อน เช่น scbc-1 scibc-1
และ cover warrant ออกมาเพื่ออะไร

- cover warrant เป็น warrant ที่ไม่ได้ออกโดยบริษัทนั้นๆ แต่ออกโดยกระทรวงการคลัง ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังเข้าไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของสถาบันการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แต่ ก. คลังไม่ได้มีจุดประสงค์ในการถือหุ้นสถาบันการเงินนั้นในระยะยาวจึงออกเป็น cover warrant ให้กับผู้ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์อีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นนักลงทุน เพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์จากกระทรวงการคลังในเวลาที่กำหนด เช่น 3-5 ปี ดังนั้น cover warrant จึงเป็น call option ประเภทหนึ่ง แต่ไม่ได้ออกโดยบริษัทเจ้าของ warrant แต่ออกโดยผู้ถือหุ้นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็มีความใกล้เคียงกับ call option ของต่างประเทศ ดังนั้น cover warrant จะไม่ทำให้เกิด dilution effect เหมือน warrant ทั่วไปเพราะว่าไม่มีการออกหุ้นใหม่
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
ภาพประจำตัวสมาชิก
hongvalue
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2703
ผู้ติดตาม: 276

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จบแล้ว

คนยังไม่เคยอ่าน

อ่านตาแหกแน่  :D
สนใจเรื่องบัญชี กลยุทธ์ลงทุน fundflow แจมได้ที่ blog ผม
http://hongvalue.wordpress.com/
-ติดตาม twitter เรื่องหุ้นของผมได้ที่
http://twitter.com/hongvalue
my book
http://wp.me/pzSOv-hP
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 7

โพสต์

:wink:
  เข้าใจถามดีครับ
    ขอบคุณครับ
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ตามอ่านมาตั้งแต่กระทิงเขียว

มาอ่านต่อที่นี่ รวดเดียวจุใจดีครับ ขอบคุณน้องฮงมาก ๆ ถามต่อเรื่อย ๆ นะ

"คติประจำใจคือ ถามแหลก"  :wink: ชอบมาก
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
mario
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 720
ผู้ติดตาม: 12

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 9

โพสต์

[quote="hongvalue"]จบแล้ว

คนยังไม่เคยอ่าน

อ่านตาแหกแน่
The basic ideas of investing are to look at stocks as business,
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.

Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 2

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อ่านที่ valuebull มาก่อนเหมือนกันค่ะ คำตอบคลาสสิกมาก
.....Give Everything but not Give Up.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
jung_oh
Verified User
โพสต์: 734
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ จริงๆ เคยตามอ่านที่ greenbull อยู่เหมือนกัน แต่อ่านที่หน้าเว็บไม่ไหว ว่าจะ รวบรวมเอามาลง Word

ตอนนี้ ง่ายเลย

ขออนุญาติ Copy แล้ว เอามา Print อ่านนะครับ :D
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 12

โพสต์

คำถามดี คำตอบแจ๋ว ครับ  :8)  ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Raphin Phraiwal
Verified User
โพสต์: 1342
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณทั้งผู้ถามและผู้ตอบครับ
รักในหลวงครับ
TPH
Verified User
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณทั้งคนถามและคนตอบครับ ผมติดตามอ่านกระทู้ของพี่ IH ทุกกระทู้ พบผลึกแนวทางการลงทุน สามารถนำมาใช้ประยุกต์กับตนเองได้ :8)
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 15

โพสต์

อ่านแล้วเหนื่อยจัง นึกถึงคนที่เกิดมาแล้ว เป็นเจ้าของที่ดิน ริมทะเลแล้วสร้าง รีสอร์ท วันๆเก็บค่าเช่า แชกที่มา ต่างก็มาหาความสุข

ถึงแม้จะมีรายละเอียดมากมาก แต่ถ้าเดาไม่ผิด การขายธรรมชาติ น่าจะทำให้ชีวิตไม่ต้องมานั่งศึกษาอะไรกันมากมายขนาดนี้นะ ประมาณว่าทำเลเป็นต่อ

แต่ว่าเราไม่มีอย่างนั้น

อืม ไม่เกียวกับกระทู้เขาเลย

อ่านต่อดีกว่า
Pu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณครับ :D

ได้ข้อมูลที่สนใจเยอะมากเลยครับ :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 17

โพสต์

อ่านในจอได้ไม่ถึงครึ่ง ตาลายคล้ายจะเป็นลม
ขอ print ออกมาอ่านดีกว่า

สาระแน่น คุณภาพสุดยอด
ขอบคุณฮงและอาจารย์ IH ครับ
earthcu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 362
ผู้ติดตาม: 100

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณครับทั้งคุณฮง และพี่ IH ครับ ได้อ่านบทความของพี่มาหลายอันแล้ว อันนี้ขอ Save เก็บไว้อ่านอีกทีครับ เพราะเริ่มจะตาลายแล้ว ยังไงก็ขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับความรู้ที่มา Share ให้ทราบ
Life is beautiful + Financial freedom within 2015 by investment stock & real estate
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1526
ผู้ติดตาม: 226

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณครับ

คุณ Hong ขยันจริง ๆ น่าจะเอาเป็นแบบอย่าง
และคุณ IH ก็มีคำตอบที่คมคายเหมือนเดิม รู้รอบจริง ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณครับ ข้อมูลเยอะจริงๆ :D
sunrise
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2273
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ยอดเยียมครับ

ทั้งคนถามคนตอบ  :D
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
wr
Verified User
โพสต์: 149
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 22

โพสต์

อ่านจบแว้ววววว
ด้วยความเสียสละของผู้ถาม ความเมตตาของผู้ตอบ
และความโชคดีของผู้อ่าน
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 15

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เพิ่งอ่านเป็นครั้งแรกครับ.......เสียดายที่ได้อ่านช้าไปหน่อย.
Web นี้มีของดีๆอย่างนี้อยู่เสมอนะครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
ภาพประจำตัวสมาชิก
maeteeb
Verified User
โพสต์: 783
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอบคุณครับ ที่รวบรวมมาลงไว้
การเป็นนักลงทุนไม่ต้องการอะไรเลยคุณต้องการแค่ความคิด ความกล้าและอารมณ์  (ดร. นิเวศน์ 2552)
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 25

โพสต์

กำลังไล่ๆ อ่านอยู่เหมือนกัน ขอบคุณปรมเซียนทั้งสองท่านมั่กๆ  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 26

โพสต์

อันนี้ก็เป็นบทความที่มีประโยชน์ครับ อยากให้สมาชิกได้อ่านกัน
:)
ลงทุนเพื่อชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 27

โพสต์

โดย สุจินดา มหสุภาชัย

นักลงทุนรายย่อยที่เคยคาดหวังจะใช้ property fund เป็นช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวนั้น อาจต้องลองคิดใหม่ เพราะหลักการการลงทุนของกองทุนที่มีในไทยนั้น ยังมีปัญหาในแง่เป้าหมายการลงทุน ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าผลตอบแทนที่ได้จะคุ้มเสียหรือเปล่า

เป็นปัญหามานานในเรื่องความไม่ชัดเจนของหลักการการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ property fund ที่ปัจจุบันมักนิยมจ่ายเงินลงทุนซื้อหาความหวังในอนาคตที่จะมาพร้อมกับกระแสรายได้รูปค่าเช่าพื้นที่ระยะยาว 20-30 ปี โดยการจัดตั้งกองทุนแบบ Leasehold

แถมยังมีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้งทั้งในเวทีการแถลงข่าวเปิดตัวกองทุน หรือบนเวทีโรดโชว์เพื่อเสนอขายหน่วยลงทุนนั้น ที่วิธีการนำเสนอบางอย่างอาจทำให้นักลงทุนที่ไม่ค่อยจะสันทัดกับหลักการในกองทุนประเภท leasehold นี้ เกิดความไขว้เขวได้ว่า พวกเขากำลังจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าของโครงการพัฒนาอสังหาฯ กันแล้ว (อ่าน : Property Fund คืออะไร?)

จู่ๆ เพิ่งจะเมื่อเดือนที่ผ่านมานี้ หน่วยลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ที่เคยเน้นจุดขายเรื่องผลตอบแทนที่ดี เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ชอบการลงทุนระยะยาวนั้น กำลังจะกลายเป็นของที่ต้องเพิ่มระดับความถี่ในการซื้อขาย เปลี่ยนมือ เพราะเวลานี้บรรดาโบรกเกอร์และผู้บริหารจัดการกองทุนจากค่ายต่างๆ กำลังคิดหาทุกวิธีที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ซื้อขายหน่วยลงทุนบนกระดานหุ้น ด้วยหวังว่าเมื่อสร้างความถี่ในการเปลี่ยนมือได้แล้ว ก็น่าจะดึงดูดให้ราคาของหน่วยลงทุนนี้พลิกฟื้นขึ้นมาได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ร่วงลงโดยไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวขึ้นได้ในเร็ววันนี้

ในสายตาของผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงิน อย่าง สมภพ บุรินทราธิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสแห่งค่าย บลจ.เอ็มเอฟซี นั้น ได้มองท่าทีความพยายามแบบนี้ด้วยความห่วงใย

โดยเขาเริ่มต้นอธิบายลักษณะการลงทุนของหน่วยลงทุนกองทุนอสังหาฯ ว่า แม้ลักษณะบางอย่างอาจดูคล้ายคลึงกับหุ้น หรือ equity เหตุเพราะหน่วยลงทุนแบบนี้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จากที่มีสภาพ คล่องอยู่ในระดับหนึ่ง และในความหมายทางฝั่งอเมริกานั้น สภาพคล่องการซื้อขายหน่วยลงทุนในกลุ่ม lease นี้จะมีได้ภายในระยะเวลา 2-3 ปี

แต่กระนั้นก็ตาม หน่วยลงทุนนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ นั่นก็คือ การให้ผลตอบแทนในรูปปันผลรายปีที่ดียิ่ง และมีความแน่นอนมากกว่าเงินปันผลที่ลงทุนในหุ้น เพราะรายได้ปันผลของกองทุนฯ เกิดจากการเจรจากันล่วงหน้า ราคาหน่วยลงทุนจึงมักจะไม่พุ่งขึ้นอย่างหวือหวาเหมือนเช่นราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดโดยทั่วๆ ไป เมื่อธรรมชาติเป็นเช่นนี้แล้ว เขาก็ยังสงสัยว่าจะทำให้หน่วยลงทุนนี้เป็นเหมือนหุ้นได้อย่างไร

"หลักการ property fund บ้านเรานี่เพี้ยนไปหมด คนก็ยังเข้าใจผิดกันมากว่าการ ลงทุนใน property fund นั้นคืออะไร แถมตอนนี้ก็ยังมีความพยายามที่จะทำให้หน่วยลงทุนนี้เป็นเหมือนหุ้นกันอีกแล้ว" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโสจากเอ็มเอฟซีให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

เมื่อถามถึงพฤติกรรมการลงทุนของต่างชาติในกองทุนกลุ่ม leasehold สมภพ ไม่ปฏิเสธว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมถือนานเกินกว่า 2-3 ปี เมื่อใดก็ตามที่หน่วยลงทุนในตลาดเริ่มปรับตัวขึ้น กองทุนจากต่างชาติก็มักจะทยอยตัดขายหน่วยลงทุนที่ถือครองไว้ออกมา

เพราะเป็นอันรู้กันดีว่า การลงทุนในกองทุนประเภทนี้ยิ่งถือยาวก็ยิ่งเสี่ยง ว่าราคาหน่วยลงทุนจะลดลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาสิทธิการให้เช่าพื้นที่ที่ลดลงนั่นเอง

อาจเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับความจริงกันอยู่อย่างว่าในคอนเซ็ปต์การจัดตั้งกองทุนอสังหาฯ และเป้าหมายการลงทุนของกองทุนฯ ที่ตั้งกันในเมืองไทยนั้น ยังอาจมีหลายประเด็นที่แตกต่างจากกองทุนอสังหาฯ ในต่างประเทศ

โดยสิ่งแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือความนิยมของรูปแบบการจัดตั้งกองทุน ตัวอย่างแห่งความแตกต่างนี้ อาจดูได้จากภาพรวมกองทุนที่มีในพอร์ตของ Morley ค่ายผู้ให้บริการบริหารจัดการกองทุนอสังหาฯ หมายเลข 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งมีมูลค่าพอร์ตการลงทุนรวมกันกว่า 2.07 แสนล้านบาท หรือ 44 พันล้านยูโร ที่แม้จะมีการจัดตั้งกองทุนหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บริการทั้งนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อย แต่โดยหลักๆ แล้วส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งเน้นที่การลงทุนตามสไตล์กองทุนในแบบ freehold

โดยเป้าหมายใหญ่ของกองทุน free-hold นี้ จะมุ่งไปสู่การเลือกซื้อตัวอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เพียงแต่จะต้องมีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ติดตัวมา แต่ยังต้องเป็นได้ทั้งคุณภาพ และมีขีดความสามารถในการขยายดอกขยายผลเพิ่มเติมให้แก่มูลค่าเงินต้นของนักลงทุนได้อีกในอนาคต

เช่นเดียวกับ The Charities ค่ายผู้ให้บริการรายเดียวของอังกฤษ ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนอสังหาฯ ให้แก่มูลนิธิหรือองค์กรการกุศลทั่วทั้งสหราชอาณาจักร ซึ่งภาพรวมรายได้ค่าเช่าและขนาดของอสังหาฯ ในแต่ละกองทุนที่มีนั้น อาจไม่ได้ใหญ่โตโอ่อ่าหรือมหึมาอย่างในค่าย Morley แต่สิ่งที่มีไม่ต่าง คือ รูปแบบกองทุนที่กำลังขยายตัวมากกว่า 42 กอง ของค่าย The Charities นั้น จะเน้นการจัดตั้งกองทุนแบบ freehold เป็นหลัก ส่วน leasehold อาจพอจะมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าน้อยมากคือแค่ไม่เกิน 3 กอง

ภาพนี้ดูจะสอดคล้องได้ดีกับความเห็น ของสมภพที่บอกว่า กองทุนอสังหาฯ ในไทยที่มีอยู่ปัจจุบัน ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกองทุนฯ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการซื้ออสังหาฯ อันเป็นหลักการใหญ่ในการลงทุน แต่เป็นแค่การจัดตั้งกองทุนฯ ที่ระดมทุนซื้อสิทธิการเช่าพื้นที่ในอสังหาฯ มาจากเจ้าของอสังหาฯ และกองทุนแบบนี้ก็ไม่อาจพูดได้ว่า พวกเราเป็นเจ้าของอสังหาฯ ด้านราคาซื้อขายสินทรัพย์ให้กองทุนฯ สมภพ บอกว่ามีราคาแพงอย่างยิ่ง

"หากตอนนี้คุณถามผมว่าควรซื้อหุ้นตัวบริษัท หรือซื้อหน่วยลงทุน Property Fund ของบริษัทนั้นดี ผมแนะนำให้คุณซื้อหุ้นไปเลยดีกว่า ที่ทำกันตอนนี้มันไม่ใช่การซื้อตัวอสังหาฯ เพราะเจ้าของเดิมเขาก็ไม่ยอมขายให้ แล้วจะไปบอกว่า คุณเป็นเจ้าของอสังหาฯ นั้นได้ยังไง"

"ราคาขายสิทธิการเช่า เจ้าของเดิมก็ขายแพงมาก ถ้าอยากรู้ว่ามันมายังไง ก็มีวิธีที่เขาใช้กัน มันก็ง่ายๆ ว่า ถ้ามูลค่าโครงการ 1,000 ล้าน เจ้าของเคยได้ค่าเช่า 18% ก็หมายความว่ารายได้มีปีละ 180 ล้านบาท แต่พอถึงเวลาขาย เขาก็ดูว่าดอกเบี้ยในตลาด พันธบัตรรัฐบาลตอนนี้ให้กันเท่าไรแล้วก็บวกส่วนต่างขึ้นไปให้อีก

หากกองทุนคิดว่าควรได้ 8% เขาก็เอารายได้ที่เคยมีปีละ 180 ล้าน มาหาร 8% ราคาขายก็จะออกมา 2,500 ล้านบาท หักต้นทุนโครงการแล้วยังมีกำไรอีก 1,500 ล้านบาท ก็โอนกลับไปบริษัทแม่ แถมยังได้เข้ามาถือหน่วยอีก 1 ใน 3 ตามที่ ก.ล.ต.กำหนด โดย แต่ละปีกองทุนก็ยังต้องจ่ายเงินให้เขาบริหารโครงการกันอีก รายได้ตรงนี้ก็โอนกลับไปที่ตัวบริษัทแม่เขาอีก ผมถึงให้คุณไปซื้อหุ้นดีกว่าหน่วยลงทุนไง" สมภพแนะนำไว้แบบนี้ (อ่าน : ลักษณะกองทุนรวมอสังหาฯ ตามเกณฑ์ ก.ล.ต.)

ในประเด็นการคำนวณผลตอบแทนต่อความเสี่ยงในการลงทุนนั้น ก็ยังถือเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มี เพราะสมภพบอกว่าที่ต่างประเทศเขาไม่ทำกันแบบนี้ แต่จะใช้วิธีคำนวณที่อิงกับหลักการที่เกี่ยวกับความเสี่ยงโดยธรรมชาติในการทำธุรกิจของอสังหาฯ แต่ละประเภท ที่อาจเกิดขึ้นได้จากระดับความเสี่ยงของความเปลี่ยนแปลงทางด้านปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรวงการ การทำธุรกิจของตัว หรือเกิดจากความอ่อนไหวจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพต่างๆ เช่น การเกิดขึ้นของเมืองใหม่ๆ

โดยแนวโน้มการเกิดขึ้นของเมืองใหม่ๆ นี้ มักจะเป็นอีกปัจจัยอันสำคัญที่ก่อปัญหาความเสี่ยงของความโดดเด่นในการหารายได้ค่าเช่าอสังหาฯ ซึ่งไม่ว่าที่ใดในโลกนั้น มักจะทำผลงานได้ดีต่อเนื่องแค่ภายในช่วงเวลาระหว่าง 10-15 ปีแรก มาตรฐานเรื่องระยะเวลาการลงทุนของกองทุนอสังหาฯ ที่ยาวสุดนั้น จึงมักกำหนดกันไม่เกินไปจากนี้

"ถ้าคุณถามผมว่าหลักการมันผิดตรงไหน ผมก็บอกได้ว่ามันผิดมาตั้งแต่วันแรกที่ไปคิดว่านักลงทุนต้องการผลตอบแทนแค่ 8% คุณจะไปรู้ได้ยังไงว่าจริงๆ นักลงทุนต้องการเท่าไรที่เขาจะคิดว่ามันจะ cover ความเสี่ยงได้จริงๆ เพราะพวกนักลงทุนเองเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอกว่า quality ของ underwrite asset ที่แต่ละกองทุนจะไปซื้อมามันคืออะไร ขณะที่แต่ละกองก็ลงใน asset ที่ไม่เหมือนกัน ความเสี่ยงมันย่อมมีไม่เท่ากันด้วย

อย่างกองที่ 1 ลงใน industrial leasing กอง 2 ลงใน residential กอง 3 ลงในสนามบิน แล้วบอกว่าให้ spread 2.5 หรือ 3 เท่ากันหมดนี่ผมว่าหลักการมันผิดแล้วนะ เพราะ underwrite asset แต่ละกองมันต่างกัน คุณภาพหรือความเสี่ยงของ underwrite asset มันก็จะเป็นคนละเรื่องกันด้วย อย่างคุณลงใน industrial leasing นี่ความเสี่ยงสูงสุดเลยนะ คนในวงการอสังหาฯ รู้กันดี แล้วคุณจะให้นักลงทุนรับเท่ากันทุกกองเลยหรือ ข้อเท็จจริงมันเป็นแบบนี้

พวกฝรั่งยังมาถามผมว่า industrial ลงกันเข้าไปได้ยังไง 8% ถ้าให้เขาลงอย่างน้อย ต้องได้ 13-14% เพราะคนที่ลงในกอง lease แบบนี้อยากได้ผลตอบแทนเร็ว หากคุณคิดว่าอยากลงทุน 8 ปี ตามผลตอบแทน 8% คุณก็ยังต้องใช้เวลาตั้ง 9.5 ปี จึงจะได้คืนเงินต้นอย่างเดียว

มันมีเหตุผลว่าระยะเวลาการเช่ามันสั้น ยิ่งอยู่นานมูลค่าสิทธิการเช่ามันจะลดลง จะหาใครมาซื้อต่อก็หายาก เพราะคนซื้อต่อก็ว่าไม่คุ้ม จะปิดกองทุนก็ทำไม่ได้อีก นักลงทุนจะไปไหนก็ไม่ได้

แล้วผมบอกให้นะว่าหากยังขืนลงกันแบบนี้ ไม่มีโอกาสเลยว่านักลงทุนจะได้เงินต้นคืน เพราะเงินต้นของกองทุน lease มันไม่อยู่ที่ตัวอสังหาฯ เหมือน freehold แต่มันจะไปจมอยู่ในสิทธิการเช่าที่จะขายใครก็ไม่ได้ ปัญหาของเรา คือ คนในภาคอสังหาฯ ไม่ได้เป็นคนมาจับกองทุนอสังหาฯ แต่เราใช้คนจากภาค finance หลักการมันถึงได้เพี้ยนไปขนาดนี้" กรรมการผู้จัดการอาวุโสจากค่ายเอ็มเอฟซี ให้ภาพทิ้งท้ายไว้แบบนี้

ทั้งนี้ประเทศไทยมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วทั้งสิ้น 13 กอง โดยมีมูลค่าตลาดรวมกันราว 41,100 ล้านบาท แต่ยังอีก 2-3 กองทุนที่คาดว่าจะเปิดตัวตามมาภายในปีนี้ โดยแต่ละกองทุนจะมีมูลค่าสินทรัพย์ราว 2,000-3,000 ล้านบาท แต่ยังมีดีลไซส์ใหญ่มูลค่าอีกกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา อย่างไรก็ตาม ยังมีการคาดหมายกันด้วยว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ขนาดของกองทุนอสังหาฯ ในประเทศไทยจะขยายตัวใหญ่ได้ถึงราว 3 แสนล้านบาท

ที่มา : นิตยสารผู้จัดการ (มีนาคม 2550)
เรื่องพวกนี้ปัจจุบันก็ยังเป็นปัญหาอยู่  :evil:
ลงทุนเพื่อชีวิต
Todo
Verified User
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 28

โพสต์

พึ่งเห็นกระทู้

ขอบคุณ คุณฮง กับพี่ IH มากๆ ครับ

ตาแหกแระ อ่านยังไม่จบเลย

ไว้หายเจ็บตา จะมาทยอยอ่านใหม่


:shock:  :shock:  :shock:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 68

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอบคุณ คุณ Thaloengsak ที่ไปขุดกระทู้ดีๆ ให้เพื่อนๆได้อ่าน

ต้องขอบคุณ ฮง ที่ เป็นผู้ตั้งคำถาม ที่สุดยอดมาก เป็นยอดนักถามจริงๆ :cool:

แล้วก้คุณ IH ซึุ่งมีความตั้งใจในการตอบคำถามอย่างยอดเยี่ยม  :cool:
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

อ่านให้มันมากกก

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณฮงมากๆๆครับที่แบ่งปัน
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
โพสต์โพสต์