หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 28, 2008 8:15 pm
โดย saleman
พอดีผมอยากจะลองศึกษาศาสตร์การลงทุนแนว vi เลยอยากขอประสบการณ์ พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ในเรื่อง "ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน" ผมเชื่อว่า การเล่นหุ้น ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค รึว่า vi ก่อนจะประสบความสำเหร็จ จะต้องเคยขาดทุนมาก่อน เลยอยากจะขอประสบการณ์ จาก พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ครับ



ขอบคุณครับ

Re: ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 28, 2008 8:22 pm
โดย woody
saleman เขียน:พอดีผมอยากจะลองศึกษาศาสตร์การลงทุนแนว vi เลยอยากขอประสบการณ์ พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ในเรื่อง "ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน" ผมเชื่อว่า การเล่นหุ้น ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค รึว่า vi ก่อนจะประสบความสำเหร็จ จะต้องเคยขาดทุนมาก่อน เลยอยากจะขอประสบการณ์ จาก พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ครับ



ขอบคุณครับ
ผมชอบตอบโดยการตั้งคำถามนะครับ คงไม่ถือสากัน

1. นิยามของคำว่า VI นั้นคืออะไร?
2. คำว่าขาดทุนนี่ให้ Timeframe กับมันเท่าไหร่ครับ

ขอลงท้ายจากคติที่ผมเคยได้รับจากพี่ chatchai นะครับ จำได้ไม่ได้ตามตัวอักษรทุกตัว แต่จำได้เลาๆ ว่า...

ถ้าเราปลูกส้ม แล้วได้ผลส้มที่เราพอใจในคุณภาพแล้ว แต่ราคาตลาดอาจจะไม่ดี เราควรพอใจ หรือท้อแท้ครับ?

Re: ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 29, 2008 8:46 pm
โดย saleman
woody เขียน: ผมชอบตอบโดยการตั้งคำถามนะครับ คงไม่ถือสากัน

1. นิยามของคำว่า VI นั้นคืออะไร?
2. คำว่าขาดทุนนี่ให้ Timeframe กับมันเท่าไหร่ครับ

ขอลงท้ายจากคติที่ผมเคยได้รับจากพี่ chatchai นะครับ จำได้ไม่ได้ตามตัวอักษรทุกตัว แต่จำได้เลาๆ ว่า...

ถ้าเราปลูกส้ม แล้วได้ผลส้มที่เราพอใจในคุณภาพแล้ว แต่ราคาตลาดอาจจะไม่ดี เราควรพอใจ หรือท้อแท้ครับ?
เป็นคำถามที่ สามารถตอบได้ในตัวมันเอง

ขอบคุณครับ

ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2008 12:31 am
โดย Ryuga
saleman เขียน:ผมเชื่อว่า การเล่นหุ้น ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค รึว่า vi ก่อนจะประสบความสำเหร็จ จะต้องเคยขาดทุนมาก่อน เลยอยากจะขอประสบการณ์ จาก พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ครับ
อืมม์  ต่างกันครับ ผมเชื่อว่าการลงทุนในทุกแนวสามารถประสบความสำเร็จได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องขาดทุนก่อน อย่างน้อยๆ การลงทุนในความรู้เป็นเบื้องต้นไว้ก็เป็นกำไรทางปัญญาอย่างยิ่งแล้วครับ  :8)

ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 03, 2008 9:38 pm
โดย darktigerman
พี่ริวกะครับ โคตรนับถือพี่เลยครับ ขอเรียกพี่ไว้ก่อนละกัน เห็นการ post ของพี่หลายอันละ ล้วนแล้วแต่มีคุณภาพทั้งนั้น

ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 04, 2008 11:24 pm
โดย ส.สลึง
'VI' เป็นแค่แนวคิด
ส่วน 'การป้องกันการขาดทุน' ก็เป็นแค่แนวทาง...

การลงทุนเป็นทั้ง 'ศาสตร์' แล้วก็ 'ศิลป์'
สำหรับสองมือน้อยๆ ที่เคยผ่านวิชาศิลปะมาบ้างอย่างผมก็พอจะรู้ว่ามันคล้ายๆ การผสมผสาน
ระหว่างความคิด ความฝัน จินตนาการ และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้
ขนาดว่าไม่มีพู่กัน ยังเอานิ้วคนข้างๆ มาจิ้มสีใช้แทนพู่กันได้เลย :lol:

ถ้าคุณ saleman ศึกษาประวัติ VI ระดับตำนานหลายๆ ท่าน ก็จะพบว่าแต่ละท่านน่ะมีสไตร์ที่แตกต่างกัน
นั่นก็เพราะว่า VI แต่ละคนก็มีส่วนผสมของการผสมผสานระหว่างแนวคิด วิธีการ แล้วก็ยุทโธปกรณ์ต่างกันไงครับ

ซึ่งก็คงเป็นการบ้านของคุณ saleman เอง
ว่าตัวของคุณเองมีมาตรการ หรือวิธีการ 'การป้องกันการขาดทุน' เป็นสัดส่วนอยู่เท่าไหร่..?

เป็นการผสมผสานระหว่าง 'แนวคิด' แล้วก็ 'แนวทาง'

ถ้าอ่านแล้วยังรู้สึกว่าที่ผมเล่ามามันค่อนข้างนามธรรมเกินไป
ผมจะขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างตอนเวลาขับรถ ก็มี 'กฎจราจร'
ถามว่าถ้าคุณเห็นว่าไม่มีคนเห็น หรือไม่มีรถคันอื่นเลย คุณจะยังขับรถตามกฎจราจรอยู่หรือเปล่า..?

ปล.
ซึ่งมันก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคน หรือไม่มีรถคันอื่นร่วมทางด้วยจริงๆ
การละเลยกฎจราจรของคุณ อาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุแบบเศร้าๆ ก็ได้

การลงทุนก็เป็นอะไรที่คล้ายกัน การตั้งกฎเกณฑ์น่ารักๆ อย่างป้ายกำกัดความเร็ว, โค้งอันตราย, โดเรมอนข้ามถนน ฯลฯ
สำหรับนักลงทุนทั่วไปแล้ว ก็น่าจะสามารถป้องกันการขาดทุนได้ในระดับหนึ่ง...

ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 10, 2008 1:56 pm
โดย saleman
ส.สลึง เขียน:'VI' เป็นแค่แนวคิด
ส่วน 'การป้องกันการขาดทุน' ก็เป็นแค่แนวทาง...

การลงทุนเป็นทั้ง 'ศาสตร์' แล้วก็ 'ศิลป์'
สำหรับสองมือน้อยๆ ที่เคยผ่านวิชาศิลปะมาบ้างอย่างผมก็พอจะรู้ว่ามันคล้ายๆ การผสมผสาน
ระหว่างความคิด ความฝัน จินตนาการ และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้
ขนาดว่าไม่มีพู่กัน ยังเอานิ้วคนข้างๆ มาจิ้มสีใช้แทนพู่กันได้เลย :lol:

ถ้าคุณ saleman ศึกษาประวัติ VI ระดับตำนานหลายๆ ท่าน ก็จะพบว่าแต่ละท่านน่ะมีสไตร์ที่แตกต่างกัน
นั่นก็เพราะว่า VI แต่ละคนก็มีส่วนผสมของการผสมผสานระหว่างแนวคิด วิธีการ แล้วก็ยุทโธปกรณ์ต่างกันไงครับ

ซึ่งก็คงเป็นการบ้านของคุณ saleman เอง
ว่าตัวของคุณเองมีมาตรการ หรือวิธีการ 'การป้องกันการขาดทุน' เป็นสัดส่วนอยู่เท่าไหร่..?

เป็นการผสมผสานระหว่าง 'แนวคิด' แล้วก็ 'แนวทาง'

ถ้าอ่านแล้วยังรู้สึกว่าที่ผมเล่ามามันค่อนข้างนามธรรมเกินไป
ผมจะขอยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างตอนเวลาขับรถ ก็มี 'กฎจราจร'
ถามว่าถ้าคุณเห็นว่าไม่มีคนเห็น หรือไม่มีรถคันอื่นเลย คุณจะยังขับรถตามกฎจราจรอยู่หรือเปล่า..?

ปล.
ซึ่งมันก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคน หรือไม่มีรถคันอื่นร่วมทางด้วยจริงๆ
การละเลยกฎจราจรของคุณ อาจจะนำมาซึ่งอุบัติเหตุแบบเศร้าๆ ก็ได้

การลงทุนก็เป็นอะไรที่คล้ายกัน การตั้งกฎเกณฑ์น่ารักๆ อย่างป้ายกำกัดความเร็ว, โค้งอันตราย, โดเรมอนข้ามถนน ฯลฯ
สำหรับนักลงทุนทั่วไปแล้ว ก็น่าจะสามารถป้องกันการขาดทุนได้ในระดับหนึ่ง...
ขอบคุณครับ งั้นต่อไปนี้ผมจะตั้งกฎน่ารัก ๆ บ้างว่าจะไม่ฝ่าไฟแดง  :8)

Re: ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน

โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 11, 2008 10:52 pm
โดย lionman
saleman เขียน:พอดีผมอยากจะลองศึกษาศาสตร์การลงทุนแนว vi เลยอยากขอประสบการณ์ พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ในเรื่อง "ลงทุนแนว vi แต่ทำไมถึงขาดทุน" ผมเชื่อว่า การเล่นหุ้น ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค รึว่า vi ก่อนจะประสบความสำเหร็จ จะต้องเคยขาดทุนมาก่อน เลยอยากจะขอประสบการณ์ จาก พี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ครับ



ขอบคุณครับ
นอกจากคอนเซ็ปต์จากพี่ๆข้างต้นแล้ว
เข้าใจว่าคุณ saleman คงอยากทราบว่า คนที่สนใจแนว vi มีประสบการณ์ขาดทุนยังไงบ้าง

ผมขอแบ่งปันของผมล่ะกัน
ผมขาดทุนเพราะไม่เข้าใจธุรกิจจริงๆ (จริงๆ) เมื่อไม่เข้าใจธุรกิจแต่ลงหุ้นไป ก็ไม่รู้ว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทขายดีหรือไม่ดี แนวโน้มในอนาคตเป็นยังไงแถมไม่สนใจอีกว่าราคาที่ตลาดเสนอมานั้น แพงหรือถูก
สรุปสั้นๆ คือ ไม่ทำการบ้านเลยขาดทุน

หวังว่าคงพอเป็นประโยชน์บ้างนะครับ

สาเหตุของการลงทุนแบบ VI แล้วขาดทุน

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 17, 2008 2:03 pm
โดย yuth-sri
สาเหตุของการลงทุนแบบ VI แล้วขาดทุน มี 3 ประการ

  1. ซื้อมาราคาแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริง แล้วเวลาขายก็ขายราคาถูกกว่าที่ซื้อมา เป็นเพราะซื้อผิดราคา( คิดมูลค่าที่แท้จริงของ บริษัทผิด) , เกิดจากความกลัวเลยรีบขายหุ้นก่อนที่ราคาจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของมัน ( เกิดจากการไม่เข้าใจคำว่านายตลาดเป็นอย่างไร และทำตัวเหมือนหนูเลมมิ้งวิ่งแห่กันไปตาย)
  2. ผลการดำเนินงานของบริษัท ทำได้ไม่ดี หรือ บริษัทที่เลือกมาไม่มีคุณภาพดีพอ, ไม่เก่ง, ไม่มีสิ่งป้องกันตัวเอง, ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน, มีการแข่งขันกันลุนแรง ทำให้ราคาเป็นไปตามผลการดำเนินงาน ( พื้นฐานอุตสาหกรรม และ พื้นฐานบริษัท ไม่ดี )
  3. ปัจจัยพื้นฐานทั้งภายใน หรือ ภายนอกเปลี่ยนไป ในทางที่แย่ลง ( อยู่ในเงื่อนไขที่ จะถือระยะยาวต่อไปไม่ได้ไม่ได้ )