เก็บเอามาฝากจากพันธุ์ทิทย์เมื่อนานมาแล้ว

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
nuayza
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 1

เก็บเอามาฝากจากพันธุ์ทิทย์เมื่อนานมาแล้ว

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ปรัชญาเต๋ากับการไขรหัสนัยแห่งการเล่นหุ้น(คัดลอกจากกาปุก)
>
>เรื่องนี้ควรจะมีความยาวแค่สิบสองคำ
>ถึงจะมีวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นไม่ถ้วน
>มีสูตรที่นับจากฐานข้อมูลแน่นปีกยังไงก็ตาม
>หากจะหาคำตอบแทงทะลุหัวใจของคำถามที่ว่า
>หุ้นตัวหนึ่งมีค่าเท่าใด?
>คำตอบมีเพียงสิบสองคำนี้เท่านั้น :
>หุ้นทุกตัวมีค่าตราบที่ยังมีคนยอมซื้อ
>
>ผมไม่ได้พยายามทำเท่ว่าตนเจ๋งในธุรกิจการวิเคราะห์หุ้นหรอก
>แต่เห็นว่ามันจำเป็นที่เราต้องทำความเข้าในกันก่อนว่า
>หุ้นเป็นเรื่องอัตวิสัยมาก
>โดยเฉพาะในเวลาที่หุ้นของบริษัทหนึ่งพุ่งขึ้นสูง
>วิธีหรือทฤษฎีไหนก็ไม่สามรถหาคำตอบได้ว่า ราคาหรือ
>คุณค่า ของหุ้นตัวนั้นควรอยู่ที่ใด
>หากยังมีคนคิดจะซื้อมันอยู่ดี
>
>แนวคิดนี้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
>ถ้าเราใช้พูดถึงสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อตั้งใจบริโภคมันทันทีที่จ่ายเงินไป
>เช่น ตั๋วหนังหรือลูกอม
>แต่การซื้อที่คาดหวังว่าจะนำไปขายในราคาที่สูงกว่า
>พูดง่ายๆ ก็คือการลงทุน) ใช้แนวคิดต่างกันออกไป
>แม้จะไม่ต่างจากที่ผู้คนคิดไว้ก็ตาม เช่น
>เมื่อใครคนหนึ่งตัดสนใจซื้ออะไรบางอย่างเพื่อขายเอากำไร
>เขามีความเชื่อว่า มันต้อง มีค่า
>อย่างน้อยก็เท่ากับที่เขายอมจ่ายไป
>ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง
>ยกตัวอย่างบ้านของคุณราคาก่อสร้างอาจบ่งบอกว่ามันมีมูลค่าเท่าใด
>แต่ลองสมมุติว่ามันเปลี่ยนไปแค่เกิดมีทางด่วนมาตัดผ่าข้างบ้างกับถนนมาตัดใกล้บ้าน
>มูลค่าของมันก็ย่อมไปคนละทางกันแล้ว
>
>ความรู้สึกนึกคิดและสิ่งต่าง ๆ
>อุบัติขึ้นด้วยการเปรียบเทียบ
>ดังที่เต๋าว่าไว้เมื่อมีความสวย ความไม่สวยจึงเกิดขึ้น
>เรารู้ว่าไม่นี้ยาว เนื่องจากเทียบกับไม้ที่สั้น
>รู้ว่าเสียงนี้ไพเราะ
>ด้วยการฟังเปรียบเทียบกับเสียงที่ไม่ไพเราะ
>ความรู้สึกจึงอุบัติขึ้นจากการเปรียบเทียบเปลี่ยนทัศนคติ
>
>ตลาดหุ้นเป็นเช่นเดียวกัน
>แต่ความรู้สึกของผู้คนแรงกล้ายิ่งกว่า
>โดยใช้เปรียบเทียบจากปัจจัยหลายอย่างในแต่ละวัน
>บางคนอาจตัดสินโดยฉับไวโดยยึดทฤษฎี ไอ้โง่โดมิโน
>อธิบายได้ดังนี้ว่า ไม่มีหุ้นตัวไหนราคาสูงเกินไปหรอก
>เนื่องจากมันย่อมมีคนโง่กว่ามาซื้อไปจนได้
>ไม่ต้องเป็นอัจฉริยะก็พอนึกภาพอกว่าเกิดอะไรขึ้นหากไอ้โง่ตัวสุดท้ายเป็นคุณ
>
>เอาหละ คุณคงพอเข้าใจแล้วว่า ไม่มีใครการันตีได้ว่า
>หุ้นที่คุณซื้อไปในราคา 100 บาทของวันนี้จะมีมูลค่าเป็น
>200 บาทในปีหน้า หรือกระทั่งยังมีราคาเดิม
>แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาของหุ้นตัวใหม่มีโอกาสสูงขึ้น
>ไม่ใช่สาละวันเตี้ยลง?
>
>ตลาดหุ้นนั้นเกิดขึ้นมาจากแนวคิด 2 ประการ
>
>- เงินที่เห็นเป็นของตาย ไม่เอ้อระเหยให้เห็นนานนักหรอก
>
>-
>การซื้อขายเป็นเกมที่ต้องมีฝ่ายหนึ่งได้และอีกฝ่ายเสียผลประโยชน์
>
>เหมือนอย่างที่พอล ครุกแมน
>นักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องเคยเขียนเอาไว้ว่า
>แบงค์พันมิได้วางอยู่ให้เห็นตรงหน้านาน ๆ
>และการขายทุกครั้งก็เป็นการซื้อขาย
>ฟังดูเหมือนเราเองก็รู้อยู่แล้วใช่ไหม? เต๋าว่า
>ผู้รู้จักเพียงพอ ย่อมไม่พบความอัปยศ
>แต่ทุกปีกลับมีเงินถูกทุ่มซื้อหุ้น ?ของตาย
>ที่ลงท้ายด้วยขาดทุนเพราะทุกครั้งคุณลืมคิดไปว่า
>ขณะกำลังซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
>อีกฟากของการซื้อขายนั้นมีคนที่คิดว่าเงินของคุณน่าจะเอาไปลงทุนอย่างอื่นแล้วได้กำไรมากกว่าดังนั้นควรจำข้อนี้ไว้ในใจ
>
>กฎพื้นฐานแห่งเต๋า
>
>ฐานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ปลูกบ้าเรือนต้องมีฐาน
>ถ้าฐานไม่มั่นคงย่อมพังลงมาได้โดยง่าย เต๋าว่า
>ถ้าฟ้าไม่กระจ่าง ย่อมจะพังลงมา ถ้าดินไม่มั่นคง
>ก็จะแตกร้าว
>
>คุณควรจะรู้กฎพื้นฐานของการเล่นหุ้นก่อน
>การมีหุ้นหมายถึงความเป็นเจ้าของ
>ครอบครองกรรมสิทธิส่วนหนึ่งของบริษัทนั้น ๆ
>(ส่วนหนึ่งของโต๊ะทำงาน, ยี่ห้อ หรือผืนที่ดินอาการ
>เป็นต้น)
>แต่คุณคงไม่อยากมีหุ้นในธนาคารกรุงเทพเพราะอยากได้ขาโต๊ะทำงานจริงไหม?
>กำไรต่างหาก นั่นคือ บริษัทควรมีผลประกอบการที่สูงขึ้น
>หรือมีการขยายงานต่อเนื่องอย่างมีอนาคต
>ดังนั้นกฎพื้นฐานแห่งการเล่นหุ้นคือ :
>เป้าหมายของการเล่นหุ้นคือการหาบริษัทซึ่งผลตอบแทนในภายภาคหน้าสามารถซื้อได้ในปัจจุบันด้วยราคาที่ถูกกว่าผลตอบแทนในอนาคตของบริษัทอื่น
>
>มรรควิถี
>
>สิ่งใดที่มีค่ามาก หาได้ยาก
>แต่คนทั้งหลายมิได้ยกย่องคุณค่าประชาราษฎร์จะไม่ลักขโมยทองคำที่นิยมในปัจจุบัน
>เพราะราให้คุณค่าว่าทองคำมีค่า จึงมีคนอยากได้
>ถ้าเราตีคุณค่าของมันเท่ากับเม็ดทราย
>คนทั้งหลายย่อมไม่อยากได้
>
>ตัววัด คุณค่า ของหุ้นหนึ่ง ๆ นั้น
>ให้ดูจากสัดส่วนของราคาต่อเงินปันผล (ดูตาราง)
>
>สัดส่วนของราคาต่อรายได้ (PE ratio)
>
>
>รายได้สุทธิ4 ส่วนแบ่งเงินปันผลต่อหุ้น (EPS)
>
>ราคา 4 เงินปันผลต่อหุ้น = PE ratio
>
>โชคดีที่คุณไม่ต้องคิดสูตรนี้หาค่า PE
>เพราะในหนังสือพิมพ์บอกข้อมูลส่วนนี้ไว้แล้ว
>
>ค่า PE บอกคุณว่า
>คุณจ่ายเงินเท่าไหร่ในวันนี้แลกกับรายได้ของปีกลาย เช่น
>บริษัทแห่งหนึ่งมีผลประกอบการปีกลายที่ 320 ล้านบาท
>เนื่องจากมีการกระจายหุ้นทั้งหมด 8 ล้านหุ้น
>เงินปันผลต่อหุ้นจึงเท่ากับ 40 บาท ขณะวันที่ 1 มกราคม
>2543 บริษัทนี้มีราคาหุ้นอยู่ที่ 72 บาท
>บริษัทนี้จะมีค่า PE เท่ากับ 1.8
>
>
>ค่า PE
>มีความสำคัญตรงที่มันทำให้เราสามารถทำการเปรียบเทียบหุ้นต่อได้แม้ว่าหุ้นแต่ละตัวจะมีราคาต่างกัน
>หากปราศจากการวัดค่านี้
>จะเป็นเรื่องยากที่จะเปรียบเทียบหุ้นบลูชิพมูลค่าหลายร้อยบาทกับหุ้นที่มีมูลค่าเพียงไม่กี่บาท
>
>ค่า PE ของหุ้นบลูชิดทั้งตลาดโดยเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่
>หมายถึงตลาดบอกคุณว่า
>พวกเขาคาดเดาให้หุ้นบลูชิดของบริษัท A มีราคาหุ้นละ 650
>บาท ขณะที่หุ้นบริษัทเล็กอย่าง B มีราคาหุ้นเพียง 5 บาท
>ค่า PE ของบริษัท A อยู่ราว 25 และ PE ของ B อยู่ที่ 55
>หมายความว่า เงินกำไรแต่ละหนึ่งบาทของ B
>มีต้นทุนมากกว่าเงินหนึ่งบาทของ A เป็นสองเท่า
>การที่ยังมีผู้คนสนใจซื้อหุ้นของ PE
>ต่ำไม่ได้หมายความว่าหุ้นจะมีค่ามากกว่าเสมอไป ใช่
>คุณพูดถูก เนื่องมากจากสองเหตุผล
>
>PE เป็นค่าที่วัดย้อนหลัง
>จากการที่ใช้ผลกำไรของปีกลายมาวัด
>การทำนายถึงอนาคตจึงค่อนข้างจำกัด
>
>บางบริษัทสมควรมีค่า PE ต่ำ
>บางบริษัทมีราคาหุ้นต่ำเนื่องจากตลาดคิดว่ามันเติบโตยาก
>
>มองไปข้างหน้า
>
>
>จำไว้ว่า
>เป้าหมายของเราคือการหาบริษัทซึ่งคุณสามารถซื้อรายได้ในอนาคตได้ถูกกว่าบริษัทอื่น
>มีเพียงสองวิธีที่จะทำเช่นนั้นได้ คือ
>ถ้าไม่ซื้อบริษัทซึ่งราคาในปัจจุบันต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
>ไม่งั้นก็จะซื้อบริษัทที่ราคาในอนาคตจะสูงกว่าคาด
>พูดโดยสรุปก็คือ
>มันอธิบายรูปแบบของการลงทุนในตลาดหุ้นสองแบบคือ
>การลงทุนที่มูลค่า
>ซึ่งจะเป็นการหาซื้อหุ้นราคาถูกที่จะแพงขึ้นในอนาคต
>กับการลงทุนที่อัตราความเจริญเติบโต
>ซึ่งจะซื้อหุ้นของบริษัทที่เติบโตเร็ว
>
>
>ทั้งสองวิธีล้วนมีข้อดีและข้อเสีย
>จึงควรผสมผสานเข้าด้วยกัน
>เช่นในปัจจุบันตลาดหุ้นกำลังบูมด้านบริษัทเทคโนโลยีสื่อสาร
>วิธีลงทุนแบบหลังจะเหมาะกว่า
>ทว่าก็ไม่ควรลืมว่าการลงทุนแบบแรกนั้น จุดประสงค์ก็คือ
>ช้อนซื้อหุ้นตัวอื่นที่ราคาตกนั่นแหละ
>
>
>ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีไหน อย่างที่บอกแล้วว่า ค่า PE
>มีข้อจำกัดตรง เป็นการคำนวณจากอดีต
>โชคดีที่มีการคิดค้นวิธีหาค่าตัวใหม่ เรียกว่า PEG
>ซึ่งคำนวณอัตราการเจริญเติบโตในอนาคตเข้าด้วย
>วิธีคือหาค่า PE ratio
>ของบริษัทแล้วหารด้วยอัตราการเจริญเติบโตต่อปีที่คาดการณ์เอาไว้
>(ตัว G ใน PEG)
>
>หากบริษัทแห่งหนึ่งมีค่า PE เท่ากับ 25
>และคาดว่าจะเติบโตปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ ค่า PEG เท่ากับ
>1.25 (25-20) หาก PEG มีค่าต่ำกว่า 0.5
>แสดงว่าหุ้นตัวนั้นไม่มีราคา .5-.10
>หมายความว่าราคามันพอเหมาะพอควรแล้ว ส่วนค่า PEG สูงกว่า
>1.0 ชี้ให้เห็นว่า หุ้นตัวนี้มีมูลค่าสูง
>
>คุณจะได้ผลลัพธ์ที่มีความแน่นอนยิ่งขึ้น
>หากพิจารณาตัวเลขคาดการณ์ระยะยาวมาได้
>เช่นสามสิบปีขึ้นไป
>ยังมีต่อ
>
>จากคุณ : สินธร (สินธร) - [วันจักรี 14:55:56]
>
>
>--------------------------------------------------------------------------------
>
>
>
>
>
>
>
>
>
>
>--------------------------------------------------------------------------------
>
> ความคิดเห็นที่ 1
>
>คำนวณ
>
>ตัวอย่างของ Yahoo ในปี 1998 Yahoo มีกำไรต่อหุ้น = 45
>และนักวิเคราะห์คาดว่าจะเติบโตเป็น .73 เหรียญในปี 1999
>และ 93 เหรียญในปี 2000
>(ข้อมูลเหล่านี้สมารถค้นหาได้ทางอินเตอร์เน็ต เช่น
>www.firstcallc.com หรือ www.fool.com )
>มันยากจะอดใจไหวที่จะหาอัตราการเจริญเติบโตโดยนำค่าทั้งสองมารวมกันและหารด้วยสองปี
>ซึ่งจะได้อัตราการเจริญเติบโตต่อปีที่ 53 เปอร์เซ็นต์
>คุณคิดว่ามันง่ายใช่ไหม? แต่ที่จริงมันผิดวิธี
>การจะหาค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อไปนี้
>ถึงทำตามวิธีดังต่อไปนี้
>
>การหาค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อปี
>
>หักรายได้สุทธิปีที่หนึ่งออกจาราได้ของปีสุดท้าย
>เพื่อหาการเติบโตของรายได้รวมทั้งหมด (TEG-Total Earning
>Growth) เช่น ในกรณีของ Yahoo เราใช้รอบวัดคราวละสองปี
>ดังนั้น รายได้ปีสุดท้ายจึงเป็นปีที่สาม นั่นคือ .93
>ลบกับ .45 เหรียญของปี 1998 ได้ผลเท่ากับ 48 เหรียญ
>
>แปรค่านั้นให้ป็นเปอร์เซนต์ (TEGP, นั่นคือ .48
>เหรียญเท่ากับ 107 เปอร์เซนต์ของ .45 ดังนั้น
>อัตราการเจริญเติบโตของ Yahoo จึงเท่ากับ 107%
>ในรอบสองปี
>
>บวก 1 เข้าไปในค่า TEGP
>จะได้ค่าการเจริญเติบโตทั้งหมดรวมกับปัจจุบัน (TGICE)
>ซึ่งเท่ากับ 1.07+1 = 2.07
>
>
>เนื่องจากการคำนวณนี้ใช้ระยะเวลาสองปี ให้หาสแควร์รูทของ
>TGICE (สแคว์รูทของ2.07=1.44) หากใช้เวลาสามปี
>ใช้รูทฐานสาม และฐานสีสำหรับสี่ปี เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
>
>ลบ 1 เพื่อหาอัตราการเจริญเติบโตต่อปี (1.44-1 = .44)
>หมายความถึง เป็นที่คาดการณ์ว่า Yahoo
>จะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อปี = 44%
>
>
>กับค่า PE อยู่ในราว 755 ซึ่งมีผลให้ค่า PEG เท่ากับ
>17.2 บอกเป็นนัยว่าหุ้นตัวนี้มีค่าที่ประเมินไว้สูงมาก
>คุณจึงได้เห็นแล้วว่า ต่อให้ค่า PEG ดูละเอียดเพียงไหน
>ก็ยังใช้ประกอบการพิจารณาได้เพียงหุ้นบางประเภทเท่านั้น
>คือเป็นหุ้นบริษัทเล็กและมีการเติบโตรวดเร็ว
>แต่ต้องมีรายได้เพียงพอจะทำให้ค่า PE สูงขึ้นด้วย
>
>กระนั้น สำหรับหุ้นบลูชิพและบริษัทมหาชนยักษ์ใหญ่อื่น ๆ
>มีวิธีการคิดต่างกันอีกแบบ ขอเรียกว่า YPEG
>ซึ่งต้องใช้ข้อมูลตัวเลขสองส่วนคือ
>ตัวเลขคาดการณ์ของปีถัดไป
>กับอัตราการเจริญเติบโตที่ตั้งเป้าหมายไว้ในอีกห้าปีข้างหน้า
>เพียงนำตัวเลขสองตัวนี้มาคูณกันก็จะได้ราคาเป้าหมายของสินค้าปีหน้า
>
>
>
>ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Fard มีเงินปันผลต่อหุ้น = 5.21
>เหรียญ และมีการเจริญเติบโตในอีกห้าปีข้างหน้าที่ 13%
>ต่อปี ทำให้ได้ค่า YPEG เท่ากับ 67.73 เหรียญ
>เนื่องจากราคาหุ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 60 เศษ
>จึงอาจเรียกได้ว่า หุ้นของ Fard
>นั้นได้รับการประเมินค่าต่ำไปเล็กน้อย
>
> ทานกาแฟก่อน แล้วค่อยอ่านต่อไป ยังมีอีก....
>
>จากคุณ : สินธร (สินธร) - [วันจักรี 14:59:10]
>
>
>
>
>
>
> ความคิดเห็นที่ 2
>
>กระจายวิธี
>
>นกทะเลตัวหนึ่ง
>ถูกพักไปตกอยู่ในฝั่งของราชธานีแคว้นหลู่
>หลู่อ๋องโปรดให้ทำพิธีต้อนรับภายในรากฐานอย่างเอิกเกริก
>ได้ยินเสียงวงมโหรีวงใหญ่ นกตัวนั้นเลยขาดใจตาย
>
>ท่านควรทำกับนก ดังทำกับตัวเอง หรือดังทำกับนก
>อยากเล่นมโหรีก็เล่นไปเถิด
>นกได้ยินย่อมจะบินหนีไปสู่สากวิศ
>เพราะธรรมชาติแตกต่างกันไป น้ำสำหรับปลา
>อากาศสำหรับคนจึงมีความต้องการแตกต่างกัน
>ด้วยเหตุฉะนั้นท่านผู้รู้แต่ก่อน
>จึงมิได้วางกฎเกณฑ์หนึ่งเดียวสำหรับสรรพสิ่ง...
>
>ปัญหาสำคัญสำหรับการคาดเดาอนาคตก็คือ
>ผู้ทำนายย่อมต้องมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ทั้งค่า PEG และ
>YPEG
>นั้นต่างพึ่งพาการทำนายของนักวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูง
>ไม่ได้หมายความว่าวิธีการนี้จะใช้ไม่ได้ผล
>เพียงแต่มันมิอาจทำสำเร็จโดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลอื่นได้
>และด้วยความที่หุ้นแต่ละตัวมีความเสี่ยงต่อการลงทุนสูงต่ำแตกต่างกัน
>ดังนั้นนักลงทุนจึงไควรพึ่งพาวิธีการคำนวณแบบใดแบบหนึ่งอย่างตายตัวจนเกินไป
>พึงจดจำไว้ว่าการทำลายกำแพงได้โดยการกระทุ้ง
>แต่อุดรูไม่ไดด้วยวิธีนี้
>สรรพสิ่งนี้ย่อมมีที่ใช้แตกต่างกัน
>ม้าดีเดินทางได้วันละพันลี้ จะให้มาจับ หนู ย่อมไม่ได้
>จะเอาของใหญ่ใส่ถุงเล็กนั้นไม่ได้
>จะเอาเชือกสั้นผูกกระป๋องตักน้ำในบ่อลึกก็ย่อมมิได้เช่นกัน
>
>แนวคิดนี้ใช้ได้กับรูปแบบของการลงทุนด้วย
>การลงทุนซื้อหุ้นหลายด้าน
>อุตสาหกรรมประเภทหนึ่งจะมีความเสี่ยงต่ำกว่าการมีหุ้นทั้งหมด
>กระจายอย่างไม่เป็นเอกภาพ
>นักลงทุนควรจัดอันดับความคุ้มค่าของหุ้นโดยลองใช้วิธีการต่าง
>ๆ ดู ถึงตอนนี้เราคงเริ่มเอียนกับตัวเลขแล้ว
>ลองย้ายไปดูในแง่มุมอื่นที่เป็นอัตวิสัยยิ่งกว่านี้บ้าง
>
>ลงทุนอย่างผู้เชี่ยวชาญ
>แต่มิใช่อย่างผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
>
>เมื่อพรานขมังธนูยิงโดยไม่หวังอะไร
>ย่อมใช้ความชำนาญเต็มที่
>ถ้ายิงเพื่อโล่ทองเหลืองย่อมประหม่าแต่แรกแล้ว
>ยิ่งยิงเอาทองเป็นรางวัล เลยตาบอดเสียด้วยซ้ำ
>ความชำนาญมิได้แปรเปลี่ยน เป็นรางวัลที่แบ่งเขาเป็นสอง
>เขาคิดเรื่องเอาชนะยิ่งกว่าคิดที่จะยิง
>อำนาจของเขาเลยสูญปลาสนการไป
>
>คุณเคยได้ยินเรื่องการคลั่งไคล้ในหุ้นของกิจการทางเทคโนโลยีบ้างหรือไม่
>หุ้นบางตัวเปิดขายอยู่ที่ราคาพาร์ 20 บาท
>แต่พุ่งพรวดไปถึง 150 บาท ภายในวันแรกที่เข้าสู่ตลาดหุ้น
>เราคงต้องมาดูก่อนว่าตัวเลขราคาพาร์นั้นมาจากไหน
>เมื่อบริษัทใดต้องการเพิ่มทุนโดยเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น
>พวกเขาจะต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงินหรือธนาคารเพื่อการลงทุน
>คนเหล่านี้จะทำการศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด
>รวมไปถึงวิเคราะห์แผนการธุรกิจต่าง ๆ
>ออกมาเป็นแผนโครงงานสวยหรูสำหรับให้นักลงทุนได้เห็นกลยุทธ์อยู่ที่การวางราคาของหุ้นให้สูงพอที่บริษัทลูกค้าสามารถได้รับผลประโยชน์สูงสุด
>แต่ต้องต่ำพอจะดึงดูดลูกค้าเป้าหมายให้มารุมทึ้งขนมปังก้อนนี้ในวันแรกของการเข้าสู่ตลาด
>(เพื่อจะสร้างกระแสความคึกคัก)
>ถ้าหากธนาคารและผู้เชี่ยวชาญวงในทั้งหลายเห็นพ้องต้องกันว่าบริษัทมีความคุ้มค่าในราคา
>20 บาทต่อหุ้น
>แล้วเหตุไฉนจึงยังมีนักลงุทนอิสระยอมจ่ายเงินสูงกว่าเป็นหลายเท่าเพื่อเข้าคิวซื้อมัน?
>
>
>มันเป็นการพนัน
>เหมือนที่ยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วผีราคาสูงเป็นสิบเท่าจากราคาหน้าตั๋วเพื่อหวังจะมีใครมาซื้อต่อในราคาสูงกว่านั้น
>มันอาจเป็นจริงอย่างที่คิดก็ได้
>แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นเช่นนั้นหรอก
>เพราะทุกคนล้วนถูกรางวัลมาลวงตาเอา
>
>จุดประสงค์สำคัญอยู่ที่ทุกคนควรเรียนรูจากการเห็นนักธุรกิจพัฒนาบริษัทของตน
>ไม่ใช่จากจำนวนมูลค่าของหุ้น แต่ในฐานะของธุรกิจ
>บริษัทดีที่มีราคาหุ้นต่ำอาจไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนที่เมามายอยู่กับค่าการเติบโตของราคาหุ้น
>แต่บริษัทแบบนี้แหละที่อยู่ในความสนใจของนักธุรกิจในการเริ่มเข้ามาช้อนซื้อหุ้นหรือเข้าตาบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สนใจซื้อหุ้นราคาถูกนี้ในรูปแบบของการเทคโอเวอร์
>ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ไหน
>ก็ล้วนแล้วแต่เพิ่มเงินในกระเป๋าของนักลงทุนทั้งนั้น
>
>เหลืออีกนิดหน่อย.....
>
>
> รางวัลสำหรับผู้อดทนอ่านทุกท่าน
>
>
>จากคุณ : สินธร (สินธร) - [วันจักรี 15:01:48]
>
>
>
>
>
>
> ความคิดเห็นที่ 3
>
>เรามาต่อกัน สุดท้ายแล้วครับ...
>
>เทคโอเวอร์
>
>แล้วเราจะมองหาบริษัทที่พร้อมโดนเทคโอเวอร์ได้อย่างไร?
>นอกเหนือจากค่า PE ที่ต่ำแล้ว
>ควรมองหาบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการรวมตัวกันอย่างมั่นคงโดยบริษัทที่มีจุดแข็งอยู่นส่วนใดส่วนหนึ่งแต่ขาดมิติด้านอื่นอย่างที่บริษัทคู่แข่งมี
>เช่น เมื่อทางไครส์เลอร์ไม่สามารถต่อสู้กับทางฟอร์ด
>หรือเยเนรัลมอเตอร์ในเรื่องของการขายรถตลาดต่างประเทศได้
>มันก็เริ่มเป็นที่เตะตาของเมอร์เซเดส
>ซึ่งมีจุดแข็งอยู่ที่ชื่อเสียงทั่วโลก หากแต่ขาดสินค้า
>สำหรับตลาดระดับกลางและล่าง
>
>นอกจากนี้ควรมองหาบริษัทเล็ก ๆ
>ในตลาดที่ต้องอาศัยงบประมาณการลงทุนระดับชาติสูง เช่น
>ธนาคาร หรือผู้ประกอบกิจการสื่อ
>ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาซื้อช่วงไปดำเนินงานต่อได้ถูกกว่าจะไปเริ่มต้นด้วยตัวเองทั้งหมด
>
>บทสรุป
>
>บทความนี้เป็นเพียงความพยายามให้ผู้อ่นได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์หาอมูลเพื่อเล่นหุ้นต่อไปในอนาคต
>(หากยังสนใจอยู่) อย่างที่บอกกันไปแล้วว่า
>ไม่มีวิธีการใดเพียงวิธีเดียวที่ใชได้กับหุ้นทุกตัวหรือนักลงุทนทุกคน
>มันคงไม่มีทางเป็นเช่นนั้นได้เป็นแน่เพราะตลาดหุ้นก็เปรียบเสมือนจักรวาลที่มีเงินเป็นพลังงานขับเคลื่อนในลักษณะเดียวกับพลัง
>หยิน และ หยาง
>ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจอันมีธรรมชาติเป็นหยิน-หยาง
>เช่นเดียวกัน มีการขึ้น-ลงเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง
>ตลาดหุ้นย่อมรับผลเช่นนี้มาดังเช่นทุกสิ่งในธรรมชาติที่มีสภาวะแห่งเต๋าเป็นปฐมมูลของสรรพสิ่ง
>
>
>
>พึงจำไว้ว่า ในขณะที่คุณกำลังมุ่งมั่นหากำไรจากตลาดหุ้น
>ทุกคนในนั้นก็มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับคุณ
>คือหวังว่าจะมีไอ้โง่สักคนมาซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่าที่คุณซื้อมา
>ประเด็นที่บทความนี้พยายามชี้ก็คือ
>มีสองด้านของการค้าหุ้นทุกครั้ง
>และหุ้นจะขับเคลื่อนไปในรูปแบบเดียวกับหยิน-หยาง
>เมื่อมันมีขึ้น มันก็ย่อมมีลง
>เมื่อเคยมีเงินจำนวนเท่านั้นไหลเข้าประเทศก็ย่อมถึงวันที่เงินจำนวนเท่านี้
>(หรืออาจมากกว่าเดิม) ไหลออกจากประเทศ
>
>
>
>เต๋าแนะนำหลักสามประการไว้ดุจมีขุมทรัพย์
>หนึ่งคือมีความรัก หนึ่งคือกระทำแต่พอควร
>หนึ่งคือการไม่เป็นหนึ่งในโลก ลองไตร่ตรองดูแล้ว
>คุณจะเตือนสติตนเองอีกครั้งในเวลาเล่นหุ้นหรือทำธุรกิจใด
>ๆ เต๋าว่าไม่มีภัยพินาศใดยิ่งใหญ่เท่าความโลภ
>ไม่มีหายนะใดยิ่งใหญ่เท่ากับความไม่รู้จักพอ
>เราทุกคนจึงเหมือนพรานขมังธนูในความคิดที่จะชนะหรือกอบโกย
>จนลืมความสามารถในการยิง
>
>เต๋าจึงว่า ความรู้จักพอ จะทำให้มีพอไปตลอดชีวิต
>
>
>
>
> หวังเพียงทุกท่านมีความสุขกับการลงทุน...สวัสดี
Value Know How?
BEN
Verified User
โพสต์: 111
ผู้ติดตาม: 0

เก็บเอามาฝากจากพันธุ์ทิทย์เมื่อนานมาแล้ว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ :wink:
ล็อคหัวข้อ