กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หุ้นอิเลคQ3ทำกำไรสุดยอด
กองทุน  โบรกต่างชาติประสานเสียงชูกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ยังฉายแววสดใส ประเมินผลงานโดดเด่นหลังความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังขยายตัวต่อเนื่อง แนะอย่ามองข้ามจุดเด่นราคาหุ้นยังถูกแถมให้ปันผลสูง หุ้นเด่นนำทีม CCET HANA DELTA

นายณสุ จันทร์สม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวว่า หุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าผลประกอบการน่าจะเติบโตได้ดีต่อเนื่อง จากยอดขายและการเติบโตของการใช้สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความต้องการสูง ประกอบกับราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวยังถือว่าไม่แพง เมื่อเทียบกับจุดเด่นในเรื่องของอัตราการจ่ายเงินปันผลที่อยู่ในระดับสูง

นักลงทุนส่วนใหญ่จะมองข้ามหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพราะให้น้ำหนักในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนแต่จริงๆแล้วผู้ประกอบการเองก็มีการลดความเสี่ยงในหลากหลายวิธี ทำให้อัตราการทำกำไรก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และที่สำคัญยังเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลสูงด้วยนายณสุกล่าว

มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซิตี้ คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังเติบโตได้ดีจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการเติบโตของประเทศจีนและอินเดีย ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะการเมืองไม่ค่อยส่งผลกระทบกับกลุ่มนี้มากนัก
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 212&ch=225
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news18/06/07

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อุตฯเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ย้ำ! 'อีก 3 ปีจะขึ้นแท่นผู้นำในอาเซียนให้ได้'  
มีการจับตามองกันว่าท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ในบรรยากาศที่กำลังซื้อในประเทศถดถอยลง ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองที่ยังร้อนระอุอยู่ในเวลานี้ขณะที่การส่งออกก็ยังต้องเผชิญกับบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แล้วอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่แต่ละปีมีมูลค่าของการส่งออกนำในลำดับต้นๆนั้นจะเป็นอย่างไร!

ดร.ขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)มองว่าประเทศไทยค่อนข้างโชคดีที่พื้นฐานของเศรษฐกิจดีอยู่แล้ว และการผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าฯส่วนใหญ่ก็พึ่งพาการใช้ชิ้นส่วนในประเทศเป็นหลัก ดูจากปี2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้ารอบด้าน แต่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก็ยังมีมูลค่าส่งออกเป็นอันดับ 1 ของประเทศ โดยปี2549 มีการส่งออกคิดเป็น 31.58% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ (123,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ )

นี่คือจุดยืนที่ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีความหวังว่าเป้าส่งออกปี 2550 จะเพิ่มขึ้น 15% ในส่วนของการพึ่งพาตลาดส่งออก รวมถึงจะมีการทดแทนการนำเข้าทั้งสินค้าสำเร็จรูปและชิ้นส่วนที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 600,000 ล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ โดยนับจากนี้ไป จะมีการจ้างงานมากกว่า 500,000 คน มีการลงทุนมากกว่า 2.08 ล้านล้านบาท

โดยกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิส์ คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มเป็น 2 ล้านล้านบาทในอีก 3-4 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งหมายความว่า ภายในปี 2553 จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียนให้ได้!
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2227
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/06/07

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ครม.ไฟเขียวเว้นอากรเหล็กกล้า

โดย วัน พุธ ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 02:55 น.
ครม.เห็นชอบยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กกล้า 28 ประเภทย่อย ลดอุปสรรคการพัฒนาและเพิ่มขีดแข่งขันให้ผู้ประกอบการในประเทศ
ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการยกเว้นอากรขาเข้าเหล็กกล้าที่มีคุณลักษณะทางไฟฟ้า จำนวน 28 ประเภทย่อย เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

ทั้งนี้ มติดังกล่าวเป็นการปรับลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับเหล็กกล้าแมกนีติก หรือเหล็กกล้าอิเล็กทริกชนิดที่มีผลึกไม่เรียงตัวจาก 1% เป็นยกเว้นอากร จำนวน 7 ประเภทย่อย และจาก 5% เป็นยกเว้นอากร จำนวน 15 ประเภทย่อย รวม 22 ประเภทย่อย และปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กซิลิคอนอิเล็กทริก จำนวน 6 ประเภทย่อย จาก 1% เป็นยกเว้นอากร

รวมทั้งยกเลิกการปรับลดอัตราอากรขาเข้าเหล็กกล้าที่มีคุณลักษณะพิเศษทางไฟฟ้า เป็นรายการเฉพาะ จำนวน 4 ประเภทย่อย ซึ่งการยกเว้นอากรดังกล่าวจะไม่กระทบกับผู้ประกอบการผลิต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในประเทศ แต่จะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้น
http://news.sanook.com/economic/economic_150799.php
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปี 50 เติบโตต่อเนื่อง...แต่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 10:51:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :     ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากการเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสรอ. คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ผลิตภัณฑ์      ส่งออกหลัก ได้แก่ Hard Disk Drive (HDD) อุปกรณ์ส่วนประกอบ  เครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ส่งผลให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายชนิด อาทิ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น  ปัจจุบัน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคาของสินค้า และยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ประกอบกับประเทศผู้นำเข้าหลักของไทยเริ่มมีการนำมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ามากขึ้น

ภาวะการผลิต...ขยายตัวต่อเนื่อง

   อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการผลิตอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบขั้นพื้นฐานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและเงินลงทุนค่อนข้างมาก อุตสาหกรรมกลางน้ำ เป็นการนำวัตถุดิบที่ได้จาก       อุตสาหกรรมต้นน้ำมาประกอบเป็นชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า และ แผ่นวงจรพิมพ์ เป็นต้น เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากนัก เน้นการใช้แรงงานในการผลิตเป็นหลัก โดยผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมขั้นนี้มากกว่า 70% และสุดท้ายเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เป็นการนำชิ้นส่วนจากอุตสาหกรรมกลางน้ำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป อาทิ คอมพิวเตอร์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น  ปัจจุบัน จำนวนโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีประมาณ 906 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 50 ล้านบาท) จำนวน 569 โรงงาน โรงงานขนาดกลาง (ทุนจดทะเบียนระหว่าง 50-200 ล้านบาท) จำนวน 195 โรงงาน และ   ผู้ประกอบการขนาดใหญ่(ทุนจดทะเบียนมากกว่า 200 ล้านบาท) จำนวน 142 โรงงาน มีการจ้างงาน  รวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 คน  ทั้งนี้ โรงงานส่วนใหญ่จะเป็นของผู้ผลิตขนาดเล็กคิดเป็นร้อยละ 62.8  ของโรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด  ขณะที่ ปริมาณการผลิตส่วนใหญ่จะมาจากโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่ จากการเป็นโรงงานที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศหรือเป็นการลงทุน

    จากต่างประเทศทั้งหมด ทำให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากบริษัทแม่ใน ต่างประเทศ นอกเหนือจากการเป็นโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ จึงมีศักยภาพในการผลิตค่อนข้างสูง  

    ลักษณะการผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิต (Electronic Manufacturing Service: EMS) ซึ่งจะมีการผลิตทั้งการรับจ้างในรูปแบบ Original Equipment Manufacturing หรือ OEM คือ การผลิตตามแบบที่ลูกค้ากำหนด และในรูปแบบ Original Design Manufacturing หรือ ODM คือ การผลิตที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ออกแบบตามข้อกำหนดของ   ลูกค้า โดยผู้ประกอบการไทยจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบในการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า      ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศเกือบร้อยละ 90 เนื่องจากวัตถุดิบที่มาจากอุตสาหกรรมต้นน้ำในประเทศมีคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้างผลิตในต่างประเทศ

    อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเพื่อการส่งออกถึงประมาณ 80-90% ดังนั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ จึงขึ้นอยู่กับความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเป็นสำคัญ สำหรับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 นี้ มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากดัชนีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นการขยายตัวตามแรงขับเคลื่อนจากการผลิตผลิตภัณฑ์ Hard Disk Drive (HDD) ที่มีการขยายตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 31 ตามการขยายตัวของตลาดคอมพิวเตอร์และตลาด Consumer Electronic ที่ใช้ HDD เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต

การส่งออก...ยังไปได้ดี

   จากการเติบโตที่โดดเด่นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก ได้ส่งผลให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากดัชนี Semiconductor Book to Bill Ratio (อัตราส่วนยอดคำสั่งซื้อต่อยอดจำหน่ายจริง) ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1 สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ของตลาดโลกว่ายังคงอยู่ในเกณฑ์ดี นับเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่า        การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเป็น 9,278.73 ล้านเหรียญสรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกเด่น

   สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ยังคงได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 5,068.89 ล้านเหรียญสรอ. ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็น  สัดส่วนร้อยละ  54.63 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยทั้งหมด อันมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้า HDD ที่มีสัดส่วนมากที่สุดในกลุ่ม (ประมาณร้อยละ 60) ที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก  ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตของบริษัทที่ผลิต HDD รายใหญ่ 4 ใน 5   ของโลก ได้แก่ Seagate Technologies, Western Digital, Hitachi Global Storage และ Fujitsu  ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่าร้อยละ 80 ของตลาด HDD ทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกรองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 2,617.02 ล้านเหรียญสรอ. มีสัดส่วน 28.20% ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยทั้งหมด โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แผงวงจรไฟฟ้าในการผลิตที่ค่อนข้างสูง อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และ อุตสาหกรรม  โทรคมนาคม เป็นต้น  ในส่วนของอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอดนั้น มีมูลค่าการส่งออก 356.23 ล้านเหรียญสรอ. มีสัดส่วนร้อยละ 3.84

สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่นตลาดส่งออกสำคัญ

   ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 ในสัดส่วนร้อยละ 16.2 14.9 และ 12.3        ตามลำดับ หรือมีส่วนแบ่งตลาดทั้งสามแห่งรวมกันมากกว่า 40% ของมูลค่าตลาดส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โดยรวม

    สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งของไทย   ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,502.95 ล้านเหรียญสรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.11 จากช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยเป็นไปตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเครื่องเล่นพกพาและกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่ยังคงได้รับความนิยมจากตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2550 กลุ่มเครื่องเล่นพกพาและกลุ่มคอมพิวเตอร์ในสหรัฐอเมริกาจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.6% และ 7 ตามลำดับ ประเภทของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุด ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70.48 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยไปยังสหรัฐอเมริกาทั้งหมด  รองลงมา ได้แก่  แผงวงจรไฟฟ้า ในสัดส่วนร้อยละ 14.82 และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  ในสัดส่วน 4.16%

    จีน ซึ่งในช่วง 1-2 ปีมานี้ ได้เขยิบฐานะขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากไทยมากเป็นอันดับสองแทนญี่ปุ่น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในระดับสูงของจีน ทำให้มีความต้องการใช้สินค้าเทคโนโลยีเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของตลาดภายในประเทศ จึงต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งอื่นรวมทั้งไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 ไทยส่งออกไปเป็น  มูลค่า 1,384.66 ล้านเหรียญสรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ประเภทของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังจีนมากที่สุด ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีสัดส่วนร้อยละ 67.42 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปยังจีนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า และ วงจรพิมพ์ มีสัดส่วนร้อยละ 19.54 และ 4.06 ตามลำดับ

    ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกอันดับสามของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 1,138 ล้านเหรียญสรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.95 จากช่วงเดียวกันของ     ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่องของบริษัทญี่ปุ่นที่   เข้ามาลงทุนในไทย ทั้งการร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยและ/หรือเป็นการลงทุนเองทั้งหมด เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกไปยังญี่ปุ่น โดยมี แผงวงจรไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดในสัดส่วนร้อยละ 36.11 ของมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยไปญี่ปุ่นทั้งหมด     รองลงมา ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ในสัดส่วนร้อยละ 31.97 และ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ   ในสัดส่วนร้อยละ 11.98

การนำเข้า...เพิ่มขึ้นตามการส่งออก

   ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2550 การนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 6,429.26 ล้านเหรียญสรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.73 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบเพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปแล้ว      จึง ส่งออก ดังนั้น เมื่อการส่งออกขยายตัวดี ก็จะส่งผลให้มีการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตาม ไปด้วย สำหรับตลาดนำเข้าหลักของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซียและสหรัฐอเมริกาในสัดส่วนร้อยละ 20.38 14.31 12.72 และ 11.74 ของมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

    เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า แผงวงจรไฟฟ้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีการ นำเข้ามากที่สุด โดยมีมูลค่า 3,053.14 ล้านเหรียญสรอ. มีสัดส่วน 47.48% ของมูลค่าการนำเข้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของไทย เป็นการนำเข้ามาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมประกอบวงจรรวม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์  พื้นฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีแหล่งนำเข้าหลักคือ ญี่ปุ่น ไต้หวันและสหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ารองลงมา ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมีมูลค่าการนำเข้า 2,252.47 ล้านเหรียญสรอ. มีสัดส่วนร้อยละ 35.03 แหล่งนำเข้าหลัก ได้แก่ จีน มาเลเซียและสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ยังมีการนำเข้า ผลิตภัณฑ์ประเภทสื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง มีมูลค่าการนำเข้า 444.14 ล้านเหรียญสรอ. มีสัดส่วน 6.91% แหล่งนำเข้าหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซียและญี่ปุ่น

แนวโน้มปี 50...เผชิญการแข่งขันรุนแรง

   ในปี 2550 คาดว่า การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.5 จากปีที่ผ่านมา จากความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นของตลาดโลก โดยเฉพาะ การผลิต Consumer Electronics อาทิ กล้องดิจิตอล MP3/DVD Player และอุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น รวมทั้ง การเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มยานยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์  เหล่านี้ ล้วนส่งผลดีต่อการผลิตและ    การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง Hard Disk Drive (HDD) และแผงวงจรไฟฟ้า ที่ผู้ประกอบการชั้นนำในตลาดโลกใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ  

   อย่างไรก็ตาม จากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งจากประเทศคู่แข่งที่มีเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยมากกว่าไทยอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย และ จากประเทศคู่แข่งที่มีความเปรียบไทยในเรื่องต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าอย่างจีนและเวียดนาม ประกอบกับการเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านการส่งออกหลายประการที่อาจกดดันให้มีการขยายตัว      น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้   ทั้งจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท  รวมทั้งการกีดกันทางการค้าโดยมาตรการ ที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีผลบังคับใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับกลยุทธ์ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อรองรับกระแส การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่มีอยู่ตลอดเวลาในตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก  ทั้งนี้ เพื่อให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีศักยภาพพอที่จะยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

thanks so much

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับคุณ SARAN ที่ช่วยกันโพสท์ครับ เนื้อหาของเว็บเราจะได้มีข้อมูลมากๆขึ้นเพื่อประโยชน์ของชาววีไอครับ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าทั้งกลุ่ม แต่มองว่าไตรมาส 3/2550 เป็นต้นไปจะเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจและคาดว่าไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก โดยเฉพาะบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าน้อยสุด เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีรายรับเป็นเงินบาท 100% อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าในประเทศไทยเกือบทั้งสิ้น

SPPT ไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาที่แข็งค่า แต่ในทางอ้อมอาจได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าอาจจะมีออร์เดอร์น้อยลง
นักวิเคราะห์ กล่าว

สำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบน้อยรองลงมาคือ บริษัทเอสวีไอ จำกัด(มหาชน) SVI โดย SVI จะได้รับผลกระทบประมาณ 7% หากค่าเงินบาทแข็งค่า 1.00  บาท เนื่องจาก SVI มียอดขายในรูปดอลลาร์สหรัฐ 85% และมีต้นทุนนำเข้าในรูปดอลลาร์ 65%

อย่างไรก็ตามในส่วนของ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) HANA และแคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) CCET จะได้รับผลกระทบ 10%หากค่าเงินบาทแข็งค่า 1.00 บาท บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) DELTA จะได้รับผลกระทบ 13% ส่วน บริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) MPT และบริษัท เคซีอี
อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) KCE ได้รับผลกระทบ 38%

http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 601&ch=225
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 7

โพสต์

พิษเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไอทีร่วง

โพสต์ทูเดย์ เอทีซีไอ คาด อุตฯ ไอทีไทย เดินตามรอยอสังหาฯ เหตุผู้บริโภคชะลอซื้อ รอความชัดเจนการเมือง พร้อมเดินหน้าศึกษาลดภาษีจอแอลซีดี กระตุ้นตลาดโต
นายจำรัส สว่างสมุทร ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซีไอ) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอทีในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ยังวัดอัตราการเติบโตค่อนข้างลำบาก เพราะไม่มีความเชื่อมั่นจากสถานการณ์การ เมืองที่ไม่ชัดเจน ส่งผลให้ตลาดคอนซูเมอร์ หยุดจับจ่ายซื้อสินค้า เช่นเดียวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชะลอการซื้อ เพราะไม่มีความเชื่อมั่น
ขณะเดียวกันภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ (เอนเตอร์ไพรซ์) ก็ไม่มีการลงทุนใดๆ ยังคงรอดูสถานการณ์ก่อนตัดสินใจซื้อ ส่วนภาครัฐก็มีการใช้จ่ายตามงบประมาณตามปกติ ไม่มีโครงการประมูล ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าว เป็นตัวชี้วัดอุตสาหกรรมไอทีโดยรวม ว่าปีนี้ตัวเลขคาดการเติบโตจะอยู่ในระดับที่เท่าไหร่ จากเดิมเมื่อต้นปีคาดว่าไอทีปีนี้โต 12-15% จากปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าประมาณแสนล้านบาท ทั้งนี้หากสิ้นปีมีการเลือกตั้ง ก็เป็นไปได้ว่าตัวเลขการเติบโตดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะทุกคนมีความมั่นใจเศรษฐกิจฟื้น
นายจำรัส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางสมาคมฯ ยังเข้าไปศึกษาความเป็นได้ในเรื่องขอลดภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีนำเข้าจอภาพแอลซีดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าข่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (เอวี) ที่ต้องเสียภาษีนำเข้าถึง 30% ในขณะที่ภาษีชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 0% ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาพรวมตลาดแอลซีดีในอนาคตได้ เนื่องจากปัจจุบันมีความนิยมจอภาพแอลซีดีเพิ่มขึ้น
เทคโนโลยีจอภาพแอลซีดีที่เป็นทีวีกับจอ มอนิเตอร์คอมพิวเตอร์มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพียงแต่มีการแบ่งประเภทของการใช้งานเท่านั้น ซึ่งบางครั้งผู้บริโภคก็นำจอแอลซีดีขนาด 29 นิ้ว ไปใช้ในการนำเสนองานในสำนักงาน หรือบางครั้งก็นำจอภาพ 20 นิ้ว ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ แต่ภาษีจอแอลซีดีสูงถึง 30% เพราะถือว่าเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะเสียภาษี 0% ทำให้ราคาเหลื่อมกันไปมาก ซึ่งหากว่าสามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ก็อาจจะทำให้ทีวีจอแอลซีดีราคาลดลงมา แต่ตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจน จึงต้องเข้าศึกษาหาวิธีลดภาระภาษีการนำเข้าแอลซีดี เพื่อลดอุปสรรคทางด้านการตลาด นายจำรัส กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=177461
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/07/07

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เครื่องปรับอากาศปี' 50 : JTEPA ช่วยหนุนส่งออก...ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรง

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 11:16 น.

      เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทั้งภายในและต่างประเทศเฉลี่ยปีละประมาณ 2 ล้านเครื่อง ปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีสัดส่วนปริมาณผลิตเพื่อการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 80 และส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 เป็นการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกเครื่องปรับอากาศรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากจีน โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 9 ของการส่งออกทั้งหมดในตลาดโลก สามารถนำรายได้เข้าประเทศเฉลี่ยปีละ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม จากภาวะการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้การขยายส่วนแบ่งตลาดทั้งภายในและต่างประเทศต้องเผชิญกับความยากลำบาก โดยเฉพาะการแข่งขันกับเครื่องปรับอากาศของจีน ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า
     
      เอลนิโญ่...หนุนการผลิตเพิ่มขึ้น
      อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศของไทยเติบโตจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ จนพัฒนามาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ปัจจุบัน มีผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศภายในประเทศไม่น้อยกว่า 180 ราย จำแนกเป็นผู้ผลิตชาวไทยที่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและเล็ก ประมาณ 61 ราย และผู้ผลิตขนาดใหญ่ 9 ราย กลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ที่เป็นชาวต่างชาติ 30 ราย กลุ่มผู้ผลิตที่ร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับต่างชาติ 54 ราย และกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ระบุการร่วมทุนอีก 26 ราย
     
      ทั้งนี้ ในปี 2549 มีปริมาณการผลิต 1,681,000 เครื่อง หรือลดลงร้อยละ 16.9 จากปีก่อนหน้า มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 61.6 ของกำลังการผลิตรวม จากการชะลอคำสั่งซื้อใหม่ของตลาดส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป เพื่อระบายสินค้าค้างสต็อกก่อนการบังคับใช้ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตราย RoHS(Restriction of Hazardous Substances) ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000079726
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news10/07/07

โพสต์ที่ 9

โพสต์

งานแสดง"โชว์&เซลล์"อีเล็คทรอนิค - 10/7/2550

ในรอบสัปดาห์นี้ มีงานแสดง "โชว์&เซลล์" อีเล็คทรอนิคที่น่าสนใจคือ งาน Paragon Electronica Showcase เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมาถึง 15 ก.ค.นี้ ณ ROYAL PARAGON HALL ชั้น 5 สยามพารากอน 1 ปีจะมีเพียงครั้งเดียว ภายในงานมีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย นำมาจัดโปรโมชันยั่วใจให้คุณๆ ได้เลือกจับจอง แต่ตัวงานเขามีช็อตเด็ดอยู่เหมือนกัน คือการนำเอานวัตกรรมใหม่ล่าสุดในหลายๆ แบรนด์ มาอวดสายตาคนไทยให้ตบกระเป๋าสตางค์กันเล่นๆ อยากทราบไหมล่ะครับว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกัน

กล้องวีดีโอถ่ายใต้น้ำเครื่องแรกของโลกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเก็บความประทับใจไว้กับภาพเคลื่อนไหวที่มีชีวิตชีวา คงต้องถูกใจกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ นั่นคือกล้องถ่ายวีดีโอแบบ Digital Camcorder รุ่น VPC-CA65 ของ Sanyo ซึ่งแน่ล่ะ มันต้องไม่ใช่กล่องถ่ายวีดีโอธรรมดาๆ เพราะมันเป็นกล้องวีดีโอที่ถ่ายใต้น้ำได้เครื่องแรกของโลก ที่สามารถถ่ายภาพภายใต้สภาวะกดดันของน้ำที่ความลึก 1.5 เมตร โดยไม่ต้องใช้ Housing แต่อย่างใด ซึ่ง VPC-CA65 สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวด้วยขนาดภาพ 640 x 480 พิกเซล ที่ 30 เฟรม/วินาที ถ่ายภาพนิ่งได้ความละเอียดสูงสุดถึง 6 ล้านพิกเซล สามารถกลายเป็นเครื่องอัดเสียง และเว็บแคมได้ในเครื่องเดียว ด้วยสนนราคาค่าตัว 29,900 บาท

LG สั่งนวัตกรรมช็อกวงการภาพและเสียงนวัตกรรมช็อกวงการภาพและเสียงครั้งสำคัญ ด้วยการนำเอาสื่อบันทึกรุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังเป็นคู่แข่งกันอย่างชัดเจน มารวมเอาไว้ในเครื่องเดียว นั่นคือ LG Super Multi Blue Player ที่คุณสามารถนำเอาสื่อบันทึกภาพยนตร์ทั้ง 2 ชนิดมาเล่นบนเครื่องนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Blue Ray Disc และ HD DVD ซึ่ง BH100 สามารถรองรับการเป็นผลิตภัณฑ์ FULL HD ได้อย่างภาคภูมิใจ และจะเป็นผลดีกับผู้บริโภคมากที่ไม่ต้องซื้อเครื่องเล่นถึง 2 เครื่องเพียงเพื่อการดูภาพยนตร์ต่างค่ายที่ไม่ได้ผลิตภาพยนตร์ลงบนสื่อเดียวกัน แต่การวางจำหน่าย BH100 นั้น ยังไม่ทราบว่าจะมีปัญหากับผู้คิดค้นเทคโนโลยีทั้ง 2 แบบหรือไม่...แต่ของเขาดีจริงๆ

เตาอบไฟฟ้าแบบไอน้ำอุณหภูมิ 330 องศาเซลเซียสเดินเข้าครัวกันหน่อย กับอุปกรณ์ที่แม่ครัวรุ่นใหม่หลายคนต้องการเป็นเจ้าของอุปกรณ์สวยๆ ประสิทธิภาพดีๆ อย่าง เตาอบไฟฟ้าแบบไอน้ำอุณหภูมิสูงเครื่องนี้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการปรุงอาหาร HEALTHY SUPERHEATED STEAM ที่ช่วยให้คุณปรุงอาหารที่ต้องการความร้อนของไอน้ำสูงมากถึง 330 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ ทำให้อาหารที่ปรุงจาก SHARP SUPERHEATED STEAM OVEN มีคุณค่าทางโภชนาการสูง คงไว้ซึ่งวิตามินหลากชนิด ที่สลายไปกับการอบแบบธรรมดา ทำให้รสชาติดีขึ้น และมีปริมาณไขมัน และเกลือต่ำ เหมาะสำหรับแม่ครัวยุคใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพอย่างแท้จริง
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=177105
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/07/07

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผู้ประกอบการเดือดร้อน อุตฯไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์แย่ โอดสารพัดปัจจัยลบกระหน่ำ วอนแก้ค่าบาทด่วนก่อนเจ๊ง!  

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โอดเจอมรสุมอัตราแลกเปลี่ยน ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม ถูกกีดกันทางการค้า สินค้าจีนตีตลาด ปัญหาแรงงาน วอนรัฐเข้ามาจัดการด่วนโดยเฉพาะปัญหาค่าบาทแข็ง เร่งใช้มาตรการเด็ดขาดชัดเจน ขืนช้ามีหวังชักแถวปิดกิจการ อ้างทนแบกภาระขาดทุนไม่ไหว

นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวภายหลังการประชุมE&E CEO Froum ครั้งที่4/2550 ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ว่า ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง เราในฐานะผู้ประกอบการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาแก้ไขด่วนเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอร์นิกส์ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆในหลายด้าน อาทิ อัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องทำให้กระทบต่อภาคการส่งออกเป็นอย่างมาก ขณะที่ปัจจัยทางด้านวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนระดับปฎิบัติการ และมาตรการหรือการดำเนินการจัดการสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาตีตลาดไทย

นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากนานาประเทศ เช่นกฎระเบียบ อียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้นและสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดส่งออกหลักก็มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศจีนซึ่งมีราคาถูกกว่าประเทศไทย

จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยจะมีความเสียเปรียบด้านราคาสินค้าและต้นทุนเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเดียวกัน และไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆเชื่อว่าในอนาคตการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่แน่นอน ดังนั้นสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จึงอยากให้รัฐบาลหามาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าเงินบาทอย่างเร่งด่วนซึ่งถือเป็นปัญหาที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเพราะกระทบกับผู้ส่งออกสินค้าทุกอุตสาหกรรม

"ค่าเงินบาทที่มีความผันผวนอย่างมากในตอนนี้นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมากสำหรับ ผู้ส่งออก รัฐบาลควรหามาตรการที่เด็ดขาดและชัดเจนออกมา เพราะการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่2 รองจากประเทศจีนซึ่งนำรายได้เป็นจำนวนมากเข้าสู่ประเทศไทย ถ้าเกิดค่าเงินบาทยังอยู่ในระดับนี้คิดว่าผู้ประกอบการหลายรายคงจะปิดกิจการแน่นอนเพราะทนแบกรับภาระกับการขาดทุนอย่างต่อเนื่องไม่ได้ ถ้าผู้ประกอบการหรือโรงงานปิดตัวก็จะส่งผลกระทบมากมายในหลายๆด้าน อาทิ อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น"นายจารึกกล่าว

ส่วนการขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้ Terminal ของบริษัทการบินไทย(TG)และบริษัท บางกอกไฟส์เซอร์วิส(BFS) ที่จะเก็บTerminalเพิ่มอีก100% ซึ่งปัจจุบันผูกขาดโดย2 บริษัท ได้แก่บริษัทการบินไทย(TG)และบริษัท บางกอกไฟส์เซอร์วิส(BFS) โดยเดิมบริษัทการบินไทย(TG)เก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 100บาท/Shipmentอัตราใหม่จะเป็น200บาท/Shipment และบริษัท บางกอกไฟส์เซอร์วิส(BFS) เก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 250บาท/Shipmentอัตราใหม่จะเป็น500บาท/Shipment นั้นสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เห็นว่าจะเป็นการเพิ่มภาระและส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการของไทย แต่ถ้าหากขึ้นค่าธรรมเนียมจริงรัฐอาจจะรับภาระแทนผู้ประกอบการบางส่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=67309
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news13/07/07

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ศึกโน้ตบุ๊กแข่งแตกเจาะเซ็กเมนต์
โพสต์ทูเดย์ ตลาดโน้ตบุ๊กแยกกันเจาะเซ็กเมนต์ โซนี่ ดันไว-โอ้ รุกวัยรุ่น ผู้หญิง นักธุรกิจ ขณะ เดลล์ ส่งยี่ห้อวอสโทร เจาะเอสเอ็มอี

นายคาซูโอะ ซูยาม่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซนี่ ไทย กล่าวว่า บริษัทได้พัฒนาไว-โอ้ ตระกูล ซี ซีรีส์ เพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่นและผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่โซนี่ให้ความสำคัญ เพราะเป็นเซ็กเมนต์ที่เติบโตสูง โน้ตบุ๊กในกลุ่มนี้จะเน้นออกแบบทันสมัย มีสีสัน
ทั้งนี้ รวมถึงไว-โอ้ ตระกูลเอฟ ซีรีส์ สำหรับกลุ่มผู้ใช้ตามบ้านที่ต้องการความบันเทิงภายในบ้าน โดยโซนี่ได้ นำอุปกรณ์บันทึก (ดิสก์ไดรฟ์) บลู-เรย์ มาใช้สำหรับสร้างและเล่นข้อมูลดิจิตอล ระดับไฮเดฟฟินิชัน ซึ่งโซนี่ต้องการ จะผลักดันให้เข้าไปแทนที่เครื่องคอม พิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือพีซี เนื่องจากแนวโน้มการให้บริการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต (ไอพีทีวี) และความนิยมดูหนังฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยมีเพิ่ม มากขึ้น ดังนั้น จึงน่าจะเป็นโอกาสทางตลาดของโซนี่ เพราะด้วยคุณสมบัติและความสามารถด้านเทคโนโลยีของโน้ตบุ๊กขณะนี้สามารถทดแทนพีซีได้
จากเดิมโน้ตบุ๊กไว-โอ้วางตำแหน่งสินค้าเน้นกลุ่มธุรกิจ ปัจจุบันได้พัฒนาการใช้งานโน้ตบุ๊กให้หลากหลาย และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจ จะเป็นไว-โอ้ ที ซีรีส์ ที่เน้นการออกแบบมาเพื่อการใช้งาน พกพาแบบออล-อิน-วัน ด้วยน้ำหนักเพียง 1.2 กิโลกรัม ใช้งานได้ถึง 11 ชั่วโมง บนเทคโนโลยี อินเทล คอร์ ทู ดูโอ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ วิสตา ระบบการสื่อสารไร้สายในตัว พร้อมระบบรักษาความปลอดภัย
นายซูยาม่า กล่าวว่า โน้ตบุ๊กไว-โอ้ของโซนี่ ครองส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กกว่า 4 หมื่นบาท อยู่ 50% โดยโน้ตบุ๊กในกลุ่มนี้มีสัดส่วนประมาณ 30% ของตลาดรวมโน้ตบุ๊กรวม ที่คาดว่าจะมียอดขายกว่า 6.5 แสนเครื่องในปีนี้ โซนี่จะพยายามรักษาส่วนแบ่งไปพร้อมกับขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายอโณทัย เวทยากร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรท (ประเทศไทย) กล่าวว่า เดลล์จะผลักดันโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (พีซี) ภายใต้แบรนด์ใหม่ วอสโทร (Vostro) เข้าไปทำตลาดกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ในประเทศไทย และยังคงใช้นโยบายการทำตลาดผ่านกลยุทธ์การขายตรง เหมือนกับที่ทำตลาดในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นฐานเดิมของเดลล์ในปัจจุบัน
เดลล์เล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจ เพราะกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่ใหญ่ และยังมีเอสเอ็มอีอีกจำนวนมากที่ขาดระบบไอทีใช้งาน ดังนั้น เดลล์ จึงลงทุนจัดตั้งคอลเซ็นเตอร์ พร้อม ทีมที่ปรึกษาและขายขึ้นมาใหม่ เพื่อรองรับตลาดดังกล่าวในเมืองไทย ในส่วนตลาดกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป หรือคอน ซูมเมอร์ เดลล์ก็มีแผนจะทำตลาดในไทยเช่นกัน แต่ไม่ใช่ในขณะนี้ นายอโณทัย กล่าว
เดลล์ต้องการเปลี่ยนเกมการตลาดใหม่ ผ่านแบรนด์วอสโทร เพราะเดลล์ไม่ได้ต้องการจะนำเสนอเพียงแค่ฮาร์ดแวร์ แต่จะจัดทำเป็นบริการแบบครบวงจร ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการไปพร้อมกัน วอสโทรประกอบด้วย โน้ตบุ๊ก 3 รุ่น 17,900-34,900 บาท พีซี 1 รุ่น 10,900 บาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=178436
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 12

โพสต์

รอดูสถานการณ์ค่าเงินครึ่งปีหลัง
แอลจี เตรียมชะลอแผนลงทุนในไทย

ย้านฐานผลิตไมโครเวฟไปเวียดนาม ลดกำลังผลิตแอร์เตรียมโยกคอมเพรสเซอร์ไปอินเดีย

บริษัทแม่แอลจีสั่งชะลอแผนการลงทุนใหม่ในไทย รอดูสถานการณ์ครึ่งปีหลังค่าเงินบาทแข็งต่อเนื่อง เล็งย้ายฐานผลิตไมโครเวฟไปเวียดนามต้นปีหน้า ขณะเดียวกัน ชะลอแผนเพิ่มกำลังผลิตคอมเพรสเซอร์ คาดอาจย้ายไปอินเดีย ขณะที่เครื่องปรับอากาศลดกำลังผลิต 50%

นายซอง นัก กลิ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย กรุงเทพธุรกิจ ว่าการที่ค่าเงินบาทมีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทจำเป็นต้องปรับแผนด้านการส่งออก รวมทั้งการทำตลาดในประเทศ โดยขณะนี้กำลังทบทวนแผนการลงทุนใหม่ๆ ในสินค้าบางกลุ่ม รวมถึงลดกำลังการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบางตัวซึ่งสินค้าตัวแรกคือ คอมเพรสเซอร์ ที่แอลจีได้ใช้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อส่งออกไปทั่วโลกเมื่อปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ถึง 2.5 ล้านยูนิตภายในปีนี้ แต่ล่าสุดได้ชะลอแผนการดังกล่าวแล้ว โดยยังคงกำลังผลิตไว้ที่ 1.6 ล้านยูนิต

ทั้งนี้ เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว ในฐานะนักธุรกิจก็มีความกังวลกับเรื่องค่าเงินบาทเป็นอย่างมาก เพราะแข็งค่าต่อเนื่องจนส่งผลกระทบกับการส่งออก ซึ่งแอลจีเองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าหลายตัวคิดเป็นสัดส่วนถึง 65% ส่วนอีก 35% เป็นการทำตลาดในประเทศ

ขณะนี้บริษัทแม่ที่ประเทศเกาหลีอยู่ระหว่างการทบทวนกากผลิตสินค้ากลุ่มใหม่ๆ ในประเทศไทย เพราะค่าเงินบาทที่คาดการณ์ว่าอาจจะไปอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้บริษัทแม่ต้องมองหาฐานการผลิตในประเทศอื่น โดยรอดูสถานการณ์ครึ่งปีหลังด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีขึ้นก็อาจจะมีการทบทวนแผน

ทั้งนี้ที่ผ่านมาแอลจีได้มีการปรับโครงสร้างไปหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนด้านการผลิตทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบการบริหารจัดการรวมทั้งการดันให้ผู้บริหารคนไทยก้าวขึ้นมาบริหารงานในระดับสูง ซึ่งการปรับโครงสร้างในส่วนต่างๆ ครั้งนี้ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทยังมีการเติบโต 29% แต่หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ก็จำเป็นต้องปรับแผนอีกครั้งในครึ่งปีหลังซึ่งขณะนี้ก็ได้เริ่มทำไปบ้างแล้ว

ย้ายไมโครเวฟไปเวียดนามโยกแอร์ไปอินเดีย
นายซอง นัก กิล กล่าวต่อว่า นอกจากการไม่เพิ่มกำลังผลิตคอมเพรสเซอร์แล้ว ขณะนี้บริษัทมีโครงการที่จะย้ายฐานผลิตไมโครเวฟไปเวียดนามในต้นปี 2551 ซึ่งแต่เดิมแอลจีมีเป้าหมายที่จะให้ไทยเป็นฐานผลิตสินค้าประเภทนี้และต้องการเป็นผู้นำในตลาดเมืองไทย แต่เมื่อสถานการณ์ค่าเงินบาทเป็นเช่นนี้อาจต้องย้ายฐานผลิต สำหรับกำลังผลิตไมโครเวฟปัจจุบันอยู่ที่ 5 แสนยูนิต และตามแผนเดิมคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านยูนิต ขณะที่เครื่องปรับอากาศก็เช่นกันปัจจุบันกำลังผลิตอยู่ที่ 2.5 แสนยูนิตต่อปี คาดว่าจะลดกำลังผลิตลง 50% และท้ายที่สุดอาจต้องโยกการผลิตไปที่ประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ตาม แอลจีจะรอดูสถานการณ์ในครึ่งปีหลังว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรและค่าเงินบาทมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน แต่หากสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับแอลจีก็อาจจะมีการทบทวนแผนหันมาใช้ฐานการผลิตในไทยเหมือนเดิม
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 16/07/07
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 13

โพสต์

หลอดไฟแข่งดุรับเข้าพรรษา+''โตชิบา''โอ่ยอดขายชุดสังฆทานโต12%/ซีลวาเนียสานต่อทำบุญ9วัด  

โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
ตลาดหลอดไฟ มูลค่า 6.5 พันล้านเดือดรับเทศกาลเข้าพรรษา โตชิบา โอ่ยอดขายชุดสังฆทานโตเพิ่มจากปีก่อน 12% ด้านซีลวาเนีย ทุ่ม 9 ล. สานต่อโครงการเพื่อสังคมปีที่ 3 คาดยอดจำหน่ายชุดสังฆทานทะลุ 1.5 ล้านหลอด พร้อมตั้งเป้ายอดขายปี 50 ที่ 700 ล. ขณะที่ ฟิลิปส์ เปิดตัวแพคเกจใหม่รับหน้าเทศกาล
นางจิรนันท์ อมรมนัส ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยโตชิบา ไลท์ติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหลอดไฟ โตชิบา เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจ ถึงการทำตลาดหลอดไฟในครึ่งปีหลังว่า ยังคงเน้นหนักการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โรดโชว์ และออกสินค้าใหม่จำนวน 4 รุ่น เพื่อกระตุ้นการขาย โดยใช้งบการตลาด 40-50 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขการขายช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 12 % เหตุที่เติบโตเนื่องจากบริษัททำชุดสังฆทานขายต่อเนื่องตลอดทั้งปี

สำหรับปีนี้บริษัทไม่มีการจัดทำโครงการใดๆ ระหว่างช่วงเทศกาลเข้าพรรษา แต่มีโครงการต่อเนื่องกับทางภาครัฐตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา อาทิ การจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ร้านค้า และประชาชนเปลี่ยนการใช้หลอดไส้มาเป็นหลอดตะเกียบ เพื่อช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน โดยยอดขายช่วงครึ่งปีแรก บริษัทโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8% โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มหลอดประหยัดพลังงาน ตั้งเป้ายอดขายโตขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ย 12-15% ขณะนี้บริษัทครองส่วนแบ่งตลาดหลอดไฟคอนซูเมอร์ประมาณ 30-35%

นายปูมเทพ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีลวาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดหลอดไฟจะมีการแข่งขันที่รุนแรงในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เนื่องจากทุกแบรนด์มีหลอดฟลูออเรสเซนต์ชุดถวายสังฆทานเหมือนกัน แต่บริษัทไม่มีความกังวลใจในจุดนี้ เพราะมีการวางแผนการจัดทำเซลล์ โปรโมชั่น และสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้บริษัทได้สานต่อโครงการ ทำบุญ 9 วัด ทำทาน 9 โรงเรียน เป็นปีที่ 3 เนื่องจากได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคที่รักการทำบุญช่วงเข้าพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทำประโยชน์แก่สังคม และพัฒนาสถาบันมาตรฐานของสังคม อันได้แก่ วัด และโรงเรียน ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาด้านระบบแสงสว่างให้มีคุณภาพ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 9 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ายอดการจำหน่ายชุดสังฆทานปีนี้จะสูงกว่า 1.5 ล้านหลอด หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท โตขึ้นจากก่อนเฉลี่ย 20%

สภาวะเศรษฐกิจ-การเมือง ส่งผลให้ยอดขายช่วงครึ่งปีแรกของบริษัทไม่เติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ แต่สามารถทำยอดโตขึ้นจากปีก่อน 10% นอกจากนี้บริษัทได้วางงบการตลาดปี 2550 ไว้ที่ 70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 10 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดการจำหน่ายไว้ที่ 700 ล้านบาท โตขึ้น 20% ซึ่งสัดส่วนรายได้จะมาจากตลาดค้าส่ง 40%, ตลาดงานโครงการ 30% และตลาดค้าปลีก 30% ขณะนี้บริษัทมีส่วนแบ่งตลาด เฉลี่ย15% จากมูลค่าตลาดรวม 6.5 พันล้านบาท/ปี

แหล่งข่าวจากบริษัท ฟิลิปส์อิเลคทรอนิกส์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้จัดทำชุดบรรจุภัณฑ์พิเศษสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ พร้อมคำถวายสังฆทานข้างกล่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการถวายหลอดไฟเป็นสังฆทาน และเป็นการตอบรับกระแสการทำบุญช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้
http://news.sanook.com/economic/economic_159615.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 14

โพสต์

10ปีวิกฤติ"เครื่องใช้ไฟฟ้า" ปิดฉากแบรนด์ไทย

10 ปี วิกฤติเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ มาจากตัวแปรหลักอย่างแบรนด์เกาหลี และล่าสุดสินค้าจากจีน ร่วมลงสนามเปิดสงครามราคา จนวงจรชีวิตสินค้าเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ขอแค่ดีไซน์หรู เทคโนโลยีเลิศ ราคาถูก ก็พอใจ ส่งผลแบรนด์ไทยทยอยปิดฉาก

ยุคก่อนวิกฤติเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยเติบโต แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ในลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป การแข่งขันไม่ดุเดือดชนิดที่ต้องห้ำหั่นกันด้วยการตัดราคา เพราะมีเพียงแบรนด์ ยุโรป ญี่ปุ่น และแบรนด์ไทย แต่ภายหลังจากฟองสบู่แตก จุดเปลี่ยนก็เกิดขึ้น เมื่อแบรนด์เกาหลีประกาศลงสู้ศึก ในตลาดไทยอย่างเต็มตัว โดยมาพร้อมกับราคาที่จูงใจ

การทำราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งในตลาดของค่ายเกาหลี โดยมีผู้นำ อย่าง ซัมซุง และ แอลจี ไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำราคาเพื่อล่อใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าเท่านั้น แต่การกดราคาลงมาเพื่อประกาศสงครามที่คู่แข่งค่ายญี่ปุ่นต่างลงความเห็นว่า " นี่ไม่ใช่เป็นการค้าขายทางธุรกิจ แต่ต้องการเอาชนะคู่แข่งและฆ่าให้ตายกันชัดๆ" สมรภูมินี้ จึงต้อนรับเฉพาะแบรนด์ที่มีสายป่านทางการเงินยาวเท่านั้น

เงื่อนไขทางการตลาดเช่นนี้นี่เอง ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าไทย จนทยอยปิดฉากไปทีละแบรนด์ และไม่เพียงแต่แบรนด์ไทยเท่านั้น แม้แต่แบรนด์ข้ามชาติ เป็นที่คาดหมายว่าอีกไม่นานจะต้องมีการล้มหายตายจากให้เห็นเช่นกันโดยเฉพาะกับค่ายที่ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม ภายหลังยุคฟองสบู่แตก ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยไม่ได้มาพร้อมกับสงครามราคาของค่ายเกาหลีเท่านั้น แต่ยังเข้าสู่ยุคโกลบอลไลเซชั่นที่สินค้าเกือบทุกหมวดมาพร้อมกับเทคโนโลยีและดีไซน์ซึ่งเป็นเทรนด์เดียวกันทั่วโลก และเข้าสู่ยุค convergence อย่างเต็มตัว เรียกได้ว่าแบรนด์ไหนไม่สามารถผนวกเข้ากันได้ สินค้าตัวนั้น จะไม่มีความทันสมัยในสายตาผู้บริโภค และตัวแปรนี้ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ ไม่ต้องการของคงทน แต่ต้องการสินค้าประเภทมีดีไซน์หรู เทคโนโลยีเลิศ แต่ราคาถูก คุณสมบัตินี้นี่เองได้กลายเป็นผลสะท้อนกลับสู่ผู้ผลิตที่ต้องผลิตสินค้าที่มีวงจรชีวิตเร็วขึ้น

เป้าหมายเอาชนะขาดทุนก็ยอม

ศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ชาร์ป ไทย จำกัด อธิบายปรากฏการณ์การแข่งขันในยุคนี้ว่า จุดเปลี่ยนสำคัญภายหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเข้ามาบุกตลาดของแบรนด์เกาหลี ซึ่งหากเทียบกับในอดีตก็เหมือนกับที่แบรนด์ญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาดค่ายยุโรป แต่การมาของค่ายเกาหลีนี้นั้น มาพร้อมกับการประกาศสงครามราคาอย่างเต็มตัว ซึ่งทำให้โครงสร้างราคาในอุตสาหกรรมนี้เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเรียกได้ว่าปัจจุบันเป็นการทำสงครามเพื่อต้องการเอาชนะ ไม่ได้เป็นการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งการแข่งขันทางธุรกิจจะต้องมีผลกำไรบ้าง แต่ขณะนี้ขายเพียงเพื่อสร้างแต่วอลุ่ม ขาดทุนก็ยอม

ผู้บริหารชาร์ปไทย ชี้ให้เห็นอีกว่า 10 ปีมานี้การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามาสู่ยุคของการร่วมทุน บริษัทแม่เล็งเห็นศักยภาพของตลาดไทยด้วยการเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานใหม่ รวมถึงการย้ายฐานผลิตในสินค้าบางตัวมาที่ประเทศไทย และใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปทั่วโลก แต่สิ่งนี้เป็นเทรนด์ของตลาดในทุกธุรกิจ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลกระทบกับแบรนด์ไทย เนื่องจากไม่มีทุนนอกมาสนับสนุน ทำให้หลายๆ แบรนด์ทยอยหายไปจากตลาดเมืองไทย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน ควบคู่ไปกับการลงทุนจนกลายเป็นสิ่งน่ากลัวในยุคปัจจุบันก็คือ การบุกตลาดของแบรนด์เกาหลีที่มาพร้อมกับการทำสงครามราคา จนทำให้ราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกลงมาก คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ทำได้อย่างไร

ผมมองว่าจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมนี้มี 2 ประเด็น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องของโครงสร้างราคาของสินค้าที่มีการดั๊มพ์ราคาจนเละเทะ เพราะบริษัทแม่เข้ามาสนับสนุนมาก เข้ามาซัพพอร์ตทุกทาง ทั้งการทำตลาด ราคา ดีลเลอร์ ไปจนถึงโฆษณา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่การแข่งขันทางธุรกิจ แต่เพื่อต้องการเอาชนะ ต้องการยอดขาย และเพื่อต้องการส่วนแบ่งในตลาด สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นการทำธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจแท้จริงคือต้องมีกำไรบ้าง ไม่ใช่ขายขาดทุน ผมเชื่อว่าแม้ของจะถูกลงผู้บริโภคอาจจะได้ประโยชน์ แต่สินค้าที่ได้ก็คือคุณภาพลดลง สินค้าที่เห็นชัดเจนคือ แอลซีดี ทีวี และเครื่องปรับอากาศ

วงจรชีวิตสินค้าสั้นผลสะท้อนสู่ผู้ผลิต

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงหลังฟองสบู่แตกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าสู่ยุคการย้ายฐานผลิต และการเข้ามาลงทุนของบริษัทแม่อย่างเต็มตัว โดยจุดเด่นที่เกิดขึ้นของไทยคือ การเป็นฐานผลิตเพื่อการส่งออก ประกอบกับการเปิดเสรีทางการค้าที่ส่งผลต่อการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ทำให้มีคู่แข่งในตลาดมากขึ้น ควบคู่ไปกับการเกิดขึ้นพร้อมๆ กับยุคโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้แนวคิดและมุมมองการทำตลาดของผู้ประกอบการเปลี่ยนไป ขณะเดียวกัน เมื่อโลกแห่งการสื่อสารเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภครับรู้ข่าวสารเร็วขึ้น พฤติกรรมการใช้สินค้าจึงเปลี่ยนไป นั่นหมายความว่าความต้องการในการใช้สินค้าเปลี่ยนเร็วตามไปด้วย โดยผู้บริโภคยุคปัจจุบันต้องการสินค้าที่ทันสมัย มีดีไซน์หรู เทคโนโลยีเลิศ แต่ราคาถูก

ด้วยพฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้วงจรชีวิตสินค้าหรือไลฟ์ไซเคิลของสินค้าสั้นลง จนส่งผลกระทบกับผู้ผลิตที่ต้องพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนเร็ว จนบางครั้งผู้ผลิตเองก็ตามไม่ทัน อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่การตอบโจทย์ของผู้บริโภคยุคใหม่ แต่ด้วยการแข่งขันของผู้ผลิตที่รุนแรงขึ้นจึงเป็นผลสะท้อนกลับมาสู่ตัวผู้ประกอบการเอง ที่ต้องมีการออกสินค้ารุ่นใหม่ลงสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้การพัฒนาสินค้าหรืออาร์แอนด์ดีไม่ทันต่อผู้บริโภคยุคใหม่

เมื่อสินค้าใหม่วางตลาดตลอดเวลา เหมือนเป็นการสร้างความเคยชินให้กับผู้บริโภคในแง่ที่ว่า เขาต้องมีสินค้าที่มีดีไซน์ใหม่ๆ เสมอ เห็นได้จากมือถือ จุดนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญอีกอย่างที่เป็นผลสะท้อนกลับในทางที่ไม่ดีกับผู้ผลิต เพราะทำให้ไลฟ์ไซเคิลของสินค้าสั้นลง จากที่เคยเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 ปี ตอนนี้เหลือเพียง 6 เดือน เลยกลายเป็นว่าผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ต้องการสินค้าคงทน ขอเพียงทันสมัยเท่านั้น และจุดนี้เองก็จะทำให้ผู้ผลิตที่เป็นแบรนด์คนไทยล้มหายตายจากไปด้วย เนื่องจากบางรายไม่มีอาร์แอนด์ดีเป็นของตัวเอง หรืออาจจะมีแต่เงินทุนในการพัฒนาสินค้าสู้ทุนยักษ์ใหญ่จากต่างชาติไม่ได้

ผู้บริหาร โตชิบา ให้ความเห็นว่า ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจนับจากปี 40 จนถึงขณะนี้ รูปแบบการทำตลาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนจากอดีตในแง่ที่ว่าเปลี่ยนไปสู่การซื้อขายแบบเงินผ่อน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 70% ทำให้การแข่งขันในรูปแบบนี้รุนแรงขึ้น ผู้ประกอบการทั้งตัวผู้ผลิตเองและสถาบันการเงินแข่งกันดุเดือดโดยต้องการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ขณะที่การทำแคมเปญในลักษณะเงินผ่อน 0% ผ่อนนานเป็นสิบเดือนนั้น ส่งผลสะท้อนกลับมาที่ตลาดคือ ทำให้เกิดเอ็นพีแอลในธุรกิจนี้เกิดขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน

ทยอยปิดฉากแบรนด์ไทย

ด้วยการแข่งขันด้านราคาทั้งจากผู้ประกอบการค่ายญี่ปุ่นด้วยกัน หรือค่ายญี่ปุ่นกับเกาหลี รวมถึงการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ส่งผลให้ผู้ประกอบการคนไทยทยอยปิดฉากไปทีละแบรนด์ เนื่องจากสายป่านไม่ยาวพอไม่มีเงินทุนจากบริษัทแม่เข้ามาสนับสนุน

สมหวัง อัสราษี ประธานบริษัท สแกนเนอร์ อิเลคทริค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทยแบรนด์ "มิตซูชิต้า" เปิดเผยว่า ขณะนี้แทบจะไม่เหลือเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์คนไทยแล้ว ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบก็คือ การทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ที่เข้ามาตีตลาดล่าง ซึ่งผู้ประกอบการคนไทยสินค้าส่วนใหญ่เจาะตลาดกลางและล่างเป็นหลัก ดังนั้นขณะนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงหันไปจ้างประกอบ หรือบางรายก็ทยอยปิดตัวเอง แต่สำหรับบริษัทเตรียมที่จะหันไปนำเข้าสินค้าจีนเข้ามาทำตลาด ภายใต้แบรนด์ "เพาโซนิค"
http://www.bangkokbiznews.com/2007/spec ... l/p18.html
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/07/07

โพสต์ที่ 15

โพสต์

'เครื่องใช้ไฟฟ้า'ปรับตัวรับกระแสโลกร้อน ซัมซุงออกแอร์R410a ปี51ขยับราคาอีก5-10%
"เครื่องใช้ไฟฟ้า" ปรับตัวรับภาวะโลกร้อน "ซัมซุง" เตรียมออกเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R410a ปีหน้า ชี้ราคาสูงกว่ารุ่นปกติเฉลี่ย 5-10 % ฟุ้งสินค้าทุกตัวได้มาตรฐานสากล ขณะที่"โตชิบา" ทุ่มงบ 100 ล. เปลี่ยนเครื่องจักรสู่ "ROHS" ประกาศแนวคิด "นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว" / "อิเลคโทรลักซ์" จัดกิจกรรมเพื่อสังคม

หากมองในแง่ของภาคธุรกิจ "ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า" ถือเป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสำคัญ และลงทุนเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโลกใบนี้
นายสมพร จักรกรีนภาวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัทมีผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่รองรับการใช้น้ำยาชนิด R410a หลายโมเดล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกสู่ยุโรป โดยน้ำยาเครื่องปรับอากาศชนิด R410a มีคุณสมบัติอยู่ที่การไม่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของต้นทุนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ผ่านมาประมาณ 30% โดยจะส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% โดยมองว่าขณะนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย อันเนื่องมาจาก 2 ปัจจัย คือเรื่องของราคาของน้ำยาที่ค่อนข้างสูง โดย น้ำยาชนิด R22 จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนน้ำยาชนิด R410a จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 500 บาทโดยประมาณ อีกทั้งการที่ตัวแทนติดตั้งยังขาดทักษะ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม
"บริษัทคาดว่าภายในปี 2551 จะมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 2 รุ่น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ แต่จะเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมอย่างแน่นอน โดยบริษัทหวังว่าภาครัฐจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือในส่วนของภาษีนำเข้า และภาษีสรรพสามิต" นายสมพร กล่าว
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดของบริษัทที่ส่งไปขายในยุโรปจำเป็นที่จะต้องผ่านการตรวจวัดค่ามาตรฐาน "RoHS" (Restriction of Certain Hazardous Substances) โดยถือเป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ซื้อขายในสหภาพยุโรป ถึงการห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย, สิ่งแวดล้อม อาทิ สารตะกั่ว, สารปรอท, สารโครเมียม ฯลฯ อีกทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) ซึ่งหมายรวมถึงชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่แผงวงจร และอุปกรณ์ต่างๆ
ด้านนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รองประธานบริษัท บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทใช้งบประมาณ 80-100 ล้านบาท ในการเปลี่ยนเครื่องจักรผลิตสินค้าทุกประเภทให้ถูกต้องตามมาตรฐาน "RoHS" และให้ความสำคัญในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการประหยัดพลังงานมาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งบริษัทจะเน้นหนักในด้านการผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ แต่ไม่ส่งผลกระทบแก่โลก ภายใต้แนวความคิด "นวัตกรรมสีเขียวเพื่อโลกสีขาว" และมีการให้ความรู้เรื่องของการดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริโภค
แหล่งข่าวจากบริษัท อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ทุกประเภท บริษัทจะคำนึงถึงในเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีการจัดโครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ชื่อ "อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์แลบ" ครั้งที่ 5 โดยหัวข้อของปีนี้จะเป็นการรณรงค์ส่งเสริมให้นักศึกษาออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2236
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของไทย : ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2550 10:11 น.
 
      อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่งของประเทศไทยมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของสินค้าอุตสาหกรรมและเป็นร้อยละ 20ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ภาคการผลิตในสาขานี้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(Foreign Direct Investment: FDI)จำนวนมากในแต่ละปีอย่างไรก็ตามไทยเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งเช่น เวียดนาม จีนและอินเดียทั้งในด้านการเป็นแหล่งลงทุนในการผลิตและเป็นตลาดส่งออกในช่วงห้าเดือนแรกของปี 2550 พบว่าสัดส่วนของเงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนลดลงมูลค่าการลงทุนในโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนหดตัวลงร้อยละ 14.3 ต่อเนื่องจากปี 2549 ที่ลดลงร้อยละ 8.8โดยอัตราการขยายตัวได้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งการชะลอตัวของการลงทุนในภาคนี้จะส่งผลต่อการผลิตและส่งออกในอนาคต
 
      ภาคการผลิตยังขยายตัวได้ดี
      ภาคการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม2550โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรม (MPI)กระเตื้องขึ้นจากเดือนเมษายนสำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 20.6ยังเป็นการขยายตัวที่สูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าต่ำกว่าร้อยละ 24.6 ของช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเล็กน้อยและสูงกว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยรวมที่อยู่ในระดับร้อยละ 6.2ในหมวดย่อยพบว่ามีการขยายตัวพอสมควรในกลุ่มสินค้าแผงวงจรไฟฟ้า (IC),คอมพิวเตอร์และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD)ช่วงห้าเดือนแรกของปี เนื่องจากการโยกย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาในกลุ่มอุตสาหกรรมHDD และส่วนประกอบระยะหลายปีที่ผ่านมา
     
      ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมสำหรับช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าดัชนีผลผลิตจะปรับขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาลของอุตสาหกรรมโดยในช่วงครึ่งหลังของปีการผลิตมักจะมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นตามคำสั่งซื้อที่ต้องการให้ส่งมอบสินค้าในช่วงปลายปี
     
      การเคลื่อนไหวของอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับดัชนีผลผลิต ทั้งนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2550 อยู่ที่ระดับร้อยละ 73.1 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ย72.1ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หมวดสินค้า IC และ HDD มีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าหมวดอื่นๆ
     
      การส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ชะลอตัวลงจากปีก่อน
      สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกภาวะการส่งออกในช่วงห้าเดือนแรกของปีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รวม11,718 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 13.5 จากในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
     
      อย่างไรก็ดีอัตราการเติบโตปรับลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ17.9 ของปีก่อนหน้าและต่ำกว่าอัตราการเจริญเติบโตของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวม โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ IC เป็นกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงรวมกันกว่าร้อยละ 83 ของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด โดยสินค้าสองกลุ่มนี้ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าในอัตราร้อยละ 13.1 และร้อยละ 23.2 ตามลำดับ ในช่วงห้าเดือนแรกการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังตลาดที่สำคัญคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.50 ลดลงจากร้อยละ 26.5ของช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าสาเหตุจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ การส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ3.8
     
      ในขณะที่อัตราการขยายตัวของการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ11.6 เป็นร้อยละ 25.3 ในปี 2550ทั้งนี้คาดว่าในระยะเวลาอันใกล้จีนจะแซงหน้าสหรัฐในฐานะประเทศผู้นำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่ที่สุดของไทย สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศพบว่าราคาทองแดงในตลาดโลกอยู่ในระดับที่สูง ความเสี่ยงต่ออนาคตการเป็นฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของไทย
     
      -ประเทศไทยมีแนวโน้มได้รับการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงจากสถิติที่รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนการลงทุนในภาคนี้มีการชะลอตัวตั้งแต่ปี 2548 ในปี 2550จำนวนโครงการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจนถึงเดือนมิถุนายนมีจำนวน126 โครงการโดยมีมูลค่าการลงทุน 38.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.3 จากปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 45.3 พันล้านบาท
     
      สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 131 โครงการ มีเงินลงทุนในโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนทั้งหมดโดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2548 และ 2549สัดส่วนการลงทุนในภาคอิเล็กทรอนิกส์ได้ลดลงเหลือร้อยละ 13.3 จากร้อยละ 18 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
     
      -นักลงทุนมีการโยกย้ายการลงทุนหรือเริ่มการลงทุนใหม่ไปยังประเทศอื่นโดยดูจากทั้งจำนวนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมและมูลค่าการลงทุนซึ่งมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีที่แล้ว ในกรณีของญี่ปุ่นนักลงทุนได้ให้ความสนใจไปลงทุนในประเทศอื่นมากขึ้นทั้งที่เวียดนาม มาเลเซีย และอินเดีย และลดการลงทุนในประเทศไทยลงกว่าร้อยละ 6.6 ในปี 2549(เม.ย.2549-มี.ค.2550) ในขณะที่ประเทศเวียดนามได้รับเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเฉพาะญี่ปุ่นประเทศเดียวกว่า 2 เท่า
     
      - ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน สินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นกลาง-สูงมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีค่อนข้างเร็วการย้ายฐานการผลิตตามต้นทุนจึงไม่มีความสำคัญมากเท่าสินค้าที่ใช้ระดับเทคโนโลยีต่ำยกเว้นแต่การประกอบที่อาจทำในประเทศกำลังพัฒนาที่มีข้อได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานต่ำ ปัจจุบันจากผลการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (The IMD World Competitiveness Yearbook 2007) ประเทศไทยถูกปรับลดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันลงมาเป็นอันดับที่ 33 จากอันดับที่ 32
     
      - ค่าแรงและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเพิ่มภาระต้นทุนการผลิต ค่าแรงและค่าครองชีพในไทยนับว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น เวียดนาม และประเทศจีน และอินเดีย ทำให้ไทยสูญเสียความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตจากค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับโครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีการพึ่งพาการนำเข้าสูง ทำให้เมื่อมีการส่งออกเพิ่มขึ้นก็ยิ่งต้องมีการนำเข้าสูงตามขึ้นไปด้วยขณะที่ราคาวัตถุดิบในการผลิต เช่น ทองแดง ในตลาดโลกมีราคาสูงและผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความผันผวนของราคา
     
      - การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างจำกัดในขณะที่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานเป็นตัวแปรที่สำคัญในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนเพื่อผลิตสินค้าที่ไม่เน้นใช้เทคโนโลยีที่สูงนัก การวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีและการตลาดผลิตภาพของกระบวนการผลิตและความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ก็มีความสำคัญมากเช่นกันในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยลักษณะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังเป็นในรูปแบบของการรับจ้างผลิต คือมีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์สำเร็จรูปและซอฟท์แวร์เข้ามาทำการประกอบในประเทศทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นไปค่อนข้างจำกัด อีกทั้งการตลาดก็มักถูกกำหนดมาจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news27/07/07

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ไอเฟค คว้าออเดอร์เครื่องถ่ายเอกสาร  
 
โดย มติชน วัน ศุกร์ ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 07:51 น.

นายดำริ เอมมาโนชญ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ปฏิบัติการ บริษัท อินเตอร์ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเฟค เปิดเผยว่า บริษัทได้รับความไว้วางใจจากบริษัท เคทีบี ลิสซิ่ง จำกัด ให้ดูแลจัดหาเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อใช้ในธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,000 เครื่อง กว่า 700 สาขา โดยมีมูลค่าสัญญา 3 ปี หรือกว่า 100 ล้านบาท โดยเป็นการติดตั้งและดูแลเครื่องถ่ายเอกสารโคนิกา มินอลต้า ระบบมัลติฟังก์ชั่นขาว-ดำ จำนวน 3 รุ่น รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทั้งงานด้านถ่ายเอกสาร พิมพ์งาน สโลแกน และการรับส่งแฟ็กซ์  
http://news.sanook.com/economic/economic_161982.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news28/07/07

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ยักษ์ไอทีเร่งตีกินโน้ตบุ๊กตจว. บุกคอมมาร์ตพัทยา-ขอนแก่น

ตลาดโน้ตบุ๊กโตสวนกระแส ยักษ์ไอทีแห่รุมทึ้งชิงมาร์เก็ตแชร์ "เอเซอร์" ระบุโน้ตบุ๊กกลุ่มคอนซูเมอร์โตกระฉูด 50% ชี้แนวโน้มตลาดต่างจังหวัดมาแรง เผยปัจจัยราคาที่ลดฮวบทำให้เข้าไปเบียดกินตลาด "พีซีตั้งโต๊ะ" วงในชี้ "ไอดีซี" ปรับตัวเลขคาดโน้ตบุ๊กปีนี้ทะลุ 7 แสนเครื่อง ขณะที่เออาร์ฯเดินหน้าควงยักษ์ผู้ผลิตกระตุ้นตลาดไอทีต่างจังหวัด ประเดิมจัดงาน "คอมมาร์ต พัทยา" ต้นเดือน ก.ย.นี้ พร้อมแผนบุกขอนแก่นปลายปี

นายนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาตลาดไอทีโดยรวมเติบโตไม่มาก แต่ถ้าเจาะเฉพาะโน้ตบุ๊กในกลุ่มคอนซูเมอร์นั้นถือว่าตลาดมีการเติบโตที่ดีมาก โดยในส่วนของเอเซอร์ เติบโตประมาณ 40-50% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เอเซอร์มีการปรับดีไซน์โน้ตบุ๊กใหม่ ขณะที่ราคาของโน้ตบุ๊กในตลาดก็มีการปรับลดลงมา ทำให้ปีนี้เกิดภาพที่ตลาดโน้ตบุ๊กเข้าไปแย่งตลาดพีซีตั้งโต๊ะ

"ตลาดโน้ตบุ๊กกำลังเข้ามาทดแทนตลาดพีซีตั้งโต๊ะมากขึ้น ทำให้ตลาดมีการเติบโตสูง รวมทั้งการขยายตัวของตลาดต่างจังหวัด เพราะด้วยระดับราคาโน้ตบุ๊กที่ลดลงมาทำให้โน้ตบุ๊กไม่ใช่สินค้าสำหรับคนกรุงเทพฯเท่านั้น"

นายนิธิพัทธ์กล่าวว่า กรณีที่บริษัท เออาร์
อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับลิเคชั่น จำกัด ขยายออกไปจัดงานไอทีเทรดต่างจังหวัด โดยจะมีการจัดงานคอมมาร์ต พัทยา 2007 ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายนนี้ ทางเอเซอร์ก็เข้าร่วมด้วยเช่นกัน ซึ่งปกติบริษัทก็จะร่วมกิจกรรมในพื้นที่ต่างจังหวัดอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นการร่วมกับทางเออาร์ฯ ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าใหญ่ในตลาด และนอกจากคอมมาร์ต พัทยาแล้ว ช่วงไตรมาส 4 ทางเออาร์ฯยังมีแผนจัดงานคอมมาร์ต ขอนแก่นด้วย ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการขยายตัวของตลาดไอทีในต่างจังหวัด ส่วนงานคอมมาร์ต ไทยแลนด์ ที่กรุงเทพฯในช่วงปลายปีก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ

ด้านนายถกล นิยมไทย ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจเทคโนโลยี บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ตลาดโน้ตบุ๊กก็มีปัจจัยบวกหลายเรื่อง เช่นปัญหาเดิมที่ กทช.ไม่อนุญาตให้โน้ตบุ๊กที่ทำตลาดในเมืองไทยเปิดใช้งานไว-ไฟที่ย่านความถี่ 5 จิกะเฮิรตซ์ ซึ่งล่าสุดทาง กทช. ก็ได้ทำหนังสือแจงว่าจะอนุญาตให้สามารถเปิดใช้งานไว-ไฟ 5 จิกะเฮิรตซ์ได้แล้ว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาต่างๆ หมดสิ้นไป

แม้ว่าโดยภาพรวมของตลาดไอทีในช่วงครึ่งปีแรกจะมีการเติบโตไม่มาก แต่ในส่วนของตลาดโน้ตบุ๊กถือว่าเป็นตลาดที่มีการเติบโตที่ดี เท่าที่ทราบเมื่อไตรมาส 2 ทางบริษัทไอดีซีได้มีการปรับประมาณการตลาดรวมโน้ตบุ๊กในปีนี้เป็น 700,000 เครื่อง จากเมื่อต้นปีที่คาดว่าตลาดรวมจะอยู่ที่ 670,000 เครื่อง ขณะที่ตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2549 อยู่ที่ประมาณ 560,000 เครื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในแง่จำนวนเครื่องจะเพิ่มขึ้นมาก แต่ในแง่ของมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะตลาดมีการเติบโตในเครื่องระดับล่างมากกว่า ประกอบกับราคาโน้ตบุ๊กในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับลดราคาลงมาค่อนข้างมาก ซึ่งในปีนี้โตชิบาตั้งเป้าขยายมาร์เก็ตแชร์เป็น 10% จากปีที่แล้วมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ 9%

รายงานข่าวเปิดเผยว่า สำหรับผู้นำที่มีส่วนแบ่งตลาดโน้ตบุ๊กมากที่สุดได้แก่ เอเซอร์ ตามมาด้วยเอชพี ซึ่ง 2 รายนี้รวมกันมีส่วนแบ่งตลาดเกือบ 70% อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตของตลาด โน้ตบุ๊กทำให้ยักษ์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ทั้งหลายหันมาเน้นการทำตลาดโน้ตบุ๊กมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฟูจิตสึ, โซนี่, โตชิบา, เบนคิว และเดลล์ ที่เพิ่งเปิด แบรนด์ใหม่ "Vostro" สำหรับเจาะกลุ่มลูกค้าโซโห (small office home office) โดยเฉพาะ โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 17,900 บาทเท่านั้น
ขณะที่นายคาซูโอะ ซูยาม่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมของโน้ตบุ๊กไวโอ้ในตลาดเมืองไทยปีนี้ประสบความสำเร็จมาก โดยที่ไวโอ้สามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มโน้ตบุ๊กพรีเมี่ยมแบรนด์ราคา 40,000 บาทขึ้นไปกว่า 50% และทิศทางการทำตลาดในอนาคต โซนี่จะเจาะตามเซ็กเมนต์ให้มากขึ้น โดยล่าสุดได้เปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่อีก 3 ซีรีส์ ประกอบด้วย TZ Series ซึ่งมีรุ่นพิเศษ 2 รุ่น สำหรับกลุ่มนักธุรกิจ เป็นรุ่นพิเศษที่ออกแบบมาในโอกาสครบรอบ 10 ปีของไวโอ้ และ FZ Series เน้นเทคโนโลยีในระดับไฮเดฟินิชั่น เป็นโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ CR Series เน้นดีไซน์สำหรับกลุ่มวัยรุ่น

ตลาดโน้ตบุ๊กไวโอ้ในเมืองไทยถือว่ามีอัตราการเติบโตเร็วที่สุด คือประมาณ 40-50% เป็นตลาดที่บริษัทแม่ให้ความสำคัญมากทั้งในแง่ของมูลค่ายอดขายและอัตราการเติบโตของยอดขาย ทั้งนี้ภาพรวมของตลาดโน้ตบุ๊กในครึ่งปีหลังยังคงมีความต้องการในตลาดจะยังคงมีสูง แต่มูลค่าตลาดคงไม่โตมากนักเพราะราคาเฉลี่ยลดลงเรื่อยๆ
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0209
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news28/07/07

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ค่ายไฟฟ้ามองต่างมุม ปลุก"พลาสมา" สู้ "แอลซีดี"

แม้ว่าในเมืองไทยแนวโน้มความต้องการของตลาดทีวีจอบาง หรือกลุ่มบิ๊กสกรีน ที่มีขนาดตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไป ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ค่ายจะมุ่งให้ความสำคัญและโหมการทำตลาดกับ "แอลซีดีทีวี" เป็นหลัก ขณะที่ "พลาสมาทีวี" กลับเริ่มลดลงเรื่อยๆ
ทั้งๆ ที่จากตัวเลขของตลาดทีวีจอบางทั่วโลก พลาสมาทีวียังครองส่วนแบ่งที่มีดีมานด์ต่อเนื่อง ถึง 40%

ว่ากันว่ามูลค่าตลาดรวมปีนี้ ความต้องการ แอลซีดีทีวีโตขึ้นเป็น 236,000 ยูนิต สวนทางกับพลาสมาทีวีที่ประเมินว่า 44,000 ยูนิต ซึ่งโซนี่ โตชิบา ชาร์ป และฟิลิปส์ ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนว่า จะโหมมาทางแอลซีดีทีวีและจะทำการตลาดในทุกวิถีทาง เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเปลี่ยนผ่านจากทีวีธรรมดาก้าวเข้าสู่โลกของแอลซีดีแทน

ขณะที่ค่ายเกาหลีอย่างซัมซุง ยังมีการบริหารพอร์ตพลาสมาทีวีไว้บ้าง แต่รายได้หลักยังต้องมาจากแอลซีดีทีวี ส่วนแอลจีเริ่มให้ความสำคัญและเปิดตัวกลุ่มแอลซีดีมากขึ้นตามความต้องการของตลาดที่ถูกกระตุ้นให้เลือกแอลซีดีทีวี
แต่ทำไมพานาโซนิค และไพโอเนียร์ ยังประสานเสียงประกาศชัดเจนสวนทางกับค่ายอื่นๆ ว่า จะให้ความสำคัญกับพลาสมาทีวี ไม่ทิ้งพลาสมาทีวีอย่างแน่นอน
ทั้งนี้จากผลวิจัยของดิสเพลย์เสิร์ช ในต่างประเทศ ให้มุมมองว่า ในปี 2551 กลุ่มทีวีบิ๊กสกรีนมีแนวโน้มราคาลดลงอีกเครื่องละ 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 80,000 บาท และจะกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันพลาสมาทีวี ให้โตขึ้นเป็น 4 เท่าจากปัจจุบัน
มัตสึชิตะ อิเล็กทริก อินดัสเตรียล ของญี่ปุ่น ระบุว่าจะพยายามลดต้นทุนการผลิตต่อนิ้วให้เหลือเพียง 5,000 เยน หรือเป็นครึ่งหนึ่งของต้นทุนในปัจจุบัน และจะพยายามรักษาส่วนแบ่งในตลาดพลาสมาทีวีของญี่ปุ่นกว่า 70% ไว้จากคู่แข่ง อย่างไพโอเนียร์ และฟูจิตสึ

ควบคู่กับการเดินสายโปรโมตแคมเปญ "พานาโซนิค โกลบอล พลาสมา โรดโชว์" ที่จะเดินทางไปใน 80 มหานครทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทย เพื่อบอกว่าจอพลาสมาทีวีดีกว่าและเหนือกว่าแอลซีดีอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับขนาดจอ 40 นิ้วขึ้นไป จุดขายหลักต้องการชี้ให้เห็นว่า จอพลาสมาทีวีในขนาดที่ใหญ่กว่า 40 นิ้วขึ้นไปทำไมจึงดีกว่า ผ่านรูปแบบการสำรวจและทำวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง

พบว่าคุณสมบัติ อาทิ อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น การประหยัดพลังงาน และการแสดงภาพที่คมชัดสมจริง และให้ภาพเคลื่อนไหวความเร็วสูง หรือประสิทธิภาพของคอนทราสต์เรโช 10,000 : 1 ซึ่งมากกว่าแอลซีดีทีวีทั่วไป ทำให้การชมภาพยนตร์ได้อรรถรส พร้อมกับเปิดตัวไลน์อัพพลาสมาที่ครบรุ่นตั้งแต่ 42 นิ้ว ไปจนถึงขนาด 103 นิ้ว

อย่างไรก็ตามการโหมบุกแอลซีดีทีวีอย่างหนัก ไม่ได้หมายความว่าพานาโซนิคจะทิ้งแอลซีดีทีวี เพียงแต่การโรดโชว์ครั้งนี้เพื่อบอกถึงบทพิสูจน์ว่า จอแอลซีดีทีวีดีสำหรับจอขนาดเล็ก แต่จอพลาสมาทีวีเหมาะสำหรับจอที่มีขนาดใหญ่กว่า

แม้ว่าจะเป็นการประเมินภาพรวมตลาดที่แตกต่างผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เทน้ำหนักมารุกที่จอแอลซีดีทีวีเป็นหลักมากขึ้น แต่พานาโซนิคเชื่อว่าจุดแข็งของจอพลาสมาทีวีหลังจากผ่านการเดินสายสื่อสารทำความเข้าใจกับตลาดแล้ว จะได้รับการตอบรับเป็นบวก

ล่าสุดพานาโซนิคได้สร้างโรงงานผลิตพลาสมาทีวีขนาดใหญ่ (plasma display panel) ขึ้นในญี่ปุ่น เป็นโรงงานที่ 5 เพื่อรองรับดีมานด์ ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมหาศาล จากปัจจัยบวก คือ มหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ที่คาดว่าจะเป็นไฮไลต์หลักสร้างสีสันขับเคลื่อนตลาด และส่งผลให้พานาโซนิคเป็นผู้ผลิตจอพลาสมาทีวีรายใหญ่ที่สุดในโลก และพร้อมกับ ตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ทีวี ทั้งพลาสมาและแอลซีดีทั่วโลกไว้ที่ 65% ภายในปี 2010 จากตลาดรวม 200 ล้านยูนิต

สำหรับเมืองไทย พานาโซนิคตั้งเป้าจะก้าวขึ้นเบอร์ 1 ในตลาดพลาสมาทีวีให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในปีนี้ ด้วยส่วนแบ่ง 35% หรือ 44,000 ยูนิต หลังจากที่ผ่านมาต้องขับเคี่ยวสู้กันอย่างหนักกับพลาสมาทีวีของแอลจี
ด้านไพโอเนียร์ที่ประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่าจะมุ่งให้ความสำคัญกับพลาสมาทีวีเท่านั้น โดยจะเน้นการชูจุดขายเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับสูง จับกลุ่มทาร์เก็ตที่เป็น นิชมาร์เก็ตเป็นหลัก เมื่อเทียบกับรูปแบบมาร์เก็ตติ้งในเชิงแมสแล้วอาจจะสู้กับแบรนด์อื่นได้ไม่ดีนักในแง่ของจำนวนยูนิต

ที่ผ่านมาการที่ไพโอเนียร์เข้าไปสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นพรีเซ็นเตอร์ตัวแทนในการสื่อถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งเป็นทาร์เก็ตระดับบนเป็นหลัก ควบคู่กับการนำสินค้ารุ่นใหม่ๆ และเสนอคอนเซ็ปต์เป็นโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์โซลูชั่น ที่ไพโอเนียร์เป็นผู้นำตลาดเครื่องเสียงอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามกับคำถามที่ว่า จอแอลซีดีทีวีและพลาสมาทีวีใครดีกว่ากัน คงยากที่จะหาคำตอบแบบฟันธงลงไปได้
เพราะอย่างน้อยก็เป็นการเปรียบเทียบในของ 2 สิ่งที่ไม่เหมือนกัน ทั้งลักษณะโครงสร้างการออกแบบแต่ละเทคโนโลยีต่างกันมาก และจอ ทั้งสองประเภทนี้มีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันไป
ขณะที่จุดได้เปรียบ เสียเปรียบ และความเหมาะสม ย่อมขึ้นอยู่กับการใช้งานจริงของลูกค้า
คงจะต้องพิสูจน์กันอีกยาวไกลระหว่างกระแสความแรงของแอลซีดีและพลาสมา
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/08/07

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ตลาดทีวี ปี50 : ทิศทางตลาดส่งออก..หลังถูกสหรัฐฯตัดสิทธิ gsp

3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 15:57:00

ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย ได้ทำการวิจัย ในหัวข้อเรื่อง "ตลาดทีวี ปี50 : ทิศทางตลาดส่งออก..หลังถูกสหรัฐฯตัดสิทธิ gsp"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : เครื่องรับโทรทัศน์ของไทย เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทั้งภายในและต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายการลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาใช้ไทยเป็นแหล่งผลิตเครื่องรับโทรทัศน์เพื่อส่งออก ปัจจุบัน การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในปีหนึ่ง ๆ จะสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศประมาณร้อยละ 30 ของการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อการส่งออก สูงถึงร้อยละ 70 ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์อันดับ 7 ของโลก และสามารถนำรายได้เข้าประเทศเฉลี่ยปีละ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (generalized system of preference : gsp) จึงทำให้ไทยสามารถส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการยกเลิกสิทธิพิเศษ gsp ที่สหรัฐฯให้แก่ไทยในสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์บางรายการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมานั้น อาจส่งผลให้การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ มีปริมาณลดลง

การผลิต.มุ่งสนองตลาดส่งออกที่เน้นจอภาพขนาดใหญ่

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนามาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมานักลงทุนต่างชาติได้มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง นักลงทุนจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตทั้งหมด ทำให้การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ได้รับการพัฒนามาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ปัจจุบันมีผู้ผลิตภายในประเทศจำนวน 41 ราย มีอัตราการใช้กำลังการผลิตประมาณร้อยละ 69.4 ของการผลิตทั้งหมด
ในระยะเริ่มต้น การผลิตได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐด้วยมาตรการทางด้านภาษีเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ภายในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถเติบโตและแข่งขันกับต่างประเทศได้ การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญแล้วนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีการลักลอบนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ซึ่งมีราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการลักลอบนำสินค้าเข้ามาทางชายแดนภาคใต้ ทั้งจากมาเลเซียและสิงคโปร์ รัฐบาลจึงได้มีการลดภาษีการนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ลง เพื่อให้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมีราคาต่ำลงและแข่งขันได้กับสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามา อันเป็นการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยมีปริมาณลดลง อันเป็นผลจากการปิดโรงงานผลิตเครื่องรับโทรทัศน์จอภาพ crt (cathode ray tubes ) ประกอบกับผู้ผลิตบางรายมีการนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์จากจีนเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดังจะเห็นได้จาก ในปี 2549 ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 6,255,000 เครื่อง จาก 6,916,000 เครื่องในปี 2548 หรือลดลงร้อยละ 9.6 ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 2,242,000 เครื่อง ลดลงร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีการระบายสต็อกเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าออก ก่อนที่จะผลิตรุ่นใหม่ออกมาป้อนตลาดส่งออก เฉพาะอย่างยิ่งตลาดสหรัฐฯที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการออกอากาศเป็นระบบดิจิตอลทั้งหมด

ทั้งนี้ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ระยะต่อไปมีแนวโน้มที่จะพัฒนาการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีระดับเทคโนโลยีและคุณสมบัติในการทำงานสูงขึ้นเป็นลำดับ เฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องรับโทรทัศน์จอภาพแอลซีดี (liquid crystal display : lcd) และจอภาพพลาสมา (digital plasma display) ที่สามารถขยายจอภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพิ่มความคมชัดของภาพและสีสันให้สวยงามมากขึ้น ประกอบกับมีการพัฒนาระบบการส่งสัญญาณภาพจากอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยรูปแบบหรือคุณสมบัติของเครื่องรับโทรทัศน์นั้นจะต้องสอดคล้องกับสัญญาณภาพและเสียงที่จะส่งเข้ามา รวมถึงการหลอมรวมของเทคโนโลยีของสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องบันทึกภาพและเสียง รวมกับยุคสมัย ไร้สาย เข้าไปด้วยแล้ว ทำให้รูปแบบการรับชมมีการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน นวัตกรรมทีวีรูปแบบใหม่นี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ตลาดในประเทศ : ยังเติบโตต่อเนื่อง..โดยเฉพาะทีวีแอลซีดี

ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายอยู่ที่ 2,516,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 จากปีก่อน ส่วนในปี 2550 คาดว่า ปริมาณการจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์จะอยู่ที่ประมาณ 2,600,000 เครื่อง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 30,000 ล้านบาท เฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพแอลซีดี จะมีปริมาณการจำหน่ายประมาณ 120,000 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าตลาดประมาณ 8,000 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนร้อยละ 26.7 ของมูลค่าตลาดเครื่องรับโทรทัศน์ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการใช้เครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพแอลซีดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 32 นิ้วขึ้นไปมากขึ้น เพราะเครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพแอลซีดี (liquid crystal display television) เป็นโทรทัศน์ที่มีจอภาพบรรจุแผ่นคริสตัลเหลวแบบบางที่ทำหน้าที่ผลิตพิกเซล ซึ่งโมเลกุลของคริสตัลเหลวจะทำการหักเหแสงและทำให้เกิดภาพบนจอภาพ

อีกทั้งข้อดีของทีวีแบบแอลซีดี คือ ตัวเครื่องมีความสวยงาม มีขนาดบางช่วยให้ประหยัดเนื้อที่ มีความคมชัดและรายละเอียดของภาพสูง จอภาพมีความสว่างและไม่มีแสงสะท้อน ตลอดจนใช้พลังงานต่ำเมื่อเทียบกับโทรทัศน์แบบอื่น ๆ ประกอบกับการปรับราคาจำหน่ายลดลงเฉลี่ยร้อยละ 50 ส่งผลให้ความต้องการเครื่องรับโทรทัศน์ในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ความต้องการใช้เครื่องรับโทรทัศน์ของผู้บริโภคยังถูกกระตุ้นด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มยอดการจำหน่าย ด้วยการใช้ระบบการผ่อนชำระเงินเป็นงวด ๆ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำมากหรือเป็นศูนย์ อันเป็นการสะท้อนให้เห็นภาวะการแข่งขันในตลาดที่มีความรุนแรงมาก แม้ภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะชะลอตัวลงก็ตาม สำหรับผู้นำตลาดเครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพแอลซีดี ในปัจจุบันอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า ซัมซุง ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดร้อยละ 30 ของมูลค่าตลาดเครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพแอลซีดีทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ โซนี่ ร้อยละ 28 ฟิลิปส์ ร้อยละ 20 ชาร์ป ร้อยละ 15 และอื่น ๆ อีก ร้อยละ 7

ตลาดส่งออก : แนวโน้มชะลอตัวลง..หวัง jtepa ช่วยหนุน

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 70 ของการผลิตทั้งหมด อันเป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ของผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงหลายรายที่เข้ามาผลิตในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพื่ออาศัยประโยชน์จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน (afta) และข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ โดยได้ทำการผลิตและส่งออกตามความต้องการของบริษัทแม่และของลูกค้าในตลาดต่างประเทศ ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เฉพาะอย่างยิ่งในปี 2549 ที่การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1,976.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากมูลค่า 1,543.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 จากปีก่อนหน้า สำหรับในปี 2550 คาดว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 2,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.7 จากปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจในประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ประกอบกับ การส่งออกได้รับผลกระทบจากการเแข็งค่าขึ้นมากของเงินบาท

อีกทั้งยังต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีน ที่การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากผู้ผลิตภายในประเทศเองและผู้ผลิตต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในจีน จากการมีปัจจัยพื้นฐานพร้อมในการดึงดูดการลงทุน เฉพาะอย่างยิ่ง ด้านค่าจ้างแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และมีศักยภาพที่จะผลิตได้ในปริมาณมาก อันจะมีผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต ทำให้จีนสามารถขยายการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก ส่งผลให้สินค้าไทยจำเป็นต้องปรับลดราคาลง แม้ต้นทุนการผลิตจะมีแนวโน้มสูงขึ้นก็ตาม สำหรับตลาดส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไทยที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 38.0 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ทั้งหมด รองลงมา คือ อิหร่าน ร้อยละ 7.6 อินเดีย ร้อยละ 7.5 และตลาดอื่น ๆ อีก ร้อยละ 46.9

ปัจจุบันการส่งออกสินค้าของไทยยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ของไทย อาจถูกสหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษีการต่อต้านการทุ่มตลาด (anti - dumping : ad) ถึงร้อยละ 29 และขณะนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษี ad หลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์จากประเทศจีนแล้วถึงร้อยละ 44.6 ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังในการผลิตให้มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การนำหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ของจีนมาใช้ในการผลิตนั้น อาจถูกสหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษี ad ถึงสองต่อ ดังนั้น ผู้ผลิตไทยควรหลีกเลี่ยงการใช้ชิ้นส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์จากจีน อย่างไรก็ตาม การทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (japan - thailand economic partnership agreement : jtepa) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ตุลาคม ศกนี้นั้น ทำให้อัตราภาษีนำเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ที่ญี่ปุ่นจะเรียกเก็บจากไทยลดลงเหลือร้อยละ 0 ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นให้เพิ่มมากขึ้น

สหรัฐฯ ตัดสิทธิ gsp เครื่องรับโทรทัศน์ : ผลกระทบส่งออกไม่มาก

ในช่วงที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษ gsp จากสหรัฐอเมริกามาโดยตลอดส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก สำหรับในปี 2549 ผู้ประกอบการไทยได้ใช้สิทธิ gsp คิดเป็นร้อยละ 19.0 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าโดยรวมไปยังสหรัฐฯ หรือมีการใช้ gsp คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 4,252.33 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งถือว่าไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิ gsp ในการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 3 รองจากแองโกลา และอินเดีย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2549 เครื่องรับโทรทัศน์ของไทยจัดเป็นสินค้าที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิพิเศษ gsp จากสหรัฐฯ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สีที่มีเครื่องบันทึก/ถอดภาพวิดีโอ (hs 85287264) เกินเพดานขั้นต่ำที่สหรัฐฯ กำหนด คือ ที่ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในความเป็นจริงมีการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์(hs 85287264) จากไทยไปเป็นมูลค่าสูงถึง 148.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ไทยจะต้องถูกตัดสิทธิ gsp ในปี 2550 อนึ่ง การตัดสิทธิพิเศษ gsp ของสหรัฐฯ นั้น อ้างกฎความจำเป็นในการแข่งขัน (competitive need limitations : cnl) ซึ่งภายใต้เกณฑ์ดังกล่าว สหรัฐฯ สามารถตัดสิทธิสินค้าที่ได้รับ gsp ทันที เมื่อสหรัฐฯ นำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าวสูงกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่ารวมของสินค้าประเภทนั้น ในตลาดสหรัฐฯ หรือมูลค่านำเข้าสินค้าประเภทนั้นสูงเกินกว่าระดับเพดานที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ในแต่ละปีซึ่งในปี 2549 สหรัฐฯ กำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นปีละ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เครื่องรับโทรทัศน์สีของไทยที่มีเครื่องบันทึก/ถอดภาพวิดีโอในหมวด hs 85287264 ถูกตัดสิทธิ gsp ตามเงื่อนไขที่สอง โดยสหรัฐฯ ถือว่าสินค้านั้นมีความสามารถในการแข่งขันแล้วจึงไม่จำเป็นต้องได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ gsp อีกต่อไป ส่งผลให้ผู้ส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สีของไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 3.9 แทนการเสียภาษีร้อยละ 0 จากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิ gsp ในสินค้าดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนระหว่างมูลค่าการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ในหมวด hs 85287264 ในตลาดสหรัฐฯ กับ มูลค่าส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ทั้งหมดของไทยแล้ว พบว่า เครื่องรับโทรทัศน์ในหมวด hs 85287264 ซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 7.5 นั้น น่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สีแบบ high definition ของไทยไปสหรัฐฯ กลับได้รับการคืนสิทธิพิเศษ gsp อันจะทำให้การส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

ปัญหาและอุปสรรค.กระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัว ได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทั้งจากค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าของประเทศคู่แข่ง และจากราคาน้ำมันที่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณารับคำสั่งซื้ออย่างระมัดระวัง เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาสินค้าขึ้นได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การกีดกันทางการค้ารุนแรงมากขึ้น โดยผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในหลายประเทศทั่วโลกมักอ้างถึงมาตรฐานความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ โดยมีการกำหนดถึงการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนซึ่งมีผลกระทบต่อมลภาวะและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อกำหนดในเรื่องการประหยัดพลังงาน เป็นต้น เหล่านี้ มักถูกหยิบยกมาเป็นข้อกีดกันและ/หรือต่อรองทางการค้าอยู่เสมอ

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จากการที่อุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์เป็นการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 70 ของการผลิตทั้งหมด หากเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าแข็งขึ้นมากเช่นในปัจจุบัน อาจทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก

แนวโน้มปี 50

การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ของไทยในปี 2550 คาดว่า จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 2,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกัน การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สีของไทยในหมวด hs 85287264 ยังถูกตัดสิทธิ gsp จากสหรัฐฯ ทำให้การส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์สีของไทยไปสหรัฐฯจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 3.9 แทนการเสียภาษีร้อยละ 0 อีกทั้ง ยังได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การขยายส่วนแบ่งตลาดทั้งภายในและต่างประเทศยังต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันกับเครื่องรับโทรทัศน์จากประเทศที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เช่น จีน ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวทั้งการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการออกแบบรูปลักษณ์ของสินค้าให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่กับการใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียนและข้อตกลงทางการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและเพิ่มส่วนแบ่งทางตลาดให้มากขึ้น
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87618
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news05/08/07

โพสต์ที่ 21

โพสต์

กลุ่มเครื่องจักรจ่อเจ๊งครึ่งหมื่นราย เตือนOEMระวังตามรอยไทยศิลป์  
ธุรกิจเครื่องจักรเอสเอ็มอีเตรียมปิดกิจการอีก 5 พันรายปลายปีนี้ หลังเผชิญมรสุมค่าบาท ล่าสุดโรงงานขนาดกลางเริ่มลดกำลังผลิต 50% นักวิชาการเตือนกิจการเน้นรับจ้างผลิตเสี่ยงปิดตัวสูง ชี้รัฐต้องอุ้มผู้ประกอบการครอบคลุมเครื่องจักรทุกประเภท

นายปรีชา เพ็งฮั้ว รองประธานบริษัท วารินท์ ฟู๊ด แมชชีนเนอรี จำกัด ผู้ผลิตเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่ของประเทศเปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลไทยในปัจจุบัน"ว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท และส่งผลให้ในขณะนี้ผู้ดำเนินธุรกิจขนาดกลางส่วนใหญ่ลดกำลังการผลิตสินค้าลงถึง 50% ซึ่งคาดว่าอีกภายใน 3 เดือนข้างหน้าจะมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ประมาณ 5,000 รายต้องปิดกิจการลงเนื่องจากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

โดยผลกระทบจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนในทางอ้อมนั้นเกิดจากการชะลอตัวทางธุรกิจส่งออกของลูกค้าที่มีสาเหตุมาจากการแข็งค่าของเงินบาทเช่นกันทำให้ไม่มีการสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลง โดยยกเลิกการทำงานล่วงเวลาและเพิ่มวันหยุดของพนักงาน ทั้งนี้ปัญหาการชะลอตัวของอุตสาหกรรมเครื่องจักรภายในประเทศนั้นนอกจากปัจจัยด้านการขยายตัวทางธุรกิจของลูกค้าแล้ว การเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีนก็ยังคงเป็นปัจจัยซ้ำเติมของอุตสาหกรรมภายในประเทศเนื่องจากภาษีนำเข้าเครื่องจักรสำเร็จรูปอยู่ที่ประมาณ 5% เท่านั้นทำให้สินค้าภายในประเทศมีราคาสูงกว่า

สำหรับผลกระทบในทางตรงนั้นการแข็งค่าของเงินบาททำให้รายได้ที่กลับมาเป็นเงินบาทลดลง โดยมีการประเมินว่าตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 จนถึงปัจจุบันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐมาอยู่ที่ประมาณ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหายไปถึง 20% ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกเครื่องจักรกลโดยรวมในปีนี้จะต้องลดลงกว่าปีที่แล้วอย่างแน่นอนแต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะเป็นมูลค่าเท่าใด แต่คาดการร์ว่าผลประกอบการในภาพรวมของผู้ผลิตเครื่องจักรกลน่าจะลดลงจากปีที่แล้ว 50% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวในปี 2549 อยู่ที่ 2,659 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 93,065 ล้านบาท

ทั้งนี้มองว่าการลดผลกระทบของปัญหาค่าเงินบาทนั้นจะต้องมีการดำเนินการทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ รวมถึงได้การสนับสนุนและช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้นควรจะเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจโดยเฉพาะในส่วนของการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและสร้างตราสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สำหรับในส่วนของรัฐบาลควรออกมาตรการต่างๆมาสนับสนุนผู้ผลิตภายในประเทศโดยเฉพาะกระบวนการทางภาษีศุลกากร ส่วนมาตรการที่รัฐบาลเพิ่งออกมาเพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาทนั้นมองว่าน่าจะช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตามในส่วนของบริษัทฯนั้นยอมรับว่าไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินมากนักเนื่องจากนโยบายการดำเนินธุรกิจจะเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอยู่แล้ว ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกผลประกอบการของบริษัทได้รับผลกระทบเพียง 6% และคาดว่าตลอดทั้งปียอดจำหน่ายจะอยู่ที่ ประมาณ 320 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 300 ล้านบาท โดยสินค้าของบริษัทฯมีการจำหน่ายในประเทศ 70% โดยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งที่ประมาณ 37% ส่วนการส่งออกนั้นจะเน้นตลาดอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ทั้งนี้ในส่วนของสินค้าประเภทชิ้นส่วนได้รับการตอบรับค่อนข้างดีจึงจะทำการขยายพื้นที่ในการดำเนินการในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ตารางวา จากเดิม 4,000 ตารางวา มูลค่าลงทุนประมาณ 120 ล้านบาทคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการภายในปี 2551

ด้านผศ.ดร.ชัชพล ชังชู อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า เรื่องที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือกรณีที่ผู้ผลิตมีการส่งออกสินค้าในรูปของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลหรือเป็นประเภทรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) ค่อนข้างมากคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทนั้น ในระยะยาวโอกาสในการอยู่รอดของกิจการค่อนข้างต่ำและอาจประสบปัญหาแบบเดียวกับบริษัทไทยศิลป์ อาคเนย์ อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ได้ ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรไทยควรได้รับการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนจากรัฐบาลโดยหากเป็นในส่วนของการพัฒนาวิจัยควรปรับปรุงกระบวนการให้การสนับสนุนรวดเร็วขึ้น
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2240
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news06/08/07

โพสต์ที่ 22

โพสต์

โตชิบาสนองรัฐผลิตหลอดประหยัดไฟ บาทโป๊กกระทบส่งออกกำไรหด  

โดย ข่าวสด
วัน จันทร์ ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 06:18 น.

นางจิรนันท์ อมรมนัส ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายหลอดไฟ โตชิบา เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างศึกษาจะนำหลอดประหยัดไฟเข้ามาผลิตในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงมาก ซึ่งหลังจากได้เริ่มทำตลาดเมื่อปีที่แล้วทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านหลอด และในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้สามารถทำยอดขายได้แล้ว 1 ล้านหลอด เป็นผลมาจากกระแสประหยัดพลังงานที่ภาครัฐรณรงค์ โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในปีหน้า และต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเฉพาะเครื่องจักรเท่านั้น เพราะจะผลิตในโรงงานเดิมที่นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี จากปัจจุบันนำเข้าจากโรงงานในประเทศจีน และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้จะทำให้โตชิบาเป็นรายแรกที่มีฐานผลิตหลอดประหยัดไฟในประเทศไทย และจะทำให้ราคาจำหน่ายถูกลงด้วย
พร้อมกันนี้ในปีที่ผ่านมาหลอดประหยัดไฟเป็นกลุ่มสินค้าที่ผลักดันการเติบโตของบริษัท ทำให้ยอดขายในช่วง 6 เดือนแรกเติบโต 5-6% ในขณะที่กลุ่มสินค้าที่ทำรายได้หลัก คือ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือนีออน เติบโตเพียงเล็กน้อย แต่ต้องยอมรับว่าบริษัทมีผลกำไรที่ลดลงถึง 6-8% ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งมาจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่ส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 35-40% ของกำลังการผลิตรวม 3.5-4 ล้านหลอดต่อเดือน แม้ว่าบริษัทจะปรับตัวด้วยการซื้อวัตถุดิบในประเทศ และปรับราคาสินค้าขึ้นประมาณ 6% จึงทำให้ยังไม่ขาดทุน แต่หากค่าเงินบาทแข็งค่าไปถึง 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บริษัทคงต้องพิจารณาปรับสัดส่วนการส่งออกใหม่ หรืออาจจะลดกำลังการผลิตในส่วนของการส่งออกลง

อย่างไรก็ตาม ทั้งปีบริษัทยังตั้งเป้าหมายเติบโต 10% หรือมียอดขาย 800 ล้านบาท และเชื่อว่าผลกำไรต้องลดลงแน่นอนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่บริษัทจะรุกทำตลาดในประเทศให้มากขึ้น โดยมีแผนออกสินค้าใหม่ถึง 4 ตัว ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ บัลลาสต์, หลอดไฟแอลอีดี ที่ช่วยประหยัดพลังงานและมีอายุการใช้งานที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป, หลอดนีออนปรับแสงได้ที่มีคุณสมบัติป้องกันแมลง และหลอดไฟกันแตก เพื่อออกมากระตุ้นตลาดในช่วงเวลาที่เหลือของปี และวางงบทำตลาดทั้งปีไว้ 35-40 ล้านบาท
http://news.sanook.com/economic/economic_165747.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news15/08/07

โพสต์ที่ 23

โพสต์

คาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กฯไตรมาส 3 โตได้กว่าร้อยละ 7  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
15 สิงหาคม 2550 16:02 น.
 
      สศอ.คาดแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาส 3 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 7.38 ขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะขยายตัวร้อยละ 11.20 เนื่องจากรับอานิงส์จากการเติบโตของเครื่องปรับอากาศและฮาร์ดดิสก์ ส่วนยอดการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า 9 เดือนแรกปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.34
     
      สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในที่ประชุมซีอีโอ ฟอรั่ม ครั้งที่ 4 ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาส 3 ปีนี้ จากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 เนื่องจากการขยายตัวของเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก เพราะตลาดสหภาพยุโรป (อียู) ค่อนข้างชะลอตัวในปี 2549 หลังโดนมาตรการกีดกันทางการค้า ทำให้ฐานตัวเลขต่ำ และในช่วงนี้สภาพอากาศในแถบยุโรปค่อนข้างร้อน จึงมีการสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดตะวันออกกลางที่ยังต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้การจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาส 3 น่าจะปรับตัวขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ชะลอลงร้อยละ 3.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และหากพิจารณาแนวโน้มยอดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.34 และสินค้าเกือบทุกผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องปรับอากาศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โทรทัศน์สียังค่อนข้างทรงตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15 ตู้เย็นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.56 เนื่องจากปริมาณการขายในประเทศชะลอตัว
     
      ขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ มีการขยายกำลังการผลิตสูงมาก และจะต่อเนื่องไปถึงปลายปี รองรับการขยายตัวของตลาดที่ใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ เพื่อประกอบสินค้าสำเร็จรูปในตลาดจีนและอาเซียนที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่น อย่างไรก็ตาม ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกอาจมีชะลอตัวลง เพราะมีสัญญาณตั้งแต่ปี 2549 และจะต่อเนื่องไปอีก 6 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะตลาดสหรัฐซึ่งเริ่มมีการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีราคาสูง เมื่อออกสู่ตลาดและมีอายุสินค้าค่อนข้างสั้น ขณะที่ประเทศในแถบยุโรปเริ่มออกมาตรการป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพจากประเทศต่าง ๆ ทำให้ไทยได้รับผลกระทบ
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000095812
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/08/07

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กฯฟื้น อานิสงส์ออร์เดอร์แอร์ไปอียูเพิ่ม  
 
ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระบุแนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่3/2550 ขยายตัว 7.38%โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์(HDD) แต่ยังประสบปัญหาแรงงานที่มีการเคลื่อนย้ายสูง ถูกสินค้าด้อยคุณภาพแย่งตลาด

นายจารึก เฮงรัศมี ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวภายหลังการประชุมE&E CEO Froum ครั้งที่5/2550 ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ว่าภาวะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่2/2550โดยพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง3.57%เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนแต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น14.26 % เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์(HDD) ขณะเดียวกัน การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง โดยเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟ เป็นต้น

ภาวะการตลาดโดยรวมในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่2/2550ปรับตัวลดลง3.88%เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้น17.72%เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์(HDD) และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต เป็นต้น

แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่3/2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัว7.38% ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลักโดยได้รับอานิสงส์จากตลาดการส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียูซึ่งในช่วงนี้ภูมิอากาศแถบยุโรปค่อนข้างร้อนอาจจะมีคำสั่งซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตลาดตะวันออกกลางยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อีกมาก ทำให้ภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้น

หากจะพิจารณาแนวโน้มภาพรวมปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในช่วง9 เดือนแรกของปี2550 พบว่า มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อย2.34 %จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วง9เดือนแรก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์

ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาส3/2550ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มขยายตัว11.20 % ส่วนใหญ่ปรับตัวในฮาร์ตดิสไดร์(HDD) เนื่องการขยายตัวของตลาดที่นำอุปกรณ์และชิ้นส่วนไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ตลาดจีน และอาเซียน ที่มีการขยายตัวมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ

นอกจากนี้แนวโน้มรายรับ(revenue)ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกในช่วงปี2006-2010 พบว่า ทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากราคาขายเฉลี่ยลดต่ำลง ส่วนตลาดหลัก เช่น อเมริกาชะลอตัวลงเนื่องจากการอิ่มตัวของสินค้าเทคโนโลยีที่มีลักษณะราคาสูงเมื่อออกสู่ตลาดช่วงแรก และอายุของสินค้าค่อนข้างสั้น

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านแรงงานที่ขาดแคลนในระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์

ทั้งนี้ มาตรการหรือการดำเนินการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในประเทศไทย เพื่อรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้ามีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากประเทศต่างๆ เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น เนื่องจากกลางปี2550 อียูมีผลบังคับใช้REACEในการขึ้นและจดทะเบียนสารเคมี และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐที่เข้มงวดขึ้นเพื่อป้องกันสินค้าที่ด้อยคุณภาพเข้าไปในประเทศ

อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวลดลงถือเป็นการกระตุ้นภาคเอกชนโดยรวมในการลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือลงทุนในส่วนต่างๆ ของธุรกิจเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม
http://www.naewna.com/news.asp?ID=71569
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news24/08/07

โพสต์ที่ 25

โพสต์

Electronic Components Sector

24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:30:00

ภาพรวม 1H/50 หุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 5 บริษัทที่ศึกษา มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16% Y-O-Y และมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 10% Y-O-Y แม้เงินบาทแข็งค่าเฉลี่ย 9% Y-O-Y

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ขณะเดียวกันยอดขายของหลายบริษัทที่เติบโตในอัตราสูงกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดแรงกดดันจากผลกระทบค่าเงินบาทต่อ Gross margin โดย CCET และ SVI มีการเติบโตของยอดขายดีกว่ากลุ่ม และมีกำไรปกติเติบโตเด่นเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ คาดแนวโน้ม 2H/50 เติบโตดีกว่า 1H/50 จากผลบวกฤดูกาล และสินค้าคงคลังที่เริ่มลดลง อย่างไรก็ดีเรายังกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของหุ้นกลุ่มนี้ คงน้ำหนักลงทุน เท่าตลาด (Neutral) เลือกหุ้น CCET และ SVI เป็น Top pick
ภาพรวมครึ่งปีแรก 50 หุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 5 บริษัทที่เราศึกษา มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16% Y-O-Y โดย CCET มีการเติบโตของกำไรสุทธิเด่นสุดในกลุ่ม

ใน 1H/50 หุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 5 บริษัทที่เราศึกษา ได้แก่ CCET, DELTA, HANA, SPPT และ SVI มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 16% Y-O-Y เป็น 3,735 ล้านบาท โดย DELTA และ SVI รายงานกำไรสุทธิใกล้เคียงกับที่คาด ขณะที่ CCET และ SPPT แย่กว่าคาด เนื่องจาก CCET มีสัดส่วนยอดขายสินค้า margin ต่ำในกลุ่ม PCBA เพิ่มขึ้น ฉุด Gross margin ลงต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ส่วน SPPT เป็นผลจากค่าใช้จ่าย SG&A เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังเริ่มดำเนินงานโรงงานใหม่

อย่างไรก็ดี CCET ยังเป็นบริษัทที่มีกำไรปกติ 1H/50 เพิ่มขึ้นโดดเด่นที่สุด 38% Y-O-Y เป็น 1,322 ล้านบาท จาก 960 ล้านบาท ใน 1H/49 รองลงมาคือ SVI มีกำไรปกติเพิ่มขึ้น 31% Y-O-Y เป็น 144 ล้านบาท จาก 110 ล้านบาท ใน 1H/49 ด้วยอานิสงค์ฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

แม้เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเฉลี่ย 9% Y-O-Y แต่ยอดขาย 1H/50 ยังเพิ่มขึ้น 10% Y-O-Y และกระทบ Gross margin เพียงเล็กน้อย

ยอดขายใน 1H/50 ของ 5 บริษัท แสดงการเติบโตถึง 10% Y-O-Y เป็น 68,940 ล้านบาท จาก 62,748 ล้านบาท ใน 1H/49 แม้ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ 1H/50 แข็งค่า 9% Y-O-Y เฉลี่ย 35.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ จากเฉลี่ย 38.43 บาท/ดอลลาร์ ณ 1H/49 ขณะเดียวกันยอดขายของหลายบริษัทที่เติบโตในอัตราสูงกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ยังช่วยลดแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาทต่ออัตรากำไรขั้นต้น (Gross margin) เห็นได้จาก Gross margin ใน 1H/50 ที่ปรับลงเพียงเล็กน้อยจากใน 1H/49 ยกเว้น SPPT ที่มี Gross margin ตกลงมาก เนื่องจาก Defect rate จากสินค้าใหม่สูง และการลดราคาสินค้าให้กับลูกค้า

เราเห็นว่ายอดขายที่เติบโต สะท้อนถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังเป็นขาขึ้น โดย CCET และ SVI ยังเป็น 2 บริษัท ที่มีการเติบโตของยอดขายดีกว่ากลุ่ม จากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มการจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Outsourcing) ที่ยังเติบโตเฉลี่ย 10%ขณะที่ DELTA กลับมียอดขายลดลง 14% Y-O-Y เหลือ 17,424 ล้านบาท ใน 1H/50 เนื่องจากใน 2H/50 DELTA จะหยุดผลิตสินค้า margin ต่ำในกลุ่ม LCD TV ส่งผลให้ยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ลดลง 26% Y-O-Y (LCD TV มีสัดส่วนเกือบ 30% ของยอดขาย)

คาดแนวโน้ม 2H/50 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์โลกจะดีกว่าใน 1H/50 เนื่องจากผลบวกฤดูกาลที่เป็น High season และปริมาณสินค้าคงคลังเริ่มลดลง ส่วนปี 2551 SIA ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก คาดจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ในช่วง 5 ปี (2549 - 2553) ประมาณ 7%

แรงกดดันจากราคา IC ที่ลดลงเฉลี่ย 20% Y-O-Y และปริมาณสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ใน 1H/50 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์โลก เพิ่มขึ้น 2% Y-O-Y เป็น 121,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 118,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 1H/49 อย่างไรก็ดีสถาบัน SIA และ iSuppli มีความเห็นตรงกันว่า ใน 2H/50 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์โลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ตามผลบวกฤดูกาลที่เป็น High season ในไตรมาส 3 ทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี อีกทั้งเริ่มมีสัญญาณบวกจากปริมาณสินค้าคงคลังที่ลดลงในไตรมาสสุดท้าย จากวันหยุดช่วงเทศกาลติดต่อกัน ทำให้จำนวนวันผลิตสั้นกว่าไตรมาสอื่น ส่วนแนวโน้มปี 51 SIA คงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก คาดจะมีอัตราการเติบโต 8% Y-O-Y และมีอัตราการเติบโต (CAGR) ในช่วง 5 ปี (2549 - 2553) เฉลี่ย 7% โดยสินค้ากลุ่ม PC, Mobile Phone และ Consumer Electronic จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 8 -10%

คงน้ำหนักลงทุน เท่าตลาด (Neutral) ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เรายังกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของหุ้นกลุ่มนี้ เลือกหุ้น CCET และ SVI เป็น Top pick จากแนวโน้มผลประกอบการเติบโตโดดเด่น และความเสี่ยงขาลงจำกัดจากผลกระทบค่าเงินบาท

เราคงน้ำหนักลงทุน เท่าตลาด (Neutral) ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แม้มุมมองเชิงบวกของ SIA และ iSuppli ต่อแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก ทำให้เราคาดว่า ใน 2H/50 และปี 2551 ยอดขายของกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะได้อานิสงค์จากปัจจัยบวกดังกล่าว แต่เรายังกังวลต่อความสามารถในการทำกำไรที่อาจถูกดดันจาก 2 ปัจจัย คือ 1) การเปลี่ยน Product mix ของบางบริษัท ทำให้ระยะสั้นสัดส่วนยอดขายสินค้า margin ต่ำจะมีสัดส่วนสูง และ 2) แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาพื้นฐานของบริษัท เลือก CCET และ SVI เป็น Top pick

ที่มา : บล.เกียรตินาคิน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=91083
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/08/07

โพสต์ที่ 26

โพสต์

พานา" สู้ฟัด LCDรอบใหม่ โซนี่ ซัมซุง หนาวววว อย่างแรง  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
25 สิงหาคม 2550 08:36 น.
 
      ผู้จัดการรายสัปดาห์ - * สมรภูมิแอลซีดีทีวีร้อนฉ่า เมื่อยักษ์ใหญ่เกทับโยกฐานผลิตเข้าไทย * ลดต้นทุน ชิงความได้เปรียบ สู้สงครามราคา * พานาฯรายล่าสุด ผุดโรงงานปะทะโซนี่ ซัมซุง สะเทือนถึง ชาร์ป และแอลจี * ปลายปีส่อแวว แอลซีดี 32 นิ้วราคาร่วง หมื่นกว่าก็ซื้อได้
     
      จากการให้สัมภาษณ์ของ ไดโซ อิโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพานาโซนิค ในประเทศไทย ที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ประชาชาติเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเป็นตัวสะท้อนได้อย่างดีว่าตลาดแอลซีดีทีวีได้ยืนอยู่บนสงครามราคาอย่างเต็มตัวเมื่อหลายค่ายต่างโยกฐานการผลิตแอลซีดีทีวีมาสู่ประเทศไทย เหตุผลสำคัญคือเพื่อใช้ราคาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ และเป็นการสร้างยอดขาย เพิ่มส่วนแบ่งในตลาด
     
      โดยพานาโซนิค ประกาศโยกฐานการผลิตพลาสม่าทีวีซึ่งโฟกัสที่หน้าจอขนาด 40 นิ้วขึ้นไปจากสิงคโปร์มาสู่ไทย และเปลี่ยนโรงงานประกอบแอลซีดีขนาด 32 นิ้วในเมืองไทยซึ่งเริ่มเดินเครื่องจักรเมื่อปลายปีที่แล้วให้เป็นโรงงานผลิตแอลซีดีเต็มรูปแบบ ซึ่งนอกจากจะรองรับตลาดในเมืองไทยแล้วยังส่งออกไปยังประเทศต่างๆในอาเซียนรวมถึงมีแผนส่งไปจำหน่ายที่อินเดียด้วย
     
      การย้ายฐานการผลิตมาสู่ประเทศไทยทำให้พานาโซนิคลดต้นทุนจากการเสียภาษีนำเข้า 20% กลายเป็น 0% นั่นหมายความว่าราคาแอลซีดีทีวีของพานาโซนิคที่เคยแพงกว่าคู่แข่งอย่างโซนี่ซึ่งมีฐานการผลิตในเมืองไทย 20% วันนี้พานาโซนิคสามารถสู้ราคาได้ ซึ่งผู้บริหารของพานาโซนิคย้ำว่าการสู้ราคาของพานาโซนิคนั้นหมายถึงการลดต้นทุนได้ด้วย มิใช่ลดราคาสู้โดยที่ต้นทุนยังสูงอยู่
     
      ปัจจุบันราคาแอลซีดีทีวี 32 นิ้วอยู่ที่ 2.5 หมื่นบาท ลดลงจากต้นปีซึ่งอยู่ที่ 3.9 หมื่นบาท แต่ถ้านับย้อนไปก่อนหน้านั้นจะมีราคาสูง 7-8 หมื่นบาท ซึ่งถือว่าแพงกว่าพลาสม่าทีวี 2-3 เท่าตัวเมื่อเทียบราคากันต่อตารางนิ้ว โดยประมาณ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ในยุคแรกที่แอลซีดีทีวีสามารถฝ่าข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีได้ด้วยการทำหน้าจอขนาดใหญ่กว่า 40 นิ้ว ซึ่งมีราคาสูงถึง 2 แสนกว่าบาท ในขณะที่พลาสม่าทีวีมีราคาอยู่ที่แสนกว่าบาท แต่ปัจจุบันราคาแอลซีดีทีวีหล่นลงมาจนมีช่วงห่างจากพลาสม่าทีวีเพียง 2-3 หมื่นบาทเท่านั้น
     
      พานาโซนิคในฐานะผู้นำตลาดพลาสม่าทีวีด้วยส่วนแบ่งการตลาด 30% ในปีที่ผ่านมา พยายามรักษาตลาดที่ตัวเองเป็นผู้นำด้วยการสร้างหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ได้ 35% ในปีนี้ และ 40% ในปีหน้า โดยพลาสม่า 103 นิ้วความละเอียดระดับไฮเดฟฟินิชั่นราคา 3-4 ล้านบาท จะเป็นตัวสร้างชื่อให้กับพลาสม่าทีวี พร้อมกันนี้ยังโฟกัสพลาสม่าทีวีที่ขนาด 50 นิ้วขึ้นไปซึ่งมีราคา 9 หมื่นกว่าบาท แพงกว่าแอลซีดีทีวี 40 กว่านิ้วไม่กี่หมื่นบาท ทว่าด้วยขนาดหน้าจอที่ใหญ่มากขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตแอลซีดีทีวีสูงขึ้น เส้นแบ่งของตลาดแอลซีดทีวีและพลาสม่าที่เคยอยู่ที่ 37 นิ้ว ก็ขยับขึ้นไปเป็น 50 นิ้ว โดยตลาดจอใหญ่เป็นของพลาสม่าทีวี ตลาดจอเล็กเป็นของแอลซีดีทีวี แต่แนวโน้มความนิยมในตลาดโลกคือแอลซีดีทีวีมากกว่าเนื่องจากมีจุดเด่นในเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้าที่น้อยกว่า มีความร้อนที่หน้าจอน้อยกว่า ถนอมสายตามากกว่า สู้แสงได้ดีกว่า แต่มีจุดด้อยในเรื่องของการรับสัญญาณภาพเคลื่อนไหวถ้าเร็วไปจะเกิดอาการเบลอ ซึ่งทั้งฟากผู้ผลิตแอลซีดีทีวีและพลาสม่าทีวีต่างก็พยายามลดจุดด้อยที่มีอยู่
     
      แอลซีดีทีวียุคสงครามราคา
     
      จีเอฟเค มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ได้ทำการสำรวจตลาดทีวีจอบางในเมืองไทยในปีที่ผ่านมาเทียบกับปี 2548 พบว่า ตลาดแอลซีดีทีวีมีการเติบโตเชิงปริมาณสูงถึง 991.2% จากปริมาณความต้องการ 4,434 เครื่องในปี 2548 เพิ่มเป็น 48,386 เครื่องในปี 2549 ขณะที่มูลค่าตลาดมีการเติบโต 816.2% จาก 366 ล้านบาทเพิ่มเป็น 3,355 ล้านบาท ส่วนตลาดพลาสม่าทีวีมีการเติบโตเชิงปริมาณเพียง 117.4% จากความต้องการ 10,417 เครื่องเพิ่มเป็น 22,650 เครื่อง ขณะที่การเติบโตเชิงมูลค่ามีเพียง 23.6% หรือจากมูลค่าตลาดรวม 1,749 ล้านบาท เพิ่มเป็น 2,162 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความนิยมในตลาดแอลซีดีทีวีที่มีมากขึ้นในขณะที่ราคาลดลง สำหรับในปีนี้คาดว่าปริมาณความต้องการของแอลซีดีทีวีอาจจะสูงถึง 236,000 เครื่อง ส่วนพลาสม่าทีวีจะมีปริมาณความต้องการ 44,000 เครื่อง
     
      ทิศทางที่เห็นได้ชัดเจนของพาแนลทีวีหรือทีวีจอบางที่มีทั้งพลาสม่าทีวี และแอลซีดีทีวี คือสงครามราคาของบรรดายักษ์ใหญ่ ผู้บริหารพานาโซนิคเชื่อว่าปลายปีนี้เราอาจได้เห็นแอลซีดีทีวี 32 นิ้วในราคาที่ต่ำกว่า 2 หมื่นบาท ซึ่งปัจจุบันหากใครซื้อร้านค้าดีลเลอร์และมีความสนิทสนมกับเจ้าของร้านก็อาจมีการต่อรองราคาจนต่ำกว่า 2 หมื่นบาทได้ในบางร้าน หรือไม่ก็อาจได้ของแถมแทนการลดราคาซึ่งวันนี้ถือว่าราคาถูกกว่าปีที่ผ่านมาเป็นเท่าตัว และจะเป็นอีกปัจจัยที่ดึงดูดให้ลูกค้าที่กำลังมองหาซีอาร์ทีทีวี 29 นิ้วหันไปมองแอลซีดีทีวี 32 นิ้วแทน
     
      ก่อนหน้านี้พานาโซนิคเน้นแต่ตลาดพลาสม่าทีวี แต่ด้วยกระแสแอลซีดีในตลาดโลกส่งผลให้พานาโซนิคตัดสินใจรุกตลาดแอลซีดีทีวีอย่างจริงจังทำให้สามารถขยับส่วนแบ่งการตลาดจาก 6% เป็น 20% ในปีที่ผ่านมา พร้อมกับตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 25% ในปีนี้ โดยพานาโซนิคถือเป็นรายล่าสุดที่ผุดโรงงานแอลซีดีทีวีในเมืองไทย โดยก่อนหน้านี้มีหลายค่ายที่โยกฐานการผลิตแอลซีดีทีวีมาเมืองไทยเพื่อสร้างความได้เปรียบในการทำราคาสู้คู่แข่งไม่ว่าจะเป็นโตชิบา โซนี่ ซัมซุง แอลจี และแบรนด์อื่นๆอีกมากมาย
     
      โตชิบาถือเป็นผู้ผลิตอันดับต้นๆที่โยกฐานการผลิตแอลซีดีทีวีและพลาสม่าทีวีมาสู่ประเทศไทยเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว โดยเหตุผลที่ทำตลาดทีวีจอบางก็เพื่อเป็นการผลักดันแบรนด์ให้มีความทันสมัยมากขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาโตชิบาเน้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนซึ่งไม่ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมากนักทำให้ภาพลักษณ์โตชิบากลายเป็นแบรนด์เก่าแก่ นอกจากนี้ยังเป็นการหนีสงครามราคาซึ่งเกิดขึ้นและรุนแรงในสมรภูมิทีวีธรรมดา ทว่าวันนี้ในสมรภูมิแอลซีดีทีวีก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเผชิญกับสงครามราคา แต่โตชิบาก็มีความพร้อมในการสู้ราคาเพราะมีโรงงานผลิตในเมืองไทยทำให้ลดต้นทุนทั้งด้านภาษีและการขนส่ง โดยในปีแรกโตชิบาสามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดได้ 7-8% และเพิ่มเป็น 10% ในปีที่ผ่านมา แต่เมื่อการแข่งขันเริ่มรุนแรงประกอบกับการเข้ามาของแบรนด์ใหญ่อย่างโซนี่ที่ลอนช์แอลซีดีบราเวียในราคาถูกกว่าคู่แข่ง ทำให้โตชิบาต้องขยายไลน์อัพไปสู่แอลซีดีทีวีที่มีความละเอียดระดับไฮเดฟฟินิชั่นซึ่งมีราคาสูงกว่าแอลซีดีปกติ 20% เพื่อรักษาสัดส่วนกำไรให้คงอยู่
     
      โซนี่ดัมป์ราคาสู้
     
      ในขณะที่โซนี่ซึ่งมีการขยายสายการผลิตแอลซีดีโปรเจกชั่นทีวีเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็มีการทุ่มงบเพิ่มอีก 20 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเพื่อปรับโรงงานเก่าให้รองรับกับการผลิตแอลซีดีทีวีภายใต้ซับแบรนด์ บราเวีย ส่งผลให้โซนี่สามารถทำราคาได้ต่ำ สะเทือนไปถึงคู่แข่ง ทั้งนี้ 2 ปีที่แล้วโซนี่ได้ร่วมทุนกับซัมซุงในการทำโรงงานผลิตจอแอลซีดีเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้ชื่อโรงงานว่า S-LCD ตั้งอยู่ที่ประเทศเกาหลี แต่ทั้งคู่จะใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลสัญญาณภาพของตัวเอง ซัมซุงมี DNIe ส่วนโซนี่ใช้เวก้าเอ็นจิ้น ทำให้โซนี่สามารถกำหนกราคาแอลซีดีบราเวียได้ถูกลงโดยมีราคาแพงกว่าพลาสม่าทีวี 20% ซึ่งน้อยกว่าอดีตที่ราคาแอลซีดีจะแพงกว่าพลาสม่าทีวี 2-3 เท่าตัว และเมื่อเทียบกับแอลซีดีบางรุ่นของคู่แข่ง โซนี่จะมีราคาถูกกว่าโดย บราเวีย จะมีราคาตั้งแต่ 29,990-149,990 บาท ประกอบกับมีการทำโปรโมชั่นและให้ส่วนลดต่างๆมากมายในงานโซนี่เดย์และโซนี่แฟร์ ทำให้คู่แข่งดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างยากลำบาก
     
      และเมื่อโซนี่ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทยก็ยิ่งทำให้โซนี่ทำราคาสู้คู่แข่งได้ดียิ่งขึ้น โดยโซนี่ตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างแบรนด์บราเวียให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเหมือนเช่น แบรนด์ ไตรนิตรอน และเวก้า ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้ ด้วยการทุ่มงบในการสร้างแบรนด์บราเวียกว่า 80 ล้านบาท เพื่อสร้างส่วนแบ่งในตลาดทีวีจอบาง จนในที่สุดโซนี่ก็สามารถล้มแชมป์อย่างชาร์ปขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดเบียดกับซัมซุง โดยมี แอลจี ไล่หลังมา ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดจากชาร์ประบุว่าซัมซุงเป็นผู้นำแอลซีดีทีวีด้วยส่วนแบ่ง 32% โซนี่และแอลจีมี 26% ขณะที่ชาร์ปอยู่อันดับที่ 4
     
      นอกจากการใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการผลักดันสินค้าไปสู่ผู้บริโภคแล้วโซนี่ยังวางคอนเซ็ปต์ HD World ในการทำการตลาดเพื่อกินรวบทุกตลาดด้วยการพัฒนาสินค้าให้มีความละเอียดระดับไฮเดฟฟินิชั่นและเชื่อมต่อการใช้งานซึ่งกัน เช่น กล้องวิดีโอแฮนดีแคม กล้องไซเบอร์ชอต เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 และเครื่องเล่นบลูเรย์ดิสก์ โดยมีแอลซีดีบราเวียเป็นตัวเชื่อมในการถ่ายทอดรายละเอียดของภาพ
     
      ชาร์ปผุดโรงงาน ทวงบัลลังก์แชมป์
     
      ด้านชาร์ปหลังจากเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่งก็พยายามออกสินค้าใหม่แต่ก็ยังไม่สามารถชิงส่วนแบ่งการตลาดกลับคืนได้ จนในที่สุดตัดสินใจสร้างโรงงานประกอบแอลซีดีทีวีในเมืองไทยเพื่อให้มีต้นทุนที่ต่ำสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และถือเป็นโรงงานผลิตแอลซีดีแห่งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น ขณะเดียวกันชาร์ปก็ยังสร้างโรงงานผลิตแอลซีดีแห่งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เกิดอีโคโนมีออฟสเกลในการผลิตจะได้มีต้นทุนที่ต่ำลงเมื่อส่งไปต่างประเทศ
     
      อย่างไรก็ดีเนื่องจากความแข็งแกร่งของแบรนด์ชาร์ปที่มีน้อยกว่าโซนี่ทำให้ชาร์ปต้องทำงานหนักในการสร้างแบรนด์ โดยชาร์ปมีการรวมบริษัทที่เป็นหุ้นส่วนคนไทยเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำการตลาดภายใต้ชื่อบริษัทชาร์ปไทย
     
      ชาร์ป ตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างส่วนแบ่งในตลาดแอลซีดีทีวีได้ 20% ในปีนี้ หลังจากที่เคยเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งการตลาด 24% เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ชาร์ปตั้งเป้าที่จะทวงบัลลังก์แอลซีดีทีวีจากโซนี่โดย 80% ของงบการตลาดทั้งหมดทุ่มให้กับแอลซีดีภายใต้ซับแบรนด์อะควอส ก่อนหน้านี้ชาร์ปเคยประสบความสำเร็จในการพัฒนาแอลซีดีทีวี 65 นิ้ว ราคา 700,000 บาท และแอลซีดีรุ่นบางสุดในโลก 8 เซนติเมตร ล่าสุดกำลังมีการพัฒนาแอลซีดีขนาด 108 นิ้วเพื่อเจาะตลาดองค์กรซึ่งคาดว่าจะวางตลาดได้ในปีหน้า พร้อมกันนี้ยังมีการขยายไลน์อัปสินค้าให้ครอบคลุมตลาดด้วยการทำแอลซีดีทีวีหลายขนาดตั้งแต่ 65 นิ้วไปถึง 15 นิ้ว และยังมีการสร้างเซกเมนต์ใหม่ด้วยแอลซีดีทีวี 19 นิ้วไวด์สกรีน ซึ่งยังไม่มีคู่แข่งเนื่องจากต้นทุนการทำไวด์สกรีนสูง การจะนำมาใช้กับแอลซีดีจอเล็กอาจจะไม่คุ้ม ดังนั้นหลายๆแบรนด์จึงทำไวด์สกรีนเฉพาะแอลซีดีที่มีหน้าจอที่ใหญ่กว่า 20 นิ้วขึ้นไป
     
      ในส่วนของแอลจีซึ่งมีความร่วมมือกับค่ายฟิลิปส์ในการผลิตพาแนลแอลซีดีทีวีแบบเดียวกับที่โซนี่ร่วมมือกับซัมซุง ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งในระดับหนึ่ง และเมื่อปีที่แล้วได้มีการสร้างโรงงานผลิตแอลซีดีทีวีในเมืองไทย รับกระแสฟุตบอลโลกซึ่งผลักดันให้ตลาดทีวีมีการเติบโตมากขึ้น โดยแอลจีตั้งเป้าว่าการขยายฐานการผลิตมาสู่ประเทศไทยจะทำให้บริษัทสามารถกดราคาลงได้อีก 5-10% พร้อมกับเพิ่มงบการตลาดจาก 650 ล้านบาทเป็น 800 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเพื่อรุกตลาดในกลุ่มเอวี ด้านซัมซุงซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่จากเกาหลีก็มีการสร้างโรงงานผลิตแอลซีดีทีวีหลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการผลิตพลาสม่าทีวีในเมืองไทย พร้อมกับใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการส่งออก โดยซัมซุงมีการชูเรื่องของดีไซน์สินค้าในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
     
      เจวีซี เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประกาศโยกฐานการประกอบแอลซีดีทีวีมาสู่ประเทศไทยในช่วงปลายปี 2549 โดยมีการใช้งบลงทุนกว่า 100 ล้านบาทเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีต้นทุนที่ต่ำซึ่งคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ 30% ทำให้บริษัทสามารถดำเนินกลยุทธ์ด้านราคาสู้กับคู่แข่งได้ และจะทำให้บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มจาก 6% เป็น 10% ในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์อื่นๆอีกหลายแบรนด์ที่มีการผลิตแอลซีดีทีวีในเมืองไทย เช่น ต้าถุง
     
      อย่างไรก็ดีนอกจากการเกทับเข้ามาตั้งฐานการผลิตแอลซีดีทีวีในเมืองไทยเพื่อเหตุผลในการทำราคาสู้กับคู่แข่งแล้วยังเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับกระบวนการลอจิสติกส์ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาร์ปต้องเสียส่วนแบ่งการตลาดไปเพราะนอกจากจะมีราคาแพงแล้วยังไม่มีสินค้าตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้การที่มีโรงงานผลิตในเมืองไทยจะทำให้บริษัทสามารถออกแบบพัฒนาสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคไทยมากกว่าการนำเข้า
     
      ก่อนหน้านี้บรรดายักษ์ใหญ่ต่างทุ่มทุนมาผลิตจอภาพที่มีเทคโนโลยีสูงเพื่อเลี่ยงสงครามราคาจากบรรดาสินค้าจีนและโลคัลแบรนด์ที่ทำราคาต่ำจนรายใหญ่สู้ราคาไม่ได้ จึงโฟกัสสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น วันนี้แอลซีดีทีวีที่เคยเป็นนิชมาร์เก็ตกำลังขยายฐานไปสู่ตลาดแมสมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงและมีผู้เล่นมากขึ้น สินค้าที่เคยมีมาร์จิ้นสูงต้องเฉือนเนื้อลดมาร์จิ้นเพื่อสร้างยอดขาย การนำเข้าทำให้เสียเปรียบ ประกอบกับประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ทำให้หลายค่ายตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อลดต้นทุน สร้างความได้เปรียบในการทำราคา
     
      ทั้งนี้เคยมีคำกล่าวว่าตลาดเมืองไทยเป็นประเทศที่ทำการตลาดยากที่สุด ถ้าใครผ่านได้ก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในตลาดอื่นๆที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน หลายๆค่ายจึงปักหลักที่จะยืนหยัดอยู่ในตลาดแห่งนี้ให้ได้เพราะตลาดเมืองไทยนำหน้าประเทศอื่น บทเรียนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในตลาดนี้สามารถนำไปประยุกต์แก้ไขกับตลาดอื่นๆในภูมิภาคนี้ได้
     
      การเกิดขึ้นของบรรดาโรงงานแอลซีดีในเมืองไทยเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านราคา แน่นอนว่ายอมกระทบตลาดจอภาพอื่นๆด้วย โดยเฉพาะสลิมฟิตที่เกิดขึ้นมาในช่วงที่ตลาดมีช่องว่างระหว่างราคาแอลซีดีทีวีและซีอาร์ที แต่เมื่อราคาแอลซีดีลงมามากย่อมทำให้สลิมฟิตหาทางรอดด้วยการขยับราคาลงไปซึ่งก็จะไปกระทบกับซีอาร์ทีทีวีอีกต่อหนึ่ง เป็นการยากที่จะตอบว่าราคาจะลงไปถึงเท่าไรเพราะถ้าปริมาณความต้องการในตลาดมีมากนั่นหมายการมีอีโคโนมีออฟสเกลที่มากพอให้ผู้ผลิตลดราคาลงมาได้อีก
     
      ปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้ตลาดแอลซีดีทีวีมีการเติบโตมากขึ้นจนกระทั่งไปแทนที่ซีอาร์ทีก็คือนโยบายภาครัฐในการกำหนดระบบส่งสัญญาณออกอากาศทีวีของประเทศ เพราะถ้าประเทศไทยมีการใช้ระบบดิจิตอลในการออกอากาศรายการทีวี เครื่องรับจะต้องรองรับกับสัญญาณดังกล่าวด้วยซึ่งหมายถึงการรองรับสัญญาณในระดับไฮเดฟฟินิชั่นหรือสัญญาณความละเอียดสูงที่ให้ภาพและสียงคมชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งแอลซีดีทีวีมีความพร้อมอยู่แล้ว โดยฟังก์ชั่นการใช้งาน ดีไซน์ และราคายังเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดลูกค้า
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000099945
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 27

โพสต์

อุตฯอิเล็กทรอนิกส์ ระยะยาวอาจถึงทางตัน

กระแสหุ้นรายวัน F 30/08/2007 04:14:16

อนาคตระยะยาวอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อาจมีปัญหาในด้านการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน  ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ขณะที่กลุ่มธุรกิจยังคงดีต่อเนื่อง วงการมอง HANA, DELTA, CCET, SVI, TEAM แนวโน้มครึ่งปีหลังสดใส
ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มการผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาลของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีคาดว่าอัตราการขยายตัวของการผลิตและการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยของทั้งปี 2550 จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท ทำให้ผู้ส่งออกมีรายรับลดลง สำหรับสินค้าในหมวดที่คาดว่าจะมีการเติบโตดี ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (IC) และ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) โดยสินค้าในสองหมวดนี้มีความต้องการการลงทุนเพิ่มเพื่อขยายการผลิตโดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า (IC)
โดยรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีแนวโน้มลดลง ปรากฏการณ์การปรับตัวลดลงของมูลค่าการลงทุนโดยตรงในไทยบ่งชี้ว่าอนาคตการผลิตและการส่งออกสินค้าในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ต่ำลงกว่าปัจจุบัน เนื่องจากไทยเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางด้านค่าจ้างแรงงานแก่ประเทศอื่น เช่น จีนและเวียดนาม ประเทศเวียดนามสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมจากความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการกระจุกตัวของการลงทุนจากบริษัทต่างประเทศจะเป็นผลดีต่อการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ที่มักมีการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ จะยิ่งเป็นการทำให้เงินลงทุนไหลไปยังเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยยังมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีจำกัดทำให้ไม่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและการออกแบบขั้นสูงได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ การปรับลดอากรขาเข้าของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าตามมติของ ค.ร.ม. การงดเก็บภาษีส่งออกและการใช้มาตรฐานสินค้าร่วมกันตามข้อตกลงไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) รวมถึงการที่ปัจจัยการผลิตนำเข้ามีราคาถูกลงจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทและการเมืองที่จะมีความชัดเจนมากขึ้นในปลายปีนี้ ทว่ามาตรการและสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะมีผลให้อุตสาหกรรมได้เปรียบในระยะหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากประเทศคู่แข่งอื่นๆก็เริ่มมีการทยอยทำข้อตกลงทางการค้าในรูปแบบเดียวกัน
ดังนั้น ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ขณะที่กลุ่ม EMS ได้แก่ DELTA, CCET, SVI, TEAM จะยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับผลกระทบจากค่าบาทมีไม่มากเพราะสัดส่วนความเสี่ยงต่ำ มีการนำเข้าสูง อีกทั้งผลกระทบบรรเทาลงจากราคา IC ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญลดลง
นอกจากนี้ เนื่องมาจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และการเติบโตของการส่งออกที่เริ่มชะลอตัวลง ดังนั้นหุ้นที่มีการกระจายตัวของฐานลูกค้ากว้างและสินค้าไม่ใช่สินค้า consumer electronics จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม
ส่วนในอนาคต ประเทศไทยมีแนวโน้มได้รับการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง จากสถิติที่รวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนการลงทุนในภาคนี้มีการชะลอตัวตั้งแต่ปี 2548 ในปี 2550 จำนวนโครงการของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจนถึงเดือนมิถุนายนมีจำนวน 126 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุน 38.8 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.3 จากปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 45.3 พันล้านบาท สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 131 โครงการ มีเงินลงทุนในโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนทั้งหมดโดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเปรียบเทียบที่หดตัวต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2548 และ 2549 สัดส่วนการลงทุนในภาคอิเล็กทรอนิกส์ได้ลดลงเหลือร้อยละ 13.3 จากร้อยละ 18 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
บล.ทรีนิตี้ จำกัด : สินค้าเซมิคอนดัคเตอร์ประสบปัญหา สินค้าส่วนเกิน (Excess inventory) ตั้งแต่ปลายปีก่อน ก่อนที่ระดับสินค้าคงคลังส่วนเกินจะลดลงถึง 40% จากระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ยังคงเผชิญปัญหาจากราคาขายเฉลี่ยของสินค้า (average selling price) ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิต อย่างมากและต่อเนื่องตลอด 2 3 ปีที่ผ่านมา สำหรับในไทย ได้แก่ HANA ซึ่งรับจ้างประกอบวงจรสำเร็จรูป (IC packaging) โดย HANA เผชิญปัญหาต้นทุนที่เพิ่มจากการขยายโรงงานที่เจียซิงประเทศจีน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตยังไม่สูงพอทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มมาก ประกอบกับทองแดงที่เป็นต้นทุนสำคัญเพิ่มขึ้นมากจาก 5,500 เหรียญต่อตันในปลายไตรมาส 1/50 เป็น 7,000 เหรียญต่อตัน อีกทั้งบาทแข็งค่าทำให้กำไรขั้นต้นหดตัวลงมาก ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้หลังจาก SEMI-book- to-bill ลดลงติดต่อกัน 13 ไตรมาส ซึ่งในอดีต 2 รอบที่ผ่านมาจะเริ่มมีการฟื้นตัวเมื่อ B2B ลดลงติดกัน 14 ไตรมาส ประกอบกับราคาลดลงมามากดังนั้นเราแนะนำ Trading Buy ราคาเหมาะสม 27 บาท
ขณะเดียวกัน คาดการณ์ธุรกิจรับจ้างประกอบและผลิตจะเข้าสู่จุดสูงสุดในปี 2551 ดังนั้นเราคาดว่ากลุ่ม EMS ได้แก่ DELTA, CCET, SVI, TEAM จะยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับผลกระทบจากค่าบาทมีไม่มากเพราะสัดส่วนความเสี่ยงต่ำ มีการนำเข้าสูง อีกทั้งผลกระทบบรรเทาลงจากราคา IC ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญลดลง อย่างไรก็ตามเรามีมุมมองระมัดระวังหลังจากตัวเลขการจำหน่ายฮาร์สดิสก์ในไตรมาส 1/50 ของผู้ผลิตระดับโลกมีจำนวนลดลง ดังนั้น EMS ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต PCBA ให้กับ HDD อาจได้รับผลกระทบหากปริมาณคำสั่งซื้อชะลอตัวลง
บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : CCET แนะนำซื้อ ประเมินราคาหุ้น 7.30 บาท กำไรจะขยายตัวต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง จากคำสั่งซื้อเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ 12 ล้านเครื่องจากลูกค้าอินเดียในปีนี้นั้น ประมาณ 3 ล้านเครื่องได้จัดส่งแล้วช่วงครึ่งปีแรก และจะจำหน่ายอีกราว 9 ล้านเครื่องในครึ่งปีหลัง ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจ PCBA และเครื่องพิมพ์ยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยกำไรครึ่งปีหลังจะเติบโต 31% จากครึ่งแรก และ 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมแล้วคาดว่ากำไรปีนี้ขยายตัวถึง 25% yoy เป็น 3.1 พันล้านบาทหรือ 0.65 บาท/หุ้น (fully-diluted)
บล.ฟินันซ่า จำกัด  : HANA ผ่านพ้นมรสุมมาแล้ว 2H07 เริ่มฟื้นตัว แนวโน้ม 2H07 ธุรกิจ IC ฟื้นตัว & PCBA แข็งแกร่งต่อเนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นหลังเข้าสู่ช่วง Inventory Build-Up เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าใน 4Q07 ที่เป็นช่วงเทศกาลของขวัญ ขณะที่ธุรกิจ PCBA เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Touch-Pad  สำหรับคอมพิวเตอร์ Laptop, Hearing Aid และ Sensor ในรถยนต์ ส่งผลให้โรงงานที่ลำพูน
ต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 60% อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกจากการบันทึกกำไรจากการขายบริษัทลูก AIT สูงถึง 530 ล้านบาท
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส จำกัด : DELTA กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังคงแข็งแกร่ง แนวโน้มธุรกิจในระยะยาวยังคงเป็นบวก ด้วยการปรับปรุงอัตรากำไรขั้นต้นให้ดีขึ้น ด้วยการออกจากธุรกิจ LCD ที่อัตรากำไรขั้นต้น 0% ในช่วงปลาย 2Q50 และมุ่งเน้นไปยังสินค้าประเภทที่ให้อัตรากำไรขั้นต้นดีคือ power supplies ประเภท telecom ที่ DES ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทางบริษัทให้ความมั่นใจว่าแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของ DES มีการฟื้นตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อมีการย้ายโรงงานจากยุโรปมาไทย ที่จะช่วยทำให้อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้น และคาดว่ายอดขายจาก DES ในไตรมาสถัดๆมาก็จะเพิ่มขึ้น
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news31/08/07

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ฟิลิปส์โหมขายเครื่องใช้ไฟฟ้าไซส์เล็ก

โพสต์ทูเดย์ ฟิลิปส์ สร้างความ ต่าง ลุยตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็ก รับกระแสมาแรง เปิดตัว ดอคกิง เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำตลาดเป็นรายแรกในไทย


นายสมชัย ถาวรรุ่งโรจน์ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) ผู้ทำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้น เล็ก (ซีอี) และครัวเรือนแบรนด์ ฟิลิปส์ เปิดเผยว่า บริษัทจะทำตลาดกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กภายใต้แนวคิดการทำตลาดให้สอดรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคคนเมืองสมัยใหม่ หรือ ไลฟ์สไตล์ ซึ่งมองหาที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลหรือครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกะทัดรัด เหมาะสมกับพื้นที่ภายในที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม

ทั้งนี้ จะใช้งบการทำตลาดราว 150 ล้านบาท ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค หรือซีอี อาทิ โทรทัศน์จอแก้วซีอาร์ที แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ชุดความบันเทิงโฮมเธียเตอร์ เป็นต้น

สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด ที่เตรียมเปิดตัวและทำตลาดเป็นรายแรกในประเทศไทย คือ ดอคกิง เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เครื่องเล่นภาพและเสียงที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องเล่นเอ็มพี ฟิลิปส์ เอ็มพี 3 หรือไอพอด เป็นต้น ตามแนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นเล็ก หรือไมโคร มีอัตราเติบโตสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา

ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทได้เปิดตัวพร้อมทำตลาดสินค้าหมวดภาพและเสียงกว่า 60 รุ่นใหม่ โดยเฉพาะหมวดแอลซีดี ทีวี 9 รุ่น ตั้งแต่ขนาด 32-52 นิ้ว แบ่งสินค้าการทำตลาดภายใต้ 3 ภาพลักษณ์ คือ 1.กลุ่มเทรนดี หรือนำสมัย 2.กลุ่มพรีเมียม และสุดท้าย 3.กลุ่มลักชัวรี โดยมีความแตกต่าง ทั้งในแง่ของราคาและคุณสมบัติการ ใช้งาน เป็นต้น

สำหรับหมวดเครื่องเสียง บริษัทได้เปิดตัวชุดโฮมเธียเตอร์ทั้งสิ้น 7 รุ่น เครื่องเล่นภาพและเสียง ดีวีดี ไฮไฟ ดีวีดี ไมโคร และดีวีดี มินิ ไฮไฟ ทั้งสิ้น 14 รุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปิดตัวพร้อมทำตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องเล่นเอ็มพี 3 วางจำหน่ายแล้ว 9 รุ่น

นายสมชัย กล่าวว่า บริษัทยัง มุ่งกลยุทธ์สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับสินค้ามากขึ้น หลังสำรวจพบ 86% ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ณ จุดขาย หลังจากได้สัมผัสกับคุณภาพหลังทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แล้ว

นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาตัวแทนร้านค้า หรือดีลเลอร์ จำนวน 50 รายทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาร้านค้าให้เป็นไฮเอนด์ สเปเชียลลิสต์ มากขึ้น จากปัจจุบันบริษัทมีดีลเลอร์ทั่วประเทศ 200 ราย รวมถึงเริ่มตั้งทีมขายพิเศษเพื่อทำตลาดในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ภายในสิ้นปีนี้

จากแนวทางดังกล่าว บริษัทตั้งเป้า ให้แบรนด์ฟิลิปส์ติดท็อปทรีกลุ่มแอลซีดีทีวี และขึ้นเป็นอันดับ 1 สำหรับสินค้า กลุ่มโฮมเธียเตอร์ ไฮไฟ เป็นต้น ภายใน 1 ปีจากนี้ โดยต้องมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 10% จากปัจจุบันที่เครื่องเล่นดีวีดีแบรนด์ฟิลิปส์ครองส่วนแบ่งอันดับ 1 คาดสิ้นปีมีอัตราเติบโต 2 หลัก
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=188497
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/09/07

โพสต์ที่ 29

โพสต์

กลุ่มอุตฯไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกสืจ๋อย ถูก"กกร."เบรกขอคืนภาษีแบตเตอรี่

คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เบรกปัญหาขอคืนภาษีแบตเตอรี่ที่ติดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออก ชี้นำเสนอผิดช่องทาง ประธาน ส.อ.ท.กลัวจะเกิดการร้องเรียนผ่าน กกร.ขอคืนภาษีตามมาอีกมาก ขอให้ส่งเรื่องไปยังสภาหอการค้าฯแทน "ประมนต์ สุธีวงศ์" รับปากจะนำเรื่องหารือรัฐมนตรีช่วยคลังต่อไป

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาหลังการประชุม คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) สิ้นสุดลงในสัปดาห์นี้ว่า ที่ประชุม กกร.ได้มีการหารือกันถึงประเด็นการขอคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าแบตเตอรี่ให้กับผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยคณะกรรมการส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การนำเสนอในประเด็นดังกล่าวให้ กกร.ได้พิจารณานั้น "ผิดช่องทาง" เพราะประเด็นที่ กกร.จะพิจารณาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการแก้ปัญหาในระดับมหภาค อาทิ การปรับปรุงกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยรวมมากกว่า

"ผมคิดว่าประเด็นของการขอคืนภาษีแบตเตอรี่นั้น ไม่ควรจะนำเสนอในระดับคณะกรรมการ กกร. เพราะถ้าหากมีประเด็นเรื่องนี้แล้วก็จะมีประเด็นขอคืนภาษีตัวอื่นๆ ตามเข้ามาอีกมาก สุดท้ายบทบาทของ กกร.ที่แท้จริงก็จะเปลี่ยน แปลงไป ดังนั้นทางกลุ่มผู้เดือดร้อนควรจะนำเสนอเรื่องไปให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ไปหารือกับกระทรวงการคลังโดยตรงจะเหมาะสมกว่า" นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว

ด้านนายกมล ตรีวิบูลย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เจวีซี แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในฐานะรองประธานกลุ่มคลัสเตอร์อิเล็กทรอ นิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่า เมื่อ กกร.ไม่สามารถรับเรื่องปัญหาดังกล่าวได้ ตนก็จะทำเรื่องเสนอไปยังนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อที่จะผลักดันการนำเสนอประเด็นปัญหาให้รัฐบาลได้รับทราบอีกครั้ง

"ประเด็นปัญหาดังกล่าวนั้น เอกชนได้เรียกร้องผ่านมาหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แต่ก็ไม่เป็นผล ผมจึงคิดว่าน่าจะนำเสนอในคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีบทบาทมากกว่าก็คือ กกร. แต่เมื่อเขาไม่รับ ผมจึงได้หารือกับคุณประมนต์ในการแก้ปัญหาต่อไป ซึ่งคุณประมนต์ในฐานะกรรมการในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็รับปากว่า จะนำประเด็นปัญหานี้ร่วมกับปัญหาภาษีต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน สนช. และพร้อมจะนำเข้าไปหารือกับนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังด้วย" นายกมลกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news08/09/07

โพสต์ที่ 30

โพสต์

Plasma TV ฝันที่เป็นจริงของผู้บริโภค

8 กันยายน พ.ศ. 2550 12:00:00

พานาโซนิคคาดการณ์ดีมานด์ของโทรทัศน์จอพลาสมาว่าอาจจะลดลงในอีก 2 ปีข้างหน้า และจะเริ่มนิ่งจนกระทั่งมีอัตราส่วนในตลาดโทรทัศน์ทั้งหมดประมาณ 30%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พลาสมาน่าจะครอบตลาดได้ราวๆ 30% โดยเฉพาะในตลาดของโทรทัศน์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 37 นิ้วขึ้นไป ฮิโระ วาดะ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการผลิตของพานาโซนิคกล่าว และบอกอีกว่าปัจจุบัน พลาสมาครองตลาดโทรทัศน์อยู่ประมาณ 40%

บริษัทมัทซุชิตะ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของพานาโซนิค เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์จอพลาสมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยก่อนหน้านี้บริษัทเพลี่ยงพล้ำให้กับคู่แข่งในการผลิตโทรทัศน์แบบจอแอลซีดี ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวในโทรทัศน์รุ่นที่มีจอภาพขนาดใหญ่ ได้พัฒนาล้ำหน้าไปกว่าเดิม จนกระทั่งล่าสุดบริษัทตัดสินใจผลิตโทรทัศน์แบบจอแอลซีดีในรุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 37 นิ้วเท่านั้น

ส่วนบรรดาผู้บริโภคให้ความเห็นว่า โทรทัศน์จอพลาสมาให้รายละเอียดที่คมชัดของภาพมากกว่าเพราะคุณสมบัติการเรืองแสงในตัวของจอ ไม่เหมือนกับจอภาพแบบแอลซีดี ซึ่งปัจจุบัน โทรทัศน์แบบพลาสมาเข้ามาแชร์ตลาดของโทรทัศน์จอแบน และเรียกลูกค้าไปจากคู่แข่งอย่างโซนี่ที่เน้นเทคโนโลยีจอแบนก่อนใคร และชาร์ปที่ยังคงผลิตแต่โทรทัศน์จอแอลซีดี

บริษัทมัทซุชิตะจะทุ่มเงินอีกกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโทรทัศน์จอพลาสมาภายใน 2 ปีที่จะถึงนี้ ในตลาดโทรทัศน์พลาสมา เพราะต้องการยืนอยู่เป็นที่หนึ่ง วาดะกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ IFA ยุโรป ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เพิ่งจัดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน

เขายังบอกอีกว่า เทคโนโลยีจอภาพแบบพลาสมายังเป็นอะไรที่สดใหม่ และเพิ่งจะค้นพบเพียง 10 ปีเท่านั้น ในขณะที่แอลซีดีเป็นอะไรที่ใช้กันมากว่า 30 ปีแล้ว นั่นหมายถึงพลาสมายังมีที่ว่างให้เติบโตในตลาดได้อีกมหาศาล

นอกจากนั้น เขาคาดการณ์ว่า ครึ่งหนึ่งของความต้องการจากผู้บริโภคที่กำลังมองหาโทรทัศน์จอแบน จะเริ่มมองหาโทรทัศน์ที่มีขนาดมากกว่า 30 นิ้ว ในปี 2010 ส่วนราคาของโทรทัศน์ขนาด 37 นิ้วขึ้นไป จะลดลงประมาณ 30% ในปีนี้ ในขณะที่โทรทัศน์รุ่นที่มีขนาดเล็กกว่าจะมีการปรับราคาลงประมาณ 10-15% เท่านั้น

วาดะกล่าวเสริมว่า มัทซุชิตะตั้งเป้าจะขายโทรทัศน์ให้ได้กว่า 2 ล้านเครื่องในปีนี้ เฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ทำยอดขายให้บริษัทได้มากถึง 30%  http://www.bangkokbiznews.com/2007/09/0 ... wsid=93552
โพสต์โพสต์