ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป
เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ศุภวุฒิ สายเชื้อ  
กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550


ผมคิดว่าเราจะต้องยอมรับสภาพว่าเงินบาท จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ ใน 2-3 ปีข้างหน้า เว้นแต่ว่าราคาน้ำมัน จะปรับขึ้นไปเป็น 100 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล หรือเกิดความกังวล ในสภาวะทางการเมือง จนกระทั่งมีการขนย้ายเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แนวทางที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างแท้จริง คือการเร่งนำเข้าสินค้าทุนที่จะนำไปลงทุนในโครงการพื้นฐานและขยายกำลังการผลิตในสาขาต่างๆ ที่เห็นว่ามีศักยภาพและประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ดี

ที่ผมคิดเช่นนี้ ก็เพราะเห็นว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เงินบาทแข็ง คือประเทศไทยหาเงินดอลลาร์เข้าประเทศได้มาก แต่ไม่รู้ว่าจะเอาเงินดอลลาร์ไปใช้ทำอะไร การส่งออกนั้นเรามักจะมองว่าเป็นหัวจักรที่ขับเคลื่อนจีดีพี หรือวิธีการสร้างรายได้นั่นเอง ดังนั้น ยิ่งการส่งออกขยายตัวเศรษฐกิจก็จะต้องขยายตัวตามไปด้วย แต่มักจะลืมนึกไปว่ารายได้นี้เป็นรายได้ที่เป็นเงินดอลลาร์และเป็นรายได้ที่มีประโยชน์เพียง 3 ประการคือ หนึ่งเอาไปซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (นำเข้า) สองเอาไว้ใช้คืนหนี้ต่างประเทศ และสามเก็บเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ กล่าวคือการส่งออกขยายตัวเฉลี่ย 14% ต่อปีในขณะที่จีดีพี (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวเฉลี่ย 3% ต่อปีผลที่ตามมา คือการส่งออกต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 1996 มาเป็น 65% ของจีดีพีในปัจจุบัน

เมื่อการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนถึง 2/3 ของจีดีพีเราจึงรู้สึกว่าต้อง "คุ้มครอง" การส่งออกให้ขยายตัวได้มากๆ เพื่อให้จีดีพีขยายได้ตามเป้าหมาย เช่น ในปี 2006 ที่ผ่านมา จีดีพีขยายตัวได้สูงถึง 5% เพราะการส่งออกเป็นพระเอกสามารถขยายตัวสูงถึง 17% ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนนั้น อาจขยายได้เพียง 3-4% เท่านั้น

แต่การส่งออกที่ขยายตัวสูงเป็นพิเศษในอดีตนั้น เป็นผลมาจากความจำเป็นของประเทศไทย ที่จะต้องหาดอลลาร์ส่วนเกิน มาใช้คืนหนี้สินต่างประเทศ ที่เราก่อเอาไว้เกินตัวในช่วงเปิดเสรีทางการเงินเมื่อปี 1993-1996 (หลายคนคงจะจำบีไอบีเอฟได้) ครั้งนั้นเราสร้างหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย พยายามต่อสู้เพื่อปกป้องค่าเงินบาท (ไม่ให้อ่อนตัวลง) ก็สูญเสียทุนสำรองไป 30,000 ล้านดอลลาร์

นอกจากนั้น เรายังต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟมาอีก 17,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น เมื่อคำนวณอย่างคร่าวๆ ก็จะเห็นว่าเรามีความจำเป็นจะต้องหาเงินดอลลาร์มาคืนหนี้ และเติมทุนสำรองเกือบ 80,000 ล้านดอลลาร์

การหาเงินดอลลาร์ส่วนเกินมาเพื่อภารกิจข้างต้นนั้น ทำได้โดยการเร่งให้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ส่งออกมากกว่านำเข้า) และนำเงินเกินดุลดังกล่าวไปใช้หนี้คืนต่างชาติ ดังเห็นได้จากตารางข้างล่าง

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

โดยปกติประเทศกำลังพัฒนาเช่นไทยจะต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะเป็นประเทศที่น่าลงทุน จึงจะมีการนำเข้าเงินทุนมาซื้อสินค้าทุนเป็นจำนวนมาก ทำให้การนำเข้าโดยรวมสูงกว่าการส่งออก แต่ในช่วง 1998-2006 (เว้นปี 2005 ที่เรานำเข้าน้ำมันราคาสูงเป็นจำนวนมากเพราะรัฐบาลอุดหนุนราคาดีเซลในประเทศให้ต่ำเกินจริง ทำให้เรานำเข้าน้ำมันมากเกินควร) นั้น เราส่งออกมากกว่านำเข้าคิดเป็นมูลค่า 48,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพียงพอกับการต้องใช้คืนหนี้สินต่างประเทศในช่วง 1997-2003 มูลค่าทั้งสิ้น 42,300 ล้านดอลลาร์

จะเห็นได้ว่าการที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิตั้งแต่ปี 2004 นั้น ถือได้ว่าสภาวการณ์ของประเทศในส่วนของสถานะทางการเงิน และการไหลเข้า (ไม่ใช่ไหลออก) ของเงินทุนนั้น เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว นอกจากนั้น การที่ดุลชำระเงินเกินดุลก็หมายความว่า ทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 35% ของจีดีพีซึ่งเกินพอแล้ว

ส่วนเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น นอกจากส่วนที่ได้รับมาจากไอเอ็มเอฟแล้วก็จะเห็นได้จากการเกินดุลชำระเงิน ซึ่งมีประมาณที่สูงประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่ปี 2002 แม้กระทั่งปี 2005 ที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ก็ยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศถึง 12,600 ล้านดอลลาร์

ดังนั้น จึงจะพอเห็นได้ว่าการไหลเข้าของเงินทุนโดยปกตินั้นน่าจะไม่ต่ำกว่า 5-6 พันล้านดอลลาร์ และสำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดนั้น การเกินดุลประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ และปีต่อๆ ไปก็ไม่ใช่สิ่งที่จะเกินความคาดหมาย เช่น หากการส่งออกขยายตัว 10% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7% ในปีนี้ การค้าก็จะเกินดุลประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์ และบัญชีเดินสะพัดก็จะเกินดุลประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์ เป็นต้น ในเชิงเปรียบเทียบนั้นการส่งออกในปี 2006 ขยายตัว 17% ในขณะที่การนำเข้าขยายตัว 7%

สำหรับการเก็งกำไรนั้นคงจะมีอยู่อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ผมประเมินข้างต้นนั้นไม่ได้เป็นความลับอะไร นอกจากนั้น แนวโน้มที่ค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลง (เพราะสหรัฐยังขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 6% ของจีดีพี) และแนวโน้มที่เงินในภูมิภาคเอเชียจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะเงินหยวน) ก็เป็นที่คาดการณ์กันอย่างแพร่หลาย

แต่ประเด็นสำคัญ คือการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรเป็นหลัก แต่เกิดจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ดังนั้น การหวังให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปที่ 37.38 บาทตามข้อเรียกร้องของผู้ส่งออก จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แม้แต่การตรึงค่าเงินบาทเอาไว้ที่ระดับปัจจุบันก็จะยังเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งครับ


"สามารถติดตามฟังการวิเคราะห์เศรษฐกิจของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้ในรายการซีอีโอวิชั่น ทุกวันจันทร์ 09.00-10.00 น. ทาง FM 96.5 MHz"
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 69

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

สุดยอดครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าช่วงเวลาที่เรามีเงินเหรียญสหรัฐไหลเข้ามากเกินไป  น่าจะเป็นจังหวะที่ดีที่เราจะนำเงินเหล่านี้ไปซื้อและลงทุนเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ  Infrastructure เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต

ดุลการค้า  ดุลบัญชีเดินสะพัด  ดุลชำระเงิน  และทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะไม่สูงเกินไป

ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำลง  ความสามารถในการแข่งขันก็เพิ่มขึ้นด้วย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

[quote="chatchai"]ถ้าช่วงเวลาที่เรามีเงินเหรียญสหรัฐไหลเข้ามากเกินไป
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อย่างนั้นก็เป็นการบอกว่า เราไม่ควรอุ้มเงินบาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 69

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ดอลล่าร์บาทในตลาด offshore น่ากลัวอีกแล้ว :shock:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
@DNA@
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ปัญหาสำคัญของการลงทุนขนาดใหญ่ ก็คือจะมีความล่าช้าของนโยบายครับ ผมว่าหม่อมอุ้ยแก่ก็มองทางแก้นี้มานานแล้วครับ สังเกตที่แกพยายามเร่งรัดโครงการต่างๆ บทเรียนทางประวัติศาสตร์หลายครั้งจะพบว่ากว่าจะได้ทำสถานการณ์มันก็เลยไปอีกระดับหนึ่งแล้ว และมักเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ อย่างรถไฟฟ้า แกก็เห็นทางออกนะครับ กว่าจะได้ทำจริง กว่าจะมีการนำเข้าจริง อีกเป็นปีครับ

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ผมว่าเขารับไหวนะครับ เพราะเชื่อในเรื่อง long-run แต่นักอย่างอื่นๆนี่สิครับ

นโยบายการเงินจริงถูกนำมาใช้เสมอ แต่อีกนั่นแหละครับ นโยบายการเงินเป็นอะไรที่แปลก คือใช้ง่ายแต่ผลกระทบเกิดช้า และเรายังต้องรับผลกันไปอีกนาน
@DNA@
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ถ้าได้อ่านบทความเก่าๆ ของ ดร.ศุภวุฒิ จะเข้าใจมากขึ้นครับ

การบอกว่าการนำเข้าเครื่องจักรและ Infrastruture เป็นทางออก แต่ปัญหาก็คือในช่วงที่ผ่านมา มีสถานการการเมืองที่ไม่แน่นอน  โดยธรรมชาติผู้ประกอบการไม่มีใครนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายโรงงานหรอกครับ

จึงเป็นที่มาของปัญหาว่าทำไมเราเกินดุลจนค่าเงินบาทแข็งขนาดนี้

ถ้าดูดัชนี big mac  ที่เขาคิดกันเล่น อาศัย ppp จะยิ่งตกใจครับ ว่าค่าเงินของเราอยู่ที่ 18-19 บาทต่อดอลล่าด้วยซ้ำไปครับ ไม่แปลกใจว่าทำไมฝรั่งถึงมั่นใจว่าค่าเงินขึ้นแน่
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 69

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

@DNA@ เขียน:ว่าค่าเงินของเราอยู่ที่ 18-19 บาทต่อดอลล่าด้วยซ้ำไปครับ
ได้งั้นจริงก็ช้อปปิ้งกริ้งสิครับ  :ep:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 85

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เอกชนไม่มั่นใจลงทุน

ภาครัฐก็ต้องเป็นคนลงทุนเองสิครับ

หรือว่าจะไปเหมือนกับนโยบายของรัฐบาลเก่า
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
@DNA@
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ใครรู้วิธี post รูปได้บ้างครับ จะได้ post big mac Index ให้ดู เอาไว้ดูเล่นสนุกๆ ครับ คือความสามารถในการใช้ webboard ผมไม่ค่อยดีครับ

[/img]
@DNA@
Verified User
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

รูปภาพ

ทำได้แล้วครับ ดูเล่นๆ สนุกๆ นะครับ อย่าจริงจังมาก เพราะ ppp มีการตั้งข้อสมมติอยู่มากเหมือนกัน ที่สำคัญใช้แค่ราคา big mac ไม่ได้ใช้สินค้าทุกตัวครับ

สำหรับคุณ chatchai อย่างที่ได้ผมได้เขียนไว้ก่อนครับ การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐมีข้อจำกัดเรื่องความล่าช้า และข้อจำกัดเรื่องของการก่อหนี้ การขาดดุลงบประมาณ และการแย่งเงินลงทุนจากภาคเอกชน

การใช้จ่ายของรัฐบาลเก่าไม่เหมือนที่ ดร.ศุภวุฒิ ได้พูดถึงแน่ครับ เพราะการใช้จ่ายในหลายเรื่องเป็นแค่เรื่องคะแนนเสียง ไม่ได้ส่งเสริมความสามารถที่แท้จริง ที่สำคัญเพราะการใช้จ่ายแบบรัฐบาลเก่านี่สิครับ หนี้ภาครัฐที่ใช้วิธีฝากคนอื่นก่อ แล้วรัฐเข้าไปเป็นคนจ่ายคนค้ำประกัน คิดแล้วเป็นแสนล้านเนี่ย ผมว่าเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่หม่อมอุ๋ยแกต้องคิดให้หนัก ในเรื่องของการใช้การลงทุนของภาครัฐเป็นตัวนำ
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

สงสัย ประเทศเราบริโภค ไวอาก้า มากขึ้นหรือเปล่า

แข็งลูกเดียวเลย  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ค่าเงินบาทกับความสามารถในการแข่งขัน

เศรษฐศาสตร์จานร้อน : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ  
กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550


ารปกป้องค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นนั้น ยิ่งมีความชัดเจนมากขึ้นว่า ทำเพื่อช่วยผู้ส่งออก และเกษตรกร (ที่ผลิตสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล และมันสำปะหลัง) ที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมากทุกๆ ปี โดยให้เหตุผลว่า หากเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้อยลง ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน และส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

ส่วนเสียงคัดค้านจากพวกที่อยู่ในตลาดทุน (เช่นผม) นั้น ไม่ถือว่าสำคัญเท่ากับภาคเศรษฐกิจจริง เพราะมูลค่าตลาดหุ้นเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีและกระทบกับคนจำนวนน้อย

ผมเห็นด้วยว่า ความสามารถในการแข่งขันนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะในยุคที่ประเทศต่างๆพัฒนาตนเองอย่างรีบเร่ง หากเราไม่ให้ความสนใจเพียงพอกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของตัวเอง เราจะล้าหลังทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว แต่ประเด็นหลักที่จะต้องตั้งคำถามกับตัวเอง คือ การมีมาตรการเพื่อให้เงินบาทไม่แข็งค่านั้น เป็นมาตรการที่จะช่วยปกป้อง หรือพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากน้อยเพียงใด ผมเชื่อว่า นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนจะมีคำตอบเหมือนกันว่า การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนนั้น มิใช่กลไกที่จะปกป้องความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้ในระยะยาว จะเพียงช่วยให้ผู้ส่งออกมีเวลาปรับตัวในระยะสั้นเท่านั้น

การกดให้เงินอ่อนค่ามากกว่าที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานจริงนั้น แปลว่า ธปท.จะต้องเข้าไปแทรกแซง ซื้อเงินดอลลาร์มาเก็บเอาไว้ในทุนสำรองเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่การกระทำดังกล่าว ย่อมหมายความว่า ธปท.ต้องขายเงินบาท ทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบมีมากเกินกว่าที่จะตรึงดอกเบี้ยที่กำหนดเอาไว้ (ที่ 4.75%) ได้ ดังนั้น จึงต้องดูดสภาพคล่องส่วนเกินดังกล่าวออกจากระบบ โดยการขายพันธบัตรธปท. จึงเห็นได้ว่า ปริมาณพันธบัตรดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนล้านบาท ในต้นปี 2005 มาเป็น 9 แสนล้านบาทในขณะนี้

กล่าวคือ การปกป้องค่าเงินบาท ทำให้ธปท.ต้องซื้อดอลลาร์มากักเก็บเอาไว้มากขึ้น พร้อมกับสร้างหนี้ที่เป็นเงินบาท เพิ่มเป็นเงาตามตัว แต่หากเราเชื่อกันว่า ดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลง (เพราะสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 6% ของจีดีพี) ก็แปลว่า ธปท.จะประสบกับสภาวการณ์ที่สินทรัพย์ (ดอลลาร์) ด้อยค่าลง ขณะที่หนี้สิน (พันธบัตรธปท.) มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

เมื่อนักลงทุนมองเห็นภาพเช่นนี้ บวกกับนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมการส่งออก แต่การนำเข้าชะลอตัวลง เพราะราคาน้ำมันลดลงและการลงทุนชะลอตัว ก็จะประเมินได้ว่า ประเทศไทยจะเกินดุลการค้า ดุลการค้าบริการ (จากรายได้การท่องเที่ยว) ก็จะสรุปได้ว่าสภาวะการขาดแคลนเงินบาท (หรือการมีเงินดอลลาร์เกินความต้องการ) นั้น จะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ยิ่งอยาก "ร่วมด้วยช่วยกัน" คือเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทย เพราะโอกาสที่เงินบาทแข็งค่ามีมาก แต่โอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่ามีน้อยเต็มที

ความจำเป็นที่จะต้องซื้อดอลลาร์และขายบาท (เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่า) นั้น มักจะทำให้สภาพคล่องมีมากเกินควร และทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น จนอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ได้ในอนาคต ที่สำคัญคือ การกดอัตราแลกเปลี่ยนให้อ่อนค่านั้น มักจะนำไปสู่ปัญหาเงินเฟ้อ เพราะค่าเงินที่อ่อนจะทำให้สินค้าราคาแพง และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น ในระยะยาวแล้ว ความได้เปรียบในเชิงการค้าที่จะได้จากค่าเงินที่อ่อนตัว ก็จะถูกกัดกร่อนโดยอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้น การจะคำนวณความได้เปรียบในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน จึงจะต้องคำนวณโดยการนำเอาอัตราเงินเฟ้อ มาเป็นตัวแปรในการพิจารณาด้วย หากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทกับดอลลาร์คงที่ แต่อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงกว่าของสหรัฐ ปีละ 1% ความสามารถในการแข่งขันของไทย เมื่อเทียบกับบริษัทในสหรัฐ ก็จะลดลงปีละ 1% และหากประเทศคู่แข่งของไทย เช่น

จีน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดีกว่าไทย เราก็จะต้องสูญเสียส่วนแบ่งของตลาดอยู่ดี เช่น หากจีนต้องปล่อยให้เงินหยวน แข็งค่าปีละ 2% แต่ได้เร่งการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงปีละ 5% ประเทศจีน ก็จะยังทำให้การส่งออกของไทยไปยังสหรัฐต้องค่อยๆ ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กรอบการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นนี้ สามารถนำไปใช้กับการแข่งขันได้ทุกๆ ตลาด และจะเห็นได้ว่า การคำนวณความได้เปรียบในเชิงของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงนั้น จะต้องพิจารณาถึงอัตราแลกเปลี่ยน ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้า และประเทศคู่แข่ง และสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังตลาดต่างๆ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จะคำนวณออกมาเป็นดัชนี ที่เรียกกันว่า Real effective exchange rate (REER)

ซึ่งสำหรับ REER ของไทยนั้น บ่งชี้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันอ่อนค่ากว่าอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 กว่า 15% ดังนั้น หากถือได้ว่า ประเทศไทยพ้นวิกฤติไปแล้ว เพราะใช้หนี้ต่างประเทศคืน และเพิ่มปริมาณทุนสำรองกลับมาสู่สภาวะปกติแล้ว ก็อาจมองได้ว่า ค่าเงินบาทสามารถแข็งตัวกลับไปสู่ระดับเดิมได้

แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถในการแข่งขันนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับการลงทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าทุนที่ทันสมัย การพัฒนาเทคโนโลยี และการจัดการ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องพึ่งพาการสร้างความมั่นใจ และบรรยากาศการลงทุนที่เปิดกว้าง

รวมทั้งความสามารถที่ตลาดทุนและตลาดเงิน จะสามารถระดมเงินทุน และสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการลงทุน ที่จะนำมาซึ่งศักยภาพทางการแข่งขันที่แท้จริงของประเทศไทยในระยะยาว

ผมจำได้ว่า เมื่อสมัยที่เราพยายามฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ ระบบการเงินและตลาดทุนนั้น มีความสำคัญมาก เพราะมองว่าเป็นเสมือนกับเลือดที่นำไปหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นภาคเศรษฐกิจ ที่ไม่ต้องไปให้ความสนใจไปเสียแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ply33
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 1

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สุดยอดคับ  8)
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

สมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อนครับ

สมัยนี้ ความดีของท่านผู้นำเท่านั้น ทำให้ตลาดฟื้น หุ้นขึ้น ฮาฮาฮา
ภาพประจำตัวสมาชิก
boonprak
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ข้อมูลจาก http://www.forecasts.org/baht.htm
[img]

ถ้าบาทลดลงไปเรื่อยๆ น่ากลัวต่อบริษัทในตลาด ที่มีรายได้จากการส่งออกน่ะครับ[/img]
ภาพประจำตัวสมาชิก
boonprak
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

แปะรูปไม่เป็น แฮะ   :lovl:   ว๊า..เชยจังเรา ตาม link ดูกราฟพยากรณ์ค่าเงินบาทเองน่ะครับ  :B [/url]
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

จริงหรือทีไม่ควรนำเข้าเครื่องจักร...........

ถ้าเป็นสูตรยา เครื่องมือผลิตยา เครื่องมือวิจัยยา....

ถ้าเป็นอุปกรณ์การแพทย์ ......เป็นเครื่องจักรรักษาโรค

ถ้าเป็นการศึกษา ซื้อหนังสือ ซื้อความรู้ ส่งคนไปเรียน ซื้ออาจารย์สอนภาษาอังกฤษดีๆ  เป็นเครื่องจักรผลิตคนเก่งๆ

ถ้าเป็นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ...เป็นเครื่องจักรผลิตอาหาร


อย่าไปคิดถึงโรงงานควันฉุยๆ ครับ

แล้วก็อย่าเน้นให้ภาครัฐซื้อด้วยครับ

เกรงว่าเงินจะไปอยู่กับพวกนายหน้ามากกว่าราคาของ เอกชนสมัยนี้ซื้อเครื่องจักรเก่งนะ ถ้าพวกโรงงานก็ซื้อแถวๆ Dovebid ราคาถูกสุดๆ หรือไม่ก็บินไปซื้อที่แหล่งเลย ถูกกว่าเรียกบริษัทในประเทศมาประมูล ซึ่งสุดท้ายก็ฮั้วกัน

ภาครัฐคอยดำเนินและสนับสนุนเกมก็พอ

ประเทศที่ถนัดทุบค่าเงินตัวเอง เพราะกลัวขายข้าว ขายของไม่ได้ ถือว่าเปิดเกมสงครามราคา ซึ่งจบลงอย่างไรก็น่าจะพอรู้กันอยู่ ผมเคยตำหนิเรื่องข้าวไว้ใน Blog ของผม ว่าทำให้ประเทศไทยไปไหนไม่ได้ไกลถ้าคิดกันแค่นี้ครับ
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ผมไม่คาดหวังว่าประเทศไทยควรจะรักษา อัตราส่วน เกษตรกร 80% ของประชากร ไว้ตลอดไปครับ คิดแบบนี้อันตรายมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tachikoma
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

jaychou เขียน:จริงหรือทีไม่ควรนำเข้าเครื่องจักร...........

ถ้าเป็นสูตรยา เครื่องมือผลิตยา เครื่องมือวิจัยยา....

ถ้าเป็นอุปกรณ์การแพทย์ ......เป็นเครื่องจักรรักษาโรค

ถ้าเป็นการศึกษา ซื้อหนังสือ ซื้อความรู้ ส่งคนไปเรียน ซื้ออาจารย์สอนภาษาอังกฤษดีๆ  เป็นเครื่องจักรผลิตคนเก่งๆ

ถ้าเป็นพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ...เป็นเครื่องจักรผลิตอาหาร


อย่าไปคิดถึงโรงงานควันฉุยๆ ครับ

แล้วก็อย่าเน้นให้ภาครัฐซื้อด้วยครับ

เกรงว่าเงินจะไปอยู่กับพวกนายหน้ามากกว่าราคาของ เอกชนสมัยนี้ซื้อเครื่องจักรเก่งนะ ถ้าพวกโรงงานก็ซื้อแถวๆ Dovebid ราคาถูกสุดๆ หรือไม่ก็บินไปซื้อที่แหล่งเลย ถูกกว่าเรียกบริษัทในประเทศมาประมูล ซึ่งสุดท้ายก็ฮั้วกัน

ภาครัฐคอยดำเนินและสนับสนุนเกมก็พอ

ประเทศที่ถนัดทุบค่าเงินตัวเอง เพราะกลัวขายข้าว ขายของไม่ได้ ถือว่าเปิดเกมสงครามราคา ซึ่งจบลงอย่างไรก็น่าจะพอรู้กันอยู่ ผมเคยตำหนิเรื่องข้าวไว้ใน Blog ของผม ว่าทำให้ประเทศไทยไปไหนไม่ได้ไกลถ้าคิดกันแค่นี้ครับ
เห็นล่วยคับ
น่าจะรีบๆ ใช้หนี้ช่วงบาทแข็งด้วยนะครับ
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 3

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

สร้าง domestic logistic hubs กับ infrastructure ได้แล้วครับ ลดค่าใช้จ่ายทาง logistics ต้นทุนจะถูกลงเป็นกองพะเนิน

อันนี้เป็นการลงทุนระยะยาว ออกดอกออกผลแน่
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่าที่สุดในโลก
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550


ถอดความจากบทวิเคราะห์โดย Jonathan Anderson, Chief Economist Asia, UBS Investment Research โดยบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ และ ประธานคณะอนุกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเท่าที่ผ่านมาในระยะปีเศษ ๆ ได้แข็งค่าขึ้นมากที่สุดในโลก รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลปปินส์ มาเลเซีย และเงินจีนตามลำดับ หากนับมาแต่ปี 2003 จะพบว่าเงินบาทแข็งค่ามาจาก 43 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องน่ายินดี เพราะว่า ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออก ในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และสินค้าหลักที่สำคัญที่มีผลต่อการกินดีอยู่ดีของประชาชนส่วนใหญ่ ยังได้แก่สินค้าเกษตร

เราไม่พูดถึงสินค้าอุตสาหกรรมเพราะคนรวยที่ลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมย่อมได้รับผลกระทบไม่มาก ส่วนคนจนที่เป็นเกษตรกรจะเป็นผู้รับเคราะห์ทุกครั้งไป

ข่าวในหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์เวียดนามลงวันที่ 1 มีนาคม 2550 คุยว่าการส่งออกข้าวในสามเดือนแรกปีนี้ เติบโตร้อยละ 52 จากปีที่แล้ว หากยังรักษาระดับนี้ได้ถึงสิ้นปี ไทยต้องตกลงมาเป็นอันดับสองของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกแน่นอน เพราะปีที่แล้วเวียดนามส่งข้าวออก 5 ล้านตัน ส่วนไทยส่งออก 7.5 ล้านตัน

ตลาดข้าวไทยและเวียดนามก็ตลาดเดียวกัน จึงทำนายได้เลยว่า หากบาทยังแข็งเช่นนี้ ไทยส่งออกปีนี้คงไม่มากกว่า 5 ล้านตัน แต่เวียดนามน่าจะส่งออกได้ 7.5 ล้านตัน คือกลับกัน ทั้งนี้ เพราะว่า เงินเวียดนามได้อ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์ประมาณร้อยละ 5 ในช่วงระยะหนึ่งปีเศษ ๆ ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาข้าวในเวียดนามถูกกว่าไทย

ในรูปของเงินดอลลาร์อยู่กว่าร้อยละ 20

สภาพเศรษฐกิจไทยไม่ได้ดีเหมือนค่าเงินบาท

การบริโภคของคนไทยมีแต่ลดลงมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา นอกจากนี้ การลงทุนของภาคเอกชนก็เช่นเดียวกัน สูงสุดในปี 2003 และลดลงมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่นั้นมา การลงทุนและการใช้จ่ายจากภาครัฐก็ลดลงมาเป็นลำดับ โดยเฉพาะปีนี้ มีเหตุการณ์ความไม่สงบ เกิดระเบิดบ่อยครั้ง การเบิกจ่ายงบประมาณก็ล่าช้า การลงทุนชองเอกชนหยุดลง การลงทุนจากต่างประเทศลดลง โดยบีโอไอได้รายงาน การลดลงในอัตรามากกว่าครึ่ง บริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นได้ระบุว่าค่าเงินบาทเป็นปัจจัยที่ทำให้เขาไม่ประสงค์ขยายการลงทุนในประเทศไทย

บริษัทผลิตรถยนต์ฟอร์ดก็ให้เหตุผลการไม่ขยายการลงทุนด้วยเหตุผลอันเดียวกัน อีกทั้งสถานะการณ์ทางการเมือง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน การท่องเที่ยวเริ่มส่อเค้ามีปัญหาจากคำขู่ระเบิดโดยผู้ก่อการร้าย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ลดลงมาจุดที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยสำรวจกันมา สิ่งเหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นว่า สภาวะเศรฐกิจไทยกำลังวิ่งสวนทางกันกับค่าเงินบาทที่มีแต่จะแข็งค่าขึ้นทุก ๆ วัน โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่สามารถหยุดแนวโน้มนี้ได้แต่อย่างใด ความจริงหากพิจารณาเหตุการณ์ทางการเมือง และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เงินบาทควรมีค่าอ่อนกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคด้วยซ้ำ

ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเกิดจากเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก ที่เงินเหล่านี้เข้ามาในแต่ละวัน ไม่ได้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแน่นอน เพราะว่า ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่เกือบเป็นศูนย์เมื่อลงทุนผ่านไปหนึ่งปี ในขณะที่ หากลงทุนในตลาดหุ้นจีน จะได้กำไรกว่าร้อยละ 70 พิจารณาตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน รองลงมาได้แก่ อินเดีย และ อินโดนีเซีย ผลตอบแทนกว่าร้อยละ 40 ฟิลิปปินส์กว่าร้อยละ 30 ฯลฯ ดังนั้น หากลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนย่อมไหลเข้าในประเทศอื่น ๆ มากกว่า

แต่ประเทศไทยก็มีเงินทุนไหลเข้ามากสังเกตุได้คือเงินทุนสำรองของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงสามเดือนสุดท้ายในปี 2006 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเดือนละสองพันล้านเหรียญสหรัฐ

ซึ่งเงินทุนเหล่านี้มีปริมาณมากว่าในช่วงปี 1990-1996 ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 ก่อนที่วิกฤตเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในปี 1997 ไทยมีปัญหาเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากระหว่างปี 1991-1996 ขณะนั้นไทยมีปัญหาขาดดุลทางการค้าด้วย เงินทุนสำรองจึงไม่เพิ่มขึ้นมากเหมือนในปัจจุบัน การบริหารเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากเป็นภาระหนักทึ่ตกอยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นจากการเกินดุลการค้าของไทยมีเพียงร้อยละหนึ่งของจีดีพีเท่านั้น แต่เงินทุนไหลเข้ามารวมประมาณร้อยละ 6.2 ของจีดีพี ส่วนต่างมากถึงร้อยละ 5.2 ของจีดีพี จึงเป็นปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าในขณะนี้หากมองที่เงินทุนสำรองที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องรับภาระออกพันธบัตร เพื่อเอาเงินบาทมาแลกเป็นดอลลาร์เก็บเป็นเงินทุนสำรองเป็นภาระที่หนัก อันเกิดจากดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้กับพันธบัตรเหล่านี้

คำถามที่ตามมาคือเงินทุนไหลเข้ามามากเพราะอะไร? Philip Wyatt จาก UBS Investment Research ให้ความเห็นว่า หากดูอัตราดอกเบี้ยของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ไทยก็ไม่ได้โดดเด่นอะไร แม้อัตราดอกเบี้ยของไทยค่อนข้างสูง แต่มีประเทศอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ประเทศเหล่านี้กลับไม่มีปัญหาเงินทุนไหลเข้าในลักษณะเดียวกันกับที่ไทยมี อินโดนีเซียมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าไทย ฟิลิปปินส์ก็สูงกว่าไทยเล็กน้อย อินเดียก็สูงกว่า เกาหลีใต้ก็ใกล้เคียง ธนาคารแห่งประเทศไทยมักอ้างว่า ประเทศเหล่านี้ไม่มีปัญหามากเท่าไทยเพราะว่าเขามีเงินมากพอที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ รักษาค่าเงินไว้ได้ แต่ความเป็นจริง ปัญหาของไทยดูจะยิ่งใหญ่กว่ามาก เพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามามีมากกว่าที่ไหลเข้าไปประเทศอื่น ๆ มาก

ความจริงปัญหาเกิดจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ที่ขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และคงไว้เมื่อสหรัฐคงไว้ ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อในไทยกับในสหรัฐมีความแตกต่างกัน ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อในไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัด อัตราดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงเร็วพอ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate อันได้แก่อัตราดอกเเบี้ย ลบ อัตราเงินเฟ้อ ) ของไทยจึงค่อนข้างสูงกว่าในประเทศอื่น ๆ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนว่าแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยในไทยมีแต่ลงอย่างเดียว

ลักษณะนี้ เกิดโอกาสของนักลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดตราสารหนี้ เห็นเป็นโอกาสทำกำไรที่ไม่มีความเสี่ยง เมื่อภาครัฐลดดอกเบี้ย ซึ่งต้องลดแน่นอน ปัญหามีเพียงเมื่อใดเท่านั้น ราคาพันธบัตร หรือตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้จะมีราคาที่มีแต่จะสูงขึ้น ทำกำไรได้แน่นอน

อีกทั้ง เขาเหล่านี้ยังรู้อีกว่า หากนำเงินเข้าประเทศไทยมากพอ คือมากกว่าร้อยละ 4 ของจีดีพีของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่แทรกแซงค่าเงินบาท จะปล่อยให้แข็งค่าโดยไม่ต่อสู้ (ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคนก่อนมีแนวทางนี้มาโดยตลอด ทำให้สุภาษิตที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง จึงถูกนำมาใช้ ทำให้นักลงทุนรู้แน่ว่า ทำเช่นนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่แทรกแซงค่าเงิน) ทำให้นอกจากกำไรจากการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้แล้วยังได้กำไรจากค่ำเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอีกด้วย

โอกาสการลงทุนนี้เกิดมานานมากกว่าหนึ่งปี แต่ไทยก็ไม่เฉลียวใจปล่อยให้อัตราดอกเบี้ย อยู่ในระดับสูงกว่าเงินเฟ้ออยู่นานเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สองปีที่ผ่านมา เกิดปรากฎการณืที่เรียกว่า Yen Carry Trade นักลงทุนกู้เงินเยนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.5 ขายเงินเยนซื้อเงินดอลลาร์ หรือขายเงินเยนซื้อเงินบาท นำเงินไปลงทุนในที่ต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งไทย ทำกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เงินจำนวนนี้มีมาก ประมาณกันว่ามากกว่าหนึ่งล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไหนเลยไทยจะสู้กับเงินเหล่านี้ได้ แต่ว่าไปแล้ว ประเทศไทยชวนเขามาเอง

อัตราดอกเบี้ยนอกจากไว้ควบคุมภาวะเงินเฟ้อแล้ว การปรับอัตราดอกเบี้ยยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดเงินทุนไหลเข้า ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป การปรับเปลี่ยนจึงจำเป็นต้องทันต่อเหตุการณ์ ทันต่อสถาณการณ์ที่เปลี่ยนไป เปรียบกันได้กับการปรับน้ำร้อนน้ำเย็นขณะอาบน้ำ ไม่ให้น้ำร้อนไปหรือเย็นไป บางทีการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป อาจต้องลดลงมากกว่า 0.25 อาจต้องเป็น 0.5 เพื่อให้ใกล้เคียงกับภาวะเงินเฟ้อ สร้างความไม่แน่นอนในทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้นักลงทุนเห็นว่ามีความเสี่ยงในการลงทุนในไทย เงินทุนจึงอาจชะลอการไหลเข้า เงินบาทอาจอ่อนค่าลง

มาตรการปัจจุบันที่ทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยน onshore และ offshore สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้นักค้าเงิน หาทางทำกำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนในสองตลาด หรือที่เรียกกันว่า การทำ arbitrage แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย และคนอื่น ๆ ในวงการ ยืนยันว่าทำไม่ได้ เรื่องแมวจับหนู เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาในโลกมานาน ที่จับได้ก็มี ที่จับไม่ได้ก็ต้องมี

ที่ว่าทำ arbitrageไม่ได้จึงย่อมไม่มี ผลกำไรจำนวนมากย่อมทำให้คนเหล่านี้หาทางทำจนได้ เงินบาทกำลังกลายเป็นสินค้าตัวใหม่ในการทำ arbitrage ซึ่งจะนำไปซึ่งความต้องการเงินบาทมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอีก โดยจะไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจชองไทยแต่อย่างใดเลย

Capital Control ที่กำหนดขึ้นมาก็ไม่ได้ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง พอที่จะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของไทยแต่อย่างใด เพราะว่าตั้งแต่ทำมา เงินบาทก็แข็งค่าจาก 35.90 บาทต่อดอลลาร์ ในวันที่ประกาศใช้ ปัจจุบันแข็งค่าไปอยู่ที่ 35.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา แข็งค่าขึ้นอีกเกือบหนึ่งบาทต่อดอลลาร์ ไม่มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงเลย จึงอาจดูได้ว่า เงินบาทยังจะแข็งค่าไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่การแก้ปัญหายังทำไม่ได้ถูกจุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
poppo
Verified User
โพสต์: 1356
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

อยากถามครับ ถ้าแทนที่เราจะเอาเงินไปซื้อดอลแล้วอนาคตดอลจะด้อยค่าไปเรื่อยๆ ครั้นจะซื้อสินค้าทุนก็ยังทำไม่ได้เพราะยังไม่มีใครกล้ามาลงทุนเราเปลี่ยนมาซื้อทองแทนได้ไหม แล้วทองจะตกตามดอลที่อ่อนหรือเปล่า
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ตอนนี้ เกิดอาชีพใหม่ เดินทางไปต่างประเทศเพื่อค้าเงินตรา จากผล อัตราแลกเปลี่ยน ไม่ตรงกัน ใน 2 ตลาด
buglife
Verified User
โพสต์: 942
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ระบบชลประทานเต็มรูปแบบ การสร้างระบบการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์ เป็นสิ่งที่ผมอยากเห็นจากรัฐบาลทุกชุด แต่ได้ยินแต่ตอนหาเสียงเท่านั้น...

ตอนนี้ไม่หวังอะไร
ขอแค่ไม่ได้กลายเป็นเครื่องบินรบสัก 2-3 ฝูง
หรือรถถังสัก 100 คัน
หรือระบบดาวเทียมของความมั่งคงโดยเฉพาะ ก็พอแล้ว

ฮากลิ้ง ทหารโดนแท๊ปโทรศัพท์
ประเทศนี้มีแต่คนใช้ของเทมาเส็กอย่างเดียว
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

เขาว่า ถ้าการเมืองเรานิ่ง บาทจะแข็งมากกว่านี้เสียอีก

ล่าสุด ก็ 34.9 แล้ว
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เป็นการตอกย้ำว่า มาตราการ 30% ล้มเหลว ไม่สามารถรักษาระดับค่าเงินบาทไว้ได้

สรุปงานนี้ ได้ไม่คุ้มเสีย   :lol:
surapol
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 280
ผู้ติดตาม: 1

ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

เท่าที่อ่าน ดูเหมือนว่าเขาจะรู้ว่ากระบวนการจะเดินไปจุดใหนต่อ เหมือนกับเขาเดาทิศทางของมันได้ อย่างนี้เป็นผมก็ต้องทำเหมือนกัน
Way of life is way of brain
โพสต์โพสต์