ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา ทิพย์มาบุตร
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คือแบบว่าคิดไปคิดมาว่าจะหายังไงดี้น้าว่าหุ้นแพงไม่แพง ก็เลยตั้งสมมติฐานมาแบบนี้ครับ
แพงไม่แพงดูจาก efficientcy
price premium
คือ ดูจากประสิทธิภาพของการสร้างรายได้เทียบกับ premium(%) ที่ลงไปแต่ละหุ้นอ่ะครับ
พอไหวป่ะครับ -______-'
แต่ละตัวแปรเป็นงี้ครับ p-ราคาหุ้นในตลาด , b-ราคาของ book ,แล้วก็ roa อ่ะครับ
จากสมมติฐานข้างบน คิดเป็นต่อหุ้นอ่ะครับก็เลยออกมาเป็น ((p-b)/p)/(roa/p)
สุดท้ายเป็น (p-b)/roa
price premium คงไม่มีปัญหาไรอ่ะครับก็ p-b/p
แต่ efficientcy ขออธิบายหน่อยครับ คือแบบว่าคิดแบบคล้าย ๆ ประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรอ่ะครับ เช่น โรงงาน a ผลิตได้ 20 หน่วยต่อวัน จำนวนเครื่องจักร 4 เครื่อง ใช้เวลา 10 ชม.
และโรงงาน b ผลิตได้ 30 หน่วยต่อวัน จำนวนเครื่องจักร 8 เครื่อง ใช้เวลา 12 ชม.
แบบนี้อ่ะครับ ประสิทธิภาพ= กำลังการผลิตต่อหน่วย(utilization rate)/ต้นทุน(cost ในที่นี้ให้เป็นเวลาละกันครับ)
พอกลับมาเป็นหุ้นก็เลยเป็น ประสิทธิภาพ=กำลังการผลิต(รายได้)ต่อหน่วย(utilization rate)/ต้นทุนทีนี้เอา p มาคิดเลยครับ
ส่วนที่ใช้ roa ไม่ใช้ roe ก็เพราะมองว่า ถ้าซื้อหุ้นไปในราคา p เนี่ย น่าจะเป็นราคาของ asset + premium อยู่แล้วอ่ะครับ หรืออย่างน้อย ก็ควรจะ เท่ากับ asset ใช่ป่ะครับ เหมือนคนเล่นหุ้นแบบ asset play ดังนั้น สิ่งที่เราจะได้มาก็คือ equity + liabilities พูดง่าย ๆ ก็คือซื้อหนี้มาด้วยอ่ะครับ -_____-' ดังนั้นเครื่องจักตที่เราจะได้มาในที่นี้ก็คือ equity+liabilties+(premium)= asset+(premium)
ดังนั้น utilization rate ในที่นี้ก็ควรจะเป็น roa อ่ะครับ
พอไหวป่ะครับ เหอ ๆ ลองวิจารณ์กานดู
tunpao
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

.ถ้าตามสมการ (p-b)/roa อย่างนี้ผมว่าวิเคราะห์ยากครับ
ว่าหุ้นแพงหรือไม่ดีหรือไม่หรือว่า efficient หรือไม่
เพราะไม่รู้ว่า ค่าที่ออกมาจะยึดหลักอะไรเช่น ค่าที่ได้น้อย เพราะ ราคาใกล้กับbook หรือเพราะ roa ต่ำ

แล้วถ้าค่าติดลบละครับ

คือกำลังพยายามคิดอยู่ว่าถ้านำไปใช้เราควรวิเคราะห์อย่างไรครับ
เช่น ค่า ลบ ........ใก้ล 0 หมายถึงอะไร ใกล้ 1 หมายถึงอะไร และ ค่ามากกกกกๆคืออะไร
แล้วถ้าเป็นบวก...........


หรือว่าจะคำนวณแล้วนำมาเปรียบเทียบเป็น bench mark เฉพาะกลุ่มดีไหม
หรือว่านำค่าปีที่แล้วกับปีนี้ดู % การเปลี่ยนแปลงดีครับ

Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 32

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 3

โพสต์

พูดลึกซึ้งขนาดนี้ เดี๋ยวต้องรอ วิบูลย์มาตอบมั๊งครับ

อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา ทิพย์มาบุตร
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

อ๋อครับค่าที่ออกมาเป็นแบบนี้ครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หมายถึง อัตราของการสร้างรายไดที่เพิ่มต่อหนึ่งหน่วยของราคาที่จ่ายแพงไปเกินกว่าราคาของ book อ่ะครับ
ค่าที่ออกมาก็เอามาเปรียบเทียบกันได้ทุกตัวทุกกลุ่มเลยครับ เหมือนเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน ตัวไหนค่ามากก็มีประสิทธิภาพมากครับ คือ อัตราการสร้างรายได้ต่อpremium เยอะอ่ะครับ -_____-"
ทีนี้เรื่องค่าลบครับ
ตัวบน " p-b " โดยมาก p>b ราคาตลาดมี premium โดยปรกติอ่ะครับ ถ้า p<b ก็ซื้อเลยครับไม่ต้องเอามาคิดเพราะเล่น asset play เนื่องราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือ intinsic value
ตัวล่าง roa คิดว่าบริษัทไหนที่ roa เป็นลบคงไม่อยากได้กานอ่ะครับเพราะฉะนั้นก็ไม่เอามาคิดเหอ ๆ เทียบกันเฉพาะบริษัทที่สร้างรายได้จากสินทรัพย์ได้อ่ะครับ


ขอขอบคุณทุกคำวิจารณ์ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา ทิพย์มาบุตร
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

อะลืม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เออแต่ก็ไม่รู้อยู่ดีว่าแพงไปป่าว -_____-' ดูได้อย่างเดียวว่าเครื่องแรงป่าว stock-investment vehicle อ่ะครับ เหอ ๆ
Golden Stock.
ผู้ติดตาม: 0

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมคิดว่าการที่ดูราคาหุ้นว่า under or over value นั้น ควรจะวิเคราะห์บริษัทว่ามีจุดแข็งอะไรบ้าง? ที่ทำให้บริษัทเกิดความได้เปรียบในการแข่งขั้น และก็ดูว่าอุตสาหกรรมที่บริษัทอยู่นั้น มันมีภัยคุกคามหรือสร้างโอกาสให้กับบริษัท ก็ควรจะเป็นการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มากกว่าจะวิเคราะห์เพียงไม่กี่ปัจจัย บริษัทที่มีประสิทธิภาพภายในไม่จำเป็นว่าจะมีความสามารถในการทำกำไรได้เสมอไป ถ้าหากว่าปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่เกือหนุน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ลุงขวด
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 2448
ผู้ติดตาม: 121

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ฝรั่งเขามีคิดค้นสูตรมาก ๆ หลาย ๆ ทาง วันก่อนไปฟังเรื่องเทคนิคมา ฝรั่งยังมีหลายคน ค้นคิด กัน บางคนก็ให้สูตรมาเปิดเผยเลย บางคนเก็บสูตรเป็นความลับ ทางเทคนิค เขาเอาอดีต แรงซื้อแรงขาย ราคาปิด ราคาเปิด มาใส่ สูตรต่าง ๆ...................ที่คุณปรัชญา ทิพย์ฯ คิดเอาสูตรโดยใช้พื้นฐาน อดีตเหมือนกัน มาคำนวณ ผมว่า ดีนะครับ แบบ คุณครรชิต เขากรองโดยใช้ access ผมเสียดายไม่เก่ง access เลยใส่สูตรไม่เป็น ลองซิครับให้ค่า และ ใส่สูตรที่ค้นคิดเอง ลองทำย้อนหลัง ดู ซิว่า ถ้าใช้สูตรนั้น ๆ ในเวลา เท่ากัน เช่น 1 ปีผ่านมา สูตรไหนจะให้ผลตอบแทนมาก ที่สุด .....เสียดาย ผม ไม่เก่งเรื่องคอมฯ ไม่งั้นคงมีสูตรอะไร ดี ๆ มาฝากเพื่อน ๆ ได้..........คิด ๆ กันไว้ ไม่เสียหลาย.........ส่วนสูตรที่ผมใช้ ง่าย ๆ ก็คือ ได้ปันผลทุกปี สัก 7% ขึ้นไป ก็สบายใจแล้ว
VIB007
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 2035
ผู้ติดตาม: 74

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Jeng เขียน:พูดลึกซึ้งขนาดนี้ เดี๋ยวต้องรอ วิบูลย์มาตอบมั๊งครับ

อิอิ
ขอใช้สิทธิพาดพิง
ผมอ่านดู ก็ยังงงๆ
เอาเป็นว่า ผมไม่รู้เรื่องแล้วกันครับ
แล้วผมก็ไม่ได้ใช้สูตรอะไรพิสดารในการเลือกหุ้น
ทุกอย่างมีอยู่ในคอร์สไฟแนนซ์ธรรมดาๆครับ
ไม่ได้คิดอะไรใหม่เลย
จริงๆ ผมให้ความสำคัญกับพื้นฐานธุรกิจมากๆเลยนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมคิดเหมือนคุณลุงขวดนะ ปันผลทุกปี อย่างน้อย 7% ก็พอใจแล้วครับ เพราะผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นเหมือนกับเราเป็นเจ้าของกิจการ ตามกระบวนการก็คือธุรกิจมีกำไร ก็ปันผลมาให้ผู้ถือหุ้นซึ่งก็คือเจ้าของกิจการ
Expecto Patronum!!!!!!
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 1

ผมลองไปคิดเล่น ๆ ดูอ่ะครับช่วยดูหน่อยว่าใช้ได้ไหม :)

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมเคยใช้สูตรต่างๆที่เป็นอัตราทางการเงินต่างๆ มากรองหุ้น ปรากฎว่ากรองของดีทิ้งไปเยอะแยะเลย ไม่ขาดทุน แต่กำไรไม่มากเท่ากับคนที่มองธุรกิจออกครับ ตอนนี้หันมาสนใจข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณนะครับ
ล็อคหัวข้อ