หน้า 1 จากทั้งหมด 1

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 8:02 am
โดย charnengi
รู้สึกจะขายที่ 1.3-1.4 บาทนะครับ เห็นข่าวบอกว่า BV อยู่ที่ 0.75 ฝากเพื่อนๆ พี่ๆวิเคราะห์ข้อมูล และแนวโน้มในอนาคตกันนะครับ

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 8:47 am
โดย jaychou
เห็นเค้าว่ายังจะขาดทุนต่อไปอีกหลายปีไม่ใช่เหรอครับ
น่าประหลาดใจที่ทำราคาขายออกมาได้ขนาดนี้

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 8:53 am
โดย hot
เพราะอย่างนี้ผมถึงซื้อck  ฮฺ

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 10:38 am
โดย น้ำครึ่งแก้ว
อืออมม       โบรคที่อื่นเป็นไงบ้างครับ BLS ของผมบอกอยากได้มีให้เยอะมาก
เอาเท่าไหร่ให้บอก

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 11:35 am
โดย Finect
IPO 1.31 บาท/หุ้น
จองซื้อ 8,11-13 กย.
คาดว่าจะเข้าซื้อขาย 21 กย.นี้ครับ
และคาดว่าจะล้างขาดทุนสะสมในกลางปี 2554 ที่มีอยู่ 3 พันกว่าล้านบาทครับ

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 11:58 am
โดย 007-s
[quote="น้ำครึ่งแก้ว"]อืออมม

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 12:49 pm
โดย keng56
สงสัยจะกลายเป็นหุ้นไม่เต็มบาทอะครับ :lol:  :lol:  :lol:

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 5:53 pm
โดย miracle
n-parkกับกับsyntec
จะได้ล้างขาดทุนสะสมด้วย
จากการขายIPOตัวนี้อ่ะ
ลดการถือครองลงไปหน่อย
เอาเงินมาใช้หนี้ที่พอกพูนเอาไว้
:)

มีความเห็นอีกด้านหนึ่ง
การขายครั้งนี้ 50:50เลย
สำหรับIPOกับหุ้นที่มีคนถือครองแล้ว
น่าคิดน่าครับ

อีกเรื่องหนึ่ง หนี้กับอัตราดอกเบี้ย
และก็จำนวนคนที่ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน รวมไปถึงการขยายเส้นทาง

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 6:06 pm
โดย เจก
ผมว่ารถใต้ดินปัจจุบันนี้มันมีเส้นทางแปลกๆนะครับ มันอ้อมๆพิกลๆและก็ไม่ได้ผ่านอะไรที่สำคัญ (ผ่านเหมือนกัน แต่ที่จุดสำคัญจะไปทับกับ BTS เสียหมด) คือเวลาผมกลับไปเมืองไทยทีไรจะได้นั่งแต่ BTS เพราะไม่รู้จะนั่งรถใต้ดินไปไหน ได้แค่นั่งจากหมอชิตไปเซ็นทรัลลาดพร้าว กับ อโศกไปศูนย์ประชุมอย่างละหนแค่นั้นเองครับ ในใจผมคิดว่าถ้ายังไม่มีการขยายเส้นทาง เช่น ขุดต่อไปบางใหญ่ ผมว่าตัวนี้ไม่เห็นน่าลงทุนเลยครับ

เจก

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ส.ค. 31, 2006 9:30 pm
โดย miracle
ถ้าคุณเจกจะบอกนั้น
มีคนบอกตั้งแต่ก่อสร้างแล้ว
ว่ามันอึ้งผลประโยชน์ให้กับคนกลุ่มหนึ่ง
ทำให้รถไฟฟ้าใต้ดินเส้นนี้อ้อมไปก็อ้อมมา

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 01, 2006 12:05 pm
โดย Capo
เอามาฝากครับ
รูปภาพ

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 01, 2006 12:21 pm
โดย วัวแดง
ถ้า3สายนี้สร้างเร็วๆ ผมคงยิ้มออก :D (ผ่านบ้านผม)

แต่ให้ประมูลเร็วๆก็ :)  แล้ว

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 01, 2006 1:13 pm
โดย teetotal
ซื้อหุ้นตัวนี้ ช่วงแรกๆ จะปันผลเป็น ความภูมิใจ
ความภูมิใจ ที่จะได้มีส่วนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศ
ช่วงยาว ยังไม่รู้ว่าจะปันผลเมื่อไร
เรียกว่า ดูดี แต่กินไม่ได้ เหมาะสำหรับ คนรวย ลงทุนเพื่อชาติ ไม่หวังผลกำไร

Very Long-Term Stock
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์

นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2549


รถไฟฟ้าใต้ดินเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ของประเทศ
แต่ต้องหวังผลระยะยาว

3 กรกฎาคม 2547 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวกรุงเทพมหานคร เนื่องจากรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในเส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร ถึงแม้กระแสความตื่นเต้นของคนกรุงเทพฯจะไม่มากเท่าเมื่อครั้งที่รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดบริการ แต่ก็เป็นไปตามการประเมินของผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ ที่เชื่อว่าผู้บริโภคต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่ง และหลังจากเปิดเดินรถมาแล้วหนึ่งปีครึ่งพบว่า ยอดผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันทำงานเพิ่มขึ้นจาก 151,225 คน ในปี 2547 มาเป็น 179,145 คน ในปีที่แล้ว

จำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดรายได้สูงขึ้นจาก 445.88 ล้านบาทในปี 2547 มาเป็น 695.67 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาและถึงแม้รายได้หลักกว่า 90% จะมาจากการเดินรถ แต่รถไฟฟ้ากรุงเทพก็เริ่มมีรายได้จากส่วนอื่นเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินงานโดยบริษัทย่อยทั้งการให้เช่าพื้นที่โฆษณา การให้เช่าพื้นที่ร้านค้าและการให้เช่าระบบโทรคมนาคม ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของส่วนแบ่งรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและเงินปันผล

ยอดรายได้ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเช่นนี้ ประกอบกับภาวะตลาดหุ้นไทยที่คึกคักอย่างมากตั้งแต่เริ่มต้นปี 2549 เป็นผลจากการเข้าซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ ใช้จังหวะนี้เข้าระดม ทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เพื่อนำ เงินที่ได้มาใช้ในการซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 5 ขบวน รวมทั้งเครื่องออกเหรียญโดยสารอัตโนมัติ เครื่องออกบัตรโดยสารและประตูอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งชำระหนี้เงินกู้และใช้ส่วนที่เหลือเป็นเงินทุนหมุนเวียน

ถึงแม้ผู้บริหารรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BMCL จะไม่ยอมระบุถึงจำนวนเงินที่จะนำไปใช้ในแต่ละรายการ แต่ปัจจุบัน BMCL มีภาระหนี้รวม 13,960 ล้านบาท ต้องเสียดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมา กว่า 700 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 2 ล้านบาท การนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นครั้งนี้ไปชำระหนี้จึงมีส่วนช่วยให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลงได้บ้าง

BMCL เป็นหุ้นที่มีลักษณะพิเศษหลายประการ เพราะนอกจากจุดขายในเรื่องของความภูมิใจที่ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโครงการขนส่งมวลชนของประเทศ ที่ทั้งผู้บริหาร BMCL และบล.กิมเอ็งในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน พยายามนำมากระตุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้ามาจองซื้อหุ้นแล้ว ยังเป็นการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯที่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมมีการขายหุ้นออกมามากที่สุดบริษัทหนึ่ง (ดูรายละเอียดจากตารางรายชื่อผู้ถือหุ้น) จนดูเหมือนว่าการเข้าตลาดหุ้นครั้งนี้เป็นโอกาสให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมได้ระบายหุ้นบางส่วนเพื่อทำกำไรจากการลงทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

BMCL เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการขายหุ้นสามัญให้ประชาชนจำนวน 2,856.23 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 1,315.81 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 1,540.42 ล้านหุ้น และการจัดสรรหุ้นสามัญส่วนเกิน (green-shoe option) อีก 300 ล้านหุ้น

ความพิเศษประการที่สองของ BMCL ก็คือ ถึงแม้จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นแต่ผลดำเนินงานยังคงขาดทุน (ดูรายละเอียดจากตารางผลการดำเนินงาน) และผู้บริหาร คาดว่าจะยังขาดทุนต่อเนื่องไปจนถึงปี 2551 จึงจะเริ่มมีกำไร

ขณะเดียวกันข้อมูลจากงบการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 ระบุว่า บริษัทมียอดขาดทุนสะสมรวม 2,474.58 ล้านบาท ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จน กว่าจะล้างยอดขาดทุนสะสมจนหมด ซึ่งคาดว่าจะเริ่มจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ในปี 2555 และยอดขาดทุนสะสมที่มีอยู่จำนวนนี้เองทำให้มูลค่าทางบัญชีในปัจจุบันของ BMCL อยู่ที่หุ้นละ 0.75 บาท จากราคาพาร์ 1 บาท

ด้วยเหตุนี้เอง มนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กิมเอ็ง ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินจึงต้องพยายามชี้ให้นักลงทุนมอง BMCL ในรูปแบบของการลงทุนระยะยาว โดยยกข้อดีของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในอนาคต โดยที่การแข่งขันในเส้นทางเดียวกันจากผู้ประกอบ การรายอื่นมีน้อยและเมื่อมีการก่อสร้างโครงการส่วนต่อขยาย ก็ยังต้องมาเชื่อมต่อกับเส้นทางเดิม ทำให้มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงความเป็นไปได้ของ BMCL ในการ เข้าประมูลดำเนินงานในโครงการส่วนต่อขยาย เพราะมีความได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นในเรื่องต้นทุน

เมื่อพิจารณาจากผลดำเนินงานที่ยังขาดทุนและต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเริ่มจ่ายเงินปันผล นักลงทุนที่จะซื้อหุ้น BMCL นอกจากเหตุผลของความภูมิใจ ที่จะได้มีส่วนเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศแล้ว ยังต้องมีความพร้อมที่จะถือหุ้นตัวนี้ ในระยะยาวกว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนครั้งนี้

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 01, 2006 1:49 pm
โดย sunrise
หวังปันผลก็ไม่ได้
เส้นเดินทางก็ไม่สะดวกเท่าไหร่
ขยายเส้นทางเมื่อไหร่ก็ต้องลงทุนอีกมาก
ดูแล้วมีแต่จะเพิ่มทุน

ต่ำบาทยังต้องคิดเลยครับ :roll:

แต่ถ้าเป็น BTS ค่อยคุยกันใหม่ครับ  :twisted:

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 01, 2006 11:11 pm
โดย miracle
รายได้อื่น
เช่นเปิดเป็นห้างย่อยๆๆ
ไปเห็นที่เดี๋ยวที่ทำแล้วรุ่งคือ อโศก
ส่วนที่ลาดพร้าวเดี้ยง

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 04, 2006 8:52 am
โดย Oatarm
กรุงเทพธุรกิจ Bizweek  ว่าเอาไว้
ปรับแผน..ไอพีโอ BMCL "ใครได้-ใครเสีย"

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek สำรวจแผนขายหุ้นไอพีโอ "รอบล่าสุด" ของ "บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" (BMCL) ที่ส่อเค้าวุ่นต่อไป หลังจากบริษัททำผลงานย่ำแย่มาตั้งแต่ปี 2547 จนบรรดารายใหญ่ต่าง "ชิ่งหนี" ไม่กล้าเสี่ยงอุ้ม(หุ้น)...แต่ปฏิบัติการครั้งนี้ยังมี "คนได้-คนเสีย"


เช็คข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นใน "บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ" (BMCL) ครั้งล่าสุด พบว่ากลุ่มของ "ช.การช่าง" (CK) ถือหุ้นอยู่จำนวน 3,079 ล้านหุ้น (40.26%) "ทางด่วนกรุงเทพ" (BECL) 1,444 ล้านห้น (18.89%) "แนเชอรัล พาร์ค" (N-PARK) 1,066 ล้านหุ้น (13.94%) "ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น" (SYNTEC) 367.8 ล้านหุ้น (4.81%) และสถาบันการเงินต่างๆอีก 1,274 ล้านหุ้น (16.67%)

ขณะที่การออก "ไอพีโอ" หนนี้ จะมีการขายหุ้นรวมทั้งสิ้น 2,756.44 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 1,315.81 ล้านหุ้น...และหุ้นสามัญเดิม (ของผู้ถือหุ้นเดิม) อีกจำนวน 1,440.63 ล้านหุ้น

โดยในส่วนของหุ้นเดิมที่จะถูก "ปล่อยของ" ออกมา ถูกซอยมาจากพอร์ตของ "ช.การช่าง" จำนวน 740 ล้านหุ้น จาก "ทางด่วนกรุงเทพ" 250 ล้านหุ้น "ธ.กรุงไทย" จำนวน 259.4 ล้านหุ้น "ธ.ทหารไทย" อีก 128.62 ล้านหุ้น และ "ธ.นครหลวงไทย" ขายออก 61.68 ล้านหุ้น

ทั้งนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นกลุ่มดังกล่าว ล้วนมีต้นทุนหุ้น BMCL ที่ราคาเพียง "บาทเดียว"

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินไว้ว่า ราคาไอพีโอน่าจะอยู่ในช่วงราคา 1.30-1.40 บาท..เกินนี้ถือว่าแพง(มาก) ซึ่งเป็นราคาที่ลดลงจากที่เคยประเมิน เมื่อปี 2548 เคยถูกตั้งไว้ถึง 1.52-2.50 บาทต่อหุ้น

...แต่ก็ต้องมีการปรับราคาลง หลังจาก "แผนถอนทุน" ของกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม "เริ่มถูกรู้ทัน"

เพราะฉะนั้น หากแผนกระจาย ไอพีโอ สามารถดำเนินไปตามเกมครั้งใหม่ (1.30-1.40 บาท) ผู้ถือหุ้นเดิมที่อยู่ในลิสต์รายชื่อที่ได้สิทธิถอนทุน ก็ยังจะสามารถฟันกำไรจากไอพีโอได้ถึงรายละ 30-40%

...ยกเว้นเพียง "N-PARK" และ "SYNTEC" ที่กลับไม่พบชื่ออยู่ในบัญชีผู้ถือหุ้นเดิมที่เสนอขาย เนื่องจากมีต้นทุนหุ้น BMCL ในราคาแพง ถึงหุ้นละ 1.52 บาท ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น (ปี 2548) บริษัททั้งสองแห่งก็เคยถูกแพ็คไว้ในรายการ "ถอนทุน" จากหุ้น BMCL เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นเดิมรายอื่นๆ

แต่กับแผนตั้งราคาไอพีโอครั้งใหม่ เท่ากับว่า "N-PARK" กับ "SYNTEC" มีแต่เสียหาย!! และอาจต้องบันทึกผลการ "ขาดทุน" จากเงินที่ลงทุนไป

...ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการของ BMCL ยังคงผิดเป้าหมายแทบทุกประตู

โดย "สมบัติ กิจจาลักษณ์" กรรมการผู้จัดการ ของ BMCL อธิบายไว้ว่า จุดคุ้มทุนของบริษัทจะต้องทำยอดจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันให้ได้ถึงวันละ 2.8 แสนราย

สวนทางกับตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีผู้ใช้บริการรถไฟใต้ดินเฉลี่ยตลอดปี 2548 อยู่ที่จำนวน 1.63 แสนคนต่อวัน...โดยมีรายได้จากค่าโดยสารรวม 990 ล้านบาท ต่ำกว่ารายได้ประมาณการที่ 1,397 ล้านบาท อยู่ถึง 30% และขาดทุนสุทธิ 1,700 ล้านบาท

...ล่วงเข้าสู่ปี 2549 สถานการณ์ของ BMCL ส่อเค้าทรุดหนัก เพราะช่วง 6 เดือนแรกของปี มีผู้โดยสาร "ลดลง" เหลือเพียงเฉลี่ยวันละ 1.55 แสนคน และมีรายได้จากค่าโดยสาร จำนวน 588 ล้านบาท

...สวนทางกับเป้าหมายของ "จุดคุ้มทุน" อย่างชัดเจน

ขณะเดียวกันความหวังจากธุรกิจต่อเนื่องของบริษัทย่อยทั้ง 3 แห่งได้แก่ "ไตรแอดส์ เน็ทเวิร์ค" (ถือหุ้น 56%) "เมโทร มอลล์" (ถือหุ้น 64%) และ "บีเอ็มซีแอล เน็ทเวิร์ค" (ถือหุ้น 70%) ก็ไม่สามารถทำรายได้สำเร็จตามเป้าหมาย

เนื่องจากอนาคตของธุรกิจทั้ง 3 บริษัท ล้วนผูกติดไว้กับจำนวนผู้โดยสารรถไฟใต้ดินอย่างแยกไม่ออก

ยิ่งกว่านั้น ภายใต้สัญญาสัมปทาน นับจากปีที่ 11 เป็นต้นไป (ตั้งแต่ ก.ค.2558) BMCL จะต้องนำส่งรายได้ในจำนวนที่แน่นอนให้แก่ "รฟม." (รถไฟฟ้ามหานคร) จนกระทั่งครบอายุสัมปทาน 25 ปี คิดเป็นเงินสดทั้งสิ้น 43,567 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 2,900 ล้านบาท

ทั้งหมดเป็นตัวเลขอนาคต ที่บรรดานักเล่นหุ้นรายใหญ่ต่างล่วงรู้ว่า "อันตราย" กับเงินในกระเป๋า...หากคิดจะลงทุนหุ้น BMCL

ที่สำคัญคือ ต้องเป็น "เงินเย็น" เท่านั้น เพราะกว่าที่นักลงทุนจะพอได้ลืมตาอ้าปากจากเงินปันผล ก็ต้องรอหลังปี 2554 เป็นต้นไป

แต่ "สมบัติ" ยังคงเชื่อ(ลึกๆ)ว่า BMCL จะยังสามารถบรรลุเป้าหมาย หรือถึงจุดคุ้มทุนได้ทันปี 2552 ก่อนจะสามารถล้างผลขาดทุนสะสมได้เสร็จสิ้นภายในปี 2554 ...หลังจากนั้นจะมีการจ่าย "เงินปันผล" ให้แก่ผู้ถือหุ้นต่อไปภายหลังที่ล้างขาดทุนสะสมจนหมด

และเป็นที่มาของ...ภารกิจหืดขึ้นคอ ของ "มนตรี ศรไพศาล" ซีอีโอจากค่าย บล.กิมเอ็ง ในฐานะตัวแทนขาย และรับประกันการขายหุ้น BMCL เพราะเขาต้อง "เร่ขาย(หุ้น)ให้หมด" ภายในวันที่ 15 กันยายน 2549 ตามแผนใหม่ที่วางเอาไว้

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 06, 2006 11:48 am
โดย adi
มีโบรคมาเสนอให้ผมซื้อ แสดงว่าไม่ดีแน่นอน

คิดยังไงกับ BMCL (IPO) ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 06, 2006 10:46 pm
โดย keng56
สงสัยต้องมีโปรโมชั่นซื้อ1แถม1 ถึงน่าสน :lol: