หน้า 1 จากทั้งหมด 1

... มองตลาดหุ้นแบบ มองเงินที่มีอำนาจซื้อนำมั่ง ....

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 02, 2006 8:28 am
โดย คัดท้าย
http://www.bangkokbizweek.com/20060504/ ... 09053.html

Money Game : Boom and Bust cycle (1)

ในช่วงนี้ เราได้เห็นหุ้นตกลงกว่า 50-60 จุดใน ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ถ้าเราเข้าใจและศึกษา Boom and bust cycle ซึ่งเป็นวงจรจังหวะการลงทุนที่สำคัญที่สุด

จังหวะการลงทุนที่ให้กำไรมากที่สุดคือ การเข้าซื้อในจังหวะ Bust และขายในจังหวะ BOOM

การค้นพบ Boom and Bust cycle จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สุดของกลยุทธ์การลงทุนแบบ Market timing โดยปกติปัจจัยสำคัญที่สุด คือสภาพคล่อง (Liquidity) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพอๆ กัน หรือมากกว่าปัจจัยพื้นฐานเสียด้วย

ฉะนั้นนักลงทุนที่ชาญฉลาดต้องเข้าใจกลไกที่ก่อให้เกิดสภาพคล่อง หรือกลไกที่ทำให้สภาพคล่องหดหายไป ในช่วงภาวะ Boom สุดขีด หรือ Peak ของทรัพย์สินใดก็ตาม อารมณ์นักลงทุนจะเต็มไปด้วยความโลภ (Greed หรือ Euphoria)

การเสนอซื้อของสินทรัพย์ จะเป็นไปในทิศทางราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหวังที่จะขายได้ในราคาสูงขึ้น โดยไม่คาดคิดว่าตนเองจะเป็นไม้สุดท้าย ดังที่ได้เห็นในช่วงภาวะฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539 หรือภาวะตลาดหุ้นในช่วงปี พ.ศ. 2537 ตอนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้แตะ 1,700 จุด

หรือในเร็วๆ นี้ เราได้เห็นดัชนี SET ขึ้นลงในแต่ละวัน วันละ 20 จุด ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องทั้งสิ้น ในขณะที่ภาวะที่เป็น Bust (ภาวะตกต่ำสุดขีด) อารมณ์ของนักลงทุนจะเต็มไปด้วยความหวาดกลัว (Fear) และจะตามมาด้วยการขายสินทรัพย์ที่ตนเองถืออยู่ในลักษณะหนีตาย อย่างที่เราเห็นการลงทุนในช่วงปี พ.ศ. 2542 ตอนที่ดัชนีหุ้นดิ่งลงถึงจุดต่ำสุดที่ 200 จุดเศษ ๆ แท้ที่จริงนักลงทุนสามารถทำการศึกษาและสังเกต เรื่อง Boom and Bust cycle ได้ง่ายๆ ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง นักลงทุนที่เข้าซื้อดัชนีหุ้น (SET index) ในช่วงราคาเปิดของแต่ละวัน และขายในราคาปิดของแต่ละวันในลักษณะหักลบการซื้อขาย หรือเราเรียกว่า Net settlement จากสถิติที่ผมศึกษามาในระยะเวลา 2 ปี นักลงทุนท่านนั้นจะขาดทุน 45% ต่อปี (ทั้งนี้ยังไม่รวมค่า commission ที่ต้องเสียในอัตรา 0.25% ของปริมาณซื้อขาย)

ในขณะที่นักลงทุนที่ซื้อราคาปิดของวันก่อนหน้า และขายในราคาเปิดของวัน ทำแบบนี้ทุกๆ วัน นักลงทุนท่านนั้นจะได้กำไรประมาณ 25% ต่อปี (ยังไม่รวมค่า commission)

ปรากฏการณ์นี้ เราสามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฎี Behavior Finance ว่า ในช่วงเช้าของแต่ละวัน นักลงทุนมักจะซึมซับข่าวดีและข่าวร้ายในทันที และราคาหุ้นมักจะซึมซับข่าวดีและข่าวร้ายของหุ้นทันที

กรณีที่สอง จากสถิติ 2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนที่ซื้อดัชนีในราคาปิด ในช่วงวันจันทร์ และขายในราคาเปิดของวันพฤหัสบดี จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 16% ต่อปี (ยังไม่รวมค่า commission)

กรณีที่สาม ถ้าเรามองให้ไกลขึ้นไปในผลตอบแทนรายปี หุ้นเดือนพฤษภาคม จะให้ผลตอบแทนต่ำสุดเป็นอันดับสองรองจากเดือนมีนาคม ในลักษณะการเปลี่ยนแปลงรายเดือน ในขณะที่ผลตอบแทนเดือนธันวาคม และมกราคมจะสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง และอันดับสองตามลำดับ

ฉะนั้นในภาษานักลงทุน จึงมีคำว่า SELL in May and go away; come back in November.

สำหรับกรณีที่สี่ถึงหก กรุณาติดตามต่อฉบับหน้าครับ