เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จากราชบุรีที่มานั่งฟังผมพูดเมื่อบัญชีรอบสามนี้ หลังจากนั้นก็ไม่เห็นวี่แววว่าจะมาทักทายผมทางwebบ้างเลย

เภสัชกรหนุ่มความหล่ออย่าว่าแต่ร้อยเลยครับ สองร้อยยังไม่พอแกเลย

สรุปว่าคิดถึงทุกๆท่านครับ ปีใหม่แล้วมาpostคุยกันบ้างนะครับ

สวัสดีปีใหม่ ขอให้นำเอาความรู้ไปต่อยอด ทำผลตอบแทนเพิ่มๆขึ้นนะครับ

สำหรับท่านที่อบรมบัญชีทุกท่าน ในปีหน้าท่านจะได้ลองวิชาแล้วครับ เพราะสภาวิชาชีพบัญชีจะมีการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไม่ต่ำกว่า10ฉบับ และมีเพิ่มเติมอีก10กว่าฉบับ

มาตรฐานที่ปรับปรุงอาจจะกระทบกับ งบดุล งบกำไรขาดทุนของบริษัทของท่านที่จะต้องrestateกันใหม่ แน่นอนถ้าทำให้กำไรลดลง หุ้นอาจล่วงได้

สำหรับข่าวดีคือมาตรฐานที่ปรับใหม่ คงจะช่วยให้ผู้บริหารตุกติกเราได้น้อยลง แต่ที่สำคัญเราต้องรู้และเข้าใจมาตรฐานใหม่ครับ

ฉนั้นใครที่ยังไม่ได้ทบทวนกรุณาเร่งมือกันหน่อยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
prateepd
Verified User
โพสต์: 71
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รายงานตัวครับพี่มล  ผมก็เข้ารอบสามเหมือนกัน หลังจากที่ไปเรียนมาก็ว่าจะ
เริ่มศึกษาอย่างจริงจัง  อุตส่าไปซื้อหนังสือบัญชีของ อ.ภาพร มา ผลปรากฎว่าหนังสือท่วมหัวแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านเลย

คิดถึงเพื่อนๆสมาชิกรอบสามเหมือนกัน :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เฮียอย่าลืมจัดรอบวันธรรมดาด้วยนะค้าบ ขอวันพุธหรือวันพฤหัสนะ จะได้ไปเรียนได้
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

harry เขียน:เฮียอย่าลืมจัดรอบวันธรรมดาด้วยนะค้าบ ขอวันพุธหรือวันพฤหัสนะ จะได้ไปเรียนได้
เห็นพูดหลายครั้งแล้วนะ ถ้าอยากให้จัดเอาวันอย่างที่ต้องการเลยก็ไปรวมคนมาให้ได้ 30คน จะจัดให้

บอกตรงๆว่าชอบวันธรรมดามากกว่า วันหยุดอยากอยู่บ้าน แต่ชาวบ้านชาวเมืองเขาทำงานกัน มีแต่harryละมังที่ว่าง

ถ้าอยากเรียนจริงๆ เปิดเสาร์อาทิตย์ก็พยายามลางานมาก้ได้นี่นา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Oh+
Verified User
โพสต์: 142
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ฮาโหล ๆ รายงานตัวศิษย์รุ่น 3 ครับ  

กลับมาโรงงานก็ Shutdown พอดี  ยังทันไม่ได้ทวนเลยครับ แฮ่ะ ๆๆ  

เพิ่งเสร็จจากงาน Shutdown ว่า หยุด ปีใหม่ไม่ได้ไปไหน จะเลี้ยงลูกไป ทบทวนไปน่ะคร้าบ .................

ตอนนี้เริ่มใจเย็นขึ้นก่อนจะซื้อแล้วครับ ตั้งใจว่าถ้าไม่ดูบัญชีก่อนยังงัยก็ไม่ซื้อทุกทีซื้อก่อนค่อยมาดู อิอิ    

ว่าแต่ว่าถ้ามาตราฐานใหม่ออกมา มีอะไรแปลก ๆ พี่มนช่วยแนะนำด้วยน่ะครับ

คิดถึง พี่อ๊อด และเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Mon money เขียน: เห็นพูดหลายครั้งแล้วนะ ถ้าอยากให้จัดเอาวันอย่างที่ต้องการเลยก็ไปรวมคนมาให้ได้ 30คน จะจัดให้

บอกตรงๆว่าชอบวันธรรมดามากกว่า วันหยุดอยากอยู่บ้าน แต่ชาวบ้านชาวเมืองเขาทำงานกัน มีแต่harryละมังที่ว่าง

ถ้าอยากเรียนจริงๆ เปิดเสาร์อาทิตย์ก็พยายามลางานมาก้ได้นี่นา
ผมตอบไว้อีกกระทู้แล้วค้าบ

ผมทำงานเวลาไม่เหมือนชาวบ้านครับ การหาให้ได้ 30 คนคงจะไม่ถึงอ่ะ ผมว่าถ้าได้ก็สัก 15 คนอ่ะ

ดูเหมือนว่าผมไปหาที่อื่นเรียนคงจะง่ายกว่า ทั้งที่อยากเรียนกับที่นี่เพราะตรงประเด็นที่ต้องการ แต่ถ้าเกิดได้ไปเรียนที่อื่นแล้วมีอะไรดีจะเก็บมาบอกแล้วกันครับ
Expecto Patronum!!!!!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อยากเรียนถามพี่มนว่า ถ้าเริ่มการใช้ระบบการบันทึกบัญชีแบบใหม่แล้ว ในการเปรียบเทียบสัดส่วนทางการเงินในปีก่อนหน้านั้น ซึ่งยังใช้การบันทึกแบบเดิม สามารถเปรียบเทียบกันได้ตรงเลย หรือต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง หรือถือว่าเป็นมาตรฐานใหม่ เปรียบเทียบกันไม่ได้...
...ผมรู้สึกกังวลกับการเปรียบเทียบข้อมูลตามการบันทึกที่ใช้มาตรฐานที่ต่างกันครับ...
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

จะมีการเปรียบเทียบงบย้อนหลังให้หนึ่งปีครับ

สำหรับHarry ตัดสินใจถูกแล้วครับ แล้วผมจะรอรับคำแนะนำจากharryนะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ch_army
Verified User
โพสต์: 1352
ผู้ติดตาม: 2

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

แล้วมาตรฐานใหม่นี่ จะหารายละเอยดมาอ่านได้จากไหนครับ แล้วมันจะกระทบมากไหมครับ
http://inspirationword.blogspot.com

-กำลังใจ มีอยู่ในตัวคุณ-
-พัฒนาทัศนคติ สู่ชีวิตแห่งชัยชนะ-
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมไปโหลดมาลองดูครับ
***แนวคิดของประเทศในเอเชียต่อการปรับมาตรฐานบัญชีให้สอดคล้องกับ IFRS  จัดเมื่อ 11-13 ตค.2004
Thailand
1) แนวทางการกำหนดมาตรฐานบัญชีในประเทศไทย
- ก่อน 1997 มาตรฐานไทยเป็นไปตาม U.S. GAAP แต่หลัง 1997 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund; IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ให้เปลี่ยนไปใช้ตาม IAS
มาตรฐานการบัญชี/มาตรฐานการสอบบัญชีของไทยกำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.)
- หลังปี 2000 (2543) พระราชบัญญัติการบัญชีได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี โดย ก.บช. ทบทวนมาตรฐานบัญชี การบัญชีปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และให้เลื่อนการบังคับใช้ออกไปจนกว่า ก.บช.รับรอง
- ข้อบังคับตามกฎหมาย
ธุรกิจต้องทำบัญชี และต้องส่งงบการเงินที่ทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปให้กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 5 เดือนนับจากสิ้นรอบปีบัญชี และธุรกิจบางประเภทต้องทำงบการเงินตามรูปแบบของอุตสาหกรรม เช่น ธนาคาร
- การเปลี่ยนแปลงในปีปัจจุบัน: พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่งกำหนดให้มีสภาวิชาชีพรับทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลวิชาชีพสอบบัญชี การออกและรับรองมาตรฐานการบัญชี ก่อนประกาศเพื่อบังคับใช้ โครงสร้างของหน่วยงานสภาวิชาชีพ (หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานบัญชีจะคล้ายกับ FASB) โดยระหว่างช่วงที่เปลี่ยนแปลง คณะกรรมการสมาคมนักบัญชีจะรักษาการ 180 วัน
2) ความสอดคล้องของมาตรฐานการบัญชีไทยกับ IFRS
ไทยทำตาม IFRS แต่การเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน 10 ฉบับในปี 2542 และ 8 ฉบับในปี 2543 ทำให้ธุรกิจมีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างมาก
กรณีไม่มี IFRS ไทยจะประยุกต์ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของสหรัฐอเมริกา
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

- ความแตกต่างระหว่าง TAS กับ IAS
รายการ                            TAS                            IAS
ส่วนเกินทุนจากการ
ตีราคาสินทรัพย์ใหม่          รับรู้ในงบกำไรขาดทุน       รับรู้เข้ากำไรสะสม
                                         ถึง พ.ศ.2550
                                  หลังจากนั้นรับรู้เข้ากำไรสะสม
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย     ในส่วนของผู้ถือหุ้น เริ่มเปลี่ยนมาแสดง
                                                                               ในส่วนของผู้ถือหุ้น
การเสนอข้อมูล เสนอตาม IAS 14 1994   Revised 1997
จำแนกตามส่วนงาน

- มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่บังคับใช้ในประเทศไทย เช่น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น การดำเนินงานที่ยกเลิก การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและความช่วยเหลือจากรัฐบาล การบัญชีเกษตรกรรม อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน การรับรู้และวัดค่าเครื่องมือทางการเงิน ผลประโยชน์พนักงาน ผลประโยชน์หลังเกษียณ การบัญชีภาษีเงินได้
- มาตรฐานที่ไม่บังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน เช่น งบกระแสเงินสด การเสนอข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน การด้อยค่าของสินทรัพย์ งบการเงินรวม การบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลของบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การเปิดเผยข้อมูลและการแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน เช่นเดียวกับแนวปฏิบัติของมาเลเซีย
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

3) แนวปฏิบัติเกี่ยวกับ TAS ในช่วงที่ IFRS มีการเปลี่ยนแปลง
ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงที่จะมีผลบังคับในปี 2005
IAS 1 การนำเสนองบการเงิน
- ให้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามลำดับสภาพคล่องในสถานการณ์ที่การแสดงดังกล่าวจะน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากกว่าการแสดงรายการแบบหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน
- ต้องเปิดเผยนโยบายการบัญชีที่สำคัญ เช่น เกณฑ์การรับรู้รายได้ สกุลเงินที่ใช้
- ยกเลิกรายการพิเศษ
- มีนิยามของความมีนัยสำคัญ ซึ่งเหมือนกับมาตรฐานการสอบบัญชี
- เพิ่มรายการกำไรของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย และกำไรของบริษัทแม่
IAS 2 สินค้าคงเหลือ
- ยกเลิก LIFO
- ไม่ให้นำผลต่างอัตราแลกเปลี่ยนคิดเป็นต้นทุนสินค้าคงเหลือ
IAS 8 กำไรขาดทุนสำหรับงวดฯ ไม่กระทบ
IAS 10 เหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงิน แก้ไขโดยไม่ให้บันทึกรายการเงินปันผลที่ประกาศจ่ายหลังวันที่ในงบดุล เป็นหนี้สินทันที
IAS 16 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
- สินทรัพย์ที่เสื่อมสภาพยังคงต้องคิดค่าเสื่อมราคา แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งาน
- กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ไม่ให้แสดงในส่วนของรายได้
IAS 24 รายการของบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
- เปิดเผยค่าตอบแทนของผู้บริหารสำคัญ
IAS 27 งบการเงินรวม
- บริษัทที่ไม่ได้มีหลักทรัพย์ซื้อขายกับมหาชน และบริษัทที่บริษัทแม่ที่ถือหุ้นในระดับสูงสุด (Ultimate Parent) ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศเดียวกันหรือไม่ ได้ทำงบการเงินรวมแล้ว บริษัทนั้นไม่ต้องทำงบการเงินรวม
- ระบุความหมายของการควบคุมชั่วคราวไว้อย่างชัดเจนว่า หมายถึงระยะเวลา 12 เดือน
- ให้บันทึกเงินลงทุนด้วยวิธีราคาทุนหรือมูลค่ายุติธรรมในงบการเงินเฉพาะของกิจการ  ทำให้งบการเงินที่เปรียบเทียบกับงบการเงินรวมมีกำไรสุทธิไม่เท่ากันอีกต่อไป ซึ่งจะกระทบต่อเงินปันผลที่ประกาศจ่าย เพราะบางบริษัทอาจมีขาดทุนสะสม ทำให้การประกาศจ่ายปันผลที่จ่ายไปแล้ว กลายเป็นรายการผิดกฎหมาย
IAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม
- รายการระหว่างกันกับบริษัทในเครือฯ ไม่ว่าจะเป็นกับบริษัทผู้จัดหาปัจจัยการผลิต/ให้บริการ หรือกับบริษัทผู้จัดจำหน่าย
ให้ตัดรายการระหว่างกันตามส่วนได้เสียที่บริษัทผู้ลงทุนมี เช่น ถือหุ้น 80% ให้ตัดกำไรระหว่างกันออก 80%
- ให้รับรู้ขาดทุนในบริษัทร่วมเกินเงินลงทุน (เดิมรับรู้เท่ากับเงินลงทุน)
IAS 32 การเปิดเผยข้อมูลและแสดงรายการเครื่องมือทางการเงิน
- ไม่ให้รับรู้กำไรขาดทุนจากหุ้นทุนซื้อคืนในงบกำไรขาดทุน ให้รับรู้ตรงเข้าส่วนของผู้ถือหุ้น
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการออกหุ้นให้หักจากส่วนของผู้ถือหุ้น (เดิมไม่ระบุไว้)
IAS 33 กำไรต่อหุ้น ไม่กระทบ
IAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์
- ต้องวัดมูลค่าที่จะได้รับของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุไม่จำกัดทุกปี เพื่อพิจารณาว่า เกิดการด้อยค่าหรือไม่
- ค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจ ต้องปันส่วนให้หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดของกิจการผู้ซื้อ
IAS 38 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- ต้องไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุไม่จำกัด แต่ต้องพิจารณามูลค่าที่จะได้รับ และการด้อยค่าทุกงวดที่เสนอรายงาน
IFRS 1 การเริ่มใช้มาตรฐาน IFRS ครั้งแรก ไม่กระทบ เพราะปัจจุบันใช้อยู่แล้ว
IFRS 2 การจ่ายเป็นหุ้น
-  ต้องรับรู้รายการจ่ายเป็นหุ้นด้วยมูลค่ายุติธรรม
IFRS 3 การรวมธุรกิจ
- ค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจที่มีอายุไม่จำกัดทุกปี ต้องวัดมูลค่าที่จะได้รับคืนและพิจารณาการด้อยค่าทุกปี
- ค่าความนิยมติดลบรับรู้ในงบกำไรขาดทุนทันที (เดิมต้องตัดจำหน่ายตามการเสื่อมสภาพของสินทรัพย์ที่ได้มาเมื่อซื้อธุรกิจที่สามารถระบุได้)
IFRS 5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก
- ใช้แทน IAS 35 ให้แยกรายการสินทรัพย์ที่ถือไว้รอขาย หากกิจการได้รับมูลค่าตามบัญชีส่วนใหญ่จากการขายมากกว่าจากการใช้สินทรัพย์นั้นต่อไป
กรณีนี้ เป็นตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม IFRS เพราะ ไทยกำลังจะประกาศใช้มาตรฐานนี้ในปีต่อไป จึงอาจจะต้องพิจารณาว่าจะประกาศมาตรฐานนี้ไปก่อนแล้วไปปรับปรุงมาตรฐานนี้ในอนาคตอย่างไร
การเปลี่ยนแปลง IFRS ทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมกระทบต่อมาตรฐานการบัญชีของไทยอย่างมาก
4) บทบาทของ SEC ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี
เนื่องจาก เลขาธิการ ก.ล.ต. บรรยายส่วนนี้ไปแล้ว จึงขอสรุปว่า ก.ล.ต. มีข้อกำหนดต่าง ๆ คล้ายกับประเทศอื่น ๆ คือ ทำงบการเงินรายไตรมาสที่สอบทานโดยผู้สอบบัญชีส่งภายใน 45 วัน และงบการเงินประจำปีที่ตรวจสอบแล้วส่งภายใน 60 วัน รวมถึงแบบเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมต่อตลาดหลักทรัพย์ 56 1 ซึ่งเหมือนกับ รายงาน 10-K
นอกจากนี้ยังมีแนวปฏิบัติที่ ก.ล.ต. กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำ เช่น การเปิดเผยข้อมูลของบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การประมาณหนี้สงสัยจะสูญของธุรกิจสถาบันการเงิน การค้ำประกันให้บริษัทในเครือฯ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
5) ความเหมาะสมในการปฏิบัติตาม IFRS
มีข้อวิจารณ์ เกี่ยวกับ
- การวัดมูลค่าและรับรู้รายการเครื่องมือทางการเงิน โดยเฉพาะการบัญชีป้องกันความเสี่ยง และลักษณะของตลาดที่มีสภาพคล่องที่สามารถใช้อ้างอิงได้
- ปัญหามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ชีวภาพและผลิตผลทางการเกษตรที่จะทำให้เกิดกำไรในงบกำไรขาดทุน ซึ่งอาจต้องเสียภาษีให้สรรพากรทันที ทั้งที่ยังไม่ได้รับกระแสเงินสดมา
- ปัญหาการบันทึกรายการสินทรัพย์/หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชีว่า ต้องบันทึกอย่างไร เมื่อไร
- การประยุกต์มาตรฐานการด้อยค่าของทรัพย์สิน ในปี 2542 ผู้ปฏิบัติงานมีความสับสนระหว่างการลดมูลค่าทรัพย์สิน กับการด้อยค่า จึงเกิดประเด็นโต้แย้งระหว่างธุรกิจกับผู้สอบบัญชี ซึ่งเกิดในช่วงเดียวกับการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่
6) การดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง IFRS
- หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานต้องมีความเข้มแข็ง
- เผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนแปลง IFRS ให้ทราบทั่วถึงกัน ปัจจุบันคนในวิชาชีพหลายกลุ่มยังไม่ทราบการเปลี่ยนแปลง
- กระบวนการที่ควรใช้รับมือการเปลี่ยนแปลง IFRS: วิทยากรสนับสนุนให้ใช้วิธีชะลอการบังคับใช้ (Slow-down process) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาของมาตรฐานก่อนให้ละเอียด แต่บางคนเห็นว่า ต้องปฏิบัติตาม IFRS ทันที (Intermediate action) มิฉะนั้นผู้เกี่ยวข้องอาจละเลย ไม่สนใจ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตาม IFRS ได้
- ในวงวิชาการ ต้องมีการให้ความรู้อาจารย์
- ควรต้องติดตามสม่ำเสมอ (Be in Trend)
ความเห็นเพิ่มเติมของพิธีกร
มาตรฐานบัญชีมุ่งไปสู่แนวคิดที่ EVA สนับสนุนมากขึ้น เช่น
- การรวมธุรกิจ EVA ยอมรับเฉพาะวิธีซื้อธุรกิจ (Purchase) ซึ่ง IFRS 3 ให้ใช้เฉพาะวิธีนี้ในการรวมธุรกิจเท่านั้น และในระบบการศึกษาจะปรับปรุงการบรรยายในปีต่อไป
- สินค้าคงเหลือ ไม่ให้ใช้วิธี LIFO หรือการตัดจำหน่ายค่าความนิยม ซึ่ง EVA ผู้บรรยายต้องอธิบายว่า เหตุใดวิธีนี้จึงถูกยกเลิก
- การบันทึกค่าใช้จ่ายการให้สิทธิเลือกแก่พนักงานตามมูลค่ายุติธรรม EVA สนับสนุนให้ปฏิบัติเมื่อคำนวณ EVA แต่งบการเงินของไทยยังไม่บันทึก
- สินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่าง ๆ เช่น ค่า Software SAP/Oracle ที่บริษัทซื้อมา จะแสดงอยู่ในงบการเงิน โดยใช้วิธีการประเมินด้อยค่าแทน ไม่ถูกตัดจำหน่ายไป
- IAS 16 หากมูลค่าซากของสินทรัพย์สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ต้องไม่คิดค่าเสื่อมราคาต่อไป ดังนั้นจึงต้องประเมินมูลค่าที่จะได้รับทุกปีด้วย
ดังนั้น เมื่อปฏิบัติตาม IFRS ในอนาคตจึงใกล้เคียงกับปรัชญาแนวคิดของ EVA และทำให้สามารถคำนวณ EVA ได้โดยไม่ต้องปรับปรุงรายการมากนัก
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

อีกเนื้อความหนึ่ง ซึ่งระบุว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานบัญชีนั้น ต้องอาศัยกฎหมาย
Accounting Standards in Thailand are issued by the Federation of Accounting Professions (FAP) which was established in 2004. Prior to the establishment of the FAP, accounting standards were issued by Institute of Certified Accountants and Auditors of Thailand (ICAAT).
Currently, there are a total of 57 accounting standards. Of those issued, 31 standards are currently effective, four standards are not yet required by Thai law, and 22 standards have been superseded. In addition, there are nine accounting standards interpretations, four of which are required by law.
Under the Accountancy Act B.E. 2543, Thai Accounting Standards (TAS) must be approved by the Ministry of Commerce in Thailand (MOC) and placed into law before companies are required to adopt such standards.
The following TAS have become effective for financial reporting periods beginning on or after January 1, 2005:
 TAS No. 52 Subsequent Events
 TAS No. 53 Provisions, Contingent Liabilities and Contingent Assets
 TAS No. 54 Discontinued Operations
These standards are based on International Accounting Standards (IAS) No. 10 Events after the Balance Sheet Date, IAS No. 37 Provisions, Contingent Liabilities and Contingent Assets, and IAS No. 35 Discontinued Operations, respectively.
จากhttp://www.iasplus.com/country/thailand.htm#0511
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

แล้วตกลงว่าพี่อ๊อดกับท่านอื่นๆจะไม่มาคุยกันบ้างหรือนี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
NinjaTurtle
Verified User
โพสต์: 506
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ปีใหม่ไม่อยู่กลับมาก็ยุ่งมาก พึ่งจะได้เข้าเว็บก็วันนี้แหละครับ

รายงานตัวครับพี่มนต์  เดี๋ยวจะน้อยใจไม่เปิดcourse บัญชีต่อ พี่อ๊อดคงกำลังวุ่นวายจัดการความหล่อของเขาติดพันนะครับ  :lol: เลยยังไม่ทราบว่ากำลังถูกถามถึงอยู่


ถ้าจะจัดหัวข้อใหม่เรื่องนี้นะจะดีนะครับ

และจะสารภาพว่ามาตรฐานใหม่นี่ไม่รู้เรื่องเลยครับ :P
ต้องทำความเข้าใจอีกยกใหญ่ ถ้าจะจัดจะขอแนะนำ โรงแรมอื่นแทนได้ไหม
para_kul
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

สวัสดีครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ต้องขอโทษครับที่เพิ่งมารายงานตัว ผมเรียนรุ่น 3ครับ ก็กำลังหัดแกะงบอยู่ครับ ลองดูก่อน และกำลังอ่านหนังสืออาจารย์เรื่องกลบัญชีอยู่น่ะครับ เพิ่งทราบเรื่องจะเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีจากกระทู้นี้แหละครับ ขอบคุณมากครับ
                                  ภราดร กุลเกลี้ยง
alolinda
Verified User
โพสต์: 1
ผู้ติดตาม: 0

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ต้องขอโทษเพื่อนๆและคุณมนที่รายงานตัวช้ามาก หลังจากอบรมก็ได้ค่อยๆทำการวินิจฉัยหุ้นที่ถืออยู่หลายตัวมาก (และรักษาแผลที่คุณมนฝากไว้) .. ทีแรกตั้งใจว่าจะลดจำนวนหุ้นที่ถือ แต่กลับซื้อเพิ่มอีกสองตัว แล้วก็ถือรอจังหวะจนหลังปีใหม่นี่แหละถึงได้กำจัดหุ้นที่อันตรายออกไปจากพอร์ทเกือบ 10 ตัวแล้วคะ (แค่หุ้นแบงค์ก็ 3 ตัวที่ขายออก) .. ตอนนี้จะซื้อหุ้นใหม่ซักตัวก็พิจารณานานหน่อย อย่าเชื่อคนอื่น อย่าเล่นตามตลาดจนลืมตัว จะพยายามใช้ความรู้ที่อบรมมาประกอบ ไม่ให้เสียชื่ออาจารย์มนนะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 27

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

(และรักษาแผลที่คุณมนฝากไว้) .. 
แฮะๆๆๆๆ :D  :D ...ไม่ต้องเดาก็รู้ว่าต้องเป็นคุณหมอคนสวยแน่ๆ รักดอกจึงหยอกให้คิด...คุณหมอคงรักษาแผลไม่ยากเท่าลดหุ้นลงบ้างใช่ไหมละ.... อิ อิ  :)  :)

อันportที่เปรียบเสมือนกองทุนรวมของคุณหมอนั้นลดๆลงบ้างก็จะเป็นสุขยิ่งๆขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อเวลาหุ้นขึ้นก็จะมีความสุขในแต่ละตัวมาก ส่วนในเวลาหุ้นลงก็จะลดความกังวลใจไปได้มาก ...อันนี้ต้องดูป๋าฉัตรชัยเป็นตัวอย่าง... "ลงทุนหุ้นตัวเดียว...ไม่เสียวแต่ชัวร์" (ขอบอกว่าหัวข้อนี้ ผมตั้งเองกะมือ) :wink:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 86

เตรียมรับมือมาตรฐานบ/ชใหม่ กับตามหาพี่อ๊อดสุดหล่อ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เรียกป๋าเลยหรือครับ
ล็อคหัวข้อ