ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 91

โพสต์

หุ้นรับเหมาผงาดข้ามปี
* เตรียมแย่งเค้กรถไฟฟ้า-งานรัฐฯเพียบ


จับตา หุ้นรับเหมาฯ เตรียมผงาดถึงปี 56 หลังมีงานใหญ่รอประมูลอีกเพียบ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง และอีก 5 สายในปีหน้า แถมภาครัฐฯ เทงบปฏิรูปภาคขนส่งอีกปีละ 2 แสนล้านบาท 5 ปีติด เชื่อแย่งประมูลกันสนุก ขณะที่ปัญหาค่าวัสดุ - ค่าแรงแพงไม่กระทบ เหตุตลาดรับรู้ไปหมดแล้ว ชู STEC เป็น Top Pick เป็นเต็งจ๋าคว้าสัญญารถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญาที่1 ด้าน CK ไม่น้อยหน้าเตรียมรับรู้กำไรจากอีกหลายโครงการ ส่วน ITD ยังพอเก็งกำไรได้

เป็นหุ้นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะยังไม่มีข่าวการประมูลโครงการขนดใหญ่มาให้ได้เห็น หรือต้นทุนการก่อสร้างทั้งค่าวัสดุค่าแรงที่ปรับขึ้น แต่ทางโบรกเกอร์มีมุมมองว่า ปัจจัยเรื่องต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นนั้นตลาดรับรู้ไปแล้ว ขณะที่รัฐบาลเองมีแนวโน้มที่เปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 2 และมีอีก 5 สายในปี 2556 รวมถึงโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะภาคการขนส่งทั้งทางบก น้ำ และอากาศ รวมไปถึงทางรถไฟรางคู่ ด้วยมูลค่าลงทุนรวมเฉลี่ยปีละประมาณ 2 แสนล้านบาทระยะ 5 ปีข้างหน้า ทำให้เห็นสัญญาณการแข่งขันของบรรดายักษ์ใหญ่ด้านรับเหมาก่อสร้างของไทยตั้งแต่ครึ่งปีหลัง และปีหน้าอย่างเข้มข้น และดุเดือด

โดยราคาหุ้นรับเหมาก่อสร้างชั้นนำของไทยวานนี้ (2 ก.ค.55) อย่าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ต่างเคลื่อนไหวในแดนบวกกันถ้วนหน้า
STEC ปิดการซื้อขายที่ระดับ 14.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.30 บาท หรือ 2.10% มูลค่าการซื้อขาย 209.27 ล้านบาท
CK ปิดการซื้อขายที่ระดับ 7.30 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท หรือ 2.82 % มูลค่าการซื้อขาย 48.16 ล้านบาท
ITD ปิดการซื้อขายที่ระดับ 3.20 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท หรือ 3.23% มูลค่าการซื้อขาย 78.21ล้านบาท


*** การลงทุนในภาคก่อสร้างช่วง Q1/55 เพิ่มขึ้น 4.4% YoY

บล.ฟินันเซียไซรัส เปิดเผยว่า มูลค่าก่อสร้างรวมตามราคาตลาด 1Q12 อยู่ที่ 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 4.4% YoY โดยสัดส่วนมูลค่าการก่อสร้างในช่วง 1Q12 ยังมาจากภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ โดยสัดส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนอยู่ที่ 56% ของมูลค่าก่อสร้างรวม หรือ 1.1 แสนล้านบาท ขณะที่มาจากภาครัฐสัดส่วน 44% ของมูลค่าก่อสร้างรวม หรือ 8.9 หมื่นล้านบาทซี่งเป็นภาพการลงทุนที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปี 2011 ที่สัดส่วนมูลค่างานก่อสร้างภาคเอกชนอยู่ที่ 53% ขณะที่ภาครัฐมีสัดส่วน 47% ของมูลค่าก่อสร้างรวมที่ 8.2 แสนล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นผลจากจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าของภาครัฐ และการเลื่อนการประมูลโครงการใหญ่หลายโครงการ ขณะที่การลงทุนในภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่องโดยเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมีเนียม และงานระบบป้องกันและปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก

โดย 1Q12 การลงทุนรวมขยายตัว 4.4% ดีขึ้นจากการเติบโตเพียง 1.6% ในปี 2011 โดยภาคเอกชนมีอัตราการเพิ่มของมูลค่าการลงทุนใน 1Q12 ที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากการเติบโตทั้งปี 2011 ที่ 13.1% ส่วนภาครัฐมีการลงทุนเติบโตใน 1Q12 เพิ่มเพียง 2.9% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ฟื้นขึ้นดีขึ้น เพราะทั้งปี 2011 ภาครัฐมีการลงทุนลดลงถึง 9.1% YoY

ด้านราคาวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กและซีเมนต์ในปี 2011 โดยเฉลี่ยปรับขึ้น 11%-12% YoY ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 5% YoY ขณะที่ 5M12 ราคาวัสดุก่อสร้างประเภทเหล็กปรับขึ้นเฉลี่ย 3% YoY และซีเมนต์ลดลง 1% YoY ส่วนราคาวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เพิ่มขึ้น 6% ซึ่งกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างให้ปรับสูงขึ้น รวมทั้งค่าแรงที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาทตั้งแต่ 1 เม.ย.2012 ซึ่งคาดว่าจะกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้นลดลง 1% กรณีเป็นงานเก่า อย่างไรก็ตาม สำหรับงานใหม่ที่ที่ผู้รับเหมารับงานมา ส่วนใหญ่จะปรับมูลค่ารับงานให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นแล้ว ทำให้ยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ตามเป้าหมายได้


*** ลุ้นประมูลรถไฟฟ้า 6 สายจนถึงปี 56

อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นงานเมกะโปรเจกต์ของบรรดากลุ่มรับเหมาก่อสร้าง นั่นคือโครงการรถไฟฟ้าที่ รัฐบาลยังคงเป้าหมายก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ให้มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 4 ปีในสมัยรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งทางบล.ฟินันเซียไซรัส ประเมินว่า แม้การประมูลรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ยังไม่มีเกิดขึ้นเลยในช่วง 1H12 แต่คาดว่าในช่วง 2H12 จะเริ่มเห็นการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญาที่ 2 หลังจากที่งานรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) สัญญาที่ 1 (STEC&UNIQ) มีแนวโน้มที่เซ็นสัญญาได้ที่วงเงิน 29,826 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ปรับขึ้นจากกรอบเดิม 10% โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประมาณสัปดาห์หน้า (3 ก.ค.12)

ทั้งนี้หากสัญญาที่ 1 เซ็นสัญญาได้เรียบร้อย ก็จะสามารถเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญาที่ 2 มูลค่า 21,406 ล้านบาทได้ โดยรฟท. คาดว่าจะประกาศผลประมูลได้ในช่วงต้นก.ค.12 โดยมี CK และ ITD เป็นผู้แข่งขันในการประมูลสัญญาที่ 2 ปี 2013 จะมีโครงการรถไฟฟ้าประมูลตามแผนหลายโครงการ
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าที่คาดว่า จะเปิดประมูลในปี 2013 ได้แก่
1)โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน- มีนบุรี) สัญญาที่ 1-3 วงเงิน 150,000 ล้านบาท คาดเปิดประมูลต้นปี 2013
2)โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) วงเงิน 50,770 ล้านบาท คาดเปิดประมูลปลายปี 2013
3)โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) วงเงิน 46,000 ล้านบาท คาดเปิดประมูลปลายปี 2013
4)โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) วงเงิน 33,212 ล้านบาท อยู่ระหว่างทบทวนแผนสร้างสถานี คาดว่าเปิดประมูลในปี 2013
5)โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 28,436 ล้าน คาดเปิดประมูลปี 2013


*** CK - ITD เตรียมขับเคี่ยวแย่งรถไฟฟ้าสีแดงสัญญาที่ 2

บล.ฟิลลิป ประเมินว่าในช่วงเดือน ก.ค. จะมีการประกาศผลประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญา 2 ซึ่ง CK และ ITD เข้าประกวดราคา ส่วนงานโรงรถไฟฟ้าใหม่อีก 3 เส้น โดยสายสีเขียวเข้มมีความพร้อมเปิดประมูล ส่วนสีส้ม และสีชมพู น่าจะออกมาต้นปี นอกจากนี้โครงการใหญ่รถไฟรางคู่มูลค่าโครงการทั้งหมด 400 พันล้านบาท จะมี 3 โครงการออกมา งานใหม่ที่ได้เพิ่มขึ้นใน 2H55 จะเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการเติบโตต่อในปีหน้า

พิจารณาจากมูลค่าโครงการระดับ 10 พันล้านบาทขึ้นไป บริษัทขนาดกลางถึงเล็กคงจะไม่มีกำลังในการเข้าประมูลโดยลำพัง ผู้รับเหมารายใหญ่ (CK, ITD และ STEC) น่าจะมีคุณสมบัติพร้อมเข้าประมูล Backlog ล่าสุดของ STEC และ CK ค่อนข้างสูง โดยคิดเป็น 3 เท่า และ 10 เท่าของรายได้ปีก่อน ทำให้ขนาด Backlog พอเพียงต่อการสร้างรายได้ในปี 55 ขณะที่ Backlog ล่าสุดไม่รวมงานรอเซ็นของ ITD มีมูลค่า 110 พันล้านบาท คิดเป็นแค่ 2 เท่าของรายได้ปีก่อนที่ 45 พันล้านบาท ITD มี Backlog รองรับรายได้ที่น้อยกว่า STEC และ CK อีกทั้ง ITD มี รายจ่ายการดำเนินงานสูงกว่า การทำกำไรยากกว่า CK และ STEC และยังมีภาระลงทุนโครงการทวายมาก มีความเสี่ยงที่จะเพิ่มทุน (Recap Risk)

ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ว่า ภายในปีนี้จะสามารถเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1.เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร(ก.ม.)มูลค่าประมาณ 11,348 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติดำเนินการ
2.เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 ก.ม. มูลค่าประมาณ 17,046 ล้านบาท
3.เส้นทางประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระยะทาง 167 ก.ม.มูลค่าประมาณ 10,312 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างสรุปแบบรายละเอียด และจัดการประกวดราคาในช่วงต่อไป


*** ครึ่งหลังได้เห็นงานภาครัฐฯ อีกเพียบ

ในปี 2012 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายในการลงทุนไว้ที่ 438,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.1% จากปีงบประมาณ 2011 ที่ 355,485 ล้านบาท ซึ่งรายจ่ายในการลงทุนคิดเป็นสัดส่วน 18.1% ของวงเงินงบประมาณปี 2012 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 16.4% ในปีงบประมาณ 2011 ซึ่งน่าจะมีการเร่งรัดการใช้งบประมาณในช่วง 2H12 หลังจากที่มีการประมูลและเบิกจ่ายงบล่าช้าในช่วง 1H12

โดยเฉพาะงานโครงการของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีโครงการที่ต้องลงทุนทั้งการขนส่งทางบก (โครงการมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 3 หมื่นล้านบาท) การขนส่งทางน้ำ (โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มูลค่า 7 พันล้านบาท) การขนส่งทางอากาศ (โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 งบลงทุน 62,503 ล้านบาท โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต งบ 5,791 ล้านบาท) การขนส่งทางราง (รถไฟฟ้า 10 สายทาง มูลค่า 7.8 แสนล้านบาท รถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทาง มูลค่า 6 แสนล้านบาท และรถไฟฟ้าทางคู่ 6 เส้นทาง มูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาท) มูลค่าลงทุนรวมเฉลี่ยปีละประมาณ 2 แสนล้านบาทระยะ 5 ปีข้างหน้า


*** ให้ STEC เป็น Top Pick ของกลุ่ม

บล.ฟินันเซียไซรัสเปิดเผยถึง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ว่าแนวโน้มรายได้ก่อสร้างน่าจะเพิ่มจาก 1Q12 เพราะจะเร่งการก่อสร้างได้เต็มที่มากขึ้นหลังจากชะลอไปจากประเด็นน้ำท่วม อัตรากำไรขั้นต้นน่าจะรักษาระดับได้ประมาณ 8%-9% แต่จะมีอัตราภาษีจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 23% เพราะใช้ Tax loss carry forward หมดไปแล้วใน 1Q12 ซึ่งมีอัตราภาษีจ่ายเพียง 6.3% ทำให้คาดว่ากำไร 2Q12 จะอ่อนลง Q-Q แต่หากเทียบ Y-Y กำไรจะยังเพิ่มขึ้น เพราะมีรายได้จากงานก่อสร้างสูงขึ้นจาก 2Q11

มีแนวโน้มได้เซ็นสัญญางานรถไฟฟ้าสายสีแดง สัญญาที่ 1 ต้นก.ค.นี้ หลังจากที่กลุ่มกิจการค้าร่วม SU (STEC ถือหุ้น 60% และ UNIQ 40%) ยอมปรับลดราคาลงเป็น 29,826 ล้านบาท จากเดิมที่ 31,170 ล้านบาท ซึ่งรฟท.จะนำเรื่องเข้าเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในสัปดาห์หน้า (3 ก.ค.)

Backlog สิ้น 1Q12 อยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท รองรับรายได้ 3 ปีข้างหน้า และหากได้เซ็นสัญญางานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 1 จะมี Backlog เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้น 60% อีก 17,896 ล้านบาท โดยมูลค่างานใน Backlog จะเป็นงานโครงสร้างพื้นฐาน (ส่วนใหญ่เป็นรถไฟฟ้า) สัดส่วน 57% งานโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม 41% และงานอาคาร 2% โดยให้ราคาเป้าหมายปี 2012 ของ STEC ที่ 15.30 บาท อิง PBV ที่ 2.5 เท่า แนะนำ “ซื้อ”


*** CK รอรับรู้กำไรหลายโครงการ แนะ "ซื้อ"

บล.ฟินันเซียไซรัส เปิดเผยถึง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)หรือ CK ว่าแนวโน้มกำไร 2Q12 น่าจะยังเป็นบวกต่อจาก 1Q12 เพราะรับรู้รายได้จากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า SPP และโครงการไซยะบุรีต่อเนื่อง และมีกำไรพิเศษจากการขายโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ของบจ.บางเขนชัย (กำลังการผลิต 8 MW ถือหุ้น 100%) และนครราชสิมา โซล่าร์ (กำลังการผลิต 6 MW ถือหุ้น 30%) ให้กับซีเค พาวเวอร์ (CKP) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของ CK (CK ถือ 38%) คาดว่า CK จะบันทึกกำไรจากขายเงินลงทุนหลังหักภาษีจากการขายทั้งสองบริษัทนี้ประมาณ 135 ล้านบาท คิดเป็น 0.08 บาท/หุ้น

Backlog 1Q12 อยู่ระดับ 1.1 แสนล้านบาท (รวมโครงการไซยะบุรี 7.6 หมื่นล้านบาท) และมีงานรอเซ็นสัญญาในปีนี้ คือ 1) งานก่อสร้างทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครให้กับ BECL มูลค่า 2.25 หมื่นล้านบาท และ 2) งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าบางปะอินโคเจนเนอเรชั่น เฟส 2 มูลค่า 5 พันล้านบาท ซึ่งหากรวมสองโครงการนี้ จะทำให้มี Backlog เพิ่มขึ้นเป็น 1.37 แสนล้านบาท รับรู้ไประยะ 2-8 ปีข้างหน้า

บริษัทเตรียมนำซีเคพาวเวอร์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ช่วงปลายปี 12 โดย CK ถือหุ้นอยู่ในซีเค พาวเวอร์ (CKP) สัดส่วน 38% ซึ่ง CKP เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ถือหุ้นในธุรกิจพลังงาน ปัจจุบันถือหุ้น 54.67% ในบจ.เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี (ซึ่งถือใน บจ.โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 สัดส่วน 75%) โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ของบจ.บางเขนชัย (กำลังการผลิต 8 MW ถือหุ้น 100%) และนครราชสิมา โซล่าร์ (กำลังการผลิต 6 MW ถือหุ้น 30%) ซึ่ง CK มีแผนจะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน CKP ลงหลังจาก CKP เข้าตลาดฯ และเงินที่ได้จากการขายหุ้นจะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจต่อไป โดยให้ราคาเป้าหมาย CK ปี 2012 ที่ 8.80 บาท จากวิธี Sum of the parts แนะนำ “ซื้อ”


*** ITD มีเรื่องเพิ่มทุนกดดัน แต่หากคุมค่าใช้จ่ายได้ งบ Q2 มีลุ้นบวก

บล.ฟินันเซียไซรัส ว่า บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ขณะนี้มี Backlog ณ 5 มิ.ย.12 อยู่ที่ 2.27 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1) งานที่ทำอยู่ในและต่างประเทศประมาณ 1.12 แสนล้านบาท 2) งานที่เซ็นสัญญาในปี 2012 (1 เม.ย.- 5 มิ.ย.) 5.2 พันล้านบาท และ 3) งานที่ประมูลได้แล้วรอลงนาม 1.15 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีงานที่เสนอราคาต่ำสุด/อยู่ระหว่างเจรจาอีก 4.4 หมื่นล้านบาทมีแผนเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายงาน บริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) จำนวน 1,677 ล้านหุ้น (ผู้ถือหุ้นเดิม 1,258 ล้านหุ้นและเสนอบุคคลในวงจำกัด 419 ล้านหุ้น) วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องทางการเงิน และเพิ่มศักยภาพในการทำงานโครงการ เช่น นิคมทวายที่พม่า เหมืองแร่โปแตช และเหมืองแร่อลูมิเนียม เป็นต้น และลด Net D/E ที่สิ้น 1Q12 อยู่สูงถึง 3.18X แต่ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาแน่นอนในการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนว่าจะเพิ่มทุนเมื่อใดและจัดสรรครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ซึ่งกรณีเพิ่มทุนทั้งจำนวนจะทำให้เกิด EPS Dilution 29%

แนวโน้มผลประกอบการเริ่มดีขึ้นบ้าง แม้จะยังติดลบใน 1Q12 แต่ก็มีโอกาสที่จะเป็นบวกได้ในไตรมาสถัดไป หากยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี แต่ประเด็นการเพิ่มทุนจะเป็นสิ่งที่กดดันราคาหุ้นอยู่ จึงแนะนำเป็นการเล่นเก็งกำไรเป็นระยะตามประเด็นข่าวการประมูลงานต่างๆ เท่านั้น : ราคาเป้าหมายปี 2012 ที่ 4.30 บาท อิง PBV ที่ 2 เท่า แนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” ตามข่าวการประมูล


ที่มา : http://www.efinancethai.com/hotnews/hot ... &release=y
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 92

โพสต์

จี้เปิดประมูล "มักกะสัน คอมเพล็กซ์" ต.ค.นี้ หลัง รฟท.อืด! เสียโอกาสโกยรายได้ถึง 8 ปี [ ไทยรัฐ, 3 ก.ค. 55 ]

พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่ง
ประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้สั่งการให้ รฟท. เร่งดำเนินการในโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านมักกะสัน หรือ
มักกะสัน คอมเพล็กซ์ เนื้อที่กว่า 497 ไร่ โดยตั้งเป้าหมายให้เปิดประกวดราคาแบบนานาชาติ ภายในเดือน
ต.ค.นี้ เบื้องต้นจะเปิดให้เอกชนรายเดียวเข้ามาพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด เพราะต้องการให้โครงสร้างพื้นฐาน
เชื่อมโยงกัน และรูปแบบอาคารต้องเป็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่แนวทางการดำเนินงานจะต้องเป็นไป
ตาม พ.ร.บ.ว่า ด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานและดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ค. 2535 "รฟท.ได้
ศึกษาโครงการนี้มานานกว่า 8 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ ทำให้เสียโอกาส ในการ
สร้างประโยชน์ จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีมูลค่า ประมาณ 40,000
ล้านบาท และต้องใช้เงินลงทุน ในการพัฒนากว่า 300,000 ล้านบาท โดยจะสร้างเป็นโรงแรม ปัจจุบันมี
นักลงทุนต่างชาติ จากจีน เกาหลี และตะวันออกกลาง สนใจสอบถามแล้ว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 93

โพสต์

หุ้นส่วนพม่าทิ้งทวาย ITD วิ่งวุ่นหาทุนญี่ปุ่น [ ข่าวหุ้น, 6 ก.ค. 55 ]

ITD เคว้ง! เร่งหาพันธมิตรรายใหม่ร่วมทุนโครงการทวายในพม่า หลังกลุ่ม "แม็กซ์ เมียนมาร์
กรุ๊ป" ที่ถือหุ้น 25% ถอนตัว เตรียมบินคุยญี่ปุ่นสัปดาห์หน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 94

โพสต์

"คมนาคม" เล็งใช้ระบบสากล กันผูกขาดรถไฟความเร็วสูง [ ข่าวหุ้น, 6 ก.ค. 55 ]

"คมนาคม" เล็งใช้ระบบอาณัติสัญญาณสากลป้องกันปัญหาผูกขาด 4 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เร่ง
ความชัดเจนองค์กรจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทลูกภายใต้การกำกับดูแลของร.ฟ.ท. คาดลงนามปีหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 95

โพสต์

รัฐเทงบจัดการน้ำ 3.5 แสนล. 'CK-ITD-STEC' เฮรับทรัพย์ [ ทันหุ้น, 10 ก.ค. 55 ]

กลุ่มรับเหมาดี๊ด๊า 3 ยักษ์ใหญ่ "CK-ITD-STEC" รับอานิสงส์งบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มูลค่า
3.5 แสนล้านบาท ดาวเด่น "CK" หลังงานก่อสร้างสาธารณูปโภค และเขื่อนตรงจุดให้ราคาเป้าหมาย
9.15 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 96

โพสต์

ชี้จัดซื้อจัดจ้างจ่ายใต้โต๊ะ50% [ เดลินิวส์, 10 ก.ค. 55 ]

น.ส.สมทรง สัจจาภิมุข กรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงาน
เสวนา จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ขณะนี้พบข้อมูลว่าอัตราการ
เรียกรับสินบนเพิ่มขึ้นมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และบางโครงการมีการเรียกรับสูงถึง 50% ของวงเงินงบ
ประมาณ ส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นในโครงการที่การประมูลจัดซื้อจัดจ้างแบบวิธีพิเศษ เพราะไม่สามารถเข้าถึง
การตรวจสอบเอกสารและตัวบุคคลได้ อีกทั้งยังสืบหาผู้บงการได้ลำบากเพราะส่วนใหญ่เป็นการสั่ง
ด้วยปากเปล่า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 97

โพสต์

3ยักษ์รับเหมาลุ้นโกยงบลงทุนน้ำ งานเพิ่ม-ยุติแข่งดุลดราคาชีฟโก้ได้งานรถไฟฟ้าปีนี้กำไร [ โพสต์ทูเดย์, 11 ก.ค. 55 ]

ธุรกิจรับเหมาเฮ! งบน้ำ 3 แสนล้าน คว้างานใหม่ถ้วนหน้า ได้กำไรสูงสงครามหั่นราคายุติด้าน
ชีฟโก้รับงานสายสีเขียวทั้งปีโชว์กำไร

นายสุรชัย ประมวลเจริญกิจ นักวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า ผลจากการที่รัฐบาลประกาศงบลง
ทุนเกี่ยวกับบริหารจัดการน้ำวงเงินกว่า 3 แสนล้านบาท และใช้วิธีพิเศษในการประมูลนั้น จะส่งผลให้ธุรกิจ
กลุ่มรับเหมาก่อสร้างมีงานใหม่เข้ามาเพิ่มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการนี้เชื่อว่าจะส่งผลดีกับ 3 ยักษ์ธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างของไทย ทั้ง บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ช.การช่าง (CK) ชิโน-ไทย
เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ที่มีโอกาสที่จะได้รับงานทุกราย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 98

โพสต์

ก่อสร้างครวญแรงงานขาดแสนคน จี้รัฐแก้กฎหมาย-เปิดช่องนำเข้าต่างด้าวทดแทน [ ข่าวสด, 11 ก.ค. 55 ]

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันก่อสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
สถานการณ์การก่อสร้างของไทยในปี 2555 คาดว่าจะมีมูลค่า 9.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%
จากปี 2554 ที่มีมูลค่า 8.09 แสนล้านบาท ถ้าไม่เกิดน้ำท่วมหรือมีวิกฤตทางการเมือง เนื่องจาก
การก่อสร้างในประเทศอั้นมานานหลายปี และในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนระบบโครงสร้าง
พื้นฐานของรัฐหยุดไปนาน ปีนี้จึงมีการลงทุนค่อนข้างมาก เช่น รถไฟฟ้า โครงการขนาดใหญ่
เรื่องน้ำของรัฐ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 99

โพสต์

คมนาคมไล่บี้มอเตอร์เวย์แสนล้าน "บางปะอิน-โคราช/บางใหญ่-กาญจนบุรี" ไม่เกินเดือนเข้าครม. [ ข่าวหุ้น, 13 ก.ค. 55 ]

"คมนาคม" เร่งมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 1.14 แสนล้านบาท
พร้อมชงครม.ภายใน ส.ค.นี้ คาดเปิดประกวดราคาปลายปี 2555 เน้นผู้รับเหมาไทย ย้ำไม่ใช่รายเดียว
หวังเสร็จภายใน 4 ปี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 100

โพสต์

สนข.ชงแผนลงทุน8ปี1.9ล้านล้านโหมสร้างรางมากสุดถึง1.2ล้านล. [ มติชน, 17 ก.ค. 55 ]

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
เปิดเผยว่า จากที่กรณีกระทรวงการคลังเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงินฉบับใหม่วงเงิน 1.6 ล้านล้าน
บาท รวมแล้วไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางอาเซียนนั้น สนข.ได้ส่งกรอบ
แผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งให้กระทรวงคมนาคมแล้ว โดยเป็นแผน
ลงทุน 8 ปี คือ ปี 2556-2563 วงเงิน 1,990,608.88 ล้านบาท รวม 55 โครงการ ประกอบด้วย
สาขาการขนส่งทางถนน 479,122.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.07 สาขาการขนส่งราง
1,288,034.96 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.71 สาขาการขนส่งทางน้ำ 128,959.82 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 6.48 และสาขาการขนส่งทางอากาศ 94,492 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 4.75
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 101

โพสต์

คลังจ่อผุดกองทุนยักษ์ ระดมทุน 7 หมื่นล้านสร้างมอเตอร์เวย์ [ ไทยรัฐ, 26 ก.ค. 55 ]

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภายในปีนี้
กระทรวงการคลังจะเสนอ ให้กรมทางหลวงออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินเบื้องต้น 69,000 ล้าน
บาท เพื่อลงทุนก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) เส้นทางบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง
196 กิโลเมตร โดยเสนอขายให้แก่ประชาชนและนักลงทุนที่สนใจ ซึ่งขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างการศึกษา
โครงการร่วมกับกรมทางหลวงเพื่อพิจารณาวงเงินและความจำเป็นในการก่อสร้างที่จะเริ่มต้นจากบางปะอิน
ไปถึงสระบุรีก่อน หรือต้องการลงทุนก่อสร้างในครั้งเดียวตลอดสาย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 102

โพสต์

จัดระเบียบผู้รับเหมา! [ ไทยรัฐ, 31 ก.ค. 55 ]

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันการ
ก่อสร้างฯ อยู่ระหว่างจัดมาตรฐานฝีมือแรงงานภาคก่อสร้างและมาตรฐานวิสาหกิจก่อสร้าง เพื่อยกระดับ
พัฒนาคุณภาพการทำงานของผู้รับเหมาที่ปัจจุบันจดทะเบียน 50,000 ราย ให้เป็นที่ยอมรับรวมถึงแก้ปัญหา
การทิ้งงานของผู้รับเหมา การใช้วัสดุคุณภาพต่ำ และการปรับตัวของผู้รับเหมาให้ก้าวสู่การเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 103

โพสต์

20 รับเหมา สนก่อสร้าง ดิเอนเนอร์จี้ [ โพสต์ทูเดย์, 5 ก.ย. 55 ]

บ้านราชประสงค์โว 20 รับเหมารุมประมูลสร้าง ดิ เอนเนอร์จี้ หัวหิน 2.1 หมื่นล้านบาทพร้อมลุย
เปิดเฟส 2

นายมณเฑียร อินทร์น้อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบ้านราชประสงค์ เปิดเผยว่า ขณะนี้
โครงการดิ เอนเนอร์จี้ หัวหิน ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างเปิดประมูลราคาก่อสร้างกับ
ผู้รับเหมาโดยมีผู้รับเหมาสนใจเข้าร่วมยื่นซองประมูลแล้วประมาณ 20 ราย โดยบริษัทจะคัดเลือก 5-6 ราย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 104

โพสต์

34 บริษัทไทย-เทศชิงดำงบ 3.5 แสนล้านบาท วางกรอบแก้น้ำท่วม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กันยายน 2555 14:48 น.


“ชัชชาติ” เผย 34 บริษัทไทย-เทศร่วมลงชิงดำวางกรอบแก้น้ำท่วม 3.5 แสนล้าน สัปดาห์หน้าได้ชื่อล็อตแรก ให้ 60 วันทำแผนส่ง ก่อนสอบสัมภาษณ์ปลายปี เล็งชงเข้า ครม.เดือน เม.ย.ปีหน้า ยันโปร่งใสไม่มีล็อกสเปก

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เปิดเผยจำนวนบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมคัดเลือกจัดทำกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบป้องกันอุทกภัยของประเทศไทย วงเงินงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาทแถลงว่า มีผู้สนใจยื่นคุณสมบัติเบื้องต้นทั้งสิ้น 34 ราย โดยแบ่งเป็น 1. บริษัทต่างชาติอย่างเดียว 7 ราย แบ่งเป็นยื่นเดี่ยว 7 ราย และบริษัทค้าร่วม (Consortium) 2 ราย 2. บริษัทไทยอย่างเดียว 11 ราย แบ่งเป็นยื่นเดี่ยว 9 ราย และบริษัทร่วมค้า (Joint Venture) 2 ราย และ 3. บริษัทไทยร่วมกับต่างชาติ 16 ราย แบ่งเป็นบริษัทค้าร่วม (Consortium) 2 ราย แบ่งเป็นบริษัทยื่นค้าร่วม (Consortium) 13 ราย และบริษัทยื่นร่วมค้า (Joint Venture) 3 ราย

นายชัชชาติกล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือกจะมีการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติตามทีโออาร์ และจะมีการชี้แจงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาคัดเลือกและเปิดโอกาสให้ชี้แจงในวันที่ 20 ก.ย. 55 จากนั้นในวันที่ 21 ก.ย. 55 จะมีการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ กรณีรายผู้ไม่ผ่านคุณสมบัติทีโออาร์ได้ยื่นร้องอุทธรณ์สิทธิ์และชี้แจงเพิ่มเติมภายใน 2 วัน ก่อนที่ในวันที่ 24 ก.ย. 55 จะแจ้งผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างเป็นทางการ ถัดจากนั้นจะให้เวลาบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติ 60 วัน เตรียมการเรื่อง Conceptual Plan (พร้อมราคา เวลา เทคนิค) และยื่นในวันที่ 24 พ.ย. 55

รมช.คมนาคมกล่าวว่า หลังจากยื่นกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) แล้วเสร็จ ทางคณะกรรมการจะนัดสัมภาษณ์บริษัททุกรายในวันที่ 28 ธ.ค. 55 และจะประกาศผลการคัดเลือก Short list กลุ่มละ 3 ราย ในวันที่ 31 ม.ค. 56 จากนั้นจะให้มีการยื่นข้อเสนอด้านราคาและเทคนิค ทั้งนี้ สำหรับการคัดเลือกสุดท้ายจะมีในวันที่ 15 มี.ค. 56 แล้วจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติผลการคัดเลือกได้ในวันที่ 16 เม.ย. 56

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการล็อกสเปกบริษัทไว้หมดแล้ว นายชัชชาติตอบว่า โปรง่ใสทุกขึ้นตอน จะไปล็อกสเปกอย่างไร เพราะกรรมการทุกคนก็มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนั้นขอยืนยันว่าไม่มีการล็อกสเปกอย่างแน่นอน เราจะดูตามเนื้อผ้าทุกอย่าง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 105

โพสต์

เปิดเกณฑ์ร่างทีโออาร์ ออกแบบจัดการน้ำยั่งยืน
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:21:07 น.


หมายเหตุ - ร่างทีโออาร์ หรือรายละเอียดในการเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดให้เอกชนมารับร่างทีโออาร์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา

1.เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์

เนื่องจากทรัพยากรน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน รวมทั้งการรักษาระบบนิเวศของประเทศ แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากสภาวะโลกร้อนในช่วงที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายและร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก และต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งธนาคารโลกได้ประเมินมูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติกว่า 1.44 ล้านล้านบาท

รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจึงได้ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาแล้ว เห็นว่าปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย คือ พื้นที่ต้นน้ำมีสภาพเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเนื่องจากการลักลอบบุกรุกแผ้วถางป่าต้นน้ำ

ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาพรวมขาดความเป็นเอกภาพและไม่มีองค์กรที่มีอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาพรวมอย่างเบ็ดเสร็จ ไม่มีแผนหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระยะยาว ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไม่มีทิศทางที่ชัดเจน จากการดำเนินงานและงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการน้ำยังไม่เป็นเอกภาพและไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป กฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไม่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในสถานการณ์ปัจจุบัน

เพื่อแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ รัฐบาลจึงได้ทำแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนขึ้น ทั้งแผนระยะเร่งด่วนและระยะยาวเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศโดยทั่วถึงและเท่าเทียมกันและเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งร้ายแรงขึ้นอีกในอนาคต

โดยรัฐบาลได้น้อมรับหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนตามกระแสพระราชดำริ 7 ซึ่งก็คือ การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างป่า ดินและน้ำ

ภูมิสังคม การรักษาความมั่นคงทางน้ำ น้ำต้องมีอยู่ การระบายน้ำและการเก็บกักน้ำต้องสอดประสานกัน การพัฒนาระบบพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ มาเป็นหลักสำคัญในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยแผนแม่บทดังกล่าวแบ่งออกเป็นการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำหลัก ซึ่งมีลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นหลัก ขณะที่ลุ่มน้ำรอง เป็นการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำอื่น

โดยแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฝนลุ่มน้ำเจ้าพระยานั้นถือว่ามีความสำคัญในลำดับแรก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในปี 2554 มากที่สุด โดยพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน พื้นที่รวม 157,925 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวม 25 ล้านคน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี และมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย 33,132 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่กลอง ป่าสัก สะแกกรัง และท่าจีน

พื้นที่ตอนเหนือมีความสามารถในการกักเก็บน้ำรวม 25,773 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ตอนล่างมีความสามารถในการเก็บกับรวม 2,124 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีความสามารถในการรองรับน้ำในลำน้ำได้ประมาณ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยไม่เอ่อล้มท่วมพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำ

แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้ประกอบด้วย 8 แผนงาน คือ แผนงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและระบบนิเวศ แผนการจัดการบริหารน้ำประจำปีของประเทศของอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แผนงานฟื้นฟูและปรับปรุงประสิทธิภาพสิ่งก่อสร้างเดิมหรือตามแผนที่วางไว้ แผนงานพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และเตือนภัย แผนงานเผชิญเหตุฉุกเฉินเฉพาะพื้นที่ แผนงานกำหนดพื้นที่รับน้ำนองและมาตรการเยียวยา แผนงานปรับปรุงองค์กรเพื่อบริหารจัดการน้ำ และแผนงานสร้างความเข้าใจ การยอมรับ และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทกภัยขนาดใหญ่ของทุกภาคส่วน

ส่วนแผนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำอื่นนั้น จะดำเนินการในพื้นที่ 17 ลุ่มน้ำของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ประกอบด้วย 6 แผนงาน คือ แผนงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าและดิน แผนงานสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ แผนงานจัดทำผังการใช้ที่ดิน แผนงานปรับปรุงสภาพทางน้ำสายหลักและคันดินริมตลิ่ง แผนงานปรับปรุงคลังข้อมูลระบบพยากรณ์ และการเตือนภัยและแผนบริหารจัดการและเยียวยา

เพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทที่วางไว้ รัฐบาลไทยจึงเชิญชวนผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และผลงานในการออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเสนอกรอบแนวคิด เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เพื่อที่รัฐบาลไทยจะนำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดรายละเอียดของระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยตามความเหมาะสมต่อไป

2.คุณสมบัติของผู้ที่ยื่นข้อเสนอ

จะต้องเป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มนิติบุคคลในลักษณะที่ปรึกษาหรือคอนซอร์เทียม (Consortium) หรือร่วมทุน (Joint Vemture) ก็ได้ โดยหากเป็นนิติบุคคลที่ยื่นหรือร่วมยื่นข้อเสนอเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศต้องมีหนังสือรับรองสถานะความเป็นนิติบุคคลของสถานทูตที่นิติบุคคลนั้นจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาแสดงเพื่อประกอบการพิจารณา และหากผู้ยื่นส่วนหนึ่งเป็นนิติบุคคลไทยด้วยก็ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย

ผู้ที่ยื่นข้อเสนอจะต้องเคยมีผลงานด้านการออกแบบระบบการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างระบบป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งในช่วงระหว่างปี 2545-2555 ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ มูลค่าการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท

ส่วนผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มของนิติบุคคลในลักษณะคอนซอร์เทียม หรือร่วมทุนนั้นมูลค่างานดังกล่าวให้นับรวมผลงานของแต่ละนิติบุคคลเข้าด้วยกัน แต่ผลงานที่จะนำมานับรวมเข้าด้วยกันนั้นต้องมีมูลค่าการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าผลงานละ 2,000 ล้านบาท และผลงานจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานทูตที่นิติบุคคลผู้เสนอผลงานได้นั้นจดทะเบียนจัดตั้งมาประกอบการพิจารณาด้วย และหากเป็นนิติบุคคลไทย ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานเจ้าของโครงการมาแสดงประกอบการพิจารณาด้วย

3.รายละเอียดของข้อเสนอ

ต้องจัดทำข้อเสนอเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับบทสรุปของผู้บริหาร รายงานหลักที่แสดงให้เห็นถึงกรอบแนวคิดในการออกแบบระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยในลุ่มน้ำที่เสนอ กรอบแนวคิดจะต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนที่รัฐบาลไทยจัดทำขึ้น และต้องวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากสภาวะโลก

ร้อน รวมทั้งจะต้องแสดงให้เห็นว่าโครงการมีบทบาท ความสามารถและศักยภาพในการเก็บน้ำ การชะลอน้ำและการระบายน้ำอย่างไรและสัมพันธ์กับโครงการอื่นๆ อย่างไร และปริมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด ต้องเสนอรูปแบบการลงทุน การดำเนินงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ รวมทั้งจะต้องเสนอแหล่งเงินทุนและวิธีจ่ายคืนในส่วนงบประมาณที่จะเพิ่มเติมให้ชัดเจน

4.วิธีการยื่นข้อเสนอ

ผู้ที่สนใจสามารถส่งเอกสารลงทะเบียนทางไปรษณีย์ หรือมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ยื่นข้อเสนอด้วยตนเองต่อเลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ ส่วนวัน เวลา ที่กำหนดยื่นข้อเสนอจะมีการประกาศอีกครั้งในภายหลัง

5.การพิจารณาข้อเสนอ

จะพิจารณาผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย โดยดูจากข้อเสนอด้านเทคนิคและเอกสารคำชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 10 วัน นับจากการชี้แจงด้วยวาจา หากพ้นกำหนดก็จะไม่พิจารณาข้อเสนอ และสุดท้ายจะพิจารณาว่าข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอรายใดสอดคล้องกับแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของรัฐบาลไทยมากที่สุด

6.การประกาศผลการพิจารณา

รัฐบาลไทยจะคัดเลือกผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนแม่บทสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของรัฐบาลไทยมากที่สุด และจะประกาศรายชื่อผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวต่อสาธารณชนเพื่อทราบหลังการสิ้นสุดกระทบการคัดเลือก


(ที่มา:มติชนรายวัน 10 ก.ค.2555)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 106

โพสต์

'ชัชชาติ'เผย34รายยื่นเสนอกรอบแนวคิดออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2012 เวลา 14:43 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ


ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (17 ก.ย.) บริเวณชั้นล่างของอาคารที่ทำการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(สบอช.) หรือตึกแดง1 มีการตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ” โดยมีตัวแทนจาก 17 หน่วยงาน ร่วมทำงานเพื่อติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัย

จากนั้นนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกคณะกรรมการนโยบายน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กนอช.) แถลงที่อาคารที่ทำการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(สบอช.) สรุปรายชื่อผู้มายื่นคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าเสนอกรอบแนวคิด(Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ในวันที่ 24 ก.ย. 2555 ที่ชั้น2 ตึกแดง1 ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 08.30-16.30 น. ปรากฏว่ามีผู้สนใจมายื่นคุณสมบุติเบื้องต้นของผู้เสนอกรอบแนวคิดจำนวนทั้งสิ้น 34 ราย

จำแนกได้ดังนี้ 1.บริษัทต่างชาติอย่างเดียว 7 ราย สนใจยื่นเดี่ยวจำนวน5ราย ยื่นค้าร่วม (Consortium) 2ราย 2.บริษัทไทยอย่างเดียว 11ราย สนใจยื่นเดี่ยว 9ราย ยื่นร่วมค้า (Joint Venture) 2ราย 3.บริษัทไทยร่วมกับต่างชาติจำนวน 16 ราย ยื่นค้าร่วม 13ราย ยื่นร่วมค้า 3ราย

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคัดเลือกคุณสมบัติที่มีนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เป็นประธานอนุกรรมการฯ จะตรวจสอบคุณสมบัติ 34 บริษัท และในวันที่ 20 ก.ย. นี้จะประกาศบริษัทที่ผ่านการคัดเลือก และชี้แจงว่าขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการอย่างไร และวันที่ 24 ก.ย.จะแจ้งผลผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น(PQ)



1.บริษัทต่างชาติอย่างเดียว 7 ราย แบ่งเป็น

1.1- ยื่นเดี่ยว 5 ราย คือ
1.บริษัท วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น(เค-วอเตอร์) จากเกาหลีใต้
2.China CAMC Engineering Co,LTD. จากจีน
3.เบนท์ โคเรีย จำกัด มหาชน จากเกาหลีใต้
4.China Hyway Group Limited จากฮ่องกง
5.China Northeast Municipal Engineering Design and Research Insitute จากจีน

1.2 ยื่น Consortium 2 ราย คือ
6.Singapore Consortium จากสิงคโปร์ ประกอบด้วย
-Rotary Engineering limited in association with Metax Engineering Corporation Limited
-DHI Water & Environment(S) Pte Ltd.
-Penta-Ocean Construction Ltd./Civil tech Pte Ltd.
-Hitachi asia Ltd.
-NIRAS
-Camp Dresser & Mckee International(S) Pte.Ltd.
-Surbana Consultants
7. - GuangDong Hydropower Planing & Design Institute
- GuangDong No.2 Hydropower Engineering Burean Co.,Ltd. จากประเทศจีน

2.บริษัทไทยอย่างเดียว 11 ราย แบ่งเป็น
2.1 ยื่นเดี่ยว 9 ราย คือ
8.บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด
9.ซันยู คอนซัลแตนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
10.บริษัท เซ้าท์อี๊สท์ เอเชีย เทคโนโลยี
11.บริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง
12.บริษัท ส.มีสุข จำกัด
13.บริษัท เลิศไตรจักร จำกัด
14.บริษัท โป่งผาลาย จำกัด
15.บริษัท ที.แอล.พี.คอนสตรัคชั่น จำกัด
16.บริษัท ยูไนเต็ด บิสซินิส โซลูชั่นส์ จำกัด
2.2 ยื่น Joint Venture 2 ราย
17. กิจการร่วมค่า ซัมมิท เอสยูที ประกอบด้วย
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์
- บริษัท เอส.เค.วาย.คอนสตรัคชั่น จำกัด
- บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด
18. กิจการร่วมค้า ทีมไทยแลนด์ ประกอบด้วย
- บมจ. ช.การช่าง (CK)
- บริษัท ช.การช่าง(ลาว) จำกัด
- บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
- บมจ. คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) หรือ CNT
- บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด
- เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด
- บริษัท ทิพากร จำกัด
- บริษัท โรจน์สินก่อสร้าง จำกัด

3.บริษัทไทยร่วมกับต่างชาติ 16 ราย แบ่งเป็น
3.1 ยื่น Consortium 13 ราย คือ
19. กลุ่มบริษัทค้าร่วม ล็อกซเล่ย์ จากไทย-อเมริกา ประกอบด้วย
- บมจ. ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY)
- เอีที อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็มบีเอช
20. กลุ่มร่วมค้า SINO-FIFTH จากไทย-จีน ประกอบด้วย
- บริษัท ฟิฟท์ ปิโตรเลียม(ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท Sino Hydro Corporation จำกัด
21. บริษัทร่วมค้า Consorium จากไทย-จีน ประกอบด้วย
- บริษัท ไทยเซอร์คอม ซิสเท็มส์ จำกัด
- บริษัท ไตร-เทค (ปักกิ่ง) จำกัด
- สำนักงานวิศวกรรมอนุรักษ์น้ำเหอหนานแห่งที่หนึ่ง
22. - บริษัท เอสวี ลิสซิ่ง จำกัด
- บริษัท ไชน่า ชุ่นชวน บิลดิ้ง(ประเทศไท) จำกัด
- China Jlangxi Corporation for International Economic and Technical Cooperation
- บริษัท Shanghai Samwei Project Management and Consultation Co.,Ltd.
23. กิจการร่วมค้า ไทย-ญี่ปุ่น
- บริษัท ซีทีไอ เอ็นจิเนียริ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท โอบายาชิ คอร์ปอเรชั่น
- บริษัท ไทเซอิ คอร์ปอเรชั่น
- บริษัท คาจิมา คอร์ปอเรชั่น
- บริษัท ชิมิซี คอร์ปอเรชั่น
- บริษัท ซีทีไอ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- บริษัท ซันยู คอนซัลแตนท์ส อินคอร์ปอเรชั่น
- บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแตนท์ส จำกัด
- บริษัท ยาชิโย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- องค์กรบริหารจัดการน้ำประเทศญี่ปุ่น
- บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
24 กิจการร่วมค้าไทย+เกาหลี
- บริษัท ทีเค เวอร์เทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- Ssang Yong Engineering & Construction Co.,Ltd.
- Posco Engineering Co., Ltd
- Dongil Engineering & Construction Co.,Ltd.
- Seo Young Engineering Co.,Ltd.
- Hanwha Corporation
- I Controls Inc.
25 กิจการร่วมค้าไทย+อิสราเอล
กลุ่มบริษัทร่วมค้า แมกโกรอัท-เมอฮาฟ-ทีอาร์ซี
- กลุ่มบมจ. ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC)
- กลุ่มบริษัท เมกโกรอท
- กลุ่มบริษัทเมอฮาฟ
26 กิจการร่วมค้า ไทย+เนเธอร์แลนด์+อังกฤษ+จีน+เกาหลี
Thai Water Management Group (TWM Group)
- หจก.สุรินทร์เฮอริเทจ
- บริษัท แอตแลนติค เอนจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- T.I.C. Holding Co.,Ltd
- บริษัท เอ-เซเว่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- บริษัท ที่ปรึกษาคีน จำกัด
- บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด
- The Netherlands Organisation for Applied Scientific Research (TNO)
- HR Wallingford
- China Water Resources Beifang Investigation, Design and Research Co., Ltd.
- Hanshin Engineering & Construction Co., Ltd.
27 กิจการร่วมค้าไทย+เกาหลี
Consortium TKC Global
- Pyung Hwa Engineering & Consultants Co.,Ltd.
- Dong Ho Co., Ltd.
- Soosung engineering Co., Ltd.
- Sunjin Engineering & Architecture Co.,Ltd.
- Hyundai Architects and Engineers Associates Co., Ltd
- Woongjin Coway Co.,Ltd.
- บริษัท ไทยเอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
- บริษัท ร้อจ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
- บริษัท โปรเฟชชั่นแนล โปรเจคท์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด
- บริษัท โลตัสพาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด
28 กิจการร่วมค้าไทย+ไต้หวัน
- บริษัท เรืองอำนาจพัชรเดช จำกัด
- บริษัท หงษ์ฮัว คอนสตรัคชั่น จำกัด
29 กิจการร่วมค้าไทย+จีน
Hydro Thai
- บริษัท แทรคเทเบล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- China Machinery Engineering Corporation
- หจก.เทพมงคลสุโขทัย 2531
- บริษัท เสรีการโยธา จำกัด
- บริษัท เชนี่ เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
- บริษัท เอเซีย คอนซัลแตนท์ จำกัด
30 กิจการร่วมค้าไทย+อิสราเอล+เนเธอร์แลนด์
WATER SIAM
- ทาฮาล กรุ๊ป
- วิทวิน บอส
- บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979)
- บริษัท สยาม-เอเชีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท วี.พี.เอส.ดีไซน์ แอนด์ ดีเวลล้อปเม้นท์ จำกัด
- บริษัท เยนเติลแมน อาคีเตคเจอร์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง 1945 จำกัด
31 กิจการร่วมค้าไทย+เกาหลี
- บริษัท รุ้งเอกราช เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- บริษัท ดองแฮ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนซัลแตนท์
3.2 ยื่น Joint Venture จำนวน 3 ราย
32 กิจการร่วมค้าไทย+จีน
กิจการร่วมค้า พาวเวอร์ ลิงค์ พีอาร์พีเอสดีซี
- บริษัท พาวเวอร์ ลิงค์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- บริษัท ไชน่า วอทเตอร์ รีซอรส์ เพิรล์ ริเวอร์ แพลนนิ่ง เซอเวย์ยิ่ง แอนด์ ดีไซน์นิ่ง จำกัด
33 กิจการร่วมค้าไทย+จีน
ITD-POWERCHINA JV
- บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)
- บริษัท พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น ออฟ ไชน่า
- บริษัท ไชน่า เก๋อโจวบ๋า กรุ๊ป จำกัด
- บริษัท ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล วอเตอร์ แอนด์ พาวเวอร์ คอร์เปอเรชั่น
- บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด
34 กิจการร่วมค้าไทย+จีน
PKQTC joint venture
- บริษัท ปริ้นว์ อินเตอร์มารีน จำกัด
- หจก.กองมณี ก่อสร้าง
- บริษัท คิวเอเชีย เอนเนอร์จี่ จำกัด
- Chang Ju Construction Co.,Ltd.
- POSCO E&C Co., LTD.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 107

โพสต์

"CNT" คว้างานหมื่นล้านกำไรสะสมเพียบปันผลอื้อ [ ทันหุ้น, 2 ต.ค. 55 ]

CNT นับถอยหลังโชว์กำไรไตรมาส 3/2555 สุดเริ่ด จาก Q2/2555 ที่ 71.80 ล้านบาท หลังราย
ได้เพิ่มขึ้น แถมรับงานภาครัฐมือเป็นระวิงหลักหมื่นล้านบาท และรับรู้แบ็กล็อกอีก 6.3-6.4 พันล้านบาท มั่น
ใจปี 2555 รายได้พุ่งพรวด 20-30% ฐานเงินทุนแกร่งบุ๊กกำไรสะสม 328.06 ล้านบาทจากปีก่อนแค่
163.14 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 108

โพสต์

ผวา!น้ำท่วม‘อิฐ-ทราย’ขาด แห่ซื้อหวั่นวิกฤติซ้ำ/ลือยักษ์รับเหมาจีนตุนสร้างสุวรรณภูมิ 2
สยามธุรกิจ, ฉบับที่ 1337 ประจำวันที่ 22-9-2012 ถึง 25-9-2012

ลำลูกกา - คนกรุงเทพฯ-ปริมณฑลหวั่นมหาอุทกภัยรอบใหม่ แห่ซื้อ “อิฐ-ทราย” จนขาดตลาด ร้านค้าวัสดุฯฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาเท่าตัว เผยมีบริษัทรับเหมา ใหญ่จากจีนไล่กว้านซื้อเพื่อ นำไปถมสนามบินสุวรรณ ภูมิเฟสใหม่ และขยายตลาดไท พร้อมทำแนวป้อง กันน้ำท่วม “พีดี สยามซัพพลายฯ” ยันวัสดุก่อสร้าง ทยอยขึ้นราคาต่อเนื่อง “อิฐ มวลเบา” มากสุด

แหล่งข่าววงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผย ็สยามธุรกิจิ ว่า ขณะนี้มีความต้องการใช้ทรายเป็นจำนวนมากภายหลังจากน้ำท่วมใหญ่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอาคารบ้านเรือน โครงการบ้านจัดสรร และโรงงานอุสาหกรรมในเขตพื้นที่น้ำท่วม เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซม รวมถึงทำแนวป้องกันน้ำรอบใหม่ที่กำลังใกล้เข้ามา ส่งผลให้ อิฐ-ทรายเริ่มหายาก ร้านค้าวัสดุฯมีการปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี

จากการสำรวจของผู้สื่อข่าว "สยามธุรกิจ" พบว่า ขณะนี้ความเคลื่อนไหวของราคาวัสดุก่อสร้างในพื้นที่อำเภอลำลูกกามีการปรับขึ้นเกือบ 100% โดยก่อนหน้าที่จะมีข่าวเกิดสถานการณ์น้ำท่วมราคาทรายมีการจำหน่ายอยู่ที่ 200-250 บาทต่อคิว ตอนนี้มีการปรับขึ้นมาอยู่ที่ 400 บาทต่อคิว แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่าตอนนี้ทรายเริ่มขาดตลาดแล้ว แม้ว่าจะมีการสั่งสินค้าไป แต่ก็ไม่มีสินค้ามาส่งให้ทางร้านเลย

นอกจากนี้ ราคาอิฐมอญ ก็มีการขยับขึ้นเช่นเดียวกันจากเดิมจำหน่ายกันอยู่ที่ก้อนละ 0.80 บาท หลังจากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ ทำให้มีการปรับราคาขึ้นมาอยู่ที่ก้อนละ 1.50 บาท หรือบางร้านได้ปรับขึ้นไปถึงก้อนละ 2 บาทแล้วก็มี โดยทางร้านค้าวัสดุให้เหตุผลว่าพื้นที่เผาอิฐมอญประสบน้ำท่วม ทำให้สินค้าตลาดตลาด ส่วนอิฐบล็อกขณะนี้ยังมีสินค้าจำหน่ายตามปกติ เพราะฐานผลิตอยู่ที่สระบุรี แต่ราคาก็มีการขยับขึ้นแล้วเช่นกันจากก้อนละ 8 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 13-15 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณคลอง 3 ลำลูกกา และพื้นที่ใกล้เคียง ได้เตรียมตัวรับมือน้ำท่วม โดยมีการซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างต่อเนื่องในวันหยุด ดังนั้น ทางร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างบางร้านเดิมจะหยุดวันอาทิตย์ก็ได้เปิดจำหน่ายตามปกติ เช่น ร้านพ. ฮาร์ดแวร์ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่หาซื้อวัสดุก่อสร้างรับมือน้ำท่วมในช่วงนี้

แต่จากการสอบถามไปยังวงการรับเหมาก่อสร้างพบว่า ขณะนี้มีมีบริษัทรับเหมายักษ์ใหญ่จากประเทศจีนได้สั่งซื้อทรายเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายสนามสุวรรณภูมิเฟสใหม่ และนำไปปรับปรุง ขยายพื้นที่ตลาดไท รวมทั้งทำแนวป้องกันน้ำท่วมรอบโครงการ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรายขาดตลาด โดยเฉพาะบ่อทรายในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีถูกกว้านซื้อไว้หมดแล้ว

ขณะที่ผู้สื่อข่าวได้สำรวจราคาขายวัสดุก่อสร้างในพื้นที่จ.ฉะเชิงเทราพบว่า ราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างได้ขยับราคาขึ้นมาเมื่อประมาณ 1-2 เดือน ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ หิน และทรายขายปลีกนั้น ขึ้นราคาเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผู้ค้ารายใหญ่ในพื้นที่ได้ปรับราคาขึ้นจากเดิมคิวละ 500 บาท มาขายที่ราคา 550

โดยร้านค้าวัสดุแห่งหนึ่งบอกกว่า การปรับราคานี้ไม่ได้ปรับขึ้นเอง แต่ทางบ่อทรายที่ส่งมาขายให้เป็นผู้ปรับราคาขึ้น ดังนั้นร้านค้าส่งอย่างเราก็ต้องปรับตามไปด้วย สาเหตุน่าจะเกิดจากวัสดุก่อสร้างจำพวกนี้ถูกนำไปใช้เป็นจำนวนมาก และขาดแคลนมาตั้งแต่เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ จนไม่มีสินค้าจะขาย

นอกจากนี้ทางบ่อทราย ยังอ้างด้วยว่ามีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่ารถขนส่ง ค่าที่ดินที่ใช้ในการตัก หรือดูดทรายขึ้นมาขาย ก็มีราคาขยับแพงขึ้นด้วย ซึ่งเดิมนั้นเคยซื้อที่ดินเปิดบ่อทรายในราคาไร่ละ 1 แสนบาท ปัจจุบันราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเป็นราคาไร่ละ 2-3 แสนบาท นอกจากนี้ราคาอิฐบล็อกก็ยังขยับขึ้นตามมาด้วย

นางมาลี สุวรรณสุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีดีสยาม ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัทในเครือ ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์เปิดเผย ็สยามธุรกิจิ ว่า การปรับขึ้นราคาของอิฐ-ทรายในช่วงนี้น่าจะเป็นการขึ้นของราคาขายปลีกมากกว่าขายส่งให้กับผู้ประกอบการก่อสร้างทั่วไป เมื่อสินค้ามีความต้องการมากร้านค้าวัสดุฯจึงฉวยโอกาสปรับขึ้นราคา ซึ่งปรากฎการณ์ลักษณะนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาในปีที่แล้ว

"ในส่วนของผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีข้อตกลง หรือมีคำสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างไว้ล่วงหน้า จึงไม่น่ามีผลกระทบอะไร นอกจากแหล่งผลิตใหญ่ที่เราใช้อยู่เป็นพวกอิฐมวลเบา หรือโครงสร้างสำเร็จรูปที่ใช้ทรายเป็นวัตดุดิบเจอปัญหาน้ำท่วมอีก แต่ก็มั่นใจว่าโรงงานผลิตส่วนใหญ่ได้เตรียมการรับมือไว้แล้ว"

ส่วนปัญหาอิฐ-ทราย จะมีผลต่อการปรับขึ้นของราคาบ้านหรือไม่ กรรมการผู้จัดการ พีดีสยามฯกล่าวว่า ็วัสดุก่อสร้างโดยรวมได้ทยอยปรับขึ้นราคามาอย่างเงียบ ๆ แล้วหลายครั้ง ตั้งแต่หลังจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้ปรับราคาบ้านไปเมื่อช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ฉะนั้นในช่วงนี้ถึงปลายปีคงไม่มีการปรับราคาขึ้นอีก

"วัสดุก่อสร้างทุกประเภทได้ทยอยปรับขึ้นราคามาตั้งแต่ต้นปี ไม่ว่า เสาเข็ม ถังบำบัด กระเบื้องหลังคา เฉลี่ยอยู่ที่10-15% แต่ที่มากสุดคือ อิฐมวลเบา ปรับขึ้นถึง 20% สาเหตุน้ำท่วมโรงงานในปีที่แล้ว และปัจจุบันผู้ประกอบการหันมาใช้กันมากขึ้น"
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 109

โพสต์

ข่าวนี้ส่งผลอย่างมากกับ "กลุ่มรับเหมาฯ" ครับ

รัฐเคาะแผนลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี 2.2 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 04 ต.ค. 2555 เวลา 12:11:54 น.
13493275881349327599l.jpg
เปิดไส้ในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท คลังจัดลำดับความสำคัญก่อนไฟเขียวเป็นรายโปรเจ็กต์ 7 สาขาหลัก โครงการระบบรางแชมป์วงเงินลงทุนสูงสุด 1.2 ล้านล้าน ทั้งรถไฟสายใหม่-ไฮสปีดเทรน ตามด้วยพลังงาน 5.15 แสนล้าน และขนส่งทางบก 2.22 แสนล้าน เล็งระดมทุน 5 แหล่ง ประเดิมปีུ กว่า 1 ล้านล้าน แบงก์ชาติชี้สภาพคล่องมีเพียงพอ

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินการโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในระยะ 5 ปี (ปี 2555-2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณารายละเอียดแผนงานภายใต้โครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เรื่องรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยคัดเลือกโครงการจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวบรวมไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานแล้ว

ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่ 1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%) 2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%) 3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%) 4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%) 5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%) 6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ 7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)

การลงทุน "ระบบราง" เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท

"ขนส่งทางบก" เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ" กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท

การลงทุน "ขนส่งทางอากาศ" มีของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท "ระบบสาธารณูปการ" มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท

การลงทุน "พลังงาน" เป็นของ บมจ. ปตท. 135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาทฯลน "สื่อสาร" แบ่งเป็น บมจ. กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท

กำหนดแหล่งเงินใช้สนับสนุนจาก 5 ส่วนคือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอรองรับการกู้เงินในประเทศ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2555 มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่มากถึง 2.133 ล้านล้านบาท รองรับการกู้เงินได้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล

ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ได้ในปี 2556 ประเมินว่าต้องกู้เงินเฉลี่ยปีละ 2-3 แสนล้านบาท

ขณะที่นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในปี 2556 รัฐจำเป็นต้องระดมเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา สบน.ได้เชิญเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเตรียมพร้อมรับมือแล้ว ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบสามารถรองรับการระดมทุนภาครัฐได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า สภาพคล่องมีเพียงพอ และจะไม่เกิดการแย่งตลาดรวมถึงกระทรวงการคลังก็ได้เตรียมเงินคงคลังไว้ในระดับสูง จึงสามารถรองรับได้ แผนระดมทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทยังไม่รวมกรณีร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สบน.ได้ประชุมเตรียมระดมทุนในปี 2556 ร่วมกับ ธปท. สมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (PD) และผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ 200 คน ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ปีนี้ภาครัฐต้องการระดมทุน 1,095,046 ล้านบาท ซึ่ง สบน.จะออกพันธบัตรรัฐบาลเป็น bench mark bond 525,000 ล้านบาท หรือ 48% ของปริมาณการระดมทุนทั้งหมด

คมนาคมเดินสายประชาพิจารณ์

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดสัมมนาสัญจรโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกรอบวงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563 มี 55 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อปรับให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน

ลงทุน 1.99 ล้านล้านรับเออีซี

มีทั้งโครงการเป็นยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และการขนส่งรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) โดยวงเงินลงทุน 1.99 ล้านล้านบาท จะเน้นทางรางมากสุด 64.05% หรือ 1.28 ล้านล้านบาท ถนน 24.20% หรือ 4.7 แสนล้านบาท ทางน้ำ 6.51% หรือ 1.2 แสนล้านบาท และทางอากาศ 4.24% หรือ 9.4 หมื่นล้านบาท อาทิ

ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มีฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 16,665 ล้านบาท

สร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 47,929 ล้านบาท ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และสายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท

รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย รถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท ส่วนการลงทุนด้านถนน เช่น ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท วงแหวนรอบรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท มอเตอร์เวย์ 5 สาย 2 แสนล้านบาท

ทางน้ำ เช่น เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน 14,394 ล้านบาท ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 วงเงิน 12,513 ล้านบาท ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 88,294 ล้านบาท ทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 วงเงิน 62,503 ล้านบาท ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 วงเงิน 24,328 ล้านบาท ปรับปรุงใช้ประโยชน์ดอนเมือง 3,200 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 110

โพสต์

ก่อสร้างสะดุดส่งมอบล่าช้าพม่ากลับบ้านลุยสนามกีฬา
เดลินิวส์, 24 ต.ค. 55

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เปิด
เผยว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยบางรายเริ่มส่งมอบโครงการพัฒนาหมู่บ้านให้กับลูกค้าล่าช้ากว่ากำหนด
เนื่องจากประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานไม่ต่ำกว่า 300,000 คน จากปัจจุบันมีแรงงานอยู่ 2.3-2.6
ล้านคน ส่วนหนึ่งมาจากแรงงานพม่าจำนวนหนึ่งทยอยกลับไปทำงานก่อสร้างในพม่าหลังจากรัฐบาลรณรงค์ให้
แรงงานกลับเข้าไปยังประเทศตนเอง เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค รองรับการ
เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 56 เบื้องต้นทางการพม่าจะใช้คนงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว
รวมไม่ต่ำกว่า 100,000 คน

===========================================================

พม่ายกทัพกลับรักบ้านเกิด ก่อสร้างไทยลมจับ!แรงงานขาด 3 แสน
ไทยรัฐ, 24 ต.ค. 55

วงการก่อสร้างไทยระส่ำ วิกฤติแรงงานขาดแคลน 3 แสนคน หลังคนงานพม่าแห่กลับบ้านเกิดตาม
แรงชักชวนของรัฐบาล ลุยงานสร้างสนามกีฬารองรับเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ปี56 แถมงานในโรงแรม ภัตตาคาร
สวนสนุกในพม่ายังบูมสุดขีด แจ้งเกิดกันเต็มเหนี่ยวรองรับนักท่องเที่ยวและเออีซี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 111

โพสต์

เอกชน 70 จว.ร้อง'ปู'เบรกค่าแรง300 สอท.ขัดแย้งกันเอง-ไม่พอใจ'พยุงศักดิ์'ถอนวาระออก
ข่าวสด, 30 ต.ค. 55

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิด
เผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสายงานอุตสาหกรรมจังหวัด ว่า ในวันที่ 30 ต.ค.2555
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 จังหวัด ได้นัดรวมตัวเพื่อเตรียมยื่นหนังสือและขอเข้าพบ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
300 บาทในวันที่ 1 ม.ค.2555 เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการได้รับผล กระทบอย่างรุนแรง และไม่
ได้เห็นด้วยกับที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
ที่นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. ระบุว่าเอกชนไม่ได้รับผล กระทบจากการขึ้นค่าแรง
และขอถอนเรื่องออก โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ขอยกวาระออกไปหารือนอกรอบ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 112

โพสต์

เอ็มดีใหม่'ซิโน-ไทย'ลุยงาน ปัดการเมืองเอี่ยวชนะประมูล [ มติชน, 31 ต.ค. 55 ]

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัค
ชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงนโยบายดำเนินงานของบริษัท หลังขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1
ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจก่อสร้าง ทั้งงานด้านโยธาธิการ
เครื่องกล การเข้าประมูลงานของภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของภาครัฐจะเน้นเข้าประมูล
โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ถนนทางด่วน อาคารขนาด
ใหญ่ ในส่วนภาคเอกชนจะเน้นงานด้านพลังงาน อุตสาหกรรม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 113

โพสต์

มีใครพอทราบไหมครับว่า ผู้รับเหมาคือใคร?

"สุขุมพันธุ์"เตรียมแจงข้อเท็จจริงเหตุ"ฟีฟ่า"ไม่เอาสนามฟุตซอล
foott%20(2).jpg
"สุขุมพันธุ์"เตรียมตั้งโต๊ะแจงข้อเท็จจริงเหตุ"ฟีฟ่า"ระงับใช้สนามฟุตซอล หนองจอก แข่งฟุตซอลโลก เย็นนี้
รายงานข่าวจากฝ่ายการเมืองศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) แจ้งว่า กรณีที่สหพันธุ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) ยกเลิกใช้สนามบางกอก ฟุตซอล อารีน่า เขตหนองจอก เป็นสนามใช้แข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก โดยของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. จะมีการแถลงชี้แจงในเรื่องดังกล่าวในช่วงเย็นของวันนี้ โดยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะเปิดเผยข้อมูลที่ไม่มีใครรู้มาก่อนและเป็นข้อเท็จจริงที่มีน้ำหนักว่าความเป็นมาของการก่อสร้างสนามทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ยอมรับว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เสียความรู้สึกบ้าง เพราะกทม.ตั้งใจทำงาน และดำเนินการตามที่ฟีฟ่าต้องการทุกอย่าง แต่เมื่อฟีฟ่าได้ยกเลิกการใช้สนามแล้ว กทม.ก็จะเปลี่ยนวิกฤติ เป็นโอกาส โดยภายหลังม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แถลงข่าวเสร็จสิ้นจะพาสื่อมวลชนตรวจระบบความพร้อมของสนาม และความปลอดภัยทั้งหมดอีกครั้ง ส่วนในวันที่ 9 พ.ย.อาจมีการจัดคอนเสิร์ตตใหญ่ในสนามเพื่อสื่อสารไปยังฟีฟ่าว่าสนามแห่งนี้มีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้จริงแน่นอน

สุพนธ์ ธนูกฤติ *--* รีไรท์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 114

โพสต์

ซิโน-ไทย 9 เดือน 'กำไร' ทะลุ 31% โบรกจ่อเพิ่มเป้า [ กรุงเทพธุรกิจ, 8 พ.ย. 55 ]

นายวรพันธ์ ช้อนทอง กรรมการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC)
เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปีนี้ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 307.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.14%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิในงวด 9 เดือน 875.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.73 % จาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากรายได้จากการก่อสร้างและอัตรากำไรขั้นต้นของโครงการที่เพิ่มขึ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 115

โพสต์

คลังวางแผนลงทุนทวาย ITD เริ่มทำเม.ย.ปี 56 งบ 5 หมื่นล้าน [ ข่าวหุ้น, 8 พ.ย. 55 ]

"กิตติรัตน์" เร่งทำ Master Plan ลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวาย คาดเริ่มเดือนเมษายนนี้ อิตาเลียน
ไทยเสนองบโครงสร้างพื้นฐาน 5 หมื่นล้านบาท ทำถนน ระบบรางรถไฟระบบสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ทั้ง
ประปา ไฟฟ้า ไปท่าเรือพม่า ใหญ่กว่า Eastern Sea Board ถึง 10 เท่า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 116

โพสต์

'วิกฤติแรงงาน'ทุบอสังหาฯดันต้นทุนก่อสร้างปีหน้าพุ่ง
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, November 23, 2012

นักธุรกิจ-นักวิชาการ ระบุ วิกฤติแรงงานทั้งปัญหาขาดแคลน-ขึ้นค่าแรงกระทบหนักอสังหาฯ ปีหน้า หวังปัจจัยบวกกำลังซื้อขยับ ดอกเบี้ยลด หนุนตัดสินใจซื้อดันธุรกิจเติบโตตามจีดีพี ชี้ "ทาวน์โฮม" ดาวรุ่งเทียบเคียงคอนโด เหตุราคาใกล้เคียงพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ขณะที่คอนโดเกาะแนวรถไฟฟ้าส่อล้นตลาด

สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ จัดสัมมนาเรื่อง "ถอดรหัสอสังหาฯ ปี 56 ทิศทางแนวโน้มของการตลาดอสังหาฯ" วานนี้ (22 พ.ย.) โดยมีผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักการตลาด นักวิชาการ ร่วมสะท้อนสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2556 มีแนวโน้มเติบโต แต่ต้องเผชิญวิกฤติด้านแรงงานขาดแคลน อาจส่งผลให้ธุรกิจ "สะดุด" ได้เช่นกัน

นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ธุรกิจอสังหาฯ ใน ปีหน้า จะต้องเผชิญปัญหาใหญ่ คือ การขาดแคลนแรงงานในภาคการก่อสร้าง สะท้อนจาก ภาวการณ์ในปัจจุบันจะเห็นภาพรถปูนซีเมนต์ที่มีอยู่กว่า 2,000 คัน พบว่าจอดทิ้งไว้ที่ คาดว่าจะเพิ่มเป็น 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2556 ส่วนปี 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 คาดว่ารายได้จะเพิ่มเป็น 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ภาครัฐจึงต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558 เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกฝ่ายทุกส่วนต้องให้ความสำคัญ เพราะมันเป็นโอกาสที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงความสำคัญของเออีซีต่อธุรกิจการบิน สำหรับ ทอท.เอง คงไม่เพียงแต่ขยายการลงทุนในท่าอากาศยานบ้านเรา แต่ยังได้วางแผนที่จะขยายไปในอาเซียน เพื่อรองรับเข้าสู่เออีซี ในปี 2558 มั่นใจว่าหลังเข้าสู่เออีซีแล้ว ปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น เพราะความพร้อมด้านท่าอากาศยานและสายการบิน ส่งผลให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมเที่ยวบินเพื่อเดินทางสู่ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ปริมาณผู้โดยสารก็จะเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจและเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ วันที่ 23 พ.ย. นี้ ทอท.ระดมความเห็นในการพิจารณาปรับปรุงข้อตกลง กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อตกลงต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเออีซี รวมทั้งจะมีการหารือถึงการขยายตัวของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าไทย ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารกว่า 70% เป็นผู้โดยสารชาวเอเชีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากนัก ยิ่งถ้ามีเออีซีก็จะช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางในกลุ่มอาเซียน คาดว่าผู้โดยสารอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 1.6 ล้านคน จากปัจจุบันปีละ 8 แสนคน จะเห็นว่าผู้โดยสารในเอเชียมีมากกว่ายุโรปและอเมริกา

"บทบาทของ ทอท. ในอนาคต ต้องมองไปถึงการให้บริการท่าอากาศยานในต่างประเทศ วันนี้เรามีการหารือร่วมที่จะเป็นพันธมิตรบริหารท่าอากาศยานในประเทศแถบนี้ เช่น ท่าอากาศยานพม่า เพราะเรามีประสบการณ์และมีความพร้อมทุกด้าน ตรงนี้ถือเป็นการก้าวเข้าไปลงทุนต่างประเทศส่วนหนึ่ง"นายสมชัยกล่าวและว่า ในส่วนของท่าอากาศยานพม่า เรามีแผนที่จะเข้าไปช่วยเทรนนิ่งให้ ในอนาคตอาจมีโอกาสที่จะทำอะไรร่วมกันมากขึ้น ในการพัฒนาสนามบิน

ทั้งนี้ ทอท.จะต้องเร่งรัดการปฏิรูปการบริหารและการจัดการในทุกมิติ ให้สามารถรองรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี ซึ่ง ทอท. ต้องปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการในด้านต่างๆ เช่นโครงสร้างองค์กร การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์องค์กร ด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาด ด้านมาตรฐานและควบคุมคุณภาพท่าอากาศยาน ทอท. จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการบริหารท่าอากาศยาน โดยมี นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ เป็นประธานกรรมการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิทุกภาคส่วนเข้าร่วม เพื่อแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

ใช้2พันล้านขยายดอนเมืองรับแอร์ไลน์โต

ในส่วนของ ทอท. ก็มีแผนพัฒนาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพท่าอากาศยานดอนเมืองรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 30 ล้านคน คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท แล้วเสร็จปี 2557 เพราะว่ามีโอกาสสูงที่ปริมาณผู้โดยสารของท่าอากาศยานดอนเมืองจะเพิ่มขึ้น เห็นได้จากการที่กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย มีแผนขยายฝูงบิน ขณะที่ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ในท่าอากาศยานดอนเมืองพยายามใช้กลยุทธ์การตลาดหลายรูปแบบ เพื่อให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ทอท. จึงต้องวางแผนรองรับการเติบโตในอนาคต

สาเหตุที่ต้องปรับปรุงอาคารระหว่างประเทศ 2 และอาคารในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันท่าอากาศยานดอนเมืองเปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 เพียงอาคารเดียว แม้ว่าโครงสร้างอาคารจะรองรับผู้โดยสารได้ 18.5 ล้านคน แต่เมื่อต้องแบ่งพื้นที่ให้บริการระหว่างผู้โดยสารในประเทศและผู้โดยสารระหว่างประเทศ ส่งผลให้ศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารลดเหลือ 16.5 ล้านคน ขณะที่ปริมาณผู้โดยสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ดึงวสท.สอบโครงสร้างอาคารดอนเมือง

นายสมชัย กล่าวว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อสภาพโครงสร้างอาคาร หลังจากท่าอากาศยานดอนเมืองถูกน้ำท่วมขัง 2-3 เดือน เมื่อปลายปีก่อน ทอท.จึงได้ร่วมมือกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร และระบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ในการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2 และอาคารผู้โดยสารในประเทศ ส่วนอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 ซึ่งเปิดให้บริการอยู่ก็ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างเพิ่ม รวมทั้งความสามารถในการรับน้ำหนัก เพราะโครงสร้างเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน

สำหรับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 60 ล้านคน เป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 48 ล้านคน ผู้โดยสารในประเทศ 12 ล้านคน ปัจจุบันรองรับผู้โดยสารปีละ 45 ล้านคน เป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 33 ล้านคน ผู้โดยสารในประเทศ 12 ล้านคน จำนวนหลุมจอดจะเพิ่มขึ้นเป็น 148 หลุมจอด จากปัจจุบัน 120 หลุมจอด โครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จปี 2559 ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดทีโออาร์ เพื่อคัดเลือกผู้ออกแบบรายละเอียด ส่วนการคัดเลือกผู้รับเหมาคาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือนมี.ค. 2557และเริ่มต้นงานก่อสร้างเดือนส.ค. 2557

เลี่ยง พ.ร.บ.เปิดปตท.เข้าระบบส่งน้ำมัน

สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการขณะนี้ ก็คือ การคัดเลือกผู้ให้บริการระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานผ่านท่อแบบ Hydrant ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะว่าโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ต้องได้ผู้ให้บริการก่อนเริ่มงานก่อสร้าง โดยปัจจุบันผู้ให้บริการระบบขนส่งน้ำมันดังกล่าวคือ บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (TARCO) มีบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บาฟส์ ถือหุ้น 90% และ ทอท. ถือหุ้น 10%

"ต้องรีบตัดสินใจว่าจะให้รายเดิมดำเนินการ หรือจะเปิดคัดเลือกรายใหม่ ปัจจุบัน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สนใจลงทุนโครงการ ข้อดีกรณีให้ ปตท. ลงทุน คือ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนตามกระบวนการ พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เพราะว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ สามารถดำเนินการได้เลย"

ทั้งนี้ กรณีให้ ปตท. ลงทุน คาดว่าต้องใช้เงินประมาณ 3,000 ล้านบาท เพราะว่าต้องก่อสร้างถังเก็บน้ำมันแห่งใหม่ แต่หาก TARCO ลงทุน จะใช้เงินประมาณ 1,000 ล้านบาท เพราะว่ามีถังเก็บน้ำมันอยู่แล้ว ทอท. จะเสนอรายละเอียดรูปแบบแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมให้คณะกรรมการ ทอท. พิจารณาภายในเดือนธ.ค. นี้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1177
ผู้ติดตาม: 3

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 117

โพสต์

เมื่อวันงานปาร์ตี้ Thai VI Q3 ได้พบกับน้องคนนึง บอกว่าจะไม่แตะหุ้นรับเหมาเด็ดขาด ถึงขั้นเป็นข้อห้ามของตัวเองเลย เนื่องจากว่า "ไม่สามารถคาดการณ์กำไรได้" ผมคิดว่ายังไงคุณ pak ก็คงยังไม่เปลี่ยนใจจากบริษัทสุดรัก แต่ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นยังไงกับคำพูดดังกล่าวครับ?
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 118

โพสต์

"ช่องว่าง(ที่คนไม่สนใจ)"...คือ "โอกาส" เสมอ


คนอื่นอาจจะมองเห็นแต่เพียง "ข้อเสีย"
แต่สำหรับผม ผมมองเห็น "เค้กก้อนโต" ที่ผมอยากจะขอแบ่งมาแค่เพียงบางส่วน
ได้มาแค่ 2-5% ของเค้กก้อนนั้น...ก็เพียงพอแล้ว สำหรับบริษัทฯของผม

มันสำคัญว่า..."เค้กก้อนนั้น มันใหญ่แค่ไหน? ในความรู้สึกและจินตนาการของนักลงทุนแต่ละคน" ครับ

^ ^
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
คนคอน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 883
ผู้ติดตาม: 3

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 119

โพสต์

pak เขียน:"ช่องว่าง(ที่คนไม่สนใจ)"...คือ "โอกาส" เสมอ


คนอื่นอาจจะมองเห็นแต่เพียง "ข้อเสีย"
แต่สำหรับผม ผมมองเห็น "เค้กก้อนโต" ที่ผมอยากจะขอแบ่งมาแค่เพียงบางส่วน
ได้มาแค่ 2-5% ของเค้กก้อนนั้น...ก็เพียงพอแล้ว สำหรับบริษัทฯของผม

มันสำคัญว่า..."เค้กก้อนนั้น มันใหญ่แค่ไหน? ในความรู้สึกและจินตนาการของนักลงทุนแต่ละคน" ครับ

^ ^
เยี่ียมครับ :D
kraikria
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1177
ผู้ติดตาม: 3

Re: ถือหุ้นรับเหมาแล้วเหนื่อยใจ

โพสต์ที่ 120

โพสต์

pak เขียน:"ช่องว่าง(ที่คนไม่สนใจ)"...คือ "โอกาส" เสมอ


คนอื่นอาจจะมองเห็นแต่เพียง "ข้อเสีย"
แต่สำหรับผม ผมมองเห็น "เค้กก้อนโต" ที่ผมอยากจะขอแบ่งมาแค่เพียงบางส่วน
ได้มาแค่ 2-5% ของเค้กก้อนนั้น...ก็เพียงพอแล้ว สำหรับบริษัทฯของผม

มันสำคัญว่า..."เค้กก้อนนั้น มันใหญ่แค่ไหน? ในความรู้สึกและจินตนาการของนักลงทุนแต่ละคน" ครับ

^ ^
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น