ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ด้านไหนมากอันตรายที่สุด

Rival competition
15
19%
Potential to entry
16
20%
Subtitute product
34
42%
Power of buyer
13
16%
Power of supplier
3
4%
 
โหวตทั้งหมด: 81

ภาพประจำตัวสมาชิก
sisacorn
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ผมเริ่มงงแล้วครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ

จากที่คุณ มน ชี้แจงว่า

"ย้ำไว้อีกหน่อยว่า 5 forces Model ใช้วิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยรวม"

ผมก็เลยคิดว่า การพูดถึง SNC โดยใช้ 5 forces Model ก็เหมือนการ

วิเคราะห์ อุตสาหกรรม OEM เพราะตอนนี้ SNC เน้น OEM เหลือเกิน

ดังนั้น ผลก็น่าจะเป็นไปตามอุตสาหกรรม OEM โดยรวมคือ

1. Rival competition   แข่งกันเลือดแดง เลือดท่วมจอ ดูจาก มาร์จินต่ำ  
2. Potential to entry  New Entry เข้าไม่ยากหรอก
3. Subtitute product   สิ่งทดแทนตอนนี้อาจยังเห็นไม่ชัด
4. Power of buyer      อันนี้สูงมาก และ Switching cost ต่ำเอามากๆ
5. Power of supplier   อยู่ที่ว่าจะใหญ่พอไหม

ดังนั้น SNC ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ จึงดูไม่ค่อยมีสง่าราศีนัก แต่อะไรล่ะ

ที่ SNC จะใช้เป็นอาวุธและจะยืนอยู่อย่างมั่นคง เติบโตได้ในธุรกิจอย่างนี้

อะไรที่จะมาปิดจุดตาย อะไรที่จะเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้

อย่าง สตาร์บัค อยู่ในธุรกิจกาแฟ ซึ่ง

1. Rival competition   แข่งกันเลือดแดง เลือดท่วมจอ
2. Potential to entry  New Entry เข้าไม่ยากหรอก
3. Subtitute product   เยอะมาก
4. Power of buyer      อันนี้สูงมาก และ Switching cost ต่ำเอามากๆ
5. Power of supplier   อยู่ที่ว่าจะใหญ่พอไหม

แต่สตาร์บัคก็สร้างจุดยืน จุดแข็งบางอย่างขึ้นมาปิดจุดอ่อนของแต่ละจุดเหล่านั้น โดยการสร้าง

บรรยากาศ กลิ่นสัมผัส brand ขึ้นมาปิดจุดอ่อนแต่ละข้อ แล้วอย่างนั้น SNC มีอะไรบ้างครับ

หากตอนนี้ ยังโตได้เพราะตลาดกำลังขยาย แล้วถ้าถึงจุดอิ่มตัวล่ะครับ

หากการทำ OEM เพื่อเพิ่มการผลิตงานต้นน้ำ เหมือนที่ผู้บริหารว่าไว้ แล้วเมื่อมีผู้เล่นหน้าใหม่

เข้ามาจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจุดอ่อนของ OEM Power of buyer เขาจะทำอย่างไรครับ

ไม่รู้ว่า พี่จะงงกับผมหรือเปล่า แต่อยากจะลองคิดวิเคราะห์บ้างครับ ผิดถูกอย่างไรไม่ว่ากันนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 28

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 32

โพสต์

[quote="sisacorn"]ผมเริ่มงงแล้วครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ

จากที่คุณ มน ชี้แจงว่า

"ย้ำไว้อีกหน่อยว่า 5 forces Model ใช้วิเคราะห์อุตสาหกรรมโดยรวม"

ผมก็เลยคิดว่า การพูดถึง SNC โดยใช้ 5 forces Model ก็เหมือนการ

วิเคราะห์ อุตสาหกรรม OEM เพราะตอนนี้ SNC เน้น OEM เหลือเกิน

ดังนั้น ผลก็น่าจะเป็นไปตามอุตสาหกรรม OEM โดยรวมคือ

1. Rival competition
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 2

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ถ้าเอาสตาบัคมาเที่ยบผมว่า สตาบัคก็ไม่น่ารอดหรอกครับ
ธุรกิจพึ่งเปิด ยังไม่เคยผ่านวิกฤติ ผ่าสักหนแล้วจะรู้ว่าคนจะเลิกกินกาแฟหรือเปล่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 28

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 34

โพสต์

MO101 เขียน:ถ้าเอาสตาบัคมาเที่ยบผมว่า สตาบัคก็ไม่น่ารอดหรอกครับ
ธุรกิจพึ่งเปิด ยังไม่เคยผ่านวิกฤติ ผ่าสักหนแล้วจะรู้ว่าคนจะเลิกกินกาแฟหรือเปล่า
ผมมีCaseของ starbucksครับ ถ้าอยากรู้ผมจะเอามาฝากวันหลัง น่าสนใจมั๊กๆ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3784
ผู้ติดตาม: 77

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 35

โพสต์

เคยอ่านหนังสือ เขาว่า starbucks ไม่ได้ขายกาแฟ
และแม็คโดนัลก็ไม่ได้ขายแฮมเบอเกอร์ :D คร้าบ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3784
ผู้ติดตาม: 77

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เหมือนร้านจีเวลรี่ที่ผมเคยอ่านในหนังสือ CEO ของบัฟเฟต...
เจ้าหนึ่งบอกว่าเขาอยู่ในธุรกิจค้าปลีก
แต่อีกเจ้าหนึ่งกลับบอกว่าเขาอยู่ในธุรกิจสื่อรัก (อะไรประมาณนั้น)
โครงสร้างธุรกิจของทั้ง 2 เจ้าก็จะคนละอย่างกันเลย :D คร้าบ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3784
ผู้ติดตาม: 77

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 37

โพสต์

Mon money เขียน:ผมมีCaseของ starbucksครับ ถ้าอยากรู้ผมจะเอามาฝากวันหลัง น่าสนใจมั๊กๆ
แล้วพี่มนอย่าลืมของฝากนะคร้าบ... ผมจะรออ่าน :D ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
sisacorn
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 38

โพสต์

เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ เหมือนเขาจะวาง ตัวเป็น OEM ที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพดีกว่า

การที่บริษัทเจ้าของ brand จะผลิตเอง SNC จะมีวงจรผลิตให้มากที่สุดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

จึงทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง ตัวที่จะสร้างกำไรดีคือธุรกิจต้นน้ำที่จะได้รับงานมากขึ้นตาม OEM

ดังนั้นดู ๆ แล้ว เขาคงหวังจะวางตัวเป็น out source ที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพ

โดยที่เจ้าของ brand จะได้เน้น เพียงส่วนงานวิจัย การสร้าง brand มั้งครับ

โดยตอนนี้ ธุรกิจน่าจะยังขยายตัวได้อีก ทำให้ SNC ยังน่าจะโตได้อีก ส่วนที่ทรุดลงช่วงนี้

อาจจะเป็นเพราะ ตลาดอารมณ์ไม่ดี บวกกับ ตัวธุรกิจยังไม่ชัดเจนแน่นอน ยังตั้งอยู่บนความคาดหวัง

ไม่รู้ผมจะคิดถูกเปล่า ต้องวานผู้รู้มาช่วยเฉลยด้วยครับ


ส่วนเรื่องสตาร์บัค ผมก็อยากฟัง เป็น case study ครับ อยากรู้ว่า ธุรกิจเหมือนจะธรรมดา

แบบนี้โตมาได้อย่างไร เพราะก่อนที่จะโตได้อย่างนี้ คงต้องเจอกับอะไรมาบ้างล่ะครับ

อย่างตลาดในอเมริกา เห็น สตาร์บัคโตขึ้นเรื่อย ๆ คนอื่นคงไม่มองเฉย ๆ มั้งครับ

กาแฟเจ้าอื่น ทั้งตัวธุรกิจ เฟรนไชด์อย่างอื่นที่คงมีการปรับตัวมาให้บริการกาแฟกันบ้างไม่มากก็น้อย

น่าสนใจครับ ผมมาจองที่รอนั่งฟังพี่มน เลยล่ะกันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 4

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 39

โพสต์

พี่ๆ มีความคิดเห็นยังไงกับ learning curve ของธุรกิจ SNC บ้างครับ
คิดว่าบริษัทสามารถสร้าง learning curve ได้สูงมากพอจนที่บริษัท OEM รายอื่นๆ ที่เข้ามาแข่งทีหลังได้ยากขึ้นหรือป่าวครับ

อย่างเช่น se-ed ผมว่าบริษัทก็มี learning curve ที่สูงระดับหนึ่งที่ทำให้คู่แข่งเข้ามาแข่งได้ยาก(พวกระบบการกระจายสินค้า การควบคุมต้นทุน สินค้าหมุนเวียนต่างๆ) ไม่ใช่ว่า 7-11 เกิดอยากจะขายหนังสือบ้าง ก็เข้ามาแข่งกันได้ง่ายๆ
Glaxo
Verified User
โพสต์: 311
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ผมว่า ตัว OEM ไปเอางานจากเจ้าอื่นมาได้ ก็ถูกแย่งไปได้ง่ายเหมือนกัน
การที่เราแย่งงานเค้ามาได้ก็ต้องตัดราคาอย่างเดียวละครับ
ส่วนคุณภาพหรือมาตรฐานในการผลิต มันเป็นสิ่งที่ผู้ว่าจ้างกำหนดเป็นเงื่อนไขที่ OEM ทุกเจ้าต้องทำ หรือ มี  
จากนั้นก็มา Final เรื่องราคาล่ะครับ

แล้วที่นี้ถ้ากำไรของ OEM เป็นที่เปิดเผยกันทั่วไป มีหรือครับที่ผู้ว่าจ้างจะไม่กดราคาอีก

ในโลกธุรกิจเค้ามีแต่ผลประโยชน์ครับ เราอ้างไม่ได้ว่ามีสัมพันธ์ที่ดี หรือแม้แต่เป็นญาติกัน อย่างที่อ.มน บอกไว้ล่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 28

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 41

โพสต์

เหมือนร้านจีเวลรี่ที่ผมเคยอ่านในหนังสือ CEO ของบัฟเฟต...
เจ้าหนึ่งบอกว่าเขาอยู่ในธุรกิจค้าปลีก
แต่อีกเจ้าหนึ่งกลับบอกว่าเขาอยู่ในธุรกิจสื่อรัก (อะไรประมาณนั้น)
โครงสร้างธุรกิจของทั้ง 2 เจ้าก็จะคนละอย่างกันเลย  คร้าบ...
POSITIONING

ต้องการให้ครบตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ก็ทำได้นี่ครับ ทำให้ครบเลย แล้วเจ้าของbrandก็เอาไปประกอบเอง ถ้าทำได้ดี ทำได้ถูก แล้วทำไมเจ้าของbrandจะไม่เอา

วันนี้ได้คุยกับผู้ถือหุ้นSNCมา เขาบอกว่า แอร์ส่วนที่ตัดมาให้ทำก็คือแอร์ที่เขาทำเองไม่คุ้ม ก็ให้SNCมาทำ แต่เจ้าของbrandก็ยังประกอบเองด้วย SNCอยากได้ชิ้นส่วนทั้งหมดมาผลิตเอง แต่ก็ยังไม่ได้ ผมคิดเองว่าเจ้าของbrandก็ต้องการกระจายvenderเหมือนกัน ไม่ต้องการพึ่งพาใครคนเดียว

ถ้าSNC ดึงเอามาประกอบเองได้มากจนคุ้ม และทำชิ้นส่วนได้ครบทั้งหมด จะทำให้Value chainทั้งสายเกิดมูลค่า สิ่งที่ต้องทำคือหายอดประกอบแอร์ให้ได้มากจนคุ้ม และสามารถผลิตชิ้นส่วนให้ครบทั้งสาย โดยไม่ทำให้ใครในอุตสาหกรรมต้องเดือดร้อน ไม่งั้น SNCจะพบกับสงครามราคา เพราะทุกคนก็มีอุปสรรคในการออกจากอุตสาหกรรมเหมือนกัน

กลยุทธ์ของSNCจริงๆแล้วเป็นอย่างไร?
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 3

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 42

โพสต์

Mon money เขียน:กลยุทธ์ของSNCจริงๆแล้วเป็นอย่างไร?
ข้อดี
1. ได้งานในสัดส่วนที่มากขึ้น > ยอดขายโต
2. มีโอกาสได้ margin ในส่วนของการผลิตของต้นน้ำ
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน SNC อาจมองว่าจะทำให้เป็น one stop service ของ OEM

ข้อเสีย
1. ยอดขายที่โตแต่อัตรากำไรบรรทัดสุดท้ายอาจจะลดลงเนื่องจากการผลิตสินค้าต้นน้ำคงทำจนถึงระดับ economy of scale ได้ยาก
2. ลูกค้าอาจไม่กล้าให้ SNC ผลิตในจำนวนที่มากเนื่องจากกลัวเกิด bargaining of supply กรณี SNC ผูกขาดการผลิต
3. ถ้าอุตสาหกรรมแอร์ตกต่ำ SNC จะโดนเต็มๆ เป็นความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทที่ขยายตัวแบบ Vertical integration
4. หากไม่เกิดกรณีที่ 2 ก็อาจถูกลูกค้ากดดันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการพึ่งพาลูกค้าเพิ่มขึ้น
5. สินค้าส่วนใหญ่ที่ลูกค้า out source เป็นสินค้า margin บางมาก
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
sisacorn
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 43

โพสต์

positioning

ของ SNC คือ cost leadership หรือเปล่า

แล้วเส้นโค้งประสบการณ์ มีผลต่อ SNC มากหรือเปล่า ธุรกิจมีการผลิตที่ซับซ้อน

จนทำให้ประสบการณ์มีผลอย่างมากต่อการผลิต หรือ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิต

สร้างนวัตกรรม จนทำให้ เส้นโค้งประสบการณ์มีผลต่อธุรกิจหรือเปล่า

economies of scale มีผลทำให้ SNC มีความได้เปรียบด้วยหรือเปล่า

ยิ่งคิด ยิ่งเยอะนะครับนี่ สงสัย จะกลายเป็น case study ที่นำมาพูดถึงได้ยาว

เลยนะครับ แล้วก็ต่อด้วยตัวอื่น ๆ ในธุรกิจอื่น โอ้ คงจะดีมาก ๆ  

วันนี้ได้คุยกับผู้ถือหุ้นSNCมา เขาบอกว่า แอร์ส่วนที่ตัดมาให้ทำก็คือแอร์ที่เขาทำเองไม่คุ้ม ก็ให้SNCมาทำ แต่เจ้าของbrandก็ยังประกอบเองด้วย SNCอยากได้ชิ้นส่วนทั้งหมดมาผลิตเอง แต่ก็ยังไม่ได้ ผมคิดเองว่าเจ้าของbrandก็ต้องการกระจายvenderเหมือนกัน ไม่ต้องการพึ่งพาใครคนเดียว
เจ้าของ brand ไม่ต้องการพึ่ง ใครคนเดียว กับเป็นไปได้ไหมครับ

ว่าต้องการจะปกปิด การผลิตเป็นความลับด้วย เพราะถ้ายกให้ผลิตทั้งหมด

SNC อาจจะผลิตเองแข่งกับเจ้าของ brand ก็เป็นได้เขาจึงกระจาย

เพื่อปกปิด หรือเปล่าครับ  งง ไปหมดแล้ว ตาลาย    :vm:
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 3

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 44

โพสต์

เท่าที่ผมรู้อีกเรื่องหนึ่งคือ SNC มีห้องทดลองที่คุณสมชัยบอกว่าลูกค้าบางรายยังไม่มี และมีการวิจัยร่วมกับลูกค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของลูกค้าด้วย
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
sisacorn
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 45

โพสต์

เหมือนที่ stanly วิจัยร่วมกับลูกค้าหรือเปล่าครับ

งี้ SNC ในอนาคตก็อาจกลายเป็นแบบ ASUS ได้หรือเปล่าครับ

แต่คงยากหรือเปล่าครับ แอร์ ไม่เหมือนคอม และ SNC ก็ไม่ได้คิดจะสร้าง brand

แข่งกับลูกค้าซะด้วย แต่ถ้าสร้าง brand อืมน่าคิด ๆ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 3

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 46

โพสต์

sisacorn เขียน:เหมือนที่ stanly วิจัยร่วมกับลูกค้าหรือเปล่าครับ

งี้ SNC ในอนาคตก็อาจกลายเป็นแบบ ASUS ได้หรือเปล่าครับ

แต่คงยากหรือเปล่าครับ แอร์ ไม่เหมือนคอม และ SNC ก็ไม่ได้คิดจะสร้าง brand

แข่งกับลูกค้าซะด้วย แต่ถ้าสร้าง brand อืมน่าคิด ๆ
เรื่องสร้าง brand เพื่อแข่งกับลูกค้าคุณสมชัยเคยพูดไว้ว่าจะไม่ทำเด็ดขาด เพราะถ้าสร้าง brand แล้ว SNC จะกลายเป็นคู่แข่งของลูกค้าไปทันที มีแต่ตายกับตายครับ
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 28

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 47

โพสต์

นวัตกรรมด้านการปรับอากาศ ระยะก่อนนี้เน้นที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ มีการฟอกอากาศ ทำอากาศให้บริสุทธ ฯลฯ

ระยะนี้เน้น ประหยัดพลังงาน ส่วนที่ส่งผลต่อระบบแอร์มากขึ้นจะเป็นเรื่องของ coil ร้อน coil เย็น และcompressure ที่ลืมไม่ได้คือระบบควบคุมทางอิเล็คโทรนิค

condenser คอยล์ร้อน ทำอย่างไงให้ถ่ายเทความร้อนได้ดีที่สุด ลดความต่างของอุณหภูมิของขาเข้ากับขาออกได้นิดหน่อยก็ประหยัดพลังงานไปได้มากเลยทีเดียว--เน้นประหยัดพลังงาน(รวมcomp และระบบควบคุม อิเล็คฯเข้าไปด้วย)

Evaporator คอยล์เย็น เหมือนกับคอยล์ร้อนนั่นแหละ แต่ต่างกันตรงที่ ระบบทำความเย็นนี่มันลดอุณหภูมิ ลดความชื้น จึงทำให้มันเกิดน้ำขึ้นและมันก็เป็นแหล่งสะสม เชื้อโรค ---เน้นสุขภาพ

ระบบทำความเย็นเป็นระบบที่โคตรจะโบราณเลยครับพี่น้อง ที่ใช้ๆกันอยู่เพราะมันถูกที่สุดในกลุ่มเครื่องทำความเย็นเหมาะจะใช้กับระบบเล็กๆในบ้าน

มองๆดูแล้ว ทำให้ได้ถูกให้ได้มาก ส่งให้ตรงเวลา Just in time SNCต้องทำอะไรอีกมากนอกจากขยายๆๆ และขยาย ต้องทำระบบinventoryให้ดี ระบบผลิตให้ดี ระบบขนส่งให้ประหยัด ฯลฯ ที่พูดนี่เพราะเห็นแต่ ขยายๆๆและขยาย
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sisacorn
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 48

โพสต์

อืม เห็นบอกว่าการขยายงานนี่ก็ได้เตรียมคน เตรียมแผนในการขยายไว้นะครับ

แต่ไม่รู้ว่าดีแค่ไหน ขยายแล้วเป็นไงบ้างกับแผนที่ได้วางไว้ใช้ได้ไหม

ส่วน Logistics  ที่พี่มนพูดถึงก็น่าคิดครับ ว่ามีการจัดการอย่างไร

การบ้านเพียบเลยงานนี้

ว่าแต่สงสัยจังว่าแอร์ที่เป็น เทคโนโลยี โบราณ แล้วที่โบราณกว่าอย่าง พัดลมนี่ จะเคยมี OEM

พัดลมกับเขาไหมนี่
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 49

โพสต์

Mon money เขียน:

มองๆดูแล้ว ทำให้ได้ถูกให้ได้มาก ส่งให้ตรงเวลา Just in time SNCต้องทำอะไรอีกมากนอกจากขยายๆๆ และขยาย ต้องทำระบบinventoryให้ดี ระบบผลิตให้ดี ระบบขนส่งให้ประหยัด ฯลฯ ที่พูดนี่เพราะเห็นแต่ ขยายๆๆและขยาย
ที่พี่มนพูดมาผู้บริหารเค้าเล็งเห็นและกำลังพยายามไปให้ถึงอยู่แล้วครับ :) บริษัทนี้ไม่ใช่ขยายแบบกลวงๆแน่ๆครับ เค้าเตรียมงานกันมานานแล้ว

ปัจจัยสำคัญตอนนี้ขึ้นอยู่กับการตอบรับของลูกค้าครับ ว่าจะเชื่อมั่นใน snc ขนาดไหน จากทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัทตอนนี้ น่าจะสามารถโตได้โดยอุตสาหกรรมแอร์ไม่ต้องโตได้อีกอย่างน้อยก็ 2-3 ปีอ่ะครับ
It's earnings that count
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 50

โพสต์

เรื่อง snc นี่จริงๆผมว่าจะเงียบๆอยู่เหมือนกัน แต่เห็นพี่มนชวนมาวิเคราะห์ก็ลองช่วยๆกันแลกเปลี่ยนครับ :)
It's earnings that count
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 51

โพสต์

Mon money เขียน:
ถ้าSNC ดึงเอามาประกอบเองได้มากจนคุ้ม และทำชิ้นส่วนได้ครบทั้งหมด จะทำให้Value chainทั้งสายเกิดมูลค่า สิ่งที่ต้องทำคือหายอดประกอบแอร์ให้ได้มากจนคุ้ม และสามารถผลิตชิ้นส่วนให้ครบทั้งสาย โดยไม่ทำให้ใครในอุตสาหกรรมต้องเดือดร้อน ไม่งั้น SNCจะพบกับสงครามราคา เพราะทุกคนก็มีอุปสรรคในการออกจากอุตสาหกรรมเหมือนกัน

กลยุทธ์ของSNCจริงๆแล้วเป็นอย่างไร?
snc จริงๆแล้วกะจะทำแค่ 5-60% ของแอร์ทั้งเครื่องนะครับ ในตอนนี้ทำได้อยู่ประมาณ 15-20% ถ้าผมจำไม่ผิด

เรื่องที่กลัวว่า snc จะกินรวบหมดทำให้ supplier เก่าลดราคาแข่งผมว่าโอกาสเกิดน่าจะยากครับ ถ้า snc มี volume ที่ใหญ่กว่า ซื้อวัตถุดิบก็ถูกกว่า eco. of scale ดีกว่า supplier เดิมคงจะสู้ด้วยราคาลำบากครับ เพราะถ้าขาดทุนเค้าก็คงไม่ทำ หรือแม้แต่ต่อให้ snc แพงกว่า supplier เดิมบ้างนิดหน่อย แต่เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องผลิต ประกอบ ไป concentrate เรื่อง marketing ผมว่าก็สะดวกกับเค้ามากกว่านะครับ  exit strategy ของพวก supplier เก่าอาจจะต้องยอมขายทรัพย์สินให้ snc หรือไม่อันนั้นก็ต้องดูกันต่อไปครับ

อีกเรื่องนึงที่ผมว่าดีมากๆก็คือ snc เปิดเผยต้นทุนให้ลูกค้ารับทราบอย่างละเอียด ดังนั้นวัตถุดิบตัวไหนเพิ่มลดก็คุยกันเปิดอกไปเลย อยู่ที่ลูกค้าจะช่วยแค่ไหน ซึ่งถ้ามองกันเป็น partner แบบ long term ก็ไม่มีเหตุผลที่เค้าจะบีบ snc ลงไปจนไม่มีกำไร ทั้งๆที่ snc ช่วยเค้าลดต้นทุนทุกอย่างที่ทำได้แบบนี้

น่าลุ้นเหมือนกันครับว่า snc จะทำได้ดีแค่ไหนในทิศทางที่วางไว้
It's earnings that count
ภาพประจำตัวสมาชิก
sathaporne
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1665
ผู้ติดตาม: 8

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 52

โพสต์

ผมยังไม่เข้าใจ eco of scale ของ snc ครับ
โอเค ในส่วนของท่อทองแดงอาจจะในเรื่องนี้ เพราะsncน่าจะเป็นรายใหญ่รายเดียวที่ทำเกี่ยวกับท่อทองแดง
แต่อย่างอื่นเช่น โลหะขึ้นรูปเนี่ย ผมเข้าใจว่ามันก็น่าจะมีเจ้าใหญ่เจ้าอื่นที่ทำอยู่
และไอ้เจ้าโลหะขึ้นรูปที่เจ้าอื่นเขาทำ ผมคิดว่าเขาก็คงไม่ได้ทำเฉพาะที่เกี่ยวกับแอร์หรือเปล่า
เขาอาจจะทำทางด้านอื่นด้วย นั่นแปลว่าถ้ามองโดยรวมเขาอาจจะมี scale ที่ใหญ่กว่า SNC มากก็ได้ (ในส่วนโลหะขึ้นรูป)
ถ้าเป็นกรณีอย่างนี้เขาก็แข่งราคากับSNC ได้สบาย หรืออย่างพวกโมลพลาสติก มันก็น่าจะมีเจ้าใหญ่รายอื่นด้วยหรือเปล่าที่เขาไม่ได้ทำเฉพาะแอร์อย่างเดียว
หรือที่ผมพูดมาผมอาจจะเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าครับ เช่นคนที่ทำโลหะขึ้นรูปสำหรับแอร์ ไม่มีรายใดทำทางด้านอื่นด้วย
(ทำแต่เกี่ยวกับแอร์อย่างเดียว)
หรือพวกที่ทำพลาสติกให้แอร์เขาก็ทำเฉพาะแอร์อย่างเดียวไม่ทำผลิตภัณฑ์อื่น
ส่วนเจ้าคำว่า one stop service ผมก็สงสัยเหมือนกันว่ามันจะมีผลกับธุรกิจแบบนี้จริงๆหรือ
คือถ้าเป็นพวกสินค้าอุปโภคบริโภคที่ end userเขามาซื้อเองการมี one stop service
ให้กับลูกค้าที่ซื้อแต่ละอย่างในจำนวนน้อยๆ นั้นผมว่ามันก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
แต่กับลักษณะงานที่ผลิต หรือสั่งซื้อทีละเยอะๆ ผมว่ามันไม่เหมือนกันนะ
ผมว่าสุดท้ายแล้วเขาก็มองว่าใครให้ถูกกว่าก็เอาเจ้านั้น ไอ้ความสะดวกสบายจากการสั่งเจ้าเดียว
เมื่อเทียบกับการสั่งจากหลายเจ้า ผมว่ามันไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจสักเท่าไหร่นะครับ
คือผมก็สนใจ snc เหมือนกันและก็อยากรู้จักมากขึ้นด้วยครับ
ขอบคุณครับ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18408
ผู้ติดตาม: 81

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ถามหน่อย
SNC มี Innovation อะไรในการต่อสู้กับคนอื่นๆ
เพราะผู้นำต้องมีอะไรดีในมือเพราะให้ผู้ตามกระโดดมาทันแล้วเราต้องกระโดดนำหน้าไปก้าวหนึ่งเสมอ

by the way
model ของ ASUS นั้นต้องย้อนกับไปดู ACER ครับว่าทำอย่างไง
เพราะถ้า ASUS ทำเอง ลูกค้าก็หาย เพราะคุณเป็น OEM ของผมแล้วคุณผลิตสินค้าแข่งกันแบบนี้ ผมย้าย order ไปเจ้าอื่นน่า
หรือ ลูกค้าเองก็กดค่าสินค้า เพราะ OEM ไม่ได้มีอำนาจต่อรองเนื่องจากจ้างทำ ทำให้ต้องหาแบรนด์ตัวเองในการสร้างอำนาจการต่อรอง

ถ้าในเมืองไทย ต้องไปดู กลุ่มอัญมณี เห็นชัดเจนเลย pranda ที่สร้าง goldmaster มาเป็นแบรนด์ตัวเอง และตัวเองก็ทำ OEM ไปด้วย
หรือ GFM ที่สร้างกระโดดมาสร้างบริษัทลูกมาทำแบรนด์แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปเพราะไม่ชำนาญเหลือแต่แบรนด์ไว้เท่านั้นเพื่อไม่ให้คนอื่นมากดราคาได้

พวกนี้ต้องมองความสัมพันธ์กันด้วย ว่าทำไมเขาถึงต้องมีคำว่าแบรนด์

by the way
ความชำนาญอันนี้ต้องย้อนกลับไปดูที่ Ford ในตอนยุค T-model เป็นคนพัฒนาเรื่องการทำซ้ำให้เกิดผลมากที่สุด ยิ่งทำซ้ำในงานเดิมมากๆเท่าไร ยิ่งมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นเท่านั้น เกิดความสามารถในตัวบุคคลในการทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น อันนี้ย้อนกลับไปดูได้ว่า ทำไม T-model ผลิตได้มากกวายี่ห้ออื่นและราคาถูกกว่ายี่ห้ออื่นในยุคเดียวกัน เพราะสิ่งที่เรียกว่าการทำซ้ำนั้นเอง

by the way
มาถึงตัว ต่อไป โตโยต้าบ้าง อันนี้ต้องบอกว่าทำ Just in Time เมื่อไรที่ทำการผลิตต้องมีสินค้า นั้นคือการบริการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพไม่ให้ เกิดขาดแคลน ถ้าหากขาดแคลนแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิต ส่งมอบช้า เกิดสินค้าขาดแคลน เสียเปรียบคู่แข่ง ไม่คุ้มทุนในการเปิดสายการผลิต

by the way (อันสุดท้ายแล้ว)
SNC ดีจุดไหนหรือ ต้องไปดูด้วยตา บอกเล่าไม่ได้ เพราะ บ้างครั้งลมปากเป็นเพียงแค่สายลม เชื่อมากไม่ได้
ต้องพึ่งตามกาลามสูตร ตามนี้

๑. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
๒. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
๓. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
๔. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
๕. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
๖. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
๗. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
๘. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
๙. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
๑๐.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

เดี๋ยวจะได้ไมล้มตึงกัน

:)
:)
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 54

โพสต์

sathaporne เขียน:ผมยังไม่เข้าใจ eco of scale ของ snc ครับ
โอเค ในส่วนของท่อทองแดงอาจจะในเรื่องนี้ เพราะsncน่าจะเป็นรายใหญ่รายเดียวที่ทำเกี่ยวกับท่อทองแดง
แต่อย่างอื่นเช่น โลหะขึ้นรูปเนี่ย ผมเข้าใจว่ามันก็น่าจะมีเจ้าใหญ่เจ้าอื่นที่ทำอยู่
และไอ้เจ้าโลหะขึ้นรูปที่เจ้าอื่นเขาทำ ผมคิดว่าเขาก็คงไม่ได้ทำเฉพาะที่เกี่ยวกับแอร์หรือเปล่า
เขาอาจจะทำทางด้านอื่นด้วย นั่นแปลว่าถ้ามองโดยรวมเขาอาจจะมี scale ที่ใหญ่กว่า SNC มากก็ได้ (ในส่วนโลหะขึ้นรูป)
ถ้าเป็นกรณีอย่างนี้เขาก็แข่งราคากับSNC ได้สบาย หรืออย่างพวกโมลพลาสติก มันก็น่าจะมีเจ้าใหญ่รายอื่นด้วยหรือเปล่าที่เขาไม่ได้ทำเฉพาะแอร์อย่างเดียว
เห็นด้วยเลยครับ ผมสงสัยอยู่เหมือนกัน เรื่องท่อกับคอยล์คงน่าจะได้เพราะเฉพาะอุปกรณ์ทำความเย็น แต่เจ้าเหล็กกับพลาสติคนี่ผมก็ยังไม่ค่อยเคลียร์ครับ ยังไงช่วยกันหาข้อมูลตรงนี้ก็ดีครับ :P
It's earnings that count
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4247
ผู้ติดตาม: 4

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 55

โพสต์

อันนี้ไม่เกี่ยวกับ 5 Forces นะครับ

แต่ SNC นั้นที่ผมชอบคงเป็นเรื่องของระบบการทำงานของบริษัทครับ
โดยเฉพาะระบบ Mini MD ซึ่งแต่ละ mini MD จะดูแลยอดขายคนละ 50 ล้านบาท โดยประมาณ
เรื่องนี้พี่ yoyo น่าจะตอบได้ดีเพราะเคยไปเข้าคอร์สมาแล้ว

miniMD เท่าที่ผมรู้จะเป็นลักษณะว่า คนนึงดูแลยอดขาย 50 ล้านบาท
โดย miniMD จะต้องวางแผนการผลิต วางแผนการใช้เครื่องจักร การใช้พื้นที่
ทุกๆอย่างที่อยากใช้จะต้องทำเป็นตัวเลขการเช่าให้บริษัทแม่ (ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ในงบการเงิน)
ซึ่งก็เหมือน SNC ประกอบด้วยบริษัท OEM จำนวนมากซึ่งมียอดขาย 50 ล้านบาท
บริษัทเล็กๆการดูแลก็ง่ายขึ้น ด้วยวิธีนี้ทำให้ SNC โดดเด่นในการรีดไขมันส่วนเกินครับ ซึ่งจำเป็นมากในธุรกิจ OEM
_________
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 56

โพสต์

sathaporne เขียน: ส่วนเจ้าคำว่า one stop service ผมก็สงสัยเหมือนกันว่ามันจะมีผลกับธุรกิจแบบนี้จริงๆหรือ
แนวคิดอันนี้ของเค้าที่ผมฟังๆมาก็อารมณ์ประหยัดต้นทุนครับ คือถ้าเจ้าของ brand แอร์มี supplier ท่อ คอยล์ เหล็ก พลาสติด อย่างละเจ้า เค้าต้องเสียค่า sg&a ของ 4 บริษัท แต่ถ้าทั้งสี่ตัวนี้ snc ทำได้เองก็จะประหยัด sg&a ให้ลูกค้าได้มากแล้ว (ดู sg&a ของ snc ตอนทำท่อทองแดงอย่างเดียว 7-8% ของยอดขาย ทั้งๆที่ snc เป็นที่หนึ่งในเรื่องท่อยังเยอะขนาดนี้ ลองคิดถึง 7-8% ของทั้ง 4 supplier ที่จะเป็นต้นทุนของเจ้าของแบรนด์) ยังไม่พูดถึงค่าขนส่งและการสื่อสารข้อมูลระหว่าง supplier กับผู้ประกอบอีก

ซึ่งผมว่าประเด็นเรื่อง sg&a นี้คงจะต่างกับพวกร้านค้าปลีกหรือสถานที่อะไรก็ตามที่รวมสินค้าต่างๆที่ลูกค้าต้องการมาไว้รวมกันเป็น one stop shop เพราะเค้าไม่ได้ผลิตสินค้าเหล่านั้นเองครับ ยังไงก็ต้องซื้ออยุ่ดีดังนั้นจะไม่เกิดการประหยัดตรงนี้ครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ :P

ป.ล. ไม่รู้ตรงประเด็นป่าว  :lol:
It's earnings that count
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 57

โพสต์

แต่ถ้า one stop shop ในเชิงความสะดวก ผมเฉยๆเหมือนกันครับ :)
It's earnings that count
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 24

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ใกล้ได้เวลาแล้ว ขอตัวไปดูบอลก่อนนะครับ ... ปะ .. โอ๊ต ... :)
It's earnings that count
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 28

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ถ้าเราคุยเรื่อง SNC ในประเด็นที่เรากำลังค้นหา Competitiveness ของบริษัท แลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเชิงสร้างสรรค์ ผมว่าเราทำได้อย่างสบายใจนะครับ เชื่อแถอะว่า ที่แย้ง และสนับสนุนนั้นเกิดจากข้อมูลและความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา

ไปcompany visit กันไหม? ถามผู้บริหารกันแบบเจาะลึก เอาข้อมูลที่เราไม่รู้มาแบ่งปันกัน ส่วนใครคิดอย่างไรก็ตัดสินใจกันไปตามนั้น อย่ามาโทษกันหากไม่เป็นไปตามที่ตนเองคิด เพราะคิดเอง ตัดสินใจเอง

สำหรับ Case Starbucks ผมกำลังสรุปเป็น Power point แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ ภายในอาทิตย์นี้คงได้อ่านกัน

สำหรับ SNC ผมพยายามสรุปข้อมูลที่ผมหาได้ แล้วเรามาคุยกันอีกรอบ หากได้ Visit จะดีมาก
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
DarkBot
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

ว่าด้วยเรื่อง Five Force Model

โพสต์ที่ 60

โพสต์

อืมมม แจ่ม จัดมาเลยคับเพ่มน ทั้งcaseกาแฟที่ไม่คิดจะขายกาแฟ ทั้งSNC
ปล. ข้าน้อยด้อยฟามรุ้มากๆ ยังต้องอาศัยอ่านข้อมูลในนี้เป็นพักๆ