ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 31

Posts

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2546

ฟันธง!อุตฯ ยานยนต์ปีวอก สี่ล้อรุ่ง-จยย.โตน้อยลง

โดย ผู้จัดการออนไลน์

ผู้ประกอบการฟันธง! อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปีวอกสดใส คาดยอดผลิตรถยนต์รวมทะลุ 9 แสนคัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 6 แสนคัน เท่ากับจุดสูงสุดก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ และส่งออกเพิ่มเป็น 3 แสนคัน จากแผนฐานการผลิตในไทยเริ่มเป็นรูปธรรมทุกยี่ห้อ ขณะที่ตลาดรถจักรยานยนต์เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ น่าจะชะลอการเติบโตเหลือเพียงปีละ 5-10% เมื่อการอัดฉีดเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าของรัฐบาลเริ่มลดลง

ขณะนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างกำลังร่วมมือกันอย่างจริงจัง ในการผลักดันให้ไทยกลายเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มีการตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2553 ไทยจะต้องผลิตรถไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านคัน มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1 ล้านล้านบาท แต่ก่อนที่จะถึงจุดนั้น เอาแค่ใกล้ปี 2547 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีแนวโน้มเป็นอย่างไร? จะสดใสเหมือนเช่น 2-3 ปีที่ผ่านมา หรือจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติเช่นเดิม สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบองทิศทางในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ยอดขายรถ-ผลิตเพิ่มแท้จริง

ผลพวงจากกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างหนักของภาครัฐ และสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น บวกกับมีสินค้าในตลาดใหญ่อย่าง โตโยต้า วีออส และฮอนด้า ซิตี้ เพิ่งเปิดตัวสู่ตลาด ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในไทยในช่วงปี 2546 นี้ เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากที่คาดการณ์กันไว้เมื่อต้นปี 4.6 แสนคัน ก็ปรับเพิ่มมาเป็น 5 แสนคันช่วงกลางปี และมาล่าสุดช่างไตรมาสสุดท้ายก็ปรับเพิ่มเป็น 5.2-5.3 แสนคัน

โดยตัวเลขยอดขายรถ 11 เดือนปีนี้(ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 468,354 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วช่วงเดียวกัน 29.9% เพราะฉะนั้นในช่วง 1 เดือนสุดท้ายที่เหลืออยู่ แน่นอนแต่ละบริษัทจะเร่งผลักดันยอดขายให้ได้มากที่สุด เพื่อปิดบัญชีในแต่ละปี โดยเฉพาะในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รวมทุกยี่ห้อสามารถสร้างยอดขายภายในงานทะลุเป้าที่วางไว้ 1.2 หมื่นคัน เป็น 1.8 หมื่นคัน ดังนั้นเมื่อรวมยอดขายทั่วประเทศ น่าจะส่งผลให้ปิดตัวเลขรวมทั้งปีทะลุ 5.2-5.3 แสนคัน ตามที่ประมาณการณ์ไว้แน่นอน
ขณะที่ตัวเลขรวมการผลิตรถยนต์ ทั้งป้อนตลาดในประเทศและส่งออก 11 เดือนปีนี้ พบว่ามีการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 6.74 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 26% ทำให้คาดว่าการผลิตทั้งปี 2546 จะมากกว่าเป้าหมายเดิม 7.2 แสนคัน เป็น 7.4 แสนคัน จากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปีนี้ และทิศทางสภาวะเศรษฐกิจของไทยในปีหน้า ที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่า ปีหน้าตลาดรถยนต์จะยังคงเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป

"การเติบโตของตลาดรถยนต์รวมทุกประเภทในปี 2547 น่าจะอยู่ในระดับประมาณ 16% เนื่องจากตัวเลขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนจากภาครัฐ การใช้จ่ายต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่ดี จึงคิดว่าตลาดรถยนต์ไทยน่าจะเติบโตด้วยดี แต่ที่โตไม่เท่ากับปีนี้ เนื่องจากปีหน้าจะเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการที่แท้จริง ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายผ่านหลัก 6 แสนคัน จากการผลิตจริง 7.6 แสนคัน และในปีหน้าจะเพิ่มการผลิตเป็น 9 แสนคัน แบ่งเป็นส่งออก 3 แสนคัน และตลาดในประเทศ 6 แสนคัน" นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ไทย จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าว

ตลาดรถจยย.เริ่มชะลอตัว

การอัดฉีดลงไปในเศรษฐกิจระดับรากหญ้าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล ผ่านโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน หรือการพักชำระหนี้เกษตรกร ทำให้ตลาดรถจักรยานยนต์ดีดตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อบวกกับการลงตีกันตลาดรถจักรยานยนต์จีนของผู้ผลิตรายใหญ่ในไทย ด้วยการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ราคาประหยัดสู่ตลาด ยิ่งเป็นสปริงผลักดันให้ตลาดรถจักรยานยนต์ดีดตัวขึ้นไปสุดๆ

ทั้งนี้จะเห็นได้จากยอดขายรถจักรยานยนต์ในประเทศ 11 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวนสูงถึง 1.58 ล้านคัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีปริมาณการขาย 1.93 เพิ่มขึ้นถึง 33% ดังนั้นในช่วงเดือนสุดท้ายที่เหลือน่าจะทำให้ปิดตัวเลขทั้งปีได้ 1.7 ล้านคัน ตามที่ประมาณการณ์ไว้

อย่างไรก็ตามแม้ตลาดรถจักรยานยนต์จะเติบโต แต่คาดว่าในปีหน้าจะไม่เติบโตเช่นปีนี้ โดยจะเห็นได้จากการประเมินของบริษัทรถจักรยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของฮอนด้า ก็ได้มีการประกาศเป้าหมายในปีหน้า ที่ตั้งเป้าการขายไว้เพียง 1.3 แสนคัน แทบจะไม่แตกต่างจากปีนี้ โดยประมาณการณ์ตลาดรวมไว้ที่ 1.8 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้เพียง 1 แสนคัน หรือเติบโตเพียง 5% เท่านั้น เช่นเดียวกับที่เบอร์สองค่ายซูซูกิประเมินไว้

"ตลาดรถจักรยานยนต์ปี 2547 ซูซูกิคาดว่าจะไม่เติบโตมากนัก เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5-10% หรือมียอดขายประมาณ 1.8 ล้านคัน เนื่องจากตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดมีอัตราการเติบโตสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ราคาประหยัด และการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐลงในท้องถิ่นผ่านโครงการต่างๆ ทำให้ตลาดมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ดังนั้นในปีหน้าตลาดรถจักรยานยนต์น่าจะเข้าสู่สภาวะปกติมากขึ้น" นายเลิศศักดิ์ นววิมาน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายและการตลาด บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด

ส่งออกรถ-ชิ้นส่วนฯ แรง

หลังจากไทยค่ายรถ ต่างย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย ไม่เพียงส่งผลให้ตลาดไทยคึกคักเท่านั้น แต่ยังทำให้ตลาดส่งออกรถยนต์จากไทย มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีมูลค่าต่อปีสูงขึ้นทะลุหลัก 1.5 แสนล้านบาทต่อปีไปแล้ว

โดยตัวเลขการส่งออกช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ รวมมูลค่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งสิ้น 1.41 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 28% โดยแบ่งเป็นส่งออกรถยนต์ทั้งสิ้น 2.14 แสนคัน เพิ่มขึ้น 30% เครื่องยนต์ส่งออก 4.88 พันล้านบาท ลดลง 13% ชิ้นส่วน 2.54 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 61% รถจักรยานยนต์ส่งออก 5.4 แสนคัน เพิ่มขึ้น 8% ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ 5.83 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 59% อะไหล่ 2.16 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 60%

สำหรับการส่งออกในปี 2547 ตัวเลขจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะแผนการผลิตเพื่อการส่งออกของหลายค่ายเริ่มจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะโตโยต้าที่ลงทุน 3.3 หมื่นล้านบาท ในโครงการ IMV สำหรับใช้ไทยเป็นฐานการผลิตปิกอัพและรถอเนกประสงค์รวม 2 แสนคัน แบ่งเป็นทำตลาดในประเทศและส่งออกสัดส่วน 50: 50 จะเริ่มเดินเครื่องได้ในช่วงกลางปีหน้า

ขณะที่ค่ายฮอนด้าที่ปีนี้มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 108% จากที่มีมูลค่าการส่งออก 18,000 ล้านบาทในปี 2545 เพิ่มเป็น 36,000 ล้านบาทในปีนี้ สืบเนื่องจากการส่งออกรถยนต์ฮอนด้า ซิตี้ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์เพิ่มขึ้น โดยในปี 2547 นี้ฮอนด้าตั้งเป้าส่งออกเพิ่มเป็น 47,500 ล้านบาท จากการเพิ่มส่งออกรถรุ่นแจ็ซ รถแฮทช์แบ็ก 5 ประตูไปยังประเทศต่างๆ ในปีหน้านี้

ส่วนค่ายที่ส่งออกอยู่ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด-มาสด้า , จีเอ็ม (เชฟโรเลต) หรือผู้ส่งออกรายใหญ่เช่น มิตซูบิชิ รวมถึงอีซูซุที่จะส่งออกปิกอัพภายใต้แบรนด์เนมของตนเองอย่างเต็ม 100% ในปีหน้านี้ ก็จะทำให้การส่งออกรถยนต์จากไทยเพิ่มขึ้นเกิน 2.5 แสนคัน หรือมีมูลค่ากว่ารวมทั้งอุตสาหกรรมน่าจะแตะหลัก 2 แสนล้านบาทแน่นอน

จากตัวเลขตรงนี้คงพอฟันธง! ได้ว่าเป้าหมายระยะสั้นของรัฐบาล ที่จะมีการผลิตรวม 1 ล้านคันในปี 2549 คงเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยไปเสียแล้ว แต่จะถึง 1.8 ล้านคันในปี 2553 หรือไม่? คงต้องติดตามดูกันต่อไป
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 32

Posts

วันที่ 22 มกราคม 2547
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3551 (2751)

ขายอีโคคาร์2.8แสน "วัชระ"ระดม6ซีอีโอ ร่วมกำหนดสเป็กรถ

เปิดสเป็ก "อีโคคาร์" เคาะราคาแค่ 2.8 แสนบาท กินน้ำมันแค่ 20 ก.ม./ล. เดินหน้าจีบ 6 ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำเข้าร่วม ย้ำชัดไม่ได้กำหนดรูปแบบของรถ แต่เป็นแค่ "พิกัดแห่งชาติ" เท่านั้น ฟันธงไม่เกิน 18 เดือน ได้เห็นรถออกมาวิ่งแน่ ด้านผู้ประกอบการตบเท้ารับลูก เตรียมเจรจาบริษัทแม่หาโปรดักต์ที่เหมาะสม

นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 มกราคมนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะจัดประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยเจนเนอรัล มอเตอร์ส, ฟอร์ด-มาสด้า, เดมเลอร์ ไครสเลอร์, มิตซูบิชิ, ฮอนด้า และโตโยต้า เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องของนโยบายในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ก้าวไปสู่การเป็น "ดีทรอยต์ออฟเอเชีย" และเข้าเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อหาข้อสรุปตรงนี้ให้ได้

"โดยเฉพาะโครงการ "อีโคคาร์" เป็นหนึ่งในแผนงานที่จะผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็น "ดีทรอยต์ออฟเอเชีย" ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าในปี 2549 ไทยจะมีการผลิตรถยนต์ 1 ล้านคัน มีการส่งออกรถยนต์ 4 แสนคัน ชิ้นส่วนยานยนต์ 2 แสนล้านบาท และกำหนดมูลค่าเพิ่มในประเทศ 60% รวมถึงการผลิตรถจักรยานยนต์ 2 ล้านคัน และมีการส่งออก 4 แสนคัน" นายวัชระกล่าว

สำหรับความคืบหน้าในโครงการ "อีโค คาร์" กำลังอยู่ระหว่างการกำหนดสเป็กรถยนต์ เน้นในเรื่องของราคาถูก ประหยัดน้ำมัน และลดมลพิษ ซึ่งจะไม่มีการกำหนดข้อบังคับปลีกย่อยของตัวรถแต่อย่างใด เนื่องจากรถรุ่นนี้จะเป็นสินค้าหลักของตลาดส่งออกในอนาคตต่อไป การกำหนดสเป็กทุกอย่างอาจไม่ส่งผลดี และผู้ประกอบการอาจจะไม่เข้าร่วมก็เป็นได้

"เป็นการกำหนดพิกัดแห่งชาติมากกว่า ส่วนตัวรถยนต์เราเปิดกว้างมาก คุยกับผู้ประกอบการทุกรายที่เข้าร่วมแล้วก็เห็นด้วยและไม่ได้มีปัญหาอะไร อย่างที่คุณเรียวอิจิ ซาซากิ ประธานโตโยต้า ได้พูดไว้ ก็ถือเป็นคอนเซ็ปต์เดียวกัน ไม่ได้กำหนดซีซี ขนาดตัวถังอะไรเลย ซึ่งรถรุ่นนี้น่าจะเป็นสินค้าหลักของไทยในอนาคต และเป็นกำลังหลักของการส่งออกได้"

นอกจากนั้น รถยนต์อีโค คาร์ น่าจะเป็นรถที่สามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนได้ อาทิ เอทานอล รวมไปถึงฟิวเซลล์ ได้มีการเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯและ ปตท. เพื่อให้เข้ามาร่วมกับโครงการนี้ ส่วนราคาจำหน่ายได้กำหนดราคาเบื้องต้นที่ประมาณ 2.8-3.5 แสนบาท ถูกกว่ารถที่จำหน่ายในปัจจุบันประมาณ 40% และควรจะประหยัดน้ำมันไม่น้อยกว่า 20 กิโลเมตรต่อลิตร

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในอีก 1-2 เดือนนี้น่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของพิกัดทั้งหมดก่อนที่จะเสนอให้กับ รมต.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอไปยังรองนายกฯ และให้นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาต่อไป โดยคาดการณ์ว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน จึงจะมีการผลิตออกจำหน่ายและส่งออกต่อไป

สำหรับเรื่องอัตราภาษีนั้น จะเป็นเรื่องที่พิจารณาในขั้นสุดท้าย เนื่องจากเป็นตัวกำหนดราคาขายของรถยนต์ในประเทศ แต่หากเป็นการส่งออก คงไม่มีผลอะไรมากนัก สิ่งสำคัญในขณะนี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องของมาตรฐานตัวรถมากกว่า ว่าจะสามารถเข้าไปเจาะตลาดโลกในประเทศใดบ้าง

"ทุกวันนี้รถราคาถูกสุด 5 แสนบาท ดาวน์ 25% ยังต้องผ่อนกันเดือนละ 7-8 พันบาท ถ้าราคาลงไปเหลือ 3.5 แสน อาจจะเหลือผ่อนกันเดือนละ 3-4 พันบาท ซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น เห็นได้ชัดว่าเป็นการเปิดกลุ่มลูกค้าใหม่ ผมเชื่อว่าน่าจะซัพพอร์ตเป้าหมายปี 2553 ที่เราอยากเห็นการส่งออก 8 แสนคัน เมื่อถึงวันนั้นเราจะผลิตรถยนต์ 1.8 ล้านคัน เป็น 1 ใน 10 ของผู้ผลิตรถยนต์มากที่สุดของโลก และจะช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชียได้"

นายคันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักสื่อสารองค์กร บริษัท เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จำกัด เปิดเผยว่า ทางมิตซูบิชิอยากให้รัฐบาลกำหนดความชัดเจนของรถยนต์ประเภทนี้ เพื่อให้ภาคเอกชนได้พิจารณานำรถยนต์รุ่นที่เหมาะสมเข้ามาทำตลาด โดยขณะนี้ทางมิตซูบิชิมีความพร้อมอยู่แล้ว ถ้ารัฐบาลสามารถกำหนดสเป็กรถได้ จะได้นำไปเจรจากับบริษัทแม่ เพื่อหาโปรดักต์ที่เหมาะสมมาทำตลาดต่อไป

นายซาโตชิ โตชิดะ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าประจำภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า ทางฮอนด้าเห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องนี้ ถ้ามีรถยนต์ขนาดเล็กออกสู่ตลาดที่สามารถดูแลรักษาง่าย และใช้ในการสัญจรได้อย่างสะดวก จะถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก และยังสามารถขยายตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดส่งออกในอนาคต

"ในปี 2539 ฮอนด้าได้แนะนำรถซิตี้ขนาด 1.3 ลิตร ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ในเมืองไทย จนถึงปัจจุบันรถยนต์ในเซ็กเมนต์นี้มีแชร์ในตลาดรถยนต์นั่งถึง 45% ถ้าไปดูตลาดในญี่ปุ่น จะเห็นว่ามีรถขนาดเล็ก 660 ซีซี ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดประมาณ 25% ขณะที่ในยุโรปมีรถเล็กขนาด 1,000 ซีซี แชร์ตลาดประมาณ 30% ดังนั้น ถ้ามีรถประเภทนี้ในเมืองไทย น่าจะขยายตลาดขึ้นได้อีก"

นายเรียวอิจิ ซาซากิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ทางโตโยต้าเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ต้องมาพิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าด้วย รวมทั้งต้องกำหนดสเป็กที่ชัดเจน โดยต้องพิจารณาถึงการขยายตลาดส่งออกในอนาคตด้วย

"ถ้าจะให้มีรถยนต์ประเภทนี้ในเมืองไทย ต้องเปิดกว้าง เพื่อให้รถที่ผลิตออกมาสามารถแข่งขันได้ เพราะถ้ามีการกำหนดสเป็กที่เฉพาะเจาะจงลงไป จะทำให้รถประเภทนี้ไม่โต เพราะขายในตลาดเมืองไทยได้อย่างเดียว ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่าจะต้องการรถแบบไหน อย่างไร"
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 33

Posts

ปีที่ 27 ฉบับที่ 3553 (2753)

โตโยต้าไทยขึ้นแท่นอันดับ2ของโลก ทำลายสถิติแซงออสเตรเลียฉลุย

เปิดแผน "โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย-แปซิฟิก" ดันไทยเป็นประเทศเป้าหมาย ประกาศขึ้นแท่นเป็นที่ 2 ของโลกในปีนี้ หลังทำยอดขายแซงออสเตรเลียได้ตั้งแต่ 2 เดือนที่แล้ว คาดโปรเจ็กต์ไอเอ็มวีช่วยเพิ่มยอดขายอีกมาก ตั้งเป้าครองแชร์ในภูมิภาคสูงถึง 40% ส่วน "เลกซัส" ยังโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าแชร์ 20% ในปีหน้า ชี้มีไต้หวันเป็นหัวหอก ตามด้วยเกาหลีและไทย


นายวินซ์ เอส.ซอคโก ผู้อำนวยการฝ่ายบริการทางการตลาด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย-แปซิฟิก จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางโตโยต้า มอเตอร์ตั้งเป้าว่ายอดขายรถยนต์โตโยต้าในเมืองไทยปีนี้จะขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ เนื่องจากยอดขายรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทยขยายตัวขึ้นอย่างมาก โดยในปีที่ผ่านมาทำยอดขายได้ถึง 188,000 คัน ห่างจากประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นที่ 2 ที่ทำยอดขายได้ 190,000 คัน ดังนั้น คาดว่ายอดขายรถยนต์โตโยต้าในเมืองไทยที่ตั้งเป้าไว้ 220,000 คันในปีนี้จะขึ้นเป็นอันดับ 2 แซงหน้าประเทศออสเตรเลียได้อย่างแน่นอน

"ในปีที่ผ่านมายอดขายรถยนต์โตโยต้าในเมืองไทยขยายตัวขึ้นอย่างมากจนสามารถทำลายสถิติยอดขายสูงสุดที่เคยทำไว้ได้ และในช่วงเดือนพฤศจิกา ยนถึงธันวาคมปีที่แล้ว ไทยสามารถทำยอดขายแซงออสเตรเลียได้แล้ว แต่เมื่อรวมยอดขายทั้งปียังห่างกันอยู่นิดหน่อย คิดว่าปีนี้น่าจะแซงได้เนื่องจากไทยมีโปรดักต์ใหม่ที่จะเปิดตัวในปีนี้อีกหลายรุ่น"

นายซอคโกกล่าวต่อว่า นโยบายทางการตลาดของโตโยต้าในภูมิภาคนี้ คือ ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ทุกเซ็กเมนต์ และสามารถรักษาตำแหน่งในตลาดที่เป็นผู้นำเอาไว้ให้ได้ พร้อมกับเปิดตัวรถยนต์ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยทางโตโยต้า มอเตอร์ได้ตั้งเป้าที่จะครองส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคนี้ให้ได้ 40% ซึ่งคาดว่าจะทำได้ในอนาคตอันใกล้

"สำหรับตลาดในภูมิภาคนี้ที่เราดูแลอยู่ประกอบด้วยไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไน และสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเป้าหมาย คือ ประเทศไทย ขณะนี้มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 38% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีแชร์อยู่ 35% ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการเติบโตที่ต่อเนื่อง ดังนั้น เป้าหมายที่เราตั้งไว้ 40% น่าจะทำได้ไม่ยาก"

นอกจากนั้น ทางโตโยต้า มอเตอร์ยังได้เตรียมแผนงานต่างๆ ที่จะรองรับให้ไทยเป็นฐานในภูมิภาคนี้ ทั้งการผลิตรถยนต์ในโครงการไอเอ็มวีโปรเจ็กต์ที่มีการย้ายฐานผลิตรถปิกอัพและรถอเนกประสงค์มายังเมืองไทย ซึ่งจะเปิดตัวในกลางปีนี้ โครงการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในเมืองไทยที่จะเริ่มดำเนินการในปีหน้า และจะมีรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะผลิตออกมาสู่ตลาดหลังจากโครงการไอเอ็มวี รวมทั้งโครงการขยายฐานผู้ผลิตชิ้นส่วนในเมืองไทยด้วย

นายซอคโกกล่าวถึงนโยบายด้านการตลาดของรถยนต์เลกซัสว่า บริษัทตั้งเป้าที่จะครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์หรูหราในภูมิภาคนี้ไว้ที่ 20% ในปี 2538 จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 15% โดยตลาดใหญ่อยู่ในประเทศไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันมียอดขายอยู่ประมาณ 5,800 คัน และบริษัทคาดว่าในปี 2538 จะมียอดขายในไต้หวันประมาณ 8,000 คัน ส่วนยอดขายในเมืองไทยนั้นบริษัทตั้งเป้าในปีนี้ไว้ประมาณ 500 คัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1,000 คันในปี 2538

"ขณะนี้เราเข้าไปเปิดตลาดรถยนต์เลกซัสในภูมิภาคนี้หลายประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง บรูไน และประเทศไทย สำหรับประเทศไทยนั้นเริ่มมีการทำตลาดอย่างเป็นทางการอีกครั้งในปีที่แล้ว โดยนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาเปิดตลาด สำหรับแผนงานในปีนี้จะเน้นการขยายตัวแทนการจำหน่ายให้ครอบคลุมการบริการกับลูกค้า รวมทั้งเพิ่มกิจกรรมทางการตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ยังไม่มีการเปิดตัวในปีนี้"
xoom
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 34

Posts

ผมเรียนถามทุกท่านเลยนะครับ ว่า SPSU กับ ฺBAT3-K ราคาน่าตอนนี้น่าสนใจหรือยังครับ หรือ ตัวไหนที่มองในแง่การลงทุนระยะยาว VI แล้วน่าลงทุนที่สุดในกลุ่มยานยนต์
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 35

Posts

thanwa เขียน:ดีจัง มีคนรู้จริงอย่างคุณ Whatdj มาช่วยให้ความรู้

ผมขอถามก่อนก็แล้วกันครับ
ผมอ่านเรื่องการลดภาษีของมาเลเซียซึ่งจะมีผลบังคับใช้ก็อีกทั้งหลายปี
โดยเลื่อนออกไปจากหมายกำหนดการเดิม อย่างนี้ถือว่าไม่ fair กับประเทศอื่นๆ หรือเปล่า ประเทศสมาชิกมีมาตรการอย่างไรที่จะโต้ตอบ

ผมเคยอ่านจากทีไหนไม่ทราบ เขาบอกว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถในการแข่งขันดีกว่าประเทศจีนอยู่อีกประมาณ 5 ปี เพราะฉนั้นในช่วงนี้ยังดีอยู่ นอกจากนี้ประเทศไทยมีการลงทุนด้าน R&D มากขึ้น ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นอย่างไรครับ

เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกันครับ :wink:


ก่อนอื่นต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับในความล่าช้า ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ได้แต่แว๊ปๆ ไปมา ว่าจะตอบหลายทีแล้วแต่ก็ไม่ได้ตอบซักที

ปลื้มใจสุดๆครับที่ท่าน thanwa ให้เกียรติมาถามผม ติดตามผลงานมานานแล้วครับ แต่ขอออกตัวก่อนนะครับว่าความรู้ของผมมีแค่หางอึ่ง ไม่ได้มากมายอะไรครับ

สำหรับคำถามเรื่องการเลื่อนการลดภาษีของมาเลเซียนั้นfairหรือปล่าวนั้น
ง่ายๆคือไม่ค่อยfairนัก แต่ก่อนอื่นต้องขอเรียนเรื่องภาพรวมของอุตฯนี้ของมาเลย์ก่อนว่ายอดimport รถยนต์ของมาเลย์มีไม่มากนัก Brand ที่
คลองตลาด(จะเรียกว่าผูกขาดเลยก็ได้) คือ Proton เป็นรถแห่งชาติของมาเลย์ครับ ซึ่งความจริงมันคือ Mitsubishi หน่ะเองครับ Proton นำMitsuมาพัฒนา ชิ้นส่วนหลักๆเช่นเครื่องยนต์ก็ยังใช้ของ Mitsu แต่Proton พยายามพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมาทดแทนเรื่อยๆ อีกไม่กี่ปีก็คงสามารถผลิตเครื่องยนต์ของตัวเองได้แน่นอน

คนมาเลย์มีความเป็นชาตินิยมสูงชาติหนึ่งในโลกอีกทั้งรัฐบาลยังสนับสนุนสุดๆ ยอดขายของ Proton จึงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 40%(2003)
อ้าว! แล้วอันดับ2เป็นใครล่ะ? ตาตี่หรือหัวทอง? ปล่าวเลยยังคงคัวดำผมหยิกเหมือนเดิมครับ Perodua นี่ก็มาเลย์หมือนกัน มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 30%(2003) แค่2ยี่ห้อนี้ก็ 70% ไปแล้วครับ
อันดับ 3และ4 จึงเป็น Toyota และ Nissan ส่วนแบ่งตลาดที่ 9% และ 4% ตามลำดับ
Whatdj
Verified User
โพสต์: 33
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 36

Posts

อุ๊ย ลืมlog in

นโยบายรถแห่งชาติเนี่ยเป็นของท่าน ดร.มหาเธร์ ครับซึ่งไม่ได้มีแค่2ยี่ห้อนี่นะครับ ยังมี Permas, Inokom(รถtruckแห่งชาติ) ,ล่าสุดนี่ก็ NAZA (MPV แห่งชาติ) ส่วนใหญ่Brandพวกนี้เติบโตมาจากการเป็น Dealer ครับ (NAZA จักจำหน่าย Kia Hyudai Mazda ฯลฯ)
อีกอย่างBrand พวกนี้มิได้จำหน่ายแค่ในมาเลย์นะครับ อย่าง Protonเนี่ย ใน South East Asia มีขายแทบจะทุกประเทศ ยกเว้นก็แต่ ในไทยเรานี่แหละ, Perodua ก็มีในอังกฤษครับ

ผมเห็นว่า รัฐบาลมาเลย์นั้นเข้มแข็งมากเห็นแก่ประชาชนเป็นหลักแม้จะมีมาตราการใดมาแซกแทรง ทางมาเลย์ก็คงมีวิธีโต้ตอบกลับอย่างเท่าทันเช่นกัน ตอนนี้นโยบายภาษีก็เอื้อให้ผู้ประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองอยู่ อีกอย่างแม้จะมีการลดภาษีนำเข้าแต่ว่า Brandต่างชาติก็คงทำตลาดสู้กับBrand local ลำบากอยู่ดี นอกเสียจากเรื่องชิ้นส่วนก็อีกเรื่องหนึ่ง...

ขอพักก่อนนะครับ เดี๋ยวเรื่องเมืองจีนมาว่ากันอีกที
ขาดทุนคือค่าเล่าเรียน
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 37

Posts

ขอบคุณครับ คุณ Whatdj สำหรับข้อมูล
นอกจากนี้ จะได้เป็นเพื่อนกันในกระทู้นี้ด้วย เหงานะ

คุณ xoom ครับ
ไม่ทราบว่า มีอะไรจูงใจให้นึกถึง SPSU กับ BAT-3K ครับ
ช่วยให้ข้อมูลหน่อยซิครับ
SPSU ผมไม่ค่อยมีข้อมูล
ส่วน 3K นี่รู้แต่ว่าแบตเตอรี่ก็เหมือนๆ กันนี่ครับ
Aim
Verified User
โพสต์: 13
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 38

Posts

ขอออกความเห็นเกี่ยวกับรถจากมาเลเซีย เท่าที่เห็นเวลารถมาเลเข้ามาส่วนมากก็จะเป็นรถ Proton ที่พอเห็นบ้างก็ Perodua ได้ข่าวว่าถ้าจะซื้อรถยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ของมาเลราคาจะสูง คนที่จะใช้ก็ต้องมีฐานะพอสมควร แต่ถ้ารถของมาเลเองราคาจะถูก อ้อ! เท่าที่เห็นยี่ห้ออื่นที่พอจะเห็นคนมาเลขับ ก็เป็น โตโยต้า คัมรี่ กับเบ๊นซ์ ค่ะ (ข้อมูลนี้ตามจากที่เห็นนะคะ ไม่ใช่จากเอกสาร)
ส่วนเรื่องแบตเตอรี่ ขอออกความเห็นจากการที่ที่บ้านขายอะไหล่ (รถใหญ่) แบตเตอรี่ของ 3k เนี่ย คุณภาพจะสู้ของ yuasa ไม่ได้ ของ yuasa ไฟจะแรงกว่า ทนกว่า แล้วก็ไม่ค่อยเสียค่ะ แล้วก็มีข้อสังเกตว่ารถที่ผลิตมาใหม่เดี๋ยวนี้ก็ใช้ของ gs เยอะค่ะ
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 39

Posts

ดีครับคุณ aim ที่ให้ข้อมูล

ว่าแต่ว่า คุณ xoom ยังไม่บอกผมเลยว่าขอบทั้งสองตังตรงไหนครับ
หรือตอนนี้หุ้นกลุ่มยานยนต์ underperform ไปซื้อปิโตรเคมีกันหมด :wink:
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ใครถือ stanly อยู่บ้าง ยกมือขึ้น

Post no. 40

Posts

แล้ว stanly ล่ะคะ เป็นไงบ้าง เห็นร่วงมากขนาดนี้ ใจหายอะค่ะ ใครพอรู้มั้ยคะว่าเกิดอะไรขึ้นกับมัน ถึงได้ร่วงสวนทางชาวบ้านเค้าขนาดนี้ ทั้งๆที่เป็นหุ้นที่พื้นฐานเยี่ยมอีกตัว ถ้าแน่ใจว่าไม่มีข่าวอะไร จะได้ซื้อเพิ่มน่ะค่ะ
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 41

Posts

Mr. Market ก็อย่างนี้ละครับ อารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตั้งแต่ต้นปีมา เดือนมกราคม ต่างจากเดือนธันวาคมอย่างสิ้นเชิง
เดือนกุมภาพันธ์ ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ระหว่างอาทิตย์ยังแปรปวน

ในบางครั้ง คนเราต้องพยายามหาเหตุผลให้ได้เพื่อความสบายใจ
วันนี้ทำไมหุ้นขึ้น พอได้คำตอบแล้วก็สบายใจ วันต่อมา...
วันนี้ทำไมหุ้นลงพอได้คำตอบแล้วก็สบายใจอีก

คงต้องลงพิจารณาดูว่าพื้นฐานของ STANLY เปลี่ยนหรือไม่
ถ้าไม่เปลี่ยน ก็ไม่น่ากังวล ถ้าเปลี่ยนก็ต้องว่ากันอีกทีครับ
สำหรับราคาที่ลง ผมไม่ทราบจริงๆ ครับว่าเพราะเหตุใด
ผมก็ยังมองว่า ธุรกิจของ STANLY ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ยังเป็นผู้นำอุปกรณ์ส่องสว่างของรถยนต์อยู่เช่นเดิม
ผู้บริหารชุดเดิม เงินปันผลคงน้อยเช่นเดิมเพราะนำไปลงทุนเพิ่ม

สรุปคือไม่ทราบจริงๆ ว่ามีข่าวอะไรที่ทำให้ลงครับ
หากคิดว่า STANLY ยังยอดเยี่ยมเหมือนเดิม อาจจะเป็นโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจนี้ในราคาที่ถูกลง
แต่หากคิดว่าไม่มั่นใจกับอนาคต ความสามารถของผู้บริหาร ก็น่าจะลองเลือกดูกิจการอื่นที่ดีกว่าครับ
กายย
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 42

Posts

ตอบคุณ thanwa คือผมมองว่า SPSU กับ 3K P/E มันต่ำและตัวธุรกิจก็มีแบนด์ใช้ได้ มีอนาคต โดยเฉพาะ SPSU และตัวอื่นอื่นในกลุ่มเดียวกันก็ขึ้นกันไปสูงหมดแล้ว คงเหลือ Gap อีกไม่มาก ที่สำคัญไม่ค่อยมีใครเชียร ไม่มีใครสนใจ แถมราคาตกนี้ยังตกลงมาก ผมว่าอีกไม่แน่ ตัวนี้อนาคต 1-2 ปีนี้ ราคาเกิน 3x แน่ (อันนี้ผมคิดเอง) ใครเชียวชาญ SPSU ช่วยเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหน่อย
Whatdj
Verified User
โพสต์: 33
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 43

Posts

SPSU โดยตัวธุรกิจแล้วแม้ยอดขายจะดีแต่ นโยบาย"ตามก้นผู้นำ"ตลาดอย่างHondaนั้นผมยังรู้สึกว่ามันคงทำได้แค่ประคองตัวเองให้อยู่ในตลาด
ได้แค่นั้น แต่ผมว่ามันมีแน้วโน้มว่าส่วนแบ่งตลาดของSPSUจะลดลง

เพราะตลาดจยย.ในปีนี้และปีหน้าเล่นยาก หลักๆคือมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอย่างTiger สัญชาติไทยแท้ที่ออกมาประกาศศักดาความเป็นไทยด้วยกลยุทธ์ท้าชนกับผู้นำอย่างHonda จนก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ4ภายในเวลาเพียง1-2ปีเท่านั้นขนาดHondaเองยังมีหวั่นๆ แถมTiger ยังมีแผนส่งออกไปต่างประเทศที่แน่นอนแล้ว เจ้าของTiger ก็คือคู่หูMDจากKawasazi ที่เคยสร้างตำนานมาแล้วแถมยังมีกลุ่มกระจกไทยอาซาฮีหนุนหลังอยู่อีก นี่ยังไม่นับปัจจัยอื่นเช่นECO Car นโยบายดอกเบี้ยจยย.ใหม่ฯลฯ หากSPSU ยังคงเล่นแบบประคองตัวอยู่แบบเดิมแต่ปัจจัยในตลาดเปลี่ยนไป คงมีปัญหาในระยะยาวแน่

คงต้องจับตาดูนโยบายของปีนี้ก่อนว่าไปในทิศทางใดครับ
ขาดทุนคือค่าเล่าเรียน
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 44

Posts

คุณ Whatdj
ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ SPSU ไว้น่าสนใจมากครับ
ส่วนเจ้า 3K นี่เห็นลงข่าวเลี้ยงผู้จำหน่ายทั่วประเทศแล้วบอกว่าขายได้ตามเป้า ทั้งที่ งบดี หนี้น้อย PB ต่ำ แต่นักลงทุนไม่ค่อยเห็นตรงจุดนี้

ส่วนตัวแล้ว battery ค่อยข้างแยกความแตกได้ลำบาก
3K ทำ maintanee free ออกมาแถมยังรับประกันยาวกว่า มีรถค่อยวิ่งให้ความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน พยายามสร้างความแตกต่างอยู่ คงต้องลองดูครับว่า profit margin จะสูงขึ้นเปล่า จากงบ 4Q นี่และครับ

ผมถามคุณ Whatdj ต่อว่า
การที่มี eco-car ที่น่าจะส่งผลกระทบกับกำไรของบริษัทมากน้อยเพียงไร
เห็นตั้งราคาไว้ต่ำมากเลย ผู้ประกอบการคงร้อนๆ หนาวเหมือนกันนะครับ

ผมละอยากจะเห็นรัฐบาลชุดนี้มี แอร์ไทม์เอื้ออาทร จังแลยนะ :wink:
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 45

Posts

คุณ Whatdj
ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ SPSU ไว้น่าสนใจมากครับ
ส่วนเจ้า 3K นี่เห็นลงข่าวเลี้ยงผู้จำหน่ายทั่วประเทศแล้วบอกว่าขายได้ตามเป้า ทั้งที่ งบดี หนี้น้อย PB ต่ำ แต่นักลงทุนไม่ค่อยเห็นตรงจุดนี้
ส่วนตัวแล้ว battery ค่อยข้างแยกความแตกได้ลำบาก
3K ทำ maintanee free ออกมาแถมยังรับประกันยาวกว่า มีรถค่อยวิ่งให้ความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน พยายามสร้างความแตกต่างอยู่ คงต้องลองดูครับว่า profit margin จะสูงขึ้นเปล่า จากงบ 4Q นี่และครับ

ผมถามคุณ Whatdj ต่อว่า
การที่มี eco-car ที่น่าจะส่งผลกระทบกับกำไรของบริษัทมากน้อยเพียงไร
เห็นตั้งราคาไว้ต่ำมากเลย ผู้ประกอบการคงร้อนๆ หนาวเหมือนกันนะครับ

ผมละอยากจะเห็นรัฐบาลชุดนี้มี แอร์ไทม์เอื้ออาทร จังแลยนะ :wink:
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 46

Posts

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3557 (2757)

"โยโกฮาม่า"ตั้งรง.ลุยส่งออก ฝันปีนี้ขายยางทะลุแสนเส้น
"โยโกฮาม่า" ประกาศขึ้นแท่นอันดับ 1 ยางนำเข้าคุณภาพสูง ชี้ปีที่ผ่านมาขยายตัว 31.93% ตั้งเป้าปีนี้รักษาแชมป์ ส่ง "จีโอแลน ดาร์ เอช/ที-เอส" ลงตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าเอสยูวี พร้อมทุ่มงบฯจัดกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตเต็มตัว แถมจับมือโยโกฮาม่า ญี่ปุ่นตั้งโรงงานผลิตยางใหญ่ ตั้งเป้าลุยตลาดส่งออกทั่วโลก

นายอภิชัย ตั้งวงศ์ศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ต.สยาม คอมเมอร์เชียล จำกัด ตัวแทนจำหน่ายยางรถยนต์ "โยโกฮาม่า" ในประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปี 2546 ที่ผ่านมา ทางบริษัทสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าตลาดยางรถยนต์นำเข้าคุณภาพสูงได้สำเร็จ โดยมียอดจำหน่ายในประเทศไทยทั้งสิ้น 116,084 เส้น เติบโตจากปี 2545 31.93% ซึ่งเป็นการขึ้นสู่อันดับหนึ่งของตลาดหลังการตั้งบริษัทเพียง 2 ปีเท่านั้น

"เรามองตัวเลขของยอดขายสำหรับยางรถยนต์นำเข้าคุณภาพสูงเท่านั้น ซึ่งไม่ทราบว่าคู่แข่งจะรายงานตัวเลขเท่าไร และจะรายงานรวมไปถึงยางในเซ็กเมนต์อื่นๆ อย่างพวกยางรถจักรยานยนต์หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ ปีนี้เราขึ้นอันดับ 1 ที่สำคัญกว่า นั้น คือ โยโกฮาม่าเองมียอดจำหน่ายสำหรับยางสมรรถนะสูงพวกยางขอบใหญ่มากถึงกว่า 40%"

ซึ่งในปีนี้ทางบริษัทคาดว่าตัวเลขยอดขายน่าจะปรับเพิ่มขึ้นอีกมาก แม้ว่าตลาดจะได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย แต่ก็ได้เตรียมรับมือไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของดีลเลอร์ทั้ง 150 แห่ง และการเปิดตัวสินค้าใหม่ซึ่งเจาะไปที่เซ็กเมนต์ที่กำลังขยายตัวสูงสุด โดย "จีโอแลนดาร์ เอช/ที-เอส" ยางใหม่ที่พร้อมจะส่งมอบสินค้าได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปนั้น จะมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าออฟโรด ที่เน้นสมรรถนะความนุ่มและเงียบของยางเป็นหลัก โดยจะมีการเปิดตัวยางรุ่นใหม่นี้ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 30x9.5 R15 และ 31x10.5 R15 ซึ่งเป็นขนาดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย

นอกจากนี้ จะมีการทุ่มงบฯการตลาดประมาณ 20 ล้านบาท ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการแบ่งงบฯกว่า 2 ล้านบาท เพื่อร่วมมือกับกรังด์ปรีซ์ กรุ๊ป ในการเป็นสปอนเซอร์ให้กับการแข่งขัน "โยโกฮาม่า จิมคาน่า ไทยแลนด์ คอนเทสต์" โดยได้รับการรับรองจากราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย (รยสท.) รวมถึงการแข่งขัน "โยโกฮาม่า เดรสอัพ คอนเทสต์" สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ใช้ยางรถยนต์โยโกฮาม่าอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้มากขึ้น

"ปีนี้เป็นปีแรกที่เราเข้ามาทำในเรื่องของมอเตอร์สปอร์ตอย่างจริงจัง ทั้งที่จริงๆ โยโกฮาม่ามีชื่อเสียงด้านนี้อยู่แล้ว ก็คิดว่ากิจกรรมที่เราจัดขึ้น จะทำให้ผู้ใช้ยางรู้จักเรามากขึ้นเช่นกัน"

นายอภิชัยเปิดเผยต่อว่า ทางบริษัทได้เข้าร่วมกับบริษัท โยโกฮาม่า รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ในการตั้งโรงงานผลิตยางเรเดียลสำหรับรถบรรทุกและรถบัส (ทีบีอาร์) ในประเทศไทย โดยได้ยื่นเรื่องไปที่บีโอไอในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะได้รับอนุมัติและก่อตั้งบริษัท โยโกฮาม่า ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัดขึ้น ด้วยทุนจดทะเบียน 1.5 พันล้านเยน โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นทางญี่ปุ่น 95% และทาง ต.สยาม 5%

ซึ่งแผนงานของบริษัทใหม่นี้ จะเริ่มผลิตยาง ทีบีอาร์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 เป็นต้นไป โดยมีการตั้งโรงงานผลิตที่นิคมอมตะ ซิตี้ จังหวัดระยอง และคาดว่าจะมีการลงทุนในเบื้องต้นทั้ง หมด 5.5 พันล้านเยน โดยจะมีกำลังการผลิตในเฟสแรก 300,000 เส้น ก่อนที่จะมีการขยายเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ด้วยงบฯลงทุนอีก 5.5 พันล้านเยนในเฟสถัดไป ซึ่งจะทำให้โรงงานนี้เป็นโรงงานแห่งที่ 3 ของโยโกฮาม่าในโลกนี้ที่ผลิตยางทีบีอาร์

"เป้าหมายของโรงงานนี้อยู่ที่การส่งออก ตั้งเป้าว่าเราจะส่งออกไปยังทุกประเทศทั่วโลก ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นที่มีโรงงานอยู่แล้ว ซึ่งเราจะผลิตยางขนาด 22.5 นิ้วเป็นหลัก เนื่องจากเป็นยางที่ตลาดมีความต้องการมาก ตลาดในประเทศไทยก็คงมีจำหน่ายด้วย แต่ความต้องการยังไม่มาก การมีโรงงานแห่งนี้ขึ้นมาจะส่งผลดีกับเรา แน่นอน โดยเฉพาะในอนาคตคงมีการขยายงาน ออกไป แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้นผมยังบอกไม่ได้ใน ตอนนี้"
thanwa
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1011
ผู้ติดตาม: 21

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 47

Posts

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3557 (2757)

มิตซูฯแชมป์ส่งออกปี"46ทะลุแสนล้าน
มิตซูบิชิครองแชมป์ส่งออกตลอดปี 2546 ขยายตัวเพิ่มกว่า 28.74% คิดเป็นมูลค่าส่งออก 138,673.17 ล้านบาท เป็นรถยนต์สำเร็จรูป 235,521 คัน มูลค่า 102,724.35 ล้านบาท และเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบมีมูลค่า 35,948.82 ล้านบาท

เรืออากาศโทคันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักสื่อสารองค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิ เปิดเผยตัวเลขส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยของปี 2546 มีมูลค่า 138,673.17 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 28.74% (เทียบกับปี 2545) แบ่งเป็นรถยนต์สำเร็จรูปส่งออกทั้งสิ้น 235,521 คัน คิดเป็นมูลค่า 102,724.35 ล้านบาท มีการขยายตัวเพิ่ม 30.44% ด้านตลาดส่งออกเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบ มูลค่า 35,948.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.38%

สำหรับยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปอันดับที่ 1 มิตซูบิชิส่งออก 66,991 คัน มูลค่า 30,937.73 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งการตลาด 28.44% ลดลง 11.37% อันดับ 2 ออโตอัลลายแอนซ์ 55,214 คัน มูลค่า 22,139.39 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด 23.44% เพิ่มขึ้น 16.65% อันดับ 3 ฮอนด้า 38,165 คัน มูลค่า 15,103.75 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด 16.20% เพิ่มขึ้น 268% อันดับ 4 โตโยต้า 27,382 คัน มูลค่า 9,368.12 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 11.63% เพิ่มขึ้น 130.45% อันดับ 5 อีซูซุ 23,994 คัน มูลค่า 11,493.56 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 10.19% เพิ่มขึ้น 1,679.97%

เรืออากาศโทคันธนิธิ์กล่าวถึงยอดการส่งออกในเดือนธันวาคม 2546 มีมูลค่าส่งออก 12,657.05 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่ม 28.45% แบ่งเป็นรถยนต์สำเร็จรูป 20,376 คัน มูลค่า 8,978.98 ล้านบาท ด้านมูลค่าตลาดเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบรวมทั้งสิ้น 3,678.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 67.75% มิตซูบิชิส่งออกอันดับที่ 1 5,894 คัน คิดเป็นมูลค่า 2,554.94 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด 28.93% ลดลง 16.62% อันดับ 2 ออโตอัลลายแอนซ์ 5,596 คัน คิดเป็นมูลค่า 2,289.01 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 27.46% เพิ่มขึ้น 33.27% อันดับ 3 โตโยต้า 2,969 คัน มูลค่า 1,019.99 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาด 14.57% เพิ่มขึ้น 270.66% อันดับ 4 อีซูซุ 2,137 คัน มูลค่า 1,060.61 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 10.49% เพิ่มขึ้น 16,338.46% อันดับ 5 เจนเนอรัล มอเตอร์ส 2,126 คัน มูลค่า 1,270 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาด 10.43% ลดลง 16.43%
Whatdj
Verified User
โพสต์: 33
ผู้ติดตาม: 0

ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์

Post no. 48

Posts

thanwa เขียน:คุณ Whatdj
ให้ข้อคิดเกี่ยวกับ SPSU ไว้น่าสนใจมากครับ
ส่วนเจ้า 3K นี่เห็นลงข่าวเลี้ยงผู้จำหน่ายทั่วประเทศแล้วบอกว่าขายได้ตามเป้า ทั้งที่ งบดี หนี้น้อย PB ต่ำ แต่นักลงทุนไม่ค่อยเห็นตรงจุดนี้
ส่วนตัวแล้ว battery ค่อยข้างแยกความแตกได้ลำบาก
3K ทำ maintanee free ออกมาแถมยังรับประกันยาวกว่า มีรถค่อยวิ่งให้ความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน พยายามสร้างความแตกต่างอยู่ คงต้องลองดูครับว่า profit margin จะสูงขึ้นเปล่า จากงบ 4Q นี่และครับ

ผมถามคุณ Whatdj ต่อว่า
การที่มี eco-car ที่น่าจะส่งผลกระทบกับกำไรของบริษัทมากน้อยเพียงไร
เห็นตั้งราคาไว้ต่ำมากเลย ผู้ประกอบการคงร้อนๆ หนาวเหมือนกันนะครับ

ผมละอยากจะเห็นรัฐบาลชุดนี้มี แอร์ไทม์เอื้ออาทร จังแลยนะ :wink:

ผมว่าไม่กระทบมากหรอกครับ ดูๆไปน่าจะดีด้วยซ้ำ เพราะทางผู้ประกอบการเองมีรุ่นรถอีกเป็นกระบุงที่ยังไม่ได้นำเข้ามาขาย ที่รู้มาก็เช่น Mitsubishi จะเอา Colt มาทำตลาด รูปทรงน่ารักน่าชังดีครับ โดนใจคนรุ่นใหม่
เท่าที่ผมดูรู้สึกว่า ECO Car นั้นเป็นรถเล็กจัดอยู่ในClass "SUB A" body เช่นเดียวกับ Vios,City,Jazz นับวันอัตราการขยายตัวของSegment นี้จะยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆเพราะ

1.รถคันแรก
-จับกลุ่มคนเมืองเป็นรถCity Car เล็กๆประหยัด ราคาเบาๆ
วางตำแหน่งเป็นรถคันแรกในชีวิต เป้าหมายก็เป็นคนรุ่นใหม่เพิ่งทำงาน
Trend ของกลุ่มนี้ก็คือ คอนโด รถยนต์ บัตรเครดิต แต่รายได้นั้นสวนทางกับความต้องการเหลือเกิน แต่ไม่มีก็ไม่ได้เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ที่บอกตัวตนของคนในยุคสมัย Productราคาถูกจึงตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดี เพราะจ่ายเงินน้อยลงแถมยังมีสัญลักษณ์ทุกอย่างครบถ้วน
อีกอย่างเป็นการสร้างฐานลูกค้าในอนาคตของBrand นั้นๆด้วย เพราะอายุการใช้งานของรถโดยเฉลี่ย10-15ปี เมื่อถึงกำหนดด้วยความเคยชินจะเลิกใช้รถก็ไม่ได้มีคันแรกก็ต้องมีคันที่2 อายุมากขึ้นมีครอบครัวความต้องการในการใช้งานก็เปลี่ยนไปจะให้ใช้รถขนาดเล็กอยู่เหมือนเดิมก็คงไม่ได้รถก็ต้องใหญ่ขึ้นตามวุฒิภาวะหาก ประทับใจรถคันแรก คันที่สองจะเสี่ยงไปใช้ยี่ห้ออื่นทำไม

2.รัฐสนับสนุน
-เห็นชัดๆก็ชิ้นส่วนที่Eco Carใช้ของภายในประเทศกว่า80-90% แต่งานนี้ต้องลุ้นนโยบายภาษีของรัฐครับว่าจะลดลงกว่านี้หรือป่าวถ้าลดลงจริง คงได้ประโยชน์หลายฝ่ายครับทั้ง ผู้ประกอบการ ลูกค้าImport Export สินเชื่อ การทางพิเศษ เพราะรถคงล้นถนนแน่ (ตำรวจนอกแถวคงต้องฟิตร่างกายตัวเองหน่อยนะ เพราะอาจมีรถให้โบกมือเรียกมากขึ้น อิอิ)

-ตอนCityกับSoluna ออกมาแรกๆนั้นอัดงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปโข ว่าดีอย่างงั้นอย่างงี้,ประหยัดน้ำมันกว่านะ,เป็นCity carนะ แต่ตอนนี้รัฐมาประชาสัมพันธ์ให้เองฟรีๆ ประหยัดงบตั้งเยอะ ตัวเองก็แค่โฆษณาว่าEco Carของตัวเองมีชื่อว่าอะไร แถมBrandอื่นที่ยังไม่มีรถรุ่นเล็กก็เป็นโอกาศอันดีที่ตัวเองจะโดดมากินเค้กก้อนนี้

สรุป
ถามว่าจะกระทบผลกำไรโดยรวมมั๊ย คงต้องมองกับอัตราภาษีด้วย ทั้ง Part และ Raw Materiel เป็นสำคัญ เพระรถที่ขายในบ้านเรานั้นแพงเพราะภาษีทั้งนั้น
แต่ผมว่าผลดีมันมีมากกว่าผลเสียนะ อย่าลืมว่าเขาไม่ได้เน้นเพียงขายในประเทศนะ เขาส่งออกด้วย
ผมว่าดีไม่ดีคนที่หนาวๆร้อนๆอาจเป็นบริษัทน้ำมันก็ได้หากหันมาใช้เอทานอลกันแทนน้ำมัน อิอิ

ปล.
เรียนท่านthanwa แอร์ไทม์เอื้ออาทร ยังไม่มี เอาแอร์เอเชียเอื้ออาทรไปก่อนละกันครับ อิอิ
ขาดทุนคือค่าเล่าเรียน