บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 271

โพสต์

อิตาลีขายพันธบัตรชุดล่าสุดได้ 7.5 พันล้านยูโร บอนด์ยีลด์สูงกว่า 7%ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 19:44:56 น.
รัฐบาลอิตาลีสามารถระดมทุนจากการประมูลพันธบัตรชุดใหม่อายุ 3 ปีครั้งล่าสุดในวันนี้ได้ 3.5 พันล้านยูโร ด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 7.89% เพิ่มขึ้นจากการประมูลเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ระดับ 4.93%

ส่วนพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 สามารถจำหน่ายได้ 2.5 พันล้านยูโร ด้วยอัตราผลตอบแทน 7.56% เพิ่มขึ้นจากการประมูลครั้งก่อนที่ระดับ 6.06% และพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2563 สามารถจำหน่ายได้ 1.5 พันล้านยูโร คิดเป็นวงเงินที่ประมูลได้ทั้งสิ้น 7.5 พันล้านยูโร ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ที่ 8 พันล้านยูโร

ส่วนยอดสั่งจองพันธบัตรอายุ 3 ปี มีอยู่มากกว่าจำนวนพันธบัตรที่นำออกจำหน่ายถึง 1.5 เท่า ขณะที่ยอดสั่งจองพันธบัตรที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 มีมากกว่าจำนวนพันธบัตรที่นำออกจำหน่าย 1.34 เท่า

การประมูลพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีในวันนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 โดยที่ผ่านมานั้น ธนาคารกลางยุโปรเริ่มเข้าซื้อพันธบัตรของอิตาลีเมื่อวันที่ 8 ส.ค. เพื่อบรรเทาต้นทุนการกู้ยืม หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 พุ่งแตะ 6.4% สูงเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกลุ่มยูโรโซนมา จากนั้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงเหลือต่ำกว่า 5% ในช่วงกลางเดือนส.ค. ก่อนจะดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้งทำสถิติใหม่ที่ 7.48% เมื่อวันที่ 9 พ.ย.

องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะขยายตัว 0.7% ในปีนี้ก่อนที่จะชะลอตัวเหลือ 0.5% ในปี 2555 กล่าวว่า การเปิดประมูลครั้งนี้เป็นมาตรการที่เด็ดขาดของรัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ อันเป็นความพยายามที่จะลดยอดขาดดุลลงให้ได้ตามเป้าหมายในปี 2556 และดำเนินแผนปฏิรูปโครงสร้างตามที่อิตาลีได้ให้สัญญาไว้กับสหภาพยุโรป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 272

โพสต์

IMF เผยอิตาลี สเปนยังไม่ได้ขอความช่วยเหลือทางการเงิน

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา 17:27:36 น.
ผู้เข้าชม : 288 คน


นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า อิตาลีและสเปนไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟแต่อย่างใด ขณะที่นางลาการ์ดได้เรียกร้องให้บรรดาผู้นำยุโรปดำเนินการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟจะสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินก็ต่อเมื่อรัฐบาลเรียกร้อง และจนถึงขณะนี้ไอเอ็มเอฟได้ให้ความช่วยเหลือแค่เพียงโปรตุเกส, ไอร์แลนด์และกรีซเท่านั้น และได้เสนอความช่วยเหลือสำหรับการตรวจสอบด้านการคลังในอิตาลี

http://www.kaohoon.com/online/25829/IMF ... รเงิน-.htm
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 273

โพสต์

ภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ CBOT: ดอลล์อ่อนหนุนธัญพืชปิดบวกต่อเนื่อง
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 08:06:59 น.
ภาวะการซื้อขายที่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ CBOT เมื่อคืนนี้ (29 พ.ย.) สัญญาธัญพืชปิดบวกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนมีมุมมองต่อยูโรโซนที่เป็นบวกมากขึ้น หลังรัฐบาลอิตาลีสามารถระดมทุนด้วยการขายพันธบัตรได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายสูงสุดที่กำหนดไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์

สัญญาข้าวโพดส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 7 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 6.055 ดอลลาร์/บุชเชล ในขณะที่สัญญาข้าวสาลีส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 23 เซนต์ หรือ 3.9% ปิดที่ 6.16 ดอลลาร์/บุชเชล และสัญญาถั่วเหลืองส่งมอบเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 4 หรือ 0.4% ปิดที่ 11.25 ดอลลาร์/บุชเชล

ทั้งนี้ รัฐบาลอิตาลีรัฐบาลอิตาลีสามารถระดมทุนจากการประมูลพันธบัตรชุดใหม่ได้ 7.5 พันล้านยูโร (ประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์) เมื่อวานนี้ ในขณะที่เทรดเดอร์รายหนึ่งกล่าวว่า เงินสกุลยูโรได้รับแรงหนุนในระดับหนึ่งหลังจากที่รัฐบาลอิตาลีสามารถระดมทุนจากการประมูลพันธบัตรในตลาดได้ ถึงแม้ว่าต้องถูกบังคับให้จ่ายผลตอบแทนในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์

การแข็งค่าของเงินสกุลยูโรถือเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาธัญพืช เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในรูปเงินสกุลดอลลาร์มีความดึงดูดต่อนักลงทุนที่ถือครองเงินสกุลอื่นๆ เมื่อเงินสกุลดอลลาร์อ่อนค่าลง

รายงาน Commitments of Traders บ่งชี้ว่า ในสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน นักเก็งกำไรได้ปรับลดคาดการณ์การขยับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ท่ามกลางความวิตกกังวลที่ว่า การไร้ความสามารถในการควบคุมวิกฤติของยุโรปอาจส่งผลให้อุปสงค์ด้านวัตถุดิบทั่วโลกชะลอตัวลง

ในขณะเดียวกัน การปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของราคาน้ำมันท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศกับอิหร่าน ยังเป็นแรงหนุนต่อตลาด CBOT อีกด้วย

นอกจากนี้ รายงาน Commitments of Traders ยังบ่งชี้ว่า การเก็งกำไรและการซื้อเพื่อชดเชยการทำชอร์ตเซลของกองทุนในตลาดข้าวสาลียังทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 82,964 สัญญา สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 274

โพสต์

รมว.คลังยูโรโซนอนุมัติเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 มูลค่า 8 พันล้านยูโรให้กรีซ
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 10:05:25 น.
รมว.คลังกลุ่มยูโรโซนได้ลงนามอนุมัติเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 มูลค่า 8 พันล้านยูโร (1.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับกรีซ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงให้ความช่วยเหลือที่ทำร่วมกับกรีซเมื่อปีที่แล้ว

การอนุมัติเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 ให้กับกรีซมีขึ้นหลังจากที่รมว.คลังยูโรโซนได้เลื่อนเวลาการตัดสินใจออกไปเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากพรรคการเมืองหลักๆของกรีซได้ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และสหภาพยุโรป (อียู)

นายฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีและผู้นำของพรรคการเมืองหลักๆของกรีซ ได้ร่วมลงนามข้อตกลงดังกล่าว พร้อมกับคาดการณ์ว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟจะตัดสินใจในช่วงต้นเดือนธ.ค. และคาดว่า จะมีการปล่อยเงินกู้ให้กับกรีซในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นเวลาที่สำคัญเนื่องจากเป็นช่วงครบกำหนดชำระหนี้ของรัฐบาลกรีซ สำนักข่าวซินหัวรายงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 275

โพสต์

OECD เผยตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศสมาชิกชะลอตัวเล็กน้อยในเดือนตุลาคม
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 09:57:47 น.
องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD เพิ่มขึ้นในอัตรา 3.2% ต่อปีในเดือนตุลาคม ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 3.3% ต่อปีในเดือนกันยายน

ทั้งนี้ ราคาอาหารปรับตัวลดลงสู่ 4.1% ในเดือนตุลาคม จาก 4.2% ในเดือนกันยายน และหากไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อต่อปีในกลุ่มประเทศสมาชิก OECD 34 ประเทศ เพิ่มขึ้น 2.0% ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับ 1.9% ในเดือนกันยายน

รายงานของ OECD ระบุว่า กลุ่มประเทศ G-7 ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวของเงินเฟ้อลดลงในเดือนตุลาคม โดยสหรัฐอยู่ที่ 3.5% แคนาดา 2.9% สหราชอาณาจักร 5.0% ญี่ปุ่น 0.2% และเยอรมนี 2.5%

อย่างไรก็ตาม ดัชนีซีพีไอได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอิตาลี สู่ระดับ 3.4% จาก 3.0% และ ฝรั่งเศส 2.3% จาก 2.2% ในเดือนกันยายน

รายงานของ OECD ระบุเพิ่มเติมว่า อัตราเงินเฟ้อต่อปีในเขตยูโรโซนยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 3.0% ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน

ส่วนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ OECD ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในจีน บราซิล และ อินโดนีเซีย และทรงตัวในรัสเซีย แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแอฟริกาใต้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 276

โพสต์

รมว.คลังยูโรโซนมีมติเพิ่มทุน EFSF, หวังพึ่งพา IMF คุมวิกฤตหนี้ลุกลาม
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 30 พฤศจิกายน 2554 12:12:32 น.
รัฐมนตรีคลังของ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป มีมติให้เพิ่มขนาดทุนทรัพย์ให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) และพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการควบคุมการลุกลามของวิกฤตหนี้

ที่ประชุมรมว.คลังยูโรโซนได้หยิบยกแนวทางที่เป็นไปได้ 2 แนวทางในการเพิ่มขนาดของกองทุน EFSF แนวทางแรกคือการเปิดทางให้กองทุน EFSF สามารถค้ำประกันการขาดทุนราว 20-30% ที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักลงทุนที่ซื้อพันธบัตรของรัฐบาลยูโรโซนในกรณีที่เกิดปัญหาด้านการเงิน และแนวทางที่สองคือการจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนร่วม โดยมีเป้าหมายที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลในประเทศยูโรโซน

นายเคลาส์ เร็กลิง ผู้อำนวยการกองทุน EFSF กล่าวว่า เขายังไม่สามารถระบุจำนวนทุนทรัพย์ที่จะเพิ่มให้กับกองทุน EFSF ซึ่งทางผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) คาดหวังว่าจะมีวงเงินสูงถึง 1 ล้านล้านยูโร อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในตลาดกังวลว่าเม็ดเงินในกองทุนจะมีไม่ถึงจำนวนดังกล่าว

ด้านนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ปกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กองทุน EFSF เพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ รมว.คลังยูโรซนจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยเหลือผ่านทางเงินกู้ระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อให้กองทุน EFSF มีสิทธิอำนาจใหม่ที่เหมาะสมและมีการรวมกลุ่มกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 277

โพสต์

'ทีไอ' กลุ่มเฝ้าระวังต่อต้านการคอร์รัปชั่น ชี้คอร์รัปชั่นฉุดวิกฤติหนี้ยูโรโซนเลวร้ายหนัก-อิตาลีและกรีซรคอร์รัปชั่นสูงสุดในโลก

ทรานส์พาเรนท์ซี อินเตอร์เนชั่นแนล (ทีไอ) กลุ่มเฝ้าระวังต่อต้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งมีฐานอยู่ในเบอร์ลิน ระบุว่า คอร์รัปชั่นจะบั่นทอนความพยายามต่างๆที่จะรับมือกับวิกฤติหนี้ในกลุ่มยูโรโซน ขณะที่ กรีซ และอิตาลี มีคะแนนติดกลุ่มประเทศที่มีการฉ้อฉลด้วยกลวิธีต่างๆมากที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของทีไอ

"ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหาการจ่ายเงินใต้โต๊ะ และการหลีกเลี่ยงภาษี ที่เป็นตัวแปรหลักในการเกิดวิกฤติหนี้สาธารณะ"แถลงการณ์จากทีไอ ระบุ

ทั้งนี้ การจัดอันดับ ซึ่งไล่ตั้งแต่ 0-10 (โดยคะแนน0 หมายถึงการคอร์รัปชั่นสูงมาก ขณะที่หากประเทศใดได้คะแนน 10 หมายถึงมีการคอร์รัปชั่นเพียงเล็กน้อย) อิตาลีได้คะแนน 3.9 และกรีซ ได้คะแนน 3.4 อยู่ในอันดับ 69 และ 80 ตามลำดับในการจัดอันดับครั้งนี้ซึ่งมีประเทศทั้งหมด 182 ประเทศ

นางโรบิน โฮเดสส์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของทีไอ กล่าวว่า วิกฤติหนี้ในยูโรโซนสะท้อนถึง การบริหารจัดการทางการเงินที่ย่ำแย่ การขาดความโปร่งใส และการบริหารจัดการกองทุนสาธารณะที่ผิดพลาด

"เมื่อปัญหาการคอร์รัปชั่นแพร่ระบาดไปทั่ว ผู้คนทุกระดับชั้นจะรู้สึกถึงผลกระทบแง่ลบต่อปัญหานี้อย่างทั่วโลก ซึ่งอิตาลีและกรีซ ต้องดำเนินการมากกว่านี้ในการต่อสู้กับปัญหาการคอร์รัปชั่น" นางโฮเดสส์ กล่าว

นอกจากนี้ โซมาเลีย ที่บอบช้ำจากภัยสงคราม และเกาหลีเหนือก็ติดกลุ่มประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดของโลกด้วยคะแนนด้วยเช่นกัน 1.0 ส่วนอิรัก มีการปรับปรุงปัญหานี้ดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังติดกลุ่มมีคอร์รัปชั่นสูงโดยรั้งอันดับที่ 175 และอัฟกานิสถาน ที่ยังคงรั้งอันดับ 180 แม้มีความพยายามต่างๆที่จะสกัดกั้นการจ่ายเงินใต้โต๊ะและการคอร์รัปชั่นก็ตาม และลิเบีย อยู่ในอันดับ 168

ส่วนกลุ่มประเทศ ที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด คือ นิวซีแลนด์ ได้คะแนน 9.5 ตามมาด้วย เดนมาร์ค ฟินแลนด์ สวีเดน และสิงคโปร์
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 278

โพสต์

ญี่ปุ่นขานรับ 6 แบงก์ชาติจับมือเพิ่มสภาพคล่องคลายวิกฤตหนี้ยุโรป
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 13:12:35 น.
รัฐบาลญี่ปุ่นขานรับการตัดสินใจครั้งล่าสุดของธนาคารกลางชั้นนำ 6 ประเทศที่ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน เพื่อคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป

นายโอซามุ ฟูจิมูระ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า เราประเมินว่า การดำเนินการดังกล่าวมีความเหมาะสม เนื่องจากวิกฤตหนี้ยูโรโซนนั้น ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า นายจุน อาซูมิ รัฐมนตรีกระทรวงคลังญี่ปุ่น กล่าวว่า ตนเองประเมินไว้สูงกับความร่วมมือกันของธนาคารกลาง ขณะที่มีความกังวลมากขี้นเรื่อยๆเกี่ยวกับตลาดการเงินยุโรป

การแสดงความเห็นเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่ ธนาคารกลาง 6 แห่งประกาศเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ธนาคารเหล่านี้เห็นชอบเรื่องการเพิ่มความร่วมมือในการช่วยเหลือสถาบันการเงินยุโรปสนับสนุนเรื่องเงินทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

การดำเนินการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ ประกอบไปด้วยการที่ธนาคารกลางสหรัฐลดอัตราดอกเบี้ยในการสวอปดอลลาร์ลง 0.5% แก่ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางแคนาดา และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์

นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวยังได้รับการขานรับจากนักลงทุนทั่วโลก ส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐและญี่ปุ่นดีดตัวขึ้น

นายอาซูมิกล่าวย้ำว่า สถาบันการเงินญี่ปุ่นไม่มีแนวโน้มว่า จะเผชิญกับสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าวิกฤตหนี้ยุโรปจะย่ำแย่ โดยชี้ว่า ระบบธนาคารของประเทศยังมีเสถียรภาพอยู่

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 279

โพสต์

IMF ขานรับ 6 แบงก์ชาติประกาศมาตรการหนุนสภาพคล่องบรรเทาวิกฤตหนี้ยุโรป
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 11:26:31 น.
คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ออกมาขานรับธนาคารกลางชั้นนำ 6 แห่งทั่วโลกที่ประกาศใช้มาตรการจัดหาสภาพคล่องในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธนาคารต่างๆ ซึ่งรวมถึงธนาคารในยุโรป

ลาการ์ด ซึ่งขณะนี้อยู่ที่เม็กซิโกตามแผนการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศละตินอเมริกา กล่าวว่า "มาตรการร่วมในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนสภาพคล่องในตลาดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด" พร้อมกับประกาศว่า ไอเอ็มเอฟจะร่วมมือกับธนาคารกลางทั้ง 6 แห่งในฐานะองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้มาตรการของธนาคารกลางทั้ง 6 แห่งนั้น มีการบังคับใช้อย่างครอบคลุม

ทั้งนี้ ลาการ์ดย้ำว่า ภารกิจของไอเอ็มเอฟคือการป้องกันและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น ไอเอ็มเอฟจึงเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการจัดการกับวิกฤตแบบถอนรากถอนโคน และปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆที่จำเป็นเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นอกจากนี้ ลาการ์ดยอมรับว่า ไอเอ็มเอฟจะต้องเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือ 18 ชาติสมาชิกของไอเอ็มเอฟที่กำลังเผชิญวิกฤต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะคำนึงถึงประโยชน์ของยูโรโซนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศสมาชิกทุกประเทศนอกกลุ่มยูโรโซนด้วย

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การแสดงความคิดเห็นของนางลาการ์ดมีขึ้นหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสว็อปสกุลเงินดอลลาร์ ลง 0.5% โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ธนาคารต่างๆสามารถกู้ยืมเงินง่ายขึ้นและมีต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป

ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า มาตรการร่วมที่ธนาคารกลางชั้นนำทั้ง 6 แห่งประกาศใช้เมื่อวานนี้ คล้ายกับเมื่อครั้งที่ประกาศใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินทั่วโลกหลังจากการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินโลก

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 280

โพสต์

ฝรั่งเศส-สเปนประมูลขายพันธบัตรได้ตามเป้า ขณะบอนด์ยีลด์สูงขึ้น
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 19:20:00 น.
ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า สเปนสามารถประมูลขายพันธบัตรได้ 3.7 พันล้านยูโร (5.1 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายสูงสุดที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนม.ค.2560 อยู่ที่ 5.544% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการประมูลเมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ระดับ 4.848% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.2558 อยู่ที่ 5.187% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 3.639% ในการประมูลเมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีของสเปนที่ระดับ 5.544% สะท้อนให้เห็นว่า สเปนมีต้นทุนการกู้ยืมสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548 โดยมียอดการสั่งจองพันธบัตรสูงกว่าจำนวนพันธบัตรที่จำหน่ายมากกว่า 2 เท่า

ด้านรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตัดสินใจเดินหน้าการประมูลขายพันธบัตรในวันนี้เช่นกัน แม้ต้องเผชิญกับภาวะผันผวนในตลาดก็ตาม โดยฝรั่งเศสสามารถประมูลขายพันธบัตรได้ 4.346 พันล้านยูโร ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายสูงสุดที่กำหนดไว้ที่ 4.5 พันล้านยูโร โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นมากถึงระดับ 2.04% ซึ่งมากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่รัฐบาลเยอรมนีเปิดประมูลเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ซึ่งถือเป็นส่วนต่างที่กว้างที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533

การประมูลขายพันบัตรของสเปนและฝรั่งเศสถือเป็นการทดสอบความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พร้อมด้วยธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางชั้นนำของโลกอีก 4 แห่ง ได้พร้อมใจกันลดอัตราดอกเบี้ยสว็อปดอลลาร์ลง 0.50% เมื่อวานนี้ (30 พ.ย.) เพื่อให้การกู้ยืมในรูปสกุลเงินดอลลาร์มีความคล่องตัวมากขึ้นและมีต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกลง ซึ่งการดำเนินการร่วมของธนาคารกลางทั้ง 6 แห่งมีขึ้นหลังจากต้นทุนการกู้ยืมพุ่งขึ้น

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 281

โพสต์

ปธ.ECBเตือนศก.ยูโรโซนเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น-ชี้การซื้อพันธบัตรเป็นแค่มาตรการชั่วคราว
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 20:44:43 น.
นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวต่อรัฐสภายุโรปในวันนี้ว่า ความเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยูโรโซนได้เพิ่มสูงขึ้น พร้อมกับเผยว่า อีซีบีจะดำเนินมาตรการชั่วคราวอย่างจำกัด ซึ่งรวมถึงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็ตาม

นายดรากิยังได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นเหมือนเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางยุโรป และยังได้กล่าวย้ำอีกครั้งถึงบทบาทหน้าที่หลักของธนาคารกลางในการควบคุมเงินเฟ้อ

ประธานอีซีบีคนใหม่กล่าวว่า การนำกฎเกณฑ์ทางการคลังพื้นฐานของภูมิภาคมาประมวลใหม่นั้น เป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นความเชื่อมั่น

"ผมเชื่อว่า สิ่งที่สหภาพเศรษฐกิจและการเงินของเราจำเป็นต้องมีก็คือ ข้อตกลงความร่วมมือด้านการคลังฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการนำกฎเกณฑ์ทางการคลังพื้นฐานที่มีอยู่มารวมเข้ากับข้อกำหนดทางการคลังต่างๆที่รัฐบาลของประเทศในยูโรโซนได้เห็นชอบร่วมกัน" ดรากิกล่าว พร้อมกับเสริมว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการนำสิ่งที่ยูโรโซนเสนอมาปรับให้เข้ากับสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน

เขากล่าวว่า ข้อตกลงความร่วมมือด้านการคลังฉบับใหม่มีความจำเป็น เพราะจะกำหนดให้รัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตหนี้ซ้ำอีก

ขณะเดียวกัน นายดรากิกล่าวว่า มาตรการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรปไม่ได้มีเป้าที่จะผลิตเงินใหม่ หรือ ให้เงินอุดหนุนรัฐบาล พร้อมระบุว่ามาตรการแทรกแซงที่อีซีบีนำมาใช้ อย่างเช่นการซื้อพันธบัตร จะเป็นการดำเนินการในกรอบที่จำกัดเท่านั้น

นายดรากิกล่าวด้วยว่า อีซีบีตระหนักว่า ภาคธนาคารยังคงประสบกับความยากลำบากต่างๆนานา โดยเฉพาะในการเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม อีซีบีได้ปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์มากตามที่ขอแล้ว เพื่อกระตุ้นการหมุนเวียนของสินเชื่อสู่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

"ที่ผ่านมา อีซีบีได้อัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลแล้ว และตอนนี้ เราเห็นว่า สภาพคล่องนี้กำลังถูกดูดซับออกผ่านธุรกรรมการรับฝากเงินของอีซีบี ซึ่งหมายความว่า ประเด็นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีสภาพคล่องมากเท่าไร แต่ข้อเท็จจริงคือสภาพคล่องนี้ไม่ได้มีการหมุนเวียนจริง" นายดรากิกล่าส "สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับอีซีบีก็คือการกระตุ้นให้สินเชื่อกลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง"

นอกจากนี้ ประธานอีซีบียังได้กล่าวถึงการที่ธนาคารกลางชั้นนำ 6 แห่งของโลกได้ดำเนินมาตรการแทรกแซงร่วมกัน เพื่อทำให้การกู้ยืมในรูปสกุลเงินดอลลาร์มีความคล่องตัวมากขึ้นและมีต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกลงว่า เป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น

เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ประกาศใช้มาตรการบรรเทาภาวะตึงตัวในระบบการเงินที่เป็นผลมาจากวิกฤตการเงินในยุโรป ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยสว็อปสกุลเงินดอลลาร์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 282

โพสต์

ไอเอ็มเอฟเตรียมพิจารณาอนุมัติเงินช่วยกรีซงวดที่ 6 ในวันจันทร์
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2554 14:39:02 น.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟมีกำหนดประชุมในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินกู้งวดที่ 6 มูลค่า 2.2 พันล้านยูโรให้กับกรีซ ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างสหภาพยุโรป (อียู) และ ไอเอ็มเอฟ

นายแกรี ไรซ์ โฆษกไอเอ็มเอฟกล่าวในงานแถลงข่าวว่า บอร์ดไอเอ็มเอฟจะประชุมและพิจารณาทบทวนแผนให้ความช่วยเหลือครั้งที่ 5 แก่กรีซเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกู้งวดที่ 6 ในวันที่ 5 ธันวาคมนี้


ในสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มประเทศยูโรโซนได้อนุมัติเงินกู้งวดที่ 6 ให้แก่กรีซ ตามแผนให้ความช่วยเหลือระหว่างอียูและไอเอ็มเอฟซึ่งได้ชะลอมาตั้งแต่เดือนกันยายน เนื่องจากกรีซพลาดเป้าหมายการลดยอด งบประมาณขาดดุลลง และมีความล่าช้าในการปฏิรูปโครงสร้าง โดยยอดเงินกู้ของไอเอ็มเอฟยังคงเหลืออยู่ 2.2 พันล้านยูโร จากจำนวนทั้งหมด 8 พันล้านยูโร

"มีการกำหนดวาระการปฏิรูปโครงสร้างในเชิงลึก การปฏิรูปตลาดแรงงาน ตลาดผลิตภัณฑ์และตลาดการให้บริการ ซึ่งผมเชื่อว่าวาระเหล่านี้ยังเป็นแผนที่สำคัญสำหรับกรีซ" นายไรซ์กล่าว

ในการตอบคำถามที่ว่า ไอเอ็มเอฟและอียูมีแผนพิจาณาให้ความช่วยเหลือแก่กรีซครั้งที่ 2 หรือไม่ นายไรซ์กล่าวว่า เจ้าหนี้ทั่วโลกกำลังเฝ้าจับตาดูวงเงินกู้จำนวน 1.1 แสนล้านยูโรที่ได้ขยายให้กับกรีซในปีที่ผ่านมา

"หากมีการเรียกร้องให้ทำแผนที่ 2 ข้อเรียกร้องดังกล่าวจะต้องได้รับการประเมินจากผู้จัดการกองทุนและบอร์ดผู้บริหาร" เขากล่าว

สำหรับคำถามที่ว่า ไอเอ็มเอฟจะเดินทางไปยังกรีซเพื่อทบทวนการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งที่ 6 หรือไม่ นายไรซ์กล่าวว่า ไอเอ็มเอฟมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนกรีซในระหว่างวันที่ 12-16 ธ.ค. สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 283

โพสต์

นายกฯเยอรมนีย้ำการแก้วิกฤตหนี้ยุโรปต้องใช้เวลาหลายปี
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 2 ธันวาคม 2554 18:03:18 น.
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเผยการแก้ปัญหาวิกฤตหนี้ยุโรปจะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งที่ผ่านมา ทางรัฐบาลก็พูดชัดเจนแล้วว่า วิกฤตหนี้ยุโรปนั้น จะไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้มาตรการเดียว และก็ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ง่ายและรวดเร็ว

นอกจากนี้ นายกฯเยอรมนีกล่าวว่า ยุโรปกำลังพยายามที่จะจัดตั้งสหภาพด้านการคลังขึ้นมา เพื่อที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านหลักการการคลังเพื่อรับมือกับวิกฤต ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดในการจัดตั้งสหภาพด้านการคลังขึ้นมานั้น ก็คือ การเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาสหภาพยุโรปให้น้อยที่สุด

นางแมร์เคลยังได้ปฏิเสธถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการเหมือนกับที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือธนาคารกลางอังกฤษใช้ หรือการเข้าไปแทรกแซงโดยธนาคารกลางยุโรป โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากภารกิจของธนาคารกลางยุโรปนั้นแตกต่างออกไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 284

โพสต์

S&P เตือนอาจลดอันดับเครดิต 15 ประเทศยูโรโซน รวมถึงเยอรมนี-ฝรั่งเศส
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 07:55:48 น.
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศให้ "เครดิตพินิจ แนวโน้มเชิงลบ" ต่ออันดับความน่าเชื่อถือของ 15 ประเทศกลุ่มยูโรโซน รวมถึง 6 ประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ AAA (เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรีย, ฟินแลนด์ และลักเซมเบิร์ก ) เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและความยุ่งยากทางการเมืองในยูโรโซนได้ทวีความรุนแรงขึ้น

การให้เครดิตพินิจ แนวโน้มเชิงลบ หมายความว่ามีโอกาสถึง 50% ที่ประเทศเหล่านี้จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือภายใน 90 วันข้างหน้า

เอสแอนด์พีกล่าวในแถลงการณ์ล่าสุดว่า "การให้เครดิจพินิจในครั้งนี้เป็นเพราะเราเชื่อว่า ความตึงเครียดในเชิงระบบของยูโรโซนได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและกำลังเพิ่มแรงกดดันให้กับสถานะด้านความน่าเชื่อถือของทุกประเทศในกลุ่มยูโรโซน"

"ความตึงเครียดในเชิงระบบเหล่านี้ เป็นผลมาจากภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อ, ต้นทุนการรับประกันความเสี่ยงที่สูงขึ้น, ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันของบรรดาเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินของยุโรป, หนี้สินของรัฐบาลและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมาก และเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงจะเผชิญกับภาวะถดถอย" เอสแอนด์พีกล่าว

เอสแอนด์พีระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ 15 ประเทศในกลุ่มยูโรโซนอาจจะขึ้นอยู่กับผลการประชุมสหภาพยุโรป (อียู) ในวันที่ 9 ธ.ค.นี้

แถลงการณ์ของเอสแอนด์พีระบุว่า เอสแอนด์พียังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือที่เป็นลบสำหรับไซปรัส และไม่ได้ให้เครดิตพินิจแก่กรีซ

นอกจากนี้ เอสแอนด์พีเตือนว่า เอสแอนด์พีอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี, ออสเตรีย, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ลง 1 ขั้น และอาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอื่นๆในกลุ่มยูโรโซนลง 1 หรือ 2 ขั้น สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 285

โพสต์

IMF อนุมัติเงินเบิกจ่ายงวดที่ 6 มูลค่า 2.2 พันล้านยูโรให้กรีซแล้ว
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 08:44:43 น.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มีมติอนุมัติเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 มูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์ยูโรให้กับกรีซในวันนี้ ตามข้อตกลงที่กรีซทำร่วมกับไอเอ็มเอฟและสหภาพยุโรป (อียู) หลังจากรัฐบาลกรีซดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและการคลัง

การตัดสินใจของไอเอ็มเอฟมีขึ้นหลังจากรมว.คลังกลุ่มยูโรโซนได้ลงนามอนุมัติเงินกู้เบิกจ่ายงวดที่ 6 มูลค่า 8 พันล้านยูโร (1.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ การตัดสินใจดังกล่าวยังมีขึ้นหลังจากที่รมว.คลังยูโรโซนได้เลื่อนเวลาการตัดสินใจออกไปเป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากพรรคการเมืองหลักๆของกรีซได้ปฏิเสธที่จะลงนามในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้กับไอเอ็มเอฟและอียู
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 286

โพสต์

เยอรมนีเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานในปท.พุ่งเกินคาด 5.2% ในเดือนต.ค.
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 6 ธันวาคม 2554 22:16:18 น.
กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยในวันนี้ว่า ยอดสั่งซื้อใหม่ของโรงงานอุตสาหกรรมภายในประเทศ พุ่งขึ้น 5.2% ในเดือนต.ค. ซึ่งฟื้นตัวขึ้นจากเดือนก.ย.ที่หดตัวลง 4.6% เพราะได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของประเทศยูโรโซนและประเทศอื่นๆทั่วโลก

ตัวเลขล่าสุดถือเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 19 เดือน และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1%

รายงานของกระทรวงเศรษฐกิจระบุว่า ยอดสั่งซื้อโดยรวมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 8.3% ยอดสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศยูโรโซนพุ่งขึ้น 16.2% และยอดสั่งซื้อภายในประเทศ เพิ่มขึ้น 1.7%

ทั้งนี้ การเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวแข็งแกร่งในเดือนต.ค. มีขึ้นในขณะที่เยอรมนีกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากวิกฤตหนี้ยุโรปและการชะลอตัวได้ส่งผลให้ยอดส่งออกของเยอรมนีหดตัวลง นอกจากนี้ อันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนียังตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) เตือนว่าอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี ลง 1 ขั้น

ธนาคารกลางเยอรมนีได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2555 ลงมาอยู่ที่ระดับ 0.5 - 1% จากระดับ 1.8% ในการประเมินเมื่อเดือนมิ.ย. โดยระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจอ่อนแอลง หากวิกฤตหนี้ยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ประเมินว่า จีดีพีเยอรมนีจะหดตัว 1.4% ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ส่วนในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจเยอรมนี ขยายตัว 0.5% เพราะได้ปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ หลังจากเยอรมนีเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม่นาน สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ปรับตัวขึ้น 21 เซนต์ แตะที่ 101.20 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่นักลงทุนจับตาดูดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ของเยอรมนีในวันพรุ่งนี้ เวลา 18.00 น.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 1

Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น

โพสต์ที่ 287

โพสต์

ฝรั่งเศส-เยอรมนีเห็นพ้องทำสนธิสัญญาใหม่สร้างความใกล้ชิดในกลุ่มยูโรไอเอ็มเอฟไฟเขียวเงินช่วยกรีซ
ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 7 ธันวาคม 2554 01:48:02 น.
ปารีส (เอพี/รอยเตอร์ส/บีบีซี นิวส์) - ผู้นำของฝรั่งเศสและเยอรมนีเรียกร้องให้ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรจัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่เพื่อสร้างความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างชาติสมาชิก และมีบทลงโทษรัฐบาลที่ละเมิดข้อตกลง

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำฝรั่งเศส และนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออกแถลงการณ์ร่วมกันที่จะผลักดันให้ประเทศในกลุ่มยูโรโซนมีนโยบายด้านการคลังร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพของเงินสกุลยูโร แต่ยืนยันไม่สนับสนุนการออกพันธบัตรยุโรปเพราะเชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้ แม้เรื่องนี้มีประเทศในยุโรปถึง 17 ประเทศประกาศสนับสนุน ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีจะนำข้อตกลงกันได้ในวันนี้เสนออย่างเป็นทางการต่อนายเฮอร์มัน ฟาน รอมเปย ประธานสภายุโรป ในวันพุธ และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพฤหัสบดีและศุกร์นี้เพื่ออภิปราย

ด้านนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ แห่งอิตาลี กล่าววิงวอนรัฐสภาให้เร่งรับรองแผนการต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจที่เสนอเข้าสู่สภาซึ่งมีการเพิ่มภาษีและปฏิรูประบบการจ่ายเงินบำนาญ พร้อมกับเตือนว่า เสถียรภาพของเงินยูโรจะขึ้นอยู่กับการเสียสละของประชาชน และหนี้สาธารณะนั้น จะลดลงได้ก็ต่อเมื่อทุกฝายร่วมมือกัน หาไม่แล้วจะเกิดหายนะเหมือนกับกรีซ

ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ อนุมัติเงิน 2,200 ล้านยูโร หรือประมาณ 92,510 ล้านบาท ช่วยเหลือกรีซ หลังจากที่ถูกชะลอมานานหลายเดือนเนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง โดยกรีซจะได้รับเงินทันที เงินก้อนนี้จะทำให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ แต่นางคริสทีน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ย้ำเตือนให้กรีซปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะโดยธนาคารเอกชนเพื่อรักษาเงินช่วยเหลือรวม 110,000 ล้านยูโร ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินแก่กรีซ นางลาการ์ดยังได้แสดงความยินดีที่รัฐบาลใหม่ของกรีซให้คำมั่นสัญญาว่าจะรัดเข็มขัดและยึดมั่นในการปฏิรูปเพื่อลดหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณมหาศาล แต่ก็เตือนว่าเศรษฐกิจกรีซยังคงอ่อนแอต่อปัจจัยภายนอกที่เลวร้ายลง เงินล่าสุดจำนวน 2,200 ล้านยูโรที่ไอเอ็มเอฟอนุมัติให้กรีซ ทำให้จนถึงขณะนี้กรีซได้รับเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟแล้วทั้งสิ้น 20,300 ล้านยูโร มากที่สุดเท่าที่ไอเอ็มเอฟอนุมัติให้แก่ประเทศใดประเทศหนึ่ง