ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
little wing
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 2

ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โลกในมุมมองของ Value Investor 28 เมษายน 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ธุรกิจที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงนี้ก็คือ ธุรกิจสื่อสารมวลชน ต้นเหตุสำคัญก็คือ การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. ประกอบกับการพัฒนาทางด้านของเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ที่ทำให้สามารถขยายช่องทางของการสื่อสารออกไปมหาศาล ทำให้ต้นทุนของการสื่อสารต่ำลงไปมากในขณะที่คุณภาพของภาพและเสียงกลับสูงขึ้นมาก

การเกิดขึ้นของ กสทช. และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ “การผูกขาด” ของสื่อที่มีมานานในประเทศไทยหมดหรือเกือบหมดไป ในอนาคตอีกไม่นานเราจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในด้านของโทรทัศน์ที่จะมีสถานีหรือช่องทีวีใหม่เป็นร้อย ๆ ช่อง ที่ส่งถึงผู้ชมได้ทั่วประเทศ ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบดั้งเดิมที่เป็นเสาอากาศ ดาวเทียม สายเคเบิล และทางอินเตอร์เน็ต แต่ละช่องมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำมาก ดังนั้น การแข่งขันที่จะ “แย่งผู้ชม” จะรุนแรงมาก โดยที่กลยุทธ์สำคัญที่สุดในการดึงดูดคนดูก็คือ การใช้ Content หรือเนื้อหาหรือข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้ามาชม การแข่งขันเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งในเกมที่น่าตื่นตาตื่นใจในครั้งนี้ผมอยากจะเรียกว่า “ศึกชิงตา” นั่นก็คือ ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างก็ต้องพยายามยึด “สายตา” ของคนในประเทศให้มาดูรายการหรือ Content ของตนเองให้มากที่สุด เพราะจำนวนคนดูจะเป็น “รายได้” ที่กิจการจะได้รับที่จะมาจากการโฆษณา ค่าบริการ และอื่น ๆ

ประเด็นที่จะต้องตระหนักมากที่สุดก็คือ ในขณะที่มีบริษัทและช่องทางใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมายที่จะเข้ามาช่วงชิง “ตา” แต่จำนวน “ตา” นั้น กลับมีจำนวน “เท่าเดิม” ความหมายก็คือ คนไทยนั้น ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก เวลาที่จะใช้ตาเพื่อที่จะ “ดู” ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนักแม้จะมีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่ใช้สายตามากกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้น ถ้าเราคิดว่าจำนวน “ตา” หรือเวลาที่ใช้ในการ “ดู” ก็คือ “รายได้” ที่ผู้ให้บริการจะได้รับ ข้อสรุปของเราก็คือ รายได้จาก “ศึกชิงตา” ก็จะมีเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิม แต่ผู้ให้บริการกลับมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ผลก็คือ ถ้ามองในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว ก็น่าจะเป็นว่า กำไรของอุตสาหกรรมจะลดลง ถ้ามองในรายละเอียดต่อไปก็น่าจะเป็นว่า ผู้เล่นที่มีอยู่เดิมที่อยู่ในสภาวะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด น่าจะมีกำไรน้อยลงเพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา “แย่ง” หรือแบ่ง “ลูกตา” หรือลูกค้าไปบ้าง ส่วนรายใหม่ที่เข้ามานั้น รายที่ประสบความสำเร็จสูงก็อาจจะได้กำไร แต่หลายรายที่น่าจะมีจำนวนมากกว่าก็จะขาดทุน มันเป็นศึกที่น่าจะคล้ายกับสงครามที่คู่ต่อสู้ส่วนใหญ่ “เสียหาย” และมีผู้ได้ประโยชน์จริง ๆ น้อยมาก

ผู้ให้บริการรายใหญ่เดิมนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนก็คือ จำนวนผู้ชมและ/หรือเวลาชมน่าจะค่อย ๆ ลดลง เหตุผลก็คือ Content หรือเนื้อหาที่ดึงดูดมวลชนจำนวนมากนั้นจะดึงดูดคนได้น้อยลงเนื่องจากจะมีผู้ดูบางส่วนที่มีความสนใจใน Content อื่นมากกว่าแต่ในอดีตพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น แต่เมื่อมีทางเลือกอื่นพวกเขาก็จะไป ตัวอย่างง่ายที่สุดก็เช่น คนที่ชอบชมละครหลังข่าว ถ้ามีละครหลายเรื่องมากขึ้นมาเสนอในเวลาเดียวกัน โอกาสก็เป็นไปได้ที่พวกเขาบางคนจะไปชมเรื่องอื่น เช่นเดียวกัน รายการข่าวนั้น คนที่เคยชมข่าวช่วงไพร์มไทม์เป็นประจำ เมื่อเขามีทางเลือกอื่น เขาอาจจะไปชมในช่องที่เป็นช่องข่าว ที่นำเสนอแต่ข่าวตลอดทั้งวัน ที่พวกเขาสะดวกที่จะรับชมได้ตลอดเวลา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการรายใหญ่นั้น สิ่งที่พวกเขายังมีอยู่และรายเล็กและรายใหม่ไม่มีก็คือ จำนวนหรือปริมาณคนดูที่มีจำนวนมากที่ทำให้ผู้ขายสินค้าที่ต้องการ “โฆษณาในวงกว้าง” จำเป็นต้องใช้บริการ ดังนั้น สิ่งที่รายใหญ่สามารถทำได้ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโฆษณา ซึ่งทำให้กิจการสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำเนื่องจากต้นทุนการผลิตและส่งรายการยังเท่าเดิม ประเด็นสำคัญก็คือ สถานีจะต้องรักษาคุณภาพหรือ Content ของรายการให้สามารถดึงดูดมวลชนจำนวนมากให้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงแรก ๆ นั้นผมคิดว่าปัญหายังไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าผู้ชมก็จะค่อย ๆ กระจายความสนใจในรายการหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพวกเขาพบทางเลือกใหม่ ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ผลก็คือ ผลประกอบการของทีวีช่องใหญ่ ๆ น่าจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงและอาจจะกลายเป็น “ตะวันตกดิน” ได้

ทีวีช่องใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมายนั้น จุดขายก็คือ แย่งชิงผู้ชมที่มีความสนใจเฉพาะอย่าง เช่น ชิง “ตาของวัยรุ่น” เช่น ทำสถานีเพลงที่โดดเด่น บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของผู้ใหญ่” ที่สนใจปัญหาของบ้านเมือง จึงทำสถานีข่าว บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของเด็ก” จึงทำช่องการ์ตูน สถานีเหล่านี้ก็มักจะได้ผู้ชมจำนวนไม่มากซึ่งทำให้รายได้ที่ได้รับไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของการผลิตและออกอากาศก็อาจจะไม่สูงนักโดยเฉพาะบริษัทที่มี Content หรือเนื้อหาที่บริษัททำขึ้นเพื่อขายในช่องทางอื่นอยู่แล้ว ประเด็นที่เราอาจจะยังไม่รู้จนกว่าจะได้ทำจริง ๆ ก็คือ รายได้นั้นสูงกว่ารายจ่ายหรือไม่? ถ้าสูงกว่าก็มีกำไร แต่ถ้าต่ำกว่าก็ขาดทุน แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความแน่นอนของผลประกอบก็อาจจะไม่สูงนัก เหตุผลก็คือ ธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก

การเกิดขึ้นของช่องทีวีจำนวนมากนั้น ทำให้บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมมีลูกค้าและมีรายได้มากขึ้นชัดเจน ผู้ให้บริการในด้านนี้มักจะต้องเป็นรายใหญ่พอสมควรและต้องลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่จะค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา ตัวอย่างก็คือ ผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารและอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ดังนั้น ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้น่าจะดีขึ้น อย่างน้อยในช่วงแรก ๆ ที่ผู้ให้บริการรายใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาให้บริการได้ทัน

ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งกำลังจะมีการเปิดประมูลและให้บริการระบบ 3G เป็นคู่แข่งรายใหม่ที่น่ากลัวมากใน “ศึกชิงตา” เหตุผลก็คือ ในปัจจุบันนี้คนจำนวนมากใช้สายตาอยู่กับแทบเล็ตและสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานมากในแต่ละวัน เวลาที่ใช้กับการสื่อสารเพื่อการสังคมหรือ Social Media นั้น น่าจะเข้ามาแย่งชิง “ตา” จากบริษัทที่ให้บริการทีวีไปไม่น้อย และนี่จะลดรายได้ของทีวีแต่ไปเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือ

ผมคิดว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่พยายาม “แย่งชิงตา” ที่มีอยู่จำกัดและไม่ได้เติบโตมากนัก สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นบางอย่างเราก็ยังไม่รู้ บางอย่างก็อาจจะยังไม่เกิด แต่ผมมั่นใจว่ามันมีความหลากหลายมาก ผลก็คือ รายการหรือ Content ที่มีผู้ชมมากจริง ๆ หรือมีเรตติ้งสูงมาก ๆ จะมีน้อยลงเรื่อย ๆ ลักษณะอย่างนี้จะทำให้การทำกำไรสูงมาก ๆ ของช่องทีวีจะเป็นไปได้ยากขึ้นและธุรกิจทีวีในอนาคตอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
marcus147
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 615
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

กำลังว่าจะตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับกรณีนี้พอดีเลยครับ
เพราะเห็นว่าช่วงนี้กระแสดิจิตอลทีวีมาแรงมากๆ
หุ้น GRAMMY RS WORK ต่างปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยยะ
โดยเฉพาะ WORK นี่วิ่งแบบว่าแรงมากๆ

ผมเลยมานั่งคิดว่า เอ รายการของ WORK มีทั้งบน free TV(3,5,7,9) และทั้งบนดาวเทียม (workpoint tv)
ถ้าตลาดคาดหวังว่าค่าโฆษณาบนทีวีดาวเทียมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่อาจจะลืมไปว่ารายได้จากรายการ
บน free tv ที่ ณ ปัจจุบันเป็นรายได้หลักก็น่าจะลดลงเหมือนกัน

ฉะนั้นแล้ว ราคาหุ้นที่วิ่งแรงมากแบบนี้ จะถือได้ว่าเกินมูลค่าไปเยอะเกินไปหรือเปล่า panic buy

ปล. ผมไม่มีหุ้นนะครับ เพราะซื้อไม่ทัน 555 แต่ก็ตามอยู่เพราะอยากดูเป็นกรณีศึกษา
การลงทุนในตลาดหุ้น ไม่มีทางลัด อยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
MYBIZ
Verified User
โพสต์: 888
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ
จุดหมายปลายทาง อาจไม่ใช่ที่สุดของความงดงาม
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4485
ผู้ติดตาม: 88

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ตอนแรกนึกว่า อ.หมายถึง ชิงเสียตา (ปัญญา) :shock:
harikung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2237
ผู้ติดตาม: 16

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ส่วนตัวคิดว่าพื้นฐานของฟรีทีวีคงเสื่อมถอยลงไปบ้างครับ แต่ด้วยคอนเทนท์ที่มีคุณภาพสูงกว่าพวกช่องดาวเทียม ณ ตอนนี้พอสมควรเลยคิดว่าน่าจะยังพอไปได้ธุรกิจนี้ยังไงก้อวัดกันที่คอนเทนท์ล่ะครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
SEHJU
Verified User
โพสต์: 1238
ผู้ติดตาม: 3

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ดร.เขียนได้ทันกระแส ประเด็นสาระครบ อีกทั้งขี้เล่นต่างหาก ผมชอบมาตั้งแต่นักลงทุนสายดำแระ ฮ่าๆ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1015
ผู้ติดตาม: 2

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อีกหน่อยแม้แต่ content ก็น่าจะทำเงินยากนะครับ
เวลาผมดู series ผมก็โหลด bit ดู
เวลาแฟนดูละครเค้าก็ดูผ่าน youtube

แต่ก็คงอีกสักพักแหละกว่า internet จะทั่วถึงขนาดนั้นจนมีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
ภาพประจำตัวสมาชิก
Sorgios
Verified User
โพสต์: 368
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์ที่ชี้แนะครับ
ขอบคุณคุณ little wing ที่นำมาให้อ่านครับ
CHIN UP, Do not give up !!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

marcus147 เขียน: ผมเลยมานั่งคิดว่า เอ รายการของ WORK มีทั้งบน free TV(3,5,7,9) และทั้งบนดาวเทียม (workpoint tv)
ถ้าตลาดคาดหวังว่าค่าโฆษณาบนทีวีดาวเทียมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่อาจจะลืมไปว่ารายได้จากรายการ
บน free tv ที่ ณ ปัจจุบันเป็นรายได้หลักก็น่าจะลดลงเหมือนกัน

ฉะนั้นแล้ว ราคาหุ้นที่วิ่งแรงมากแบบนี้ จะถือได้ว่าเกินมูลค่าไปเยอะเกินไปหรือเปล่า panic buy

ปล. ผมไม่มีหุ้นนะครับ เพราะซื้อไม่ทัน 555 แต่ก็ตามอยู่เพราะอยากดูเป็นกรณีศึกษา
ประเด็นนี้ลองโทรถาม ir ดูได้ครับ จะได้คำตอบที่ชัดเจน แล้วกลับมาวิเคราะห์ sensitivity อีกที ก็จะทราบกำไรในหลายๆ กรณี
สาวกเซเลบ
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ท่านอาจารย์เขียนบทความ ให้ความเห็นได้สะใจ .. เอ้ยไม่ใช่ ถูกใจสาวกมากเลยฮาฟ

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง :D

===================
ดับเบิ้ล เลิฟ เลิ๊ฟ เลิฟ จะเบิ้ลรักให้เธอ
ไทยวิเอย ... จงซับซ้อนยิ่งขึ้น
เขาว่าผมเป็น บิดาแห่ง CI ... Celebrity Investment อะฮิ อะฮิ ^^
มีแฟนเพจแล้วด้วย http://www.facebook.com/celebfollower
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ฟัน3โฆษณาทีวีดาวเทียมเกินจริง

"กสทช."ฟัน 3 โฆษณาทีวีดาวเทียมเกินจริง เตรียมบี้ไทยคมดำเนินการจริงจัง 30 เม.ย.

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ หรือ บอร์ด กระจายเสียงและโทรทัศน์ มีมติออกมาตรการระงับโฆษณาอาหารและยาทางทีวีดาวเทียม 3 ชนิด คือ เอนไซน์เจนิฟูดส์ ซันคลาร่า และเกร็กคู ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. แล้วว่าเป็นโฆษณาเกินจริง และจะมีผลทันที

ทั้งนี้ กสทช.จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะบริษัท ไทยคม ผู้ให้บริการดาวเทียมไทยคมและไอพีสตาร์ที่ทางทีวีดาวเทียมเช่าใช้ช่องสัญญาณให้ระงับการ เผยแพร่ออกอากาศโฆษณาดังกล่าว และทางกสทช.จะเข้าพบไทยคมเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้วันที่ 30 เม.ย.

"ที่ผ่านมาเรียกได้ว่าปล่อยผีกันมานานแล้ว ถึงเวลาที่กสทช.จะใช้มาตรการทางปกครองเข้าดำเนินการ ซึ่งอาจไม่ได้ผล 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยและปล่อยให้ทุกอย่างช้าไปกว่านี้อีก"น.ส.สุภิญญากล่าว

สำหรับการพิจารณาระงับโฆษณานั้น กสทช.จะอิงกับคำตัดสินของอย. เป็นหลัก เพราะปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดของกสทช.ที่สามารถเอาผิดกับโฆษณาได้โดยตรง ดังนั้น จึงต้องดำเนินการผ่านไทยคม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเอกชนในลักษณะขอความร่วมมือ ทั้งจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที และไทยคม เนื่องจากทางไทยคมยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้บริการ หรือ ไลเซ่นส์ จาก กสทช.โดยตรง

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า มาตรการระงับการออกอากาศนั้นจะขยายผลไปยังวิทยุชุมชนในอนาคต แต่การที่กสทช.เข้มงวดกับทีวีดาวเทียมก่อน เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้ชมในวงกว้างมากกว่า โดยปัจจุบันมีช่องรายการทีวีดาวเทียมที่ออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคมราว 400 ช่อง และสำรวจพบว่ามีการโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย 100-200 ช่อง คิดเป็นมูลค่าของงบประมาณโฆษณาที่ค่อนข้างสูง

นอกจากนี้บอร์ดกระจายเสียงยังมีมติเห็นชอบให้จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน หรือ เอ็มโอยู ระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กสทช. อย. สำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค เพื่อดำเนินการอย่างจริงจังกับการโฆษณาที่ผิดกฎหมายทางเคเบิลและทีวีดาวเทียม

ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 24/04055
http://www.consumerthai.org/main/index. ... Itemid=122
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

f.escape เขียน:ตอนนี้เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปดูได้ มี TOP 30 ด้วย
http://www.psiviewing.com/psirating
username: psirating
password: psirating
http://www.psisat.com/component/content ... e/698.html

Rating PSI เดือน Apr12
แนบไฟล์
Rating PSI Apr12.png

“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 1

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ตามที่ผมเข้าใจ ผมสามารถใช้เสาอากาศรับ Digital TV ได้
แต่ตอนนี้ บ้านผมมีแต่จานดาวเทียมของทรู ไม่มีเสาอากาศบนหลังคาแล้ว
แล้วผมจะดู Digital TV ได้อย่างไร
อีกอย่างสัญญาณ ที่ส่งโดยระบบ Digital TV รับง่ายไม๊ครับ
เราสามารใช้เสาอากาศในตัวของโทรทัศน์รับ Digital TV ได้มั้ย
ถ้าได้ก็จะดีมาก จะได้ไม่ต้องติดตั้งเสาอากาศบนหลังคาบ้าน
Blueplanet
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เหตุการณ์นี้ ถ้ากลับไปอ่านประวัติศาสตร์ที่ US
มีอยูช่วงหนึ่งเลยล่ะครับที่เป็นเช่นนี้ สุดท้าย ก็บาดเจ็บไปหลายต่อหลายราย
คนที่ได้คือ ผู้ชม (หรือประชาชน) ที่ได้มากกว่า ผู้ผลิต
:)
:)
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

555 อ่านมันส์สุดเลย บทความนี้
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 4

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณท่านอาจารย์ครับสำหรับบทความ

ตายังเท่าเดิม แต่ในเมื่อคนเล่นมากขึ้น แทนที่คนเล่นจะกำไรผมว่า

ของที่เกี่ยวกับคนเล่น น่าจะไปได้ดีกว่าครับ

ในเมื่อทีวีเคเบิ้ลมาแรง สายเคเบิ้ลน่าจะใช้กันทุกยี่ห้อ ทุกกล่องจะจานดำจานแดง

จานเหลือง หรือ จานส้ม

ในเชิงธุรกิจ หลายจานก้แชร์มาเก็ตแชร์กันไป เพราะคนไทยมีเท่าเดิม

ลองเปรียบธุรกิจเป็นร้านก๋วยเตี๋ยว ที่เปิดหลายเจ้าในชุมชนเดียวกัน

ยังไงเสีย ลูกค้าก้กระจายกันไป แต่สิ่งนึงที่น่าจะดี คือ ทุกร้านก้ต้องใช้เส้นครับ

ใช้หมู หรือ วัตถุดิบที่คล้ายกัน


คนขายเครื่องเขียง น่าจะได้ประโยชน์กว่านะครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
zesar
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

zaa network ไม่ติดชาร์จเหรอเนี่ย :(
ภาพประจำตัวสมาชิก
thekiller
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 536
ผู้ติดตาม: 39

Re: ศึกชิงตา/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

อนาคตของสื่อ

Posted on[color=#4000BF] April 12, 2010 [/color]by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


โลกในมุมมองของ Value Investor                10 เมษายน 53
 
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
 
สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน นั้น  เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการโน้มน้าวจิตใจคนให้เห็นด้วย หรือคัดค้าน  กับประเด็นที่มีการนำเสนอ  ประเด็นที่นำเสนอนั้น  เป็นได้ทุกอย่าง  ตั้งแต่เรื่องของการเมือง  สังคม  เศรษฐกิจ  และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน  ดังนั้นจึงมีคำพูดที่ยอมรับกันแพร่หลายว่า   “ผู้คุมสื่อคือผู้ที่คุมอำนาจ”
 
อำนาจของสื่อในโลกของทุนนิยมนั้น  แน่นอน  สามารถ  “ทำเงิน”  ได้  บริษัทสื่อที่  “ทรงอิทธิพล” นั้น  สามารถทำเงินได้มหาศาล  วอเร็น บัฟเฟตต์ ได้มองเห็นจุดนี้ก่อนคนอื่นและได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทวอชิงตันโพสต์ในช่วงที่ราคาหุ้นยังต่ำมากเมื่อหลายสิบปีก่อน  หลังจากนั้น  ราคาหุ้นของโพสต์ก็ปรับตัวขึ้นมามากและกลายเป็น “ตำนาน” การลงทุนหนึ่งของบัฟเฟตต์  ต่อมา เขาก็ยังได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทโทรทัศน์ชั้นนำที่ก้าวขึ้นมาโดดเด่นแทนที่หนังสือพิมพ์  อย่างไรก็ตาม  เมื่อเร็ว ๆ  นี้ บัฟเฟตต์เองก็ยอมรับว่า  ธุรกิจและความสามารถในการทำเงินของหุ้นสื่อนั้น “เปลี่ยนไปแล้ว”  มันไม่ดีเหมือนก่อนเพราะเทคโนโลยี่การสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง  สื่อมีการขยายตัวออกไปกว้างขวางมากผ่านอินเตอร์เน็ตและเคเบิลทีวีที่สามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก สิ่งเหล่านี้กัดกร่อนกำไรของสื่อยุคเก่ามหาศาล
 
ลองมาดูกิจการสื่อของเมืองไทยว่าอนาคตจะไปทางไหน  เริ่มจากหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์  ในเมืองไทยนั้น  เป็นที่ยอมรับว่าคนไทยไม่ใคร่อ่านหนังสือมากนัก  ดังนั้นตลาดของหนังสือพิมพ์จึงไม่ใหญ่เท่าที่ควร   อย่างไรก็ตาม ในอดีตหนังสือพิมพ์ค่อนข้างจะมีบทบาทพอสมควรเนื่องจากการเปิดหนังสือพิมพ์ทำได้ยาก  ดังนั้น  หนังสือพิมพ์ที่ติดตลาดจึงพอมีกำไร  ส่วนหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมน้อยก็มักจะขาดทุน  แต่แม้ว่าหนังสือพิมพ์จะขาดทุน  บ่อยครั้งมันก็มักจะไม่ถูกปิดตัวลง  สาเหตุก็เพราะว่า  หนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อย  เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยเหตุผลหลักก็คือ  มันเป็นฐาน  “อำนาจ”  ของเจ้าของ  ไม่ได้เป็นธุรกิจที่หวังกำไร  ดังนั้น  ปริมาณหรืออุปทานของหนังสือพิมพ์จึงมักจะมีสูงกว่าความต้องการหนังสือพิมพ์เสมอ  กำไรของหนังสือพิมพ์จึงไม่ดี
 
อนาคตของหนังสือพิมพ์นั้นยิ่ง “มืดมน” กว่าปัจจุบัน  สาเหตุก็เพราะว่ามีการเติบโตของสื่ออินเตอร์เน็ตที่ทำให้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องซื้อหนังสือพิมพ์แต่สามารถเข้าไปอ่านข่าวในเน็ตได้  ข่าวในอินเตอร์เน็ตนั้นสะดวกและรวดเร็วกว่าหนังสือพิมพ์มาก  ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ตตั้งแต่เด็กจะอยู่ห่างจากหนังสือพิมพ์ออกไปทุกที  ส่วนคนที่มีอายุมากและยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือพิมพ์เองนั้น  ผมก็คิดว่าน่าจะอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลงและอ่านข่าวจากอินเตอร์เน็ตมากขึ้น  สรุปแล้ว  หนังสือพิมพ์นั้นผมคิดว่าเป็นอุตสาหกรรมที่กำลัง “ตกดิน”
 
ธุรกิจแมกกาซีนนั้น  มักมีลูกค้าหรือผู้อ่านชัดเจน  และสิ่งที่จะมาทดแทนยังไม่ชัดเจน  ดังนั้น แมกกาซีนที่ติดตลาดก็ยังสามารถรักษาลูกค้าและทำกำไรได้  อย่างไรก็ตาม  การเติบโตของแมกกาซีนนั้นทำได้ยากมากเนื่องจากความสนใจของคนรุ่นใหม่นั้น  เน้นไปที่สื่อสารประเภทอื่นโดยเฉพาะที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเป็นแบบมัลติมีเดีย  ดังนั้น  ธุรกิจนิตยสารต่าง ๆ  สำหรับผมแล้วก็คงไม่ดีนัก  และแม้ว่าจะไม่ถึงกับ “ตกดิน” แต่ก็คงจะโตช้ามาก
 
ธุรกิจทีวีมวลชนซึ่งออกอากาศให้ชมฟรีนั้น  เป็นธุรกิจที่ดีมากจนถึงปัจจุบัน  สาเหตุหนึ่งนั้นเป็นเพราะมันมีสถานีไม่กี่แห่งและมันฟรี  ดังนั้น  มันจึงมี “ลูกค้า” หรือผู้ชมมากมายเป็นล้าน ๆ  คน  ดังนั้น  แต่ละสถานีจึงสามารถขายโฆษณาได้เป็นกอบเป็นกำ  แต่ต้นทุนในการทำรายการและการส่งออกอากาศนั้นไม่สูงนัก  กำไรของบริษัททีวีจึงค่อนข้างดี  นอกจากนั้นหลังจากการลงทุนไปในครั้งแรกแล้ว  สถานีโทรทัศน์ก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มอีก  และการบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ในการส่งสัญญาณทีวีก็มีน้อยมาก  ทำให้กระแสเงินสดของกิจการดีมาก  ส่งผลให้หุ้นบริษัททีวีสามารถจ่ายปันผลได้ค่อนข้างสูง
 
แต่อนาคตของธุรกิจฟรีทีวีนั้นกลับเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน  เหตุผลก็คือ  ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต  ทำให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเป็นร้อย ๆ  ช่องและด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก  ผู้ชมก็สามารถรับสัญญาณเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก  ดังนั้น  ฟรีทีวีจึงต้องเผชิญกับคู่แข่งใหม่จำนวนมหาศาล  ยิ่งไปกว่านั้น  คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็เริ่มหันเหจากการชมทีวีไปเป็นการเข้าไปอ่านหรือชมข่าวสารข้อมูลและบันเทิงทางอินเตอร์เน็ต  ปรากฏการณ์เหล่านี้เริ่มขึ้นแล้ว  ว่าที่จริงในประเทศที่เจริญแล้วก็พบว่าโฆษณาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มท้าทายทีวีอย่างมีนัยสำคัญ  เมืองไทยเองในที่สุดก็หนีไม่พ้น  แม้ว่าในขั้นนี้ยังมีแค่เคเบิลทีวีที่ดูเหมือนว่าจะมีบทบาทท้าทายฟรีทีวีอย่างมีนัยสำคัญ  อย่างไรก็ตาม  สำหรับผมแล้ว  อนาคตของฟรีทีวีไม่สดใสนัก
 
ควบคู่ไปกับทีวีก็คงเป็นเรื่องของวิทยุ  นี่เป็นสื่อที่พอใช้ได้เฉพาะสำหรับคลื่นที่ติดตลาด  อย่างไรก็ตาม  วิทยุไม่ใช่ธุรกิจที่ใหญ่อีกต่อไป  ผู้ฟังวิทยุนั้น  จำนวนมากฟังในขณะขับรถที่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้นอกจากฟัง  ดังนั้น  ธุรกิจวิทยุนั้น  เป็นได้เฉพาะ “ธุรกิจเสริม”  ของธุรกิจอื่น  เช่น ทีวี   บันเทิง  เป็นต้นและไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  วิทยุ นั้น  ไม่ใช่ธุรกิจที่จะเติบโตได้อีกต่อไป
 
อนาคตสำหรับธุรกิจสื่อนั้น  ถ้าเป็นในระดับโลกก็คือ  “สื่อยุคใหม่”  เช่นพวกเว็บไซ้ต์อย่างกูเกิล และอื่น ๆ   สื่อที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้น  จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลแต่ก็จะมีจำนวนน้อยมาก  เพราะสื่อยุคใหม่นั้นมักจะเป็นลักษณะ  “ผู้ชนะกินรวบ” นั่นคือ  ผู้แพ้จะถูกบีบให้ออกจากตลาดหมด  ทำให้ผู้ชนะได้ลูกค้ามากขึ้น ๆ และได้กำไรทบทวีขึ้น  ส่งผลให้หุ้นมีค่ามหาศาล  อย่างไรก็ตาม  หุ้นลักษณะดังกล่าวนั้น  มักจะมีการให้บริการทั่วโลก  ดังนั้น  จึงเป็นการยากสำหรับหุ้นสื่อของประเทศไทยที่จะสามารถต่อสู้ได้  ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ  บริษัทและหุ้นสื่อนั้น  “เหนื่อย” ครับ
ขุดจาก 2ปีก่อนมาครับ ดร ได้พูดถึง ธุรกิจสื่อครับ
โพสต์โพสต์