สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด


โพสต์ โพสต์
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

กำไรต่อหุ้น หรือ Earnings per Share: EPS หมายถึงจำนวนเฉลี่ยของกำไรสุทธิในระหว่างงวดต่อหนึ่งหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว กำไรต่อหุ้นบอกถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทน(กำไร)ของบริษัท ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานสำหรับงวดเดียวกันของกิจการต่างๆและผลการดำเนินงานสำหรับงวดต่างๆของกิจการเดียวกัน กำไรต่อหุ้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (Basic Earnings per Share) คำนวณสำหรับกิจการที่มีโครงสร้างทุนแบบไม่ซับซ้อนนั่นคือบริษัทมีเพียงหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ โดยไม่เคยให้สิทธิแปลงสภาพหรือออกเครื่องมือการเงินใดๆที่กำหนดให้บริษัทต้องออกหุ้นสามัญเพิ่มเติมในอนาคต (หรือที่เรียกว่า "หุ้นสามัญเทียบเท่า") กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน คำนวณโดยการนำกำไรสุทธิระหว่างงวด หักด้วยเงินปันผลสำหรับงวดของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิแล้วหารด้วยจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักสำหรับงวดของหุ้นสามัญที่ถือโดยบุคคลภายนอก

ตัวอย่างเช่น: สมมติบริษัทมีกำไรสุทธิระหว่างงวดจำนวน 25 ล้านบาท และได้จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิทั้งหมด 1 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา บริษัทมีหุ้นสามัญ10 ล้านหุ้น ซึ่งออกและเรียกชำระ ณ วันที่ 31 เดือนมีนาคม และระหว่างปีบริษัทได้ออกและเรียกชำระหุ้นเพิ่ม 5 ล้านหุ้น ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดเป็น 15 ล้านหุ้น ณ วันสิ้นปี บริษัทไม่มีหุ้นสามัญเทียบเท่าใดที่ถือโดยบุคคลภายนอก
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญสำหรับปีคือ 10 ล้านหุ้น ซึ่งคำนวณได้ดังนี้ ((9/12) x 10 ล้านหุ้น + (6/12) x 5 ล้านหุ้น) = 10 ล้านหุ้น นั่นคือจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วของปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทถือหุ้นสามัญ 10 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 31 มีนาคม เป็นเวลาทั้งหมด 9 เดือน และถือหุ้นสามัญ 5 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือน

ดังนั้นกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานของบริษัทในปีนี้คือ 2.4 บาทต่อหุ้น ((25 ล้านบาท – 1 ล้านบาท) / 10 ล้านหุ้น))

กำไรต่อหุ้นปรับลด (Diluted Earnings per Share) คำนวณสำหรับบริษัทที่มีโครงสร้างทุนแบบซับซ้อนนั่นคือ บริษัทมีหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญเทียบเท่า เช่น บริษัทออกหุ้นสามัญเทียบเท่าในรูปของใบสำคัญแสดงสิทธิหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือสัญญาชนิดอื่นที่อาจทำให้บริษัทต้องออกหุ้นเพิ่มในอนาคต กำไรต่อหุ้นปรับลดคำนวณโดยนำกำไรสุทธิระหว่างงวดเฉพาะที่เป็นของหุ้นสามัญและหุ้นสามัญเทียบเท่า (คือกำไรสุทธิที่ปรับเงินปันผลของผู้ถือห้นบุริมสิทธิออกและรวมผลตอบแทนของหุ้นสามัญเทียบเท่ากลับเข้ามา) หารด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ถือด้วยบุคคลภายนอกและผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่า (โดยสมมติว่าหุ้นสามัญเทียบเท่าที่จะก่อให้เกิดการปรับลดของกำไรต่อหุ้นทุกรายการได้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ) บริษัทที่ออกหุ้นสามัญเทียบเท่าต้องแสดงกำไรต่อหุ้นปรับลดควบคู่ไปกับกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นข้อมูลช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น

เหตุผลที่บริษัทต้องแสดงกำไรต่อหุ้นปรับลดควบคู่ไปกับกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานก็เพื่อแสดงให้นักลงทุนเห็น Dilutive Effect ของหุ้นสามัญปรับลด ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งให้สิทธิพนักงานในการซื้อหุ้นสามัญหรือจ่ายสวัสดิการให้พนักงานในรูปของหุ้นสามัญ (employee stock options)สมมติว่าบริษัทมีหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจำนวน5 ล้านหุ้น และมีหุ้นสามัญเทียบเท่าในรูปของการให้สิทธิซื้อหุ้นแก่พนักงาน (ซึ่งยังไม่ถูกใช้) จำนวน 10 ล้านหุ้น ดังนั้น หากสิทธิซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดถูกใช้จะมีผลทำให้จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น15 ล้านหุ้น แม้สิทธิซื้อหุ้นนั้นยังไม่ถูกใช้บริษัทก็ยังคงต้องแสดงกำไรต่อหุ้นปรับลดเพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุนว่า กำไรต่อหุ้นจะถูกปรับลดลงเท่าไรหากหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจำนวน 15 ล้านหุ้น

หวังว่าคงช่วยให้ทุกท่านมีความเข้าใจมากขึ้นนะคะ หากใครมีข้อสงสัยอะไร โพสถามได้เลยนะคะ :D
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"กำไรต่อหุ้นบอกถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของบริษัท ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานสำหรับงวดเดียวกันของกิจการต่างๆ"

สมมุติว่า

บริษัท A กำไรต่อหุ้น = 10 บาท
บริษัท B กำไรต่อหุ้น = 1 บาท

แสดงว่าบริษัท A ผลการดำเนินงานดีกว่าบริษัท B ?
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มันมีเขียนต่อว่า ในกิจการเดียวกันนี่คับ
เค้าคงหมายถึง q to q ,q on q มั้งคับ
show me money.
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 4

โพสต์

nearly เขียน:"กำไรต่อหุ้นบอกถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของบริษัท ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานสำหรับงวดเดียวกันของกิจการต่างๆ"

สมมุติว่า

บริษัท A กำไรต่อหุ้น = 10 บาท
บริษัท B กำไรต่อหุ้น = 1 บาท

แสดงว่าบริษัท A ผลการดำเนินงานดีกว่าบริษัท B ?

คำตอบคือใช่ค่ะ ถ้า บริษัท A และบริษัท B มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกันในด้​านอื่นๆทุกประการ บริษัทที่มีกำไรต่อหุ้นมากกว่าย่อมหมายถึงผลการดำเนินงาน(ในการสร้างกำไรทางบัญชี)ดีกว่า​ค่ะ

แต่ในความเป็นจริงไม่มีบริษัทไห​นในโลกที่จะเหมือนกันเป็นฝาแฝดแ​น่นอนค่ะ ความแตกต่างในด้านต่างๆยกตัวอย่​างเช่น
- ทุนของบริษัทประกอบด้วยหุ้นสามั​ญจำนวนมากกว่า EPS ย่อมมีค่าน้อยกว่า (ตัวหารมากกว่า) แม้กำไรสุทธิส่วนของหุ้นสามัญจะ​เท่ากัน โดยจำนวนหุ้นที่มากกว่าก็อาจเป็​นไปได้จากหลายสาเหตุอีก เช่นบริษัทใช้ทุนจากการกู้ยืมมา​กกว่าหุ้น หรืออาจเป็นเพราะหุ้นสามัญเหล่า​นั้นมี book value ต่อหุ้นเล็กกว่า
- กำไรต่อหุ้นนั้น คำนวณจากกำไรสุทธิซึ่งอาจได้รับ​ผลกระทบจากนโยบายทางบัญชีของบริ​ษัท เช่น วิธีการรับรู้รายได้ หรือการประมาณการทางบัญชี เช่นการประมาณการด้อยค่าของสินท​รัพย์ ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจึงควรดูค่ากำไรต่อหุ้น นี้อย่างระมัดระวัง ว่ามีข้อแตกต่างใดของสองบริษัทที่อาจส่งผลให้กำไรต่อหุ้นของบริ​ษัทนี้มากหรือน้อยจากค่าที่ควรจ​ะเป็นหรือไม่

กำไรต่อหุ้นเป็นเพียงค่าๆหนึ่งใ​นการช่วยเปรียบเทียบผลประกอบการ​ของบริษัท แต่หากจะประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนให้ใกล้เคียงความถูกต้องที่สุดนั้น อาจต้องดูตัวเลข และอัตราส่วนหลายๆรายการของแต่ล​ะบริษัทประกอบกันไปด้วยค่ะ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 3

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เพิ่มเติมและแก้ไข
จะใช้ EPS เทียบเลยไม่ได้ ใช้เปรียบเทียบตัวเองได้ในลักษณะ time series
EPS A = 10 EPS B = 1
บอกเพียงว่าหุ้น A 1 หุ้นให้ผลตอบแทน 10 บาท หุ้น B 1 หุ้นให้ผลตอบแทน 1 บาท ดูเหมือน A จะดีกว่า B แต่ถ้า
A ราคาหุ้น 70 บาท ส่วน B ราคา 5 บาท หุ้นใดให้ผลตอบแทนดีกว่า ต้องตอบว่า B เพราะลงทุน 5 บาท ได้ 1 บาท หรือ 20% ส่วน A ลง 70 บาทได้ 10 บาทหรือ 14.3%

จึงเป็นที่มาของการเปรียบเทียบว่าหุ้นถูกหุ้นแพง คือ ดู P/E ประกอบด้วย โดยเบื้องต้น P/E สูงๆ แนวโน้มจะแพงกว่า แต่ก็ไม่เสมอเพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างต้องดูเพิ่ม เช่น future growth or future opportunity, relative market risk, D/E, payout ratio (อัตราการจ่ายปันผล), ROE เป็นต้น แต่แบบเร็วๆ คร่าวๆ ก็ดู P/E อุตสาหกรรมเทียบเคียง หรือ blue chip ในกลุ่มเดียวกัน
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ :D
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรัดลด

โพสต์ที่ 7

โพสต์

sun_cisa2 เขียน:เพิ่มเติมและแก้ไข
จะใช้ EPS เทียบเลยไม่ได้ ใช้เปรียบเทียบตัวเองได้ในลักษณะ time series
EPS A = 10 EPS B = 1
บอกเพียงว่าหุ้น A 1 หุ้นให้ผลตอบแทน 10 บาท หุ้น B 1 หุ้นให้ผลตอบแทน 1 บาท ดูเหมือน A จะดีกว่า B แต่ถ้า
A ราคาหุ้น 70 บาท ส่วน B ราคา 5 บาท หุ้นใดให้ผลตอบแทนดีกว่า ต้องตอบว่า B เพราะลงทุน 5 บาท ได้ 1 บาท หรือ 20% ส่วน A ลง 70 บาทได้ 10 บาทหรือ 14.3%

จึงเป็นที่มาของการเปรียบเทียบว่าหุ้นถูกหุ้นแพง คือ ดู P/E ประกอบด้วย โดยเบื้องต้น P/E สูงๆ แนวโน้มจะแพงกว่า แต่ก็ไม่เสมอเพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างต้องดูเพิ่ม เช่น future growth or future opportunity, relative market risk, D/E, payout ratio (อัตราการจ่ายปันผล), ROE เป็นต้น แต่แบบเร็วๆ คร่าวๆ ก็ดู P/E อุตสาหกรรมเทียบเคียง หรือ blue chip ในกลุ่มเดียวกัน
ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนให้เพิ่มเติมค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 1

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 1

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 9

โพสต์

จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญสำหรับปีคือ 10 ล้านหุ้น ซึ่งคำนวณได้ดังนี้ ((9/12) x 10 ล้านหุ้น + (6/12) x 5 ล้านหุ้น) = 10 ล้านหุ้น นั่นคือจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วของปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทถือหุ้นสามัญ 10 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 1 มีนาคม เป็นเวลาทั้งหมด 9 เดือน และถือหุ้นสามัญ 5 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือน
นับตั้งแต่ 1มีนาคม ถึง สิ้นปี ต้องเป็น 10 เดือนหรือเปล่าครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 10

โพสต์

jo7393 เขียน:
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญสำหรับปีคือ 10 ล้านหุ้น ซึ่งคำนวณได้ดังนี้ ((9/12) x 10 ล้านหุ้น + (6/12) x 5 ล้านหุ้น) = 10 ล้านหุ้น นั่นคือจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วของปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทถือหุ้นสามัญ 10 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 1 มีนาคม เป็นเวลาทั้งหมด 9 เดือน และถือหุ้นสามัญ 5 ล้านหุ้นที่ออก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือน
นับตั้งแต่ 1มีนาคม ถึง สิ้นปี ต้องเป็น 10 เดือนหรือเปล่าครับ
ใช่แล้วค่ะ โจทย์ที่พิมพ์ไว้ต้องเป็นสิบเดือน ขอโทษด้วยนะคะ
จะพิมพ์ไว้เป็นวันที่ 31 มีนาคมแต่อาจจะพิมพ์ตกไป ขอบคุณมากๆที่ช่วยบอกนะคะ เดี๋ยวแก้เลยค่า :D
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18395
ผู้ติดตาม: 70

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เนื่องจากกำไรต่อหุ้นปรับลดนั้นมีผลกระทบจากการที่บริษัทออก Warrant ,ออก ESOP หรือออก หุ้นกู้แปลงสิทธิ ,หุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพ ซึ่งกระทบโดยตรง

แต่คำถามของผมคือ
หากบริษัทมีการแตกพาร์ หรือรวมพาร์ มันหารคือจำนวนหุ้นที่นำมาใช้เป็นตัวหารกำไรต่อหุ้นเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นมีผลกระทบต่อ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน และ กำไรต่อหุ้นปรับลด อย่างไง
ในสว่นของการแตกพาร์ ทำให้กำไรต่อหุ้นพื้นฐานดูเหมือนลดลงแต่จริงๆมันเท่าเดิม เพราะสัดส่วนของหุ้นมันเพิ่มขึ้น
แต่ในส่วนของการรวมพาร์ เช่น พาร์ 0.1 บาท เป็น พาร์ 1 บาท รวมจาก 10 หุ้นเดิมเป็น 1 หุ้นใหญ่ ส่วนนี้มีผลกระทบอย่างไงละครับ
:)
:)
opengn
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เป็นประโยชน์มากเลยขอบคุณครับ :B :mrgreen:
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 13

โพสต์

miracle เขียน:เนื่องจากกำไรต่อหุ้นปรับลดนั้นมีผลกระทบจากการที่บริษัทออก Warrant ,ออก ESOP หรือออก หุ้นกู้แปลงสิทธิ ,หุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพ ซึ่งกระทบโดยตรง

แต่คำถามของผมคือ
หากบริษัทมีการแตกพาร์ หรือรวมพาร์ มันหารคือจำนวนหุ้นที่นำมาใช้เป็นตัวหารกำไรต่อหุ้นเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นมีผลกระทบต่อ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน และ กำไรต่อหุ้นปรับลด อย่างไง
ในสว่นของการแตกพาร์ ทำให้กำไรต่อหุ้นพื้นฐานดูเหมือนลดลงแต่จริงๆมันเท่าเดิม เพราะสัดส่วนของหุ้นมันเพิ่มขึ้น
แต่ในส่วนของการรวมพาร์ เช่น พาร์ 0.1 บาท เป็น พาร์ 1 บาท รวมจาก 10 หุ้นเดิมเป็น 1 หุ้นใหญ่ ส่วนนี้มีผลกระทบอย่างไงละครับ
:)
ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะ :D

ก่อนอื่นขออนุญาตตอบเฉพาะผลกระทบจากการคำนวณทางบัญชีนะคะ สำหรับการวิเคราะห์ เพื่อการลงทุนอื่นๆ ขออ้างอิงไปที่กระทู้ของอาจารย์ sun_cisa2 นะคะ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=46&t=51694

ในการรวมพาร์(reverse stock split)นั้น ผู้ถือหุ้นจะมีจำนวนหุ้นลดลงตามสัดส่วนเดิม เช่นตัวอย่างจากที่คุณ miracle ยกมาคือ จากเดิม 1 หุ้นพาร์ 0.1 บาท เมื่อมีการรวมหุ้น 1 ต่อ 10 จะทำให้ทุกๆหุ้นสามัญจำนวน 10 หุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีกลายเป็นหุ้นใหญ่หุ้นเดียว พาร์ 1 บาท นั่นหมายถึงจำนวนหุ้นสามัญของบริษัทที่ปรากฎในงบการเงินหลังการรวมพาร์ จะน้อยลง 10 เท่า (หาร 10 ของจำนวนเดิม) กำไรเฉลี่ยต่อหุ้นก็จะมากขึ้น 10 เท่าด้วย ถ้าตัวเลขอื่นๆไม่มีการเปลี่ยนแปลง

เช่นถ้าบริษัทมีกำไรส่วนของหุ้นสามัญ 10 ล้านบาท จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว มี 10 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานก็จะเป็น 1 บาทต่อหุ้นสามัญ

หากบริษัทมีการรวมพาร์ 1 ต่อ 10 ในระหว่างปี จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ก็จะมีค่าเป็น 1 ล้านหุ้นแทน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานก็จะกลายเป็น 10 บาทต่อหุ้น (เวลาคิด weighted average ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ให้ทำเสมือนว่าการรวมพาร์ทำมาตั้งแต่วันแรกของปีเสมอ แม้ว่าการรวมจริงๆเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในปีก็ตาม)

กำไรต่อหุ้นนั้นเปรียบเสมือนเป็นค่าที่บ่งบอกว่าบริษัทได้กำไรเท่าไหร่เมื่อเฉลี่ยต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นมากขึ้นเพราะการรวมพาร์ ก็เหมือนว่าหุ้นที่เราถือตัวใหญ่ขึ้น มีค่า ทั้งราคาพาร์ ราคาซื้อขายหุ้น รวมถึงกำไรต่อหุ้น มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่ได้ซื้อหรือขายเพิ่มจากเดิม มูลค่าพาร์ของหุ้นทั้งหมดที่เราถือของบริษัท ทั้งก่อนและหลังการรวมพาร์ก็ยังมีค่าเท่าเดิมอยู่ดีค่ะ

การคิดกำไรต่อหุ้นปรับลดก็จะใช้วิธีคิดในลักษณะเดิมค่ะ เพียงแค่ใช้การปรับปรุงจาก จำนวน weighted average ที่ได้ใหม่จากการรวมพาร์ และใช้การคำนวณจำนวนหุ้นสามัญที่คาดว่าจะต้องออกในอนาคตตามจำนวนสัดส่วนที่เราได้รวมพาร์ไปค่ะ

สมมติว่ามีหุ้นกู้แปลงสิทธิ 1,000,000 หุ้น ซึ่งสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ 1 ต่อ 1 ก่อนการรวมพาร์ ถ้าดูตัวอย่างที่เพิ่งยกไป จำนวนหุ้นสามัญที่จะนำมาคิดกำไรต่อหุ้นปรับลดหลังรวมพาร์ จะใช้ตัวเลข 1,000,000/10 = 100,000 หุ้น

ซึ่งนำไปปรับได้เป็น 1,000,000+100,000 หรือ 1,100,000 หุ้น นำไปหารออกจากกำไรสุทธิส่วนของหุ้นสามัญ 10 ล้านบาทที่ต้องปรับผลกระทบของหุ้นกู้แปลงสิทธิ์นี้ออกไป จะได้กำไรต่อหุ้นปรับลดหลังรวมพาร์ค่ะ

โดยการคำนวณ weighted average สำหรับคำนวณกำไรต่อหุ้นใหม่ สำหรับหุ้นปันผล(stock dividend) หรือการแตกพาร์(stock split) ก็คิดในลักษณะเดียวกันค่า
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18395
ผู้ติดตาม: 70

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอสรุปตามความเข้าใจของผมล่ะ
ถ้าเป็นกรณีของการรวมพาร์และแตกพาร์ ให้คิดเสมือนกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการ ณ ต้นปีของงบการเงินนั้นๆเลย (ไม่มีผลของด้านเวลามาคำนวณ)
แต่ถ้าเป็นกรณีของการปันผลด้วยหุ้น หรือ เพิ่มทุน ในระหว่างงบการเงิน อันนี้คิดตามสัดส่วนของเวลาที่หุ้นเพิ่มทุน หรือ หุ้นปันผลนั้นคงเหลือในปีของงบการเงินนั้น (มีผลไม่เต็มปี) จึงเอามารวมกับปริมาณหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้วนำมาคิดเป็นตัวส่วนของ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน ต่อไป ใช่หรือไม่ครับ

:)
:)
usa.s
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 15

โพสต์

miracle เขียน:ขอสรุปตามความเข้าใจของผมล่ะ
ถ้าเป็นกรณีของการรวมพาร์และแตกพาร์ ให้คิดเสมือนกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการ ณ ต้นปีของงบการเงินนั้นๆเลย (ไม่มีผลของด้านเวลามาคำนวณ)
แต่ถ้าเป็นกรณีของการปันผลด้วยหุ้น หรือ เพิ่มทุน ในระหว่างงบการเงิน อันนี้คิดตามสัดส่วนของเวลาที่หุ้นเพิ่มทุน หรือ หุ้นปันผลนั้นคงเหลือในปีของงบการเงินนั้น (มีผลไม่เต็มปี) จึงเอามารวมกับปริมาณหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้วนำมาคิดเป็นตัวส่วนของ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน ต่อไป ใช่หรือไม่ครับ

:)
การรวมพาร์ การแตกพาร์ และการปันผลด้วยหุ้นนั้น ให้คิดเสมือนทำตั้งแต่วันแรกของปีทั้งหมดค่ะ แต่ในกรณีที่เพิ่มทุน หรือซื้อหุ้นคืนนั้นที่เราจะคิดตามสัดส่วนเวลาจริงคือมีผลไม่เต็มปีค่ะ
ทั้งนี้จะยกตัวอย่างในกรณีของการปันผลหุ้นให้ดูค่ะ สมมติใน 1 ปีบริษัทมีกิจกรรมเกี่ยวกับทุนดังนี้


1 มกราคม: จำนวนหุ้นที่ถือเริ่ม เป็น 150,000 หุ้น
1 พฤษภาคม: ซื้อหุ้นคืน 30,000 หุ้น กลายเป็น 150,000 – 30,000 = 120,000 หุ้น
1 กรกฎาคม: ปันผลหุ้น 50% ต้องออกหุ้นเพิ่ม = (150,000-30,000) *50% = 60,000 หุ้น
กลายเป็น = 120,000 + 60,000 = 180,000 หุ้น
1 พฤศจิกายน: ออกทุนเพิ่ม 30,000 หุ้น กลายเป็น 180,000 + 30,000 = 210,000 หุ้น
1 ธันวาคม: จำนวนหุ้น ณ วันสิ้นปี กลายเป็น 210,000 หุ้น

การคิดจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วในกรณีนี้จะเป็นไปตามนี้ค่า

1 มกราคม : (จำนวนหุ้น: 150,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 25,000
1 พฤษภาคม: (จำนวนหุ้น: 120,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 3/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 45,000
1 กรกฎาคม: (จำนวนหุ้น: 180,000) * (อัตราส่วนเวลา: 5/12 )
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 75,000
1 พฤศจิกายน: (จำนวนหุ้น: 210,000) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 35,000
ดังนั้นจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว สำหรับปี คือผลรวมของทั้งหมด 25,000+45,000+75,000+35,000 = 180,000 หุ้น

สังเกตว่า เราต้องคูณจำนวนหุ้นที่เรามีก่อนหน้าวันออกปันผล คือออกวันที่ 1 มกราคม และ1 พฤษภาคม ด้วยเลข 1.5 เพื่อทำให้เป็นเสมือนว่าหุ้นที่ออกปันผลได้มีมมาตั้งแต่ต้นปีค่ะ
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18395
ผู้ติดตาม: 70

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณครับ
มีตัวอย่างให้ด้วย ต้องกด Like ให้ร้อยๆครั้งเลย
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
rafflesia
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 17

โพสต์

usa.s เขียน: การรวมพาร์ การแตกพาร์ และการปันผลด้วยหุ้นนั้น ให้คิดเสมือนทำตั้งแต่วันแรกของปีทั้งหมดค่ะ แต่ในกรณีที่เพิ่มทุน หรือซื้อหุ้นคืนนั้นที่เราจะคิดตามสัดส่วนเวลาจริงคือมีผลไม่เต็มปีค่ะ
ทั้งนี้จะยกตัวอย่างในกรณีของการปันผลหุ้นให้ดูค่ะ สมมติใน 1 ปีบริษัทมีกิจกรรมเกี่ยวกับทุนดังนี้


1 มกราคม: จำนวนหุ้นที่ถือเริ่ม เป็น 150,000 หุ้น
1 พฤษภาคม: ซื้อหุ้นคืน 30,000 หุ้น กลายเป็น 150,000 – 30,000 = 120,000 หุ้น
1 กรกฎาคม: ปันผลหุ้น 50% ต้องออกหุ้นเพิ่ม = (150,000-30,000) *50% = 60,000 หุ้น
กลายเป็น = 120,000 + 60,000 = 180,000 หุ้น
1 พฤศจิกายน: ออกทุนเพิ่ม 30,000 หุ้น กลายเป็น 180,000 + 30,000 = 210,000 หุ้น
1 ธันวาคม: จำนวนหุ้น ณ วันสิ้นปี กลายเป็น 210,000 หุ้น

การคิดจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วในกรณีนี้จะเป็นไปตามนี้ค่า

1 มกราคม : (จำนวนหุ้น: 150,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 25,000
1 พฤษภาคม: (จำนวนหุ้น: 120,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 3/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 45,000
1 กรกฎาคม: (จำนวนหุ้น: 180,000) * (อัตราส่วนเวลา: 5/12 )
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 75,000
1 พฤศจิกายน: (จำนวนหุ้น: 210,000) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 35,000
ดังนั้นจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว สำหรับปี คือผลรวมของทั้งหมด 25,000+45,000+75,000+35,000 = 180,000 หุ้น

สังเกตว่า เราต้องคูณจำนวนหุ้นที่เรามีก่อนหน้าวันออกปันผล คือออกวันที่ 1 มกราคม และ1 พฤษภาคม ด้วยเลข 1.5 เพื่อทำให้เป็นเสมือนว่าหุ้นที่ออกปันผลได้มีมมาตั้งแต่ต้นปีค่ะ
ขอบคุณครับผม
แต่ว่ายังสังสัย อัตราส่วนเวลา ว่าทำไม
1 มกราคม : (อัตราส่วนเวลา: 2/12) ไม่เป็น 12/12
1 พฤษภาคม: (อัตราส่วนเวลา: 3/12) ไม่เป็น 8/12
1 กรกฎาคม: (อัตราส่วนเวลา: 5/12 ) ไม่เป็น 6/12
หรือครับ ทำไมถึงเป็นตัวเลขดังกล่าวครับ
vrVI ระบบข้อมูลเพื่อนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน เครื่องมือคำนวณต่างๆ
https://www.facebook.com/VRVIclub
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 18

โพสต์

usa.s wrote:
การรวมพาร์ การแตกพาร์ และการปันผลด้วยหุ้นนั้น ให้คิดเสมือนทำตั้งแต่วันแรกของปีทั้งหมดค่ะ แต่ในกรณีที่เพิ่มทุน หรือซื้อหุ้นคืนนั้นที่เราจะคิดตามสัดส่วนเวลาจริงคือมีผลไม่เต็มปีค่ะ
ทั้งนี้จะยกตัวอย่างในกรณีของการปันผลหุ้นให้ดูค่ะ สมมติใน 1 ปีบริษัทมีกิจกรรมเกี่ยวกับทุนดังนี้


1 มกราคม: จำนวนหุ้นที่ถือเริ่ม เป็น 150,000 หุ้น
1 พฤษภาคม: ซื้อหุ้นคืน 30,000 หุ้น กลายเป็น 150,000 – 30,000 = 120,000 หุ้น
1 กรกฎาคม: ปันผลหุ้น 50% ต้องออกหุ้นเพิ่ม = (150,000-30,000) *50% = 60,000 หุ้น
กลายเป็น = 120,000 + 60,000 = 180,000 หุ้น
1 พฤศจิกายน: ออกทุนเพิ่ม 30,000 หุ้น กลายเป็น 180,000 + 30,000 = 210,000 หุ้น
1 ธันวาคม: จำนวนหุ้น ณ วันสิ้นปี กลายเป็น 210,000 หุ้น

การคิดจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วในกรณีนี้จะเป็นไปตามนี้ค่า

1 มกราคม : (จำนวนหุ้น: 150,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 25,000
1 พฤษภาคม: (จำนวนหุ้น: 120,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 3/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 45,000
1 กรกฎาคม: (จำนวนหุ้น: 180,000) * (อัตราส่วนเวลา: 5/12 )
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 75,000
1 พฤศจิกายน: (จำนวนหุ้น: 210,000) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 35,000
ดังนั้นจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว สำหรับปี คือผลรวมของทั้งหมด 25,000+45,000+75,000+35,000 = 180,000 หุ้น

สังเกตว่า เราต้องคูณจำนวนหุ้นที่เรามีก่อนหน้าวันออกปันผล คือออกวันที่ 1 มกราคม และ1 พฤษภาคม ด้วยเลข 1.5 เพื่อทำให้เป็นเสมือนว่าหุ้นที่ออกปันผลได้มีมมาตั้งแต่ต้นปีค่ะ


ขอบคุณครับผม
แต่ว่ายังสังสัย อัตราส่วนเวลา ว่าทำไม
1 มกราคม : (อัตราส่วนเวลา: 2/12) ไม่เป็น 12/12
1 พฤษภาคม: (อัตราส่วนเวลา: 3/12) ไม่เป็น 8/12
1 กรกฎาคม: (อัตราส่วนเวลา: 5/12 ) ไม่เป็น 6/12
หรือครับ ทำไมถึงเป็นตัวเลขดังกล่าวครับ
ขอเสนอแนะนะครับ ผมคิดว่าโจทย์น่าจะผิด 1 พฤษภาคม น่าจะเป็น 1 มีนาคม ครับ (เนื่องจากหุ้นที่ถือเริ่มต้น ใช้ 2/12 เป็นตัวคูณ)
ดังนั้นจำนวนหุ้นเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเวลา จะคิดได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 ใช้หุ้นคงค้างคูณด้วยสัดส่วนของเวลา (ตามวิธีที่แสดงข้างบน)
150,000 x 1.5 x 2/12 = 37,500
120,000 x 1.5 x 3/12 = 45,000
180,000 x 5/12 = 75,000
210,000 x 2/12 = 35,000
รวม = 192,500 หุ้น
วิธีที่ 2 ใช้หุ้นที่เปลี่ยนแปลงระหว่างงวด X สัดส่วนของเวลา มาใช้ปรับปรุงจำนวนหุ้นต้นงวด หากใช้วิธีนี้สัดส่วนของเวลาที่ใช้ก็จะเป็นไปตามของผู้ถาม
150,000 x 1.5 x 12/12 = 225,000
(30,000) x 1.5 x 10/12 = (37,500)
30,000 x 1.5 x 2/12 = 5,000
รวม = 192,500 หุ้น

ทั้งสองวิธีได้คำตอบเท่ากันครับ
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอแก้ไขวิธีที่ 2 บรรทัดก่อนรวมจำนวนหุ้น ไม่ต้องคูณ 1.5 นะครับ
วิธีที่ 2 ใช้หุ้นที่เปลี่ยนแปลงระหว่างงวด X สัดส่วนของเวลา มาใช้ปรับปรุงจำนวนหุ้นต้นงวด หากใช้วิธีนี้สัดส่วนของเวลาที่ใช้ก็จะเป็นไปตามของผู้ถาม
150,000 x 1.5 x 12/12 = 225,000
(30,000) x 1.5 x 10/12 = (37,500)
30,000 x 2/12 = 5,000
รวม = 192,500 หุ้น

ทั้งสองวิธีได้คำตอบเท่ากันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
rafflesia
Verified User
โพสต์: 46
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณครับผม
vrVI ระบบข้อมูลเพื่อนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า งบการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน เครื่องมือคำนวณต่างๆ
https://www.facebook.com/VRVIclub
perfectackle
Verified User
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ตาสว่างขึ้นเยอะครับ ขอบคุณมั่ก :D
ว. วีไอ อดทน
โพสต์โพสต์