บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
artvirus
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 2

บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ

คราวที่แล้ว ผมได้หยิบยกเอาเรื่องที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พูดถึง สตีฟ จ็อบส์ ในรายการ Squawk Box ช่อง CNBC มาคุยให้ฟัง ซึ่งก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก วันนี้ ขอเอาอีกประเด็นหนึ่งซึ่งมีความน่าสนใจไม่แพ้กันมาเล่าบ้างนะครับ

ก่อนหน้านี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ทำให้หลายคนประหลาดใจมาก ด้วยการกลับสู่ “โลว์เทค” อีกครั้ง โดยเข้าไปซื้อหุ้นของหนังสือพิมพ์ Omaha World-herald สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นของโอมาฮา

แม้จะเป็นที่ทราบกันดีกว่าปู่บัฟฟ์คุ้นเคยกับธุรกิจหนังสือพิมพ์ขนาดไหน โดยเขาเคยส่งหนังสือพิมพ์หารายได้มาตั้งแต่สมัยเรียน พอโตขึ้นก็ไปซื้อหุ้น Washington Post แต่เราๆ ท่านๆ ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า การซื้อหุ้นของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรม “ขาลง” ก็ไม่น่าจะเหมาะสม มิใช่หรือ (ดังที่เขาเคยพลาดมาแล้ว ตอนซื้อหุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมสิ่งทออย่าง เบิร์คไชร์ ฮาแธเวย์ ซึ่งต่อมาก็จำต้องแปลงสภาพเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์)

ด้วยเหตุนี้ พิธีกรสาวสวยของ CNBC อย่าง Becky Quick ซึ่งบินตรงไปคุยสดกับปู่บัฟฟ์ ถึงที่ทำการของ Omaha World-herald จึงเลือกที่จะคำถามนี้เป็นคำถามแรกของการสัมภาษณ์ 3 ชั่วโมงว่า "บัฟเฟตต์ซื้อหนังสือพิมพ์อีกทำไม?!!"

คำตอบของปู่บัฟฟ์ก็คือ ณ เวลานี้ มีปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจหนังสือพิมพ์สามประการ สองในสามของปัญหาที่ว่า เป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ แต่อีกปัญหาหนึ่งสามารถแก้ไขได้

สามปัญหานั้น ได้แก่

หนึ่ง หนังสือพิมพ์ได้สูญเสีย “Primariness” หรือความเป็น “แหล่งข้อมูลหลัก” ของผู้คนไปแล้ว ในสมัยก่อน เมื่อคนต้องการทราบราคาหุ้นหรืออยากรู้ผลการแข่งขันเบสบอล ก็ต้องไปซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง อ่านในอินเตอร์เน็ตได้

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยังมีความสำคัญอยู่ในหลายๆ แง่ เช่น ข่าวสารการเมืองท้องถิ่น ผลฟุตบอลในแนบราสก้า ข่าวสารในชุมชน ซึ่งอินเตอร์เน็ตให้คุณได้ไม่เท่ากับหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

สอง หนังสือพิมพ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ “แพง” (ความหมายของปู่บัฟฟ์หมายถึง ต้นทุนสูง) กระบวนการผลิตของมันเริ่มจากการตัดต้นไม้ในแคนาดา จนกลายเป็นกระดาษปึกหนึ่งที่เด็กส่งหนังสือพิมพ์เอามาโยนไว้หน้าบ้านของคุณทุกๆ เช้า และเดี๋ยวนี้ก็ยังแพงอยู่ ตรงกันข้ามกับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งราคาถูกมาก

นั่นคือปัญหาสองประการที่แก้ไขไม่ได้

ปัญหาประการที่สาม ซึ่งบัฟฟ์บอกว่าแก้ได้ คือ ผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ทั้งหลายไม่ควรเอาเนื้อหาในกระดาษไปให้คนอ่านออนไลน์แบบฟรีๆ นั่นไม่ใช่ Business Model ที่ถูกต้องเลย มีหลายบริษัททำเช่นนั้นอยู่ ซึ่งไม่ดี

พิธีกรถามต่อว่า ถ้าเช่นนั้น หมายความว่าบัฟเฟตต์ก็เห็นด้วยกับสิ่งที่ รูเพิร์ต เมอร์ด็อค กำลังทำ คือเรียกเก็บเงินจากเนื้อหาออนไลน์ใช่หรือไม่ ปู่บัฟฟ์บอกว่า ใช่แล้ว เขาเห็นด้วย และบอกว่าที่จริง Dow Jones ทำมาก่อนรูเพิร์ตเสียด้วยซ้ำ ในขณะที่ New York Times เองลังเลอยู่นาน แต่ตอนนี้ก็ได้เริ่มต้นทำอย่างเอาจริงเอาจัง

ปู่บัฟฟ์ตบท้ายว่า “และสิ่งนี้เอง ที่จะเป็นตัวตัดสินอนาคตของธุรกิจหนังสือพิมพ์”

[ดูคลิปสัมภาษณ์ได้ที่ http://www.cnbc.com/id/46541258]
http://www.ClubVI.com

พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 885

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 2

โพสต์

มุมมองของบัฟเฟตต์ยังลึกซึ้งเหมือนเดิม
แม้อายุขนาดนี้แล้ว
แค่ความคิดดีๆอย่างเดียว ที่เปลี่ยนจากคนธรรมดาเป็นคนที่ร่ำรวยต้นๆของโลก
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 29

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หนังสือพิมพ์ที่ให้อ่านฟรี ไม่ใช่เรื่องผิดพลาดอะไร

ก็แค่เป็นการทดลองให้อ่าน และทดลองทำดู

ในอนาคต หากมีการเก็บเงิน คนอ่าน รู้สึกว่า ถูกกว่าไปซื้อหนังสือพิมพ์กระดาษ มากๆ

ก็อยากเป็นสมาชิก

บัพเฟต เลือกซื้อในจังหวะเวลาที่เหมาะสม และมองเห็นว่าอนาคต น่าจะกำไรดีมาก

เมื่อคนทั้งโลก ยอมจ่ายคนละน้อยๆ เพื่อเข้ามาอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์

โลกนี้ no free lunch อยู่แล้ว
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 1

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ซื้อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น น่าจะใช้เงินน้อยมาก
การซื้อน่าจะมีเหตุผล มากกว่าการหวังผลด้านกำไรจากธุรกิจ
Blueplanet
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 1

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ซื้อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น น่าจะใช้เงินน้อยมาก
การซื้อน่าจะมีเหตุผลอื่น มากกว่าการหวังผลด้านกำไรจากธุรกิจ
Blueplanet
ziannoom
Verified User
โพสต์: 1046
ผู้ติดตาม: 1

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หุ้นในเมืองไทยที่พอจะเปรียบเทียบได้บ้างคือกลุ่มบันเทิงป่าวครับ เพราะเดียวนี้ศิลปินไม่มีแล้วยอดจำหน่ายล้านตลับ หรือล้านแผ่น รายได้จะมาจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นเงินจำนวนน้อยๆแต่หากมีลูกค้าเยอะก็อาจเป็นเม็ดเงินที่สูงได้อย่าง ringtone เสียงรอสายอะไรประมาณนี้ รอเพื่อนๆมาแชร์ครับ
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
artvirus
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 2

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 7

โพสต์

วันนี้ ได้อ่านคอลัมน์คุณภิญโญ ในมติชนสุดฯ พูดถึงเรื่องนี้พอดี น่าสนใจมากๆ

เค้าบอกว่า นสพ.ทั่วโลกกำลังเผชิญสภาวะถดถอยอย่างหนัก จนต้องหา New Revenue Model เพื่อเอามาทดแทนยอดขายและโฆษณาที่ลดลง จึงนำไปสู่การคิดเงินสำหรับ online content บางเจ้าก็ให้อ่านแต่ข่าว ส่วนพวกคอลัมน์นี่ต้องจ่ายเงิน เป็นต้น

ตอนนี้หลายฝ่ายเริ่มมีแนวคิดว่าจะเก็บเงินจาก Google และ Social Network ทั้งหลายบ้างแล้ว เพราะเป็น "ถนน" ที่นำพาคนไปสู่ "เนื้อหา" โดยเจ้าของถนนได้เงินเป็นกอบเป็นกำ แต่เจ้าของเนื้อหากลับไม่ได้อะไร พาลให้ต้องล้มหายตายจากไป

ที่เยอรมันกำลังจะออกเป็นกฏหมายกันแล้วครับ
http://www.ClubVI.com

พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
chitadisai
Verified User
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 0

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในไทยน่าจะแตกต่างกับอเมริกาพอสมควร
หากอ่านข่าวในเน็ทแล้วเสียเงิน คนก็จะย้ายไปอ่านที่ไม่เสียเงินแทนยกเว้นแต่พวกที่ต้องการอ่านข่าวจริงๆจังๆเท่านั้น

แล้วเดียวนี้เว็ปส่วนใหญ่ใช้วิธี คัดลองข่าวมาจากเว็ปอื่น มาแปะในเว็ปของตน ทำให้เว็ปหนังสือพิมพ์เสียรายได้ไปมากมาย
ต้นคั่วแหล่งข่าวจริงๆมีอยู่ไม่กี่เว็ปเท่านั้น ที่เหลือก๊อปมาแล้วใส่เครดิตให้แต่ไม่ได้จ่ายค่าข่าวให้

ช่องว่างทางกฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจไอทีในไทยยังหละหลวม การทำนาบนหลังคนยังมีมากมายในโลก Internet
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2611
ผู้ติดตาม: 63

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ...ขอนำไปเผยเเพร่ในห้องอื่นหน่อยนะครับ ผมก็ถือหุ้นหนังสือพิมพ์อยู่ถึง2บริษัท

ผมมองว่าธุรกิจกลุ่มนี้"น่าตื่นเต้น"เเละนี้"เข้าใจไม่ยาก"เลยกล้าลงทุน

จากที่ติดตามหุ้นกลุ่มดังกล่าวพบว่าทุกบริษัทพยายามเพิ่มสัดส่วนรายได้ ในส่วนNon-paper บางเเห่งไปทำทีวีดาวเทียม, บางเเห่งไปทำธุรกิจขายคูปองลดราคา, บางเเห่งต่อยอดContentของตัวเองไปสู่ธุรกิจอย่างอื่นเช่นทำบ้านเเละเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป ทำคลินิคเเพทย์ทางเลือก, บางรายเเจก"หนังสือพิมพ์ฟรี"ไปเลยเเล้วหารายได้จากการขายโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฟรีเหล่านั้น ที่น่าสนใจมากคือการใช้Contentของตัวเองไปทำงานเเฟร์เช่น มติชนHealth Care, บ้านเเละสวนเเฟร์ จนทำให้มีรายได้มาจุนเจือบริษัทอย่างมากมาย ที่สำคัญทุกๆเจ้าปพยายามปรับตัวอย่างเเข็งขันสู่New Media

ผมจึงมองว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังตาย...เเต่กำลังปรับตัวเเละมีอะไรน่าตื่นเต้นรออยู่อีกเยอะครับ :D

อย่างไรก็ตามปัจจุบันรายได้หลักของหุ้นกลุ่มสิ่งพิมพ์ก็ยังคงเป็นการขายหนังสือพิมพ์เเละการขายโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือสื่อในมือ...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 10

โพสต์

http://ycombinator.com/munger.html
Charles Munger, USC Business School, 1994
There's another kind of advantage to scale. In some businesses, the very nature of things is to sort of cascade toward the overwhelming dominance of one firm.

The most obvious one is daily newspapers. There's practically no city left in the U.S., aside from a few very big ones, where there's more than one daily newspaper.

And again, that's a scale thing. Once I get most of the circulation, I get most of the advertising. And once I get most of the advertising and circulation, why would anyone want the thinner paper with less information in it? So it tends to cascade to a winnertakeall situation. And that's a separate form of the advantages of scale phenomenon.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ต่อด้วย..narrow specialization ..
Charles Munger, USC Business School, 1994

And there are also disadvantages of scale. For example, we—by which I mean Berkshire Hathaway—are the largest shareholder in Capital Cities/ABC. And we had trade publications there that got murdered where our competitors beat us. And the way they beat us was by going to a narrower specialization.

We'd have a travel magazine for business travel. So somebody would create one which was addressed solely at corporate travel departments. Like an ecosystem, you're getting a narrower and narrower specialization.

Well, they got much more efficient. They could tell more to the guys who ran corporate travel departments. Plus, they didn't have to waste the ink and paper mailing out stuff that corporate travel departments weren't interested in reading. It was a more efficient system. And they beat our brains out as we relied on our broader magazine.

That's what happened to The Saturday Evening Post and all those things. They're gone. What we have now is Motocross—which is read by a bunch of nuts who like to participate in tournaments where they turn somersaults on their motorcycles. But they care about it. For them, it's the principal purpose of life. A magazine called Motocross is a total necessity to those people. And its profit margins would make you salivate.

Just think of how narrowcast that kind of publishing is. So occasionally, scaling down and intensifying gives you the big advantage. Bigger is not always better.
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 8

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมเลิกซื้อหนังสือพิมพ์มานาน ผมขายหุ้นหนังสือพิมพ์ไปตั้งแต่ผมเลิกรับหนังสือพิมพ์
ผมคงต้องรอว่าผมอ่านหนังสือพิมพ์ทางเน็ตฟรีไม่ได้
ผมจึงอาจจะไปสนใจหุ้นหนังสือพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง
ปู่บัฟฟ์รวยเพราะปู่มองอนาคตเก่ง และซื้อหุ้นช่วงราคาถูกมากๆๆๆ
:D :D :D :D :D
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 13

โพสต์

http://www.omaha.com/article/20111130/NEWS01/111139986
JEFF BUNDY/THE WORLD-HERALD
Published Wednesday November 30, 2011
Kroeger said it was clear that the company would need a significant amount of capital sometime in the future because its shareholders are mainly older and selling stock more rapidly than younger employees are buying.

The company is about 20 percent owned by the Peter Kiewit Foundation, which also is in favor of the transaction, said Michael Gallagher, a Phoenix attorney who is represents the Kiewit Foundation on the World-Herald's board of directors. He said the foundation's share of the sale, about $30 million, would go for “more good works.”

World-Herald Chairman John Gottschalk called the proposed sale “a milestone” that would put the newspaper company “into the hands of a corporation deeply rooted in Omaha.” Buffett formerly served on the newspaper's board of directors, Gottschalk noted, and Berkshire has owned the Buffalo (N.Y,) News for decades.

“He understands Omaha,” Gottschalk said. “He understands the great journalistic legacy of The Omaha World-Herald.”

Buffett said he has turned down offers to buy many other newspapers in the past decade but was willing to buy the Omaha newspaper because he is familiar with it and because it has had “a good financial performance.”

“It's not a crazy price. It certainly is not a bargain price,” he said. “I was willing to pay more than I would have for some papers I don't feel have as good of a future.''

He said that the newspaper industry has obviously been going through many challenges in the digital age. But he said the Buffalo News has dealt with its problems and is profitable, as is the World-Herald.

“I think newspapers . . . have a decent future. It won't be like the past. But there are still a lot of things newspapers can do better than any other media. They not only can be sustained, but are important.''

At the meeting, Buffett talked about his family's love for newspapers, including his mother's work at a newspaper in West Point, Neb., and his parents' meeting at the Daily Nebraskan student newspaper at the University of Nebraska in Lincoln.

He said the $5,000 he earned delivering newspapers as a child was the basis of the investments that grew into Berkshire Hathaway, and said he continues to read five daily newspapers a day, including The World-Herald.

"I'm not comfortable without an honest-to-God newspaper in my hand,” he said.

Berkshire would be the fifth owner of The World-Herald, founded by Gilbert Hitchcock founded it in 1885. After Hitchcock died in 1934, members of the Hitchcock family owned and managed the newspaper for the next 28 years. Kiewit's employee ownership plan began after he died in 1979.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 14

โพสต์

he continues to read five daily newspapers a day, including The World-Herald
สงสัย ต้อง ทำตามบ้าง...น้อ
เคยได้ยินใน สัมนา ดร. บอกว่า อ่าน นสพ ธุรกิจ อย่างน้อย 1 ฉบับ..

คนแก่.. อ่าน นสพ
คน หนุ่ม คน สาว ไม่ อ่าน เพราะ มี net
คนแก่ .. กำลัง มี มากขึ้น.
คนหนุ่มสาว..มี น้อย ลง เอ้ ถูก หรือเปล่า
แต่ เวลา บ. จะ ลง โฆษณา ใหญ่..
โครงการขายบ้านตากอากาศใหญ่ๆ
ถ้า ระหว่าง
net กับ นสพ
นสพ..ยังอาจจะน่าจะ ดีกว่า..
น่าศึกษา..ต่อ
แมงเม่าสายลม
Verified User
โพสต์: 164
ผู้ติดตาม: 0

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 15

โพสต์

imerlot เขียน:
he continues to read five daily newspapers a day, including The World-Herald
สงสัย ต้อง ทำตามบ้าง...น้อ
เคยได้ยินใน สัมนา ดร. บอกว่า อ่าน นสพ ธุรกิจ อย่างน้อย 1 ฉบับ..

คนแก่.. อ่าน นสพ
คน หนุ่ม คน สาว ไม่ อ่าน เพราะ มี net
คนแก่ .. กำลัง มี มากขึ้น.
คนหนุ่มสาว..มี น้อย ลง เอ้ ถูก หรือเปล่า
แต่ เวลา บ. จะ ลง โฆษณา ใหญ่..
โครงการขายบ้านตากอากาศใหญ่ๆ
ถ้า ระหว่าง
net กับ นสพ
นสพ..ยังอาจจะน่าจะ ดีกว่า..
น่าศึกษา..ต่อ
ความสัมพันธ์ ทางเหตุผลไม่น่าจะเป็นแบบนั้นนะฮะ
เด็กหนุ่มสาวที่กำลังโตขึ้นใช้อินเตอร์เน็ต
พอแก่แล้วจะกลับไปอ่านหนังสือพิมพ์ ?????? :mrgreen:
รูปภาพ
วันนึงผมจะเป็นแมงเม่าที่ยิ่งใหญ่ฮะ !!!
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 2

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ผมซื้อ นสพ เพราะมีคูปองลดราคา

ผมว่าหนังสือพิมพ์ไม่ต้องเสนอข่าวเลยดีกว่าข้างในมีแต่คูปองลดราคา รับรองยอดขายกระฉูด
CR[t]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 225
ผู้ติดตาม: 0

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ แต่มีอย่างนึงที่กวนใจผมมากเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ นั่นก็คือ "กลิ่นหมึก" ครับ
แต่ละฉบับกลิ่นแรงไม่เท่ากัน แต่เวลานั่งอ่านแล้วกลิ่นมันลอยเข้าจมูกตลอดเลยอ่ะครับ จะดีสุดๆ ถ้ามีหมึกที่ไม่มีกลิ่น :D
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 18

โพสต์

CR[t] เขียน:ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ แต่มีอย่างนึงที่กวนใจผมมากเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ นั่นก็คือ "กลิ่นหมึก" ครับ
แต่ละฉบับกลิ่นแรงไม่เท่ากัน แต่เวลานั่งอ่านแล้วกลิ่นมันลอยเข้าจมูกตลอดเลยอ่ะครับ จะดีสุดๆ ถ้ามีหมึกที่ไม่มีกลิ่น :D
อรรถรสในการอ่านครับ :)
ลงทุนเพื่อชีวิต
artvirus
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 2

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 19

โพสต์

CR[t] เขียน:ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอ่านหนังสือพิมพ์ แต่มีอย่างนึงที่กวนใจผมมากเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ นั่นก็คือ "กลิ่นหมึก" ครับ
แต่ละฉบับกลิ่นแรงไม่เท่ากัน แต่เวลานั่งอ่านแล้วกลิ่นมันลอยเข้าจมูกตลอดเลยอ่ะครับ จะดีสุดๆ ถ้ามีหมึกที่ไม่มีกลิ่น :D
ไม่รู้เป็นไงครับ ผมยังชอบกลิ่นหมึกที่ไม่ฉุนเกินไป และเสียงแคว่กๆ เวลาเอานิ้วแหวกหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อลุ้นว่าจะมีอะไรในหน้าต่อไป รู้สึกว่ามีเสน่ห์ดี สงสัยยังคุ้นกับของเก่ามั้ง
http://www.ClubVI.com

พุทธทาสภิกขุ : ถ้าคุณอยากรู้เรื่องอะไร คุณจงตั้งต้นศึกษาเหมือนอย่างว่า เราจะไปเป็นครูเขาในเรื่องนั้น เรียนให้มากในเรื่องนั้น แล้วคุณจะรู้เรื่องนั้น ดีจนพอ..ดีจนเกินพอ
teetotal
Verified User
โพสต์: 1667
ผู้ติดตาม: 0

Re: บัฟเฟตต์เปิดใจ ทำไมยังรัก "หนังสือพิมพ์"

โพสต์ที่ 20

โพสต์

หมึก ทำจาก ถั่วเหลืองได้นี่ครับ อาจมีกลิ่นน้อยลง
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
โพสต์โพสต์