นิทานบริษัทประกัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Skyforever
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1221
ผู้ติดตาม: 22

นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เร็วๆนี้มีกรณีของบริษัทประกันภัยต่อที่มีการเพิ่มทุน คาดว่าคงเป็นผลมาจากกรณีน้ำท่วมและสร้างความเสียหายให้กับบริษัทจนอาจจะไม่มีเงินทุนเพียงพอสำหรับเงินชดเชย ก่อนหน้านี้ในช่วงที่ทุกอย่างคลุมเครือมีคนเข้ามาวิเคราะห์กันจำนวนมาก ต่างคาดการณ์กันต่างๆนานา มีคนใหม่ๆหลายๆคนกระโดดเข้าไปลงทุนเนื่องจากเห็นว่าราคาลดลงเยอะโดยที่ยังไม่เข้าใจความเสี่ยง หลงคิดว่า Excess of Loss Protection จะทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ไม่เข้าใจหลักการของบริษัทประกันเพียงพอส่งผลให้พอร์ตลงทุนเสียหายได้ ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้ความเชียวชาญเลย แต่คิดว่าพอจะมองภาพกว้างๆได้และอยากจะเขียนเป็นนิทานสื่อให้คนที่ยังไม่มีความรู้เลยได้เข้าใจดังนิทานต่อไปนี้ครับ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลชื่อว่าหมู่บ้าน A มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลัง ในทุกๆสิ้นปีจะมีบ้านสร้างใหม่ 10 หลังและจะมีบ้านที่พังไปเนื่องจากภัยพิบัติ 10 หลังตอนสิ้นปี ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนจำนวนบ้านในหมู่บ้านนี้ก็ยังคงมี 1000 หลังเท่าเดิม โดยที่บ้านแต่ละหลังนั้นมีมูลค่าเท่ากันหมดคือหลังละ 1 ล้านบาท ดังนั้นหากบ้านใครพังไปจากภัยพิบัตินั่นหมายความว่าเขาจะสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาททันที และนั่นเป็นสิ่งที่คนในหมู่บ้านกลัวกันมาก และต้องคอยลุ้นทุกปีไม่ให้บ้านที่พังในแต่ละปีนั้นเป็นบ้านของตัวเอง

มีอยู่วันหนึ่งมีนักธุรกิจหัวใส มองเห็นว่าทุกคนในหมู่บ้านต่างกลัวบ้านจะพังและสูญเสียเงินไป 1 ล้านบาท จึงนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณและพบว่า อัตราจำนวนบ้านที่พังเทียบกับบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านนั้นอยู่ที่ 1% ต่อปี เขาจึงป่าวประกาศไปว่าเขายินดีจะจ่ายเงินให้กับเจ้าของบ้านที่พังจำนวนเต็ม 1 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าบ้านที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้จะต้องจ่ายเงินให้เขาปีละ 2 หมื่นบาทในต้นปีเพื่อให้ได้รับการรับประกันไปตลอดทั้งปีนั้น เมื่อชาวบ้านได้ยินดังนี้ต่างดีใจว่าเขาจ่ายเงินเพียงปีละ 2 หมื่นบาทก็สามารถประกันความปลอดภัยของบ้านเขาที่มีมูลค่าถึง 1 ล้านบาทจึงแห่กันไปเข้าโครงการนี้ทั้งหมดทุกหลังในหมู่บ้าน

นอกจากชาวบ้านจะได้ประโยชน์ ได้ความสบายใจ และมีความมั่นคงมากขึ้นแล้ว นักธุรกิจคนนี้ก็ได้ประโยชน์มากเช่นกัน คือทุกๆต้นปีเขาจะได้รับเงินจากบ้าน 1000 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท รวมแล้วเป็นเงิน 20 ล้านบาท หลังจากนั้นเขาก็เอาเงินนี้ไปลงทุนได้เงินผลตอบแทน 7% ต่อปี ทำให้เงินงอกเงยเป็น 21.4 ล้านบาทในปลายปีแรก และเมื่อบ้านพังไป 10 หลังในปลายปีเขาก็จะจ่ายเงินไป 10 ล้านบาท รวมแล้วเขาจะมีเงินกำไรถึง 11.4 ล้านบาท ในปีแรก และทำเช่นนี้จนมีเงินมากขึ้นทุกๆปีไป

นักธุรกิจคนเดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี

แต่นักธุรกิจคิดได้ว่าหากเก็บเงินแบบนี้อาจจะไม่ปลอดภัยพอ เพราะหากปีไหนบ้านที่พังทั้ง 10 หลังเป็นบ้านราคาแพงที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท จะทำให้เขาต้องจ่ายเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาคงไม่มีเงินจ่ายชดเชยบ้านที่พัง ดังนั้นเขาจึงคิดวิธีการที่เรียกว่า Excess of Loss Protection โดยการติดต่อเพื่อนของเขาคนหนึ่งที่รวยกว่าเขามาก ชื่อนายต่อ และขอให้นายต่อช่วยรับประกันบ้านที่ราคาแพงจำนวน 10 หลังในหมู่บ้าน B ให้หน่อย แต่มีเงื่อนไขว่านายต่อจะจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกินจาก 1 ล้านบาทเท่านั้น นั่นคือถ้าวันไหนบ้านเหล่านี้พังลง นักธุรกิจคนนี้จ่ายเพียง 1 ล้านบาท แต่นายต่อจ่าย 9 ล้านบาท ทั้งนี้นักธุรกิจคนนี้ยอมแบ่งเงินที่ได้รับมาจากบ้านเหล่านี้ให้นายต่อจากเงินที่รับมาทั้งหมดหลังละ 2 แสนบาท เขาเก็บไว้เอง 2 หมื่นบาท และส่งเงินให้นายต่อ 1.8 แสนบาท นั่นเท่ากับว่านักธุรกิจคนนี้รับความรับผิดชอบไว้เพียงหลังละ 1 ล้านบาทในบ้านทุกหลังเหมือนกันกับหมู่บ้าน A

หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากหมู่บ้าน A และ B นักธุรกิจคนนี้จึงเดินทางไปหมู่บ้าน C หมู่บ้าน C นี้เหมือนกับหมู่บ้าน B ทุกอย่างยกเว้นเสียแต่ว่าหมู่บ้าน C นั้นจำนวนภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแต่ละปีไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าเมื่อดูข้อมูลในอดีตตลอด 100 ปีที่ผ่านมาแล้วพบว่าจำนวนบ้านพังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 10 หลังต่อปีเท่ากับหมู่บ้าน A และ B แต่ว่าบางปีก็ไม่มีบ้านพังเลย และในปีที่บ้านพังมากที่สุดก็มีบ้านพังถึง 100 หลังซึ่งในปีนั้นมีมหันตภัยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

นักธุรกิจคนนี้จึงคำนวณว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนในอดีตที่เลวร้ายที่สุดแล้วบ้านพัง 100 หลังจริงเขาจะต้องชดเชยเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเขาเก็บเงินได้แค่ปีละ 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากมหันตภัย ซึ่งเขาก็รู้ว่ามหันตภัยนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย เขาจึงเลือกที่จะขึ้นราคาจากเดิมบ้านหลังละ 1 ล้านบาทจะต้องจ่าย 2 หมื่นบาทเป็น ต้องจ่ายหลังละ 1 แสนบาท ดังนั้นในปีหนึ่งๆเขาจะเก็บเบี้ยได้ปีละ 100 ล้านบาท และในยามปกติเขาก็จะกำไรมากมายมหาศาล แต่ในปีที่เกิดมหันตภัยเขาก็ไม่น่าจะขาดทุน คิดได้ดังนี้เขาจึงป่าวประกาศไปและมีคนมาทำประกันบ้านกับเขาทุกหลังในหมู่บ้าน C

หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีนักธุรกิจคนนี้ร่ำรวยมีเงินมากกว่า 500 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทประกันภัยของเขา แต่ในคืนหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น มีน้ำท่วมทะลักมาจากภูเขาเข้าท่วมทั้งหมู่บ้านของหมู่บ้าน C ทำให้บ้านทุกหลังพังพินาศไม่เหลือ และผู้คนต่างมาขอเงินชดเชยจากนักธุรกิจคนนี้ รวมแล้วเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้บ้านจำนวน 1000 หลังมีมูลค่า 1000 ล้านบท ดังนั้นเงินจึงไม่เพียงพอจ่ายและทำให้นักธุรกิจคนนี้ล้มละลาย

ธุรกิจประกันไม่ว่าจะประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย ล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลสถิติในอดีตมาคำนวณความน่าจะเป็นเพื่อคาดการณ์แนวโน้มและกำหนดเบี้ยประกันทั้งนั้น เบี้ยประกันนั้นได้บวกเผื่อความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ไม่คาดคิดในระดับหนึ่งไว้แล้วแต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะทำให้ตัวเลขเงินสำรองทั้งหลายไม่เพียงพอในการจ่ายค่าชดเชยได้ และนี่ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจของคนที่ลงทุนในธุรกิจนี้

คุณมองธุรกิจประกันภัยอย่างไร ในอนาคตมีแนวโน้มที่ทรัพย์สินจะเสียหาย ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั่วๆไปและความเสียหายจากภัยพิบัติต่างๆมากขึ้นหรือน้อยลง แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร
คุณมองธุรกิจประกันชีวิตกันอย่างไร ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มที่คนจะตายกันมากขึ้นหรือน้อยลง ทั้งจากการตายปกติและจากการตายเนื่องด้วยภัยพิบัติต่างๆ แนวโน้มระยะยาวเป็นอย่างไร

ความเสี่ยงของธุรกิจประกันวินาศภัยที่จะล้มลงจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนทรัพย์สินที่เสียหายมีสัดส่วนที่มากเทียบกับจำนวนทรัพย์สินที่รับประกันทั้งหมด (มูลค่าของทรัพย์สินเป็นเรื่องรองเพราะมีระบบ Excess of Loss Protection) ส่วนความเสี่ยงธุรกิจประกันชีวิตก็คือจำนวนคนเอากรมธรรม์ที่เสียชีวิตมีสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับจำนวนคนทำประกันทั้งหมด โอกาสในการเกิดเหตุไม่คาดคิดในแต่ละความเสี่ยงนั้นมากน้อยอย่างไรก็คงแล้วแต่การประเมินของแต่ละคน ถ้าคิดว่ามีโอกาสมากก็ไม่ควรจะลงทุน แต่ถ้าคิดว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิดได้ก็อาจจะเลือกลงทุน หรือไปลงทุนแต่ในธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงจากมหันตภัยเลย
ซึ่งถ้ามองจริงๆแล้วทุกธุรกิจมีความเสี่ยงทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่จากมหันตภัยก็จากอย่างอื่น เช่นจากอัตราแลกเปลี่ยน จากราคาวัตถุดิบ และอื่นๆ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่ามากก็ไม่ต้องลงทุน ถ้าเรามองว่าน้อยก็ลงทุนไป

ถ้าคุณลงทุนในบริษัทประกันโดยที่ยังไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงเหล้านี้อยู่แสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่สนามรบที่คุณมองไม่เห็นตัวศัตรู
แก้ไขล่าสุดโดย MO101 เมื่อ ศุกร์ ธ.ค. 30, 2011 3:47 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
เหตุผล: เจ้าของบทความพิมพ์ผิด
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
nakron
Verified User
โพสต์: 174
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เข้าใจมากขึ้นเลย ขอบคุณคับผม
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เยี่ยมเลยครับ ค่อยเป็นเว็บวีไอหน่อย
ภาพประจำตัวสมาชิก
Skyforever
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1221
ผู้ติดตาม: 22

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขออภัยพิมพ์ผิดไปครับ ขอแก้นะครับจาก 100 ล้านบาทเป็น 10 ล้านบาท :D
ถ้าเจอที่พิมพ์ผิดอีกจะเข้ามาแก้ใหม่นะครับ
นักธุรกิจคนเดิมนี้เริ่มต้องการขยายธุรกิจจึงไปสำรวจหมู่บ้าน B ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน หมู่บ้านนี้มีจำนวนบ้านอยู่ 1000 หลังเท่ากัน มีบ้านสร้างใหม่และบ้านพังปีละ 10 หลังเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างคือ บ้านแต่ละหลังมีราคาไม่เท่ากัน คือมีบ้านราคาแพงอยู่ 100 หลังที่มีมูลค่าถึงหลังละ 10 ล้านบาท และอีก 900 หลังมีมูลค่าเพียงหลังละ 1 ล้านบาท ซึ่งหากนักธุรกิจคนนี้เก็บเงินหลังละ 2% ของราคาบ้านเหมือนหมู่บ้าน A จะทำให้ได้เงินจากบ้าน 900 หลัง หลังละ 2 หมื่นบาท และอีก 100 หลัง หลังละ 2 แสนบาท เป็นเงินรวม 18+20 = 38 ล้านบาทต่อปี
ชนะเพราะไม่คิดเอาชนะ กำไรเพราะไม่โลภ ลงทุนอย่างมีความสุขเพราะจิตใจอยู่เหนืออารมณ์ตลาด
"ทรัพย์ศฤงคารที่ได้มาอย่างเร่งร้อนจะยอบแยบลง แต่บุคคลที่ส่ำสมทีละเล็กละน้อยจะได้เพิ่มพูนขึ้น" สุภาษิต 13:11
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 2

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

แก้ให้แล้วครับ

บทความดีจริงๆ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
BEN 10
Verified User
โพสต์: 518
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณคุณ skyforever มากครับ
เห็นภาพชัดเจนมากๆ ครับ
CANSLIM APPRENTICE
ภาพประจำตัวสมาชิก
HENDRIX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 1

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :cheers:
ชนะตลาดหรือเปล่าไม่สน ชนะใจตนเป็นพอ
Akkapun
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 249
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ตามมาจากห้องประกันชีวิต :D :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
halogen
Verified User
โพสต์: 78
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณมากครับ เห็นภาพชัดเจนขึ้นมากเลยครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
marcus147
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 615
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อธิบายได้ดีมากๆเลยครับ
ทำให้เข้าใจทั้งธุรกิจประกันภัย และ ประกันภัยต่อ เลยทีเดียว
การลงทุนในตลาดหุ้น ไม่มีทางลัด อยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 41

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ดีจนดีขึ้นไม่มีที่เหลือให้กดlike เลยครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 27

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เรื่องนี้คุ้นๆครับ ผมเจ็บๆแสบๆเหมือนพึ่งเจอวันนี้เลย :mrgreen:
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 21

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เก่งจริงๆครับ เอาเรื่องยากๆมาเล่าให้เข้าใจง่ายๆ
ขอบคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
eaglered
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

อธิบายได้ดีมากๆเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
PrasertsakK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ทำให้เห็นภาพของบริษัทประกันชัดเจนขึ้นมากครับ

ขอบคุณมากครับ ^ ^
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
zz99
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 5

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณมากอีกคนครับ อธิบายจากความเข้าใจใน Business Model จริงๆ เยี่ยมยอดครับ

ปล: ว่าแต่ธุรกิจประกันชีวิต หรือ วินาศภัย ในบ้านเรา สถิติเป็นอย่างไรพอทราบมั้ยครับ นิ่งหรือผันผวน
The miracle of compounding,
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 1

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Thank kub :D
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 1

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

น่าเสียดายบทความนี้
กดไลค์ได้แค่ครั้งเดียวเอง
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ilekis
Verified User
โพสต์: 205
ผู้ติดตาม: 1

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอเสนอให้ thaivi สรุปบทความที่ได้รับ vote เยอะ ๆ ประจำปี 2554 ไว้ซัก 1 กระทู้อะครับ
บทความนี้ต้องเป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน
How much can you know about yourself, you've never been in a fight?
Tyler Durden
ภาพประจำตัวสมาชิก
Simply
Verified User
โพสต์: 150
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณมากครับที่นำมาให้อ่านอย่างง่ายๆ
ผมไม่แน่ใจจริงๆ กรมประกันภัยมีข้อบังคับที่เกี่ยวกับวงเงินสำรองของบริษัทไหม เพราะปีที่ผ่านมามีตัวแทนบริษัทประกันใหญ่ที่สุดมาเสนอขายให้โดยแจ้งว่า ตามกฎของกรมประกันภัยให้มีการกันเงินไว้จำนวนหนึ่งเผื่อกรณีที่บริษัทต้องจ่ายคืนแบบมากๆแบบนี้ เผื่อมีคนที่เข้าใจมาเล่าให้ฟังต่อครับ ไม่งั้นเหมือนบริษัทประกันรถที่ล้มละลายไปเมื่อห้าปีก่อน
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
plern074
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะ พยายามทำความเข้าใจตัวบริษัทประกันมานานแล้ว แต่เห็นภาพไม่ชัดสักที
นิทานเรื่องนี้เรื่องเดียว กระจ่างเลยค่ะ
hayami
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สำหรับนิทาน สนุกจริงๆ เข้าใจ business model ขึ้นมาอีกเยอะเลยครับ
kasei
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณครับ..
[email protected]
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 20
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
BAZUGA
Verified User
โพสต์: 118
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

สุดยอดครับ ทำให้เข้าใจธุรกิจนี้มากขึ้นครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 69

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ยอดเยี่ยมครับ ถ่ายทอดจากเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ได้ดีมากครับ
mrider
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 1

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ขอบคุณครับ เข้าใจง่ายดีครับ
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 4

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

รบกวนถามหน่อยคับ

ผมเข้าใจว่า
ถ้ามันใหญ่พอ รัฐบาล น่าจะต้องเข้ามาอุ้มระดับนึงนะคับ
แล้วก็ อีกเรื่องคือ เงินสมทบกองทุน ที่จ่ายให้กับ กรมการประกัน (ลืมละเรื่องอะไร)
น่าจะเป็นส่วน buffer ปัญหาที่เหนือความคาดหมายหรือเปล่าคับ


ผมอ่านใน หนังสือ ปีเตอร์ ลินช์ เจอว่า
ในตปท s&l มีการออก พันธบัตร แบบ callable
ไม่รู้ว่า ในอนาคต บ. ประกัน จะนำเครื่องมือแบบนี้มาใช้บ้างไหม
อย่างน้อยก็ลด ความผันผวน ของต้นทุนและผลประกอบการ ที่เกิดจากดอกเบี้ย
(ปล. ผมไม่ค่อยเข้าใจ เรื่อง callable เท่าไหร่นะ)
show me money.
ohaoo
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

นิทานดีจริงๆครับ
trap
Verified User
โพสต์: 42
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิทานบริษัทประกัน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณมากครับ อ่านสนุก เข้าใจง่า่ยมากครับ
"Don't look for profits; look for sources of profits" Rakesh Jhunjhunwala
โพสต์โพสต์