การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 4

การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression
ดร.พีรพล ประเสริฐศรี
In Step with AFET Futures :ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวางแผน ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET)
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


"Financial repression" คำศัพท์ซึ่งผมเชื่อว่าน้อยคน (หากมิใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคจริงๆ) จะได้เคยมีโอกาสได้ยินกันมาก่อน

นับตั้งแต่ Bill Gross "The Bond King" ผู้ก่อตั้ง และ Chief Investment Officer ของบริษัท PIMCO (บริษัทจัดการลงทุนที่ว่ากันว่ามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก) กล่าวถึงคำศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ คำว่า "Financial repression" ใน Investment Outlook ของ PIMCO ประจำเดือน พ.ค.2554 เรื่อง "The Caine Mutiny" และเดือน มิ.ย.2554 เรื่อง "Buy Cheap Bonds With Safe Spread"

ส่งผลให้ผู้คนในวงการการลงทุน รวมถึงสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในวงการตราสารหนี้ หุ้น อัตราแลกเปลี่ยน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ต่างหันมาสนใจกับคำว่า "Financial repression" คำศัพท์ซึ่งผมเชื่อว่าน้อยคน (หากมิใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคจริงๆ) จะได้เคยมีโอกาสได้ยินกันมาก่อน

Bill Gross ได้กล่าวถึง "Financial repression" โดยอ้างอิงจากบทความทางวิชาการ เรื่อง "The Liquidation of Government Debt" ของ Prof. Carmen Reinhart และ Belen Sbrancia ตีพิมพ์โดย NBER ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งเป็นการรวบรวม วิเคราะห์และสรุปถึงวิธีการในอดีต ที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของตน เช่น ด้วยวิธีการ "Financial repression" ในช่วงปี ค.ศ. 1945 - 1980

Reinhart ได้อธิบายในบทความของเธอว่า โดยปกติแล้ว ปัญหาเรื่องหนี้ของประเทศใด (วัดจากอัตราส่วนของ Debt ต่อ GDP) สามารถจะทำให้ลดลงไปได้มี 5 วิธีด้วยกัน ได้แก่ 1.growth (เศรษฐกิจขยายตัวจนทำให้พอจ่ายหนี้ได้) 2.ใช้นโยบายรัดเข็มขัดและขึ้นภาษี (ประหยัดเพื่อจ่ายหนี้)

3. Default (ล้มละลายแล้วขอปรับโครงสร้างหนี้) 4.ทำให้เกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง หรือ Hyperinflation (มีหนี้เสมือนไม่มี เนื่องจากหนี้มีมูลค่าลดลงอย่างมาก) และ 5.ใช้เทคนิค Financial Repression ผนวกกับทำให้เกิดเงินเฟ้อด้วยแต่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก (ในอัตราที่พอยอมรับกันได้)

การแก้ปัญหาหนี้ตามข้อ 4 และ 5 มีเงื่อนไขว่า ภาระหนี้ต้องอยู่ในรูปของสกุลเงินของประเทศนั้น เช่น สหรัฐอเมริกามีภาระหนี้ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ เป็นต้น

ตัวอย่างอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงมากนัก เช่น เงินเฟ้อ 5% ต่อปี ดูไม่สูงมากนักใช่ไหมครับ แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5 ก็จะสามารถทำให้ภาระหนี้เหลือมูลค่าที่แท้จริงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของภาระหนี้เดิม ด้วยระยะเวลาเพียง 8 ปีเศษเท่านั้น

เทคนิค Financial Repression ที่ Reinhart กล่าวถึงในบทความ ได้แก่ 1.การกดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นจนทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ 2.การบังคับให้สถาบันการเงินในประเทศ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญให้ซื้อและยังคงถือครองตราสารหนี้ของภาครัฐ 3.การกำกับดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุน และ 4.การเข้าไปครอบงำกิจการภาคธนาคาร

ทางเลือกด้วยการใช้ Financial Repression ในการแก้ปัญหาหนี้ ถือได้ว่าเป็นทางออกที่หอมหวนของนักการเมือง เพราะว่า รัฐบาลไม่ต้องใช้นโยบายรัดเข็มขัดและขึ้นภาษี และไม่ต้องทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (จนอาจเป็นเหตุให้ประชาชนออกมาต่อต้าน) ดังที่ Reinhart ได้แสดงหลักฐานของการใช้นโยบาย "Financial repression" แก้ปัญหาหนี้ของประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย เบลเยียม อินเดีย ไอร์แลนด์ อิตาลี แอฟริกาใต้ สวีเดน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และทำสำเร็จมาแล้วในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1945-1980

ในปัจจุบัน ด้วยภาระหนี้ขนาดมหึมาของประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ที่ ณ ขณะที่ผมเขียนบทความชิ้นนี้อยู่นั่น นาฬิกาหนี้ หรือ Debt Clock (http://www.usdebtclock.org) รายงานว่า สหรัฐฯมีหนี้ภาครัฐสูงถึง 14.4 ล้านล้านดอลลาร์ และมีหนี้รวมทั้งหมด 55.3 ล้านล้านดอลลาร์ จาก GDP ทั้งปีของสหรัฐที่ 14.7 ล้านล้านดอลลาร์ (คิดเป็นอัตราส่วน Public Debt ต่อ GDP เกือบ 100%) ประกอบกับหนี้แทบทั้งหมดล้วนเป็นหนี้สกุลเงินดอลลาร์ ทำให้วิธีการ "Financial repression" ในสหรัฐสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านนโยบายอัตราดอกเบี้ยใกล้ศูนย์ และ Quantitative Easing ของธนาคารกลางประเทศสหรัฐ

แน่นอนว่า การใช้เทคนิค Financial Repression ที่ให้กดอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็นโดยให้เป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เกิดภาระอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ เช่น อัตราดอกเบี้ย 2% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ 5% คิดเป็นดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอยู่ 3% ซึ่งเป็นการลงโทษผู้ออมเงินผ่านภาคธนาคาร ขณะเดียวกันก็เป็นการให้รางวัลคนที่เป็นหนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อได้กัดกร่อนเงินออมได้รวดเร็วกว่าดอกเบี้ยที่งอกเงยของเงินฝาก

ภายใต้ภาวการณ์ดังกล่าว หากอ่านบทความของ Bill Gross ฉบับล่าสุด ซึ่ง Gross ก็ยังสามารถแนะนำการลงทุนในสินทรัพย์พวกตราสารหนี้ได้ (สมกับฉายา Bond King จริงๆ) โดยให้เลือกลงทุนตราสารหนี้ประเภท Cheap Bonds โดยเน้นพวก Safe Spread (อ่านละเอียดใน PIMCO Investment Outlook June 2011)

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การลงทุนที่เหมาะสมภายใต้ภาวะ Financial Repression นี้ต้องเป็นการลงทุนที่สามารถสู้ได้กับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ นั่นคือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่ปกติแล้วราคามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่า หรืออย่างน้อยต้องเท่ากับอัตราเงินเฟ้อ เช่น พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ หรือ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น สินค้าพลังงาน โลหะมีค่า สินค้าเกษตร

โชคดีที่ปัจจุบัน นักลงทุนไทยมีโอกาสในเลือกลงทุนในสินทรัพย์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วยเช่นกัน อาทิเช่น พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่กระทรวงการคลังกำลัง จะนำออกมาขายในเดือนหน้านี้ (11-13 ก.ค.54) หรือ ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่าน Futures Exchange อย่าง TFEX และ AFET หรือ ผ่านกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งรวมถึง ETF สินค้าโภคภัณฑ์ (ที่น่าจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย)

ภายใต้ภาวะที่ยังไม่แน่นอนดังที่เรากำลังประสบอยู่นี้ ท่านผู้อ่านคงต้องคิดพิจารณาไตร่ตรอง แล้วตัดสินใจอย่างรอบคอบว่า จะเลือกลงทุนในรูปแบบใดให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนของแต่ละท่าน ครับ
qQp
Verified User
โพสต์: 105
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับได้ความรู้ดีมากๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Narongwart
Verified User
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนกับตัวเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 327

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณด้วยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 22

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ

ได้ความรู้ดีๆ เพิ่มอีกเยอะเลย :P
Kaewkarb
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณครับ :D
...ทุกอย่างสำคัญที่ใจ...:D
porzilla
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
อย่า...วัดความลึกของแม่น้ำด้วยขาทั้ง2ข้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
charnengi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2395
ผู้ติดตาม: 6

Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression

โพสต์ที่ 8

โพสต์

แจ่มครับ
low PROFILE but HIGH PROFITS
โพสต์โพสต์