กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
SourCreamz
Verified User
โพสต์: 113
ผู้ติดตาม: 0

กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หลังจากได้อ่านหนังสือแล้ว มักจะเห็นคำพูดนี้บ่อยๆ เกี่ยวกับกิจการที่ดี และ กิจการที่ดีเยี่ยม
พอถึงเวลาจะลองวิเคราะห์กิจการเองดูบ้าง จากหลักการในหนังสือ ทำให้พอจะทราบได้บ้าง กิจการไหนเป็นกิจการที่ดี

แต่ไม่ทราบความแตกต่างระหว่างกิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยมครับ
SourCreamz
Verified User
โพสต์: 113
ผู้ติดตาม: 0

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รบกวนพี่ๆ ขอคำแนะนำด้วยครับ
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ครั้งหนึ่งในอดีต ในประเทศอเมริกา ก็เคยมีการถกกันเรื่องนี้

กิจการที่ดีโดยทั่วไปนั้น มักจะประสบความสำเร็จเป็นช่วง ๆ แต่ไม่สามารถผลิตหรือสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม และรักษาผลงานยอดเยี่ยมนั้นได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอ

แต่บริษัทที่ยอดเยี่ยมนั้น มักจะเป็นผู้นำในการผลิตผลงานที่ยอดเยี่ยม และยังสามารถรักษาผลงานที่ย่อดเยี่ยมดังกล่าวได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน มีความสามารถในการสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาดได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าจะต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ก็ยังสามารถฝ่าฟันและอยู่รอด ตลอดจนเติบโตได้ยาวนาน

การจะเห็นความแตกต่างตรงนี้ได้ ต้องเห็นว่าบริษัทยอดเยี่ยมนั้น ทำอย่างไรที่เหนือกว่าบริษัทที่ดีธรรมดาทั่วไป คุณสมบัติอะไรบ้างที่ทำให้บริษัทดังกล่าวที่มีอยู่จำนวนไม่มาก สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน หรือที่บัฟเฟทใช้คำว่า DCA ซึ่งเป็นกำแพงที่เป็นภูมิต้านทานต่อคู่แข่งขันจากภายนอกที่จะเข้ามาโจมตีได้ ที่เราเรียกว่า Moat

บริษัทที่พัฒนาจากบริษัทที่ดีเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมได้ ถ้าเป็นกิจการที่บัฟเฟทถือหุ้นอยู่ ก็ได้แก่ Geico wal-mart เป็นต้น ซึ่งสามารถแข่งขันและต่อสู้กับคู่แข่งขัน แม้ในสภาพการแข่งขันที่รุนแรง แต่ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าบริษัทที่ดีทั่วไป
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 10

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คราวนี้ลองมาอ่านบทความของ research นี้บ้างว่า บริษัทยอดเยี่ยมมีคุณสมบัติอย่างไร

โดยมี เวป ของผู้จัดการได้ทำสรุปย่องานวิจัยนี้ให้ครับ

บทความนั้นนำมาจากหนังสือที่เคยได้รับความนิยมในอดีตคือ Good to great โดยผู้แต่งคือ Jim Collins ครับ

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4164

อ่านแล้วจะทำให้เราเกิด Idea ในการเลือกหุ้นที่มีคุณภาพระดับสูง เพื่อเป็นประโยชน์ในการลงทุนหาบริษัทที่ดี ที่มีโอกาสก้าวไปสู่บริษัทที่ยอดเยี่ยมได้ในอนาคต

หนังสือ Good to great

ผู้แต่ง : Jim Collins

สำนักพิมพ์ : HarperBusiness

จำนวนหน้า : 300

ราคา : 27.50 ดอลลาร์สหรัฐ

ส า ร บ า ญ

หลักเกณฑ์คัดสรรอันเข้มงวด

11 บริษัทที่ก้าวจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยม

ผู้นำระดับ 5

เริ่มต้นด้วยคน ต่อด้วยการกระทำ

เผชิญความจริงอันโหดร้าย

คิดอย่างเม่น

สร้างวัฒนธรรมความมีวินัย

เทคโนโลยีคือ ตัวเร่ง

ล้อมู่เล่กับวงจรหายนะ

เนื้อหาโดยสรุปของเรื่องย่อนี้

ในหนังสือเล่มที่แล้วซึ่งเป็นหนังสือขายดีของเขาคือ Built to Last ผู้แต่ง Jim Collins กล่าวถึง สิ่งที่ทำให้บริษัทที่ดีเยี่ยมเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม และอะไรที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถรักษาความยอดเยี่ยมไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ค้างคาอยู่ในจิตใจของเขามาตลอดเวลา กล่าวคือ บริษัทที่ดีเยี่ยมส่วนใหญ่มักคงความยอดเยี่ยมเอาไว้ได้เสมอ ในขณะที่บริษัทที่ "ดี" ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ก็ยังคงทำได้แค่ดีอยู่อย่างนั้น แต่ไม่เคยถึงขั้นดีเยี่ยม บริษัทที่ดีเหล่านั้นควรจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม และเปลี่ยนจุดอ่อนระยะยาวให้กลายเป็นจุดที่ดีที่สุดในระยะยาว

Collins และทีมวิจัยของเขากำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดหลายประการ ในการคัดสรรบริษัทที่สามารถเลื่อนชั้นจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยม จนคัดบริษัทชั้นหัวกะทิมาได้ทั้งหมด 11 บริษัท ซึ่งไม่เพียงแค่ประสบความสำเร็จแต่ยังสามารถรักษาความสำเร็จนั้นไว้ได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 15 ปี บริษัททั้งสิบเอ็ดแห่งนี้จะทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจได้ไม่แพ้ที่คุณจะประหลาดใจว่า แม้แต่บริษัทอย่าง Intel, GE และ Coca Cola ยังไม่ติดกลุ่มการคัดสรรครั้งนี้

แต่สิ่งที่จะทำให้คุณประหลาดใจอย่างแท้จริงในการอ่าน Good to Great หาใช่สิ่งต่างๆ ที่ บริษัทเหล่านั้นพยายามทำ เพื่อยกระดับขึ้นไปสู่การเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมแต่อย่างใดไม่ หากแต่เป็นความ รู้สึกพิศวงว่า เหตุใดบริษัททั้งหลายจึงไม่ยอมทำในสิ่งเดียวกับที่บริษัทชั้นหัวกะทิเหล่านี้ทำให้บ่อยขึ้น
ค น ที่ มี วิ นั ย ผู้นำระดับ 5

การค้นพบที่สร้างความประหลาดใจให้มากที่สุดอย่างหนึ่งในงานวิจัยนี้คือ ประเภท ของผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทที่ดีให้กลายเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมได้ บางคนอาจคิดว่า ผู้นำที่จะมีความสามารถเช่นนั้นได้ คงต้องเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียง มีบุคลิกเปี่ยมสง่าราศี เป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอ และเป็นคนดัง

แต่ความจริงก็คือ ผู้นำที่เด่นดังเหล่านั้นกลับไม่มีคุณสมบัติของ "ผู้นำระดับ 5" ซึ่ง เป็นผู้นำที่มีความสามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทจากบริษัทชั้นดีเป็นบริษัทชั้นดีเยี่ยมได้ (ผู้นำระดับ 5 คือผู้นำที่มีระดับความสามารถสูงสุดในระดับชั้นความเป็นผู้นำ โปรดดูล้อม กรอบ) ผู้นำระดับ 5 เป็นผู้นำที่สามารถผสมผสานคุณสมบัติ 2 ประการ ที่ดูเหมือน จะขัดแย้งกันไว้ในตัว กล่าวคือความอ่อน น้อมถ่อมตนและความเด็ดขาด ผู้นำระดับ 5 มักจะหลบเลี่ยงการเป็นจุดสนใจ มุ่งแต่จะทุ่มเทในการสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมเท่านั้น แม้ผู้นำระดับ 5 จะพบได้ในหลายๆ ธุรกิจ แต่พวกเขาล้วนมีคุณสมบัติพื้นฐานร่วมกันดังนี้

' ผู้นำระดับ 5 มีความปรารถนาดีต่อผู้สืบทอดตำแหน่งของเขา และหวังให้ ได้พบความสำเร็จเช่นเดียวกับตน ผู้นำหลายคนไม่สนใจว่าบริษัทจะเป็นอย่างไรเมื่อเขาเดินออกจากบริษัทไป หรือจงใจเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งที่ไร้ความสามารถ ก็จะมีสิ่งใดเล่าที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ความ ยิ่งใหญ่ของพวกเขา ได้ดีไปกว่าการที่บริษัท ต้องถึงกาลล่มสลาย หลังจากที่พวกเขาเดินจากไป

แต่ผู้นำระดับ 5 ไม่ทำเช่นนั้น David Maxwell อดีต CEO ของ Fannie Mae รอดูจนแน่ใจว่าผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาสามารถจะสืบสานความสำเร็จต่อไปได้ หรือยิ่งทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมากขึ้น จึงค่อยจากมา Maxwell ถูกสภาคองเกรสสหรัฐฯ โจมตีเรื่องเงินหลังเกษียณอายุซึ่งเขาจะได้รับเป็นจำนวนถึง 20 ล้านดอลลาร์ว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไป (Fannie Mae เป็นบริษัทที่ดำเนินการโดยได้รับอนุญาตพิเศษจากรัฐบาล จึงอยู่ ภายใต้การตรวจสอบของสภา) แทนที่ Max- well จะคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน และเดินจากไปพร้อมเงินมหาศาลนั้น โดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบริษัท เขากลับเป็นผู้แนะนำให้ CEO คนใหม่ระงับการจ่ายเงิน คงเหลือจำนวน 5.5 ล้านแก่เขา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้บริษัทต้องเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาล

' ผู้นำระดับ 5 มีนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน ในขณะที่ผู้นำบางคนชอบอวดอ้าง ความสามารถ ผู้นำระดับ 5 จะไม่ค่อยพูด ถึงตัวเองเท่าไรนัก แต่กลับชอบยกความดีให้แก่บุคคลอื่นหรือพูดถึงบริษัทโดยรวม พวกเขาไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่หรือถูกนำขึ้นหิ้งบูชา แต่พอใจเป็นคนธรรมดาๆ ที่สร้างผลงานที่ไม่ธรรมดา โดย ไม่ต้องป่าวประกาศให้ใครรู้

' ผู้นำระดับ 5 มีการตัดสินใจที่เด็ดขาด แม้จะเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนแต่ เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ พวกเขาจะตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด แน่วแน่มั่นคงที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้บริษัทก้าวสู่ความยิ่งใหญ่

เมื่อ George Cain ก้าวเข้ามาเป็น CEO ของ Abbott Laboratories บริษัทยาดังกล่าวอยู่ในสภาพตกต่ำมาก Cain ไม่มีบุคลิกที่มีสง่าราศีของผู้นำ ที่จะทำให้พนักงานรู้สึกประทับใจจนเกิดความหวังว่า เขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทได้ในชั่วข้ามคืน แต่สิ่งที่เขามีคือ การไม่ยอมอดทน ต่อความไร้ประสิทธิภาพ แม้แต่ทำได้แค่ดีก็ยังไม่ดีพอสำหรับเขา เขาจัดการกำจัดรากเหง้าของความไร้ประสิทธิภาพในบริษัท นั่นคือระบบเส้นสายและอาวุโส เขาเปลี่ยน ตัวคณะกรรมการและคณะผู้บริหารยกคณะ โดยแต่งตั้งคนที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่เข้าแทนที่คนเก่าที่ได้ตำแหน่ง เพราะเครือญาติหรือเพราะ อยู่บริษัทมานานที่สุด

ถ้าคุณต้องการจะค้นหาว่าในบรรดาผู้จัด การของคุณ มีใครบ้างมีคุณสมบัติผู้นำระดับ 5 ขอให้มองหาสถานการณ์ที่มีผลลัพธ์อันยอดเยี่ยมปรากฏขึ้น แต่กลับไม่มีผู้ใดออกมาอ้างความดี ความชอบ และถ้าคุณต้อง การจะเป็นผู้นำระดับ 5 ล่ะก็ โปรดอ่านต่อไป ตอนนี้คุณก็ได้รู้แล้วว่า ผู้นำระดับ 5 เป็นอย่างไร ต่อไปเราจะมาค้นหาว่า เขาทำอะไรจึงได้เป็นผู้นำระดับ 5
เริ่มต้นด้วยคน ต่อด้วยการกระทำ

คนส่วนใหญ่มักคาดว่า ในการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาบริษัทอย่างในหนังสือ เล่มนี้นั้น คงจะได้เจอหัวข้อประเภทวิสัยทัศน์อันน่าตื่นเต้น แผนยุทธศาสตร์ที่น่าประทับใจ หรือทิศทางใหม่ๆ ซึ่งผู้นำจะต้องพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะจูงใจพนักงานให้รู้สึกว่าตนมีพันธะที่จะต้องทำตามวิสัยทัศน์ แผนยุทธศาสตร์ หรือทิศทางใหม่ๆ นั้น แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ผู้บริหารที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทไปสู่บริษัทที่ดีเยี่ยม ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการกำหนดจุดหมายปลายทางที่จะไปถึง แล้วจึงค่อยรับคนขึ้นรถ หากแต่พวกเขา จะเริ่มต้นด้วยการรับคนที่ "ใช่" ขึ้นรถก่อน (รวมทั้งไล่คนที่ "ไม่ใช่" ลงไป) แล้วจึงค่อยคิดว่า จุดหมายปลายทางคืออะไร การตอบคำถาม "ใคร" จะต้องมาก่อนการตัดสินใจว่า จะทำ "อะไร" เสมอ กล่าวคือ การตัดสินใจเรื่อง "ใคร" จะต้องมาก่อนการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดยุทธศาสตร์ การวางโครงสร้างองค์กร หรือการวางกลยุทธ์
ความจริงง่ายๆ

ผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทดีให้กลายเป็นบริษัทดีเยี่ยมได้นั้น เป็นผู้ที่เข้าใจ ความจริงง่ายๆ 3 ประการคือ

' ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการตอบคำถาม "ใคร" แทนที่จะเป็นทำ "อะไร" คุณจะปรับตัว เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

' ถ้าคุณมีคนที่ "ใช่" อยู่บนรถ ปัญหาเรื่องการสร้างแรงจูงใจพนักงาน และปัญหาการควบคุมคนแทบจะไม่มี

' ถ้าคุณมีแต่คนที่ "ไม่ใช่" แม้คุณจะค้นพบทิศทางที่ถูกต้องก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เพราะคุณยังคงไม่สามารถสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมได้อยู่ดี เพราะการมีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยม แต่ปราศจากคนที่ยอดเยี่ยม ไม่
ก่อให้เกิดผลอะไร

บริษัทที่สามารถก้าวขึ้นมาสู่ความยอดเยี่ยม จะมีมาตรฐานที่แน่นอนชัดเจนในการตัดสินใจเรื่องใดๆ พนักงานทุกคนและทุกระดับโดยเฉพาะต้องไม่ยกเว้นระดับผู้บริหาร จะอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม โดยไม่มี การใช้มาตรฐานซ้อนหรือเลือกปฏิบัติ การมีวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ ทำให้พนักงานที่ดีที่สุดไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องตำแหน่งของ เขา ทำให้มีสมาธิทุ่มเทให้กับงานได้เต็มที่และสร้างผลงานที่ดีที่สุดได้ การมีมาตรฐาน ที่แน่นอนในการตัดสินเรื่องราวใดๆ ยังรวมไปถึงความจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจปลดพนักงานออกด้วย หากจำเป็นต้องทำ

การมีมาตรฐานที่แน่นอนในการตัดสินใจเรื่องบุคลากร ต้องเริ่มต้นที่ผู้บริหารระดับสูงและยังควรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อีก 3 ประการ คือ

' เมื่อยังไม่แน่ใจอย่าเพิ่งจ้างงานเพิ่ม รอดูไปก่อน ไม่มีบริษัทใดสามารถจะรักษาให้รายได้ของบริษัทเติบโตเร็วกว่าความสามารถในการรับคนของบริษัทได้ตลอดไป เพราะรายได้ของบริษัทจะเติบโต อย่างไร ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในปริมาณที่มากพอ ที่จะสามารถสร้างความเติบโตให้แก่บริษัทได้ และยังสามารถรักษาความเติบโตนั้นไว้ได้อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมด้วย ดังนั้น หากคุณปล่อยให้อัตราการเติบโตของรายได้ของบริษัทคุณแซงหน้าอัตราการเติบโตในการรับพนักงานอยู่เรื่อยๆ ล่ะก็ คุณจะไม่มีวันสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมได้เลย

' เมื่อคุณรู้ว่า ถึงเวลาต้องปลดคนที่ "ไม่ใช่" ออกไป คุณต้องทำทันที เมื่อใดที่คุณรู้สึกว่ามีพนักงานคนใดที่คุณต้องควบคุมอย่างเข้มงวดแล้วล่ะก็ นั่นแสดงว่าคุณได้ตัดสินใจจ้างคนผิดเสียแล้ว เพราะพนักงานที่ดีไม่ต้องควบคุมมาก ชี้แนะได้ สอนได้ นำได้ แต่ต้องไม่ใช่คอยควบคุมทุกฝีก้าว อย่าลังเลที่จะเปลี่ยนคนใหม่ หรือให้โอกาสครั้งที่ 3 หรือครั้งที่ 4 เท่านั้น หรือสร้างระบบขึ้นมาชดเชยการขาดแคลนพนักงาน การปล่อย ให้พนักงานที่ด้อยประสิทธิภาพอยู่ในบริษัท ไม่ยุติธรรมต่อพนักงานที่ดีคนอื่นๆ เพราะหลายครั้งที่พนักงานที่มีคุณภาพรู้สึกว่าพวกเขาต้องคอยชดเชยความบกพร่องของพนักงาน ที่ด้อยความสามารถ ถึงเวลาแล้วที่ต้องไล่ผู้โดยสารที่คุณรับมาผิดลงจากรถ

' ให้พนักงานที่ดีที่สุดของคุณได้รับโอกาสที่ดีสุด ไม่ใช่ให้แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด หลายบริษัทคิดว่าการมอบหมายให้พนักงานที่ดีที่สุดของตนเข้าแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด จะช่วยพลิกสถานการณ์จากร้ายกลายเป็นดีได้ จริงอยู่ บางครั้งการทำเช่นนี้ก็ดีกับทุกฝ่าย แต่คุณกำลังลืมความจริงที่ว่า การแก้ไขปัญหาเป็นการกระทำที่ถึงทำดีที่สุดก็แค่เสมอตัวเท่านั้น การมอบโอกาสที่ดีที่สุดให้แก่พนักงานที่ดีที่สุดต่างหาก จึงจะทำให้พวกเขาได้เปล่งประกายความสามารถ และทำให้บริษัทคุณก้าวสู่ความยอดเยี่ยมได้
คิ ด อ ย่ า ง มี วิ นั ย เผชิญความจริงอันโหดร้าย

บริษัททุกแห่งที่สามารถก้าวสู่ความยอดเยี่ยม เริ่มต้นกระบวนการค้นหาเส้นทางสู่ความยอดเยี่ยมด้วยการกล้าเผชิญความเป็นจริงอันโหดร้ายที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของบริษัท และเมื่อบริษัทเริ่มค้นหาสภาพความเป็นจริงของตนอย่างซื่อสัตย์และไม่ย่อท้อแล้ว บริษัทมักจะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ตรงข้าม บริษัทจะไม่สามารถมีการตัดสินใจ ที่ดีได้เลย หากไม่ยอมเผชิญหน้ากับความจริงแม้ว่ามันจะโหดร้ายก็ตาม
ทำไม Kroger จึงชนะ A&P

The Great Atlantic and Pacific Tea Company (A&P) มีโมเดลธุรกิจที่ดีเยี่ยมสำหรับช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ซึ่งสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้คนอเมริกันต้องประหยัด ร้านขายของชำของบริษัทจึงขายสินค้าใน ปริมาณมากและราคาถูก อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษเดียวกัน คนอเมริกัน เริ่มรวยขึ้นและเริ่มต้องการร้านค้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสินค้าให้เลือกมากขึ้น มีอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ มีดอกไม้สด มีบริการธนาคารและอื่นๆ พวก เขาต้องการซูเปอร์สโตร์ที่ รวมสินค้าหลากหลายไว้ในที่เดียวกัน

เพื่อเผชิญกับความจริงอันโหดร้ายว่า โมเดลธุรกิจ ที่บริษัทมีอยู่เริ่มไม่สอดคล้องกับโลกที่กำลังเปลี่ยนไปเสียแล้ว A&P จึงตัดสินใจเปิดร้านใหม่ชื่อ Golden Key เพื่อให้เป็นที่สำหรับทดลองวิธีทำธุรกิจและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และเรียนรู้ความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า ร้านใหม่นี้ไม่ขายสินค้าที่ติดยี่ห้อ A&P เลย และทดลองเปิดแผนกสินค้าใหม่ๆ รวมถึงเริ่มพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นซูเปอร์สโตร์ที่ทันสมัย ผลก็คือ A&P เริ่มค้นพบคำตอบว่า ทำไมบริษัทจึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาด และควรจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร แต่ผู้บริหารของ A&P กลับไม่พอใจคำตอบที่ได้รับ พวกเขาจึงปิดร้าน Golden Key เสีย แทนที่จะยอมละทิ้งโมเดลธุรกิจที่ล้าสมัยของตน

ในขณะเดียวกัน เชนร้านขายของชำ Kroger ก็ได้ทำการทดลองค้นหาวิธีทำธุรกิจ และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่นกัน และในปี 1970 ก็สามารถค้นพบความจริงที่เจ็บปวดว่า ร้านขายของชำแบบเก่านั้นกำลังจะตายในไม่ช้า แทนที่จะเพิกเฉยต่อความจริงที่โหดร้ายนี้อย่างที่ A&P ทำ Kroger กลับตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์ด้วยการปิดร้าน เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงร้านในเครือของตนไปทีละร้านๆ จากช่วงตึกหนึ่งไปสู่ช่วงตึกหนึ่ง จากเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่ง และจากรัฐหนึ่งสู่รัฐหนึ่ง จนในที่สุดก็เสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบ ในปี 1999 Kroger กลายเป็นเชนร้านขายของชำอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ
ให้โอกาสความจริงได้ปรากฏ

งานสำคัญงานหนึ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกๆ หากบริษัทของคุณต้องการก้าวไปสู่การเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมคือ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูด ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้คุณได้รู้ความจริงเกี่ยวกับบริษัท คุณสามารถทำได้ดังนี้

' จงเป็นผู้นำด้วยการถาม ไม่ใช่ด้วยการให้คำตอบ การนำบริษัทสู่ความยอดเยี่ยม ไม่ได้หมายความว่า คุณต้องมีคำตอบมาก่อน แล้วพยายามจูงใจให้ทุกคน ทำตามวิสัยทัศน์ของคุณ แต่หมายความว่า คุณต้องสำนึกตัวว่า คุณไม่ได้รู้ทุกอย่าง จึงต้องถามคนอื่นๆ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ดีที่สุด

' กระตุ้นให้มีการถกเถียงโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์ ทุกบริษัทที่สามารถพัฒนาตัวไปสู่ความยอดเยี่ยม ต่างก็ชอบให้มีการพูดคุยถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่ทำพอเป็นพิธี กล่าวคือดูเหมือนเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดเพียงเพื่อจะอ้างได้ว่าทุกคนเห็นชอบกับสิ่งที่ผู้นำตัดสินใจไปแล้ว วงสนทนาจะต้องเป็นโอกาสที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม เพื่อช่วยกันค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด

' ทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ มิใช่เพื่อหาคนผิด ผู้นำของ บริษัทที่สามารถพัฒนาตัวเองจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยม จะตรวจสอบการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพื่อให้เข้าใจสาเหตุและเพื่อเป็นบทเรียน แต่ไม่ใช่เพื่อหาคนผิดมาลงโทษ การทำเช่นนี้เป็นการสร้างบรรยา กาศให้ความจริงได้มีโอกาสปรากฏ

' สร้างกลไกที่จะทำให้เห็นคุณค่าของข้อมูลข่าวสาร บริษัทที่สามารถถีบตัวสู่ความยอดเยี่ยม มิได้มีช่องทางการเข้าถึง ข้อมูลที่ดีกว่าบริษัทอื่นๆ แต่อย่างใด บริษัทเพียงแต่เปิดโอกาสมากที่สุดให้แก่พนักงาน และลูกค้าของตน ให้สามารถให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแท้ๆ โดยไม่ถูกกลั่นกรองบิดเบือน ซึ่งเป็นข้อมูลที่เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนก่อนที่ปัญหาเล็กน้อยจะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่
คิดอย่างเม่น (Hedgehog Concept)

ในบทความที่มีชื่อเสียงเรื่อง "เม่นกับหมาป่า" ของ Isaiah Berlin เขาได้แบ่ง โลกออกเป็น 2 กลุ่มตามสุภาษิตกรีก โบราณบทหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงเม่นกับหมาป่า อันเป็นศัตรูกันโดยธรรมชาติ หมาป่าจะมีเป้าหมายหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และมองเห็นความซับซ้อนของโลก หมาป่าจะอยู่กระจัดกระจายเคลื่อนไหวในหลายระดับ และไม่เคยรวบรวมความคิดให้เหลือแนวคิดเพียงหนึ่งเดียว ตรงข้ามกับเม่น เม่นจะทำให้โลกที่ซับซ้อนกลายเป็นแนวคิดเดียวหรือหลักการเดียวที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียว และใช้มันชี้นำทุกอย่าง เม่นไม่สนใจความซับซ้อนของโลก มันจะยุบรวมปัญหาและความยุ่งยากทั้ง มวลให้กลายเป็นแนวคิดง่ายๆ ส่วนอะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับแนวคิดง่ายๆ เหล่านั้น เม่นจะไม่สนใจเลย เมื่อหมาป่าเผชิญหน้ากับเม่น เดาซิว่าใครชนะ ผู้ชนะทุกครั้งคือเม่น
สามมิติของการคิดอย่างเม่น

ผู้นำที่สามารถพัฒนาบริษัทที่ดีเยี่ยมล้วนมีความเป็นเม่นอยู่ในตัวไม่มากก็น้อย การคิดแบบเม่นคือการมีแนวคิดที่ง่ายและชัดเจนที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากความ เข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับบริเวณจุดที่ตัดกันของวงกลมมิติทั้งสามของการคิดอย่างเม่น มิติทั้งสามได้แก่

' คุณสามารถทำอะไรได้ดีที่สุดในโลก แนวคิดนี้ไปไกลกว่าการระบุว่าความสามารถหลักของคุณคืออะไร การที่คุณมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดไม่ได้หมายความ ว่า คุณจะทำสิ่งนั้นได้ดีที่สุดในโลก ตรงข้าม สิ่งที่คุณสามารถจะทำได้ดีที่สุดในโลกอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้ การคิดอย่างเม่นไม่ได้เป็นเป้าหมายหรือแผนยุทธศาสตร์ในการพยายามทำสิ่งใดให้ดีที่สุด แต่เป็นความเข้าใจว่าอะไรที่คุณอาจเป็นได้ดีที่สุด และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ อะไรที่คุณไม่อาจเป็นได้ดีที่สุด

' อะไรคือสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนบริษัทของคุณอย่างแท้จริง เพื่อให้เข้าใจว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในบริษัทคุณ ให้คุณหาค่าๆ หนึ่งมาแทนที่ค่า X ในอัตราส่วนอย่างเช่น กำไรต่อ X หรือกระแสเงินสดต่อ X ถ้ากำหนดให้คุณเลือกได้เพียงค่าเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทของคุณมากที่สุด และเมื่อค่านั้นเพิ่มขึ้นจะกระทบต่อบริษัท มากขึ้น คุณจะเลือกค่าใด มาแทนที่ค่า X นี้ ค่าที่คุณเลือกมาอาจเป็นสิ่งที่ดูไม่ค่อยสำคัญ หรือมองเห็นไม่ชัด อย่างไรก็ตาม หลักการของแนวคิดนี้คือ ใช้ค่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณเข้าใจโมเดลธุรกิจของบริษัทคุณให้ลึกซึ้งขึ้น

' อะไรที่คุณมีใจรักที่สุด บริษัทที่ก้าวสู่ความยอดเยี่ยมไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอะไรก่อน แล้วจึงกระตุ้นให้พนักงานเกิดความรักที่จะทำสิ่งนั้น ตรงข้าม บริษัทเหล่านี้จะเลือกทำแต่สิ่งที่พวกเขามีใจรักเท่านั้น เพราะพวกเขารู้ดีว่า ความมีใจรักไม่สามารถสร้างขึ้นได้ และไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการพยายามจูงใจของผู้นำ คุณสามารถทำได้เพียงค้นพบว่า คุณและพนักงานของคุณมีใจรักในเรื่องใดเท่านั้น
ก า ร ก ร ะ ท ำ ที่ มี วิ นั ย สร้างวัฒนธรรมความมีวินัย

การจะสามารถรักษาความดีเยี่ยมของบริษัทไว้ได้ ขึ้นอยู่กับการสามารถสร้างวัฒนธรรมความมีวินัยขึ้นในบริษัทได้หรือไม่ บริษัทจะมีวัฒนธรรมความมีวินัยได้หากพนักงานเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง และกระทำการต่างๆ ด้วยความมีวินัย ซึ่งสอด คล้องกับมิติทั้งสามของการคิดแบบเม่น

ความมีวินัยไม่ได้หมายความถึงการ สร้างกฎระเบียบแบบราชการอย่างที่บริษัททั่วไปโดยเฉพาะบริษัทเกิดใหม่ชอบทำ หลัง จากที่เจริญเติบโตและประสบความสำเร็จแล้ว กล่าวคือ พวกเขามักละทิ้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พลังและวิสัยทัศน์ ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่นำความสำเร็จมาให้ แล้วหันไปสร้างระบบแบบราชการขึ้นมาแทน อันส่งผลทำลายจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ทำให้บริษัทที่น่าตื่นเต้นกลับกลายเป็นบริษัทธรรมดาๆ ที่หาความพิเศษไม่ได้ และความ ด้อยประสิทธิภาพก็เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่นั้นมา

จริงๆ แล้ว บริษัทใดที่เริ่มสร้างกฎระเบียบแบบราชการขึ้นมาแสดงว่า บริษัทนั้นไร้ซึ่งความสามารถและวินัย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทตัดสินใจผิดพลาดในการรับพนักงานตั้งแต่เริ่มแรก บริษัทหลายแห่งสร้างกฎระเบียบแบบราชการขึ้นมาเพียงเพื่อจะกำราบพนักงานที่ด้อยประสิทธิภาพจำนวนน้อยนิดเท่านั้น จนพนักงานที่มีคุณภาพทนไม่ไหวต้องจากไป

แต่ปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ ด้วยการสร้างวัฒนธรรมความมีวินัย
ขั้นตอนการสร้างความมีวินัย

' ความมีวินัยจะเกิดขึ้นได้เมื่อให้อิสระและความรับผิดชอบ ภายในกรอบที่กำหนด บริษัทที่พัฒนาสู่การเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม จะสร้างระบบที่มีกรอบชัดเจนแน่นอน แต่ ให้อิสระและความรับผิดชอบแก่พนักงาน ภายใต้กรอบนั้น บริษัทจะจ้างพนักงานที่มีวินัยสูง ซึ่งไม่จำเป็นต้องควบคุมอย่างเข้มงวด โดยบริษัทจะควบคุมแต่ระบบเท่านั้น แต่ไม่ต้องควบคุมคน นอกจากนี้ บริษัทยังมีวินัยในการคิด ทำให้สามารถเผชิญความจริงที่โหดร้าย และยังสามารถรักษาความเชื่อมั่นว่า บริษัทยังคงก้าวเดินไปบนเส้นทางของการเป็นบริษัท ที่ดีเยี่ยม และสุดท้ายบริษัทมีวินัยในการกระทำ ซึ่งทำให้บริษัทสามารถเดินอยู่บนเส้นทาง บริษัทที่ดีเยี่ยมต่อไปได้

' ความมีวินัยจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีคนที่มีวินัยในตนเองและตั้งใจจริงที่จะทำให้ดีที่สุด พนักงานในบริษัทที่สามารถก้าวขึ้นเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม มักจะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุด พวกเขามีวินัยสูงและยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด น่าเสียดายที่ในขณะที่ใครๆ ก็ต้องการเป็นบริษัทที่ดีที่สุด แต่บริษัทจำนวนมากกลับขาดวินัยในการค้นหาอย่างไม่หลง ตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ตนอาจเป็นได้ดีที่สุด ทั้งยังขาดความตั้งใจจริงที่จะยอมทุ่มเททุกสิ่ง ทุกอย่าง เพื่อทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นความจริง

' อย่าสับสนระหว่างความมีวินัยกับการทำตามคำสั่ง บริษัทมากมายไม่สามารถรักษาความสำเร็จไว้ได้นาน เพราะ มีผู้นำที่คิดว่า การใช้คำสั่งคือการสร้างวินัย ให้บริษัท บริษัทที่พัฒนาตัวเองเป็นบริษัทดีเยี่ยมจะมีผู้นำระดับ 5 ซึ่งสามารถสร้างความมีวินัยขึ้นในบริษัท ด้วยการรับพนักงานที่มีวินัยในตัวเอง ผู้สามารถจะทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทโดยไม่ต้องให้สั่ง

บริษัทที่มีวินัยจะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้แม้เมื่อผู้นำออกไปจากบริษัท แต่บริษัทที่ระเบียบวินัยขึ้นอยู่กับคำสั่งของผู้นำ จะไม่สามารถรักษาความมีวินัยต่อไปได้ เมื่อผู้นำนั้นจากไป

' ยึดมั่นในแนวคิดทั้งสามของการคิดแบบเม่นราวกับเป็นมนต์วิเศษ บริษัทที่ก้าวสู่การเป็นบริษัทดีเยี่ยมจะท่องจนขึ้นใจ ว่า "สิ่งใดก็ตามที่ไปด้วยกันไม่ได้กับแนว คิดแบบเม่นของเรา เราจะไม่ทำ" ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จะไม่เริ่มธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม เพียงเพื่อจะกระจายความเสี่ยง พวกเขาจะไม่ตระหนกตกใจเมื่อสภาพการแข่งขันเปลี่ยนแปลงการกระทำใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความมีวินัยของบริษัท พวกเขาจะไม่ทำการที่พวกเขาสามารถจะพูดคำว่า "ไม่" ในทุกโอกาสที่กล่าวมานี้ ก็ต้องใช้ความมีวินัยอย่างสูงเช่นกัน
เทคโนโลยีคือตัวเร่ง

บริษัทที่ก้าวสู่บริษัทที่ดีเยี่ยมได้ คิดต่างไปจากบริษัททั่วไปในเรื่องเทคโนโลยี พวกเขาไม่ตามแฟชั่นหรือเห่อเทคโนโลยีใหม่ แต่จะเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นคนแรกหลังจากผ่านการคิดพิจารณาเลือกสรรอย่างรอบคอบแล้ว เพราะพวกเขาตระหนักดีว่า เทคโนโลยีเป็นได้อย่างมากแค่ตัวเร่งความเร็ว แต่ไม่ใช่ตัวสร้างการเปลี่ยนแปลง
ค้นหาเทคโนโลยีที่ต้องการ

บริษัทที่สามารถเป็นบริษัทที่ดีเยี่ยม ไม่เคยเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีเลย เหตุผลง่ายๆ ก็คือ คุณไม่อาจจะใช้เทคโนโลยีได้ดีที่สุด จนกว่าคุณจะรู้ว่าเทคโนโลยีใดที่เหมาะสมกับคุณ กล่าวคือ สอดคล้องกับมิติทั้งสามของการคิดแบบเม่น ต่อไปนี้คือตัวอย่างบริษัทที่ดีเยี่ยมในหนังสือเล่มนี้ ที่มีมุมมองเรื่องเทคโนโลยีเช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น

' Circuit City นำเทคโนโลยีการติดตามสต็อกสินค้า ณ จุดขายมาใช้เป็นคนแรก เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับแนวคิดหนึ่งในการคิดอย่างเม่นของบริษัท กล่าวคือ บริษัทต้องการเป็น McDonaldžs ของธุรกิจค้าปลีก ซึ่งสามารถจะบริหารร้านค้าในเครือที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายและห่างไกลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

' Gillette นำเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานสูงแต่ราคาต่ำครั้งละหลายพันล้านชิ้นมาใช้เป็นรายแรก บริษัทรักษาเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นความลับสุดยอด อย่างเดียวกับที่สูตร Coca Cola หวงแหนสูตรน้ำดำของตน

' Philip Morris นำเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อและการผลิต ซึ่งรวมถึงการผลิต ซองบุหรี่ที่มีฝาเปิดแบบ flip top มาใช้เป็นครั้งแรก อันนับเป็นนวัตกรรมการบรรจุหีบห่อ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมบุหรี่ในรอบ 20 ปี บริษัทยังเป็นรายแรกที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิต และลงทุนมหาศาลสร้างศูนย์ผลิต เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง การทดลอง ทดสอบและปรับปรุง เทคนิคการผลิต และการควบคุมคุณภาพใหม่ๆ
อย่าตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่จนเกินเหตุ

ปฏิกิริยาที่บริษัทมีต่อเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นสามารถชี้ให้เห็นว่า บริษัทนั้นมีคุณสมบัติก้าวขึ้นเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมหรือไม่ หรือเป็นได้แค่เพียงบริษัทธรรมดาทั่วไป ผู้นำของบริษัทที่สามารถก้าวไปสู่การเป็นบริษัทดีเยี่ยม จะพิจารณาเทคโนโลยีด้วยความสุขุมรอบคอบและสร้างสรรค์ ซึ่งถูกผลักดันด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนศักยภาพให้กลาย เป็นผลสำเร็จจริง พวกเขาไม่นิยมวิธีกำหนด กลยุทธ์แบบน้ำมาก่อทำนบกั้น แต่พวกเขาจะลงมือทำก็ต่อเมื่อรู้แน่ว่า ต้องการทำอะไร และจะปรับปรุงบริษัทได้อย่างไร

ตรงข้าม ปฏิกิริยาของบริษัททั่วไปจะนั่งไม่ติด ด้วยความกลัวในสิ่งที่พวกเขายังไม่เข้าใจ และกลัวว่าจะถูกบริษัทอื่นแซงหน้าไปด้วยเทคโนโลยีใหม่นั้น จนถูกทอดทิ้ง อยู่ข้างหลัง คงไม่มีตัวอย่างใดที่จะเห็นชัดไปกว่าคราวที่เกิดฟองสบู่เทคโนโลยี ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ในครั้งนั้น บริษัทที่ด้อยประสิทธิภาพเปลี่ยนเทคโนโลยี เป็นว่าเล่น ทำตัวเป็นแต่ผู้ตาม ไม่เคยเป็นผู้นำ ในขณะที่บริษัทที่ยอดเยี่ยมวางเฉย และก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างเงียบๆ และมั่นคง ด้วยความมีวินัยสูง

บริษัทที่ยึดมั่นในหลักการพื้นฐานของตนและรักษาความสมดุลไว้ได้ จะสะสมพลังได้มากพอจนเกิดแรงเหวี่ยงนำไปสู่ความ สำเร็จในที่สุด ในขณะที่บริษัทซึ่งไร้หลักการจะตกต่ำลงหรือไม่ก็ยังคงด้อยประสิทธิภาพเหมือนเดิมต่อไป
ล้อมู่เล่กับวงจรหายนะ

การเปลี่ยนแปลงจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยมมักดูเหมือนเป็นเรื่องมหัศจรรย์ในสายตาของคนนอก แต่สำหรับคนในแล้ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นกระบวนการที่คืบหน้าไปทีละก้าวๆ อย่างเชื่องช้าและกินระยะเวลายาวนาน เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่าง เงียบๆ ที่ไร้ซึ่งงานเปิดตัวหรือคำขวัญเก๋ๆ อย่างที่คนทั่วไปคิด พูดง่ายๆ ก็คือ การเปลี่ยน แปลงจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยมนี้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ละบริษัทเหล่านี้ต่างก็เคยผ่านกระบวนการคิดพิจารณาว่า จะต้องทำสิ่งใดบ้างจึงจะสามารถสร้างผลลัพธ์ อย่างที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต จากนั้นก็เพียงแต่ทำสิ่งเหล่านั้นตามแผนที่ได้วางไว้ทีละขั้นๆ ด้วยความมีมานะ จนในที่สุดก็ถึงเส้นชัยแห่งความสำเร็จ
ปรากฏการณ์ล้อมู่เล่

ความสำเร็จของบริษัทเหล่านี้เปรียบเสมือนการหมุนล้อมู่เล่ (flywheel) ล้อมู่เล่คือล้อหนักสำหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 30 ฟุต หนา 2 ฟุต และหนักถึง 5,000 ปอนด์ เมื่อคุณเริ่มหมุนมันจะเคลื่อนไปช้ามาก แม้ว่าคุณจะพยายามอย่างไม่ลดละ ก็อาจทำให้มันหมุนไปได้เพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะหมุนมันได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะมีแรงเหวี่ยงเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้มันหมุนไปได้ด้วย ตัวเอง และแล้วช่วงเวลาแห่งความสำเร็จก็มาถึง เมื่อน้ำหนักอันมหาศาลของมันเอง ทำให้ มันหมุนไปได้ด้วยตัวเอง อันเนื่องมาจากแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นมากกว่าด้วยแรงของคุณ ด้วย พลังที่เกือบจะไม่มีใครหยุดมันได้

บริษัทที่สามารถก้าวจากบริษัทที่ดีมาสู่บริษัทที่ดีเยี่ยมแต่ละแห่ง ต่างก็เคยผ่านปรากฏการณ์ล้อมู่เล่มาแล้วทั้งนั้น ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกๆ เกือบจะมองไม่เห็นผล แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยความพยายามอย่างมีวินัยและสม่ำเสมอ แต่ละบริษัทก็สามารถสร้างแรงเหวี่ยงมากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนกงล้อ แห่งการเปลี่ยน แปลงหมุนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง จนในที่สุดก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ความพยายามทีละขั้นๆ ได้นำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ แรงเหวี่ยงนั้นยังกลายเป็นพลังที่ทำให้พวกเขาสามารถรักษาความสำเร็จนั้นเอาไว้ได้อย่างยาวนาน อีกด้วย

บริษัทเหล่านี้เข้าใจความจริงง่ายๆ ข้อหนึ่งคือ พลังมหาศาลสามารถเพาะสร้าง ขึ้นได้จากความพยายามปรับปรุงประสิทธิ ภาพและสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง การชี้ให้เห็นความสำเร็จที่จับต้องมองเห็นได้แม้ว่าอาจจะมองไม่ค่อยเห็นชัดนักในช่วงแรกๆ และการแสดงให้เห็นว่าการกระทำ แต่ละขั้นตอนเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดใหญ่ซึ่งในที่สุดสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ ทำให้คนมองเห็นและรู้สึกได้ ถึงการสะสมตัวของแรงเหวี่ยงที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เมื่อนั้นผู้คนก็จะพากันมาเข้าแถวขอมีส่วนร่วมด้วยอย่างกระตือรือร้นเองโดยไม่ต้องชักชวนแต่อย่างใด และนี่เองคือพลังที่แท้จริงของปรากฏการณ์ล้อมู่เล่

เมื่อผู้นำปล่อยให้ล้อแห่งความเปลี่ยนแปลงพูดความจริงด้วยตัวมันเองเช่นนี้แล้ว เขาก็ไม่จำเป็นต้องโฆษณาเป้าหมายของบริษัทให้เหนื่อยแรงแต่อย่างใด เพราะผู้คนสามารถคาดเดาผลสำเร็จที่จะเกิดขึ้นได้จากแรงเหวี่ยงที่พวกเขาได้ประจักษ์ด้วยตาของตนเอง เมื่อคนในองค์กรตัดสินใจเองว่าอยากจะเปลี่ยนศักยภาพให้กลายเป็นผลงานจริง เป้าหมาย ก็ดูจะอยู่แค่เอื้อม เพราะใครๆ ก็ต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เห็นชัยชนะอยู่ข้างหน้าอย่างแน่นอน และสามารถสร้างผลงานที่จับต้องมองเห็นได้ด้วยกันทั้งนั้น
วงจรหายนะ (Doom Loop)

บริษัทธรรมดาทั่วไปเดินไปในแนว ทางที่แตกต่างไปจากนี้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แทนที่จะเริ่มต้นกระบวนการในการคิดพิจารณาว่ามีอะไรที่จำเป็นจะต้องทำ แล้วลงมือทำสิ่งเหล่านั้นอย่างเงียบๆ บริษัทเหล่านี้กลับชอบเปิดโครงการใหม่ๆ อย่างครึกโครม โดยอ้างว่าเพื่อ "สร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน" เพียงเพื่อที่จะเห็นโครงการเหล่านั้นล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าโดยไม่สามารถสร้างผลงานที่ยั่งยืนได้ เปรียบเสมือนพวกเขาผลักล้อมู่เล่ อันแสนหนักไปเพียงนิดหน่อยก็หยุด เปลี่ยนทิศทางใหม่แล้วเริ่มหมุนล้อใหม่อีกครั้งในทิศทางใหม่ แล้วก็หยุดอีกเป็นเช่นนี้เรื่อยไป หลังจากเปลี่ยนทิศทางครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเวลาหลายปี บริษัทเหล่านี้ก็พบว่าไม่สามารถสร้างแรงเหวี่ยงไปสู่ความสำเร็จให้เกิดขึ้นได้ และตกอยู่ในสิ่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นวงจรหายนะ
คุณอยู่บนล้อมู่เล่หรือในวงจรหายนะ

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า บริษัทของคุณอยู่บนล้อแห่งความสำเร็จหรือวงจรหายนะ ลองพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

คุณกำลังอยู่บนล้อมู่เล่ถ้าคุณ

' ทำตามรูปแบบของการก้าวเดินทีละขั้นๆ ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จ

' เผชิญความจริงอันโหดร้ายเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่า จะต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อจะสามารถสร้างแรงเหวี่ยงได้

' ยึดมั่นในมิติทั้งสามของการคิดแบบเม่นซึ่งง่ายและชัดเจน

' ทำตามรูปแบบของการมีพนักงานที่มีวินัย การคิดอย่างมีวินัย และการกระทำอย่างมีวินัย

' ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแนวคิดแบบเม่นของบริษัทคุณ เพื่อเร่งความเร็วของแรงเหวี่ยง

' ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยในการพยายามจูงใจพนักงาน เพราะแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้นจากล้อมู่เล่จะทำหน้าที่นั้นเอง

' รักษาความสม่ำเสมอตลอดเวลาที่ผ่านไป
คุณกำลังอยู่ในวงจรหายนะถ้าคุณ

' ละเว้นไม่ทำกระบวนการก้าวเดินทีละขั้นและกระโจนพรวดไปที่ความสำเร็จเลย

' ชอบทำโครงการใหญ่ๆ ชอบที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ปฏิวัติแบบหวัง

ความมหัศจรรย์ชั่วข้ามคืน และปรับโครงสร้างไม่รู้จบ

' ชอบทำตามแฟชั่นและมัวแต่บริหารอย่างไร้สาระแทนที่จะเผชิญความจริงอันเจ็บปวด

' ไร้ความสม่ำเสมอ ชอบเปลี่ยนไป เปลี่ยนมา และอยู่นอกวงกลมมิติทั้งสาม ของการคิดแบบเม่น

' มักลงมือทำโดยไม่คิดอย่างมีวินัย หรือไม่หาคนที่มีความสามารถก่อน

' ใช้พลังงานอย่างหนักในการพยายามจูงใจพนักงานให้ผูกพันกับวิสัยทัศน์ใหม่ๆ

' ขายความหวังในอนาคตเพราะไม่เคยสามารถสร้างผลงานให้เห็นใน ปัจจุบัน
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 1

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณคุณ chaitorn มากครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3779
ผู้ติดตาม: 75

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คล้ายๆ เอกสารที่จั่วหัวว่า ด่วน
กับเอกสารอีกฉบับ
ที่ใช้คำว่า ด่วนที่สุด หรือเปล่า ? :roll:
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
SourCreamz
Verified User
โพสต์: 113
ผู้ติดตาม: 0

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบพระคุณพี่ Chaitorn อย่างสูงครับ
1329
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณพี่ Chaitorn มากค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul Octopus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 804
ผู้ติดตาม: 2

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

:bow: :bow: :bow: เป็นบทความที่ดี ขอบคุณมาก
imerlot
Verified User
โพสต์: 2697
ผู้ติดตาม: 13

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

:D
ขอดันขึ้นมา..หน่อยครับ
เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน..
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 19

Re: กิจการที่ดี กับ กิจการที่ดีเยี่ยม แตกต่างกันอย่างไร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

:cool: :cool:
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
โพสต์โพสต์