ครบเครื่อง เรื่อง PE

กระทู้การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น วีไอ มีประโยชน์ ความรู้ดีดี เป็นประโยชน์เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แค่ไหนก็ตาม
investment biker
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1284
ผู้ติดตาม: 134

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 31

โพสต์

เพิ่งเห็นครับ กระทู้นี้ดีมากเลย
แล้วหุ้นพวก Cyclical

ช่วงที่ดีกับช่วงที่แย่

PE ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่หละครับบบ
หุ้นพวก Cyclical ดู PE ลำบากครับ ต้องดูรอบครับ ว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง แต่เท่าที่เคยอ่านจาก Peter Lynch เวลาลงทุนหุ้นพวก Cyclical ควรซื้อช่วงที่แย่และขายในช่วงที่ดี หรือซื้อตอนที่ PE สูงและขายที่ PE ต่ำ  :wink:
In search of super stocks
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 32

โพสต์

[quote="investment biker"]เวลาลงทุนหุ้นพวก Cyclical ควรซื้อช่วงที่แย่และขายในช่วงที่ดี หรือซื้อตอนที่ PE สูงและขายที่ PE ต่ำ
peter_pete
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 33

โพสต์

มีคำถามครับ แล้ว P/E ของหุ้นที่เราเห็นกันใน"อันดับอุตสาหกรรม"ใน settrade นี่เขาคำนวณกันอย่างไรครับ อย่างเช่น CPF วันที่ 27 สค 2552 Settrade บอกว่า P/E 7.29 นี่คำนวณจาก P วันที่เท่าไหร่ แล้ว EPS ของปีไหนบ้าง (เห็นว่าจ่ายปันผลสองครั้ง)
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4095
ผู้ติดตาม: 275

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 34

โพสต์

peter_pete เขียน:มีคำถามครับ แล้ว P/E ของหุ้นที่เราเห็นกันใน"อันดับอุตสาหกรรม"ใน settrade นี่เขาคำนวณกันอย่างไรครับ อย่างเช่น CPF วันที่ 27 สค 2552 Settrade บอกว่า P/E 7.29 นี่คำนวณจาก P วันที่เท่าไหร่ แล้ว EPS ของปีไหนบ้าง (เห็นว่าจ่ายปันผลสองครั้ง)
p น่าจะใช้ของวันล่าสุดที่ปิดทำการแล้ว ส่วน eps ก็ใช้ย้อนหลัง 4 ไตรมาสล่าสุดครับ  :lol:
Small Details Make a Big Difference
Boyadvance
Verified User
โพสต์: 495
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 35

โพสต์

โอ้  กำลัง อยากรู้ว่า  ว่าจะสังเกต PE ยังไงพอดีเลย
ขอบคุณ พี่ี peter_pete ที่ขุดมาให้อ่าน
ภาพประจำตัวสมาชิก
vi_tal signs
Verified User
โพสต์: 631
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ขอบคุณมากครับ    :lol:
มันจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
aodetmat
Verified User
โพสต์: 79
ผู้ติดตาม: 1

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 37

โพสต์

ได้ความรู้ขึ้นมากเลยครับ
ช้าๆ แต่ ชัวร์ 不要担心
neo_potato_Th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1588
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 38

โพสต์

practical มากๆครับ :8)
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
OutOfMyMind
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1244
ผู้ติดตาม: 30

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 39

โพสต์

P/E ที่เราเห็น ๆ กันอยู่ส่วนใหญ่จะเป็น Current P/E กล่าวคือ คำนวณจาก ราคาปัจจุบัน หารด้วย EPS สี่ไตรมาส ล่าสุด

แต่การใช้ current P/E อย่างเดียว โดยเลือกซื้อบริษัทที่ P/E ต่ำนั้น ประโยชน์ก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ที่คำนวณจากการกลับหัว E/P ออกมาว่า เช่น P/E 10 เกิดจาก P=20 บาท E=2 ได้ E/P = 10% นั่นคือเราลงทุน หุ้นละ 20 บาท ซึ่งนำไปบริหารกิจการแล้วได้กำไรกลับมาปีละ 10%

แต่หากเราคาดหวังจะได้ capital gain จากราคาหุ้นที่ขึ้นไป เราต้องรู้ว่ามันจะขึ้นได้อย่างไร ซึ่งคงไม่พ้น การเพิ่มขึ้นของ E และการทัศนคติของตลาดที่ยินยอมให้ P ขึ้นตามเพื่อคง P/E ไว้ที่จำนวนเดิม หรือ สุงขึ้น

current P/E ยังมีข้อจำกัดเรื่อง บริษัทที่ดีจริง ๆ P/E กลับสูงจนไม่กล้าเข้า หรือ ธุรกิจที่เป็น cycle P/E อาจต่ำ จนหลอกให้เราเข้าไปติดกับ

หากประยุกต์นำ P/E มาใช้สำหรับการมองด้านการเติบโตละก็...

P/E อีกตัวที่มองไปข้างหน้า เขาเรียกันว่า forward P/E
คือการหารราคาปัจจุบัน ด้วย คาดการณ์ EPS ไปข้างหน้า

หากใช้ forward P/E เราก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับแม้กระทั้ง ธุรกิจที่เป็น cycle แต่สิ่งนี้ต้องการความสามารถในการอ่านตลาด หากเรามองไปข้างหน้าว่า cycle กำลังเป็นขาลง คำนวณ FWD P/E ออกมา ยังไงก็สูงจนรับไม่ได้
ก็จะไม่หลงไปติดกับ current P/E ที่ดูต่ำยั่วน้ำลาย หรือในขณะเดียวกัน current P/E บางบริษัทที่ดูว่าสูง หากลองคำนวน forward P/E แล้ว อาจจะพบว่าตอนนี้ราคามันยังต่ำ น่าเข้าไปสะสมก็เป็นได้
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
neo_potato_Th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1588
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 40

โพสต์

-ปกติการใช้PEเทียบกับ growth นี่เราใช้ forward หรือ currrent PEครับ??
:?:

-เราควรนำ dividend เข้ามาคิดใน forward PE ด้วยมั้ยครับ??

รบกวนถามผู้รู้ครับ :?:
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
Meesuk_D
Verified User
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ขอบคุณมากครับสำหรับกระทู้ ปกติผมซื้อหุ้นจาก PE เป็นตัวกำหนดครับ ได้ความรู้ไปปรับปรุงอีกเยอะเลย
catty
Verified User
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ขอบคุณค่ะสำหรับกระท้ดีๆมีคุณค่าแบบนี้
Let it be, It shall pass..

catty
Guez07
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 419
ผู้ติดตาม: 12

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 43

โพสต์

ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์สำหรับมือใหม่มากครับ :D
verapongzz
Verified User
โพสต์: 124
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 45

โพสต์

อันนี้เป็นการประเมินค่า P/E แบบท่านดร.นิเวศน์ คัดมาให้อ่านครับ

วิเคราะห์หุ้นแบบ VI / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ value investor                    8 มีนาคม 2552





นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่บริหารกองทุนรวมที่ต้องลงทุนซื้อหุ้นจำนวน มากต่างก็อาศัยบทวิเคราะห์หุ้นของ นักวิเคราะห์หุ้นมือ อาชีพ     แต่ผมเองแทบไม่ดูบทวิเคราะห์เหล่านั้นเลย   เหตุผลก็เพราะวิธีการลงทุนของผมนั้น   เป็นการลงทุน  “ซื้อธุรกิจ”  ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว  อย่างน้อยก็  3- 5 ปี  ขึ้นไป   ซึ่งไม่มีบทวิเคราะห์ไหนทำ   บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด  มองไปที่ผลประกอบการอย่างมากก็  1-2  ปีข้างหน้า  ดังนั้น   พวกเขาก็มักจะดูว่าบริษัทจะมีกำไรเท่าไรอิงจากผลประกอบการในปีปัจจุบัน  โดยนำเอาภาวะของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาเป็นตัวประกอบ    ส่วนผมเองนั้น   ผมจะสนใจในด้านของ   “โครงสร้าง”  ซึ่งเป็นเรื่องที่ถาวรกว่าและไม่ค่อยจะขึ้นกับภาวะแวดล้อมที่จะปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ    ซึ่งโดยนัยนี้  ผมจึงไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง   แต่ผมจะสนใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมว่า   ในธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันอย่างไร   สนใจว่าบริษัทมีจุดเด่นหรือจุดอ่อนอย่างไร   ใครคือ  “ผู้ชนะ”  หรือจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน



การวิเคราะห์หุ้นแต่ ละตัวนั้น   แน่นอน  จะต้องดูรายละเอียดของแต่ละบริษัท   อย่างไรก็ตาม   มี  “โครงสร้าง”  และข้อมูลของธุรกิจบางอย่างที่เป็นตัวบอกว่าเรากำลังเจอธุรกิจที่ดีหรือไม่ดีได้    ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถนำมาให้คะแนนเพื่อที่จะสรุปว่าบริษัทที่เราดูอยู่ เป็นอย่างไร  ลองมาดูรายการที่สำคัญ ๆ  



ข้อมูลตัวแรกก็คือ   กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ  roe  นี่คือข้อมูลที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพสูง   บริษัทที่มี  roe  สูงคือบริษัทที่ดี   ยิ่งสูงก็ยิ่งดี   แต่ต้องดูว่าเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นปกติ  ไม่ใช่สูงแค่ปีสองปีหรือในยามที่อุตสาหกรรมกำลังเป็นขาขึ้น   หลักเกณฑ์ง่าย ๆ  ในการให้คะแนนก็คือ   ถ้าบริษัทมี  roe ตั้งแต่  15%  ขึ้นไป   เราก็ให้คะแนน  บวกหนึ่ง   ถ้า  roe  ตั้งแต่  10-15  ให้คะแนนเท่ากับศูนย์    ถ้า  roe  ต่ำกว่า  10%  ลงมาให้คะแนนติดลบหนึ่ง   คะแนนที่ได้นี้จะเก็บไว้รวมกับคะแนนของข้อมูลตัวต่อไปเพื่อหาคะแนนรวมของ บริษัท



ข้อมูลตัวที่สองก็คือ  กระแสเงินสดของกิจการ   ถ้ากิจการขายสินค้าแล้วได้เป็นเงินสดในขณะที่เวลาซื้อสินค้าจ่ายเป็นเงิน เชื่อ   กระแสเงินสดของกิจการก็จะดี   ความจำเป็นต้องระดมเงินมาใช้จากภายนอกเช่นการกู้เงินหรือออกหุ้นก็ จะน้อยและจะเป็นผลดีต่อบริษัท   เกณฑ์แบบง่าย ๆ  ก็คือ   ถ้าบริษัทมีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้การค้ามากเช่นในกรณีของผู้ค้าปลีก หรือบริษัทที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงซึ่งทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดี  ให้คะแนน  บวกหนึ่ง    ถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้พอ ๆ  กันเช่นในกรณีของโรงงานผู้ผลิตจำนวนมาก  แบบนี้ให้คะแนนศูนย์   ในกรณีของบริษัทที่มีลูกหนี้การค้ามากแต่มีเจ้าหนี้การค้าน้อย   นั่นคือคนที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ต้องจ่ายค่าสินค้าหรือวัตถุดิบในการ ผลิตเป็นเงินสด  เช่น  ผู้ค้าส่งที่นำสินค้ามาจากต่างประเทศ  แบบนี้ก็ให้คะแนน   ลบหนึ่ง  



ข้อมูลตัวที่สามซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ   ความสามารถในการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น    ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาได้ค่อนข้างจะเร็วหรือทันที   ความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ไม่มีและจะทำให้สามารถรักษา ระดับของกำไรได้ค่อนข้างแน่นอน   บริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจแบบนี้มักจะมีอำนาจทางการตลาดสูง   เราให้คะแนน   บวกหนึ่ง    บริษัทที่สามารถปรับราคาได้แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรเช่นภายใน  3  เดือน  แบบนี้ให้คะแนนศูนย์  นี่คือบริษัททั่ว ๆ  ไปที่มักไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ซื้อได้ทันทีเพราะมี การแข่งขันทางธุรกิจสูง   บริษัทที่ไม่มีอำนาจทางการตลาดเลยและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่บริษัทไม่สามารถ กำหนดราคาได้เลย  เช่น  ราคาน้ำมัน  ถ่านหิน  เหล็ก  และผลิตผลทางการเกษตรต่าง  ๆ   แบบนี้เราให้คะแนน   ติดลบหนึ่ง



บริษัทที่เป็น  dominant firm  คือมีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมาก  มักจะมีความได้เปรียบในหลาย  ๆ  ด้าน  เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของต้นทุน   ดังนั้น   เราให้คะแนน  บวกหนึ่ง   บริษัทตั้งแต่อันดับหนึ่งแต่ไม่ใช่  dominant firm จนถึงอันดับประมาณ   3   ของอุตสาหกรรม ให้คะแนนศูนย์   บริษัทที่มีอันดับหลังจากนั้นให้คะแนน  ติดลบหนึ่ง   อย่างไรก็ตาม   ถ้าเราพิสูจน์หรือเชื่อได้ว่าขนาดของกิจการไม่ได้มีผลต่อต้นทุนหรือความได้ เปรียบอย่างอื่นในการแข่งขัน    เราก็ให้คะแนนศูนย์กับทุกบริษัท



ข้อมูลตัวที่ห้า  คือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท    กิจการบางแห่งเป็นกิจการที่ขยายงานได้โดย   “ไม่ต้องลงทุน”   นี่คือกิจการที่ใช้หรือต้องลงทุนใน  อาคาร  อุปกรณ์   เครื่องจักร  และเงินทุนหมุนเวียนของตนเองน้อย   และภายในเวลาเพียง  2-3  ปี  ก็ได้เงินคืนมาหมด  เช่น  กิจการค้าปลีกที่อาศัยการเช่าสถานที่เปิดร้านค้าเป็นหลัก   กิจการแบบนี้เป็นกิจการที่ดีเพราะจะสามารถขยายงานไปได้เรื่อย ๆ  โดยไม่ต้องกู้หรือเพิ่มทุน  ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้สูง   แบบนี้ให้คะแนน   บวกหนึ่ง   กิจการที่เวลาขยายงานต้องลงทุนสูงพอสมควรอย่างเช่นโรงงานที่ผลิตสินค้า ธรรมดา ๆ  ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากนักเช่นผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม  หรือผลิตไฟฟ้าหรือน้ำประปา   แบบนี้ให้คะแนน  ศูนย์    กิจการที่เป็นโรงงานที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วทำ ให้ต้องอัพเกรดโดยการลงทุนอุปกรณ์ใหม่ ๆ  อยู่เรื่อย ๆ   แบบนี้ให้คะแนน  ลบหนึ่ง



ข้อมูลตัวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงที่เป็นข้อมูลสำคัญก็คือ   การเจริญเติบโต   กิจการที่โตเร็ว   นั่นคือ   ในระยะยาวโตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหรือ  gdp ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป   นั่นคือยอดขายโตประมาณปีละ  15%  ให้คะแนน   บวกหนึ่ง   ยอดขายโตตั้งแต่  5-15%  ต่อปีโดยเฉลี่ยให้คะแนน   ศูนย์   ยอดขายโตต่ำกว่า  5%   ต่อปีในระยะยาวให้คะแนน  ลบหนึ่ง   การเติบโตของยอดขายที่ว่านี้ต้องเป็นการเติบโตแบบทบต้นและระยะยาวตั้งแต่  5  ปีขึ้นไป  ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก



รวมคะแนนทั้งหมดของบริษัทที่เราวิเคราะห์ก็จะได้คะแนนที่อาจจะเป็นบวก  ลบ   หรือเป็น  ศูนย์   บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้  บวก  6  คะแนน  ต่ำสุดก็จะได้  ลบ  6  คะแนน  ซึ่งคงหาได้ยากพอควร    เอาตัวเลขที่ได้บวกด้วย  10   ก็จะได้ค่า   pe  สูงสุดที่เราจะซื้อหุ้นตัว นั้น   นั่นแปลว่า   บริษัทที่ดีที่สุดได้คะแนนสูงสุดเราจะซื้อต่อเมื่อ  pe  ไม่เกิน  16  เท่า  บริษัทธรรมดา ๆ   ที่คะแนนไม่บวกหรือลบเราก็จะซื้อต่อเมื่อ  pe  ไม่เกิน  10  เท่า   และบริษัทที่แย่มากที่สุดนั้น   เราไม่ควรซื้อที่  pe  เกิน  4  เท่า   และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีวิเคราะห์และซื้อหุ้นแบบ  vi  เวอร์ชั่นหนึ่ง  ที่หยาบ ๆ  และคิดในใจได้
_________________
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 46

โพสต์

สังเกตุไหมครับว่าแต่ละปัจจัยที่ท่านพูด มันจะสะท้อนออกมาที่ Free cash flow ของบริษัท มันก็คือการประเมินมูลค่าแบบ DCF โดยอ้อม ๆผ่านการตกผลึกความคิดเรื่อง P/E  สุดยอดครับ ...  :D
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
นพพร
Verified User
โพสต์: 1039
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ขอบคุณ คนที่ขุดขึ้นมาให้อ่านนะครับ กำลังหาเลย
pitiecon
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 48

โพสต์

อ่านทั้งกระทู้แล้วได้ความรู้เต็มแน่นเลย
ความรู้คือสิ่งที่ควรแบ่งปัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
gkenginvest.blogspot.com
gkengbusinessadministration.blogspot.com
moonorway
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 648
ผู้ติดตาม: 1

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ขอบคุณความรู้ดีๆที่เอามา share กันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
CHOOKY
Verified User
โพสต์: 540
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 50

โพสต์

:bow:  ขอบคุณมากครับ  ที่กรุณา ขุดขึ้นมาให้อ่าน
"ค้นหาคุณค่าให้พบ แล้วซื้อหุ้นกิจการที่ดีนั้น ซึ่งมีกำไรต่อเนื่อง ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ ในเวลาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ และถือมันไว้ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดี และยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
oojackoo
Verified User
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ขอบคุณครับ ความรู้ทั้งนั้นเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
nACrophiles_117
Verified User
โพสต์: 1362
ผู้ติดตาม: 0

ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 52

โพสต์

กระทู้ดีมากเลย ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
JUMP
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 188
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 53

โพสต์

โชคดีจังที่เจอกระทู้นี้ ขอบคุณพี่ๆมากๆครับผม
GymOnyx
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ขอบคุณครับ แต่ดูเหมือนตอนนี้ที่ Thai Vi ห้ามพูดเรื่อง PE แล้วนะ
cway
Verified User
โพสต์: 29
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 55

โพสต์

ขอบคุณครับ
itnas
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 232
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 56

โพสต์

เข้ามาเก็บความรู้ ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับ
KimVi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 991
ผู้ติดตาม: 3

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ขอบคุณครับ....ได้เก็บไปเป็นความรู้มากมาย
monsoon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 595
ผู้ติดตาม: 36

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ขอ save เก็บไว้ก่อนนะครับ
untrataro25
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1050
ผู้ติดตาม: 36

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 59

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ขอบคุณครับ