แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีครับ เนื่องด้วยผมนั้นไม่เก่งในเรื่อง DCFเลยครับ อ่านแล้วยังไม่เข้าใจหัวใจของมันเท่าไหร่ ดังนั้นจึงอยากรบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ แชร์ความเข้าใจตรงนี้หน่อยครับ

ขอเริ่มจากในความเข้าใจ(แบบมดๆ) ของผมก่อนนะครับแล้วค่อยให้พี่ๆคอมเม้น   ผมเข้าใจว่าDCFเป็นการตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า หุ้นแต่ละตัวควรจะกำไรใกล้เคียงกัน ซื้อแล้วมีผลตอบแทนพอๆกัน ควรจะเป็นแบบนั้น
แต่!!!เนื่องจากหุ้นเติบโตไม่เท่ากันดังนั้น เราจึงมองว่าหุ้นที่โตเยอะกว่าควรจะมีราคาที่สูงกว่าเพื่อจะชดเชยการเติบโตของมัน

ดังนั้นการให้ส่วนลดที่10%ใน10ปีน่าจะหมายความว่า
หุ้นAโตปีละประมาณ10% ดังนั้นส่วนลดก็เท่ากับการการเติบโตพอดี  ดังนั้นถ้าคิดราคาหุ้นAที่ปีที่10แล้วรีเวิสกลับมาปีที่0ก็น่าจะได้เห็นหุ้นโตปีละ10%
หุ้นBโตปีละประมาณ20% ดังนั้นราคาควรจะสูงขึ้นเพื่อให้ราคาปัจจุบันเทียบกับราคาที่ปีที่10แล้วมีการเติบโตที่10เหมือนกับหุ้นA
ซึ่งอัตราส่วนลด10%นี้แล้วจริงๆน่าจะหมายถืงPE10ด้วย

แต่DCFจะไม่มองที่กำไรของหุ้นแต่จะมองที่เงินสดมากกว่า

ปล.ช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 2

โพสต์

และมีคำถาม2ข้อที่ผมสงสัยจะถามพี่ๆที่เก่งเรื่องDCFครับว่า

1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?
2.ถ้าเราคิดกรอบเวลาที่ 5ปี 10ปี 15ปี  ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?

:Bow: รบกวนขอความรู้ด้วยครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 3

โพสต์

งั้นถ้าเราใช้แนวคิดเดียวกับDCFแต่ใช้ ROE Div PBV แทนการใช้กระแสเงินสด
มาAnalysisสูตรขึ้นมาใหม่ก็ได้เหมือนกันปะครับ? พี่ๆมองยังไงครับ?
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
crt2000th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 279
ผู้ติดตาม: 5

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอเเชร์ในเรื่องของ DCF(discount cash flow)

มันคือการเปลี่ยนเเปลงกระเเสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต กลับมาเป็นค่าปัจจุบันครับ เนื่องจากว่า เงินในอนาคต ด้วยจำนวนที่เท่ากัน เงินในอนาคตจะมีค่าน้อยกว่าปัจจุบันครับ เช่น 1000 บาท ณ วันนี้ จะมีค่ามากกว่า 1000 บาท ณ วันพรุ่งนี้ ส่วนจะมากกว่ากี่บาทนั้น ขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนลดครับ ถ้าอัตราส่วนลด มาก เงินในอนาคต เวลาเปลี่ยนมาเป็นเงินปัจจุบัน ก็จะมีจำนวนน้อยลงมากเช่นกัน

1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?
2.ถ้าเราคิดกรอบเวลาที่ 5ปี 10ปี 15ปี  ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?

ข้อ 1 การกำหนดอัตราส่วนลดนั้น ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของเเต่ละธุรกิจ ถ้าเสี่ยงมาก ก็กำหนด อัตราส่วนลดสูง เเต่ที่ผมอ่านมา ส่วนใหญ่กำหนด 10%

ข้อ 2 เรื่องระยะเวลา เวลาเราซื้อธุรกิจ เราต้องการผลตอบเเทนของธุรกิจตลอดอายุของธุรกิจ ซึ่งอาจจะนานมาก เป็น20-30 ปี เราก็ต้องเอากรอบตรงนี้มาทำการคำนวณ เเต่ว่า กระเเสเงินสด ในปีท้ายๆ เช่นปีที่ 10 กว่า จะส่งผลกับมูลค่าที่เเท้จริง ณ ปัจจุบัน น้อยมาก ดังนั้นส่วนใหญ่ผมจะเห็นการคำนวณที่ 10ปี  

อันนี้ตามที่ผมเข้าใจนะครับ อาจมีผิดบ้างถูกบ้าง ต้องศึกษาเพิ่มเติมครับ
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 5

โพสต์

1. dcf ไม่ได้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่คุณ picklife ว่าครับ

2. discount rate ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและต้นทุนทางการเงินของบริษัทครับ เช่น บริษัทที่มีหนี้มากมีแนวโน้มที่จะมีส่วนลดน้อยกว่าบริษัทที่มีหนี้น้อย เนื่องจากโดยปกติ cost of debt จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า cost of equity

บริษัทที่มีความคาดหวังที่จะเติบโตสูงจะมี cost of equity มากครับเนื่องจากนักลงทุนคาดหวังกำไรที่เติบโตในปีถัดไปสูง

ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้ว cost of debt < cost of equity แต่ในช่วงนี้เราจะสามารถพบได้ว่ามีหลายบริษัทขาย treasury stock ของตัวเองเอามาเพื่อ fund growth ไม่ว่าจะเป็น dsgt หรือ ptl ที่ว่า hotๆ

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารคิดว่า cost of equity < cost of debt ดังนั้นผู้บริหารจึงเลือกที่จะขายหุ้นออกไปเพื่อขยายกิจการแทนที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน อีกความหมายนึงก็คือผู้บริหารคิดว่า ราคาหุ้นในอนาคตจะเติบโตน้อยกว่าอัตราเงินกู้ของบริษัทนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ของผู้บริหารอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไปเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ไม่สามารถจะพยากรณ์ได้ แต่ว่าผู้บริหารก็มีความรู้เรื่องอุตสาหกรรม และแนวโน้มของบริษัทมากกว่านักลงทุนรายย่อยอยู่ดี
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 6

โพสต์

[quote="crt2000th"]ขอเเชร์ในเรื่องของ DCF(discount cash flow)

มันคือการเปลี่ยนเเปลงกระเเสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต กลับมาเป็นค่าปัจจุบันครับ เนื่องจากว่า เงินในอนาคต ด้วยจำนวนที่เท่ากัน เงินในอนาคตจะมีค่าน้อยกว่าปัจจุบันครับ เช่น 1000 บาท ณ วันนี้ จะมีค่ามากกว่า 1000 บาท ณ วันพรุ่งนี้ ส่วนจะมากกว่ากี่บาทนั้น ขึ้นอยู่กับ อัตราส่วนลดครับ ถ้าอัตราส่วนลด มาก เงินในอนาคต เวลาเปลี่ยนมาเป็นเงินปัจจุบัน ก็จะมีจำนวนน้อยลงมากเช่นกัน
-ผมว่าเรื่องเงินในปัจจุบันกับเงินในอนาคตมันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องรู้อยู๋แล้วปะครับ ผมมองว่ามันเป็นแค่วิธีคิดแต่ยังไม่น่าใช่Conceptหลักของแนวคิดปะครับ ผมเดาว่าConceptหลักน่าจะเป็นการมองว่าหุ้นโตมากราคาควรสูง หุ้นโตน้อยราคาควรต่ำ แล้วเราก็ตั้งFixราคาไว้ที่จะได้ผลตอบเทน10%เรื่อยๆปะครับ ผมเองก็ยังไม่เข้าใจครับT^T1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?
2.ถ้าเราคิดกรอบเวลาที่ 5ปี 10ปี 15ปี
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 7

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 7

โพสต์

1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?

เงิน 100 บาทในวันนี้ กับเงิน 100 บาทที่จะได้อีก 1 ปีข้างหน้ามีค่าไม่เท่ากัน เงิน 100 ที่จะได้วันนี้ เอาไปฝากแบงค์ ( ซึ่งเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงเลย ) ก็กลายเป็น 101.5 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าแล้ว

ทีนี้ถามว่าแล้วเงิน 100 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าควรจะมีค่าเท่าไร? คำตอบคือเราก็ต้องเอามาคิดลด ถ้าเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง เราก็คิดลดที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงก็ต้องคิดลดให้มากกว่าเดิม ( ถ้าคิดลดเท่ากัน เราจะไปลงทุนธุรกิจให้เสี่ยงทำไม )

ที่นี้จะคิดลดเท่าไรก็ต้องคำนวณโดยละเอียด โดยใช้ WACC

ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ผมมักจะเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ ถ้าบ.ไหนเสี่ยงมาก ก็ต้องให้ดอกหุ้นกู้มาก และต้องคิดลด  ( WACC ) มากตาม

เช่น TRUE เสี่ยงกว่า CPALL ดังนั้นเวลาออกหุ้นกู้ ต้องให้ดอกมากกว่า และทำนองเดียวกัน เวลาคิด DCF ก็ต้องคิดลดมากกว่า
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 8

โพสต์

[quote="reiter"]1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?

เงิน 100 บาทในวันนี้ กับเงิน 100 บาทที่จะได้อีก 1 ปีข้างหน้ามีค่าไม่เท่ากัน เงิน 100 ที่จะได้วันนี้ เอาไปฝากแบงค์ ( ซึ่งเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงเลย ) ก็กลายเป็น 101.5 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าแล้ว

ทีนี้ถามว่าแล้วเงิน 100 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าควรจะมีค่าเท่าไร? คำตอบคือเราก็ต้องเอามาคิดลด ถ้าเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง เราก็คิดลดที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงก็ต้องคิดลดให้มากกว่าเดิม ( ถ้าคิดลดเท่ากัน เราจะไปลงทุนธุรกิจให้เสี่ยงทำไม )

ที่นี้จะคิดลดเท่าไรก็ต้องคำนวณโดยละเอียด โดยใช้ WACC

ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ผมมักจะเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ ถ้าบ.ไหนเสี่ยงมาก ก็ต้องให้ดอกหุ้นกู้มาก และต้องคิดลด
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 7

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 9

โพสต์

2.ถ้าเราคิดกรอบเวลาที่ 5ปี 10ปี 15ปี  ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?


ขึ้นอยู่กับว่าเราคาดการณ์ว่าบริษัทจะเข้าสู่ mature phase เมื่อไร

เพราะเมื่อบริษัทเข้าสู่ mature phase แล้วจะโตได้พอๆกับจีดีพีของประเทศ หรือพอๆกับเงินเฟ้อเท่านั้น ( บริษัทไม่สามารถเติบโตไปมากกว่าจีดีพีไปเรื่อยๆได้ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น วันนึงบริษัทจะใหญ่กว่าโลก )

เมื่อใดก็ตามที่บริษัทเข้าสู่ mature phase แล้ว cash flow หลังจากนี้ เมื่อคิดลดแล้วจะมีค่าน้อยมาก แทบมีน้อยผลต่อการประเมินมูลค่าของบริษัท
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 7

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 10

โพสต์

[quote="picklife"][quote="reiter"]1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?

เงิน 100 บาทในวันนี้ กับเงิน 100 บาทที่จะได้อีก 1 ปีข้างหน้ามีค่าไม่เท่ากัน เงิน 100 ที่จะได้วันนี้ เอาไปฝากแบงค์ ( ซึ่งเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยงเลย ) ก็กลายเป็น 101.5 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าแล้ว

ทีนี้ถามว่าแล้วเงิน 100 บาทในหนึ่งปีข้างหน้าควรจะมีค่าเท่าไร? คำตอบคือเราก็ต้องเอามาคิดลด ถ้าเป็นการลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง เราก็คิดลดที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงก็ต้องคิดลดให้มากกว่าเดิม ( ถ้าคิดลดเท่ากัน เราจะไปลงทุนธุรกิจให้เสี่ยงทำไม )

ที่นี้จะคิดลดเท่าไรก็ต้องคำนวณโดยละเอียด โดยใช้ WACC

ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ผมมักจะเปรียบเทียบกับหุ้นกู้ ถ้าบ.ไหนเสี่ยงมาก ก็ต้องให้ดอกหุ้นกู้มาก และต้องคิดลด
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
Stockarticle
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอเพิ่มเติมจากที่คุณ crt2000th อธิบายเรื่องหลักการ DCF ค่ะ

กาิรคิดอัตราส่วนลดนั้น นอกเหนือจากคิดตามความเสี่ยงแล้ว ถ้าจะเอาตามทฤษฎี ก็ให้คิด ถ่วงน้ำหนักระหว่าง cost of debt and cost of equity เช่น
บริษัทมีหนี้ 1000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,000 ล้านบาท
Cost of Debt หรือ ต้นทุนการกู้ยืม อาจจะสมมติจาก MLR เช่น 6%
Cost of Equity หรือ ต้นทุนจากการระดมเงินจากผู้ถือหุ้น อันนี้ค่อนข้านยุ่งยาก ส่วนใหญ่ ใช้ที่ 8-10%
เพราะฉะนั้น ถ้านำมาถ่วงน้ำหนัก ก้จะได้อัตราส่วนลดที่
(1,000/3,000)x6% + (2,000/3,000)x10% = 9%

แต่จริงๆแล้ว ถ้าจะให้ง่ายๆ ก็เอา Opportunity cost หรือ ค่าเสียโอกาสของคุณ หมายถึงว่า ถ้าคุณไม่ลงทุนในหุ้นตัวนี้ คุณจะนำเงินก้อนนั้นไปทำอะไร ได้ผลตอบแทนเท่าไร เอามาคิดป็นอัตราส่วนลดแทนก็ได้

ส่วนเรื่องระยะเวลาการคำนวณ ก็ตามทีุ่คุณ  crt2000th บอกไว้ แต่ส่วนตัว มองว่า การคำนวณในระยะไกลนั้นทำได้ยาก ไม่มีใครรู้อนาคตที่แน่นอน 5 ปีก็น่าจะมากพอสำหรับการประมานการแล้ว

ไม่รู้ว่าเคลียร์มั้ยอ่ะค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมลองใช้หลักการDCFมาคิดแบบPEนะครับ

Aโต10% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.05^10=1.63
คิดลด10%
2.59/(1.1^10)=0.63
ดังนั้นPEเหมาะสมเป็น6

Bโต10% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.1^10=2.59
คิดลด10%
2.59/(1.1^10)=1
ดังนั้นPEเหมาะสมเป็น10

Cโต20% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.2^10=6.19
6.19/(1.1^10)=2.38
ดังนั้นPEเหมาะสมกลายเป็น23

ดังนั้นถ้าผมมองแบบนี้ ก็จะใกล้เคียงกับที่ปีเตอร์ลิ้นบอกว่า PEควรจะพอๆกับการเติบโต ปะครับ?

ปล.รยกวนพี่ๆช่วยวิจารณ์ด้วยครับ เพราะผมก็ความรู้น้อย แต่ชอบคิดเอาโน่นเชื่อมโยงนี่ตลอด รบกวนชี้แนะด้วยครับ :bow:
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote="Stockarticle"]ขอเพิ่มเติมจากที่คุณ crt2000th อธิบายเรื่องหลักการ DCF ค่ะ

กาิรคิดอัตราส่วนลดนั้น นอกเหนือจากคิดตามความเสี่ยงแล้ว ถ้าจะเอาตามทฤษฎี ก็ให้คิด ถ่วงน้ำหนักระหว่าง cost of debt and cost of equity เช่น
บริษัทมีหนี้ 1000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,000 ล้านบาท
Cost of Debt หรือ ต้นทุนการกู้ยืม อาจจะสมมติจาก MLR เช่น 6%
Cost of Equity หรือ ต้นทุนจากการระดมเงินจากผู้ถือหุ้น อันนี้ค่อนข้านยุ่งยาก ส่วนใหญ่ ใช้ที่ 8-10%
เพราะฉะนั้น ถ้านำมาถ่วงน้ำหนัก ก้จะได้อัตราส่วนลดที่
(1,000/3,000)x6% + (2,000/3,000)x10% = 9%

แต่จริงๆแล้ว ถ้าจะให้ง่ายๆ ก็เอา Opportunity cost หรือ ค่าเสียโอกาสของคุณ หมายถึงว่า ถ้าคุณไม่ลงทุนในหุ้นตัวนี้ คุณจะนำเงินก้อนนั้นไปทำอะไร ได้ผลตอบแทนเท่าไร เอามาคิดป็นอัตราส่วนลดแทนก็ได้

ส่วนเรื่องระยะเวลาการคำนวณ ก็ตามทีุ่คุณ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
Stockarticle
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 14

โพสต์

picklife เขียน:ผมลองใช้หลักการDCFมาคิดแบบPEนะครับ

Aโต10% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.05^10=1.63
คิดลด10%
2.59/(1.1^10)=0.63
ดังนั้นPEเหมาะสมเป็น6

Bโต10% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.1^10=2.59
คิดลด10%
2.59/(1.1^10)=1
ดังนั้นPEเหมาะสมเป็น10

Cโต20% ราคา=มูลค่า=PE10
1*1.2^10=6.19
6.19/(1.1^10)=2.38
ดังนั้นPEเหมาะสมกลายเป็น23

ดังนั้นถ้าผมมองแบบนี้ ก็จะใกล้เคียงกับที่ปีเตอร์ลิ้นบอกว่า PEควรจะพอๆกับการเติบโต ปะครับ?

ปล.รยกวนพี่ๆช่วยวิจารณ์ด้วยครับ เพราะผมก็ความรู้น้อย แต่ชอบคิดเอาโน่นเชื่อมโยงนี่ตลอด รบกวนชี้แนะด้วยครับ :bow:
ไม่ค่อยเข้าใจวิธีคิดเท่าไร
แต่เท่าที่เคยทำมา จะเอา P/E ของ Industry นั้นๆ แล้วมาปรับด้วย discount หรือ premium เพื่อให้เหมาะสมกับ P/E ของบริษัท แล้วก็เอาไปคูณกับ earnings ที่คาดว่าจะได้ในปีหน้าอ่ะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอเริ่มตั้งแต่ต้นเลยนะครับ เอากันแบบให้รู้ที่ไปที่มากันเลยว่าทำไม จะได้เข้าใจหลักการทั้งหมด อาจจะยาวหน่อยนะครับแต่ผมมั่นใจว่าพี่ picklife เข้าใจทะลุแน่นอน

พี่หมอ reiter เริ่มต้นมาให้ตรงจุดแล้วครับในเรื่องของ time value of money ซึ่งพี่ picklife เองก็บอกว่าเข้าใจดีอยู่แล้ว... งั้นดีเลยครับ

หลักการ Discoutned Cash Flow ตั้งอยู่บนหลักการของ TVM นี่แหละครับ โดยตัวแปรของมันมี 2 ส่วนหลักๆคือ (1) CashFlow ในแต่ละปี (2) Discountred Rate

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพนะครับ สมมุติว่าบริษัท A จะจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 1000 บาท ในปี 5 ปีข้างหน้า แล้วจะปิดบริษัทไปเลย ถ้าเราจะซื้อบริษัทนี้ ณ วันนี้เราควรจ่ายเท่าไหร่???

จากโจทย์ข้างบนเรามีข้อมูลของ Cashflow แล้วแต่ว่าคือ 1,000 ในปีที่ 5 แต่ที่โจทย์ไม่ได้บอกคือ discounted rate...

จำไว้ครับว่า Discounted rate = Required rate of return ของนักลงทุน

ถ้าผมติ๊งต่างว่า 1,000 ที่ A จะจ่ายให้เป็น"สัญญา" ที่บริษัทจะเซ้นให้กับผถห.ว่าจะจ่ายๆแน่ๆ 1,000 ไม่ว่าจะอย่างไร แบบนี้ผมถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงถูกป่ะครับ (risk-free) ดังนั้นการลงทุนกับบริษัท A นี้ผมถือว่าก็เป็นเหมือนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเลยใช่ป่ะครับ ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าอยากรู้ว่าในเงิน 1,000 ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นกี่บาทในวันนี้ เราก็ควรใช้ discounted rate ในอัตราของดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งสมมุติว่า 3% ... นี่แหละครับ required rate of return ของการลงทุนใน A ซึ่งต้องเท่ากับ 3%... ถ้าน้อยกว่า 3% เราลงทุนใน Gov bond ดีกว่า และถ้ามากกว่า 3% นลท.คนอื่นๆก็จะต้องมาแย่งซื้อหุ้น A กันจนราคามันขึ้นทำให้ผลตอบแทนมาเป็น 3% อยู่ดี ดังนั้น 3% นี่แหละครับคือ Required rate of return ซึ่งเราจะมาใช้เป็น discounted rate

1000 / (1.03)^5 = 862.6 บาท

ดังนั้นถ้านลท.ควรซื้อหุ้น A ได้ที่ราคา 862.6 บาท

ทีนี้ผมเปลี่ยนใหม่... บริษัท A ไม่ได้สัญญาจะจ่าย 1,000 ให้กับนลท.ในปีที่ 5 ละ แต่เปลี่ยนเป็นว่านลท.คาดว่า บริษัท A น่าจะจ่าย 1,000 ให้กับนลท.ในปีที่ 5 ถ้ากำไรของบริษัททำได้ตามเป้า.....

ถามครับ ถ้าเป็นแบบนี้ราคาหุ้นที่ 862.6 บาท ซึ่งจะได้ผลตอบแทนที่ 3%... เป็นพี่จะซื้อมั้ยล่ะครับ... เป็นผมไม่นะ... เป็นผมสู้ไปซื้อ Gov bond ดีกว่าป่ะได้ผลตอบแทน 3% ชัวๆ ไม่ต้องมาเสี่ยง...

ดังนั้นในกรณีนี้ Required rate of return (อย่าลืมนะครับ discounted rate = requried rate of return) ของการลงทุนที่มีความเสี่ยง (risky asset) มันต้องมากกว่า 3% ครับ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่ถึงเหมาะสม จะ 8, 10, 12 แบบที่พี่ picklife สงสัย เดี๋ยวมาต่อครับ...
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 16

โพสต์

การคิดอัตราส่วนลดนั้น นอกเหนือจากคิดตามความเสี่ยงแล้ว ถ้าจะเอาตามทฤษฎี ก็ให้คิด ถ่วงน้ำหนักระหว่าง cost of debt and cost of equity เช่น
บริษัทมีหนี้ 1000 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,000 ล้านบาท
Cost of Debt หรือ ต้นทุนการกู้ยืม อาจจะสมมติจาก MLR เช่น 6%
Cost of Equity หรือ ต้นทุนจากการระดมเงินจากผู้ถือหุ้น อันนี้ค่อนข้านยุ่งยาก ส่วนใหญ่ ใช้ที่ 8-10%
หลักการของพี่ Stockarticle นี่แหละครับที่ผมจะอธิบายต่อ แต่จะขอเสริมและadapt ซักเล็กน้อยเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

หลักการของพี่ Stockarticle ก็คือสิ่งที่เรียกว่า Weighted Average Cost of Capital หรือ WACC ครับ ซึ่งมันก็คือ Required Rate of Return ของบริษัท ที่เราจะนำไปใช้เป็น discounted นั่นแหละครับ (อีกรอบครับ discount rate = required rate of return)

ส่วนมากหลักการของการหา Required Rate of return ด้วย WACC จะใช้ใน corporate finance ครับ เพื่อคำนวนหาจุดคุ้มทุนของ project และสามารถนำมา adapt เข้ากับการหามูลค่าหุ้นด้วย แต่มันจะซับซ้อนครับเพราะ WACC คิดต้นทุนทางการเงินในส่วนของเจ้าหนี้ (debt) ด้วย แต่ในกรณีการหามูลค่าของหุ้นนั้นเราจะไม่จำเป็นต้องนำต้นทุนทางการเงินในส่วนของเจ้าหนี้มาคิด (ดังนั้นเวลาหา FCF to Equity จะหาจาก FCF to firm - MV of Debt) ซึ่ง... พี่ picklife ไม่ต้องสนใจตรงนี้ก็ได้ครับ เอาเป็นว่า จากตัวอย่างข้างบน ผมขอ focus ไปที่ cost of equity เพียงอย่างเดียว...

หลักการเดิมครับ  Discounted rate = Required rate of return (ซึ่งก็ = cost of equity นั่นแหละ)

สมมุติพี่ pick บอกว่า โดย"ส่วนตัว" ถ้าลงทุนกับบ.เล็กๆงี้ ถ้าจะให้คุ้มความเสี่ยงผลตอบแทนต้อง 8% อ่ะ (ไม่งั้นสู้ไปซื้อ Gov Bond ดีกว่า) แต่ถ้าเป็นผมอาจจะบอกว่า เฮ้ย...ถ้าแบบนี้ 6% ก็เอาละอ่ะ.... ซึ่งนี่ก็คือ required rate of return ถูกป่ะครับ ซึ่งถ้าเป็นพี่ pick บอกว่าต้องการผลตอบแทนที่ 8% ดังนั้นราคาหุ้น A ของพี่ pick จะเป็น

1000/(1.08)^5 = 680.58 << อีกครั้งครับ required rate of return = discounted rate

ทีนี้....เอ แล้วไอ้ 8% นี่ดูเหมือน"หลักลอย"ป่ะครับ ทึกทักกันเอาเองนี่หว่า วันนี้อารมณ์ดีอาจจะ 5% ถ้าวันไหนเครียดๆอาจจะ require 10% เลยก็ได้... แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงต้องใช้ 8-10% หว่า :?

หลักการคำนวน required rate of returnของผถห. ตามหลักการทฤษฏีการเงิน เป็นอย่างไรมีที่มายังไง เดี๋ยวมาต่อครับ ขอไปทานข้าวก่อน (อันนี้อธิบายยากครับ ต้องการพลัง) :D

ปล. ที่ร่ายยาวมาไม่แน่ใจเข้าจุดสงสัยของพี่ picklife มั้ยนะครับ ยังไงระหว่างผมไปทานข้าวถ้าพี่ picklife เข้ามาช่วย comment ให้ด้วยครับ เดี๋ยวมาต่อกับ CAPM ครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 17

โพสต์

GeneraX เขียน:ขอเริ่มตั้งแต่ต้นเลยนะครับ เอากันแบบให้รู้ที่ไปที่มากันเลยว่าทำไม จะได้เข้าใจหลักการทั้งหมด อาจจะยาวหน่อยนะครับแต่ผมมั่นใจว่าพี่ picklife เข้าใจทะลุแน่นอน

พี่หมอ reiter เริ่มต้นมาให้ตรงจุดแล้วครับในเรื่องของ time value of money ซึ่งพี่ picklife เองก็บอกว่าเข้าใจดีอยู่แล้ว... งั้นดีเลยครับ

หลักการ Discoutned Cash Flow ตั้งอยู่บนหลักการของ TVM นี่แหละครับ โดยตัวแปรของมันมี 2 ส่วนหลักๆคือ (1) CashFlow ในแต่ละปี (2) Discountred Rate

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพนะครับ สมมุติว่าบริษัท A จะจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น 1000 บาท ในปี 5 ปีข้างหน้า แล้วจะปิดบริษัทไปเลย ถ้าเราจะซื้อบริษัทนี้ ณ วันนี้เราควรจ่ายเท่าไหร่???

จากโจทย์ข้างบนเรามีข้อมูลของ Cashflow แล้วแต่ว่าคือ 1,000 ในปีที่ 5 แต่ที่โจทย์ไม่ได้บอกคือ discounted rate...

จำไว้ครับว่า Discounted rate = Required rate of return ของนักลงทุน

ถ้าผมติ๊งต่างว่า 1,000 ที่ A จะจ่ายให้เป็น"สัญญา" ที่บริษัทจะเซ้นให้กับผถห.ว่าจะจ่ายๆแน่ๆ 1,000 ไม่ว่าจะอย่างไร แบบนี้ผมถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงถูกป่ะครับ (risk-free) ดังนั้นการลงทุนกับบริษัท A นี้ผมถือว่าก็เป็นเหมือนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเลยใช่ป่ะครับ ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าอยากรู้ว่าในเงิน 1,000 ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นกี่บาทในวันนี้ เราก็ควรใช้ discounted rate ในอัตราของดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งสมมุติว่า 3% ... นี่แหละครับ required rate of return ของการลงทุนใน A ซึ่งต้องเท่ากับ 3%... ถ้าน้อยกว่า 3% เราลงทุนใน Gov bond ดีกว่า และถ้ามากกว่า 3% นลท.คนอื่นๆก็จะต้องมาแย่งซื้อหุ้น A กันจนราคามันขึ้นทำให้ผลตอบแทนมาเป็น 3% อยู่ดี ดังนั้น 3% นี่แหละครับคือ Required rate of return ซึ่งเราจะมาใช้เป็น discounted rate

1000 / (1.03)^5 = 862.6 บาท

ดังนั้นถ้านลท.ควรซื้อหุ้น A ได้ที่ราคา 862.6 บาท

ทีนี้ผมเปลี่ยนใหม่... บริษัท A ไม่ได้สัญญาจะจ่าย 1,000 ให้กับนลท.ในปีที่ 5 ละ แต่เปลี่ยนเป็นว่านลท.คาดว่า บริษัท A น่าจะจ่าย 1,000 ให้กับนลท.ในปีที่ 5 ถ้ากำไรของบริษัททำได้ตามเป้า.....

ถามครับ ถ้าเป็นแบบนี้ราคาหุ้นที่ 862.6 บาท ซึ่งจะได้ผลตอบแทนที่ 3%... เป็นพี่จะซื้อมั้ยล่ะครับ... เป็นผมไม่นะ... เป็นผมสู้ไปซื้อ Gov bond ดีกว่าป่ะได้ผลตอบแทน 3% ชัวๆ ไม่ต้องมาเสี่ยง...

ดังนั้นในกรณีนี้ Required rate of return (อย่าลืมนะครับ discounted rate = requried rate of return) ของการลงทุนที่มีความเสี่ยง (risky asset) มันต้องมากกว่า 3% ครับ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่ถึงเหมาะสม จะ 8, 10, 12 แบบที่พี่ picklife สงสัย เดี๋ยวมาต่อครับ...
งั้นถ้าขายที่ราคา 862.6บาท พี่ก็จะได้ปีละ3%

ดังนั้นการที่เราคิดDCFส่วนลดที่10%ในกรอบเวลา5ปี
คิดกับหุ้นAซึ่งหุ้นAตอนนี้ราคา10บาท แต่คิดDCFได้20บาท
แสดงว่า กรณีถ้าเป็นไปตามทฤษฏี
1.ถ้าหุ้นAราคาขึ้นไปที่20บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนปีละ10%
2.ถ้าหุ้นAราคายังคง10บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่า10%
ถูกหรือไม่ครับ!!!!!!!
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 18

โพสต์

และถ้ามันอย่างนั้น ผมก็สามารถใช้หลักการณ์เดียวกันมาคิดโดยใช้ ROEของบริษัทหรือการGrowthของeps มาคิดหาPEที่เหมาะสมได้เหมือนกันปะครับ?
:?:
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 19

โพสต์

picklife เขียน:ดังนั้นการที่เราคิดDCFส่วนลดที่10%ในกรอบเวลา5ปี
คิดกับหุ้นAซึ่งหุ้นAตอนนี้ราคา10บาท แต่คิดDCFได้20บาท
แสดงว่า กรณีถ้าเป็นไปตามทฤษฏี
1.ถ้าหุ้นAราคาขึ้นไปที่20บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนปีละ10%
2.ถ้าหุ้นAราคายังคง10บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่า10%
ถูกหรือไม่ครับ!!!!!!!
การที่ DCF = 20 แล้ว discount rate = 10% เท่ากับว่าในการลงทุนี้พี่ pcik ต้องการผลตอบแทนขั้นต่ำ (required rate of return) = 10% ต่อปี ... เพื่อให้ง่าย...ติ๊งต่างว่า เราคาดหมายว่า (ที่ต้องใช้คำว่าคาดหมายเพราะ ถือเป็น risky investment นะครับ) CF ที่ในแต่ละปีเป็น 0 แล้วไปโผล่ทีเดียวในปีที่ 5... CF ที่นลท.จะได้รับในปีที่ 5 เท่ากับ 20*(1.1)^5 = 32.21

ดังนั้น

1. ถ้าหุ้นAราคาขึ้นไปที่20บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนปีละ10%?

Ans: ผมขอตอบแบบนี้ครับ ถ้าที่พี่หมายถึงคือ ตอนนี้หุ้น A =10 แล้วพี่ pick มัวแต่จ้อง แล้วกะว่าวันรุ่งขึ้นซื้อๆแน่ๆ 10 บาท แล้วมันก็เด้งไปทันทีที่ 20 บาท (แบบที่ผมเคยจ้องกับ JMART และ MOONG มาแล้ว  :lol:) ถ้าหุ้น A ณ วันนี้ 20 บาท แล้วพี่ซื้อมันในราคา 20 บาท...คำตอบก็คือใช่ครับ

2. ถ้าหุ้นAราคายังคง10บาท แสดงว่าอีก5ปีที่เหลือเราจะได้ผลตอบแทนมากกว่า10%?

Ans: ถูกต้องครับ โดย realized return ที่ได้ควรจะเป็น IRR ของ PV= 10 FV = 32.21 N=5 PMT=0 ซึ่งจะเท่ากับ 26.35% ต่อปีครับ :!:
picklife เขียน:และถ้ามันอย่างนั้น ผมก็สามารถใช้หลักการณ์เดียวกันมาคิดโดยใช้ ROEของบริษัทหรือการGrowthของeps มาคิดหาPEที่เหมาะสมได้เหมือนกันปะครับ?
:?:
ได้ครับ :!: (เก่งจังพี่คิดได้ไงเนี่ย กว่าผมจะรู้นี่ต้องเรียนถึงป.โทเลยทีเดียว :oops:) แต่พี่ต้องเข้าใจในหลักการของ 1. Required rate of return 2. growth rate ของ CF ให้ถ่องแท้ซะก่อนครับ  :D

ซึ่งถ้าพี่เข้าใจดีแล้ว ผมจะต่อ CAPM ตะกี้สั้นๆ ง่ายๆให้จบไป (จะได้เข้าใจว่าทำไมต้อง 10%) แล้วจะเข้าสู่เรื่อง การหา P/E ratio ที่เหมาะสมจาก required rate of return, ROE และ growth ของบริษัทครับตามที่พี่ขอมาครับ :D
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
nw108
Verified User
โพสต์: 503
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 20

โพสต์

มีเนื้อหาที่ดีครับ ติดตามอ่านอยู่



ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 21

โพสต์

จากตัวอย่างข้างบนที่ว่า
สมมุติพี่ pick บอกว่า โดย"ส่วนตัว" ถ้าลงทุนกับบ.เล็กๆงี้ ถ้าจะให้คุ้มความเสี่ยงผลตอบแทนต้อง 8% อ่ะ (ไม่งั้นสู้ไปซื้อ Gov Bond ได้ 3% ชัวร์ๆดีกว่า) แต่ถ้าเป็นผมอาจจะบอกว่า เฮ้ย...ถ้าแบบนี้ 6% ก็เอาละอ่ะ.... ซึ่งนี่ก็คือ required rate of return...
เราสามารถสรุปได้ว่า required rate of return ของนักลงทุนจากการลงทุนใดๆ (Cost of Equity) จะเท่ากับ

Risk Free Rate + Risk Premium = Required rate of return <<< จากในตัวอย่างก็คือ 3% + 5% ซึ่งก็ 5% นี่ก็คือ Risk Premium นั่นเอง

โดย Risk Premium พูดง่ายๆก็คือผลตอบแทนที่ต้องการเหนือจาก risk free rate เพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนนั่นเอง (ในตัวอย่างคือ 5%)

ในทางทฤษฏีการเงินยุคใหม่ จากทฤษฏี Capital Asset Pricing Model (CAPM) (พี่ๆน่าจะคุ้นๆนะครับ) เค้าบอกว่า Asset ที่"เสี่ยง"กว่า จะต้องมีผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยที่"ความเสี่ยง" ถูกจำกัดความด้วย การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นนั้นๆเทียบกับตลาด โดยวัดจาก Standard deviation เช่นถ้า SET ขึ้นมา 5% แล้วหุ้น A ขึ้นมา 7% หรือ SET ลงไป 3% แล้ว หุ้น A ลงไป 4.5%... แบบนี้ถือว่า หุ้น A เสี่ยงกว่าตลาด

ดังนั้น Required Rate of return ของนลท.จากการลงทุนในหุ้น (Cost of Equity) จาก CAPM ก็จะหาได้จากหลักการนี้แหละครับ Risk Free Rate + Risk Premium แต่จะแปลงเป็น...

Required Rate of Return = Risk Free + Beta * (Market Risk Premium)

ซึ่ง Beta นี่แหละครับเป็นตัวบ่งบอก sensitivity ของราคาหุ้นที่มีต่อการเคลือนไหวของตลาด ยิ่งมากก็คือยิ่งเสียง... โดย Beta ของตลาดนั้นจะเท่ากับ 1 เสมอ

จากการวิจัยต่างๆนาๆ Risk Premium ของตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยในระยะยาวคือ 6-8% ครับ และ Risk Free rate โดยเฉลี่ยในระยะยาวมันคือ 3-5% แล้วที่สำคัญถ้าคิด Beta ของหุ้นทั้งตลาด โดยเฉลี่ย (อีกแล้ว) มันก็ต้องเท่ากับ Beta ของตลาดซึ่งก็คือ 1 ใช่มั้ยครับ ดังนั้น...

Required Rate of Return = 3-5% + 1 * (6-8%) = ประมาณ 10% ไงล่ะครับ...

ทีนี้เห็นจุดอ่อนของการคำนวน Required Rate of return ที่ 10% รึยังล่ะครับ ว่ามันต้อง Assume อะไร (ที่ไม่เป็นความจริง) บ้าง...

1. CAPM assume portfolio หุ้นที่ทุกๆคนถือก็คือ Port ที่กระจายความเสี่ยงแบบสุดๆ แบบความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นไม่มีผลใดๆต่อผลตอบแทนครับ

2.ความเสี่ยงของหุ้น อธิบายได้ด้วยความsensitive ต่อความผันผวนของตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว (Beta) (เพราถือว่ากระจายความเสี่ยงไปแล้ว)

3. ความเสี่ยงคือ volatility โดยนับทั้ง upside และ downside risk (จริงๆ นลท.นับเฉพาะแค่ downside risk)

4. Beta ของหุ้น = 1 ซึ่งก็คือทึกทักว่า หุ้นทุกตัวมีความเสี่ยงโดยเฉลี่ย เท่ากับตลาด

5. มีอีกนะครับ แต่นึกหลักๆได้แค่นี้  :oops:

ดังนั้นไม่แปลกครับที่ Warren Buffett มักจะใช้ Risk Free rate เป็น discount rate นะครับ เพราะเค้ามองว่า การลงทุนของเค้า ไม่มีความเสี่ยง (เพราะลงทุนบนพฐ.ของ MOS) ไม่ขึ้นอยู่กับภาวะตลาด และเค้าก็ไม่ได้ลงทุนกระจายความเสี่ยง ตามที่ CAPM assume นั่นเอง

สรุป Required Rate of Return ที่นำมาใช้เป็น Discount Rate ในทางทฤษฏีคำนวนได้จากที่ผมบอกครับ แต่ในทางปฏิบัติแล้วผมมองว่ามันต้องใช้ sense และประสบการณ์เป็นหลักครับ เพราะ discount rate ที่เปลี่ยนไปแค่ 1% อาจจะทำให้ราคาหุ้นที่คำนวนได้จากไปจากเดิมมากเลยครับ[/u]
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 22

โพสต์

[quote="picklife"]และมีคำถาม2ข้อที่ผมสงสัยจะถามพี่ๆที่เก่งเรื่องDCFครับว่า

1.ถ้าเราให้ ส่วนลดที่ 8% 10% 12% ตัวเลขที่ได้มาจะต่างกันอย่างไร และมันบอกอะไรเราได้บ้าง?
2.ถ้าเราคิดกรอบเวลาที่ 5ปี 10ปี 15ปี
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 23

โพสต์

DCF อยู่บนพื้นฐานของการทำงบล่วงหน้า
คนที่ทำตั้งสมมุติฐานต่างเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ปริมาณความต้องการสินทรัพย์หมุนเวียน
ปริมาณเงินหมุนเวียนในกิจการ (สินทรัพย์หมุนเวียน -หนี้สินหมุนเวียน)
พวกนี้ต้องจัดทำก่อน

อีกตัวที่สำคัญคือ ค่า g ของกิจการว่า โตเท่าไร
แล้วกิจการนั้น ถึง Stable state กี่ปี (คาดการณ์ที่ทำกันคือ 3 5 7 ปี)
ไกลกว่านั้นไม่มีความแม่นยำที่ใช้งานได้

อีกตัวที่สำคัญคือ K ที่หามา ต้นทุนของส่วนของผู้ถือหุ้น ว่าสูงแค่ไหน
ถ้า K นี้ Base on ทฤษฏีทางการเงิน เช่น CAPM เป็นต้น ในการหาค่า K ตัวนี้ออกมา

หาได้ใช่ว่าถูกต้อง เพราะ อนาคตคือความไม่แน่นอน
ถ้าแน่นอนแล้วไซร้ ก็อยู่งี้ก็ซื้อเลย
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เรื่องการคิด discount rate เห็นด้วยกับคุณ Gen X แต่สุดท้ายมันเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลจริง ๆ เพราะเรื่องการรับความเสี่ยงแต่ละคนไม่เหมือนกันจริง ๆ และการมองความเสี่ยงของบริษัทด้วย ส่วนค่า terminal value ในสูตรผมจะประเมินไว้ค่าไม่เกิน 10x ของ FCF ปีสุดท้าย (แนวคิดจาก dhundo)

แต่ก่อนผมก็ใช้วิธี DCF เหมือนกัน รู้สึกว่ามันค่อนข้างจะ sensitive กับตัวแปรต่าง ๆค่อนข้างเยอะ ถ้าบริษัทที่ประเมินรายไ้ด้อนาคตยาก หรือไม่แน่นอน ผมไม่แนะนำวิธีการนี้

เรื่องของ PE กับ DCF นี้ผมว่ามีส่วนสัมพันธ์อยู่เหมือนกัน มีบทความหนึ่งของดร. พูดถึงการประเมิน PE กับปัจจัยคุณภาพของบริษัท เพื่อปรับ premium หรือ discount ให้กับ PE (ผมเคยแปะไว้ในกระทู้คุณค่าเรื่อง PE) ซึ่งคิดว่าเป็นการมอง PE โดยการตกผลึกความคิดเรื่อง DCF ไว้ดีมาก ลองไปหาอ่านดูนะครับ

 :D
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1154
ผู้ติดตาม: 38

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 25

โพสต์

picklife เขียน:และถ้ามันอย่างนั้น ผมก็สามารถใช้หลักการณ์เดียวกันมาคิดโดยใช้ ROEของบริษัทหรือการGrowthของeps มาคิดหาPEที่เหมาะสมได้เหมือนกันปะครับ?
:?:
การนำ DFC มาใช้คำนวนหา P/E ที่เหมาะสมนั้น จะต้อง adapt เข้ากับ dividended discounted model ครับ (เราจะใช้ dividend มาเป็นตัวแทนของ CF)  โดยหลักการแล้วไม่ยากครับ แค่เราต้องเข้าใจที่ไปที่มาของ P และ E ก่อน

ในหลักการสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณีครับ 1. No growth 2. (มี) Growth ซึ่งผมขอเริ่มแบบแรกก่อน

DFC แบบที่ไม่มี Growth ก็คือตัวอย่างของหุ้น A ที่ผมยกขึ้นมาด้านบนแหละครับ

โดย P0 = CFt / (1+r)^t ถูกป่ะครับ

หรือถ้าเรา assume ถ้าบริษัทนี้จะดำเนินธุรกิจไปตลอด: P0 = CF1 / r

โดย r ก็คือ Required rate of return (บางคนจะใช้เป็น k ก็ไม่ผิดกฏนะครับ) ที่ผมอธิบายมายืดยาวข้างบนนั่นเอง (งงสูตรป่ะเอ่ย มันคือหลักการ TVM ธรรมดานะครับ)

ทีนี้ CF1 คืออะไรหว่า ถ้าเอาง่ายๆมันก็คือ Dividend1 หรือก็คือ ปันผลที่จะได้ในงวดถัดไปนั่นแหละครับ และในเมื่อเป็นบริษัทที่ไม่มี Growth มันก็ควรจ่ายปันผล 100% ของกำไรถูกมั้ยครับ?...

ดังนั้นในกรณีที่ No Growth, P0 = EPS1 / k ทำให้ P/E = 1/r นั่นเอง

เอ... ทำไมดูโล่งๆ ง่ายๆชอบกล... ก็แน่ละครับผม assume ว่า No Growth ซึ่งสังเกตุได้ว่า ทำไมพวกบริษัทที่ growth ต่ำมากๆๆๆๆๆ หรือที่ดูไม่มีอนาคตแต่ยังจ่ายปันผลสม่ำเสมอ เลย P/E มันถึงไม่สูงมาก ก็เพราะบางคนอาจจะมองว่าบริษัทที่ไม่มี growth ก็คือบริษัทที่ผลประกอบการไม่ดีก็ได้ครับ ดังนั้นจึงมี required rate of return ที่อาจจะสูง เช่น 12% ดังนั้น P/E = 1/0.12 = 8.33

ปัญหาคือในความเป็นจริงต่อให้บริษัทที่เป็น Cash Cow ขนาดไหน มันก็ต้องมี growth กันบ้างแหละจริงมั้ยครับ

กรณีที่ 2 แบบมี Growth (g) ... อันนี้ยากหน่อยครับ เพราะจริงๆมันแบ่งออกเป็น 2 assumption หลักๆคือ constant growth และ multistage growth ซึ่งผมขอยกง่ายๆที่ constant growth ละกัน

เริ่มแรกเราต้องเข้าใจสูตรจากหา dividend growth model แบบ constant growth ก่อนครับ ซึ่งมันคือ P0 = D1 / (r-g)

โดย D1 คือ Dividend ที่จ่ายในงวดหน้า = EPS1*(1-b)

และ g คือ sustainable growth ของบริษัท = (ROE * b)

r คือ Required rate of return ที่ผมร่ายยาวมาแต่แรกอ่ะครับ

หลังจากแปลงร่างสับเปลี่ยนแล้วสูตรของ P/E คือดังนี้ครับ

P0/E1 = (1-b) / (r - (ROE * b)) <<< อันนี้แหละมั้งครับที่พี่ pick ถามถึง

การหา sustainable growth ของบริษัทตามหลักการมีความสัมพันธ์ดังนี้

g = ROE * b

g = sustainable growth rate หรือก็คือ growth rate ของบริษัทในระยะยาว

ROE = ROE ของบริษัทในระยะยาว

โดย b คือ plowback ratio หรือก็คือ dividend payout ratio - 1 นั่นแหละครับ ซึ่ง assume เป็น rate ที่ fixed ในระยะยาวเช่นกัน

จากความสัมพันธ์นี้จะเห็นได้ว่า บริษัทที่ ROE ในระยะยาวสูงๆ (ตามทฤษฏีคือ ROE > r) ถึงไม่ควรจ่ายปันผลที่มากครับ เพราะถ้าสู้เก็บเอาในลงทุนต่อในบริษัทจะได้ผลตอบแทน (ROE) ที่สูงกว่าการที่นักลงทุนเอาเงินนั้นไปลงทุนต่อ (assume reinvestment rate = required rate of return)

นี่แหละครับเป็นเหตุผล(ทางทฤษฏี)ที่อธิบายว่าทำไม Berkshire Hathaway ถึงไม่จ่ายปันผลเลย

ดังนั้นถ้าพี่ pick 1. ประเมิน ROE ในระยะยาวของบริษัทได้ 2. ประเมิน plowback หรือ payout ratio ในระระยาวของบริษัทได้ 3.ประเมิน required rate of return ที่เหมาะสมได้ พี่ก็จะประเมินหา P/E ที่เหมาะสมของหุ้นนั้นได้จาก discounted dividend model ครับ  :D

การที่ Peter Lynch ชอบหุ้นที่ Growth สูงกว่า P/E นั้น โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่น่าเกี่ยวกับหลักการ dividend growth model ที่ผมอธิบายมาครับ โดยสิ่งที่ Lynch พยายามจะบอกก็คือว่า P/E มันเหมือนเราจ่ายแพงกว่าที่ได้จริง XXเท่า ดังนั้น Growth ของบริษัทก็จะมากกว่า P/E ซึ่งมันเป็นเหมือน rule of thumb เฉยๆอ่ะครับ..... อันนี้ไม่แน่ใจจริงๆครับ ถ้าพี่ๆคนไหนคิดว่ามันเกี่ยวข้องกันก็เสริมได้เลยนะครับ  :D

สุดท้ายผมขอตอบสิ่งที่พี่ pick เกริ่มมาแต่แรกนะครับ
ผมเข้าใจว่าDCFเป็นการตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า หุ้นแต่ละตัวควรจะกำไรใกล้เคียงกัน ซื้อแล้วมีผลตอบแทนพอๆกัน ควรจะเป็นแบบนั้น แต่!!!เนื่องจากหุ้นเติบโตไม่เท่ากันดังนั้น เราจึงมองว่าหุ้นที่โตเยอะกว่าควรจะมีราคาที่สูงกว่าเพื่อจะชดเชยการเติบโตของมัน
ถ้าไล่จากที่ผมอธิบายมาแต่ต้น ก็ขอตอบว่า ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ เพราะ discounted rate มันก็คือ required rate of return หรือ ผลตอบแทนที่พี่ต้องการจากการลงทุนที่เสี่ยงนั่นเองครับ ยิ่งเสี่ยงมากผลตอบแทนที่ต้องการก็ยิ่งสูง ทำให้ราคาที่เหมาะสม ณ ปัจจุบันจะลดลง แต่ถ้าพี่จะมองว่า หุ้นที่โตเร็วๆ มีความเสี่ยงต่ำถึงต้องการผลตอบแทนที่ต่ำ ทำให้ราคาหุ้นที่เหมาะสมสูงขึ้น แบบนั้นก็ได้ครับ แต่แนวคิดนี้ไม่น่าจะ support โดยทฤษฏีการเงินในปัจจุบันครับ  :D
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 26

โพสต์

[quote="GeneraX"]
ถ้าไล่จากที่ผมอธิบายมาแต่ต้น ก็ขอตอบว่า ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ เพราะ discounted rate มันก็คือ required rate of return หรือ ผลตอบแทนที่พี่ต้องการจากการลงทุนที่เสี่ยงนั่นเองครับ ยิ่งเสี่ยงมากผลตอบแทนที่ต้องการก็ยิ่งสูง ทำให้ราคาที่เหมาะสม ณ ปัจจุบันจะลดลง แต่ถ้าพี่จะมองว่า หุ้นที่โตเร็วๆ มีความเสี่ยงต่ำถึงต้องการผลตอบแทนที่ต่ำ ทำให้ราคาหุ้นที่เหมาะสมสูงขึ้น แบบนั้นก็ได้ครับ แต่แนวคิดนี้ไม่น่าจะ support โดยทฤษฏีการเงินในปัจจุบันครับ
:)
PATU
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 27

โพสต์

มาเก็บความรู้ค่ะ

เห็นพี่ๆแม่น DCF แบบนี้ เลยอยากถามว่าพี่ๆใช้วิธีนี้ทำ Valuation หุ้นที่จะซื้ออย่างจิงจังเลยรึป่าวค่ะ

พอดีไม่ค่อยมีเวลา เลยจะทำแค่ Forecast PL 2010F 2011F แล้วดูค่า Multiples เอา
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 28

โพสต์

PATU เขียน:มาเก็บความรู้ค่ะ

เห็นพี่ๆแม่น DCF แบบนี้ เลยอยากถามว่าพี่ๆใช้วิธีนี้ทำ Valuation หุ้นที่จะซื้ออย่างจิงจังเลยรึป่าวค่ะ

พอดีไม่ค่อยมีเวลา เลยจะทำแค่ Forecast PL 2010F 2011F แล้วดูค่า Multiples เอา
ทำแบบรายได้คงที่แล้วรายจ่ายเพิ่มขึ้นดู
แล้วมันเห็นอะไรบ้างอย่างที่แปลกออกไปล่ะครับ
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 29

โพสต์

สนุกครับ แลกเปลี่ยนกันเยอะๆ ชอบจัง :8)

ปล.อ่านกระทู้นี้ กระทู้เดียว เหมือนลิ้งไปกับที่อ่านๆมาทั้งหมดเลย
งบการเงิน ยัน การซื้อพันธบัตร ไป DCF หรืออัตราส่วนทางการเงิน
ล้วนมีส่วนเชื่อมโยงกันหมด

ผลตอบแทนมาก ความเสี่ยงมาก ผลตอบแทนน้อย ความเสี่ยงน้อย
ขอบคุณคุณPicklifeที่เปิดประเด็น
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยแชร์ความเห็น

ผมยังอ่อนด้อย รู้แค่ประเด็นและไล่ตรรกะอย่างเดียว
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 7

แชร์ความเข้าใจ การวัดมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF

โพสต์ที่ 30

โพสต์

PATU เขียน:มาเก็บความรู้ค่ะ

เห็นพี่ๆแม่น DCF แบบนี้ เลยอยากถามว่าพี่ๆใช้วิธีนี้ทำ Valuation หุ้นที่จะซื้ออย่างจิงจังเลยรึป่าวค่ะ

พอดีไม่ค่อยมีเวลา เลยจะทำแค่ Forecast PL 2010F 2011F แล้วดูค่า Multiples เอา
ส่วนใหญ่ผมจะใช้ในบริษัทที่ cash flow กับ earning ไม่ค่อยไปด้วยกันคับ นั่นคือพวกบริษัทที่ใช้ WC ต่ำๆ ลงทุนกับ CAPEX น้อยๆ รายจ่ายจำนวนมากเป็นรายจ่ายทางบัญชีจากค่าเสื่อม

บริษัทลักษณะนี้ ดูด้วยตา PE อาจจะแพงไม่น่าลงทุน เพราะ E ไม่ได้สะท้อนคุณภาพของ free cash flow

เช่นนี้ ผมจะหามูลค่ายุติธรรมด้วย DCF ครับ
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
โพสต์โพสต์