อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
VIB007
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 2035
ผู้ติดตาม: 71

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 61

โพสต์

เช่นเดิม ขอเอาไปลงคอลัมน์ Value Way นะ
เป็นวิทยาทาน..ดีมากๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
GrandSlam
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 62

โพสต์

VIB007 เขียน:เช่นเดิม ขอเอาไปลงคอลัมน์ Value Way นะ
เป็นวิทยาทาน..ดีมากๆ
ครับ  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
GrandSlam
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 63

โพสต์

VIB007 เขียน:เช่นเดิม ขอเอาไปลงคอลัมน์ Value Way นะ
เป็นวิทยาทาน..ดีมากๆ
ครับ  :lol:
kanok
Verified User
โพสต์: 57
ผู้ติดตาม: 0

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ว้าว ขอบคุณมากครับ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 65

โพสต์

ขอบคุณพี่หมอ PP ครับ นาน ๆ จะมีเรื่องแรบไบมังเกอร์ให้
อ่าน
noooon01บ0 เขียน:มีใครเหมือนผมบ้างไหมครับ
เวลาพูดถึง อ.มังเจอร์ แล้วผมนึกถึงพี่โหน่งครับ
blog และผลงานของพี่เค้าทำให้ผมเริ่มสนใจใน อ. มังเจอร์ ครับ ผมคิดถึงงานเขียนของพี่โหน่งครับ
  ขอบคุณ คุณหมอครับ ไม่ได้เข้ามาอ่านตั้งแต่เดือนตุลาปีที่แล้ว นานมากทีเดียวครับ  ผมจะเล่าเพิ่มเติมเท่าที่ทราบเกี่ยวกับอาจารย์มังเกอร์ครับ
 
 โดยปกติแล้ว ก่อนนอนสวดมนต์ให้ครู ก็ให้อาจารย์มังเกอร์ทุกวัน เพราะมีอาจารย์ถึงมีวันนี้ได้ ถ้าผมกลับมาเมืองไทย ถ้าได้นอนกลับลุก เรื่องของอาจารย์มังเกอร์ต้องเล่าให้ฟังก่อนนอนเสมอ  
   เรื่อง psychology of misjudgement  กล่าวถึก่วงอคติของคนล้วนๆ ที่อาจารย์เขียนไว้กับอาจารย์ Robert B. Cialdini ต้องให้เครดิตท่านด้วย แล้วท่านเป้นคนยิว ไม่พูดถึงความเป็นยิวก็ไม่ได้ เพราะวิชานี้เป้นของคนยิว เรื่องการเฝ้ามองตัวเองนี่ ผมอ่าน trader อย่าง Soros อย่าง Tudor อย่าง Cohen  ระดับโลกล้วนพูดถึงเรื่องนี้ทั้งนั้น  เรื่องการระวังอคติของตัวเองเป็นเรื่องที่ต้องระวังมากที่สุด เพราะมันเกี่ยวข้องกับการรับรู้ของเรา ถ้ารับรู้ไม่ถูกนี่ มันก็พลาดหมด เรื่องการเอาตัวรอดให้ได้มันจึงเกี่ยวกับเรื่องอคติ

   ต้องไปอ่าน Influence: The Psychology of Persuasion นี่ถึงเข้าใจมากขึ้น  อคติของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ที่เขามีในหนังสือมันน้อย  ถ้าเราถือศีล 8 เราจะหาอคติของตัวเองเจอได้อีกเยอะ  คือถ้าไปลองจำกัดตัวเองให้มันอยู่อย่างลำบากมากขึ้น เอาความสบายออกให้หมดในชีวิต อคติต่างๆ ที่เรามีเขาจะออกมาหมดเลย แล้วมันเป็นหน้าที่ของเราที่เราต้องเฝ้ามองพวกเขา เหมือนที่อาจารย์มังเกอร์จ้องมองที่ความล้มเหลว

  เหมือนที่เราเฝ้ามองทุกข์ และยอมรับว่าชีวิตคือความทุกข์ เพราะทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงเสมอ แม้แต่ความคิดของเราเอง เรื่องของตัวกูของกูเป้นอคติอันดับหนึ่งเลย เพราะการรับรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การรับรู้ของคนขึ้นกับอคติของตัวเรา เฝ้ามองอคติตัวเองทุกวัน  การเฝ้าสังเกตลมหายใจตัวเองเข้าออกว่าเปลี่ยนแปลอย่างไร มีเหตุและปัจจัยอะไรทำให้ลมหายใจลึกหรือสั้น หรือว่าถี่เร็วขึ้น มีผลอย่างมากต่อการรับรู้  เพราะลมหายใจจะไปกำหนดความคิดแลพพฤติกรรมของเราในที่สุด
   ถ้าไม่อยากตัดสินใจผิดพลาด ไปอ่านของแรบไบมังเกอร์ เข้าใจยาก  คนไทยได้เปรียบฝรั่ง ก้ไปอ่านเรื่องสติปัฐฐาน 4  เรื่องของ กาย เวทนา จิต ธรรม ของหลวงพ่อจรัญ พื้นฐานเดินจงกรมขาดไมได้เลย ต้องทำทุกวัน

 ถ้าการรับรู้มันผิด คือผมยกตัวอย่าง ถ้าเราไปลงทุนในอะไรสักอย่าง แล้วเราลงทุนไปเพราะมีคนแนะนำ แล้วคนนี้เราชอบเขาด้วย ไปไหนก็มีคนในกลุ่มที่เราคบด้วยพูดถึงแต่ตัวนี้  ปัจจัยมันได้หมด วันนั้นราคาวิ่ง ตั้งขายมันก็น้อย ของมีน้อยอยู่แล้วด้วย ขยับไปนิด อะไรมันก็จูงใจ loolapalooza effect มันก็เกิด คำนี้ผมได้มาจากอาจารย์มังเกอร์ ถ้าไม่อ่านเรื่องนี้ก็มไข้ใจเรื่อง misjudgement  มันคล้ายกับเรื่อง critical mass สิ่งนั้นมี สิ่งนั้นจึงเกิด แต่ทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่จับให้มั่น คะนให้ตาย ไปเชื่อเต็มร้อยว่าเราไม่มีวันผิดพลาด คิอมันพลาดตั้งแต่ที่ไม่ทำความเข้าใจกับอคติของตัวเอง  วันนั้นลงทุนไปเต็มที่เลย พอเราลงทุนไป ราคามันล่วง แล้วเราไมได้ทำใจเอาไว้ เรากลับถามตัวเองว่าเราผิดตรงไหน

 อคติมีกันทุกคนครับ อยู่ที่ว่าเราจะทำให้เขาเป้นเพื่อนของเรา หรือว่าทำให้เขาเป้นศตรูของเรา ถ้าเขาเป้นกัลยานมิตรของท่านนี่ นี่ท่านเก่งมากครับ เท่ากับว่าท่านมีทั้งเพื่อนภายนอกที่เป้นคน และเพื่อนภายในที่เป็นอคติของท่านเอง

    การเฝ้าอคติของเราล้วนเกิดจากลมหายใจก่อนทั้งสิ้น อย่าให้ความคิดและพฤติกรรมกำหนดลมหายใจ  แต่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาจนลมหายใจเป้นเพือนเราอีกคน แล้วเพื่อนคนนี้ก้ไปกำหนดความคิดและพฤติกรรมของเรา  สองอย่างนี้คือการรับรู้ที่มีโอกาสผิดได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่ากลัวการผิดพลาด แต่เฝ้ามองเขาอย่างระมัดระวัง  ความสบายอยู๋ที่ความลำบาก ความทุกข์อยู๋ที่ความสุข  ความสำเร็จอยู่ไหน มันอยู๋ที่ความล้มเหลว มันไม่เคยไปไหนเลย

   ถ้าทำอะไรแล้ว ห้าสิบ ห้าสิบ เผื่อพลาดเอาไว้ ถ้าพลาดก็ให้ยอมรับว่าเราพลาด อย่าไปคิดว่าเราถูกตลอด ให้คิดว่าเราทำอะไรบ้างมันถึงพลาด ให้จ้องระวังสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เราพลาด และทำให้สิ่งเหล่านั้นอย่าเกิด  
    ถ้าวันนี้ไปลงทุน เรามีสมมุติฐาน เรามีความยึดมั่นในราคาหุ้นที่มีเหตุและผลเสมอตราบใดที่ประมาณการของกำไรในอนาคตของเขายังมีให้เห็น ก้ให้เราจ้องไว้เลยว่า  มีเหตุการณ์อะไรบ้างที่จะทำให้สิ่งที่เราคิดไม่เป็นอย่างที่คิด ยึดมั่นอะไรก้ มห้มองสิ่งนั้นเป็นจุดอ่อน ถ้าเขายึดเศรษศาสตร์คลาสสิคเรื่องราคาที่ปรับขึ้นตามผลกำไร จุดอ่อนมันก็อยู๋ตรงนั้น ทุกอย่างในโลกล้วน ไม่ว่าวิชาอะไร ต้องยึดอะไรไว้สักอย่าง แม้กระทั่งระบบทุนนิยมในตลาดหุ้น มันก็มีจุดอ่อน เหมือนเรายึดอคติของเราเอาไว้ อยู่ที่ว่าเรายอมรับมันหรือปล่าวเท่านั้น

      อย่างการเผ่นกระดาษลอยมาจากไหนไม่รู้ ขยะกระจัดกระจายกลางลานนำพุสยามพานรากอน แต่ไม่มีใครเก้บเลย แต่ทุกคนรู้ว่ามันควรเก็บ แต่ไมได้ทำกัน พอมีคนเก็บคนแรก เก๋บไปเรื่อยๆ เก็บแล้วไปทิ้งขยะ ไม่มีใครทำตามเลย พอมีคนที่สอง สาม สี่  คราวนี่ ทุกคนที่เดินผ่านเห็น การรับรู้ว่ามันควรทำแต่ไม่ยอมทำกัน การรับรู้ที่ผิดๆ อย่างนี้ทำให้ตรงนั้นทุกคนต้องป้อนตัวเองหมด แล้วในที่สุด critical mass มันก็เกิดตรงนั้น จากคนเดียวที่เก็บกลายเป้นทุกคนช่วยกันเก็บหมด

  การรับรู้อย่างผิด ๆ เพราะอคติของคนหรือตลาด ทำให้พวกเขาต้องหาทางกลับลำเลี้ยงอคติตัวเองเอาไว้ ถ้าเกิดในตลาดหุ้น มันหมายถึงการที่นักลงทุนกำลังตกอยู๋ในภาวะบ้าคลั่งหน้ามึดตามัว หรือมีจิตใจที่อยู่ในภาวะที่เฮโลตามพฤติกรรมคนหมู๋มาก และตลาดที่กำลงเลี้ยงหรือป้อนตัวเองอย่างบ้าคลั่งนั้น มักมีอาการเกินเลยแบบสุดโต่ง และผลักดันให้ขึ้นถึงระดับสูงสุด คือสาเหตุที่มาของวงจรการเติบโต\ ตกต่ำ เสมอ

  ไม่ว่า psychology of misjudgement หรือ เรือง reflexivity ล้วนแยกกันไม่ออก ผมนั่งดูคลิป มีคนไปถามโซรอสเคล้ดลับว่าคืออะไรถึงรวยจากการลงทุนขนาดนี่ เขาตอบประมารนี้ครับว่า

  คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถของตัวผม ผมไมได้สนใจว่าตัวเองเก่งขนาดไหน ผมทำผิดเหมือนคนอื่น ผมทำผิดตลอดเวลา  ถ้าผมผิดผมก็ยอมรับ แล้วรีบถอนการลงทุนทันที แต่สิ่งที่ผมมีมากกว่าคนอื่นคือผมจดจำความผิดพลาดของตัวเองไว้ตลอดเวลา แล้วรู้ว่าตัวเองผิดเพราะอะไร นั่นคือเคล้ดลับ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ว่าเราถูกหรือเราผิด แต่อยู๋ที่ว่าผิดแล้วขาดทุนเท่าไหร่ กำไรแล้วกำไรเท่าไหร่  

   ถ้าจำไม่ผิด เฉลี่ยสิบครั้งเขาถูกประมาณสี่สิบเปอร์เซ็นต์เองครับ แต่ตัวเงินที่ผิดมันน้อยกว่าตัวเงินที่กำไร ประมาณเรื่อง Babe Ruth ครับ

 เรื่องความมีวินัย เกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ ถ้ามันควรทำแล้วไม่ทำ critical mass มันเกิดในใจคนคนนั้นแล้ว ย้อนไปอ่านข้างบน เข้าใจแล้วครับ ท่านเก่งๆ ทั้งนั้นครับ

 เรื่องการแยกอารมณ์ออกจากการตัดสินใจ คือ เรื่องอคติโดยตรงที่มีผลต่อการรับรู้ ถ้าไม่มีตัวนี้ อย่าลืมกำหนดลมหายใจก่อนลงทุนทุกครั้งครับ ท่านมีเพื่อนที่เยี่ยมยอดอยู่แล้วกันทุกคน

     ถ้าอ่าน psychology of misjudgement อ่านก็ยาก เข้าใจก็ยาก เอาไปใช้จริงก็ไม่รู้ว่าใช้อย่างไร  ลองไปหาอ่านสติปัฐฐานสี่ คนไทยมีของดีใกล้ตัว ดีกว่าของฝรั่ง ทั้งอ่านง่าย แต่เข้าใจยากไม่เป็นไร มีอิทธิบาทสี่ ถ้าได้ลองทำแล้ว มันก้ง่าย สุดท้ายใช้โยโสมนสิการไตร่ตรองตัวเองเหมือนที่แรบไบโซรอสทำ

  ฝรั่งยิวที่เปแนเทรดเดอร์เก่งๆ เขาเก่งเรื่องการฝึกจิตคล้ายคำสอนของพระพุทธเจ้ามากมากจนบางครั้งผมคิดว่าเขาเข้าใจเรื่องศาสนาพุทธดีกว่าเราซะอีก

 คนไทยนี่โชคดีครับ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 66

โพสต์

อคติ  ทุกคนอยากเป็นคนสำคัญ จาก psychology of human misjudgement  ผมบันทึกไว้ดังนี้ครับ......

รูปภาพ

   อคติข้อนี้เป้นข้อหนึ่งจาก psychology of misjudgement  และตั้งสมมุติฐานว่าอาจเป้นต้นเหตุของ critical mass  ทีเกิดขึ้นกับทีมฟุตบอลท่าเรือที่มี อคติ ทีเชื่อกันในหมู่ทีมฟุตบอลว่ากรรมการมักเข้าข้างทีมเมืองทองมากกว่าทีมอื่น  

    คนเราพอปักใจเชื่ออะไรเสียแล้ว ก็จะกอดความเชื่อนั่นเอาไว้ แม้หลักฐานหรือข้อมูลที่ได้รับจะไม่ตรงกับความเชื่อหรือภาพที่วาดไว้ในใจ ก็จะไม่ยอมละทิ้งความคิดความเชื่อนั้นง่าย ๆ แต่จะสรรหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดความเชื่อของตน  ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเชื่อฝังหัวแล้ว บางทีตา หู ลิ้นและอายตนะอื่น ๆ ก็พลอยคล้อยตามความคิดไปด้วย

   ทีมอื่นต้องประสบภาวะทุกข์ใจจากปมด้อยทางใจบางประการ ครั้งหนึ่งพวกเขาอาจเคยคิดว่าทีมฟุตบอลของตัวเองเป้นทีม สำคัญ แต่เดี๋ยวนี้กลับได้รับการปฎิบัติเหมือนเป้นสิ่งมีชีวิตที่ไร้ค่า ทีมฟุตบอลทีมอื่นรู้สึกว่าตัวเองถูกลดค่าความ เป้นคนสำคัญ ลงไปมาก  ในทางทางตรงกันข้าม..คุณค่าของความเป้น คนสำคัญ ของแฟนบอลทีมเมืองทองกลับได้รับการส่งเสริมมากขึ้น

  หมอท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า  เมื่ออาการบางอย่างมากเกินไป ก็สะท้อนกลับว่ามีอะไรบางอย่างที่มันน้อยไป ในกรณีนี้ ซึ่งพอมีจุดสังเกตความแตกต่างชนิดตรงกันข้ามของการตัดสินใจของกรรมการในวัน นั้นแม้เพียงครั้งเดียว  ทีมท่าเรือมีความเชื่อบางอย่างอยู่แล้ว ว่ากรรมการจะเข้าข้างทีมเมืองทอง  สายตาแฟนบอลเห็นกรรมการมีพิรุธตลอดเวลาตั้งแต่แรก ไม่ว่าเขาจะเดิน จะวิ่ง หรือพูดอะไรก็ส่ออาการของอาการลำเอียง  ภาพของกรรมการในสายตาของแฟนบอลท่าเรือเปลี่ยนไปตั้งแต่เกมเริ่มต้น ภาพเปลี่ยนไปเพราะ อคติ ที่เปลี่ยนไปมาสักระยะหนึ่งแล้ว

ความ ไม่ยุติธรรม  ทำให้ทีมท่าเรือถูกลดค่าความเป็น คนสำคัญ  ลงแต่มันสะท้อนกลับทำให้ความเป็น คนสำคัญ ของอีกทีมมีค่ามากขึ้น ..ข้อสังเกตของ อคติ ที่สร้างพฤติกรรมที่ตามมาก่อนเกิด critical mass.

.แฟนบอลทีมเมืองทองบางคนขนาดสำคัญผิดคิดว่าตัวเองเป้นผู้ยิ่งใหญ่ ดังนั้นปฎิกริยาของทีมท่าเรือที่รู้สึกอิจฉาและคับแค้นใจต่อทีมตรงข้ามที่ ได้รับอภิสิทธิ์นี้จึงแสดงออกมาในหลายลักษณะตั้งแต่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น โดยมีการด่าทอกรรมการตั้งแต่แรก

เมื่อใดก้ตามที่คนส่วนใหญ่ซึ่งเคยได้รับการส่งเสริมคุณค่าความเป็น คนสำคัญ มาก่อนและวันหนึ่งคุณค่าความเป็นคนถูกลดค่าลงไปอย่างนี้ แต่คนส่วนน้อยกลับได้รับการส่งเสริมความเป็น คนสำคัญมากขึ้น ผลที่ตามมาจึงรุนแรงเสมอ เพราะฉะนั้นความไม่พอใจขุ่นเคืองโดยทั่วไปในเกมฟุตบอลล้วนมีสาเหตุทางกายภาพ มาจาก กรรมการ  และจะทวีความรุนแรงมากที่สุดเมื่อมีความกดดันที่ท่าเรือตามหลังอยู่ 2 ประตู เป็นการกดดันทางใจเข้าไปผสมอีกด้วย

คนส่วนใหญ่ไม่แปลกใจที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้
แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงและเอาความผิดพลาดนี้ไว้เป็นบทเรียนโดยใช้มุมมองของ critical mass model ในการอธิบาย อคติ ของคนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน  ในกรณีทีมฟุตบอล ความกดดันทั้งสองทางทั้งทางกายภาพและทางใจมาพร้อมกันและเกมจบลงด้วยการ ต่อสู้ ในเมื่อแฟนบอลพบเห็นการใช้กำลังทำร้ายกันในสังคมไทยในยุคปัจจุบันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แรงกระตุ้นให้เกิดการทำร้ายกันอย่างโหดร้ายรุนแรงจึงเพิ่มขึ้นและไม่แปลกกว่าที่คาดคิดแต่อย่างใด

มองกรณีของทีมฟุตบอล  ความสัมพันธ์เชิงภาพสะท้อนเกิดได้เพราะอคติ  และอคติของนักลงทุนส่งผลต่อการรับรู้ของพวกเขา และอคติสามารถสรรหาเหตุผลมารองรับได้ร้อยแปดพันเก้า  อย่าแปลกใจหากคนบางคนจะหลงเชื่อเซียนหุ้นอย่างหัวปักหัวปำ ไม่ว่าใครจะมาชี้แจงอย่างไร เขาก็ไม่เปลี่ยนใจ และทั้ง ๆ ที่หลักฐานปรากฏทนโท่ เขาก็ไม่สนใจ ยังศรัทธาเซียนคนนั้นเหมือนเดิม   อคติของนักลงทุน มีกลไกลนานัปการ ที่จะปกป้องตัวเองไม่ให้ถูกเล่นงานง่าย ๆ แถมใช้กลไกนี้สร้างตัวมันให้เข้มแข็ง ดูน่าเชื่อถือ  เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรจะระแวดระวัง อคติ ของเราให้ดี อย่าเชื่อมันง่าย ๆ เพราะมันสามารถหลอกเราจนเสียเงินและเสียคนได้หากเราไม่รู้ทัน  อคตินั้นเป็น คนใช้ ที่ดีของเรา แต่เป็น นาย ที่แย่ ดังนั้นจึงควรมีสติ อย่าปล่อยให้ อคติ มันเป็นนายเราครับ..




 
อีกเรื่องเป็นเคสใกล้ตัว เรื่องอคติใน misjudgement มาใช้อธิบายพฤติกรรมของ   ลูกสาวสองคนที่ชอบทะเลาะแย่งของตีกันสร้าง critical mass ในบ้านกันเป็นระยะ ๆ  จนผมปวดหัว

รูปภาพ

  ผมไปคุยกับผู้ปกครองคนอื่นๆ เขาก็มีปัญหาเรื่องนี้เหมือนกัน  ใครๆ เขาใช้จิตวิทยาในแก้ปัญหาเรื่องนี้   ผมไม่ถนัดเลย ต้องให้แม่เขาค่อย ๆ สอน   ปัญหาเรื่องพี่น้องนี้ ตอนผมทำงานเป้นนักข่าวเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ประสบเช่นเดียวกัน

   ตอนนั้นในแผนกสายข่าวบริษัทต่างประเทศในเอเชีย มีน้องเอกับน้องอีกคนชื่ออะไรจำไม่ได้แล้วที่ถนัดงานด้านนี้ ความสามรถพอๆ กัน  การศึกษา ทักษะการพูด การเขียนภาษาอังกฤษเก่งมาก ๆ เลยทั้งสองคน  มนุษย์สัมพันธ์ไม่ต้องพูดถึง คุยเก่ง ยิ้มแย้มทั้งสองคน หน้าตาก็น่ารักทั้งคู่  แต่ผมสังเกตหัวหน้ามักจะเลือกให้น้องเอทำงานที่อ๊อฟฟิส คอยเก็บข้อมูล คอยรีไรท์ข่าว ขณะที่น้องอีกคนได้วิ่งงานข้างนอกตลอดเวลา บางครั้งยังได้ไปทำข่าวที่ต่างประเทศเป็นประจำอีกด้วย   ใคร ๆ ก็ดูออกว่าน้องเอเขาดูน้อยใจอยู่ไม่น้อยในเรื่องนี้แต่น้องเอมีความอดทน ใจภายในมี critical mass แต่ไม่เคยแสดงออก critical mass ภายนอกให้เห้นเลย นี่ต้องยกย่องในความมีขันติของเธอ
   
   ผมสงสัยว่าทำไมหัวหน้าถึงตัดสินใจอย่างนี้ เขาน่าจะมีเหตุผลที่อธิบายได้ บางทีเขาอาจแอบชอบน้องคนนั้นอยู่หรือปล่าว เลยอยากอยู่ใกล้ ๆ  บางทีหัวหน้าอาจจะเอาเหรียญปั่นแปะแล้วเลือกหรือปล่าว เป็นไปไมได้ หรือว่า  น้องอีกคนปากเหม็น  คิดไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ ก็หาสาเหตุไมได้สักที  หรือเป้นเพราะโชค?

   จนวันหนึ่งครับ ในห้องกาแฟ ผมได้ยินน้องคนนั้นคุยกับน้องเอ  ก็ถึงบางอ้อเลย

   ฉันพิมพ์ดีดไม่เก่ง ฉันขอโทษนะ
   
   เรื่องจริงคือ.ในวันอาทิตย์ที่ผมมานั่งพิมพ์งานก่อนวันหยุดคริสมาสในปีที่แล้ว เธอพิมพ์เร็วกว่าผมซะอีก  แต่ก็แปลกนั่นเป็นครั้งเดียวที่ผมเคยเห้นเธอพิมพ์ และคนอื่นก้เชื่อว่าเธอพิมพ์ดดีดไม่คล่อง  และนั่นและครับคือตัวแปรสำคัญ  ได้ยินจบ ผมร้องอ๋อ เลย เรื่องนี้เกี่ยวกับเศรษศาสตร์  หัวข้อทฤษฎีเกม และเป้นเรื่องที่ผมชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่งซะด้วย แต่ดันคิดไม่ออกตั้งแต่แรก จริงๆ  ตัวเราใช้บ่อยซะด้วย แต่ใช้บนเครื่องบินครับ

  ท่านสุมาอี้ท่านเขียนหนังสือเอาไว้

 *** ทฤษฎีเกม (Game Theory) คือทฤษฎีที่พูดถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการแย่งชิงผลประโยชน์และวิเคราะห์หากลยุทธ์ที่ดีที่สุดภายใต้สถานการณ์นั้นๆ ทฤษฎีเกมถูกสร้างขึ้นโดย จอห์น วอน นิวแมน ยอดอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 และถูกนำมาพัฒนาต่อยอดโดย จอห์น แนช เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 1994
=======
A Beautiful Mind ภาพยนตร์ดรามาที่สื่อถึงความเป็นมนุษย์ เกี่ยวกับอัจฉริยะบุคคลผู้หนึ่งของโลก ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวประวัติของ จอห์น  แนช



  อาหารบนเครื่องบิน รสชาติ  ทั้งจืด ทั้งเย็น บางครั้งอยากจะเอาน้ำปลา มะนาว กะปิ หล้าร้า อะไรก็ได้ ให้มันมีรสอะไรสักอย่างก็ได้บีบลงไปให้มันรุ้แล้วรู้แล้วรอด หรือว่า ลิ้นคนไทยอย่างผม มันเคลือบสารปรุงแต่งต่างๆ จนชินลิ้นไปหมดแล้ว โดยเฉพาะผงชูรสนี่ อาหารตามร้านใส่หมดแถบทุกร้าน
จะว่าสายการบินเขาต้องการประหยัดค่าอาหาร เอาอะไรถูก ๆ มาบริการให้เรากิน   มันก็ไม่ใช่  อาหารบนเครืองดูดีนะครับ ดูราคาแพง แต่กินแล้วรสชาติมันราคาถูก เรื่องนี่บ่นไปก็ใช่เรื่อง  เห็นจะเข้าทางสุภาษิตฝรั่งที่ว่า ถ้ามีใจพอให้ทุกคน สุดท้ายจะไม่มีใครพอใจ

   ถ้าถึงเวลาเสริฟอาหารเมื่อใด ผมจะบอกแอร์ทุกครั้งว่า ผมเป็น มังสวิรัติ  ( คราวหน้าจะลองบอกว่าขออาหารโคเชอร์-อาหารของคนยิว)  ลองดุ ๆ ยังไม่เคยลอง  เหตุผลไม่มีอะไรมากครับ เราจำกัดตัวเอง เพื่อให้ได้มากกว่า

    เมื่อเราจำกัดขอบข่ายตัวเราเอง นั่นบอกว่าเราเป็นคนพิเศษ อาหารก็มักจะพิเศษตามไปด้วย ฮิฮิ  ไม่เชื่ออย่าหลบลุ่ครับ   โดยเฉพาะอาหารมังนี้ ผมจะบอกให้  ผลไม้เยอะกว่าปกติมาก ๆ   บางคนอาจไม่ชอบ แต่ผมชอบ เพราะกินอาหารประเภทเนื้อ ประเภทแป้งบนเครื่องทีไร แล้วท้องมันอืด อืดแล้วมันก็ชอบตด  อยากให้บนเครืองเขาสริฟแต่อาหารมัง จะได้ไม่เหม็นตดคนอื่น บางทีเหม็นมากๆ  นั่งข้าง ๆ กัน ดันตดไม่แจ้งให้ทราบ มีขยับก้นให้กลิ่นกระจายอีก

  ตัวเลือกในการกินยิ่งน้อยเท่าไร คุณภาพอาหารมักจะมากยิ่งขึ้น
 
   เรื่องนี้ ใช้อธิบายเรื่องน้องเอที่ทำงานเก่าผมได้เป๊ะเลย  น้องอีกคนทำตัวให้ยึดหยุ่นน้อยที่สุด โดยให้เหตุผลว่า พิมพ์ดีดไม่เก่ง  

   ใคร ๆ จึง ให้เธอไปทำข่าวงานข้างนอก  น้องคนนี้เหตุผลเยอะ  ช่วงมีข่าวที่ต้องทำกันจนดึก ตอนประชุมเอเชียนซัมมิท ต้องอยู่กันถึง 3-4 ทุ่ม เธอจะรีบบอกว่า  นัดกับหมดฟันไว้แล้ว เลือนไมได้ซะด้วย  สารพัดเหตุผลครับ ขอให้ได้งานสบายๆ เธอจะงัดมาหมด เรื่องกำจัดตัวเองไว้เฉพาะใน circle หรือ ข้ออ้าง   การขีดเส้นตัวเองให้แคบเหมือนน้องคนนี้ กลับเป้นการเพิ่มโอกาสให้เธอเพิ่มขึ้น

      แต่บางคนไม่ได้ขีด circle นี้ เอง แต่พ่อแม่ขีดให้..
ลุกสาวผมทั้งคู่   ที่บ้าน ตั้งแต่ ปู่ ย่า แฟน พี่เลี้ยง นี่ ขีดเส้น circle ที่ว่านี้ไว้ให้ลุกสาวคนเล้กตั้งแต่แรก  คนโตเลยต้องยอมเสียเปรียบคนเล้กตลอด   แล้วบางครั้งเขาก้รับไม่ได้  เช่น คนโตเล่นอะไร คนเล้กก็จะไปแย่ง แล้วทุกคนก็จะบอกว่า ให้น้องไปเถอะ น้องยังเล้กอยู่  คนโตบางครั้งก็ไม่ยอม ก็เลยตีกันบ้านแตกเกิด critical mass เป็นประจำ  นี่เข้าข่าย ยิ่งคนโตถูกจำกัดความยุติธรรมน้อยเท่าไร เขาก็ยิ่งต่อต้านมากเท่านั้น  

  หนึ่งในอคติใน misjudgement ที่เป้นต้นเหตุของความสัมพันธ์เชิงสะท้อนกลับจนเกิด critical mass


  มีโอกาสกลับมาเมืองไทยคราวหน้า คงได้คุยกับคุณหมอนุ่นใหม่ครับ ขอบคุณพี่หมอ PP อีกครั้ง

    แวะทักทายพี่โจ สวัสดีครับพี่  พี่คนนี้ เป้นผู้มีพระคุณกับกระผมอย่างสูงครับ
     แวะทักทายพี่มน พี่ที่มีความเมตตาสูงที่ผมคิดถึงเสมอ

   ใจ เจียน ------สวัสดีครับ
PP
Verified User
โพสต์: 435
ผู้ติดตาม: 1

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 67

โพสต์

humdrum เขียน:ขอบคุณพี่หมอ PP ครับ นาน ๆ จะมีเรื่องแรบไบมังเกอร์ให้อ่าน
........................................................................
.....................................................
หวัดดีครับ ดร.โหน่ง, ถึงว่าไม่เห็นโพสต์มาที่ ThaiVI ตั้งนานแสนนาน......เพราะหลบเร้นกายไปฝึกลมปรานในต่างแดนนี่เอง  อย่างไรก็ตามในยุคโลกไร้พรมแดนอย่างนี้อยู่มุมไหนของโลก ดร.โหน่งก็สามารถเข้ามาให้ความรู้ส่งข้อมูลเด็ดๆมาให้สมาชิก ThaiVI ไว้ประเทืองปัญญาอย่างก่อนเก่าแค่ปลายนิ้วสัมผัสเอง ......จะเยี่ยมมากครับ

ทั้ง Influence: The Psychology of Persuasion  ของ Robert B. Cialdini และ บทความ psychology of misjudgement  โดยท่าน มังเกอร์  ผมเคยอ่านแล้วเหมือนกัน แต่ต้องวนเวียนอ่านตั้งหลายๆรอบกว่าจะเข้าใจได้

ไม่ทราบ ดร.โหน่งได้อ่านหนังสือ ชื่ออะไรจำไม่ได้ ราวๆ Darwin to Munger หรืออะไรทำนองนั้น  อยากให้เกริ่นนำหน่อยว่าเขาพูดถึงอะไรในหนังสือดังกล่าว   ผมว่าจะเสาะหามาอ่านสักหน่อย ไม่ทราบว่าคุ้มค่าต่อการเสียเวลาพยายามแกะ แงะเนื้อหาเพื่อทำความเข้าใจหรือเปล่า  ขอบคุณล่วงหน้าครับ
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 68

โพสต์

สุดยอดดด ขอบคุณครับ บทความดีๆๆๆ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
marcrossz
Verified User
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 69

โพสต์

GrandSlam เขียน:เมื่อไหร่ที่ชาร์ลีคิดในสิ่งใด เขามักจะคิดในทางตรงกันข้าม เช่น เมื่อเขาอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุขชาร์ลีจะศึกษาว่าทำอย่างไรชีวิตถึงจะทุกข์ เมื่อเขาจะเรียนรู้วิธีจะทำให้ธุรกิจยิ่งใหญ่และเข้มแข็ง เขาจะเริ่มศึกษาวิธีทำอย่างไรให้ธุรกิจตกต่ำและจบลง หลายคนศึกษาวิธีที่จะประสบความสำเร็จจากตลาดหุ้น แต่ชาร์ลีจะศึกษาว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงได้ล้มเหลวจากตลาดหุ้น วิธีการคิดอย่างนี้ได้รับมาจากปรัชญาของชาวนาที่กล่าวว่า ฉันอยากรู้ว่าฉันจะตายอย่างไร เพื่อที่ฉันจะได้ไม่ไปที่นั่น

ชาร์ลียังคงรวบรวมและวิจัยความล้มเหลวของแต่ละคน ธุรกิจ รัฐบาล และการศึกษา อย่างสม่ำเสมอ จากนั้นจึงเรียบเรียงสาเหตุเพื่อนำไปสู่รายการเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้อง ด้วยวิธีนี้ เขาสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ได้ในชีวิตและการทำงาน สิ่งนี้ไม่ได้เน้นย้ำมากนักในความสำเร็จของบัฟเฟตและ Berkshire Hathaway ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ปู่ชาลีทำ มันสนใจมากครับ เพราะทุกอย่างในชีวิตล้วนเกิดจากมนุษย์ หากมนุษย์ย่อมไม่รู้จักมนุษย์ มนุษย์ผู้นั่นย่อมหาคุณค่าไม่
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ผมว่า link ของ blog นีเจ๋งไปเลยครับ

http://valueinvestingworld.blogspot.com ... chool.html

มีอะไรๆให้อ่านเพียบเลยครับ

ส่วนอันนี้เป็นหนังสือที่ อ.มังเจอร์ แนะนำครับ

http://www.amazon.com/Books-Recommended ... 7BNI47VM8O

เล่มที่พี่ pp กล่าวถึงน่าจะหมายถึงเล่มนี้นะครับ

Seeking Wisdom: From Darwin to Munger, 3rd Edition by Peter Bevelin

ส่วน link นี้เป็น Facebook ของผู้เขียน snow ball ครับ
Alice Schroeder

http://www.facebook.com/authoraliceschroeder?v=wall

ผมไม่แน่ใจว่า นักเขียนเค้ามีปัญหากับผู้บริหารทั้ง 2 ของ Berkshire อย่างไรนะครับ
เหมือนเคยอ่านผ่านๆว่า หลังจากเขียนเล่มนี้แล้ว เค้าไม่คุยกันอีกเลย
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 71

โพสต์

ขอบคุณพี่โหน่งมากๆนะครับผม
บุญรักษาครับพี่ครับ  :D
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 72

โพสต์

noooon010 เขียน:ผมว่า link ของ blog นีเจ๋งไปเลยครับ

http://valueinvestingworld.blogspot.com ... chool.html

มีอะไรๆให้อ่านเพียบเลยครับ
อันนี้เป็นหนึ่งใน link ที่อยู่ด้านขวามือครับ

http://www.tilsonfunds.com/MungerUCSBspeech.pdf

มีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 73

โพสต์

หมอนุ่นตอบพี่หมอพีพีแล้วนะครับ
  เนื้อหาใน seeking wisdom นั้น เขาออกนอกอคติตัวเอง ไปหาอคติข้างนอก ในพิสิก ในเลข ในการลงทุน ในวิชาต่างๆ ในหัวข้อความรู้ต่างๆ  ถ้าเรามีการรับรู้ที่ตั้งอยู๋บนสติตลอดเวลาแล้ว ทุกอย่างที่เราสัมผัสในโลกนี้ ก็ล้วนมีอคติในสิ่งนั้นทั้งหมดครับ

     การอ่านหนังสือเล่มนี้ เป้นคู่มือที่จดความผิดพลาดของคนใน wisdom สิ่งต่างๆ เอาไว้ ผมกลับมาอ่านเหมือนดิกชั่นนารี่ แต่หลังๆ อ่านไม่บ่อยแล้วครับ เอามาดูว่าการรับรู้ที่ผิด ๆนั้น มีที่ใดบ้างครับ เพราะมันอาจกลายเป้น critical mass ได้ตลอดครับ

 เวบลิงที่คุณหมอนุ่นแนะนำ

    ที่ USC ผมอ่านจากเนตหลายปีแล้ว ปีนี้มีใน youtube แต่ปีที่พูดไม่ตรงกัน  มาอ่านอีกครั้ง  ตอนนั้นใช้ตาอ่านอย่างเดียว แต่ไม่เคยใช้หู

     ผมจะเล่าให้ฟังครับว่าไปได้วิชาจากคนยิวที่กวางโจวอะไรบ้าง  เพื่อนคนยิวที่กวางโจว เวลาเขาหนังสือ นอกจากใช้ตาอ่านแล้ว เขาใช้อายตยนะทุกส่วน ตา หู จมูก ปาก กาย ใจ  ถ้าถามผม  ผมเฝ้าระวังสิ่งเหล่านี้ไมไห้เกิดการรับรู้ที่ผิดพลาด ซึ่งเป้นที่ทราบว่า อคติเป้นตัวกำหนดการรับรู้เหล่านั้น และการรับรู้ที่ผิดๆ จะเป้นต้นเหตุของความสัมพันเชิงสะท้อนกลับจนเกิด critical mass ในที่สุด  

    เรื่องเหล่านี้ พวกเขาทราบเป้นอย่างดีครับ   พอเสียงเข้าหู เราก็เสียงหนอ สิ่งที่เราใช้ในการรับรู้ พวกเขาทราบอย่างดี ผมไม่แปลกใจเลย  แต่พวกเขาไม่เพียงระวังอย่างดี  ยกตัวอย่างผมถือศีล 8 เพือฝึกตัวเองให้ลำบากขึ้นไปอีกนิด กินมังสวิรัติ
แต่พวกเขาถือ ศีล 613 ข้อ เรื่องการระวังมันต่างกันเลย ถ้าไปถือแบบเขา เราจะต้องมีสติตลอดเวลาเลย มันผิดไมได้ ผิดแล้วเสียกัน เพราะเขาสัญญากับพระเจ้า ความศัทธาต่อพระเจ้าเขายิ่งใหญ่มาก  ผมไม่เคยสัมผัสความศัทธาอย่างนี้ มันมุ่งมั่นและเอาจริง ตายเป้นตายเลยทีเดียว สักนิดพวกเขาก็ไม่ยอมผิดสัญญาอย่างเด็ดขาด  อย่าลืมนะครับว่าระบบทุนนิยมคนยิวเป็นคนสร้าง เขามีที่มาอย่างไร ได้ทราบจากปากคนยิวเอง การที่คนยิวฉลาดเป็นกรด ด้วยเกี่ยวข้องกับศีลที่เขายึดมั่น มีศีลแล้ว สติมันก็มา ด้วยการเฝ้าระวังตัวเองอย่างศัทธาที่เปี่ยมล้นกับพระเจ้าของพวกเขา มันคือรากฐานของการรับรู้ที่มีสติตลอดเวลา

   จำที่หมอพีพี่เขียนไว้ในบทความได้ไหมครับ พี่สาวหน้าตาดีจัดมานั่งใกล้อาจารย์มังเกอร์ แต่งตัวเปิดสุดๆ ตามองเห้นนมขาวๆ ที่ล้นออกมา กระโปรงสั้นเสมอจิ๋ม เวลฃามานั่งข้าง ๆ มันเปิดเห็นขาอ่อน แล้วสาวคนนั้นกะว่าเฮียมังเกอร์คนนี้ แกเป้นผูชาย อย่างไรก็ต้องหว่นไหวบ้าง  อาจารย์แกมีสติมาก ท่านระวังอายตยนะทั้ง 5 ของตัวเองดีอยู่แล้ว ตอบไปคำเดียว

    ความมีเหตและผล  

    คือแยกอารมณ์ออกจากการรับรู้

     การคิดแบบแรบไบมังเกอร์เรื่อง fallibility นั้นเป้นการมองเฝ้าระวังสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์นั่นเองครับ คื้อระวังว่าอะไรทำให้เขาพลาดได้  

   เรื่องนี้คนนิวเขาทำกันมานานมากแล้วครับ อย่าลืมนะครับ Munger กับ Buffett มีความสนิทสนมกับกลุ่มคนยิวมากขนาดไหน อาจารย์แกรมท่านก็เป็นคนยิว ทั้งมังเกอร์และบัฟเฟตโตมาในชุมชนที่ใกล้คนยิว  ที่ Columbia University มีแต่คนยิวเรียน คนยิวสอน วันเกี่ยวกับศาสนายิว มหาลัยจะปิด มีไม่กี่แห่งในอเมริกาที่ปิดในวันศาสนายิวครับ

  เรื่อง fallibility การมองความล้มเหลว  แรบไบ Soros พุดมาตั้งนานแล้วครับ  ท่านได้มาจากอาจารย์ท่าน Karl Popper  ครับ ท่านเป้นคนยิวครับ  คนยิวจ้องหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ คอยจับผิดตัวเอง จ้องมาเป้นพันปี เพราะต้องดิ้นรนจากการถูกทำลายจากชนชาติอิ่น  แต่ไม่น่าเชื่อ เขาพัฒนาอายตยนะมากกว่าพวกเราไปมากทีเดียว เขาเอามันไปใช้เป็นประโยชน์ในการค้าขายและทุกอย่างในชีวิต อย่าลืมนะครับ พวกเขาทำเพื่อความอยู่รอดของชนเผ่าของพวกเขา

    ยกตัวอย่าง ถ้าเราอ่านหนังสือ อ่าน speech ของอาจารย์ ผมอ่าน ว่างๆ หยิวมาอ่าน เขาอ่านแล้ว เขาบอก คนยิวรู้หมดแล้ว  แต่ทำไมเราใช้แต่ตา  ส่วนอื่นเราไมได้ใช้ หูทำไมไม่ไช้ แล้วลิ้นไมได้ใช้อ่านหนังสือ แล้วใจละ  ทำไมไม่อ่านไปด้วย เอาอายตายนะที่เหลือไปไหน ในเมื่ออายตยนะต่างๆ พวกเขาก็ใช้ในการรับรู้ได้ทั้งหมด

      เสียดายผมไม่มีเวลาเล่าแล้ว

  คิดถึงตอนอ่านพระเจ้ามิลินคุยกับท่านอายุบาล เรื่องปัญหาจิตต่างๆ ที่ท่านถามพระเถระ เป็นคำถามที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับจิตทั้งนั้น ผมไม่แปลกใจเลย ถ้าที่ปรีกษาของท่านจะมาจากคนยิวที่นั่งอยู่รายล้อมท่าน

  สวัสดีครับ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 74

โพสต์

หมอนุ่นตอบพี่หมอพีพีแล้วนะครับ
  เนื้อหาใน seeking wisdom นั้น เขาออกนอกอคติตัวเอง ไปหาอคติข้างนอก ในพิสิก ในเลข ในการลงทุน ในวิชาต่างๆ ในหัวข้อความรู้ต่างๆ  ถ้าเรามีการรับรู้ที่ตั้งอยู๋บนสติตลอดเวลาแล้ว ทุกอย่างที่เราสัมผัสในโลกนี้ ก็ล้วนมีอคติในสิ่งนั้นทั้งหมดครับ

     การอ่านหนังสือเล่มนี้ เป้นคู่มือที่จดความผิดพลาดของคนใน wisdom สิ่งต่างๆ เอาไว้ ผมกลับมาอ่านเหมือนดิกชั่นนารี่ แต่หลังๆ อ่านไม่บ่อยแล้วครับ เอามาดูว่าการรับรู้ที่ผิด ๆนั้น มีที่ใดบ้างครับ เพราะมันอาจกลายเป้น critical mass ได้ตลอดครับ

 เวบลิงที่คุณหมอนุ่นแนะนำ

    ที่ USC ผมอ่านจากเนตหลายปีแล้ว ปีนี้มีใน youtube แต่ปีที่พูดไม่ตรงกัน  มาอ่านอีกครั้ง  ตอนนั้นใช้ตาอ่านอย่างเดียว แต่ไม่เคยใช้หู

     ผมจะเล่าให้ฟังครับว่าไปได้วิชาจากคนยิวที่กวางโจวอะไรบ้าง  เพื่อนคนยิวที่กวางโจว เวลาเขาหนังสือ นอกจากใช้ตาอ่านแล้ว เขาใช้อายตยนะทุกส่วน ตา หู จมูก ปาก กาย ใจ  ถ้าถามผม  ผมเฝ้าระวังสิ่งเหล่านี้ไมไห้เกิดการรับรู้ที่ผิดพลาด ซึ่งเป้นที่ทราบว่า อคติเป้นตัวกำหนดการรับรู้เหล่านั้น และการรับรู้ที่ผิดๆ จะเป้นต้นเหตุของความสัมพันเชิงสะท้อนกลับจนเกิด critical mass ในที่สุด  

    เรื่องเหล่านี้ พวกเขาทราบเป้นอย่างดีครับ   พอเสียงเข้าหู เราก็เสียงหนอ สิ่งที่เราใช้ในการรับรู้ พวกเขาทราบอย่างดี ผมไม่แปลกใจเลย  แต่พวกเขาไม่เพียงระวังอย่างดี  ยกตัวอย่างผมถือศีล 8 เพือฝึกตัวเองให้ลำบากขึ้นไปอีกนิด กินมังสวิรัติ
แต่พวกเขาถือ ศีล 613 ข้อ เรื่องการระวังมันต่างกันเลย ถ้าไปถือแบบเขา เราจะต้องมีสติตลอดเวลาเลย มันผิดไมได้ ผิดแล้วเสียกัน เพราะเขาสัญญากับพระเจ้า ความศัทธาต่อพระเจ้าเขายิ่งใหญ่มาก  ผมไม่เคยสัมผัสความศัทธาอย่างนี้ มันมุ่งมั่นและเอาจริง ตายเป้นตายเลยทีเดียว สักนิดพวกเขาก็ไม่ยอมผิดสัญญาอย่างเด็ดขาด  อย่าลืมนะครับว่าระบบทุนนิยมคนยิวเป็นคนสร้าง เขามีที่มาอย่างไร ได้ทราบจากปากคนยิวเอง การที่คนยิวฉลาดเป็นกรด ด้วยเกี่ยวข้องกับศีลที่เขายึดมั่น มีศีลแล้ว สติมันก็มา ด้วยการเฝ้าระวังตัวเองอย่างศัทธาที่เปี่ยมล้นกับพระเจ้าของพวกเขา มันคือรากฐานของการรับรู้ที่มีสติตลอดเวลา

   จำที่หมอพีพี่เขียนไว้ในบทความได้ไหมครับ พี่สาวหน้าตาดีจัดมานั่งใกล้อาจารย์มังเกอร์ แต่งตัวเปิดสุดๆ ตามองเห้นนมขาวๆ ที่ล้นออกมา กระโปรงสั้นเสมอจิ๋ม เวลฃามานั่งข้าง ๆ มันเปิดเห็นขาอ่อน แล้วสาวคนนั้นกะว่าเฮียมังเกอร์คนนี้ แกเป้นผูชาย อย่างไรก็ต้องหว่นไหวบ้าง  อาจารย์แกมีสติมาก ท่านระวังอายตยนะทั้ง 5 ของตัวเองดีอยู่แล้ว ตอบไปคำเดียว

    ความมีเหตและผล  

    คือแยกอารมณ์ออกจากการรับรู้

     การคิดแบบแรบไบมังเกอร์เรื่อง fallibility นั้นเป้นการมองเฝ้าระวังสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์นั่นเองครับ คื้อระวังว่าอะไรทำให้เขาพลาดได้  

   เรื่องนี้คนนิวเขาทำกันมานานมากแล้วครับ อย่าลืมนะครับ Munger กับ Buffett มีความสนิทสนมกับกลุ่มคนยิวมากขนาดไหน อาจารย์แกรมท่านก็เป็นคนยิว ทั้งมังเกอร์และบัฟเฟตโตมาในชุมชนที่ใกล้คนยิว  ที่ Columbia University มีแต่คนยิวเรียน คนยิวสอน วันเกี่ยวกับศาสนายิว มหาลัยจะปิด มีไม่กี่แห่งในอเมริกาที่ปิดในวันศาสนายิวครับ

  เรื่อง fallibility การมองความล้มเหลว  แรบไบ Soros พุดมาตั้งนานแล้วครับ  ท่านได้มาจากอาจารย์ท่าน Karl Popper  ครับ ท่านเป้นคนยิวครับ  คนยิวจ้องหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ คอยจับผิดตัวเอง จ้องมาเป้นพันปี เพราะต้องดิ้นรนจากการถูกทำลายจากชนชาติอิ่น  แต่ไม่น่าเชื่อ เขาพัฒนาอายตยนะมากกว่าพวกเราไปมากทีเดียว เขาเอามันไปใช้เป็นประโยชน์ในการค้าขายและทุกอย่างในชีวิต อย่าลืมนะครับ พวกเขาทำเพื่อความอยู่รอดของชนเผ่าของพวกเขา

    ยกตัวอย่าง ถ้าเราอ่านหนังสือ อ่าน speech ของอาจารย์ ผมอ่าน ว่างๆ หยิวมาอ่าน เขาอ่านแล้ว เขาบอก คนยิวรู้หมดแล้ว  แต่ทำไมเราใช้แต่ตา  ส่วนอื่นเราไมได้ใช้ หูทำไมไม่ไช้ แล้วลิ้นไมได้ใช้อ่านหนังสือ แล้วใจละ  ทำไมไม่อ่านไปด้วย เอาอายตายนะที่เหลือไปไหน ในเมื่ออายตยนะต่างๆ พวกเขาก็ใช้ในการรับรู้ได้ทั้งหมด

         คิดถึงตอนอ่านพระเจ้ามิลินคุยกับท่านอายุบาล เรื่องปัญหาจิตต่างๆ ที่ท่านถามพระเถระ เป็นคำถามที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับจิตทั้งนั้น ผมไม่แปลกใจเลย ถ้าที่ปรีกษาของท่านจะมาจากคนยิวที่นั่งอยู่รายล้อมท่าน

   เสียดายผมไม่มีเวลาเล่าแล้ว  สวัสดีครับ
PP
Verified User
โพสต์: 435
ผู้ติดตาม: 1

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 75

โพสต์

noooon010 เขียน:.........................................................................................................................................................................................
เล่มที่พี่ pp กล่าวถึงน่าจะหมายถึงเล่มนี้นะครับ

Seeking Wisdom: From Darwin to Munger, 3rd Edition by Peter Bevelin
ใช่เลยครับคุณ noooon010   ขอบคุณที่หาข้อมูลมาให้
noooon010 เขียน: ส่วน link นี้เป็น Facebook ของผู้เขียน snow ball ครับ
Alice Schroeder

http://www.facebook.com/authoraliceschroeder?v=wall

ผมไม่แน่ใจว่า นักเขียนเค้ามีปัญหากับผู้บริหารทั้ง 2 ของ Berkshire อย่างไรนะครับ
เหมือนเคยอ่านผ่านๆว่า หลังจากเขียนเล่มนี้แล้ว เค้าไม่คุยกันอีกเลย
เท่าที่รู้จากบรรดาสาวก Buffett ในอเมริกาพูดคุยกัน เห็นบอกว่าเนื้อหาในThe Snowball ทำเอา Buffett เคืองอย่างสุดประมาณเพราะค่อนไปในทางขุดคุ้ยเจาะลึกเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของ Buffett แบบสุดๆเป็นเสียส่วนใหญ่ .....แทนที่จะเป็นเรื่องราวของปรัชญาขบวนการการลงทุนอันล้ำลึกสุดประมาณและความเป็นมาของ Berkshire Hathaway จนประสบความสำเร็จมหาศาล ทั้งๆที่ Buffett ให้โอกาสใกล้ชิดซักถามเสาะหาข้อมูลจากทั้งตัว Buffettเองโดยตรง และวงศาคณาญาติตลอดจนเพื่อนสนิทมิตรสหายของ Buffettอีกมากหน้าหลายตา แบบที่ไม่เคยให้โอกาสแก่ผู้ใดมาก่อนเพื่อเขียน Biography ของ Buffett ทำเอาผู้คนที่ตั้งตารอคอยหนังสือเล่มนี้คลอดออกมานานแสนนานผิดหวังไปตามๆกัน
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
PP
Verified User
โพสต์: 435
ผู้ติดตาม: 1

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 76

โพสต์

humdrum เขียน:หมอนุ่นตอบพี่หมอพีพีแล้วนะครับ
  เนื้อหาใน seeking wisdom นั้น เขาออกนอกอคติตัวเอง ไปหาอคติข้างนอก ในพิสิก ในเลข ในการลงทุน ในวิชาต่างๆ ในหัวข้อความรู้ต่างๆ  ถ้าเรามีการรับรู้ที่ตั้งอยู๋บนสติตลอดเวลาแล้ว ทุกอย่างที่เราสัมผัสในโลกนี้ ก็ล้วนมีอคติในสิ่งนั้นทั้งหมดครับ

     การอ่านหนังสือเล่มนี้ เป้นคู่มือที่จดความผิดพลาดของคนใน wisdom สิ่งต่างๆ เอาไว้ ผมกลับมาอ่านเหมือนดิกชั่นนารี่ แต่หลังๆ อ่านไม่บ่อยแล้วครับ เอามาดูว่าการรับรู้ที่ผิด ๆนั้น มีที่ใดบ้างครับ เพราะมันอาจกลายเป้น critical mass ได้ตลอดครับ
.................................................................................
 .......................
ขอบคุณครับ ดร.โหน่ง สำหรับคำเกริ่นนำของ Seeking Wisdom   .......อ๋อ เป็นหลักการทางศาสนาเหมือนศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับ สติ การไม่ยึดตัวกู ของกู  เหรอ!  เพียงแต่ไม่เน้นการไปสู่มรรคผลนิพพานอย่างพุทธ    น่าสนใจๆ ......ผมต้องหามาอ่านดูบ้างล่ะ
"The man who doesn't read has no advantage over the man who cannot read." Mark Twain
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 77

โพสต์

เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณนะครับผม :D
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 78

โพสต์

เช้านี้ผมต้องดเนทางแล้ว
เอาบทความเก่า ๆ ผมฝากพี่หมอพีพีครับ
มันเก่ามาก แต่พอมีสาระอยู๋บ้าง
โชคดีครับพี่

................................

 
วันนี้ อากาศดีจริง ๆครับ
 ถือเป้นฤกษ์์งามยามดีที่จะเริ่มสิ่งใหม่่ ๆ ที่ดีงามในชีวิต
 ผมขอพูดเรื่องแรกเกี่ยวกับเรื่อง "จิตวิทยา" ก่อนก็แล้วกันครับ
 เพราะสำคัญที่สุดก่อนเรื่องใด

 ----

Psychology of misjudgement
"เหตแห่งความล้มเหลว"

 ขอเริ่มด้วยกลอนครับ.....

บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว .......................... สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ........................................ ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ .................................... มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ................................. ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน ..................................... บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน ...................................... เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ ..................................... ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา .................................................... รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
จงสู้ตามไปเอาไม้เท้าเถิด ....................................... จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี
พอเสร็จคำสำแดงแจ้งคดี ...................................... รูปโยคีหายวับไปกับตา
 
     สองวรรคที่ว่า เป็นบทกลอนตอนที่พระฤๅษีสอนสุดสาครครับ
เรื่องมีอยู่ว่า สุดสาครกับม้านิลมังกร เมื่อออกจากเกาะแก้วพิสดาร ว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรมาแล้ว
ได้พบกับชีเปลือย ซึ่งหลอกสุดสาครว่าตนเป็นผู้วิเศษ สุดสาครหลงเชื่อ ชีเปลือยอยากได้ไม้เท้าวิเศษกับม้านิลมังกร จึงหลอกสุดสาครว่าจะพาไปสอนเวทมนต์ แล้วพาสุดสาครไปถึงขอบเหว เมื่อชี้ให้สุดสาครชะเง้อมองในเหว ก็ผลักสุดสาครตกลงไป ชิงเอาไม้เท้าวิเศษไว้ ม้านิลมังกรจะขัดขืน แต่สู้กำลังไม้เท้าวิเศษไม่ไหว จำต้องให้ชีเปลือยขี่หลังไปยังเมืองการเวก

   
     เริ่มแปลกครับวันนี้ ขี้นมากลอนเรื่องพระอภัยมณีเลย
พอคิดถึงถึงเรื่อง จิตวทิยา ผมมักนึกถึงเรื่อง จิตใจของคนเสมอ และพอนึกถึงจิตใจคน
ผมก็นึกถึงตอนนี้เสมอ เพราะสุดสาครไป "หลงเชื่อ"  จึึงเกิดเรืองผิดพลาดขึ้น
   
        ยังนี้ต้องขอยืมคำ ดร.แบงค์ ที่บอกว่า

"รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้.....555555"      

  ในชีวิต นักลงทุน พวกเราก็ไม่ต่างอะไรจากสุดสาคร
 ช่วงนี้เปรียบดัง่เรากำลังว่ายน้ำข้ามส่วนที่ลึกที่สุดมหาสมุทร
 แต่เราก้ว่ายข้ามส่วนที่ลึกที่สุดของจิตใจเราด้วย

  ในปี 1960 นั้น นายแฮรี่ เฮสนั้น ค้นพบส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรที่ชื่อว่า "มาเรียนาเทรน"  
  ผมไม่แน่ใจว่า ส่วนที่ลึกที่สุดของจิตใจคนนั้น เรียกว่าอะไร ใครเป้นคนพบ
    "ทัศนคติ" หรือปล่าว หรือว่า "กิเลศ"
    แล้วมันลึกขนาดไหน???

  แต่ มาเรียนาเทรนนั้น ลึกลงไปกว่า 11 กิโลเมตร ต้องใช้เวลา 4 ชั่วโมง และมีความดันสูงถึง
17000 ปอน/ตารางนิ้ว แต่ในทีลงไปใต้ทะเล ก็ต้องแปลกใจเมื่อพบว่า
ไปรบกวน "ปลาตัวแบน" ที่อาศัยอยู่ก้นเหว เสียดายไม่อุปกรณ์ถ่ายภาพ จึงไม่มีบันทึกภาพเหตุการณอยู่เลย

  สี่สิบกว่าปีผ่านมา คำถามที่เกิดขึ้น ทำไมจึงไม่ีใครกลับลงไที่นั่นอีกเลย???
 แล้วเรากลับลงไปส่วนที่ลึกที่สุดของจิตใจเรา ครั้งสุดท้ายเมือ่ไหร่ครับ???

พวกเรารู้น้อยมากกว่ามีอะไรอยู่ข้างล่างนั้น
ถ้าไม่ใช่ ซิกมัน ฟรอยด์ (ที่เป็นคนยิวอีกเช่นเคยครับ)  เราคงไม่มีแผนที่ทางจิตที่ดีที่สุดที่นักจิตวิทยาจะหาได้
โดยแท้จริงแล้ว มันก็คือ มหาสมุทรที่เกิดจากการคาดคะเนนั่นเอง
แผนที่ดาวอังคารที่เรามีนั้น ยังดีกว่าแผนที่ใต้จิตใจเราซะอีก

    ในช่วงชีวิตการลงทุนแรก ๆ ของแรบไบมังเกอร์นั้น
 แรบไบมังเกอร์ได้ดำลงไปส่วนที่ลึกของจิตใจตัวเอง แล้วทำแผนที่ส่วนที่ลึกที่สุดของจิตใจของเขาเองขึ้น เขาลงไปไขปริศนาใหญ่ข้อหนึ่งในทางจิตวิทยา ซึ่งหลายคนไม่เคยตะหนักว่ามันคือปริศนา
นั้นก้คือ เมื่อเวลาผ่านไป เหตุใดเขาจึงไม่ประสบความสำเร็จ
 ในโลกเรามีเงินอยุ่เป็นจำนวนมาก (มากพอขนาดที่จะกลบฝังแผ่นดินทั้งหมดบนโลกได้จนสูงถึง 50 ฟุต)  
 แล้วทำไมเขา (อาจารย์มังเกอร์) จึงไม่รวยขึ้น  มีบางอย่างดึงเอาเงินไปจากเขา เขาต้องใช้เวลานานมาก
กว่าที่จะรู้ว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 79

โพสต์

เหตุที่เป็นรั้งความสำเร็จเขาไว้ คือ "ทัศนคติ" ที่อยู่ในจิตใจของเขาเองครับ

   "By not relying o­n this misjudgement , and not understanding this, it was costing me a lot of money ....and  was reducing my ability to help everyone I loved."

                    Charlie Munger

   

    ฟังดุแล้ว อึ้งไปเหมือนกันนะครับ
 เรื่อง human misjudgement นี้ สำคัญกับแรบไบมังเกอร์มากนั้นขนาดนั้น

  นี่เทียบเท่าี่ความสำคัญ เท่ากับ เหตุการณ์ที่แรบไบบัฟเฟตตอนที่ค้นพบหนังสือ Intelligent Investor ของ อ.เบนจามิน แกรม เลยทีเดียว เพราะมันพลิกชีวิตของทั้งสองคนจากหน้ามือเป็นหลังมือ


    ผมหวนคิดถึงไปตอนเหตุการณ์เมื่อปี 1977 โน้น
 ตอนที่ที่นักธรณีวิทยาค้นพบปล่องภูเขาไฟใต้มหาสมุทร การค้นพบครั้งนั้นสำคัญมากทีเดียวครับ
มันไขปริศนาว่าเพราะเหตุใด ทำไมมหาสมุทรถึงไม่เค็มขึ้นเลย ทั้งๆ ที่ น้ำ้ระเหยตลอด
ตั้งแต่โลกของเรากำเนิดขี้นมา ตามหลักมันควรจะเค็มขึ้นเรื่อย ๆ มีบางอย่างสกัดเกลือออกไป

 การค้นพบนี้ทำให้มนุษย์ค้นพบว่าปล่องภูเขานี้ทำหน้าที่เหมือนแผ่นกรองในตู้ปลานั่นเอง
น้ำจะถูกดูดเข้าไปในปล่องลึกลงไปใต้โลก และเกลือจะถูกสกัดไปด้วยใต้เปลือกโลก
แต่ในที่สุดปล่องจะปล่อยแต่น้ำที่สะอาดที่ปราศจากเกลือออกมา

      เบื่องลึกที่สุดของมหาสมุทรได้รับการเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ใช้เป็นที่ทิ้ง "ถังกากกัมมันตรังสี" ครับ
   
   ผมหวังว่า เราคงไม่ทิ้ง "ถังกากทางอารมณ์"  ลงในเบื่องลึกที่สุดของจิตใจของเรา
ไม่อย่างนั้น "ความเค็ม" ของมันคงไม่หายไปไหน และมีแต่จะ "เค็ม"  ขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเราที่ก้าวต่อไปในชีวิต
   และเป้นการกระทำที่มักง่ายมาก ๆ เนื่องจาก "ถัง" ที่อยู๋ในส่วนที่ลึกของจิตใจเราเหล่านั้น
ก็ไม่ต่างอะไรจาก "ถัง" ที่เราเห็นถูกทิ้งให้ขึ้นสนิมอยู่หลังปั๊มน้ำมันหรือนอกโรงงานนั่นเอง
    แถมยังไม่มีีการบุถังไว้ "เพื่อความปลอดภัย" ขึ้นแต่อย่างใดอีกด้วย  

    ชีวิตเราเต็มไปด้วยการตัดสินใจต่างๆ มากมาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ตั้งแต่เรื่องเล้ก ถึง ใหญ่ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ไม่มากก็น้อย แต่บางครั้งเราก็ตัดสินใจผิดพลาดบ่อยๆ
เป็นเหตุให้ขาดทุนในตลาด และมาเฝ้้าเสียใจในภายหลัง
หรือว่าเราใส่ "ถัง" แล้วโยนมันลงไปเบื่องลึกที่สุดที่ไม่มีใครหาเจอ
แม้กระทั่งตัวเราเอง!!!



      แม้พวกเราจะรู้กระบวนการทางอารมณ์ที่ซ่อนอยู่เบื่องหลังการตัดสินใจของเราน้อยมาก
แต่โชคดีครับ ที่ี่แรบไบมังเกอร์ช่วยกันค้นพบกับนักจิตวิทยาที่ชื่อ Bob Cialdini (คนยิวอีกเช่นเคยครับ )  

   หลักการทางวิทยศาสตร์นี้ก็คือเรื่อง  "ต้นเหตุแห่งความล้มเหลว"  นั่นเองครับ
ที่เปรียบเสมือน "ไส้กรอง" ก่อนที่เราจะตัดสินใจผิดพลาด  และ ช่วยให้นักลงทุนอย่างเราตัดสินใจได้ดีขึ้น
ดั่งภูเขาไฟใต้ทะเลที "่กรองเกลือ" ไม่ให้น้ำทะเ้ค็มขึ้น ฉันใดฉันนั้น
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 80

โพสต์

สุดยอดเลยนะครับพี่โหน่ง ลำลึกมาก :D
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ขออนุญาติพี่หมอพีพีมาลงในนี้นะครับ เรื่องเกี่ยวกับอาจารย์มังเกอร์ที่ผูกพันธ์กันมาตลอดครับ  

Saimese Twin :psychology of human misjudgement and Reflexivity

     สวัสดีครับ  บทความนี้  ไม่ใช่จะใช้ประมวลข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ในตลาดที่เกิดขึ้นประจำวัน หรือใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการเทรดหุ้น แต่เป้นประสบการเฉพาะตนช่วงหนึ่ง  ในฐานะคนอ่านจากเรื่องใด  ย่อมต้องการความมีเหตุและผลที่ปราศจากอคติอย่างชิ้นเชิงหรือในระดับหนึ่งที่ยอมรับได้  
          ผู้เขียนพยายามนำเสนอบทความอย่างเป้นระบบ  แต่มันยากลำบากมาก  เหนืออคติอย่างนั้นหรือ  แต่คนอ่านที่ตั้งข้อสังเกตในขณะนี้   ล้วนเป็นเทรดเดอร์ในตลาดเช่นกัน ท่านจะวางตัวอยู่เหนืออคติเท่าที่จำเป้นได้หรือไม่  สำหรับคนนอกตลาด การวางตัวอยู่เหนืออคติเป้นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เพราะห่างไกลจากประสบการจริงๆ ในตลาด มีแต่คนที่อยู๋ในตลาดเท่านั้นที่ทราบได้ ผู้เขียนตั้งตนเขียนด้วยสมมุติฐานว่าตัวเองตัดสินใจเขียนด้วยความผิดในครั้งนี้    ผู้เขียนย่อมมีอคติถึงจะมาเขียน ระหว่าทีเขียนก็มีอคติที่ใช้ในการเขียน  ต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่านที่ไม่สามารถเขียนโดยปราศจากอคติได้ทั้งหมด  
   
    การอ่านแบบเดิม  เป็นการอ่านจากเนือเรื่อง แต่การอ่านบทความนี้ ท่านอาจต้องตั้งคำถามกับตัวเองมากกว่าตั้งคำถามกับผู้เขียน  แน่นอนว่า  ผู้อ่านย่อมมีความสนใจในคุณค่าของตนเอง แต่การสนใจตัวเอง มองตัวเองเป็นศูนย์กลางระหว่างการอ่าน  เป็นการถูกต้องหรือไม่ หรือว่า การตีความหมายสิ่งที่คนอ่านรับรู้ถูกกำนหนดโดยอคติจากตัวผู้อ่านเองที่เป็นฉากบังตาซ่อนอยู่ในช่องว่างของ reflexivity ขัดแย้งภายในซ่อนอยู่มานานแล้ว
 
       แต่โชคยังเข้าข้างที่ผู้เขียนหาวิธีจัดการกับความสามาถที่จะแยกตัวเองออกจากอัตตาความยึดมั่นในอคติตนเองในขอบเขตที่เป็นข้อจำกัดและพาตัวเองอยู่เหนืออคติตนเองจนเปลี่ยนแปลงตนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วยความพยายามที่จำเป็นอย่างมาก

        ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ชาลี มังเกอร์กล่าวว่าการค้นพบอคติตนเองเป็นสิ่งที่ท่านต่อต้านมาตลอด จนกระทั่งท่านถามตนเองว่าทำไมท่านถึงตัดสนใจในหลายๆ เรื่องจนเกิดความผิดพลาด ท่านนั่งค้นศึกษาอคติตัวเองเขียนออกมาชื่อ psychology of human misjudgement  จนท่านสามารถทำนายพฤติกรรมตนเองได้ ท่านกล่าวว่าภายในตนเองมีศักยภาพ 2 อย่างในตนเอง ทว่าอย่างไหนจะปรากฎออกมาขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเขา ว่าเขาตัดสินใจด้วยตนเอง หรือว่า ตัดสินใจด้วยอคติที่กำหนดชีวิตของเขามานาน

       ผมอ่านในบล๊อคท่านมัด ท่านมัดเคยแนะนำเรื่อง Revolver


http://www.youtube.com/watch?v=q3vM1PcrV0k

ผมนั่งดูพระเอกติดในลิฟแล้วเอาชนะตนเอง ดูแล้วถึงแม้ คนดูอาจไม่เข้าใจภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้ดี  หากแต่อันดับแรก เราไม่พยายามเข้าใจแต่ละองค์ประกอบแต่ละภาพย่อยของภาพยนต์แล้วมาปะติดปะต่อกัน
       
    เรื่องนี้เปลี่ยนความคิดที่ผมเอาชนะอคติตนเองอย่างสิ้นเชิง มันอธิบายสิ่งที่ผมทำผิดมาตลอดเพราะชอบเน้นย้ำโลกแห่งความสำเร็จค้นคว้าความรู้จากภายนอกเพียงด้านเดียวโดยไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์การค้นพบความรู้ตัวเองจากภายใน
       ในที่สุด ผมค้นพบและยอมรับอคติตนเองไว้ด้วยศรีษะที่เชิดสง่างาม
   
      Reflexivity เป้นวงจรอุบาทย์ ระหว่างที่อ่าน ท่านก็มี reflexivity เกิดในใจตลอดเวลา คติประโยคนี้แฝงไว้ด้วยความจริงสำหรับการเทรด ไม่ว่ารุปแบบใด ผู้อ่านจะได้ประจักษ์ว่าการเทรดในตลาดล้วน เป็นความตรึงเครียดระหว่างสิ่งที่คนอ่านทำได้สำเร็จกับสิ่งที่คนอ่านควรจะทำให้สำเร็จ  สำหรับผู้เขียนเอง reflexivity เป็นช่องว่างระหว่างสิ่งที่คนคนนหนึ่งเป็นอยู่กับสิ่งที่เขาคิดว่าเขาควรจะเป็น และดูเหมือนสภาพจิตใจของเทรดเดอร์จะแกว่งไกวไปมาตลอดเวลาระหว่างความสุดโต่ง /2 ขั้วนี้  
   
   ไม่เร็ว ไม่ช้า  ผ้เขียนสังเกตเพื่อนร่วมห้องคนจีนท่านหนึ่ง   มีอาการปั่นจิ้งหรีด อาการโพสลงในเวบบอร์ด  อาหารช๊อปปิ้ง อาการอยู่เฉยไมได้ในวันอาทิตย์ เมื่อไมได้อย่างใจหวัง ความวุ่นวายในใจและความว่างเปล่าในตัวเองจะแสดงออกมาอย่างเด่นชัด  ยังมีอคติทำหน้าที่เป็นฉากบังตาซ่อนอยู่ในความว่างเปล่าของ reflexivity  เมื่อเจตนาของคนติดขัดข้องเมื่อใด สิ่งนั้นจะถูกชดเชยด้วยการแสวงหาการยอมรับจากสังคมใน เนต หรือ รวมไปถึงการมุ่งแสวงหาเงินในตลาดเพื่อทดแทน ความพึงพอใจที่ติดขัดข้องใจ บางทีมักจบลงด้วยความต้องการทางเพศออกไปเที่ยวตามแหล่งจูเหมิน
      เพื่อนร่วมห้องของผมไม่ใช่คนป่วย แต่เขาเป็นโรค reflexivity symtoms
       การเติมช่องว่าง reflexivity ไม่มีวันเต็ม มีแต่ทำลายช่องว่างนี้ในช่วงขณะหนึ่งเท่านั้น
       กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในที่สุดคนเป้นผู้ลิขิตชีวิตตนเองได้หรือไม่  หรือว่าดวงดาวที่ห่างไหลจากโลกเป็นล้านปีแสงไกลโพ้นจะมากำหนดชีวิตเราได้อย่างไร  ทำไมดวงดาวเหล่านั้นจึงให้ความสำคัญกับเรานัก หรือว่าพวกมันหมุนรอบตัวเรา หรือว่าเรามีอคติให้พวกดวงดาวไว้หมุนรอบ ถ้าไม่มีอคติแล้วพวกมันจะหมุนรอบอะไร
         ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับการตะหนักถึงความไม่เที่ยง ตรงนั้นต่างหากที่สำคัญ
      วิธีกำจัดอาการข้างงนี้เคียงที่เกิดจาก reflexivity เป็นแก่นสาระสำคัญที่ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนขอตอบคำถาม แต่ละวัน แต่ละชั่วโมง การตั้งปุจฉากับตนเองว่า อคติเป็นต้นเหตุการตัดสินใจที่ผิดพลาดและเป็นต้นเหตุของภาพอีกด้านหนึ่งของช่อว่าง reflexivity ใช่หรือไม่
  ถ้าสมมุติมันใช่ เราจะแก้มันอย่างไร
      วิธีแก้ของผู้เขียน  invert always invert
       ทุกวันเหมือนได้ผ่านมาแล้ว ทุกวันเหมือนได้ทำผิดมาหมดเลย ปัจจุบันคืออดีตไปแล้ว เราจะใช้ชีวิตเหมือนเมื่อวานที่เราได้ผิดมาแล้ว คราวนี้เราจะแก้ไขอดีตของเราได้ เราจะกำหนดเองว่าเราจะเลือกทำผิดเหมือนเดิมหรือไม่ อดีตแก้ไขได้
            ยิ่งไม่คิดถึงตัวเอง ยิ่งตัดอคติออกไปหมด
       นี่คือคำตอบของข้าพเจ้า
         สิ่งที่เป้นธรรมชาติของคนคือความเครียด สุขภาพจิตจะดีขึ้นอยู่กับความเครียดในระดับหนึง ซึ่งมันเกิดขึ้นได้เพราะเราเปรียบเทียบจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่เราคิดว่าควรจะเกิด มันมีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างสองขั้วนี้ หรือเป้นช่องว่างที่คนคนนั้นเป้นอยู๋กับสิ่งที่คนคนนั้นควรจะเป้น
      ในตลาดหุ้นมีความวิตกกังวลแบบที่เรียกว่าอาการที่ชอบคาดการณ์ไปล่วงหน้า อาการวิตกกังวลเหล่านี้เป็นปัจจุยสำคัญที่ทำให้ตลาด ขึ้น/ลง เพราะตลาดตอบสนองต่อความกลัวโดยปราศจากเหตุและผลและเจ้าความกลัวในลักษณะอาการโรคประสาทของตลาด เป็นตัวกระตุ้นอาการดังกล่าว ซึ่งผลสะท้อนกลับของอาการดังกล่าวนี้ยิ่งตอกย้ำให้ตลาดเองมีความกลัวมากขึ้น
       งานนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  แต่ความอดกลั้นในหลายปีได้รับการแก้ไขในที่สุด   ผมเป็นคนเหงื่อเยอะ เวลาขึ้นรถไฟฟ้า ตัวมันจะเหม็น แล้วใครอยู่ใกล้ๆ เกรงใจเขา ยิ่งเป็นสาวๆ มายืนใกล้ๆ   งถ้าวันไหน มีธุระต้องขึ้น แต่ยังไม่ขึ้น  แค่คิดเวลาขึ้น อาการกลัวมันมาก่อน  เหงื่อมันออกมารอะ ยังไม่ได้ไปไหนเลย เหงิ่อมารอแล้ว ยิ่งไม่อยากให้ออก ยิ่งออก เราเจอเหตุการร์คล้ายๆ กันอย่างนี้ทุกคน แล้วแต่ว่าเราจะมีอาการประสาทในเรื่องอะไร แล้วการย้ำคิดย้ำทำสะท้อนกลับไปกลับมาอย่างนี้มันเกิดในตลาดหุ้นตลอดเวลา
  คำถามคือมันคืออาการของ reflexivity  symtoms ใช่หรือไม่
    Reflexivity จะเป้นสิ่งที่กำหนดว่า เราจะกลายเป้นเครื่องเล่นของอคติตนเอง ยอมละทิ้งอิสรภาพของความมีเหตุและผลในตัวเอง จากนั้นยอมให้อคติดังกล่าวหลอมกลืนตัวเราจนมีพฤติกรรมแบบเดียวกับนักลงทุนอื่นๆ ที่เห็นกันทั่วๆ ไป
    ผู้เขียนสามารถตอบคำถามข้างบนจากประสบการณ์ เช่นเดียวใช้หลักการ psychology of human misjudgement มาอธิบาย  
        เทรดเดอร์จะมีบุคคลิกอย่างไรเป็นผลมาจากอคติของคนคนนั้นที่กำหนดการตัดสินใจภายในจิตใจของของเขา หาใช่เป็นผลมาจากอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวไม่
     ความแตกต่างของการตะหนักถึงอคติตนเองนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าคนคนนั้นจะอยู่ในสงครามตลาดหุ้นได้นานแค่ไหน
        ถ้อยคำเหล่านี้ทำใหผู้เขียนคิดถึงเหตุการณ์หนึ่งอยู่บ่อยๆ  ที่อาจารย์โซรอสกว่าวถึงว่า  ถ้าราคาของในประเทศใดกำลังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจนนักลงทุนกลัวเงินเฟ้อในจะเกิดขึ้น    ทุกคนจะคาดการณืไปล่วงหน้า จนหมดศัทธาเงินในประเทศนั้น   พอขายเงินออกมามาก ๆ  แนวโน้มอย่างนี้จะพลักดันให้เกิดเงินเฟ้อในประเทศซ้ำเข้าไปอีก ดังนั้นจึงเป็นการตอกย้ำความถูกต้องของแนวโน้มการหมดความเชื่อถือของเงินที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรก
        กฏก็คือ  invert  always  invert
           เรื่องเหงื่อออก กลัวคนอื่นเหม็น คราวนี้พอขึ้นรถไฟ ผมก็คิดตรงข้ามทันที เปิดเผยเต็มที่ คือมีผ้าขนหนู แต่งตัวเป้นนักกีฬาเลย ทั้ง ๆที่ขอโทษนะครับ กรูรรไม่ได้เล่นอะไรมาเลย แต่เดินขึ้นบรรไดก้เหงือออกแล้ว คราวนี้โชวเต๋มที่ให้คนอื่นเห็นไปเลยว่าเราเหงื่อออกเยอะขนาดไหน แล้วต้องคิดถึงเรื่องตลกตลอดนะ มันไปด้วยกัน อย่างคิดว่าถ้าเหงื่อออกมาก ๆ คิดไปเลยว่าแม่มออกมามากขนาดนี้ ใส่ชุดว่ายน้ำไปเลยดีกว่า ผมเรียนรู้ที่จะหัวเราะเยอะตัวเองไปกับเรื่องเหล่านี้ไปเลย
       หยุด !!!!   วงจรอุบาทย์ reflexivity
       อีกเรื่องหนึ่งที่ตรึงผู้เขียนให้คิดถึงตลอด  
      ผมติดอ่างตอนเด้กจนถึง 10 ขวบ เชื่อไหมครับมีวันหนึ่งในชีวิตช่วงนั้นที่ผมพูดไม่ติดเลย คือ ไปงานวันเด็กแล้วเขาบอกว่าใครดูน่าสงสารที่สุดให้มารับสมุดได้ 2 เล่ม ผมติดอ่าง เลยเดินไปบอกเขาบอกว่า ผมน่าสงสารเพราะพูดติดอ่าง ไอ้เราเลยพยายามจะพุดติดอ่างให้เขาดู แต่พูดออกไปแล้ว มันพูดคล่องปื๋อเลย นี่ถ้าตั้งใจจะติดอ่างกลับไม่ติด ถ้าไม่มีความวิตกกังวลมารอข้างหน้านี่ มันหายนะครับ
 ใครไม่เคยมีประสบการณืเหล่านี้ .ยากที่จะเข้าใจ
ลองเอาเทคนิคนี้ไปทำตรงกันข้าม คิดตรงข้ามเสมอ มองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมอารมณ์ขันเข้าไว้ มันเป็นอุบายที่จะเอาตัวรอดในชีวิตและในตลาดหุ้นได้เป้นอย่างดีครับ เราจะได้ไม่ตกลงไปในกับดักของ reflexivity
  ป.ล. ถ้าไปโกรธใคร ก็ลองคิดดูว่า ถ้าเราเป็นเขา เราอยู๋ในเหตุการณ์อย่างนั้น เราจะทำอย่างนั้นไหม
    สิ่งที่ reflexivity สอนผมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การฝึกคิดแบบ invert แล้วผลพลอยได้ที่ได้รับเป้นกำไรต่อมาคือ เราจะเห็นเลยว่า ปัจจุบันก็คืออดีต
     แค่อยากเรียนรู้เรื่อง reflexivity ก็เป็นกำไรของชีวิตแล้ว แล้วกำไรหุ้นมันตามมาเอง
     คิดดูซิครับ!   กลับทุกอย่างเป็นตรงข้ามอย่างนั้นหรือ
           ถ้าปัจจุบันคืออดีต ทุกวินาทีจึงมีความหมาย เพราะจะกลายเป้นความทรงจำที่เราเก้บไว้ แล้วคิดอย่างนี้ อดีตมันเลยแก้ไขได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าเราทำอะไรในวินาทีนั้น ยิ่งคิดว่าเราเคยผ่านวันนี้มาแล้ว แต่คราวนั้นเราทำผิดหมดเลย คราวนี้เราจะทำให้มันถูกละ พอคิดอย่างนี้เราจะได้คิดรอบครอบมากขึ้น แล้วโอกาสผิดพลาดมันน้อย เพราะเราจินตนาการในสิ่งที่เราทำวันนี้จากเมื่อวานแล้ว จินตนาการเป็นภาพ เป็นเสียงเลย นึกออกมาเป็นฉาก ๆ ว่าจะเทรดหุ้นอย่างไร ถ้ามันมาอย่างนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรบ้าง

     เท่าที่คิดออก   ผมสรุปว่าความวิตกกังวลในเชิงคาดการณ์ล่วงหน้าแบบ reflexivity ต้องเอาเทคนิคการจัดการในทางตรงกันข้ามไปปะทะมันไว้
     ผู้เขียนได้กล่าวไปที่ละขั้น จวบจนกลับมากอบกู้อคติของตนเองออกมาเหมือนท่านอาจารย์มังเกอรืได้  อติเหล่านั้นเคยขุมขังข้าพเจ้าในที่แคบๆ  เสียดายมันฆ่าข้าพเจ้าไมได้  กลับทำหใข้าพเจ้าแข็มแข็งกว่าเดิม หากเป้นเหตุการปกติ ข้าพเจ้าจะไม่มีวันทำได้เลย
          โอกาสอันโดดเด่นของอาจารย์โซรอสที่สำคัญ  ผมอีกครั้งจดไว้สร้างความท้าทาย อ่านแล้วทั้งหนาวและเย็นยะเยือกจับหัวใจทุกครั้ง  ไม่มีอะไรแน่นอนจริงๆ ในชีวิต
   สร้างสมมุติฐานขั้นมาก่อน
แล้ว Invert first , Investigate, then Invest
ลงทุนทีละน้อย คอยดูว่าสมมุติฐานของเราถุกหรือผิด
สร้างสัมผัสขึ้นแบบ invert ขึ้นมา ถ้าอยากซื้อ ให้ขายก่อน ดูถ้ามีคนรับมาก ถึงจะซื้อ
ให้แน่ใจว่าซื้อไปแล้ว มีคนมารอซื้อต่อแน่ๆ
การสร้างความรูสึกเกี่ยวตลาดขึ้นมานั้น
ทำต่อเมื่อ ไม่แน่ใจเท่านั้น
ถ้าอยากซื้อ ผมจะขายก่อน ถ้าอยากขาย ผมจะซื้อก่อน
ที่สำคัญ ต้องแยกอารมณ์และความรูสีกของตนออกจากตลาดให้ได้
ไม่ปล่อยให้ตันหาต่างๆ เข้ามาปน
ไม่ปล่อยให้อัตตามาปะปนกับการตัดสิน ใจทางการลงทุนอย่างเด็ดขาด
การที่ปราศจากอารมณ์ความรูสึกในการลงทุนนั้น ต้องอาสัยความมีวินัยอย่างมาก
ต้องอาสัยความมั่นใจในตัวเองอย่างมากด้วยครับ
อีกทั้งต้องเข้าใจว่าตลาดมีทั้งด้านที่มีเหตุผล และไม่มีเหตุผล
และยังต้องยอมรับด้วยว่า เราไม่สามารถตัดสินใจได้ถุกต้องตลอดเวลา
หากมีโอกาส ต้องฉกฉวยให้เต็มที่
หากผิดพลาด ก็ยอมรับผิด สำคัญที่ต้องรูว่าเมื่อผิดแล้ว ต้องทำอย่างไรให้อยู่รอด
ผมอาจผิดครับ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
สุดท้ายขอบคุณครับ
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 9

อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์ (ฉบับภาษาไทย)

โพสต์ที่ 82

โพสต์

บทความนี้เก่าแล้วครับ พี่หมอ แต่ตรงไปตรงมา อ่านแล้วมีสาระอยู๋บ้างครับ อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคนที่มีประสบการณ์บางอย่าง ไม่ปลอดความรู้สึกส่วนตัว การประเมินเรื่องต่างๆ ขาดความเป็นกลางซึ่งพยายามหลีกเหลี่ยงให้มากที่สุด

-------------------

     อาจารย์บัฟเฟตกับอาจารย์มังเกอร์เกี่ยวข้องกับคนยิวไม่มากไม่น้อย เจตนาของผู้เขียนไมได้ต้องการรมแก๊สผู้อ่านด้วยข้อมู]ที่ซับซ้อนหรือกลับชักชวนให้เกิดความเข้าใจที่ไขว้เขว แต่ไม่มีทางที่ผู้เขียนจะมั่นใจจนไปเห็นโรงเรียนเด็กที่จีนใช้วิธีจับคู่เรียนเหมือนโรงเรียนในอิสราเอล  ในวินาทีนั้นผู้เขียนนึกถึงเรื่องมังกรคู่สู้สิบทิศ  โค่งจงกับฉีจื่อหลิงจับคู่เรียนวิทยายุทธ์  หวนคิดถึงอารมณ์ที่ท่านลีกวนยิวไปเรียนรู้การเอาตัวรอดจากคนยิวตอนตั้งประเทศใหม่ๆ  เรื่องมันยาวครับ อ่านแล้วงานนี้มีรางวัลบ้างเหมือนกัน ผู้เขียนกำลังเล่าข้ามตอนแล้ว  

       ถ้าไปใครยกย่องอาจารย์มังเกอร์ แต่ไม่กล่าวถึงอาจารย์บัฟเฟตด้วย เป้นการขาดวิตามินอย่างรุนแรง มังกเอร์เปรียบเหมือนเหงือก บัฟเฟตเปรียบเหมือนฟัน พวกเรากลับมีฟันที่แข็งแรงมานานหลายปี แต่กลับละเลยความแข็งแรงของเหงือก ดีที่ท่านลีลูกล่าวถึงอาจารย์มังเกอร์ที่ undervalue มานาน

  Warren Buffetts Jewish Connection
http://www.jewishjournal.com/articles/i ... _20060602/
 
     วอเร้น บัฟเฟต คนที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเขานั้นเป้นคนยิวที่ชื่อ อาจารย์ เบนจามิน แกรม  
เบนจามินนั้นเป้นชื่อยิวครับ เบนจามิน เฟลงคลินก็เป็นยิวเช่นกัน
 เบนจามิน แฟลงคลิน ไหนหรือครับ
 ก็คนที่เสี่ยงชีวิตบินขึ้นไปในพายุฝนฟ้าคะนองเพื่อค้นหาว่ากระแสไฟฟ้าทำอะไรได้บ้างนั่นละครับ
และคนนี้ละครับที่เป็น อาจารย์ของ ชาลี มังเกอร
แล้้วมังเกอ์ืร์เป็นใคร
 มังเกอร์เป็น business partner ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดของบัฟเฟต
ทั้งบัฟเฟต และ มังเกอร์ ไม่ใช่ไมไ่ด้เ็ป็นคนยิวครับ
 แต่ได้ค้นพบหลักการความฉลาดแบบคนยิว และนำมาปรับใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
 ในแบบที่ไม่มีนักลงทุนในใด ๆ โลกนีจะทำได้้เหมือนพวกเขา  แม้กระทั่งคนยิวเองก็ตาม

   พวกเขาทั้งสอง หาใครสักคนให้เลียนแบบ ใช้แรงบันดาลใจจาก "อ.แกรม และ อ.แฟลงคลิน" ที่เขาเรียนแบบได้เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง และช่วยปลุกศัทธาและความแข็มแข็งให้กับตัวเอง อย่างที่พวกเขาไม่เคยนึกมาก่อนว่าพวกเขามี และทำให้พวกเขาเป็นอะไรได้ดีที่สุดอย่างที่เขาจะเป็นได้

     และเป็นการบังเอิญเสียเหลิอเกินที่ "แรงบันดาลใจ" ของคนทั้งสองจะเป็นคนยิวอย่างเบนจามินทั้งสองท่านซะด้วย

   ในสังคมยิว เขามีระบบ "แรบไบ" ครับ แรบไบนี้ ผู้นำในชุมชน หรือ ผู้นำในศาสนา และการติดตามแร็บไบเพื่อเรียนรู้วิธีคิดของท่านหรือแม้กระทั่งธรรมเนียมปฎิบัติของท่านเหล่านั้นเป้นลักษณะเฉพาะของคนยิว
ที่เคยมีมาเป็นพันๆ ปี และ จะมีอยู่ตลอดไป

    แค่บัฟเฟตและมังเกอร์นั้นไม่ได้ทำตาม  "แร็บไบแกรม" และ "แร็บไบแฟรงคลิน"  แบบไม่ลืมหัวลืมตา พวกเขาไม่ไ่ด้รับจากคนทั้งสองมาทุกอย่าง  แต่กลับคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ในลักษณะสมดุลและเป็นอิสระ
และใช้วิจารณญาณของพวกเขาเองและไม่ปฎิเสธลักษณะเฉพาะและตัวตนของตนเองเลย

    บัฟเฟตกับมังเกอรนั้นปรึกษากันตลอดเวลาครับ

การทำงานแบบจับคู่เต้นแทงโก้แบบคู่หูนี้เป็นลัการะของคนยิวครับ

 ในพระคัมภีร์กมาราของยิวนั้นบอกไว้ว่า

 "คัมภีร์โทรา (เปรียบเหมือนไบเบิลของคนคริสนั่นละครับ จริงๆ แล้ว 5 บทแรกของพันะสัญญาเก่าในไบเบิลก็คื อคัมภีรืโทรานั่นเองครับ)  ไม่ใช่ได้มาง่าย ๆแต่ต้องเรียนรู้ด้วยการศึกษาร่วมกัน"

   ในสังคมคนยิวนั้น พวกเขาจะมีคู่หหรือที่เรียกว่า "เฮฟรูทา"  ่ต้องเรียนร่วมกันตั้งแต่เด็กๆ เลย และ ครุจะเป้นคนเลือกให้พวกเขา
เมื่อโตขึ้น พวกเขารับผิดชอบตนเองกันได้แล้ว จึงหาคู่ที่เหมาะสมให้ตัวเอง

    ไม่เคยเป้นสาม แต่จะเป้นคู่เสมอ!!!!

   
    วิธีนี้จับคู่นี้ ย้อนยุคไปสมัยที่พวกเขาถูกตามล่าจากชนชาตือื่น และต้องเร่ร่อนไปในทะเลทราย
ด้วยสาเหตุที่ขาดแคลนครูและไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน ทำให้ต้องคิดค้นระบบการเรียนแบบจับ
คู่เพื่อช่วยเหลือกันและกันและรักษาสืบต่อคัมภีรืโทราที่ศักสิทิ์ของพวกเขาฺได

  นี่คือที่มาของวิธีการเรียนแบบนี้!!!!!
 
  -------------

    นักลงทุนสามารถดัดแปลงวิธีนี้มาใช้กับตนเอง

     แนวความคิดพื้นฐานคือเมื่อเรียนร่วมกับเพืื่อน เราจะได้อธิบายและขยายความในสิ่งที่เราคิด
เราเรียนจากคูู่่่หุและ สอนเขาในเวลาเดียวกัน
  เทรดเดอร์คูหูที่ดีคือผู้ที่กระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ที่เื่อื้อประโยชน์ต่อกัน
  เพื่อนำสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากกันและกัน
วิธีการเรียนแบบนี้ช่วยกระตุ้นความคิดและการเรียนรู้ในระดับที่ลึกซึ้ง
เทรดเดอร์ทั้งสองคนต้องรู้ว่าตรงไหนไม่ควรล้ำเส้น
และตั้งใจไปถึงตรงไหนตรงข้อถกเถียงนั้น
การตะโกน จับผิดกัน เถึียงกัน และปล่อยให้ทุกสิ่งพาคนทั้งสองคนไปถึงระดับปิติยินดีสุงสุด
เรียนรู้ด้วยพลังงานทั้งหมด ด้วยตัวตนทั้งหมด ด้วยจิตวิญญาณทั้งหมด

 แม้กระทั่งโสกราติสของกรีซยังยอมรับวิธีนี้ของยิวครับ
  เขาบอกว่า...
 
   สมองของนักเรียนของเขาอย่างเพลโตนั้น (เพลโตเป้นอาจารย์ของอริสโตเติลครับ และอริสโตเติลเป้นอาจารย์์ืของ  พระเจ้าอเล้กซานเดอร์มหาราช ) จะรับข้อมูลได้ดีที่สุด ไม่ใช่จากการสอนของเขา
ความรู้จะสะสมเพิ่มขึ้น และสติปัยญาจะพัฒนาขึ้นต่อเมื่อนักเรียนแปรรูปข้อมูลด้วยตนเอง กล่าวอีกอย่างคือ บทบาทที่แท้จริงของครูนั้น คือแค่เป้นคนกลางให้นักเรียนรู้จักคิดเรื่องต่างๆ โดยผ่านกระบวนการค้นหาความจริงด้วยตนเองนั่นเอง!!!!
   
 คำว่า education นั้น มาจากภาษาละตินว่า educare ที่แปลว่า "การดึงออกมา" ครับ

:confident:

    ไม่เพียงแค่นั้นครับ ที่สำคัญ....

  เมื่อเทรดเดอร์ต้องสอนคนอื่นด้วย    นเคยลองด้วยวิธีนี้หรือปล่าวครับ??
เมืือเราต้องมอบการศึกษากับคนอื่น เมื่อความรับผิดชอบในการส่งมอบความรู้ให้แก่คู่หูของเรา
วางอยู่บนบ่าแล้ว  ดังนั้นตั้งแต่เริ่มต้น พวกเราก็มีแรงจูงใจที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาอย่างสุดความสามารถ

   
  "บุคคลต้องคิดว่าตนเป้นน้ำหอม ที่ส่งกลิ่นหอมอบอวลจากตน"

    นั่นคิอสิ่งที่เขียนไว้ในคัมภีร์กมารา์ของคนยิวครับ

    โรงเรียนสาธิตบางแห่งเริ่มใช้วิธีจับคู่เรียนแล้ว
  ถ้าเราไม่ใช้วิธีนี พวกเรา็ก้้พลาดเดิมพันครั้งสำคัญครับ