Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พอดีเพิ่งกลับจาก Switzerland มาครับ ตั้งใจพาแฟนไป honeymoon แต่ผมก็ใจวอกแวกแอบมองบริษัทที่โน่นไว้ด้วย รู้สึกที่โน่นมองไปทางไหนนอกจากธรรมชาติจะงดงาย ผู้คนเป็นมิตร (มากกว่า Germany เยอะ) แล้ว บริษัทที่ลงท้ายด้วย AG (ถ้าจำไม่ผิด Aktien Geschaeft = บริษัทมหาชน) เยอะมากๆ ตอนแรกผมนึกว่าตลาดเงินทุนจะโดนยึดโดยพวก Big Bank กันซะอีก

ตอนซื้อของฝากก็เจอ chocolate ยี่ห้อ Lindt ที่เป็นบริษัทมหาชน และมีรายได้จากทั่วโลกน่าจะเข้าข่าย "หุ้นที่หาไม่ได้ในเมืองไทย" ที่ผมตามหา แต่นอกจาก chocolate จะแพงแล้วหุ้นก็แพงตามไปด้วย -_-'

เท่าที่ผมดูๆของที่โน่นบางอย่างน่าจะคุณภาพเหมือนเมืองไทยเลยแต่แพงมาก เช่น Starbulks แก้วนึง 7.xx CHF ราวๆ 2 เท่าของเมืองไทย กินน้ำก๊อกก็ได้ฟ่ะ
พอเห็นของแพงๆแบบนี้ทำให้ผมนึกถึง ทฤษฎีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอันนึงที่เคยเรียนเมื่อนานมาแล้ว ที่อาจารย์สอนว่า ของที่เหมือนๆถึงแม้จะอยู่คนละที่ก็ต้องมีราคาเท่ากัน หรือ PPP (Purchasing Power Parity) ตัวอย่างก็มี Big Mac Index ซึ่งผมได้ยินมาว่า ระยะยาวแล้วค่าเงินของประเทศที่ Big Mac แพงกว่าก็จะลดลงๆ เข้าสู่จุดที่ BigMac ของทุกที่ในโลกมีราคาเท่ากัน
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ถึงแม้ทฤษฎีนี้จะมีข้อโต้แย้งพอสมควร แต่พอผมนึกถึงเรื่องนี้ทำให้กังวลเรื่องการลงทุนในต่างประเทศเหมือนกัน เพราะนอกจากราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยนไปแล้ว บริษัทที่เราลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินเช่นกัน ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่า การทำนายทิศทางของค่าเงินในระยะเกิน 1 ปี ผมทำไม่ได้แน่ๆ การลงทุนในต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ ไม่งั้นก็ เล่นรอบ, เล่นทำนายกำไรราย Quarter, ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:

ผมคิดว่าก่อนเลือกประเทศที่ลงทุน น่าจะต้องดู PPP ประกอบไปด้วย ถ้าบริษัทที่เราเลือกลงทุนทำธุรกิจ Import มาขายสินค้าในประเทศ การที่ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนลง นอกจากเราจะขาดทุนจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลงแล้ว บริษัทที่เราลงทุนยังมีต้นทุนสินค้าแพงกว่าเดิมด้วย

ในอีกรูปแบบนึง ถ้าเป็นบริษัท Export ค่าเงินที่ลดลง ถึงแม้เราจะขาดทุนจากราคาสินทรัพย์ แต่บริษัทที่เราลงทุนก็จะขายสินค้าได้ดีขึ้นกำไรมากกว่าเดิม ราคาหุ้นน่าจะขึ้น
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ส่วนตัวผมคิดว่า สินค้าในเมืองไทยถูกมากๆ น่าจะเพราะประเทศเราส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์เยอะเลยใช้นโยบายเงินบาทอ่อน เช่นเดียวกับ ประเทศอื่นๆในเอเชีย ดังนั้นการจะไปหา Importor ในประเทศที่ค่าเงินจะเพิ่มขึ้นและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่พอที่จะมีหุ้นระดับโลกได้ ผมว่า ยาก ดังนั้นการหาหุ้น Exportor น่าจะมีตัวเลือกมากกว่า

ถึงตอนนี้ผมมองบริษัทใน Singapore ไว้สองตัว แต่ไม่มีเงินเฮะ -_-' ผมคิดว่าน่าจะทำการบ้านให้มากๆซะหน่อย ปีหน้าไปซื้อก็ไม่น่าจะสาย ไม่รู้คนอื่นๆ เช่น เสี่ยเมืองเลย ไปถึงไหนแล้ว ไว้ว่างๆจะไปขอคำชี้แนะนะครับ :oops:
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้ามีสินค้าสองอย่างมีขายทั่วโลกเหมือนกัน
แต่ที่ประเทศนึง ของ A แำพงแต่ของ B ถูก
แล้วอีกประเทศ A ของ ถูกแต่ของ B แำพง

อย่างนี้ตามทฏษฎีเขาอธิบายเรื่องค่าเงินว่าควรเป็นอย่างไรครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

พูดถึงเรื่องค่าเงินแล้ว
อยากรู้ว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง ในการกำหนดค่าเงินสมัยก่อนที่จะมีตลาดทุนครับ

ไม่ทราบว่าำพอจะมีผู้ใดช่วยไขข้อข้องใจให้ได้บ้างครับ  :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

กล้วยไม้ขาว เขียน:ถ้ามีสินค้าสองอย่างมีขายทั่วโลกเหมือนกัน
แต่ที่ประเทศนึง ของ A แำพงแต่ของ B ถูก
แล้วอีกประเทศ A ของ ถูกแต่ของ B แำพง

อย่างนี้ตามทฏษฎีเขาอธิบายเรื่องค่าเงินว่าควรเป็นอย่างไรครับ
PPP มันมีข้อแย้งอ่ะครับ ที่ผมจำได้ คือ ราคาสินค้าไม่ได้บอกว่า ต้นทุนสินค้าจริงๆเป็นเท่าไหร่ เช่น ของ A ขายในประเทศ P มี Profit Margin 20% แต่ของ A เหมือนกันขายในประเทศ Q อาจจะมี Profit Margin แค่ 5% แบบนี้ของ A ในประเทศ P ก็สามารถมีราคาสูงกว่าในประเทศ Q ได้เนื่องจาก Margin ที่ดีกว่า (ด้วยสาเหตุใดก็ตามแต่) โดยไม่เกี่ยวข้องกับค่าเงินเลย
อีกเรื่องนึงคือคุณภาพของสินค้า ที่อาจจะวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก
เรื่องสุดท้ายที่ผมพอจะนึกออกคือ ต่อให้สินค้าราคาไม่เท่ากัน แต่คนไม่สามารถซื้อสินค้าจากที่นึงไปขายอีกที่นึงเพื่อทำ arbitrage ได้ดังเช่นในทฤษฎี เนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งหรือ barrier อื่นๆ ทำให้สินค้าอย่างเดียวกันในสองประเทศสามารถมีราคาต่างกันนี้

ข้อจำกัดเหล่านี้ ทำให้ PPP เป็นทฤษฎีที่ใช้ราคาสินค้าเป็นตัวบอกค่าเงิน แต่ราคาสินค้าจริงๆแล้วกลับไม่ได้บอกเราทุกอย่าง ทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินสามารถวิ่งสวนกับ PPP ได้ ที่ผมเรียนจำได้ว่ามีทฤษฎีอยู่ 5 อัน อีก 4 ตัวต้องไปแคะหัวดูก่อนอ่ะครับ แต่ที่ผมคิดว่า PPP น่าจะเหมาะที่สุดสำหรับโครงการไปลงทุนในต่างประเทศของผมเพราะมันใช้ทำนายค่าเงินในระยะ"ยาว" ซึ่งอาจจะยาวกว่าที่นักลงทุนจะสามารถอดทนรอได้ก็เป็นได้ครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมว่าตลาดสินค้าบางอย่างเริ่มเป็นไปตามPPP แล้วนะครับใน ebay amazon
แต่ต้องบวกค่าส่งและค่าธรรมเนียมแบงก์

แต่ตลาดแรงงานยังไม่เสรี
PPPคงเกิดแต่สินค้าที่ซื้อขายออนไลน์ได้
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1977
ผู้ติดตาม: 110

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Alastor เขียน:การลงทุนในต่างประเทศน่าจะเป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ ไม่งั้นก็ เล่นรอบ, เล่นทำนายกำไรราย Quarter, ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:
:la:  จี๊ดครับ มันจี๊ดดดด

ปล.ไปสวิสมา ไปทะเลสาบลูเซินป่ะครับ เห็นเขาว่าสวยสุดๆ จริงป่าวหว่า
mrgoodtime
Verified User
โพสต์: 115
ผู้ติดตาม: 0

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Alastor เขียน:Starbulks แก้วนึง 7.xx CHF ราวๆ 2 เท่าของเมืองไทย กินน้ำก๊อกก็ได้ฟ่ะ
555 :D
ความสำเร็จคือการลงมือทำ
ความฝันคือการนั่งเฉยๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

chode เขียน:ผมว่าตลาดสินค้าบางอย่างเริ่มเป็นไปตามPPP แล้วนะครับใน ebay amazon
แต่ต้องบวกค่าส่งและค่าธรรมเนียมแบงก์

แต่ตลาดแรงงานยังไม่เสรี
PPPคงเกิดแต่สินค้าที่ซื้อขายออนไลน์ได้
ถ้าอย่างนี้ก็น่าคิดนะครับ ว่าปัจจัยที่ทำให้ PPP เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ได้เนี่ยมันคืออะำไรบ้าง

อย่างแรกเนี่ยผมว่าเรื่องของระยะทางนี่สำคัญที่สุดเลย เำพราะโลกออนไลน์ไม่มีระยะทาง
คนซื้อเวลาเลือกดูไม่ต้องนั่งรถไป คนขายเวลาจะขายไม่ต้องส่งไปที่ร้านเพื่อตั้งโชว์ ไม่มีุำภาษีนำเข้าบวกในราคา (ไม่แน่ใจว่ามันบวกเอาทีหลังรวมในค่าส่งไหม)
mprandy
Verified User
โพสต์: 1992
ผู้ติดตาม: 9

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Alastor เขียน: ตอนซื้อของฝากก็เจอ chocolate ยี่ห้อ Lindt ที่เป็นบริษัทมหาชน และมีรายได้จากทั่วโลกน่าจะเข้าข่าย "หุ้นที่หาไม่ได้ในเมืองไทย" ที่ผมตามหา แต่นอกจาก chocolate จะแพงแล้วหุ้นก็แพงตามไปด้วย -_-'
อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:

คอนเฟิร์มว่า Lindt นี่เป็นหนึ่งในสุดยอด chocolate จริง ๆ ที่คุณภาพไม่หนีกันก็เช่น Godiva และ Ghirardelli

อูยยย... :ep: อ้วนดีจริง ๆ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 3

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

mprandy เขียน:
อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:
กรรม ขออภัยที่เขียนให้งงครับ :P

รู้สึกว่าที่นั่นจะอร่อยแต่ chocolate นะครับ อาหารทั่วไปเค็มมาก ไตทนได้ไงเนี่ย -_-' อร่อยที่สุดที่นั่นคือ Kebap ครับ :lol:
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 2

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ไปสวิช เขาว่าต้องกินฟูดอง ฟองดูนี่ครับ ชีสตึ๋งหนืดมาก  :lol:  :lol:
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Alastor เขียน:ซื้อดักก่อน TVI ไป company visit ฯลฯ ในเมืองไทยก็กำไรงดงามอยู่แล้ว จะเหนื่อยไปทำไม :lol:
อืม ....  :lol:
ในยามลมแรง แม้แต่ไก่งวงยังบินได้
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

Re: Purchasing Power Parity กับ การลงทุนในต่างประเทศ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

mprandy เขียน: อ่านบทความอันลึกซึ้งของน้อง Alastor แล้วรู้อยู่ที่เดียว :lovl:

คอนเฟิร์มว่า Lindt นี่เป็นหนึ่งในสุดยอด chocolate จริง ๆ ที่คุณภาพไม่หนีกันก็เช่น Godiva และ Ghirardelli

อูยยย... :ep: อ้วนดีจริง ๆ
อันนี้ถ้าใครอยากลองชิม ผมเคยเห็นมีขายที่ paragon นะครับ  :ep:
ในยามลมแรง แม้แต่ไก่งวงยังบินได้
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี
โพสต์โพสต์