ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ForrestGump
Verified User
โพสต์: 1435
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ ในประเด็นเหล่านี้ของการนำวิธี Discount Cash Flow มาคำนวน คือ
1. คอนเซปต์ของ DCF คืออะไร เพื่ออะไร
2. แหล่งข้อมูลที่จะนำตัวเลขมาใช้และใช้ตัวเลขใดคำนวนใน DCF
3. วิธีคำนวน DCF กรุณายกตัวอย่างตัวเลขประกอบให้เห็นเด่นชัดด้วยครับ
4. ข้อควรระวัง และ จุดด้อยของการใช้วิธี DCF

ขอความกรุณาตอบด้วยเถอะครับ ไม่เข้าใจอย่างรุนแรง หรือ link ไปกระทู้่ใดๆ หรือ เวปใด ก็ได้ (แต่ขอเป็นภาษาไทยนะครับ ผมอ่อนภาษาอังกฤษ)

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ทุกท่าน :wink:
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
ฟหกด
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

นั้นดิ ผมดูแล้ว ไม่น่าเชื่อถือ เท่าไร วิธีนี้ งงเหมือนกันว่า โบรก เอามาใช้ได้ไง บางตัวเห็น ใช้วิธีนี้ตัวเดียวโดดๆ ซึ่งผิด
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมก็อยากรู้เหมือนกัน ท่านผู้รู้ช่วยหน่อยคร้าบบบบบบบบบบ
Phayaoman
Verified User
โพสต์: 56
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอแนะนำเป็น หนังสือแทนนะครับคุณ forrestgump มีหนังสือ ความลับในการเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ของ ชาย กิตติคุณาภรณ์ หรือเปล่าครับ มีการคำนวณเป็นกับ DCF ต้วยนะครับ รู้สึกว่าจะอยู่บทที่ 8 นะครับ ผมก็กำลังอ่านอยู่เหมือนกัน
VIB007
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 2035
ผู้ติดตาม: 75

Re: ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ForrestGump เขียน:รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ ในประเด็นเหล่านี้ของการนำวิธี Discount Cash Flow มาคำนวน คือ
1. คอนเซปต์ของ DCF คืออะไร เพื่ออะไร
2. แหล่งข้อมูลที่จะนำตัวเลขมาใช้และใช้ตัวเลขใดคำนวนใน DCF
3. วิธีคำนวน DCF กรุณายกตัวอย่างตัวเลขประกอบให้เห็นเด่นชัดด้วยครับ
4. ข้อควรระวัง และ จุดด้อยของการใช้วิธี DCF

ขอความกรุณาตอบด้วยเถอะครับ ไม่เข้าใจอย่างรุนแรง หรือ link ไปกระทู้่ใดๆ หรือ เวปใด ก็ได้ (แต่ขอเป็นภาษาไทยนะครับ ผมอ่อนภาษาอังกฤษ)

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ทุกท่าน :wink:
คุณForrestGump PM มาถามผมเรื่องนี้
ผมบอกว่ามันตอบยาว คงตอบทางอีเมล์ไม่ไหว
ดีแล้วครับที่มาโพสกระทู้ ท่านอื่นๆจะได้ช่วยตอบด้วย

ผมแนะนำหนังสือไปสองเล่ม
การปรับโครงสร้างหนี้และการหามูลค่าหุ้น ของ FPM Consultant Group
และหนังสือกุญแจห้าดอกของคุณ WEB

เรื่อง DCF ผมว่าอธิบายทางกระทู้ยากเพราะมีเรื่องของ Time Value of Money
เรียนในมหาลัยยังเรียนกันเป็นคอร์สเลยครับ

ถ้าสมัครเรียนสักคอร์สก็ดีครับ

อันนี้เป็นโพสของคุณสุรชัยครับ ลองดูครับว่าเข้าใจหรือเปล่า
สุรชัย เขียน:Free cash flow อย่างง่ายสามารถดูได้จาก Owner's Earning ซึ่งWarren Buffett ได้ให้นิยามไว้ว่า เท่ากัีบ (Net Profit + Depreciation/Amortisation - Capex)

สำหรับ บริษัท White Group, Owner's Earning ในช่วงสามปีหลัีงสามารถสรุปได้ดังนี้

ปี2001
Revenue = 614,165,871 Baht
Net Profit = 38,579,182 Baht (Margin = 6.28%)
D/A = 39,141,936 Baht
Capex = -4,304,334 Baht
OE = 73,416,784 Baht

ปี2002
Revenue = 625,928,387 Baht
Net Profit = 52,897,001 Baht (Margin = 8.45%)
D/A = 39,450,734 Baht
Capex = -4,090,435 Baht
OE = 88,257,300 Baht (Growth of OE = 20.21%)

ปี2003
Revenue = 647,134,100 Baht
Net Profit = 65,844,613 Baht (Margin = 10.17%)
D/A = 36,750,480Baht
Capex = - 4,807,938 Baht
OE = 97,787,155 Baht (Growth of OE = 10.80%)

Conservatively, ผมสมมติให้ Growth rate of OE = 5% (เป็นเพียงตัวเลขสมมติเพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการหา Intrinsic Value) และ Discount Rate = 6% โดยให้ ปี2003 เป็นปีเริ่มต้น และจะทำการคาดการณ์ออกไปอีก 10 ปี ข้างหน้า

ํYear OE OE after Discount cumulative (per share)
2004 102,676,513 96,864,635 5.43
2005 107,810,338 95,950,817 10.80
2006 113,200,855 95,045,621 16.13
2007 118,860,898 94,148,964 21.40
2008 124,803,943 93,260,766 26.63
2009 131,044,140 92,380,948 31.80
2010 137,596,347 91,509,429 36.93
2011 144,476,164 90,646,133 42.01
2012 151,699,973 89,790,981 47.04
2013 159,284,971 88,943,896 52.02

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผลรวมของ OE หลังจาก discount แล้ว เท่ากับ 52 บาท ค่าดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าเป็น Intrinsic Value ของบริษัท หากเทียบกับราคาปิด ณ วันที่ 17 ก.ย. 2547 ที่ 29.25 บาท Margin of Safety = (52-29.25)/29.25 = 77%

หากพิจารณาจาก growth rate ที่เราสมมติืไว้ที่ 5% จะเ้ห็นว่า ค่าความคาดหวังที่มีต่อ WG จะค่อนข้่างน้อย อัตราความเสี่ยงต่อความผันผวนของราคาหุ้นก็น่าจะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

ข้อควรระวัง ตัวเลขที่แสดงให้เห็นข้างต้นมิได้มีเจตนาที่จะชี้นำให้เกิดการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ดังกล่าว ผู้ลงทุนควรจะวิเคราะห์บริษัทให้ครบทุกแง่ทุกมุมก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหรือขาย

หมายเหตุ ผมมี WG อยู่ใน portfolio ประมาณ 10%
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Time Value of Money ก็ยึดหลักที่ว่า เงิน 100 บาทในปัจจุบัน ย่อมไม่เท่ากับเงิน 100 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า

ทำไมถึงไม่เท่ากัน ก็เพราะถ้าเรามีเงินในปัจจุบัน 100 บาท แล้วนำไปลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล พอสิ้นปี เราก็จะได้เงินต้น 100 บาทคืนพร้อมดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยก็คือ Discount Rate ที่เราจะคำนวณค่าเงินในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน

แต่การลงทุนในการซื้อหลักทรัพย์ย่อมมีความเสี่ยงจากกระแสเงินสดรับที่ไม่แน่นอน ไม่เหมือนดอกเบี้ยรับที่ได้จากพันธบัตรรัฐบาล ดังนั้นเราจึงต้องหวังที่จะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ไม่มีความเสี่ยง แต่จะมากกว่าแค่ไหนก็คงจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยง

ถ้าบริษัทแห่งหนึ่งมีเงินสดรับอิสระจากการดำเนินงานปรกติปีละ 2 บาทต่อหุ้น เท่ากันทุกปี เราคิดความเสี่ยงแล้วพอใจในผลตอบแทนที่ 10% ต่อปี นั้นหมายความว่าเราสามารถลงทุนซื้อหุ้นบริษัทนั้นที่ราคาไม่เกิน 20 บาท

แต่การคำนวณเงินสดรับอิสระจากการดำเนินงานปรกติไม่ง่ายขนาดนนั้น และไม่เท่ากันทุกปี

จุดอ่อนในการคำนวณ DCF ก็คือความแม่นยำของการประมาณการกระแสเงินสดรับในอนาคต

ทางแก้ไขก็คือ

1. พยายามลงทุนในบริษัทที่มีงบการเงินง่ายๆ ไม่ซับซ้อน คาดการณ์ได้แม่นยำ รวมถึงบริษัทที่ทำธุรกิจที่เราเข้าใจดี

2. คำนวณ Sensitivity คือคำนวณทั้งในแง่เลวร้ายที่สุด

3. ลงทุนโดยมี Margin of Safety ให้มากที่สุด
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอถามต่อหน่อยนะครับ ที่คุณวิบูลย์นำการคำนวนของคุณสุรชัยมาแปะ
ช่วยอธิบายที่มาที่ไปหน่อยครับว่า

OE after dicount นั้น คำนวนมาจากไหนเหรอครับ? ช่วยตอบด้วยครับ
ประจวบ
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เรื่องdcf จะมีในหนังสือเกี่ยวกับ"การเงินธุรกิจ"
มีคนเขียนหลายคนหลายเล่มมากครับ
ภาษาไทยทั้งนั้น อ่านไม่ยาก

ถ้าไปที่ซีเอ็ดทุกสาขา
จะวางไว้บนชั้นวางหนังสือชั้นบนสุดในหมวดธุรกิจ
เป็นแบบเรียนของนักศึกษาบริหารธุรกิจ
มีแต่งไว้เกือบทุกมหา'ลัย
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอถามต่อหน่อยนะครับ ที่คุณวิบูลย์นำการคำนวนของคุณสุรชัยมาแปะ
ช่วยอธิบายที่มาที่ไปหน่อยครับว่า

OE after dicount นั้น คำนวนมาจากไหนเหรอครับ? ช่วยตอบด้วยครับ
ประจวบ
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เรื่องdcf จะมีในหนังสือเกี่ยวกับ"การเงินธุรกิจ"
มีคนเขียนหลายคนหลายเล่มมากครับ
ภาษาไทยทั้งนั้น อ่านไม่ยาก

ถ้าไปที่ซีเอ็ดทุกสาขา
จะวางไว้บนชั้นวางหนังสือชั้นบนสุดในหมวดธุรกิจ
เป็นแบบเรียนของนักศึกษาบริหารธุรกิจ
มีแต่งไว้เกือบทุกมหา'ลัย
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอถามต่อหน่อยนะครับ ที่คุณวิบูลย์นำการคำนวนของคุณสุรชัยมาแปะ
ช่วยอธิบายที่มาที่ไปหน่อยครับว่า

OE after dicount นั้น คำนวนมาจากไหนเหรอครับ? ช่วยตอบด้วยครับ
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอถามต่อหน่อยนะครับ ที่คุณวิบูลย์นำการคำนวนของคุณสุรชัยมาแปะ
ช่วยอธิบายที่มาที่ไปหน่อยครับว่า

OE after dicount นั้น คำนวนมาจากไหนเหรอครับ? ช่วยตอบด้วยครับ
สุรชัย
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Discount factor ในปีที่ n = 1/(1+i)^n โดยที่ i คือ Discount rate.

OE after discount = OE * Discount factor

Example:
สำหรับปีที่ 6, discount factor = 1/(1.06)^6 = 0.705
OE ในปีที่ ุ6 = 131,044,140
Therefore, present value (OE after discount) = 0.705*131,044,140
= 92,380,948
สุรชัย
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Discount factor ในปีที่ n = 1/(1+i)^n โดยที่ i คือ Discount rate.

OE after discount = OE * Discount factor

Example:
สำหรับปีที่ 6, discount factor = 1/(1.06)^6 = 0.705
OE ในปีที่ ุ6 = 131,044,140
Therefore, present value (OE after discount) = 0.705*131,044,140
= 92,380,948
The Beginner
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอถามต่อนะครับ
1. ทำไมต้องใช้การคำนวนไปข้างหน้าอีก 10 ปี
2. แล้วทำไมราคาปีที่สิบ มาเทียบกับราคาปัจจุบัน(52.02-29.025)
มันเีกี่ยวข้องกันยังไงครับ
3. แล้วใช้ห้าปีหรือ หกปีได้หรือเปล่า
4. OE growth เดินหน้า แล้ว OE discount ถอยหลังเนี่ย แสดง การคำนวนอันนึงใช้ Growth เดินหน้า แล้วอีกอัน ลดค่าด้วย Discount rate มันจะลดลงเรื่อยๆ ตามจำนวนใช่มั้ยครับ?

ช่วยตอบอีกทีนะครับ
VIB007
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 2035
ผู้ติดตาม: 75

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เห็นไม่มีคนตอบเลยขอตอบ

ข้อ1, 3 การคำนวณจะใช้กี่ปีก็ได้ครับ
แล้วแต่ว่าเราจะคาดการณ์ไปได้กี่ปี ก่อนที่จะคิด Terminal Value

ข้อ 2 ราคาที่นำมาเทียบกันเพื่อดูว่าส่วนต่างที่คำนวณได้กับราคาปัจจุบันต่างกันหรือไม่

ส่วนข้อ 4 เป็นเรื่องของการคำนวณ Time Value of Money
ลองศึกษาหาหนังสือมาอ่านดูสักนิด แล้วจะเข้าใจครับ

ขอบอกนิดนึงว่า DCF ไม่ใช่ยาวิเศษที่นำมาใช้แล้วจะแก้ปัญหาการลงทุนได้ทุกอย่างครับ

สิ่งสำคัญน่าจะเป็นเรื่องความเข้าใจ ความอดทนและจิตใจในการลงทุนของแต่ละคน ทำได้ยากทีสุด
สุรชัย
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณวิบูลย์อย่างมาก เรื่องจิตใจเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนต้องเตรียมตัวเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นต้องมีปรัชญาในการลงทุนซึ่งจะคอยช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจในสภาวะที่ตลาดผันผวน
สุรชัย
ผู้ติดตาม: 0

ขอถามเรื่อง DCF นำมาคำนวนเป็นมูลค่าหุ้นได้อย่างไร?!!!

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เห็นด้วยกับคุณวิบูลย์อย่างมาก เรื่องจิตใจเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนต้องเตรียมตัวเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นต้องมีปรัชญาในการลงทุนซึ่งจะคอยช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจในสภาวะที่ตลาดผันผวน
ล็อคหัวข้อ