กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/02/08

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ขาใหญ่เตรียมเพิ่มไลน์ผลิตทีวี เทคนิคบาลานซ์ "จอบาง-จอแบน"

คอลัมน์ จับกระแสตลาด


แม้ว่า "แอลซีดีทีวี" จะมาแรงแต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ เหมือนกันกว่าที่จะรุกคืบเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดของจอซีอาร์ทีที่ยังครองฐานขนาดใหญ่จากจำนวนตลาดรวมกว่า 3 ล้านยูนิตของกลุ่มจอภาพ

ยกตัวอย่างราคาแอลซีดีทีวีในขนาดรุ่นเริ่มต้น 32 นิ้ว ประมาณ 24,000 บาท และจอซีอาร์ที ขนาด 29 นิ้ว ที่ได้รับความนิยมสูงสุดราคาเฉลี่ย 8,000-10,000 บาท


ส่วนต่างของราคาขนาดนี้ยังทำให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปหรือกลุ่มแมสที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจยังมองไม่เห็นถึงความจำเป็นต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ในภาวะท่ามกลางเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังท้าทายตลอดเวลา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ค่ายจะเคยประกาศไว้เมื่อก่อนหน้านี้ว่ามีแผนจะยกเลิกการผลิตและการขายทีวีจอแบน เพื่อมารุกเปิดตลาดจอบางอย่างเต็มรูปแบบยังต้องหันกลับมาทบทวนไม่กล้าทิ้งซีอาร์ที

ที่ผ่านมาทีวีจอแบนอย่างซีอาร์ทีก็มีการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนโฉมและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูมีสีสันและสร้างกระแสอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเปิด เซ็กเมนต์ใหม่ของตลาดด้วยคอนเซ็ปต์ "จอสลิม"

เริ่มจาก 2 ยักษ์ใหญ่ค่ายเกาหลี ซัมซุง ที่เปิดตัวสลิมฟิต ขณะที่ค่ายแอลจีก็ลอนช์ซูเปอร์สลิมเข้ามาทำตลาด ด้านค่ายญี่ปุ่นมีเปอร์เฟ็กต์สลิมของค่ายเจวีซี และทีวีสลิมของซันโย เป็นต้น

เป้าหมายสำคัญก็เพื่อการรักษายอดขายและมาร์เก็ตแชร์ในตลาด

ความเคลื่อนไหวของตลาดจอภาพเมืองไทย ทั้งแอลซีดีและซีอาร์ทีจึงยังคงต้องเดินควบคู่ไปด้วยกันต่อไปอีก แม้ว่าใจผู้ผลิตต่างล้วนอยากให้เป็นไปตามเทรนด์ของกระแสโลกที่เปลี่ยนไป ทั้งญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรปที่เปลี่ยนผ่านแทบจะเกือบทั้งหมดแล้ว

"อลงกรณ์ ชูจิตร" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในเรื่องนี้ว่า แอลจีจะให้ความสำคัญของการทำตลาดจอบางและจอแบนไปพร้อมๆ กัน เพราะตลาดซีอาร์ทียังคงโตได้อีกเรื่อยๆ นโยบายของแอลจีจึงไม่ทิ้งตลาดนี้ พร้อมกันนี้ก็ต้องการจะสร้างสินค้าเซ็กเมนต์ใหม่ในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ขึ้นมาควบคู่กันไป แทนที่จะต้องไปแข่งกับกลุ่มลูกค้า จอแบนทั่วไป ซึ่งซูเปอร์สลิมจะเข้ามาเป็นหลัก

"ส่วนต่างราคาจอแบบซูเปอร์สลิมจะแพงกว่าประมาณ 10% แต่ด้วยฟังก์ชันและดีไซน์เชื่อว่าจะดึงทาร์เก็ตใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ จอแอลซีดีทีวีที่บริษัทได้ขยายไลน์การผลิตเพิ่มจาก 1 หมื่นยูนิตต่อเดือน เป็น 2 หมื่นยูนิต" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอลจีฯ

ขณะที่ "อาณัติ จ่างตระกูล" รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ให้มุมมองในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ตอนนี้กระแสแอลซีดีทีวีในเมืองไทยมีมากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าดูในแง่มูลค่าจากตลาดรวมทีวีทั้งหมด แอลซีดีมีสัดส่วนถึง 40% ซึ่งเป้าหมายของซัมซุงคือการรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดเอาไว้และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก 38% เป็น 40% โดยซัมซุงวางงบประมาณทางด้านการตลาดสินค้าในกลุ่มเอวี 920 ล้านบาท พร้อมทั้งมีแผนจะลอนช์สินค้าครบไลน์ คือ แอลซีดีทีวี 19 รุ่น ตั้งแต่ 22-70 นิ้ว สลิมฟิต 8 รุ่น และแฟลชทีวี 2 รุ่น

นอกจากนี้ ซัมซุงยังเตรียมแผนการลงทุนต่อจากนี้ไป คือ เพิ่มไลน์การผลิตแอลซีดีรองรับความต้องการของตลาด

ด้านผู้บริหารระดับสูง บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมาทราบว่าผู้ประกอบการทั้งค่ายญี่ปุ่นและเกาหลีหลายๆ ค่ายได้ลดบทบาทการทำตลาดทีวี ซีอาร์ทีลง และมีบางค่ายที่ได้เริ่มลดไลน์การผลิตในส่วนนี้ลงไป และหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างตลาดแอลซีดีทีวีกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสำหรับซันโยเองแม้ว่าค่ายอื่นๆ จะไม่สนใจการทำตลาดซีอาร์ทีมากนัก แต่บริษัทไม่ได้มองอย่างนั้น และซันโยก็ยังมีแผนจะเดินหน้าทำตลาดซีอาร์ทีต่อไป

"เมื่อหลายๆ ค่ายเลิกทำจอซีอาร์ที ตลาดตรงนี้ก็จะเกิดช่องว่างขึ้น และมั่นใจว่าตลาดนี้ยังเป็นตลาดที่มีความต้องการสูง ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่เอื้อเช่นนี้จึงมองว่าน่าจะเป็นโอกาสของซันโยที่จะเข้ามาเก็บตลาดในส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ตัวแปรจากการแข่งขังฟุตบอลยูโร 2008 ที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ก็จะช่วยให้ตลาดนี้ยังเติบโตต่อไปได้"

ไม่ต้องรอกระแสยูโรและโอลิมปิกกลางปีนี้ ผู้ผลิตต่างก็ฟันธงไปในทิศทางเดียวกันแล้วว่า ตลาดทีวีเมืองไทยโตได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0207
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news19/02/08

โพสต์ที่ 62

โพสต์

Electronic Components sector : คำแนะนำ Neutral
         บริษัทในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการปี 50 ในช่วง 2 สัปดาห์นับจากนี้ ยกเว้น CCET รายงานผลประกอบการปี 50 แล้วเมื่อ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยประมาณการปี 50 ของ 5 บริษัทคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานรวมเพิ่มขึ้น 10% Y-O-Y ในจำนวนนี้ DELTA และ SVI มีแนวโน้มรายงานกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย สาเหตุหลักจาก Gross margin ที่ปรับตัวดีขึ้นชัดเจน สำหรับปี 2551 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลกที่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 7 - 8% ยังเป็นโอกาสที่ดีต่อบริษัทในกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันแนวโน้ม Outsourcing ที่เคลื่อนย้ายจากภูมิภาคตะวันตกสู่ประเทศตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจีน และอินเดียถูกคาดหมายว่าจะเป็นตลาดเติบโตเด่นสุดในภูมิภาค ทำให้ DELTA และ CCET จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มดังกล่าว จึงเลือกเป็น Top pick ของกลุ่ม
โดย บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด ประจำวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/02/08

โพสต์ที่ 63

โพสต์

Growth Stock Top Pick หุ้นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไม่หวั่นบาทแข็ง-Subprime

Posted on Friday, February 22, 2008
น.ส.วิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. เกียรตินาคิน กล่าวผ่านรายการ Stock in Focus ว่า ที่ผ่านมาได้มีกระแสคาดการณ์กันว่า ธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกยังมียอดขายเติบโตประมาณ 7% ได้ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ที่ดี แม้ว่าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของสินค้าประเภทนี้จะได้รับผลกระทบจาก Subprime ตลอดจนต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยตั้งแต่ไตรมาส 3/50 ที่ผ่านมา ส่วนเกินของสินค้าคงคลัง (Excess Inventory) ของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มลดลงแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการซื้อมากกว่าภาวะอุปทาน ประกอบกับอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆที่ล้วนบ่งชี้ว่า หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังเติบโตได้ ทำให้บล. เกียรตินาคินเชื่อว่า กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังขยายตัวและสามารถจ่ายปันผลได้ดีต่อไป

นอกจากนี้ จากการที่ธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเอเชีย เช่น จีน และ อินเดีย ยังมีอัตราการขยายตัวสูง ก็จะส่งผลดีต่อบริษัทที่มีฐานการผลิตใน 2 ประเทศนี้ได้ โดยเฉพาะ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) ที่มีโรงงานในประเทศอินเดีย 1 แห่ง และ บมจ. แคล-คอมพ์อิเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (CCET) ที่มีโรงงานในประเทศจีน 4 แห่ง ทำให้มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการที่ลูกค้าเติบโตอย่างโดดเด่นในปี 2550-2551

น.ส. วิริยากล่าวว่า CCET มีผลกำไรสุทธิของปี 2550 ที่น้อยเกินคาด หลังการจำหน่ายสินค้าอัตรากำไรขั้นต้นต่ำ ซึ่งกดดันอัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมให้ปรับลดลง นอกจากนี้ CCET ยังได้ปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าบางชนิด ก็ยิ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินบาทที่แข็งตัวอย่างต่อเนื่อง ก็จะกดดันผลประกอบการลงอีกได้ ทำให้บล. เกียรตินาคินต้องปรับลดคาดการณ์ของ CCET ลง 9% แต่ก็ยังเชื่อว่า CCET ยังเติบโตได้ แม้ว่าจะชะลอตัวลงกว่าไตรมาส 4/50 โดยบล. เกียรตินาคินประเมินมูลค่าหุ้น CCET ที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานไว้ที่ 7.70 บาท จากที่เคยให้ไว้ 8.50 บาท แต่ก็ยังถือว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อีกเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน และยังเชื่อว่าสามารถจ่ายปันผลได้ที่ 7% จึงยังแนะนำให้ซื้อ

นอกจากนี้ CCET ยังป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อีกด้วย เพราะได้นำเข้าวัตถุดิบ 90% แม้ว่าจะส่งออก 100% ก็ตาม ทำให้เงินบาทที่แข็งค่า 1% จะกระทบต่อผลประกอบการเพียง 5% ขณะที่บมจ. ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ (HANA) จะได้รับผลกระทบสูงที่สุด คือ 11% ส่วน DELTA และ บมจ. เอสวีไอ (SVI) ได้รับผลกระทบ 7% และ 6% ตามลำดับ แต่ที่ผ่านมา HANA ได้ปรับลดสัดส่วนการพึ่งพารายได้ไปสหรัฐฯเหลือเพียง 53% และหันมาเน้นตลาดยุโรปและเอเชียมากขึ้น ทำให้ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าเริ่มน้อยลงแล้ว

สำหรับ DELTA มีผลประกอบการดีเกินคาดในปี 2550 โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นถึง 61% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเกิดจากการเน้นยอดขายสินค้ากำไรสูง ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้นรวมของไตรมาส 4/50 มาอยู่ที่ 26.5% หรือสูงที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ฐานการผลิตในประเทศจีนและอินเดีย ก็จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจขยายตัวได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้บล. เกียรตินาคินต้องปรับประมาณการเพิ่มขึ้นได้อีกครั้ง นอกจากนี้ DELTA ยังสามารถจ่ายเงินปันผลคิดเป็นอัตราผลตอบแทนประมาณ 7%

ส่วน SVI เป็นหุ้นที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม และมีอัตราผลตอบแทนจากการจ่ายปันผลประมาณ 4% โดยบล. เกียรตินาคินได้ประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานไว้ที่ 1.73 บาท ซึ่งยังมีส่วนต่างราคาหุ้นที่อาจปรับเพิ่มขึ้นได้

สำหรับ HANA นั้น เนื่องจากราคาหุ้นที่ผ่านมาได้ปรับลดลงเพื่อสะท้อนความกังวลเรื่องปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและปัญหา Subprime ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่เมื่อเปรียบเทียบราคาหุ้นในปัจจุบันกับเงินปันผลแล้ว HANA ก็ยังมีอัตราผลตอบแทนจากการจ่ายปันผลที่ดี หรือประมาณ 7-8% ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งกลุ่ม โดยบล. เกียรตินาคินได้คาดการณ์มูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานไว้ที่ 26 บาท

ความคิดเห็นของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ :

บริษัทสมาชิกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คาดการณ์ว่า CCET จะมีกำไรสุทธิในปีนี้เฉลี่ยที่ 3.5 พันล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเฉลี่ยที่ 0.82 บาท มีมูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานเฉลี่ยที่ 8 บาท และคาดว่าจะสามารถจ่ายปันผลคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยได้ที่ 7%

บริษัทสมาชิกสมาคมฯ คาดการณ์ว่า ยอดขายสินค้าของ CCET ในปีนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปี 2550แม้ว่าจะมีรายได้ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะภาพรวมธุรกิจทั่วโลกยังมีทิศทางที่สดใส นอกจากนี้ CCET ยังสามารถควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน และสามารถขยายฐานลูกค้าได้ ทำให้ธุรกิจยังมีแนวโน้มที่ดี แต่อัตราแลกเปลี่ยนและอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าที่ไม่สูงนัก ก็ยังเป็นปัจจัยกดดัน CCETต่อไปได้อีก

ส่วน HANA นั้น บริษัทสมาชิกสมาคมฯ ประเมินว่า จะมีกำไรสุทธิในปีนี้เฉลี่ยที่ 2 พันล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นเฉลี่ยที่ 2.53 บาท มีมูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานเฉลี่ยที่ 26 บาท และคาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนจากการจ่ายปันผลเฉลี่ยที่ 7.1 %

บริษัทสมาชิกฯมองว่ามูลค่าหุ้นของ HANA ได้สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว จึงเป็นโอกาสที่เข้าลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้นได้ อย่างไรก็ตาม HANA ยังมีความเสี่ยงจากการที่เน้นยอดขายจากลูกค้าสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มซบเซาจากปัญหา Subprime ซึ่งหาก HANA ยังคงเน้นลูกค้าสหรัฐฯ ต่อไป จะทำให้ผลประกอบการได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นได้ลดการพึ่งพิงรายได้จากลูกค้าสหรัฐฯไปมากแล้ว

สมาชิกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คาดการณ์ว่า SVI จะมีกำไรต่อหุ้นในปีนี้เฉลี่ยที่ 0.23 บาท มีมูลค่าที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานเฉลี่ยที่ 1.83 บาท และคาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนจากการจ่ายปันผลเฉลี่ยได้ที่ 4.9%

บริษัทสมาชิกฯ เชื่อว่า SVI ยังมีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง เพราะพึ่งพาตลาดยุโรป ทำให้ยังมีแนวโน้มที่ดี นอกจากนี้ SVI  ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม จะทำให้รองรับความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้

ติดตามรายการ Stock in Focus ได้ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00 น. ทาง Money Channel
ช่องทางการรับชม Money Channel: True Visions ช่อง 80, จานดาวเทียม Samart DTH ช่อง 08 และเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ช่อง 30

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Sto ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news29/02/08

โพสต์ที่ 64

โพสต์

อุตฯไฟฟ้าส.อ.ท.เสียงแข็งค้านยกเลิก30% หวั่นกระทบส่งออก4.5หมื่นล้านเหรียญ
   
กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสมาชิกกว่า 200 ราย ยืนยันเสียงแข็งไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เตรียมทำหนังสือถึงแบงค์ชาติ พิจารณาผลกระทบมูลค่าส่งออกปีละ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

นายขัติยา ไกรกาญจน์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ว่า ตนและสมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็น ภายในสัปดาห์หน้าทางกลุ่มจะมีการหารือกับสมาชิกประมาณ 200 บริษัท เพื่อทำหนังสือแสดงจุดยืนไม่สนับสนุนนโยบายดังกล่าวไปยังสภาอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป


สาเหตุที่ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ยังไม่ต้องการให้รัฐบาลยกเลิกมาตราสำรองเงิน 30% เนื่องจากอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเฉลี่ยปีละ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากรัฐบาลยกเลิกมาตรการสำรอง 30% โดยไม่มีมาตรการอื่นๆ มารองรับ จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าเดิมอีกแน่นอน ส่งผลกระทบต่อการ  ส่งออกสินค้าของกลุ่มผู้ประกอบการในกลุ่มกันถ้วนหน้า

"สถานการณ์ค่าเงินบาทขณะนี้ยังไม่มีเสถียรภาพ ขนาดมีมาตรการสำรองเงิน 30% ค่าเงินยังแข็งต่อเนื่อง จนปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งมาอยู่ที่ระดับ 31 บาท/เหรียญสหรัฐแล้ว และหากยกเลิกมาตรการนี้ โดยไม่มีมาตรการอื่นมารองรับค่าเงินจะแข็งขึ้นขนาดไหน ผมจึงอยากให้รัฐบาลตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคการส่งออก ซึ่งภาคส่วนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย" นายขัติยากล่าว

และนอกจากจะทำหนังสือแสดงจุดยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯที่มีสมาชิกเกือบ 200 บริษัทผ่านไปทาง ส.อ.ท.แล้ว ตนในฐานะที่เป็น นายกสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสมาชิกเกือบ 200 บริษัทเช่นเดียวกัน ก็จะทำหนังสือแสดงจุดยืนอีกหนึ่งฉบับเสนอโดยตรงไปยัง ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อรับทราบถึงผลกระทบของผู้ประกอบการหากมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30%

ด้านนายสุรพร สิมะกุลธร ประธานกรรมการ บริษัท กุลธร เคอร์บี้ จำกัด(มหาชน) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะมีนโยบายยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% แต่ถ้าหากอยากจะยกเลิกจริงๆ ก็ควรจะมีมาตรการหรือเงื่อนไขอื่นๆมารองรับ เช่น หากจะมาลงทุนในเรื่องของการผลิต ก็ไม่ควรกันสำรองไว้ แต่ถ้าหากมาลงทุนในตลาดหุ้นหรือเข้ามาเกร็งกำไร อาจจะต้องมีการคุมเข้ม ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท

และล่าสุด ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุม CEO Forum ครั้งที่ 2/2551 วันที่ 27 กุมภาพันธ์  2551 จัดโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานตัวเลขจากตัวแทนของธนาคารไทยธนาคารที่มาเข้าร่วมประชุมว่า เงินที่ถูกมาตรการกันสำรอง 30% ไว้ในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากมีการยกเลิกมาตรการ ผลที่เกิดในทันทีก็คือ ปริมาณเงินดังกล่าวจะต้องเทเข้าสู่ระบบ ค่าเงินบาท จะทะยานแข็งค่าขึ้นอย่างมาก

ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายในที่ประชุมก็ไม่ต้องการให้รัฐยกเลิกกันสำรอง 30%
http://matichon.co.th/prachachat/news_d ... 30&catid=2
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/03/08

โพสต์ที่ 65

โพสต์

แอร์เทรนทุ่ม 350 ล้าน เปิดโรงงานใหม่ในไทย

12 มีนาคม พ.ศ. 2551 15:40:00
 
เทรน ประเทศไทย ทุ่ม 350 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ พร้อมเพิ่มกำลังการผลิต ลุยตลาดเต็มรูปแบบ หวังไทยเป็นฐานการผลิต และขยายตลาดทั่วโลก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
มร.เครก คิสเซล ประธานใหญ่  เทรน คอมเมอร์เชียล ซิสเทม เปิดเผยว่า เทรน คอมเมอร์เชียล ซิสเทม ได้ร่วมกับบริษัท บริษัท จาร์ดีน เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ใช้งบประมาณกว่า 350 ล้านบาท หรือ ประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งใหม่ในเมืองไทย โดยจัดให้เป็นโรงงานที่สุดยอดแห่งการผลิต ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของเทรน สำหรับบ้านพักอาศัย และอุตสาหกรรมขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ตั้งแต่ ระดับ 6 - 60 ตัน

 ในปีที่ผ่านมาโรงงานในไทย สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศได้ประมาณ 170,000 ยูนิต สำหรับโรงงานเก่า และโรงงานใหม่แห่งนี้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากกว่า 2 เท่า และในปีนี้คาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตได้ถึง 250,000 ยูนิค และถ้าผลิตเต็มกำลังจะสามารถผลิตได้ถึง 5 แสนยูนิค

การจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ มีสัดส่วน 50 : 50 โดยส่งออกไปยังแถบลาตินอเมริกา 21 %, ตะวันออกกลาง และยุโรป 14 %, เอเชียแปซิฟิก 5 %, ประเทศเวียดนาม 7 % และผลิตส่งภายในประเทศ 53 % ทั้งนี้หลังจากเปิดโรงงานใหม่แล้ว บริษัทฯ จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 2 เท่า โดยจะสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่อยู่อาศัย 80 % และเชิงธุรกิจพาณิชย์, สถาบันและตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีก 20 % โดยประมาณ และคาดว่าในปีนี้บริษัทจะเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศอเมริกา และประเทศแถบยุโรป รวมแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/1 ... sid=238123
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/04/08

โพสต์ที่ 66

โพสต์

แผงวงจร-ชิ้นส่วนส่ออ่วมอรทัย

โพสต์ทูเดย์ ส่งออกกลุ่มแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์-ชิ้นส่วน กำลังเจอมรสุมหนักจากวิกฤตสหรัฐ


แหล่งข่าวธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดเผยว่า จากการประมวลตัวเลขเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บ่งชี้ว่า แม้ว่าการบริโภคและการส่งออกจะยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง แต่เริ่มชะลอตัวลงโดยการบริโภคหดตัวลงมาจากระดับ 8.5% เหลือ 6% ในเดือน ก.พ.

นอกจากนี้ หากพิจารณาอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดส่งออกจะพบว่าชะลอตัวลงมากจนน่าตกใจ คือลดลงจาก 26.5% ในเดือน ม.ค. เหลือ 20.4% ในเดือน ก.พ. ที่ น่าสนใจคือกลุ่มอุตสาหกรรมแผงวงจร รวมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารทะเลกระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ทรุดหนักที่สุด ต้องมีการปรับตัวให้เร็ว

ขณะที่การส่งออกรวมนั้นขยายตัว 16.2% ในเดือน ก.พ. ลดลงจาก 33.6% ในเดือน ม.ค. เพราะสินค้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบต่างหดตัวลงมาก สะท้อนว่าวิกฤตเศรษฐกิจอเมริกาลามมาถึงไทยแล้ว เพราะเดิมนั้นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์นั้นถือว่าเป็นตัวนำ ในการส่งออกมาตลอดระยะ 5-7 ปี และถึงแม้ว่าการส่งออกสินค้าในหมวดเกษตรกรรมยังคงขยายตัว ได้ต่อเนื่องก็ตาม แต่ก็ต้องมีการสนับสนุนอย่างถูกต้องจากรัฐ

ภาคเกษตรนั้นเชื่อว่าจะยังได้รับการสนับสนุนจากการปรับขึ้นของราคาตลอดปีนี้แน่ หากรัฐบาลปรับแนวทางการบริหารจัดการ เชื่อว่าจะสร้างโอกาสในการขยายรายได้มาชดเชยสินค้าในหมวดอื่นๆ แหล่งข่าวกล่าวในตอนท้าย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=230953
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news25/04/08

โพสต์ที่ 67

โพสต์

แอลซีดี-สลิมทีวีช่วยซัมซุง

โพสต์ทูเดย์ ซัมซุงฟุ้ง แอล ซีดีทีวี สลิมทีวี ดันยอดขายภาพและเสียงโตสวนเงินเฟ้อ


นายอาณัติ จ่างตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาสแรกที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการเติบโตในกลุ่มธุรกิจภาพและเสียงสูง ถึง 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะปัจจุบันคนไทยนิยมเลือกใช้โทรทัศน์ในกลุ่ม แอลซีดีทีวีและสลิมทีวีเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ในปีนี้คาดว่าตลาดรวมตลาดโทรทัศน์เติบโต 3% แบ่งเป็นแอลซีดีทีวี เติบโต 117% จำนวน 5 แสนเครื่อง สลิมฟิต เติบโต 150% จำนวน 8 แสนเครื่อง ขณะที่แฟลททีวีอัตราเติบโตลดลง 26% จำนวน 1.4 ล้านเครื่อง และคาดว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแฟลททีวีจะหมดไปจากตลาด

อย่างไรก็ตาม บริษัทเตรียมใช้งบประมาณราว 1,000 ล้านบาท โฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อครบวงจร รวมถึงจัด รายการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง มุ่งจัดรายการส่งเสริมการขายร่วมกับตัวแทนจำหน่าย โดยในปีนี้จะทยอยเปิดตัวสินค้ากลุ่มภาพและเสียงตลอดปีกว่า 100 รายการ

สำหรับกลยุทธ์ด้านการตลาด จะออกสินค้าใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ ในทุกกลุ่ม เน้นกลยุทธ์ ซีรีส์ มาร์เก็ตติง โดยชูจุดเด่นสินค้าในกลุ่มฟูลเอชดี แอลซีดีทีวี ซีรีส์ 7 พลาสมาซีรีส์ 4 เอชดีทีวี 3 มิติ เป็นต้น ซึ่งการทำตลาดอย่าง ต่อเนื่องในครั้งนี้ คาดว่ายอดขายในปีนี้จะโต 40% รวมถึงเป็นส่วนแบ่งอันดับ 1 ในกลุ่มโทรทัศน์

อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อว่าคนไทยยังมีกำลังซื้อสูง แม้ว่า ค่าครองชีพและราคาสินค้ายังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานขยับตามด้วย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จึงเป็นโอกาสให้สินค้าของบริษัท เข้าถึงกลุ่มต่างจังหวัดและกลุ่มรากหญ้า

เชื่อว่าจะเป็นโอกาสให้ ซัมซุงเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรมากขึ้น เพราะมีรายได้และกำลังซื้อ ซึ่งบริษัทจะจัดแคมเปญกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดช่องว่างระหว่างคนกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดลง นายอาณัติ กล่าว

นอกจากนี้ ยอดขายโทรทัศน์ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 นี้ ตลาดภาพและเสียงจะเติบโตมาก เพราะเป็นช่วงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ประเทศ และบอลยูโร ซึ่งบริษัทเตรียมเปิดตัวโทรทัศน์กลุ่มต่างๆ ในช่วงนั้น ประมาณ 40-50 รุ่น โดยคาดว่ายอดขายในช่วงดังกล่าวจะโต 30%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=234396
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 68

โพสต์

ความท้าทายของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย: ปัญหาที่รอการแก้ไข

บจ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 15/05/2008 11:07:52


         อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งอุตสาหกรรมหนึ่งของไทย อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวตั้งแต่ปี 2550 โดยการส่งออกเติบโตในอัตราร้อยละ 13.8 ต่ำกว่ามูลค่าการส่งออกรวมที่ขยายตัวได้ร้อยละ 17.5 ส่วนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.3
         สถานการณ์การส่งออกที่มีการชะลอตัวลงเกิดขึ้นจากปัจจัยการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทยังทำให้รายรับของภาคธุรกิจลดลง ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสหรัฐฯมากที่สุด (ร้อยละ 15) รองลงมาคือ จีน (ร้อยละ 13.1) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 13) การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากปัญหาซับไพร์มกระทบการนำเข้าสินค้าจากไทย โดยการส่งออกไปสหรัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ในปี 2550 และกระเตื้องขึ้นมาเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปีนี้ ในขณะที่ผลกระทบในตลาดส่งออกหลักอื่นๆ ยกเว้นจีนและฮ่องกง การส่งออกมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ นอกจากนี้เงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องก็มีผลต่อรายรับจากการส่งออกและกำไรของธุรกิจ โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้รายรับของธุรกิจในรูปของเงินบาทลดลงประมาณร้อยละ 3  

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

                            มูลค่า             สัดส่วน (%)     การเติบโต (%)
                            2550  ม.ค.-มี.ค.2551 2543 2550  2550  ม.ค.-มี.ค
                             2551                          2551

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์     12,892.8  3,429.2  7.8  27.2  19.5  16.7

แผงวงจรไฟฟ้า                8,053.4   1,642.5  17.3 17.0  14.6  -18.2
ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์    3,840.5   1,035.3  25.0  8.1   4.2   25.4
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ  3,191.6   1,046.2   4.2  6.7  39.5   19.7
เครื่องรับโทรทัศน์              1,324.9    283.1    4.3  2.8 -32.7   -1.4
วงจรพิมพ์                    1,165.5    243.7    4.3  2.5  13.9    9.5
ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ    1,154.5    327.0    1.4  2.4  10.5   29.0
เครื่องคอมเพรสเซอร์           644.7     213.5     0.9  1.4  12.3   30.5
รวมทั้งอุตสาหกรรม             47,342.2  11,940.0 100.0 100.0 13.8   8.0

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

         จากการชะลอตัวลงของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสแรก เป็นที่สังเกตว่า สินค้าที่ค่อนข้างมีปัญหาคือ สินค้าหมวดวงจรไฟฟ้า โดยความต้องการในตลาดโลกต่อแผงวงจรไฟฟ้า ในปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าของไทยในช่วงไตรมาสแรกมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอการนำเข้าของผู้นำเข้าหลัก อาทิ ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามการชะลอตัวในการนำเข้าของผู้ซื้อทั่วโลกที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวซึ่งเป็นไปตามทิศทางยอดขายเซมิคอนดัคเตอร์ของโลกในไตรมาสแรกที่มีการชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน
         ปัจจัยที่จะมีผลต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงที่เหลือของปี 2551 ที่สำคัญได้แก่ การขยายตัวของตลาดเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยเรื่องค่าเงินบาท โดยปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ การขยายตัวของตลาดเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อุปกรณ์โทรคมนาคม ในตลาดโลกและในตลาดเกิดใหม่ที่มีการเติบโตสูง เช่น จีน อินเดีย ในขณะที่การแข็งค่าของเงินบาท และราคาวัตถุดิบโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เช่น เหล็ก เป็นปัจจัยลบที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์การขยายตัวของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2551 ว่าจะสามารถขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 10-12 หรือคิดเป็นมูลค่า 52,000-53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ในปี 2550
         แม้ว่าในระยะสั้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลายรายการยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะยาวการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังเผชิญความท้าทายในการรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอุตสาหกรรมนี้โดยปัญหาที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันอาจสรุปได้ดังนี้
         ปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
         อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายของบริษัทข้ามชาติ การผลิตและการส่งออกจึงขึ้นอยู่กับตัดสินใจลงทุนของบริษัทแม่เป็นหลัก ในขณะที่บทบาทและการพัฒนาของบริษัทของคนไทย (indigenous firms) มีจำกัด โครงสร้างอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยประกอบไปด้วยบริษัทลูกของบริษัทข้ามชาติ ที่ทำหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนหรือสินค้าขั้นสุดท้าย เพื่อกระจายไปยังภูมิภาคที่ได้รับมอบหมาย ในขณะเดียวกันบริษัทเหล่านี้ก็มีเครือข่ายการผลิตภายในประเทศ ซึ่งมีทั้งซัพพลายเออร์ที่เป็นบริษัทลูกของบริษัทต่างชาติและบริษัทของคนไทย โดยบริษัทของคนไทยที่เป็นโออีเอ็มขนาดกลางและขนาดเล็ก จัดอยู่ในประเภทของซัพพลายเออร์ขั้นรอง (lower-tier) รับจ้างผลิตตามสัญญาว่าจ้าง  และเนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีและขาดแคลนเงินทุนในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา จึงทำให้มีความไม่มั่นคงสูงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการตลาดหรือเทคโนโลยี
         การขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไทยกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมกลางน้ำซึ่งเป็นขั้นตอนในการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผงวงจร การประกอบวงจรพิมพ์ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ คือ การประกอบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นขั้นตอนในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยไทยยังขาดการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมภายในประเทศทั้งในแง่ของอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์และการออกแบบระบบ การผลิตเวเฟอร์ เป็นต้น และอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น การผลิตพลาสติกหล่อและโลหะ ซึ่งทำให้การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง และส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยมีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างต่ำ โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 ส่วนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าเพิ่มอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40
         ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของการผลิตและการส่งออกในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยมีการกระจุกตัวอยู่ในผลิตภัณฑ์ อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ซึ่งมีสัดส่วนในมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมร้อยละ 27.2 ร้อยละ 17 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับโดยในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากการผลิตของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายการผลิตของบริษัทต่างชาติหรือบริษัทร่วมทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟซึ่งผู้ผลิตทั้งหมดเป็นบริษัทต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการผลิตตลอดจนการโยกย้ายฐานการผลิตจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่อุตสาหกรรมจะต้องมีการกระจายการผลิตและส่งออกไปในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาและขยายฐานการผลิตออกไปในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อลดความเสี่ยง และคงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศ
         การถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศคู่แข่ง แนวโน้มการแข่งขันในตลาดโลกที่เข้มข้นขึ้นทำให้ไทยต้องพยายามรักษาและขยายส่วนแบ่งตลาดส่งออกหลักไว้ จากการเปลี่ยนแปลงของส่วนแบ่งตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในญี่ปุ่นและสหรัฐ จะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งตลาดของไทยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.1 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 6.6 ในปี 2549 แต่ในตลาดสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาดของไทยปรับตัวลดลงจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 2.1 ประเทศคู่แข่งในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่สำคัญ ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว คือ จีน ส่วนแบ่งการตลาดของจีนในสหรัฐเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 24.3 ภายในช่วงระยะเวลา 6 ปี ในตลาดญี่ปุ่นส่วนแบ่งการตลาดของจีนก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน คือ จากร้อยละ 10.7 เป็นร้อยละ 29.9 อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของจีนจะทำให้จีนเป็นตลาดที่สำคัญ แต่ในขณะเดียวกันการเติบโตอย่างรวดเร็วของการส่งออกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากจีนในตลาดโลกอาจมีผลทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดโลกลดลงได้
         การแข่งขันในตลาดภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น (กรณีการเข้ามาตีตลาดของสินค้าจีนในไทย) ในตลาดภายในประเทศสินค้าจีนที่เข้ามาทำตลาดเน้นใช้กลยุทธ์ราคา ผลกระทบในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนระดับกลาง-ล่างซึ่งมีแบรนด์ไทยเหลืออยู่น้อยและไม่แข็งแกร่ง ทำให้แบรนด์ไทยมีแนวโน้มที่จะถูกควบรวมหรือเลิกกิจการไปดังที่เริ่มเกิดขึ้นไปแล้ว ในขณะที่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับกลาง-บนซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าต่างประเทศจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาจากสินค้าจีนทำให้ต้องลดกำไรลงไปเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของตน ทั้งนี้การขยายตัวของสินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดไทยหากมีผลให้ผู้ผลิตภายในประเทศต้องปิดกิจการหรือยกเลิกไลน์การผลิตสินค้าบางอย่างที่ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจีนได้ จะทำให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ซัพพลายให้กับสินค้านั้นๆ ได้รับผลกระทบมาก นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ราคาถูกของจีนที่อาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ หากผู้ประกอบธุรกิจเลือกนำเข้าแทนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ
         ความเสี่ยงที่เกิดจากการขยายหรือโยกย้ายการลงทุนของบริษัทต่างชาติในประเทศอื่นซึ่งจะกระทบต่อการผลิตและส่งออกของอุตสาหกรรมภายในประเทศ เนื่องจากการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทร่วมทุน และบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศซึ่งทำการผลิตตามแผนการผลิตของบริษัทแม่ การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อทิศทางและโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทยโดยการย้ายฐานการผลิตและการขยายการลงทุนของบริษัทต่างชาติในไทยจะส่งผลให้การผลิตและส่งออกสินค้านั้นๆ เติบโต ในขณะที่การย้ายฐานการผลิตออกไปยังต่างประเทศส่งผลในทางตรงกันข้าม ดังนั้นสำหรับประเทศไทยที่ต้องการจะเป็นฮับการผลิต0องภูมิภาค และยกระดับอุตสาหกรรมจากการเป็นผู้รับจ้างประกอบ การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศไปพร้อมๆกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในประเทศและอุตสาหกรรมสนับสนุนเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม
         การปรับตัวในอนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย
         ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม และการปรับตัวของภาครัฐและภาคธุรกิจ ดังต่อไปนี้
         1. การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
         การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีภาวะการแข่งขันสูง นวัตกรรมทำให้สินค้ามีความแตกต่างและเป็นจุดขาย เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่เทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของอุตสาหกรรม ในขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ที่เป็นบริษัทชั้นนำในต่างประเทศเป็นหัวหอกในการพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการในระดับรองๆลงมาและบริษัทโออีเอ็ม (Original Equipment Manufacturer) ที่รับช่วงผลิตสินค้า ก็ต้องมีการตามกระแสเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วที่สุด
        นอกจากนี้การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียังมีความจำเป็นในการรักษาและขยายตลาดส่งออกเนื่องจากประเทศคู่ค้า อาทิ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน ต่างก็มีข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าโดยสินค้าที่จะส่งออกไปขายยังตลาดเหล่านี้ได้จะต้องผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดยประเทศในกลุ่มยุโรปมีแนวโน้มที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและมาตรการประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคต
         2. การขยายฐานผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
         โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาในประเทศไทยได้แก่ ไฟฟ้าพลังงาน (โซลาร์เซลล์) และการผลิตระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) ซึ่งใช้ในการตรวจเช็คสินค้าและมีตลาดที่กว้างเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย ทั้งในวงการการค้าปลีก การเกษตร และโลจิสติกส์ นอกจานี้การที่ไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์จนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์จึงเป็นกลุ่มสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขึ้นในประเทศหรือมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้น
         3. การสร้างความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรม
         อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังขาดความเชื่อมโยงซึ่งเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่ม (value creation) ให้กับอุตสาหกรรม ไทยขาดอุตสาหกรรมต้นน้ำซึ่งมีมูลค่าสูง เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบวงจรรวม และยังไม่มีโรงงานผลิตวงจรรวม (wafer frabrication) นอกจากนี้ไทยยังขาดอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น metal stamping และ plastic molding การพัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมสนับสนุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้อุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขัน
         สรุป และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการปรับตัวของธุรกิจ
         ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการปรับตัวของธุรกิจที่จะเป็นการสนับสนุนทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้
         ภาครัฐ ภาครัฐสามารถส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมโดยการ
         ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ไทยยังมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูง(ร้อยละ 19-24 ของรายได้ประชาชาติ) เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหลายๆ ประเทศ เช่น สิงคโปร์(ร้อยละ 8) มาเลเซีย(ร้อยละ 13)1 และโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเรื่องกระแสไฟฟ้าซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม
การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของสายการผลิต และเพิ่มมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม และส่งเสริมการสร้างบุคลากรโดยร่วมมือกับทางภาคธุรกิจ ทั้งนี้ข้อจำกัดทางด้านบุคลากรของไทยคือ ขาดทักษะด้านภาษา ขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และผู้ที่มีความรู้ในการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
         การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อมุ่งให้เกิดการดึงคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเข้ามาด้วย ทั้งนี้การตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไม่เพียงแต่พิจารณาในเรื่องของนโยบายส่งเสริมการลงทุน ยังพิจารณาในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ ความพร้อมของบุคลากรและระดับเทคโนโลยีที่รองรับในประเทศนั้นๆ ด้วย ดังนั้นยุทธศาสตร์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจึงควรมีการคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วย
         มาตรการอื่นๆ ในการสนับสนุนและคุ้มครองอุตสาหกรรม อาทิ การพัฒนามาตรฐานสินค้าไทยเพื่อกีดกันสินค้าจีนด้อยคุณภาพเข้ามาตีตลาด การให้เงินอุดหนุนผู้ประกอบการในการทดสอบผลิตภัณฑ์ การลดทอนขั้นตอนและเอกสารในการขอคืนภาษี เป็นต้น
         ภาคธุรกิจ
         การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการทั้งในด้านการผลิตและการตลาด - ในยุควัตถุดิบและน้ำมันแพงมีราคาแพง ความสามารถในการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่ยังแข่งขันได้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีเพื่อความอยู่รอด ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนให้ได้ตามมาตรฐานสินค้าของประเทศที่ส่งออก จุดอ่อนของผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของทำการตลาด ผู้ประกอบการควรแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดควบคู่ไปกับการรักษาฐานลูกค้าเดิม ยกตัวอย่าง แทนที่จะลงแข่งขันในเรื่องราคากับสินค้าจีนซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ผู้ประกอบการควรปรับขบวนการผลิตโดยหันไปผลิตสินค้าที่เป็นล็อตเล็กๆ และรักษาคุณภาพไว้ โดยใช้จุดแข็งของไทยที่การผลิตมีความยืดหยุ่นสูงให้เป็นประโยชน์ และเน้นในเรื่องคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ขายได้ราคาดี นอกจากนี้การกระจายตลาดหรือการมีลูกค้าหลายๆ รายก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงของการขายสินค้า
         การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี ผู้ประกอบการไทยต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยการต่อยอดเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้ยังพัฒนาไปได้ไม่มากเท่าที่ควร แตกต่างจากผู้ผลิตต่างชาติที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไทยอาจเสียเปรียบในขนาดของตลาดและการขาดแคลนบุคลากรในการพัฒนาเทคโนโลยี ดังนั้นทางเลือกหนึ่ง ก็คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันมีการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหลัก (core technology) ขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงให้บริษัทแต่ละบริษัทนำไปต่อยอด เช่น ในกรณีเทคโนโลยี RFID ที่จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตเนื่องจากมีตลาดที่กว้าง มีการนำไปใช้มากขึ้นในธุรกิจโลจิสติกส์และคาดว่าจะใช้แพร่หลายมากขึ้นในธุรกิจ เช่น ค้าปลีกและการเกษตรในอนาคต แนวทางการพัฒนาอาจเป็นโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และสถาบันการศึกษา ร่วมกับเอกชนผู้ผลิต RFID และผู้ประกอบการในธุรกิจที่ใช้ RFID เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรมที่นำไปใช้โดยมีราคาที่ต่ำลง ซึ่งความร่วมมือในลักษณะนี้ระหว่างบริษัทหากเกิดขึ้นได้ก็จะเป็นประโยชน์มากทั้งในระดับบริษัทและระดับอุตสาหกรรม โดยในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องให้การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของภาคธุรกิจ เช่น การตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพื้นฐาน (basic R&D) ขึ้นมาก่อน และการให้เงินอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาร่วมกันของภาคธุรกิจ เป็นต้น

         Disclaimer
         รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
wattae
Verified User
โพสต์: 554
ผู้ติดตาม: 0

กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์และเครื่องจักรกล

โพสต์ที่ 69

โพสต์

โซนี่มุ่งพรีเมียม รับสนเน็ตบุ๊ก ซุ่มศึกษาลูกค้า

โพสต์ทูเดย SECTION B 22/08/2008 09:41:08


โพสต์ทูเดย์ โซนี่ ขอเวลาศึกษาผู้บริโภค ก่อนตัดสินใจร่วมสมรภูมิตลาดเน็ตบุ๊ก เผยเน้นตลาดพรีเมียม
นายฮิเดยูกิ ฟูรูมิ ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจไวโอ โซนี่ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ทิศทางการทำตลาดของไวโอนับจากนี้ จะยังเน้นสินค้าในกลุ่มพรีเมียมต่อไป ส่วนการที่เน็ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ราคาถูกเติบโตสูงในช่วงที่ผ่านมานั้น ยอมรับว่าสนใจจะทำตลาดดังกล่าวเช่นกัน แต่ต้องศึกษาหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเสียก่อน
ทั้งนี้ ในระยะสั้นยืนยันได้ว่า จะไม่มีสินค้าในกลุ่มดังกล่าวออกมาทำตลาดแน่นอน แต่หากลูกค้า ต้องการก็พร้อมที่จะพัฒนาออกมาจำหน่ายในระยะยาว แต่ต้องเป็นสินค้าระดับพรีเมียมของเซกเมนต์ ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงาน ของโซนี่
สำหรับภาพรวมตลาดโน้ตบุ๊กในประเทศไทยปีนี้ เชื่อว่าจะยังเติบโตได้ 20-30% จากปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 7.9 แสนเครื่อง โดยคาดว่าทั้งปีจะมียอดจำหน่ายที่ 1.009 ล้านเครื่อง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกพบว่า ขยายตัวไปแล้ว 30% ขณะที่โซนี่ก็เติบโตแล้วกว่า 30% และคาดว่าจะมีอัตราการขยายทั้งปีมากกว่า 50% ในปีนี้
ล่าสุด โซนี่ได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กใหม่ 3 ตระกูล จำนวน 6 รุ่น ราคาตั้งแต่ 4.999.49 หมื่นบาท  ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสินค้าหลักในการผลักดันยอดจำหน่ายให้เติบโตในประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนสโลแกนจาก No More Bounds เป็น  Closer to you เพื่อเน้นให้เห็น ถึงภาพลักษณ์ของไวโอ และภาย ในปี 2553 โซนี่ตั้งเป้าการเติบโตของไวโอทั่วโลกไว้ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญ สหรัฐ
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

ข่าว

โพสต์ที่ 70

โพสต์

กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON): "น้อยกว่าตลาด"
- บล.เอเซีย
 กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) - น้อยกว่าตลาดดัชนีหมวด  : 906.93 จุดมูลค่าตลาด : 99,298 ล้านบาทSemi Book to Bill Ratio เดือน ต.ค.53 อยู่ระดับที่ต่ำกว่า 1 เท่าแล้ว   SEMI Book to Bill Ratio ในเดือน ต.ค. 53 อ่อนตัวมาอยู่ที่ระดับ 0.98 เท่า          SEMI รายงานสัดส่วน Semi Book to Bill เดือน ต.ค. 53 ที่ระดับ 0.98 เท่า ซึ่งปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 เท่าเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค. 53 มียอดคำสั่งซื้อ (Demand) ของ Semiconductor Equipment เท่ากับ 1.59 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 3.5% mom แต่ยังคงเพิ่มขึ้นถึง 110% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดการผลิต (Supply) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ระดับเท่ากับ 1.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.7% mom และเพิ่มขึ้นถึง 133% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี   อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเริ่มชะลอตัวหลังพ้นช่วงฤดูกาล          การประกาศตัวเลข Semi Book to Bill Ratio รายเดือน ต.ค. 53 แสดงถึงสัญญาณอ่อนตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน บ่งบอกถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ผลิต Semiconductor จะเริ่มชะลอตัวลงในงวด 4Q53 และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงงวด 1Q54 ซึ่งเป็นผลจากพ้นช่วงฤดูกาลส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ การอ่อนตัวของสัดส่วน Semi Book to Bill อย่างต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าอยู่ในความคาดหมายของฝ่ายวิจัย ซึ่งเคยนำเสนอไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้น ฝ่ายวิจัยคาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการในกลุ่มชิ้นส่วนฯจะมีทิศทางที่สอดคล้องกับ Semi Book to Bill Ratio เช่นกัน กล่าวคือ กำไรสุทธิของกลุ่มชิ้นส่วนฯในงวด 3Q53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำระดับสูงสุดของปีในรายไตรมาส และหลังจากนั้นคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มชิ้นส่วนฯจะปรับตัวลดลงในงวด 4Q53 และต่อเนื่องจนถึงงวด 1Q54 นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงมีความกังวลต่อแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันต่อแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มชิ้นส่วนฯในช่วงที่เหลือของปี และต่อเนื่องถึงปี 2554   แนะนำลงทุนหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรเชิงรุกสวนทางกลุ่มฯ    
    ฝ่ายวิจัยยังคงน้ำหนักลงทุนน้อยกว่าตลาด เนื่องจากคาดการณ์ EPS ของกลุ่มฯ ปี 2554 จะเติบโตเพียง 8.5% yoy นอกจากนี้ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันแนวโน้มกำไรสุทธิของกลุ่มฯ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยแนะนำลงทุนหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรเชิงรุกสวนทางกับอุตสาหกรรมฯ ซึ่งได้แก่ DELTA (Fair value 40 บาท) และ SMT (Fair value 22 บาท) เนื่องจาก DELTA ประสบความสำเร็จจากธุรกิจ Solar Inverter (อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์) ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในปี 2553-54 จะมีการเติบโตเชิงรุกต่อเนื่อง อีกทั้ง สามารถคาดหวัง Div yield ในปี 2553-54 ที่อยู่ในระดับสูงถึง 9% p.a. สำหรับ SMT เน้นกลยุทธ์ในการเพิ่มสัดส่วนยอดขายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภท High margin มากขึ้น และขยายฐานลูกค้าเพิ่มอีกจำนวน 4 ราย ส่งผลให้แนวโน้มกำไรสุทธิของปี 2553-54 สามารถเติบโตเชิงรุกเช่นกัน   Key Data (ล้านบาท)FY: ปิด 31 ธ.ค.             FY50A     FY51A     FY52A     FY53F     FY54Fยอดขาย                   169,708   198,980   172,923   195,334   211,385ต้นทุนขาย                 -152,406  -181,531  -156,941  -174,816  -188,072ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร   -8,517    -9,046    -8,810    -9,449   -10,704กำไรสุทธิ                    9,435     7,447     6,611    11,159    12,109EPS (บาท)                  77.84      73.3     61.99    102.74    111.44EBIT                       8,785     8,403     7,173    11,069    12,609PER (เท่า)                  10.78       4.4     10.04      8.83      8.14PBV (เท่า)                    1.8      0.61      1.21      1.56      1.43FX - THB/USD               34.49     33.28     34.18        32        31
ที่มา: ฝ่ายวิจัย ASP  
นักวิเคราะห์:  อุษณีย์ ลิ่วรัตน์        เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 017928 [email protected]      
     ธิปธวัช สุวรรณธำมรงค์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 034124 [email protected]        
    โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553   ------------------------------------------------------------------------------------------------          ข้อมูลในเอกสารฉบับนี้ รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ไม่สามารถที่จะยืนยันหรือรับรองความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ได้ ไม่ว่าประการใด ๆ บทวิเคราะห์ในเอกสารนี้ จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือพันธะผูกพันใด ๆ กับ บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ไม่ว่ากรณีใด