อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news20/02/08

โพสต์ที่ 331

โพสต์

ธปท.ชี้ธุรกิจแบงก์ฐานะแกร่ง

โพสต์ทูเดย์ ธปท.เชื่อปี 2551 แบงก์พ้นมรสุม หลังเงินทุนปึ้ก คาดฟันกำไรเพิ่ม


นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ในปี 2551 คาดว่าจะดีขึ้น เนื่อง ปี 2550 ธนาคารพาณิชย์มีการ ปรับตัวรับความเสี่ยงและความผันผวนของเศรษฐกิจ ประกอบกับภาพรวมธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ มีเงินกองทุนที่เพียงพอที่จะขยายธุรกิจ

ทั้งนี้ ในปี 2550 ระบบธนาคารมีการเพิ่มทุนรวม 9.5 หมื่นล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 15% สูงกว่าที่ ธปท.กำหนด ทำให้ในปีนี้ธนาคารยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนใหม่

ธปท.ได้สรุปผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี2550 มีกำไรจากการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นเป็น 1.58 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายด้านการกันสำรองและภาษีแล้วมีกำไรสุทธิ 2.5 หมื่นล้านบาทลดลงจากปี 2549 ที่มีกำไรสุทธิ 6.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธนาคารมีการกันสำรองเพิ่มขึ้น

ด้านสินเชื่อของธนาคารขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ 5.9% เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับธนาคารมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ โดยแยกเป็นสินเชื่อภาคธุรกิจที่คิดเป็น 76.5% ของสินเชื่อรวม ขยายตัว 1.5% ลดลงจากปีก่อนที่ 2.8% ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคคิดเป็น 23.5% ขยายตัว 16% ลดลงจากปีก่อนที่ 19.6%

ด้านเงินฝากมีการขยายตัวเพียง0.5% ชะลอลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว 6% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยลดลง ผู้ฝากเงินหักไปเลือกรูปแบบการออมอื่นๆ แทน เช่น กองทุนรวม พันธบัตรออมทรัพย์ และตั๋วแลกเงิน

ธนาคารพาณิชย์หันมาระดมเงินด้วยการออกตั๋วแลกเงินมากขึ้นโดยปี 2550 มียอดเงินฝากรวม 6.5ล้านล้านบาท และมีตั๋วแลกเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท และแนวโน้มการออกตราสารทางการเงิน เช่น ตั๋วแลกเงินจะมีมากขึ้น หลังจากวันที่ 15 ส.ค. ที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ นางฤชุกร กล่าว

นางฤชุกร กล่าวว่า สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดคงค้าง 4.53 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.3% ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก ปีก่อนที่อยู่ที่ 7.5% โดยสินเชื่อ ภาคธุรกิจมีเอ็นพีแอลเพิ่ม 1.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.2% ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคมีเอ็นพีแอล ลดลง 4 พันล้านบาท หรือลดจาก 4.8% เหลือ 4% จากการลดลงของเอ็นพีแอลสินเชื่อที่อยู่อาศัย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=221882
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news26/02/08

โพสต์ที่ 332

โพสต์

KBANKกอดแชมป์สินเชื่อพุ่งม.ค.

-สินเชื่อแบงก์ประเดิมต้นปีเดือนแรกยังทรงตัวจากธ.ค.เพราะลูกค้าSCBแห่ชำระคืน ฉุดยอดสินเชื่อทั้งกลุ่มไม่สดใส  แต่KBANKยังขึ้นแท่นสินเชื่อโตดีสุดในกลุ่ม ตามด้วยKTB  ส่วนแบงก์เล็กไม่น้อยหน้าพาเหรดสินเชื่อโต  โบรกมองสินเชื่อแบงก์ปีนี้ไปได้สวยต่อเนื่อง โดยเฉพาะไตรมาส4 พุ่งปรี๊ดขานรับไฮซีซั่น และอานิสงส์เมกะโปรเจ็กต์
    บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย จำกัด ระบุว่า สินเชื่อของธนาคาร 10 แห่งในเดือนมกราคม 2551 อยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. แม้ว่าธนาคารส่วนใหญ่จะมีสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น แต่การลดลงของสินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์(SCB)ที่สูงถึง 2.3 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 3.1%จากเดือนก่อนทำให้ภาพรวมของสินเชื่อกลุ่มธนาคารไม่ได้เติบโต
         ทั้งนี้ธนาคารขนาดใหญ่ที่มีสินเชื่อเติบโตสูงที่สุดได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) โต 1.0% และ ธนาคารกรุงไทย(KTB)โต 0.7% ขณะที่ SCB และ TMB เป็นเพียง 2 ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลง สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก สินเชื่อเติบโตดีเช่นกัน TBANKโต 2.5%, TISCOโต 1.4%, KKโต 4.5% อย่างไรก็ตาม SCB มียอดสินเชื่อปรับลดลงอย่างประหลาดใจ โดยปรับลดลงถึง 3%จากเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่มาจากการชำระคืนในภาคสินเชื่อธุรกิจ
    นายวรวัฒน์ สายสุพัฒน์ผล ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ(ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์จะเป็นช่วงขาขึ้นของการปล่อยสินเชื่อแต่ละแห่ง  ถึงแม้ว่าเดือนมกราคมที่ผ่านมายอดปล่อยสินเชื่อจะลดลง 0.1% แต่เชื่อว่าสินเชื่อของกลุ่มธนาคารมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง
โดยคาดว่าในเดือนก.พ.ธนาคารขนาดใหญ่ เช่น  SCBจะปล่อยสินเชื่อมากที่สุด รองมาคือ KBANK และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BBL  ส่วนธนาคารที่จะขยายสินเชื่อมากขึ้นในไตรมาส2/2551 คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
    อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการเมืองที่ชัดเจนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ต่อการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์  โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจ็กต์ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล  ซึ่งหากมีความชัดเจนขึ้นในเชิงบวก จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นตัว  และส่งผลดีต่อสินเชื่อกลุ่มธนาคารเติบโตขึ้นด้วย
นายธนัท รังษีธนานนท์ นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในเดือนมกราคมธนาคารพาณิชย์มียอดปล่อยสินเชื่ออยู่ที่   12,000 ล้านบาท แต่คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์จะมีแนวโน้มดีขึ้น  ส่วนเดือนมกราคมยอดปล่อยสินเชื่อน้อยกว่าเดือนธันวาคมเพราะSCBได้รับการชำระคืนจากลูกค้าเข้ามา โดยมียอดชำระคืนเข้ามา 20,000 กว่าล้านบาท  ดังนั้นแม้ว่าธนาคารอื่นๆจะมีอัตราปล่อยสินเชื่อที่สูง แต่การที่ธนาคารใหญ่SCBมียอดชำระคืนเข้ามามาก ส่งผลให้สินเชื่อทั้งระบบในเดือนม.ค.ลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้แนวโน้มปล่อยสินเชื่อในเดือนก.พ.คาดว่าธนาคารขนาดใหญ่ยังมียอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องขณะที่ธนาคารขนาดเล็กคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นธนาคารที่มีขนาดเล็กมากจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท
    ด้านนางสาวอุษณีย์ ลิ่วรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มสินเชื่อเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะไม่แตกต่างจากเดือนมกราคมเนื่องจากในช่วงไตรมาส1 เป็นช่วงที่มีการปล่อยสินเชื่อน้อยสุด  แต่สินเชื่อจะเริ่มทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส2จนถึงไตรมาส4 เป็นต้นไป  โดยเฉพาะไตรมาส4ของทุกปีจะเป็นช่วงที่ธนาคารมียอดปล่อยสินเชื่อมากสุดของปี
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news01/03/08

โพสต์ที่ 333

โพสต์

บอนด์ออมทรัพย์เดี้ยงเหลืออื้อ2.1หมื่นล้าน

โพสต์ทูเดย์ ธปท.ยอมแพ้ปรับลดวงเงินขายพันธบัตรออมทรัพย์เหลือ 2.99 หมื่นล้านบาท จากเดิม 5 หมื่นล้านบาท เหตุดอกเบี้ยต่ำไม่จูงใจ


นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อปรับลดวงเงินออกพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. ปี 2551 ครั้งที่ 1 จากเดิมที่กำหนดวงเงินรวมไว้ 5 หมื่นล้านบาท เหลือ 2.99 หมื่นล้านบาท ตามยอดจองซื้อ

จำนวนพันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกมานั้น แบ่งเป็นพันธบัตรอายุ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.75% จำนวน 1.22 หมื่นล้านบาท และพันธบัตรอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.5% อีก 1.77 หมื่นล้านบาท

พันธบัตรดังกล่าวมีการนำออกขายเมื่อช่วงวันที่ 18-26 ก.พ.ที่ผ่านมา ผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่ายทั้ง 9 แห่ง คือ กรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ซิตี้แบงก์ ไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย์ นครหลวงไทย ยูโอบี และเอชเอสบีซี แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้หมดทั้งจำนวน

แหล่งข่าวจากสายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า สาเหตุที่ธนาคารขายพันธบัตรไม่หมด เพราะอัตราดอกเบี้ย ที่ให้ 3.75% และ 4.5% ยังไม่จูงใจผู้ออมเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ออก 4 ปี และ 7 ปี ซึ่งเป็นการออมระยะกลาง และระยะยาว

ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนในระดับ 3.75% ใกล้เคียงกับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในระยะ 4-9 เดือน ซึ่งให้ผลตอบแทน 3%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=223911
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news04/03/08

โพสต์ที่ 334

โพสต์

ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม
         กลุ่มธนาคารพาณิชย์
         ประเด็นข่าว :
ธปท.จี้แบงก์พาณิชย์บริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พร้อมแจงนโยบายการกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์โดยมุ่งเน้นใน 4 ประเด็นคือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการ การบริหารจัดการการควบคุมภายในเพื่อรองรับกฎเกณฑ์ใหม่ๆ และความพอเพียงของเงินทุน (ผู้จัดการรายวัน)
         ความเห็นและคำแนะนำ : แม้ภาพรวมธนาคารพาณิชย์ไทยจะมียอดคงค้างเงินลงทุนในตราสาร CDO อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ  อย่างไรก็ตาม SCIBS เชื่อว่าใน Q1/51 จะยังมีบางธนาคารที่อาจจะต้องตั้งสำรองเพิ่มเติมจากมูลค่าของตราสาร CDO ที่ยังลดลงและขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย โดยปัจจุบันธนาคารที่มียอดคงค้างในตราสาร CDO ได้แก่  BT (US260mn), KTB (US160mn), BAY (US85mn) และ BBL (US50mn) ทั้งนี้จะไม่กระทบฐานะทางการเงินของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยที่ระดับค่อนข้างสูงถึง 14-15%  นอกจากนี้เชื่อว่าการเตรียมความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ล่วงหน้า ในเรื่องของการรองรับและการบริหารความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา   จะสามารถทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง   แนะนำลงทุนในธนาคารขนาดใหญ่ ที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง BBL, KBANK , BAY และธนาคารขนาดเล็กที่ให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลในระดับสูง TISCO, KK
โดยบริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2551
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news12/03/08

โพสต์ที่ 335

โพสต์

กดเงินสดผ่านบัตรสนั่น ธุรกิจซบ-ให้กู้บุคคลรุ่ง

โพสต์ทูเดย์ ยอดกดเงินสดบัตรเครดิต 1.98 หมื่นล้าน สินเชื่อเงินสดพุ่ง


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลการให้บริการบัตรเครดิตงวดสิ้นเดือน ม.ค. พบว่า ทั้งระบบมีบัตรเครดิต 10.79 ล้านบัตร เพิ่มขึ้น 9.95 แสนบัตร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และพบว่าในเดือนนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยการเบิกเงินสดล่วงหน้าขยายตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้ารวมสูงถึง 1.98 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านบาท หรือ 6.53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเบิกเงินสดผ่านบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ 1.52 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 พันล้านบาท หรือ 8.39% เบิกเงินผ่านบัตรเครดิตของสาขาธนาคารต่างประเทศ 1.09 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท ส่วนยอดกดเงินสดผ่านธุรกิจเงินกู้ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ 3.59 พันล้านบาท ลดลง 101 ล้านบาท คิดเป็น 2.74%

สำหรับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในประเทศ 6.06 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.34 พันล้านบาท และใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 515 ล้านบาท ส่งผลให้มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมทั้งสิ้น 8.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.07 พันล้านบาท คิดเป็น 12.24% ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตทั้งระบบมีจำนวน 1.75 แสนล้านบาท

ทางด้านยอดสินเชื่อบุคคลล่าสุดมียอดสินเชื่อคงค้าง 2.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.33 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการขยายสินเชื่อสู่ภาคครัวเรือนมากขึ้น เนื่องจากปล่อยกู้ภาคธุรกิจไม่ ค่อยได้ เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=226021
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news21/03/08

โพสต์ที่ 336

โพสต์

ม.หอการค้าชี้คนไทยระวังใช้บัตรเครดิตเหตุยังไม่เชื่อมั่นศก.

20 มีนาคม พ.ศ. 2551 13:45:00

ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้บัตรเครดิตชี้คนไทยยังไม่เชื่อมั่นเศรษฐกิจ ทำระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น คาดยอดใช้บัตรเครดิต ปีนี้ เม็ดเงินหมุนเวียนผ่านบัตร 9.6 แสนล้านบาท โตขึ้น 15.24%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
   ดร.ยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความเห็น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของประชาชน ระหว่างวันที่ 11-15 มี.ค. 51 จำนวน 1,201 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 74.1% ถือบัตรเครดิต 1-2 ใบต่อคน ส่วนสิ่งที่จูงใจที่ทำให้สมัครบัตรเครดิต ลำดับ 1 ระดับดอกเบี้ยต่ำ 2. บริการ/ความสะดวกที่ได้รับ 3. ดอกเบี้ยผ่อนสินค้า

ขณะที่มูลค่าการใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 6,138.85 บาทต่อเดือน และเมื่อถามว่ามูลค่าการใช้ในปัจจุบันพบว่า 37.4% ใช้เพิ่มขึ้น 46.9%ลดลง และ 15.7% เท่าเดิม และเมื่อถามถึงแนวโน้มมูลค่าการใช้จ่ายผ่านบัตรในช่วง 6 เดือนข้างหน้า พบว่า 39.1% เพิ่มขึ้น 42.5% ลดลง และ 18.5% เท่าเดิม

    สาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นเพราะ สะดวกสบาย เศรษฐกิจดี ได้รับวงเงินมากขึ้น รายได้มากขึ้น เอาเงินไปหมุนก่อน ส่วนกลุ่มที่ตอบว่าลดลงเพราะ กลัวเป็นหนี้มากขึ้น เศรษฐกิจแย่ รายได้ลดลง วงเงินเต็มแล้วและไม่สะดวกในการใช้ ดร.ยาใจ กล่าว

    ส่วนลักษณะการใช้ 31.7% เพื่อเบิกเงินสุด 34.5% ใช้แทนเงินสด 33.8% ใช้ผ่อนสินค้า เมื่อถามถึงการชำระเงินค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิตพบว่า 1.3% ชำระทั้งหมด และ 98.7% ชำระบางส่วน ในจำนวนนี้ 5% ชำระเพียง 11.4% ของหนี้ทั้งหมด และ 86.9% ชำระเพียง 10-20% ของหนี้ทั้งหมด และมีเพียง 4% ที่ไม่ชำระหนี้
http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/2 ... sid=240658
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/04/08

โพสต์ที่ 337

โพสต์

4เดือนธปท.กู้แบงก์2.4ล้านล้าน

โพสต์ทูเดย์ แบงก์แฉยับ ระยะ 4 เดือน ธปท.ออกพันธบัตรดูดเงินจากระบบกระจาย 2.41 ล้านล้านบาท อย่าหวังดอกเบี้ยลง


แหล่งข่าวธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อดูดเงินจากระบบสถาบันการเงินระยะ 14 วัน ไปกว่า 2.41 ล้านล้านบาท ทำให้การลดดอกเบี้ยลงมาเป็นไปได้ยากขึ้น

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ถ้าพิจารณา ยอดการออกพันธบัตร ธปท.เป็น รายเดือน จะเห็นตัวเลขการดูดซับสภาพคล่องที่ชัดเจน โดยเดือน ม.ค.-ก.พ. ประมาณ 8.8 แสนล้านบาท ช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. ประมาณ 1.24 ล้านล้านบาท และช่วงเดือน เม.ย. นี้อีกประมาณ 2.9 แสนล้านบาท ถ้ารวมเพียงแค่นี้หมายถึงว่า ธปท.ต้องมีภาระต้นทุนเรื่องดอกเบี้ยประมาณ 7.83 หมื่นล้านบาทแล้ว

เท่าที่เราประเมินภาพคร่าวๆ ธปท.จะกำหนดการออกพันธบัตรเพื่อดูดสภาพคล่องไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 แสนล้านบาทอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ ส่วนหนึ่งนำไปรองรับการปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลที่มักจะ ขาดดุลเงินสดอย่างต่อเนื่อง จึงต้องกู้ยืมจาก ธปท.แทบทุกเดือน ล่าสุด ก็มีการปล่อยกู้อยู่ 1.57 แสนล้านบาท ขณะที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการที่ ธปท.กู้เงินจากระบบสถาบันการเงินในงวดวันที่ 28 มี.ค. นั้นประมาณ 2.11 ล้านล้านบาท ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แบงก์จะนำเงินไปปล่อยกู้ในตลาดอาร์พีแทน แหล่งข่าวกล่าว

นักบริหารเงินธนาคารต่างประเทศ รายหนึ่งประเมินว่า การกู้ยืมเงินผ่านตลาดการเงินของ ธปท.ถือว่าเป็นปกติ เพื่อนำเงินไปชดใช้ส่วนที่ยังขาดอยู่ และนำไปทำกำไรจากค่าเงินบาท เพียงแต่มีผลข้างเคียงในเรื่องการขึ้นหรือปรับลดดอกเบี้ย และการปล่อยกู้ในภาคเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=230955
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news07/04/08

โพสต์ที่ 338

โพสต์

บาทยังแข็งผู้นำเข้าเริ่มขยับ

ค่าเงินบาทในระยะที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว เพราะตลาดขาดปัจจัยใหม่ มากระตุ้น กระนั้นก็คงต้องจับตาดูแรงซื้อเงินเหรียญสหรัฐของผู้นำเข้าที่มีสัญญาณเพิ่มขึ้น


นักค้าเงินธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ค่าเงินบาทสัปดาห์นี้น่าจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ที่ระดับ 31.5-31.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าผู้นำเข้าจะเข้ามาซื้อเงินเหรียญสหรัฐมากขึ้น หลังจากผู้ส่งออกขายเงินเหรียญสหรัฐไปมากแล้ว สัปดาห์นี้ค่าเงินบาทอาจจะอ่อนค่าได้เล็กน้อย ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 9 เม.ย.นี้

นักค้าเงินธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่า ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.6-31.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยต้องดูตัวเลขการ จ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ที่ประกาศออกมาเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 เม.ย. อย่างไรก็ดี นักค้าเงินคาดกันว่าตัวเลขจะออกมาไม่ค่อยดี จึงอาจมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น สำหรับการประชุม กนง. คาดว่าไม่น่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง จึงไม่น่าจะมีผลอะไรต่อตลาดเงิน

นักค้าเงินธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 31.58-31.72 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งอยู่บนสมมติฐานว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาไม่ดี แต่ กรณีที่ตัวเลขออกมาดี ค่าเงินบาทก็อาจอ่อนค่ากว่านี้

ทั้งนี้ ต้องจับสัญญาณการเข้าแทรกแซงค่าเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าต้องการเห็นค่าเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด ประกอบกับติดตามข่าวการจัดตั้งคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าจะมีการเข้าดูแลบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ธปท.ก็ได้เข้ามาดูแลค่าเงินอย่างใกล้ชิด สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=231034
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news09/04/08

โพสต์ที่ 339

โพสต์

แบงก์Q1กำไรอู้ฟู่1.87หมื่นล.

ผลงานแบงก์ไตรมาสแรก  คาดทั้งกลุ่มโชว์กำไรสวยรวม 1.87 หมื่นล้านบาท เพราะกรุงไทยและทหารไทยสำรองหนี้ลดลง   ส่วนทั้งกลุ่มสินเชื่อโต   ส่วนต่างดอกเบี้ยพุ่ง 3.6%  กวาดปันผลวายุภักษ์รวม 1.91 พันล้านบาท  โดยเฉพาะแบงก์ใหญ่แววดีกำไรโด่งนำกลุ่มทั้งKTB,BBL,SCB และKBANK   ขณะที่TMBใจชื้นพลิกทำกำไร  หลังจากขาดทุนติดกัน 3 ไตรมาส              
         บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด(มหาชน) ยังให้น้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากกว่าตลาด  โดยแนะนำลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัวเพื่อจำกัดความเสี่ยงจากการปรับฐานราคาในระยะสั้น เนื่องจากดัชนีกลุ่มฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก  ทั้งนี้หุ้นเด่นในกลุ่มยังเลือก KBANK และ BAY ซึ่งยังมี upside สูงให้เข้าลงทุน และยังมีพื้นฐานแข็งแกร่งทั้งเงินกองทุน และการตั้งสำรองหนี้ฯ สูง รวมทั้งแนวโน้มเติบโตของธุรกิจที่ชัดเจน ส่วน SCB, KTB และ SCIB แนะนำให้เข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากคงเหลือ upside ในระดับต่ำ  และคงคำแนะนำขายหุ้น BT และ TMB
    สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส1/2551ของธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง คาดว่าจะรายงานกำไรสุทธิ 1.87  หมื่นล้านบาท ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะ จากการขาดทุนสุทธิถึง 1.31 หมื่นล้านบาทในไตรมาส4/2550 เนื่องจากการลดลงของการตั้งสำรองหนี้ฯ ในงวดนี้  โดยเฉพาะ TMB และ KTB ที่คาดว่าจะกันสำรองหนี้ฯ ลดลงอย่างมีนัยยะ
    ทั้งนี้ KTB, BBL, SCB และ KBANK เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะมีการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่นในไตรมาส1/2551 เช่นเดียวกับ TMB ที่คาดว่าจะกลับมาแสดงกำไรสุทธิเล็กน้อยในงวดนี้ จากที่ขาดทุนสุทธิต่อเนื่องถึง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ส่วน BAY และ SCIB คาดว่าจะมีการลดลงของกำไรสุทธิในไตรมาส1/2551   โดย BAY คาดว่าจะการตั้งด้อยค่าของเงินลงทุนในตราสาร CDO (Collateralized Debt Obligations) ที่ลงทุนอยู่  ส่วน SCIB ส่วนใหญ่เนื่องจากการตั้งสำรองหนี้ฯสูงขึ้น ตาม NPL ที่เพิ่มขึ้นในงวดนี้  
        นอกจากนี้คาดว่า  BAY, KTB, BBL และ KBANK จะแสดงการเติบโตของสินเชื่อโดดเด่นสุดในงวดนี้ โดย BAY ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับ GECAL บริษัทย่อยที่ BAY ถือหุ้น 100% ขณะทีสินเชื่อประเภทอื่นๆ ของ BAY ล้วนมีการเติบโตสูงเช่นกัน ส่วน KTB ได้รับอานิสงส์จากการขยายสินเชื่อโครงการภาครัฐ ที่เริ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับ BBL และ KBANK แม้การขยายสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อระยะสั้นจากภาคการเกษตร และอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นสัญญาณที่ดีขึ้น (สินเชื่อระยะยาวส่วนใหญ่เป็นโครงการโรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี) บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรม
    สำหรับส่วนต่างดอกเบี้ยรับ(NIM)ในไตรมาส1/2551 ฝ่ายวิจัยคาดเพิ่มขึ้น 10bp จากงวดที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 3.57%เนื่องจาก1.การเพิ่มขึ้นของรายได้จากเงินปันผลกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งบันทึกเข้ามารวม 1.91 พันล้านบาทในไตรมาส1/2551 (จ่ายอัตรา 4% สำหรับงวดครึ่งปีหลัง2550) 2. การขยายสินเชื่อใหม่ๆ เชิงรุกที่เพิ่มขึ้นมากไตรมาส1/2551 ทำให้ Yield ยังทรงตัวสูงจากงวดที่ผ่านมาที่ระดับ 5.35% โดยคาดรายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้น 2.7%จากไตรมาสก่อน และ 3. ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเฉลี่ยที่ทรงตัวจากไตรมาส4/2550 อยู่ที่ 2.07% โดยยังไม่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น
    บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน)คาดการกลุ่มธนาคารจะมีกำไรสุทธิรวม 20.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากไตรมาสก่อนที่ขาดทุน 8.5 พันล้านบาท โดยคาดว่ากำไรจากการดำเนินงาน (Pre-tax PPOP)เพิ่มสูงถึง 17%จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ 8%จากไตรมาสก่อนเนื่องจากส่วนต่างดอกเบี้ยไตรมาส1/2551จะอยู่ที่ 3.6%จากต้นทุนเงินฝากประจำที่ลดต่อเนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยในปีก่อนและเงินฝากอัตราดอกเบี้ยสูงบางตัวหมดอายุ และสินเชื่อขยายตัวดีเกินคาดจากการฟื้นตัวของสินเชื่อบรรษัท โดยเฉพาะสินเชื่อระยะสั้นและสินเชื่อทุนหมุนเวียน  รวมทั้งรายรับค่าธรรมเนียมสูงขึ้น
         สำหรับธนาคารที่คาดว่าจะมีการขยายตัวของกำไรจากการดำเนินงาน (Pre-tax PPOP)สูงสุด 3 อันดับแรกคือ SCB, BAY, และ KBANK ตามลำดับ ส่วนธนาคารที่มีการขยายตัวของกำไรเพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อนสูงสุดคือ SCIB, TMB, และ SCB
BBL(8 เม.ย.)ปิดที่ 141.00 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 714.31 ล้านบาท,KBANKปิดที่ 91.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท มูลค่าซื้อขาย 366.32 ล้านบาท ,SCB ปิดที่ 90.50 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าซื้อขาย 884.18 ล้านบาท,KTB ปิดที่ 10.70 บาท ลดลง 0.10 บาท มูลค่าซื้อขาย 162.36 ล้านบาท
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/04/08

โพสต์ที่ 340

โพสต์

Banking Sector : คำแนะนำ Overweight
         คาดผลประกอบการไตรมาส 1/51 ของกลุ่ม ธ.พ. มีกำไรสุทธิรวม 22,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6%YoY เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มมากขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ปรับลดลง โดย SCIB จะเป็นธนาคารที่มีกำไรสุทธิเติบโตเด่นที่สุด ส่วน KTB กำไรสุทธิจะหดตัวลง เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/50 แล้วผลประกอบการของกลุ่มธ.พ. จะเติบโตขึ้นถึง 366.3%QoQ การตั้งสำรองที่ลดน้อยลงมาก และการได้รับเงินปันผลจากกองทุนวายุภักษ์ในหลายธนาคาร โดย KTB เป็นธนาคารที่กำไรสุทธิเติบโตมากที่สุด และ SCIB เป็นธนาคารเดียวที่กำไรสุทธิลดลง เรายังให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม ธ.พ.สูงกว่าตลาด จากการที่ปี 2551 ภาระการตั้งสำรองจะลดน้อยลงส่งผลให้ผลประกอบการเติบโตขึ้นอย่างมาก และยังแนะนำให้ลงทุนใน ธ.พ. ขนาดใหญ่ และให้ BAY เป็นหุ้น Top pick
โดย บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด ประจำวันที่ 11 เมษายน 2551
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news11/04/08

โพสต์ที่ 341

โพสต์

กม.คุ้มครองเงินฝากดีเดย์11ส.ค.

ธปท.ชี้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากเริ่มประกาศใช้ 11 ส.ค.นี้    ไม่กระทบเงินฝากไหลออกจากแบงก์เล็กเข้าแบงก์ใหญ่   แต่กระตุ้นแบงก์พาณิชย์เร่งควานหาสินค้าใหม่ดูดลูกค้าเข้ามาฝากเงิน  เพื่อแข่งกับบลจ.และธุรกิจประกันชีวิต   เชื่อกว่าจะถึงปีที่ 5 ที่คุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาท   แบงก์เล็กฐานะการเงินแข็งแกร่งขึ้นแล้วเพราะส่วนใหญ่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติหนุนธุรกิจ  
    นายณัฐ   ตาปสนันทน์  ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.)  เปิดเผยว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากฉบับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ส.ค. 2551  ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินงานด้านบริหารได้ดีมากขึ้น และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อกระตุ้นการฝากเงินของลูกค้า  ส่วนประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินจะได้รับเมื่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศใช้คือ จะมีกฏหมายรองรับอย่างชัดเจนว่า เมื่อธนาคารพาณิชย์ถูกปิดกิจการสิ่งที่ผู้ฝากเงินจะได้คือ การได้รับเงินฝากคืนอย่างรวดเร็ว  
    ทั้งนี้การกำหนดใช้ พรบ.ดังกล่าวนี้จะไม่กระทบในการถอนเงินจากธนาคารขนาดเล็กเข้าไปในธนาคารขนาดใหญ่เพราะสถาบันฯจะคุ้มครองเงินต้นแก่ผู้ฝากเงินในจำนวนเท่ากันทุกธนาคาร โดยในปีแรกให้ความคุ้มครองเต็มจำนวน และในปีที่ 2 ลดลงเหลือ 100 ล้านบาท ปีที่ 3 เหลือ 50 ล้านบาท ปีที่ 4 เหลือ 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 เป็นต้นไปเหลือ 1 ล้านบาท
     ขณะเดียวกันในต่างประเทศที่มีสถาบันคุ้มครองเงินฝากไม่ปรากฎว่ามีปัญหาเรื่องการไหลออกของเงินฝากไปยังธนาคารใดธนาคารหนึ่ง   ส่วนกรณีที่จะมีเงินฝากไหลออกไปยังตลาดตราสารหนี้มองว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของคนฝากเงิน อีกทั้งจะเป็นการบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงาน เพื่อให้มีความมั่นคงและดึงดูดใจแก่ผู้ฝาก แต่การฝากเงินมีความคล่องตัวแก่ผู้ฝากในการถอนเงินมากกว่า ซึ่งต่างจากพันธบัตร
      อย่างไรก็ตาม  สถาบันการเงินควรจะมีการเปิดเผยข้อมูลแก่นักลงทุนที่มีความกังวลว่าสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้จะมีความมั่นคงหรือไม่นั้น รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมการฝากเงินของรายใหญ่ ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่นรายใหญ่ถอนเงินออกไปทั้งก้อน เป็นข้อบ่งชี้ให้ผู้ฝากระวังตัวมากขึ้นในการตรวจสอบความมั่นคงของสถาบันการเงินนั้นๆ  ทั้งนี้ถ้าพ.ร.บ.เงินฝากประกาศใช้ได้กำหนดเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงินในอัตราไม่เกิน 1%ของเงินฝาก  จากปัจจุบันที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเรียกเก็ฐในอัตรา 0.4%เนื่องจากนำเงินดังกล่าวมาชดเชยให้ผู้ฝากเงินหากสถาบันการเงินปิดกิจการลง
  ซึ่งการคุ้มครองเงินฝากนั้นจะเป็น ประโยชน์แก่ผู้ฝากเงิน โดยผู้ฝากจะได้รับเงินคืนโดยเร็วในวงเงินที่คุ้มครอง โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้การคุ้มครองธนาคารพาณิชย์ทั้งของไทยและต่างชาติ รวมทั้งบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ที่ฝากเงินในรูปของสกุลเงินบาท   นายณัฐ กล่าว
ด้านนายบรรลือศักดิ์  ปุสสะรังษี    ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT กล่าวว่า หลังประกาศใช้พ.ร.บ.ใหม่มองว่าในช่วง 2 ปีแรกจะยังจะไม่มีปัญหา  แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ผู้ฝากเงินต้องศึกษาเกี่ยวกับธนาคารที่ทำการฝากเงินทั้งสินทรัพย์ว่ามีความแข็งแกร่งหรือไม่  
    สำหรับการเคลื่อนย้ายเงินฝากจากธนาคารขนาดเล็กมาสู่ธนาคารขนาดใหญ่นั้นมองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เนื่องจากเมื่อครบระยะเวลาคุ้มครองในวันที่ 11 ส.ค.55 ซึ่งเป็นที่ 5 ที่จะคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทมองว่าจะไม่ส่งกระทบต่อธนาคารขนาดเล็กเพราะกว่าจะถึงช่วงเวลาดังกล่าวเชื่อว่าธนาคารขนาดเล็กจะปรับตัวดีขึ้น และมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งมากขึ้นเนื่องจากธนาคารขนาดเล็กส่วนใหญ่จะมีต่างชาติถือหุ้นเกือบทุกธนาคาร  
    นอกจากนี้ การกระจายความเสี่ยงเมื่อครบระยะเวลามองว่าสามารถจะนำเงินไปฝากกับธนาคารอื่นได้จนครบจำนวนเงิน  อีกทั้งหลังประกาศใช้พ.ร.บ.ใหม่เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องแข่งขันกับกองทุนรวม และประกันชีวิตต่างๆ เนื่องจากมีความได้เปรียบกว่า
http://www.thunhoon.com/home/
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/04/08

โพสต์ที่ 342

โพสต์

4แบงก์เจอซีดีโอกำไรหด

โพสต์ทูเดย์ ฟิทช์คาด 4 ธนาคารยังต้องตั้งสำรองซีดีโอเพิ่ม หลังวิกฤตสหรัฐยังไม่เห็นอนาคต


นายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ความเสี่ยงหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องเจอ ก็คือความเสี่ยงในการลงทุนในตราสาร ซีดีโอ และคาดว่าธนาคารขนาดใหญ่ที่ลงทุนในตราสารดังกล่าว น่าจะสามารถจัดการและรับมือกับความเสี่ยงในส่วนนี้ได้ โดยฟิทช์คาดว่าธนาคารเหล่านี้จะมีการรายงานการขาดทุนเพิ่มเติมจากการตั้งค่าเผื่อการปรับมูลค่าตลาดในการลงทุนในตราสารซีดีโออีกในไตรมาสแรกของปีนี้

นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แม้ธนาคาร 4 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ไทยธนาคาร และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่มีสินทรัพย์อ้างอิง หรือซีดีโอ (Collateralized Debt Obaligations) ได้ตั้งสำรองด้อยค่าไปตั้งแต่ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว แต่เชื่อว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ละธนาคารยังคงต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เนื่องจากความผันผวนของตลาดเงินโลก ได้ส่งผลกระทบต่อซีดีโอที่ได้ลงทุนไป

สำหรับไทยธนาคารที่ได้สำรองไปค่อนข้างสูงถึง 70-80% แล้ว ทำให้ในไตรมาสแรกปีนี้การสำรองอาจจะไม่มากนัก แต่อาจกระทบผลประกอบการได้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=232659
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/04/08

โพสต์ที่ 343

โพสต์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เตือนทุกฝ่ายระวังค่าเงินบาทแข็งตามภูมิภาค เพราะธนาคารกลางกังวลเงินเฟ้อ

Posted on Friday, April 11, 2008

ปัญหาเงินเฟ้อกำลังกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในขณะนี้ประเทศในเอเชีย ต่างกำลังเผชิญกับปัญหาแรงกดดันเงินเฟ้อจากการนำเข้า อันเนื่องมาจากการทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดในประวัติการณ์ของราคาน้ำมัน ตลอดจนสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ โดยเฉพาะอาหาร ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ การทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ตลอดจนการปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ของเงินหยวน ในวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ได้กระตุ้นกระแสการคาดการณ์ของตลาดว่า ธนาคารกลางของประเทศในแถบเอเชีย อาจกำลังปล่อยให้สกุลเงินในประเทศแข็งค่าขึ้นเพื่อช่วยหักล้างกับการพุ่งขึ้นของราคาสินค้านำเข้าดังกล่าว แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดอย่างชัดเจนว่า การแข็งค่าของค่าเงินจะสามารถบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ก็อาจส่งผลกระทบทางอ้อมไปช่วยชะลอการคาดการณ์เงินเฟ้อได้บ้างบางส่วน

สำหรับประเทศไทย แรงกดดันจากเงินเฟ้อได้ทยอยปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ และอาจยังมีแรงกดดันในช่วงขาขึ้นต่อไปในระยะข้างหน้า เมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวที่น่าจะมีผลกระทบในวงกว้างต่อราคาสินค้าอื่น ๆ นอกจากนี้การปรับตัวขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตในอัตราที่เร่งกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค อาจทำให้กระบวนการส่งผ่านเงินเฟ้อจากผู้ผลิต (ที่กำลังเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น) ไปสู่ผู้บริโภค ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในระยะถัดไป

และหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันและอาหารในตลาดโลกยังคงทรงตัวในระดับสูง ก็อาจทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวลมากขึ้นสำหรับทางการไทย

ดังนั้น เมื่อประเมินจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองว่า แรงกดดันเงินเฟ้อ ที่ยังคงมีอยู่ในระยะถัดไป อาจส่งผลต่อเนื่องไปยังการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.และค่าเงินบาท แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะไม่ใช่เครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาโดยตรงก็ตาม

ทั้งนี้ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Managed Float ของไทยมีความแตกต่างจากระบบ Managed Float ของจีน เนื่องจากธนาคารกลางจีนนั้นสามารถชี้นำการเคลื่อนไหวของเงินหยวนได้ผ่านการกำหนดอัตราอ้างอิงเงินหยวนในแต่ละวัน ส่วนระบบอัตราแลกเปลี่ยนของสิงคโปร์นั้นอนุญาตให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ปรับตัวในกรอบการเคลื่อนไหวอย่างไม่เป็นทางการ ในขณะที่ระบบ Managed Float ของไทย จะเป็นระบบที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดมากกว่า แม้ว่าธปท.จะเข้าแทรกแซงตลาดในบางช่วงเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทก็ตาม

แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะไม่ใช่เครื่องมือหลักในการจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ แต่ในท้ายที่สุดเงินบาทอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมให้ต้องปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค เนื่องจากแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ที่ยังคงย้ำถึงการดูแลเสถียรภาพราคาและเศรษฐกิจโดยรวม ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่อเนื่องในการประชุมช่วงปลายเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ อาจทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐกว้างขึ้น

ซึ่งโดยทฤษฎีความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยนั้นถือเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ค่าเงินปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ทิศทางการแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนของค่าเงินหยวนและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ อาจส่งผลทางอ้อมทำให้ค่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงเงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน

มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news16/04/08

โพสต์ที่ 344

โพสต์

ศก.ซบคนหมดแรงรูดปรื๊ด

โพสต์ทูเดย์ ธปท.เผยยอดใช้บัตรเครดิต ก.พ.ไม่คึกคัก ชี้ประชาชนห่วงเศรษฐกิจชะลอ ปัญหาการเมืองและสินค้าแพงลิ่ว


ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดการให้บริการบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน ก.พ. 2551 พบว่า มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,570 ล้านบาท หรือ 3.94% แต่ลดลงจากเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 1.75 แสนล้านบาท ขณะที่จำนวนบัตรเครดิตมี 11.98 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 9.78 แสนใบ

สำหรับปริมาณสินเชื่อคงค้างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์หรือนันแบงก์ จำนวนถึง 8.02 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,530 ล้านบาท ที่เหลือเป็นสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ 5.87 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,460 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างประเทศ 3.43 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 582 ล้านบาท

ธปท.เปิดเผยว่า หากพิจารณาปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบในเดือน ก.พ. มีจำนวนทั้งสิ้น 7.38 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9,360 ล้านบาท หรือ 14.5% แบ่งเป็นใช้จ่ายในประเทศ 5.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,670 ล้านบาท หรือ 16.77% และใช้จ่ายในต่างประเทศ 2,350 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 480 ล้านบาท หรือ 25.57%

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ปริมาณการ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่ที่ 8.31 หมื่นล้านบาท ถือว่ายอดใช้ใน เดือน ก.พ. ลดลง 1,566 ล้านบาท คิดเป็น 6.67%

ธปท.เปิดเผยว่า ยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือน ก.พ. มีจำนวน 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,200 ล้านบาท หรือ 7.15% เป็นการกดเงินสดผ่านบัตรของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศมากที่สุด 1.36 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นการกดเงินสดผ่านธุรกิจนันแบงก์ 3,410 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ที่มียอดกดเงินสด 1.98 หมื่นล้านบาท เท่ากับว่าลดลง 1,847 ล้านบาท คิดเป็น 9.30% โดยสาเหตุหลักยังมาจากความไม่มั่นใจในการใช้จ่าย

แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ภาวะการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต รวมทั้งปริมาณการกดเงินสด หรือยอดสินเชื่อคงค้างที่เพิ่มขึ้นยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เพราะการขยายตัวดังกล่าวถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

การชะลอลงจากเดือนก่อนน่าจะมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอ ราคาสินค้าแพงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น และส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการในธุรกิจบัตรเครดิตเองก็เข้มงวดในคุณสมบัติ ผู้ถือบัตรเครดิตมากขึ้น แหล่ง ข่าวเปิดเผย

สำหรับยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในเดือน ก.พ. อยู่ที่ 2.04 แสนล้านบาท เกือบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แม้ว่าสถาบันการเงินผู้ให้บริการเร่งแข่งขันทำโปรโมชัน รวมถึงเป็นสินเชื่อที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่เอื้อให้สินเชื่อบุคคลขยายตัว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=232886
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 6

news22/04/08

โพสต์ที่ 345

โพสต์

น้ำมันพุ่งดันหนี้เน่าแบงก์เริ่มปูด เตือนธุรกิจปรับตัวก่อนทรุดหนัก

โดย ผู้จัดการออนไลน์
22 เมษายน 2551 05:44 น.
 
 นายแบงก์ชี้แนวโน้มเอ็นพีแอลยังขยับเพิ่มอีก หลังราคาน้ำมันพุ่งแรง กระทบต้นทุนหนัก โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาน้ำมันมาก เตือนผู้ประกอบเร่งปรับตัวก่อนแบกรับภาระไม่ไหว พร้อมเล็งตัดหนี้เน่าขายก้อนใหญ่ หวังช่วยลดพอร์ต ขณะที่ผลประกอบการ SCB-BAY ยังโตต่อเนื่องหลังกันสำรองครบ ด้าน BT ยังทรุดขาดทุน 1.6 พันล้าน
     
      นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2551 ของธนาคารว่า การเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของธนาคารในระดับที่สูง โดยธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึง 551%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือจาก 205 ล้านบาทในไตรมาสแรกปี 2550 เป็น 1,334 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปีนี้นั้น เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับธนาคารสามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่ทรงตัวได้ ซึ่งคาดว่านในช่วงที่เหลือธนาคารจะยังคงความสามารถในการทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
     
      ทั้งนี้ ในส่วนของสินเชื่อนั้น ธนาคารจะยังคงเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อในระดับ 12% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาท แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมาจะปล่อยสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยในส่วนของสินเชื่อรายใหญ่มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) และสินเชื่อรายย่อยยังขยายตัวได้ในระดับที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีภายหลังจากธนาคารได้ร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)ในการปล่อยสินเชื่อให้สมาชิก ก็อาจจะช่วยเพิ่มยอดสินเชื่อรายย่อยของธนาคารได้ โดยธนาคารตั้งเป้าว่าจะสามารถปล่อยกู้ในส่วนนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท
     
      "ธนาคารคงจะมีการทบทวนเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อในช่วงกลางปี ซึ่งในช่วงต้นปีนี้ยังปล่อยสินเชื่อได้ต่ำ แต่เชื่อว่าช่วงต่อไปจะสามารถปล่อยกู้ในส่วนของเอสเอ็มอีและรายย่อยได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภายหลังจากการร่วมมือกับกบข.แล้ว ซึ่งจะช่วยดันยอดสินเชื่อให้เติบโตตามเป้าได้ แต่อาจจะมีการปรับโครงสร้างสินเชื่อ โดยจะเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยจาก 15% เป็น18-19%"นายชัยวัฒน์กล่าว
     
      สำหรับการเพิ่มขึ้นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL Gross) ของธนาคาร โดยไตรมาสแรกปี 2551 มี NPL คิดเป็น 7.29%ของสินเชื่อรวม จากระดับ 6.84%กว่าในช่วงสิ้นปี 2550 นั้น มีสาเหตุมาจากยอดรวมของสินเชื่อของธนาคารลดลงเนื่องจากลูกค้ารายใหญ่รายใหญ่ชำระคืนหนี้จึงทำให้สัดส่วน NPL เพิ่มขึ้น นอกจากยังมีหนี้ส่วนหนึ่งที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ไหลกลับมาเป็น NPL อีก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารก็ยังคงดำเนินการต่างๆ เพื่อปรับลดหนี้ NPL ลงให้เหลือประมาณ 5%ตามเป้าหมาย ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการขายออกไป
     
      นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า ปัญหาของผู้ประกอบการในขณะนี้เป็นเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งหากลูกค้าไม่มีการบริหารต้นทุนที่ดี ก็อาจจะได้รับผลกระทบ ในส่วนของธนาคารเองก็พยายามให้คำแนะนำในเรื่องการปรับตัว และการบริหารต้นทุน เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดปัญหาและกลายมาเป็นหนี้ NPL ไปในที่สุด และหากธนาคารต้องการลดหนี้ NPL ลงให้เหลือ 5% ตามเป้าหมายก็จะต้องมีการขายหนี้ NPL ออกไปประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ธนาคารอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.)และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(SAM) หากที่ไหนให้ราคาดีกว่าก็จะขายออกไป
     
      "ตอนนี้เชื่อว่าทุกๆแบงก์ก็คงจะประสบปัญหาเดียวกัน ก็คือยอดเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มก็ยังคงเป็นอย่างนี้อยู่ เนื่องจากปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาตั้งแต่ปีก่อน จนกระทั่งราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นด้วย อันนี้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้ เพราะเราคงไม่เห็นราคาน้ำมันที่ลดลงมากนัก"นายชัยวัฒน์กล่าว
     
      **SCB กำไรเพิ่ม 83.5%**
     
      นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ธนาคารมีกำไรสุทธิ 6,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 83.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการดำเนินยุทธศาสตร์การให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร(Universal Banking) ทำให้ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะจากผลิตภัณฑ์ด้านประกันและการขายกองทุนรวม และธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจจัดการกองทุน ซึ่งมีการส่วนแบ่งทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น
     
      ขณะเดียวกันการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานควบคู่ไปกับการบริหารค่าใช้จ่ายที่ดี รวมทั้งเป็นผลจากกำไรพิเศษจาการขายหุ้นในบริษัทต่างประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงไตรมาสนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้การขยายตัวของสินเชื่อจะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ คือ 12.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ธนาคารยังสามารถบริหารส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย (NIM) ให้ปรับตัวดีขึ้น
     
      นอกจากนี้แล้ว ธนาคารยังประสบความสำเร็จอย่างสูงในการจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยสามารถลดระดับจากระดับ 7.9% ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2550 มาอยู่ที่ 5.2% ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2551 การลดลงของสินเชื่อด้อยคุณภาพสะท้อนถึงการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับปรุงและการยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อของธนาคาร
     
      **BAYเล็งขาย NPL หมื่นล้าน**
     
      นายตัน คอง คูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปี 2551 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2550 แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 1,130 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงาน 2,609 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 67% แม้ว่าในไตรมาสนี้จะต้องทำการบันทึกขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของตราสาร Collateralized Debt Obligations (CDO) ที่ธนาคารลงทุนประเภทถือจนครบอายุ รวม 85 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา อีก 690 ล้านบาท หรือ 26% และในไตรมาสนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 538 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2550 สะท้อนแผนของธนาคารในอันที่จะเร่งขจัดหนี้ NPL
     
      สำหรับการลงทุนใน CDO ที่ธนาคารถืออยู่ซึ่งไม่ได้เป็นการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (sub-prime mortgage) เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น เชื่อว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อธนาคารชั่วคราวเท่านั้น โดยธนาคารน่าจะสามารถบันทึกผลขาดทุนที่ได้ตั้งไว้กลับคืนเป็นรายได้ก่อน CDO ครบอายุในปี 2555 ทั้งนี้ จะเห็นว่าถึงแม้ธนาคารจะต้องบันทึกขาดทุนจากการ mark-to-market ถึง 690 ล้านบาท ธนาคารก็ยังสามารถรายงานผลการดำเนินงานที่ปรับปรุงดีขึ้นจากไตรมาสก่อนค่อนข้างมาก
     
      นายตัน คอง คูน กล่าวอีกว่า ในไตรมาสนี้ธนาคารยังมีความคืบหน้าในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ด้วยการได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้ขาย NPL จำนวน 6,270 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในไตรมาส 2 นอกจากนี้ ธนาคารยังอยู่ระหว่างเตรียมการขาย NPL เพิ่มเติมอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปีนี้
     
      **BT Q1 ปี 51 ขาดทุน 1.67 พันล้าน**
     
      ธนาคารไทยธนาคาร (BT) เปิดเผยลการดำเนินงานไตรมาส 1/51 มีผลขาดทุนสุทธิ 1,678.67 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 0.29 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 558.60 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.41 บาท
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000046670
Linsu_th
Verified User
โพสต์: 497
ผู้ติดตาม: 1

อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

โพสต์ที่ 346

โพสต์

ธุรกิจบัตรเครดิตหืดขึ้นคอ แบงก์หวั่นหนี้เสียเล็ง ผ่อนคลายชำระขั้นต่ำ 5% [18 มิ.ย. 51 - 05:45]
นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต เปิดเผยว่า ในการประชุมของชมรมฯในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีสมาชิก 3-4 แห่งเสนอให้ชมรมเข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอผ่อนผันเกณฑ์การชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 10% ลงมาอยู่ที่ 5% อีกระยะหนึ่งหลังจากที่ได้เคยผ่อนผันมาแล้ว เนื่องจากการปรับขึ้นเกณฑ์ชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 10% ในช่วงที่ผ่านมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อลูกค้า ทำให้ต้องมีการผ่อนชำระขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และเมื่อเศรษฐกิจต้องเผชิญกับปัจจัยลบมากมายทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงน่าจะบรรเทาปัญหาโดยการผ่อนเกณฑ์ให้ชำระขั้นต่ำไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หาก ธปท.ยอมผ่อนปรนเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ธนาคารสมาชิกอาจจะไม่ได้ปรับเกณฑ์มาใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่ 5% ทั้งหมด และเชื่อว่าแต่ละธนาคารคงจะมีการพิจารณาและดูแลถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ อีกทั้งการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำมาที่ 5% ไม่ได้หมายความว่าหนี้ดังกล่าวจะไม่เป็นเอ็นพีแอล
ขั้นตอนที่ต้องทำหลังจากการประชุมของชมรมฯ ก็คือต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้กับ ธปท.ได้ดูว่าคนที่เคยจ่าย 5% แล้วต้องมาจ่าย 10% มีปัญหาอะไร คาดว่าจะใช้เวลารวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือนก่อนจะนำเสนอ ธปท. แต่หากได้รับการอนุญาตจาก ธปท. แล้ว ในส่วนของแบงก์กรุงเทพเองคงจะไม่มีการปรับมาคิดที่ 5% แน่นอน เพราะที่ผ่านมาได้ใช้เกณฑ์ชำระขั้นต่ำที่ 10% มาโดยตลอด นายโชคกล่าวว่า ทางชมรมยังได้พูดคุยกันถึงเพดานอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตที่ 20% ซึ่งในขณะนี้ก็เริ่มตรึงตัวเพราะค่าใช้จ่ายมีการเพิ่มขึ้น ซึ่งคงรอเวลาระยะหนึ่งที่จะเข้าหารือกับ ธปท. เพื่อขอให้มีการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยกันเอง แต่เชื่อว่า ธปท.คงยังไม่พิจารณาอยู่ในภาวะเศรษฐกิจที่ต้องดูแลเรื่องของหนี้ภาคครัวเรือน สำหรับกรณีที่บริษัท มาสเตอร์การ์ดได้ขึ้นค่าธรรมเนียมบัตรต่างประเทศที่นำมาใช้ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่าเป็นค่าปรับปรุงระบบ และเป็นการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมทั่วโลก  ซึ่งทางชมรมได้ขอให้ทางมาสเตอร์การ์ดพิจารณาว่าจะสามารถผ่อนปรนวิธีไหนได้บ้าง นายโชคกล่าวอีกว่า การทำธุรกิจบัตรเครดิตในตอนนี้คงมีกำไรยาก แต่ธนาคารยังไม่ได้ปรับเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจลง โดยทุกธนาคารควรระมัดระวัง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกลไกในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทั้งเรื่องของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ลดลงโดยเห็นตัวตัวเลขที่ ธปท.รายงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันทำให้ไม่มีใครอยากจะใช้จ่าย อีกทั้งยังมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นตัวผลักดันให้ราคาสินค้ามีการเพิ่มขึ้น แม้ปีนี้เป้าหมายค่อนข้างสูง โดยเป้าหมายบัตรใหม่ปีนี้ก็เกิน 200,000 บัตร.  
http://www.norsorpor.com/go2.php?t=mg&u ... nt%3D93899
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

bank

โพสต์ที่ 347

โพสต์

ธปท.เผย สินเชื่อแบงก์ยQ3โต7.8%หนี้เสียลด
นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2553 ขยายตัว 7.8% เพิ่มจากไตรมาสก่อนที่มีการขยายตัว 5.3% การขยายตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของการขยายสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยในส่วนของสินเชื่อภาคธุรกิจโต 4.5% ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคโต 16.6%

สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ ไตรมาส 3 มียอดคงค้างอยู่ที่ 3.47 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 9.4 พันล้านบาท ซึ่งการลดลงดังกล่าวเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ และการขายหนี้ ทำให้สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงทั้ง GROSS NPL ลดลงเหลือ 4.2% และ NET NPL ลดลงเหลือ 2.3%
http://www.stockwave.in.th/hot-news/15601--q378-.html
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

โพสต์ที่ 348

โพสต์

BANK เนเวอร์เซย์ดาย
* เชียร์ Overeweight หลังสินเชื่อกระฉูด

เซียนหุ้น แนะลุยหุ้นแบงก์ หลังแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อแจ่ม เผย14 แบงก์พาณิชย์ โชว์สินเชื่อ 10 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้น 3.63 แสนลบ. จากสิ้นปีก่อน ที่มีจำนวน 6.15 ล้านล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 6.29 % ส่วนเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 7.68 หมื่นลบ.จากเดือนก่อน เชียร์ Overweight เน้นธนาคารขนาดใหญ่ พัฒนสิน ชู KBANK- BBL -SCB เป็น top picks ของกลุ่ม ฟาก เอเซียพลัส ชี้ สินเชื่อและกำไร กลุ่มแบงก์ จะ peak สุดใน 4Q53 ดีบีเอสวิคเคอร์ส คาด กำไรสุทธิปี 54 กลุ่มแบงก์ โตน่าประทับใจ 16%
สินเชื่อรวมกลุ่มแบงก์ 10 เดือนแรกปีนี้ น่าประทับใจ หลังเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขณะที่สภาพคล่องดอกเบี้ยไม่อยู่ในอัตราสูงเกินไป และแนวโน้มยังอยู่ในทิศทางที่ดี1

*เซียนหุ้น แนะลุยหุ้นแบงก์ หลังแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อแจ่ม

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. คันทรี่กรุ๊ป เปิดเผยว่า หลังจากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของกลุ่มสถาบันการเงินในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้เติบโตออกมาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส4/53 จะยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากในช่วงไตรมาสดังกล่าวเป็นฤดูกาลของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารอยู่แล้ว หลังจากผู้ประกอบการต้องการขยายธุรกิจเพิ่มเติมในช่วงสิ้นปี ประกอบกับยังได้รับอานิสงส์จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เชื่อว่าหลังระดับน้ำลดลงแล้วจะมีประชาชนเข้ามาขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพื่อไปซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรืออุปกรณ์ เครื่องใช้ที่เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการภาคการส่งออกให้ชะลอตัวลง เพราะได้รับผลกระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคารแต่ละแห่ง คาดว่าจะชะลอลงมาจากปี53 โดยเบื้องต้นประเมินไว้ว่าอัตราการปล่อยสินเชื่อรวมปี54 เติบโต 5-6% เมื่อเปรียบเทียบกับปีนี้ที่เติบโต 9-10% โดยเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตของตัวเลขการปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคารแต่ละแห่ง โดยเป็นผลมาจากค่าเงินมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงปีหน้า ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่าง จีน และประเทศแถบยุโรป
ขณะเดียวกัน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารของภาครัฐที่เร่งออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำนั้น เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์บ้าง แต่ไม่ได้ถือว่ามีนัยสำคัญ เนื่องจากการแข่งขันของธนาคารคงจะไม่เน้นหนักไปถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงอย่างเดียว แต่คงจะต้องดูเกี่ยวกับคุณภาพของลูกค้าด้วยว่ามีความสามารถในด้านการชำระหนี้มากน้อยแค่ไหน เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดเป็นหนี้เสียได้ในอนาคต
ด้านกลยุทธ์การลงทุน หากจะพิจารณาลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคาร ควรเข้าลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 4 ตัว ได้แก่ BBL(ราคาพื้นฐาน 182 บาท) SCB(ราคาพื้นฐาน 125 บาท) KTB(19.80 บาท) KBANK(ราคาพื้นฐาน 142 บาท ) โดยหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีพื้นฐานทางด้านการเงินที่มีความแข็งแกร่งมากพอสมควร ทำให้การขยายตัวของผลประกอบการจึงมีสูงกว่าหุ้นตัวอื่นๆที่ทำธุรกิจเดียวกัน
* KBANK เผย14 แบงก์พาณิชย์ โชว์สินเชื่อ 10 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้น 3.63 แสนลบ. จากสิ้นปีก่อน ที่มีจำนวน 6.15 ล้านล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 6.29 % ส่วนเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 7.68 หมื่นลบ.จากเดือนก่อน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เดือน ต.ค. 53 สินเชื่อเพิ่มด้วยขนาดที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553 ยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิ (หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ของ 14 ธนาคารพาณิชย์ไทย มีจำนวน 6.15 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.68 หมื่นล้านบาท จาก 6.07 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 (จากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในทุกกลุ่มธนาคาร นำโดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่) ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีแรงส่งของการขยายตัวแม้ด้วยอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์น่าจะเร่งขยายสินเชื่อในช่วงที่เหลือของปีเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่ตั้งไว้สำหรับทั้งปี
ด้านยอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553 มีจำนวน 6.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.43 หมื่นล้านบาท จาก 6.53 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 (ตามการเพิ่มขึ้นของ
เงินฝากในกลุ่มธนาคารขนาดกลางและกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่เงินฝากในกลุ่มธนาคารขนาดเล็กลดลง) และเงินกู้ยืม เพิ่มขึ้น 8.52 หมื่นล้านบาท จาก 8.97 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน มาที่ 9.82 แสนล้านบาท อันเป็นผลจากการออกหุ้นกู้เสนอขายในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ตลอดจนการที่ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ยังคงมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากและตั๋วแลกเงินที่ให้ผลตอบแทนจูงใจ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและเสริมสภาพคล่องไว้รองรับการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเพื่อรับมือกับภาวะการแข่งขันกับทางเลือกการออมอื่นๆ ทั้งนี้ จากการเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนดังกล่าว ที่แม้สินเชื่อจะเพิ่มขึ้นด้วยขนาดที่มากกว่าเงินฝาก แต่เงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น ก็ได้ช่วยชดเชยและสนับสนุนให้สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ไทยในเดือนกันยายน 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
สินทรัพย์สภาพคล่องในงบดุลของธนาคารพาณิชย์ไทยตามความหมายกว้าง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์) เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2553 สภาพคล่องดังกล่าวมีจำนวน 2.26 ล้านล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1.05 แสนล้านบาท จาก 2.16 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบอย่างเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้นและเงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์ ขณะที่เงินสดลดลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องดังกล่าว สะท้อนการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องในทุกกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 : สภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 สินเชื่อเพิ่มมากกว่าเงินฝาก แต่สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ต่างจากในช่วง 9 เดือนแรกของปี โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 เงินให้สินเชื่อสุทธิ (หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) เพิ่มขึ้น 3.63 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตร้อยละ 6.29 จาก ณ สิ้นปี 2552 ขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 8.78 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 1.35 จาก ณ สิ้นปี 2552 ส่วนเงินกู้ยืม เพิ่มขึ้น 2.74 แสนล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2552 สภาพคล่องตามความหมายกว้างเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 สภาพคล่องดังกล่าวเพิ่มขึ้น 1.42 แสนล้านบาท จากระดับ 2.12 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2552
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2553 แม้โมเมนตัมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจมีแนวโน้มอ่อนแรงลงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากอุทกภัย ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจคู่ค้า และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเบิกใช้วงเงินสินเชื่อในบางภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดี คาดว่าความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชนในภาพรวมยังมีแนวโน้มเติบโตในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในช่วงฤดูการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่สถาบันการเงินต่างๆ จะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่หลากหลายและจูงใจมาตอบสนองลูกค้า ส่งผลให้ยอดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับทั้งปี
ด้านเงินฝากและสภาพคล่องในช่วงท้ายปีนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธนาคารพาณิชย์น่าจะยังมีการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากและตั๋วแลกเงินที่แข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจและรักษาฐานลูกค้า ตลอดจนเพื่อรับมือกับการโยกเงินออมของผู้ฝากเงินไปยังทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ซึ่งลูกค้ามุ่งหวังจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นหลัก ทั้งนี้ จากภาพการแข่งขันในตลาดเงินฝากดังกล่าว อาจส่งผลให้มีการไหลกลับของเงินออมบางส่วนเข้าสู่เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ และทำให้สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากยอดเงินฝากในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีที่มักขยับขึ้นเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทขึ้นไปในระยะ 1-2 ปีที่ผ่าน
มา
สำหรับแนวโน้มในปี 2554 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภายใต้แรงส่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะสามารถรักษาระดับสูงและเพียงพอที่จะรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปีได้ อย่างไรก็ตาม คงจะต้องติดตามหลากหลายปัจจัย ทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในประเทศ ตลอดจนอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ยากจะควบคุม (อาทิ การขยายตัวของเศรษฐกิจหลัก ตลอดจนการดำเนินนโยบายของทางการในแต่ละประเทศ ที่จะมีอิทธิพลต่อกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ ความเคลื่อนไหวของตลาดเงินตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก) ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยของทางการไทยแล้ว ยังอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละช่วงเวลา และในท้ายที่สุดก็คงจะมีผลต่อกลยุทธ์การบริหารจัดการสภาพคล่อง ตลอดจนการพิจารณาจังหวะเวลาของการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ นอกเหนือไปจากภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่คงจะมีผลต่อการกระจายตัวของสภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ในช่วงเวลาต่างๆ ด้วยเช่นกัน
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

โพสต์ที่ 349

โพสต์

* โบรกฯ แนะOverweight เน้นธนาคารขนาดใหญ่

บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า สินเชื่อเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 1.2%M-M การกลับมาของสินเชื่อตามฤดูกาลและสินเชื่อเพื่อการลงทุน ธนาคารขนาดใหญ่นำสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนธนาคารเล็กที่เน้นเช่าซื้อสินเชื่อชะลอตัวรวม 10 เดือนแรกของปี สินเชื่อ +11.6%YTD แต่หากไม่รวมผลของ TCAP ที่รวมสินเชื่อของ SCIB เข้ามาในการคำนวณตั้งแต่เดือน มิ.ย. สินเชื่อ 10M10 เพิ่มขึ้นราว 6.5%YTD
ด้านเงินฝากรวมเพิ่มขึ้น +1.4%M-M หลายธนาคารมีการออกโปรแกรมเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษเพื่อเตรียมปล่อยสินเชื่อและล็อกต้นทุนดอกเบี้ยในยามดอกเบี้ยกำลังปรับขึ้น
จากอัตราการเติบโตของสินเชื่อในเดือน ต.ค. และความต้องการสินเชื่อตามฤดูกาลในช่วงที่เหลือของปี ทำให้มั่นใจการขยายตัวของสินเชื่อปี 2010 น่าจะทำได้ที่ ~8.5-9% และคาดการณ์สินเชื่อปีหน้าเพิ่มขึ้น 9.4% แนวโน้ม 4Q10 เพิ่ม ~ 21%Y-Y แต่ ลดลง ~8.8%Q-Q
คงคำแนะนำ Overweight เน้นธนาคารขนาดใหญ่ รับสินเชื่อที่จะเติบโตสูงใน 4Q10 และปี 2011 TOP Pick ยังคงเป็น KBANK, SCB
รายงาน ธ.พ.1.1 ประจำเดือน ตุลาคม 2010 ของ 9 ธนาคาร มีเงินให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 1.2%M-M (~6.9 หมื่นลบ.) จากการสอบถาม สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก
สินเชื่อเพื่อธุรกิจรายใหญ่ (Corporate loan) และเป็นสินเชื่อเพื่อการลงทุน ส่วนสินเชื่อเพื่อการผลิตและการส่งออกตามฤดูกาลน่าจะเกิดมากใน 2 เดือนสุดท้ายของปี ธนาคารส่วนใหญ่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นนำโดย SCB (+2.4%M-M), KBANK และ KK (+1.9%M-M) ส่วน BBL สินเชื่อเดือนนี้ยังน่าผิดหวัง เพิ่มขึ้นเพียง 0.5%M-M ถือว่าน้อยกว่ากลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ด้วยกัน
รวม 10 เดือนแรกของปี สินเชื่อของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 11.6% YTD แต่หากไม่รวมผลของ TCAP ที่รวมสินเชื่อของ SCIB เข้ามาในการคำนวณตั้งแต่เดือน มิ.ย. สิน
เชื่อ 10M10 เพิ่มขึ้นราว 6.5%YTD
ในส่วนของกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ (TISCO, TCAP, KK) เงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 0.18%M-M ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยที่สุดในรอบปี โดย TCAP เป็นแห่งเดียวที่มีสินเชื่อลด
ลง 0.2%M-M เกิดจากการจ่ายชำระคืนสินเชื่อในส่วนของ SCIB
จากอัตราการเติบโตของสินเชื่อในเดือน ต.ค. และความต้องการสินเชื่อตามฤดูกาลในช่วงที่เหลือของปี ทำให้มั่นใจการขยายตัวของสินเชื่อปี 2010 น่าจะทำได้ที่ ~
8.5-9% และคาดการณ์สินเชื่อปีหน้าเพิ่มขึ้น 9.4%
ด้านเงินฝากรวมเพิ่มขึ้นตามสินเชื่ออีก +1.4%M-M (~8.6 หมื่นลบ.) หลายธนาคารมีการออกโปรแกรมเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษเพื่อเตรียมปล่อยสินเชื่อและล็อกต้นทุนดอกเบี้ยในยามดอกเบี้ยกำลังปรับขึ้น ธนาคารขนาดเล็กอย่าง KK และ BAY มีเงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุด +10.9%M-M และ +3.4%M-M ตามลำดับ LDR เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารยังอยู่ที่ 93% เทียบกับอัตราที่เหมาะสมที่ราว 95% จึงยังไม่เห็นสัญญาณการแข่งระดมเงินฝาก
ประเมินแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q10 ของกลุ่มธนาคารจะอ่อนตัวลงราว 8.8%Q-Q จาก 1.กำไรจากเงินลงทุนลดลง 2.ไม่มีรายได้จากเงินปันผลวายุภักษ์ และ 3.ค่าใช้
จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และถ้าหากเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน คาดกำไรสุทธิยังคงปรับเพิ่มขึ้นในระดับสูงราว 21%Y-Y ทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น
ด้านเงินฝากรวมเพิ่มขึ้นตามสินเชื่ออีก +1.4%M-M (~8.6 หมื่นลบ.) หลายธนาคารมีการออกโปรแกรมเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษเพื่อเตรียมปล่อยสินเชื่อและล็อกต้นทุนดอกเบี้ยในยามดอกเบี้ยกำลังปรับขึ้น ธนาคารขนาดเล็กอย่าง KK และ BAY มีเงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุด +10.9%M-M และ +3.4%M-M ตามลำดับ LDR เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารยังอยู่ที่ 93% เทียบกับอัตราที่เหมาะสมที่ราว 95% จึงยังไม่เห็นสัญญาณการแข่งระดมเงินฝาก
ประเมินแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q10 ของกลุ่มธนาคารจะอ่อนตัวลงราว 8.8%Q-Q จาก 1.กำไรจากเงินลงทุนลดลง 2.ไม่มีรายได้จากเงินปันผลวายุภักษ์ และ 3.ค่าใช้
จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และถ้าหากเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน คาดกำไรสุทธิยังคงปรับเพิ่มขึ้นในระดับสูงราว 21%Y-Y ทั้งจากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น
ธนาคารส่วนใหญ่คาดว่าจะมีผลประกอบการดีขึ้น Y-Y ยกเว้น TMB ตรงกันข้ามกับเมื่อเทียบกับ Q-Q ซึ่งคาดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะแสดงกำไรลดลง ยกเว้น KK (มีกำไรจากการขาย NPA ต่อเนื่อง) เราคงคำแนะนำ Overweight เน้นธนาคารขนาดใหญ่ รับสินเชื่อที่จะเติบโตสูงใน 4Q10 และปี 2011 TOP Pick ยังคงเป็น KBANK, SCB
naijan
Verified User
โพสต์: 5011
ผู้ติดตาม: 1

Re: อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

โพสต์ที่ 350

โพสต์

มาตรฐาน Basel ทำธนาคารทั่วโลกแบกต้นทุนเพิ่มเฉียด 8 แสนล้านเหรียญ

คณะกรรมการที่ดูแลธุรกิจธนาคารทั่วโลกเผยต้นทุนที่สถาบันการเงินต่างๆ ต้องแบกรับอันเนื่องมาจากกฏเกณฑ์ความต้องการสำรองเงินทุน อยู่ที่เฉียด ๆ 8 แสนล้านเหรียญในปีนี้

กฏเกณฑ์สำรองเงินทุนสร้างต้นทุนให้กับบรรดาแบงก์และธุรกิจการเงินต่างๆ เป็นจำนวนเงินที่สูงถึง 602,000 ล้านยูโร หรือราว 797,000 ล้านเหรียญ ขณะเดียวกัน ยังขาดแคลนเงินทุนอยู่อีกกว่า 2.89 ล้านล้านยูโรในส่วนของการระดมทุนแบบปกติ เพื่อให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์การดำรงสภาพคล่องที่ถูกแยกออกมาดูแลโดยเฉพาะ

ผู้กำกับมาตรฐานกิจการสถาบันการเงินทั่วโลกแห่งนี้ ตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สำหรับการทยอยบังคับใช้กฏเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเงินทุนและสภาพคล่องให้เสร็จสิ้นภายในปี 2019 ด้วยจุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติสินเชื่อต่อผู้ปล่อยกู้ทั่วโลก

ในขณะนี้ หน่วยงานดูแลมาตรฐานธนาคารดังกล่าวกำลังพยายามปฏิรูปกฏเกณฑ์ความต้องการดำรงเงินทุนและสภาพคล่อง หลังจากข้อบังคับในปัจจุบัน หรือที่รู้จักกันว่า Basel II ไม่สามารถปกป้องผู้ปล่อยกู้ให้พ้นจากสถานะความล้มเหลวทางการเงินได้ในช่วงวิกฤติ ก่อนที่เพิ่งจะมาในเดือนที่แล้ว ที่ส่วนประกอบสำคัญของกฏเกณฑ์นี้ได้รับไฟเขียวให้ถูกปรับปรุงแก้ไข โดยที่ประชุมกลุ่มผู้นำประเทศ G20

ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจธนาคารรายหนึ่งมองว่า การเดินตามมาตรฐาน Basel จะสร้างต้นทุนให้แก่ธุรกิจการเงินอย่างมหาศาล แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น ซึ่งคำถามที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ จะทำอย่างไรกับกำไรสะสม การขายสินทรัพย์ การเพิ่มระดับทุน หรือแม้แต่การปรับลดระดับเงินปันผลลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 5

Re: อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร

โพสต์ที่ 351

โพสต์

ทหารไทยชูธุรกรรมฟรี 10 รายการ/เดือน [ เดลินิวส์, 3 ต.ค. 55 ]

นางกาญจนา โรจนวทัญญู หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ส่งเสริมการตลาดลูกค้าบุคคลธนาคารทหารไทย
เปิดเผยว่า ธนาคารเปิดให้บริการ บัญชีเงินฝาก ทีเอ็มบี ธุรกรรมทำฟรี ซึ่งลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทาง
การเงินประจำวันทุกประเภท ไม่ว่าจะถอนเงิน จ่ายบิล หรือโอนเงินทั้งเขตเดียวกัน หรือข้ามเขต และ
ข้ามธนาคารฟรี 10 รายการต่อเดือน โดยเจาะกลุ่มลูกค้าระดับกลางมีรายได้ 10,000-100,000 บาท
ต่อเดือน และตั้งเป้าหมายสิ้นปีมีลูกค้าสมัครใช้บริการ 100,000 บัญชี และภายในระยะเวลา 3 ปี จะเพิ่ม
เป็น 1 ล้านบัญชี ส่วนลูกค้าระดับที่มีเงินฝาก 100,000 บาทขึ้นไป สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เงินฝากโนฟี ที่
เปิดให้บริการมา 3 ปี มีจำนวนลูกค้า 500,000 ราย และปัจจุบันธนาคารมีบัญชีเงินฝากที่มีธุรกรรมการ
เงินเคลื่อนไหวอยู่ที่ 2 ล้านบัญชี

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."