หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
[L]
Verified User
โพสต์: 200
ผู้ติดตาม: 1

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พอดีวันนี้ไปงานหนังสือมา เห็นหนังสือลงทุนออกใหม่ 2 เล่ม น่าสนใจเลยมาบอกกล่าวครับ

1. ลงทุนเพื่อชีวิต ด้วยหุ้น  ของ ดร.นิเวศน์

2. ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์  ของสำนักพิมพ์ Fidelity แปลโดย ดร.กุศยา
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ซิว "ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์มาเรียบร้อย" ราคาปก 288 บาท ลด 15% เหลือ 245 บาท

บูท se-ed มีตีแตก ของ ดร.นิเวศน์ ฉบับพิมพ์ใหม่ด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 40

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

pongo เขียน:ซิว "ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์มาเรียบร้อย" ราคาปก 288 บาท ลด 15% เหลือ 245 บาท

บูท se-ed มีตีแตก ของ ดร.นิเวศน์ ฉบับพิมพ์ใหม่ด้วย
มันจะหน้าแตกไหมถ้าถามว่า


จอห์น เนฟ เป็นใคร อ่ะคับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
...
Verified User
โพสต์: 1817
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

crazyrisk เขียน:มันจะหน้าแตกไหมถ้าถามว่า
จอห์น เนฟ เป็นใคร อ่ะคับ
เป็นญาติของ จอห์น แนช จาก A Beautiful Mind ครับ  :mrgreen:

------------------

John Neff

Job description

Until his recent retirement, manager of the Vanguard Windsor Fund, now run by Vanguard Mutual Funds of Chicago, Illinois, USA.

Investment style

Hard-core value investment, based on buying good companies with moderate growth and high dividends while out of favour, and selling once they rise to fair value.

Profile

Neff is known as 'the professional's professional', because many fund managers entrusted their money to him in the belief that it would be in safe hands. That view was justified by his remarkably consistent performance. For more than 30 years, the Windsor Fund routinely featured in the top 5 percent of all US mutual funds.

Neff studied industrial marketing at college, but attended night classes to get a degree in banking and finance. In 1954, he became a securities analyst with the National City Bank of Cleveland. Both there and at his next firm, Wellington Management, he pursued a value style of investment modelled on the writings of Ben Graham. He went on to apply this to three equity-and-income funds - Windsor, Gemini and Qualified Dividend - with spectacular results until his retirement in 1995.

An unassuming man, who always encouraged his colleagues to collaborate in his decisions, Neff never sought to publicize himself during his career in the same way as many star fund managers. But with the recent publication of his memoirs, John Neff on Investing, he is at last achieving the wider recognition he deserves.

Long-term returns

The average annual total return from the Windsor Fund during Neff's 32-year tenure was 13.7%, against a return from the S&P500 index of 10.6%.

Biggest success

Neff invested a huge proportion of his fund in Ford in 1984, when everyone feared it might go bust and the P/E ratio had sunk to 2.5! He paid an average price of under $14. Within 3 years, the price had climbed to $50, making Windsor profits of $500m.

Method and guidelines

Neff describes himself as 'a low price-earnings investor'. He hunts for stocks that are cheaply priced in relation to the total return indicated by the sum of their earnings growth plus their dividend yield. He calls this the 'terminal relationship' or, more colloquially, 'what you pay for what you get'. You might also think of it as the GYP (Growth & Yield:P/E) ratio:

(Earnings Growth + Dividend Yield) ÷ P/E ratio

Neff recommends comparing the GYP ratio on your stocks and on your whole portfolio with that on the market.

Example
Average forecast portfolio EPS growth (%)
plus average forecast portfolio dividend yield
divided by average forecast portfolio P/E
= (7 + 5) ÷ 10
= a GYP of 1.2
Average forecast market EPS growth (%)
plus average forecast market dividend yield
divided by average forecast market P/E
= (15 + 2) ÷ 28
= a GYP of 0.6

On the above figures, your portfolio would be twice as attractive as the market. (This is only an example. The actual relationship would usually be much closer.)

Consider avoiding, putting into your portfolio stocks that significantly reduce its overall attractiveness. Instead, set a target buying price that represents the GYP you are after and wait for the price to fall to that level.

If two companies offer a prospective 14% return, but Company A's consists of 14% earnings growth and no dividend, whereas Company B's consists of 7% growth plus a 7% dividend, it is better to choose Company B, because the dividend makes the outcome more certain.

Following this principle, Neff has always stuck to a simple investment style based on the following 7 selection criteria:

  1. Low P/E ratio.
  2. Fundamental earnings growth above 7%.
  3. A solid, and ideally rising, dividend.
  4. A much-better-than-average total return in relation to the P/E ratio.
  5. No exposure to cyclical downturns without a compensatory low P/E.
  6. Solid companies in growing fields.
  7. A strong fundamental case for investment.

Source: John Neff on Investing, J Neff, 1999

A good place to look for ideas is the New Lows column in the back pages of the FT. Many, if not most, of the companies mentioned are generally bad investments. But shares in surprisingly good companies sometimes slide to new lows on bad news. Test these to see if they meet the 7 selection criteria. (Neff calls this the 'Hmmmph' test: "Some names I would not have expected to see on this list elicit an audible 'Hmmmph'.")

Don't chase highly recognized growth stocks. Their P/E ratios are invariably pushed up to ridiculously expensive levels. This greatly increases the risk of a sudden collapse in the share price.

Stick to a firm selling strategy, or you risk losing your profits. There are two basic reasons to sell:

  1. Fundamentals deteriorate
  2. The price approaches or matches your expectations.

The main fundamentals to keep an eye on are earnings estimates and 5-year growth rates. If these start to slip, sell at once.

Pay more attention to the GYP ratio of your portfolio than to the market. But if the market becomes very expensive and it is hard to find worthwhile purchases, it is permissible to hold up to 20% of your funds in cash until new opportunities emerge.

The best profits are usually made after market panics.

Key sayings

"Absent stunning growth rates, low P/E stocks can capture the wonders of P/E expansion with less risk than skittish growth stocks."

"As a low P/E investor, you have to distinguish misunderstood and overlooked stocks selling at bargain prices from many more stocks with lacklustre prospects."

"A dividend increase is one kind of 'free plus'. A free plus is the return investors enjoy over and above initial expectations. One of Ben Franklin's wise observations offers a parallel: 'He who waits upon Fortune is never sure of a dinner.' As I see it, a superior yield at least lets you snack on hors d'oeuvres while waiting for the main meal."

"An awful lot of people keep a stock too long because it gives them warm fuzzies - particularly when a contrarian stance has been vindicated. If they sell it, they lose bragging rights."

Further information

A brief chapter on Neff appears in The New Money Masters (1989) by John Train. But much more satisfying and illuminating is Neff's own account in John Neff on Investing (1999).

http://www.incademy.com/courses/Ten-gre ... 1040/10002
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 40

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

... เขียน:
------------------


Hard-core value investment,



โห  น่าสนใจ แฮะ

มิน่ า   พี่ทรีดอท   ถึงรู้จักละเอียดจริงๆ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
Khunchat
Verified User
โพสต์: 298
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

Khunchat เขียน:บูท se-ed มีตีแตก ของ ดร.นิเวศน์ ฉบับพิมพ์ใหม่ด้วย

ลงทุนเพื่อชีวิต ด้วยหุ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
SunShine@Night
Verified User
โพสต์: 2196
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ไปซิว ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์ ที่ บูท SE-ED มาเหมือนกันครับ

แถมอีก 2 เล่ม เผื่อเพื่อนๆจะสนใจ
เงินทองต้องรู้ เล่ม 2 ของคุณวีระ ธีรภัทร และ เศรษฐศาสตร์จานร้อนของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ทั้ง  2เ ล่มนี้ขาย 20 บาทเองครับ ที่บูท NATION รีบๆ ไปซื้อนะเดี๋ยวหมดก่อน :)
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์

หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี :)
...
Verified User
โพสต์: 1817
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

จอห์น เนฟฟ์

หน้าที่การงาน
จวบจนเกษียณ เขาเป็นผู้จัดการกองทุน Vanguard Windsor ซึ่งปัจจุบันดูแลโดย Vanguard Mutual Funds ในเมืองชิคาโก รัฐอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

แนวทางการลงทุน
ลงทุนเน้นคุณค่าแบบเคร่งครัด โดยลงทุนในบริษัทที่ดีมีการเติบโตพอสมควรและจ่ายปันผลสูง ในขณะที่ไม่มีใครสนใจบริษัทนั้น และขายเมื่อถึงราคาตามมูลค่าของมัน

ประวัติ
เนฟฟ์เป็นที่รู้จักกันในนามของ "มืออาชีพของมืออาชีพ" เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจำนวนมากลงทุนผ่านกองทุนที่เขาบริหาร โดยเชื่อมั่นว่ามันอยู่ในมือที่ปลอดภัย มุมมองนี้มีเหตุผลมาจากผลงานที่ยอดเยี่ยมสม่ำเสมอของเนฟฟ์นั่นเอง
มากกว่า 30 ปีที่กองทุน Windsor ปรากฎชื่ออยู่อย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นกองทุนที่ติดอันดับ 5% ต้นๆของกองทุนในสหรัฐอเมริกา

เนฟฟ์ศึกษาการตลาดด้านอุตสาหกรรมในระดับมหาวิทยาลัย แต่เขาก็ยังลงเรียนภาคค่ำด้านการเงินการธนาคารจนได้รับปริญญาอีกใบอีกด้วย ในปี 1954 เขาได้เป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้กับธนาคาร National City ในรัฐคลีฟแลนด์
จากที่นั่นเองและที่ต่อมาคือบริษัท Wellington Management ที่เขาได้เริ่มเดินตามแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจากงานเขียนของ เบน เกรแฮม  เขาได้เริ่มนำแนวทางนี้ไปใช้กับสามกองทุนหุ้นคือ Windsor, Gemini และ Qualified Dividend
ซึ่งผลที่ได้รับนั้นเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจจวบจนกระทั่งเขาเกษียนอายุในปี 1995

ด้วยบุคลิกที่เรียบง่ายและถ่อมตน เขามักจะเชื้อเชิญให้เพื่อนร่วมงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของเขาอยู่เสมอ ตลอดอายุการทำงานของเขา เนฟฟ์ไม่เคยแสวงหาโอกาสที่จะโฆษณาตัวเองสู่สาธารณชนเลย ดั่งเช่นที่ผู้จัดการกองทุนดังๆนิยมทำกัน
แต่จากงานเขียนเกี่ยวกับเขาเมื่อไม่นานมานี้ที่ชื่อว่า John Neff on Investing (ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์  ของสำนักพิมพ์ Fidelity แปลโดย ดร.กุศยา) ทำให้ในที่สุดเขาก็เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตามที่เขาสมควรจะได้รับ

ผลตอบแทนระยะยาว
ผลตอบแทนรายปีเฉลี่ยของกองทุน Windsor ในช่วงที่เนฟฟ์ดูแลเป็นเวลากว่า 32 ปีนั้นสูงถึง 13.7% ในขณะที่ผลตอบแทนของกองทุนดรรชนี S&P500 อยู่ที่ 10.6%

ความสำเร็จครั้งใหญ่
ครั้งหนึ่ง เนฟฟ์ได้ลงทุนเป็นสัดส่วนที่มากจากกองทุนของเขากับ ฟอร์ด ในปี 1984 เมื่อทุกคนหวั่นกลัวว่าฟองสบู่จะแตกและค่า P/E ของมันได้ดิ่งลงไปอยู่ที่ 2.5! เขาจ่ายไปในราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่า $14 ภายในสามปีต่อมา ราคาของมันได้ไต่ระดับไปสูงถึง $50 เป็นผลทำให้กองทุน Winsor ได้กำไรกว่า $500 ล้าน

แนวทางและวิธีการ
เนฟฟ์พูดถึงตัวเขาว่าเป็น "นักลงทุนหุ้น p/e ต่ำ" เขาจะตามล่าหาหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับผลตอบแทน ซึ่งหาได้จากผลรวมของ earning growth และ dividend yield เขาเรียกมันว่า "Terminal Relationship" ("ความสัมพันธ์ระหว่างขั้ว"?? ไม่รู้แปลถูกป่าว) หรือเป็นที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการว่า
"What you pay for what you get" ("สิ่งที่คุณได้รับก็คือสิ่งที่คุณตั้งใจจ่ายไปนั่นเอง") คุณอาจคิดถึงมันในรูปของอัตราส่วน GYP (Growth & Yield : P/E) ได้อีกด้วย

(Earnings Growth + Dividend Yield) / P/E ratio

เนฟฟ์แนะนำว่าให้เปรียบเทียบอัตราส่วน GYP นี้ระหว่างหุ้นของคุณหรือหุ้นทั้งพอร์ท กับอัตราส่วน GYP ของตลาด

ตัวอย่าง
ค่าเฉลี่ยของอัตราเติบโตที่ทำนายไว้ของ EPS สำหรับหุ้นทั้งพอร์ท บวกกับ ค่าเฉลี่ยของอัตราปันผลที่ทำนายไว้ของหุ้นทั้งพอร์ท หารด้วย ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน P/E ที่ทำนายไว้ของหุ้นทั้งพอร์ท
= (7 + 5) / 10
= ได้ค่า GYP เท่ากับ 1.2
ค่าเฉลี่ยของอัตราเติบโตที่ทำนายไว้ของ EPS สำหรับหุ้นทั้งตลาด บวกกับ ค่าเฉลี่ยของอัตราปันผลที่ทำนายไว้ของหุ้นทั้งตลาด หารด้วย ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน P/E ที่ทำนายไว้ของหุ้นทั้งตลาด
= (15 + 2) / 28
= ได้ค่า GYP เท่ากับ 0.6

จากตัวเลขข้างบน พอร์ทของคุณจะมีความน่าสนใจเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับตลาด (นี่เป็นแค่ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงมักจะใกล้เคียงกว่านี้)

จงหลีกเลี่ยงที่จะซื้อหุ้นที่ลดความน่าสนใจเป็นอย่างมากให้กับพอร์ทของคุณ  ตรงกันข้าม จงตั้งราคาเป้าหมายที่จะซื้อไว้ ซึ่งหาจากค่า GYP ที่เกิดขึ้นเมื่อได้ซื้อหุ้นที่ราคานั้นแล้ว จากนั้นจงรอจนกระทั่งราคาหล่นลงมาถึงระดับนั้น

หากสองบริษัทให้ผลตอบแทนเท่ากันที่ 14% แต่บริษัท A ประกอบด้วย 14% จากการเติบโตของกำไรแต่ไม่มีปันผล ในขณะที่บริษัท B ประกอบด้วย 7% จากการเติบโตของกำไรและ 7% จากปันผล มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าที่จะเลือกบริษัท B เพราะ เงินปันผลทำให้ผลลัพธ์ที่ได้แน่นอนขึ้น

จากหลักการดังกล่าว เนฟฟ์มักจะยึดแนวทางลงทุนง่ายๆ 7 ประการดังต่อไปนี้
1. P/E ต่ำ
2. อัตราเติบโตตามพื้นฐานสูงกว่า 7%
3. ปันผลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. มีผลตอบแทนเมื่อเทียบกับค่า P/E ที่สูงว่าค่าเฉลี่ยของหุ้นอื่นๆในตลาด
5. ไม่ความเสี่ยงต่อวัฏจักรขาลง เว้นแต่ว่ามี P/E ต่ำมากมาชดเชยกัน
6. บริษัทที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่เติบโต
7. เป็นการลงทุนที่มีพื้นฐานรองรับอย่างแน่นหนา

ที่มา: John Neff on Investing, J Neff, 1999

ที่สำหรับหาแนวคิดสำหรับหุ้นเหล่านี้คือหุ้นที่ปรับราคาทำ new low ตามหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจ แน่นอนบริษัทเกือบทั้งหมดไม่ก็ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่แย่ทั้งนั้น แต่บางครั้งหุ้นของบริษัทชั้นยอดก็ตกลงมาทำ new low จากข่าวร้ายได้เหมือนกัน
จงทดสอบหุ้นเหล่านั้นว่าผ่านหลักเกณฑ์เลือกหุ้น 7 ประการหรือไม่ (เนฟฟ์เรียกมันว่าการทดสอบ "เฮ้ยยยย": หุ้นบางชื่อที่คุณไม่คาดคิดว่าจะเห็นมันทำ new low จนคุณต้องร้อง "เฮ้ยยยย")

จงอย่าไล่ล่าซื้อหุ้นเทพ ค่าพีอีของหุ้นเทพจะถูกกระชากขึ้นไปถึงระดับที่แพงอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นอย่างมากต่อการถล่มลงมาอย่างเฉียบพลันของราคาหุ้น

จงติดอยู่กับแนวทางการขายหุ้น ไม่เช่นนั้นคุณจะเสี่ยงกับการสูญเสียกำไร มันมีสองเหตุผลง่ายๆที่จะขาย
1. พื้นฐานถดถอย
2. ราคาเข้าใกล้หรือตรงกับค่าที่คุณคาดหวังไว้

พื้นฐานสำคัญที่ควรจะจับตามองคือผลกำไรที่ประเมินได้และอัตราเติบโตใน 5 ปี ถ้ามันเริ่มที่จะไม่เป็นตามคาด จงเผ่น

ใส่ใจเป็นพิเศษกับอัตราส่วน GYP ของพอร์ทมากกว่าอัตราส่วนของตลาด แต่หากว่าตลาดเริ่มที่จะแพงมากและยากที่จะหาการซื้อที่คุ้มค่า มันเป็นสิ่งที่ทำได้ที่จะถือเงินสดไม่เกิน 20% ของพอร์ท จนกระทั่งโอกาสใหม่ๆมาถึง

กำไรที่ยอดเยี่ยมมักจะเกิดขึ้นหลังจากตลาดตื่นตระหนก

คำคม

"การเติบโตที่น่าตื่นตาซึ่งห่างหายไปนานของหุ้นพีอีต่ำ สามารถก่อให้เกิดการเพิ่มค่าของพีอีได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเสี่ยงน้อยกว่าการไล่ซื้อหุ้นเทพ"

"ในฐานะที่เป็นนักลงทุนหุ้นพีอีต่ำ คุณต้องรู้จักแยกแยะหุ้นที่ถูกเข้าใจผิดและหุ้นที่ราคาถูกแต่ถูกมองข้าม ออกจากหุ้นเน่าๆที่มีอยู่เกลื่อนตลาด"

"การเพิ่มขึ้นของปันผลถือเป็นของแถมชนิดหนึ่ง ของแถมที่ว่าคือผลตอบแทนที่นักลงทุนไดัรับซึ่งเหนือจากความคาดหวังในตอนแรก หนึ่งในข้อสังเกตอันชาญฉลาดของ เบน แฟรงคลิน ได้เปรียบเปรยไว้ว่า ผู้ที่เฝ้ารอโชคชะตาอำนวยจะไม่มีวันแน่ใจได้ในอาหารเย็นที่จะได้รับ กลับกันปันผลที่ยอดเยี่ยมอย่างน้อยจะช่วยให้คุณเอร็ดอร่อยกับออเดิร์ฟในระหว่างที่รออาหารเย็นมื้อนั้น"

"เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผู้คนจำนวนมากถือหุ้นไว้นานเกินไปเนื่องจากมันทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ทั้งที่การขายนั้นมีเหตุผลที่ดีรองรับ เพราะหากพวกเขาขายไปแล้วจะทำให้หมดสิทธิ์ที่จะโม้ว่าพวกเขามีหุ้นเทพ"

ข้อมูลเพิ่มเติม
มีบทโดยย่อเกี่ยวกับเนฟฟ์ในหนังสือชื่อ The New Money Masters (1989) โดย จอห์น เทรน แต่ยังมีงานเขียนคุณภาพเกี่ยวกับเนฟฟ์แบบเต็มๆ นั่นก็คือในหนังสือของเขานั่นเอง John Neff on Investing (1999) (ลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์  ของสำนักพิมพ์ Fidelity แปลโดย ดร.กุศยา)

------------------
แหะๆ แปลมั่วตรงไหน ต้องขออภัยด้วยนะครับ  :mrgreen:
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 2

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

น้อง three dot เนี่ยเก่งภาษาอังกฤษใช่ย่อยนะครับเนี่ย
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆนะครับผม ^^
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

Khunchat เขียน:
ลงทุนเพื่อชีวิต ด้วยหุ้น  ของ ดร.นิเวศน์ กับ ตีแตก ฉบับใหม่
คือเล่มเดียวกันหรือเปล่าครับ
คนละเล่มกันนะครับ

"ตีแตก" เป็นหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเน้นคุณค่าเล่มแรกที่ ดร เขียน ฉบับพิมพ์ครั้งแรกๆ หาได้ยากมากในท้องตลาด เลยเอามาพิมพ์ใหม่ เนื้อหาข้างในคงไม่มีอะไรเปลี่ยนไปซักเท่าไร

"ลงทุนเพื่อชีวิต ด้วยหุ้น" ก็เป็นการรวมบทความของ ดร โลกในมุมมองของ value investor ที่เขียนลงใน Bizweek ในแต่ละสัปดาห์มารวมเล่มไว้ เข้าใจว่าเป็นเล่มต่อจาก "รวยหุ้นอย่างพอเพียง" (ที่หน้าปก ดร แกยืนถ่ายรูปกะเจ้าทุย)
papae666
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ถ้าเป็นญาติของ จอห์นแนช ผมเผ่นดีกว่า น่ากลัวจริงๆ ว่าแต่ผมไปงานหนังสือมา ไม่เจอหนังสือเล่มนี้ที่ boot SE-EDครับ สงสัยดูไม่ละเอียด
... เขียน:
เป็นญาติของ จอห์น แนช จาก A Beautiful Mind ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
<< New >>
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 16

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Thank you for translation krub P' 3 dots....  :cool:
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3779
ผู้ติดตาม: 75

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ยังไม่ได้ไปงานหนังสือเลยครับ แต่ถ้าเสาร์หน้าไม่ติดธุระ...
จะแวะไปเฉี่ยวเพื่อโฉบพร้อมๆ กับงาน  Investor' Day นะครับ :D

ปล.
สิ่งที่ต้องเตรียมไปสำหรับงานหนังสือ คือ

1. xx
สำหรับรองตีนคนอื่นเวลาถูกเหยียบ

และ 2. คำขอโทษ
เผื่อไว้ใช้ตอนที่ตีนของเราเผอิญไปถมถูกตีนคนอื่น :lol:
terati20
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เเนะนำ CD  เพลง คลาสิค ที่ถวายพระพี่นาง โดยสามพี่น้องที่ได้รับทุน จาก พระพี่นาง  เเผ่นละ 199 รายได้เป็นการกุศล  ผมผ่านไปมีเล่น Mini concert  ด้วย ฟังเเล้วเคลิ้มไปเลย

   น้องคนกลางน่ารักมักๆ
:8)
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
owen
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 0

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ไปวันเสาร์มาคนเยอะมากเหมือนกันและ ซิว หนังสือลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์มา 1 เล่ม ที่ บูท SE-ED เหมือนกันครับ
ราคาคือสิ่งที่เราจ่าย แต่มูลค่าคือสิ่งที่เราได้รับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Luty97
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1555
ผู้ติดตาม: 20

หนังสือดีๆจากงานหนังสือ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณพี่สามจุดที่แปลครับ

"การเติบโตที่น่าตื่นตาซึ่งห่างหายไปนานของหุ้นพีอีต่ำ สามารถก่อให้เกิดการเพิ่มค่าของพีอีได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเสี่ยงน้อยกว่าการไล่ซื้อหุ้นเทพ"

"ในฐานะที่เป็นนักลงทุนหุ้นพีอีต่ำ คุณต้องรู้จักแยกแยะหุ้นที่ถูกเข้าใจผิดและหุ้นที่ราคาถูกแต่ถูกมองข้าม ออกจากหุ้นเน่าๆที่มีอยู่เกลื่อนตลาด"


ชอบจัง โดนใจ  :wink:
หลักของความสมดุล
โพสต์โพสต์