การแนะนำ หุ้น

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

:P เมื่อหลายปีก่อน ยุคที่อินเตอร์เน็ทเริ่มเข้ามามีบทบาท
กับชีวิตประจำวัน เวปบอร์ดก็เริ่มทยอยเปิดตัวกัน
จำได้ว่าเวปบอร์ดหุ้นเวปแรก ก็คือเวปพันธ์ทิพย์(โต๊ะสินธร)
และเวปอื่นๆก็เปิดตามมาและปิดตัวเองลง ตามกาลเวลา
นักลงทุนรุ่นเก่า ก็เข้ามาโพท์สแจกหุ้น แจกพื้นฐานบริษัทจดทะเบียน
(เพราะซื้อหุ้นแล้วรักหุ้นเลยมาโพท์สเชียร์)
บางคนเล่นเก็งกำไร
เมื่อซื้อหุ้นแล้วก็มาโพท์ส เรียกคนไปร่วมวงเล่นหุ้นตัวเดียวกัน
สังคมเวปบอร์ด จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
คือมีคนได้ประโยชน์และเสีย
ประโยชน์ มีราคาเป้าหมายทั้งผู้โพท์สและผู้อ่าน
ทั้งที่ในความจริง มันเป็นการคาดการณ์ ที่มีความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ในราคาที่สมมุติ

หลายคนเมื่ออ่านแล้วซื้อ โชคดี มีกำไร

หลายคนมาอ่านและซื้อทีหลังเกิดความผิดพลาด
โชคไม่ดีขาดทุน
กลายเป็นคนเข้าไปรับหุ้นจากใครคนไหนก็ไม่รู้ที่ขายออกมา

จึงมีเสียงชมจากคนได้เงิน จึงมีเสียงด่า จาก...คนติดหุ้น
จึงมีคำที่ว่าี่...โพท์สเพื่อหาคนมารับของ
(ขายยังไม่หมดหรือไงว๊ะ ถึงเรียกคนมาซื้อต่อ)
เป็นอย่างนี้เสมอมาและคงเสมอไป
ในความเป็นจริง ผู้โพท์ส ผู้รู้ ผู้แจกจ่ายข้อมูลทุกท่าน
คงมีเจตนาดี มองเห็นบริษัทจดทะเบียน(หุ้น) มีข้อดีต่างๆ
จึงชี้ให้เห็นว่า...หุ้น บริษัทนี้ สามารถทำกำไรได้เท่านี้
ธุรกิจเป้นแบบนี้ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมแบบนี้ มีทรัพย์สินเท่านี้
มีเงินกำไรสะสมเท่านี้ ผู้บริหารมีวิสัยท้ศน์แบบนี้
เหมือนดัชนี ชี้ขุมทรัพย์ในการเลือกลงทุน

แต่หุ้นที่หลายท่านแนะนำ บางบริษัทก็มีราคาเต็มมูลค่าในระยะเวลาหนึ่ง และมีผลตอบแทนแบบเต็มที่แล้ว
ราคาจึงไม่ขยับไปไหนได้มากนัก
ความอดทน การรอคอย ที่มีจำกัดของแต่ละคน เป็นการทำให้เกิดการตัดสินใจจะถือต่อ หรือขายออกไป

และคำ คำหนึ่งที่จะได้ยินเสมอ คือ
ซื้อเก็บของ จนพอแล้วถึงนำมาโพท์ส

ผมเลยคิดว่า...ลองมาเก็บรวบรวมข้อมูลหุ้น
ให้รู้ทั่วกัน ก่อนหุ้นจะเข้าตลาดดีไหม?

ผมเลยเลือกหุ้น บริษัทหนึ่งเป็นโครงการทดลองนำร่องในการแนะนำหุ้น

ผิดถูก แล้วแต่จะพิจารณากันในการเข้าลงทุน หรือแค่อ่านแล้วก็ดูเฉยไม่ต้องซื้อ

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรอ่าน และใช้วิจารณญาณของท่านเอง




http://www.siamgas.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

หลักการ+หลักเกิน
ในการลงทุน (ของคนแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน)
คงเป็นมุมมอง หลักยึดเหนี่ยวที่ดี ในการตัดสินใจทุกครั้งที่จะซื้อหุ้น

:arrow: เป็นนักลงทุน (ตอนซื้อหุ้น)
เลือกจังหว่ะ เป้าหมาย ที่คิดว่าถึงเวลาซื้อหุ้น
มีข้อมูลมากเท่าไหร่ก็จะดีในการตัดสินใจ
เป็นเหตุผลในการเข้าซื้อลงทุน ตอนซื้อหุ้น
หาเหตุผลมาสนับสนุนการเข้าซื้อ เพราะอะไร?
เพราะเห็นอุตสาหกรรมดี วิสัยทัศน์ผู้บริหารดี
ผลประกอบการคาดว่าน่าจะดี หวังในราคาหรือถือเพื่อรับเงินปันผล


:arrow: เป็นนักเก็งกำไร (ตอนขายหุ้น)
เลือกจังวหว่ะขายหุ้นออกไป เพราะเหตุผลไม่ใช่อารมณ์
ขายเพื่อเปลี่ยนการลงทุน จากหุ้นตัวหนึ่งไปซื้ออีกตัวหนึ่งของหุ้น
ผิดหวังในผลประกอกอบการ แนวโน้มอุตสาหกรรมเป็นขาลง
เจ้าของขนหุ้นมาขายส่งสัญญาณไม่ดี
วัฏจักรของหุ้น+พื้นฐานเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดูจะแย่ลง
และผลประกอบการจะสะท้อนออกมาไม่เป็นตามที่คาดหวัง
ซื้อมาอย่างไรก็ใช่เหตุผลขายหุ้น ออกไปแบบนั้นฯ


:arrow:เป็นชาวดอย (ตอนติดหุ้น)
ถือหุ้นไว้ เพราะขายไม่ทัน เพราะเสียดาย เพราะคาดการผิด
เพราะถ้าขายออกไปแล้วขาดทุน(กลัวเมียด่า)
ก็พยายามหาเหตุผลมา ไม่ขายไม่ขาดทุน 555
ปลอบใจตัวเองและคนรอบข้างว่า...
หุ้นตัวนี้ยังดูดีมีอนาคต ถือหุ้นไว้รอให้มันถึงเป้าหมาย
เพราะมันยังไม่เต็มมูลค่า หุ้นตัวนี้มานยังไม่สะท้อนของมูลค่าที่ควรจะเป็น
หุ้นตัวนี้ ผลตอบแทนในรูปเงินปันผลยังคุ้มกับการถือลงทุน
สารพัดที่จะนึกขึ้นมาได้ สรุปแบบขวานผ่าซาก ฉันไม่เคยคัดล๊อท(ขาดทุนไม่ขาย)


หลักการทุกหลักการไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะนำไปใช้ได้ประสบความสำเร็จทุกคน
แต่ทุกคนควรมีหลักการมาเป็นหลัก
เมื่อตัดสินใจซื้อหุ้นแล้วขาดทุน(ทางตัวเลข)
จะได้ไม่หาแพะมารับบาป
เพราะเชื่อเจ้านี่ล่ะถึงติดหุ้น
เพราะมาร์เก็ตติ้งเชียร์ถึงได้ซื้อ
เพราะเวปบอร์ดมันเชียร์กันเลยหลงเชื่อเข้าไปซื้อหุ้นนี้
เพราะเจ้านั่นมันบอกว่าดี ...
แต่ที่ไหนได้มันเชียร์ว่าดี แต่มันขายให้เรา
โทษดวงไม่ดี วาสนาไม่ถึง

โอ๊ย...เท่าที่จะหาแพะ มารับความผิดพลาด แทนตัวเองได้นั่นล่ะ :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

:arrow: ตัดข่าวมาแป่ะ จาก..... นสพ. BiZweek

วันศุกร์ที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2548


"ศุภชัย วีรบวรพงศ์"

ทายาทเจ้าสัวโบ๊เบ๊ เปิดเกมรุกธุรกิจก๊าซ-อสังหาฯ

เปิดตัวผู้บริหารหนุ่ม เลือดใหม่ "สยามแก๊ส" กับภารกิจสร้างอาณาจักรธุรกิจตระกูล "วีรบวรพงศ์" ก้าวสู่หนึ่งในกลุ่มธุรกิจ conglomerate ชั้นนำของเมืองไทย พร้อมตั้งเป้าเข็น 2 ธุรกิจหลัก ก๊าซหุงต้ม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ "พรหมมหาราช" เข้าระดมทุนตลาดหลักทรัพย์สยายปีกธุรกิจ



อายุ 31 ปี สำหรับใครหลายคน คือ ช่วงเวลาของการทำงาน ก่อร่างสร้างฐานะ แต่สำหรับ ศุภชัย วีรบวรพงศ์ ลูกชายคนโต และคนเดียวของ เจ้าพ่อสยามแก๊ส หรือ เสี่ยเล้ง วรวิทย์ วีรบวรพงศ์วัย 31 ปีเขาก้าวเข้ามารับภารกิจต่อยอดอาณาจักรธุรกิจตระกูล วีรบวรพงศ์

ตระกูลที่ไม่ธรรมดา

เป็นทั้งเจ้าของกิจการก๊าซหุงต้ม ที่ครองตลาดสูงเป็นอันดับสองของเมืองไทย และเจ้าสัวโบ๊เบ๊ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ชื่อบริษัทพรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ประตูน้ำเซ็นเตอร์ โรงแรมปรินซ์ พาเลส และอีกหลายโครงการ

ค่ำคืนของงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จ ที่กลุ่มสยามแก๊ส ทุ่มเม็ดเงิน 2,170 ล้านบาท เข้าเทคโอเวอร์กิจการ "ยูนิคแก๊ส" มาอยู่ในอุ้งมือ ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลส

เป็นเสมือนเวทีเปิดตัวศุภชัย ทายาทธุรกิจของเสี่ยเล้งไปพร้อมกันในคราวเดียว

ศุภชัย ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด ก้าวขึ้นมายืนเคียงข้างเสี่ยเล้ง ผู้พ่อซึ่งเป็นประธานกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด บนเวที ท่ามกลางแขกเหรื่อจากหลายวงการร่วมยินดี รวมไปถึงแขกวีไอพีที่ชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ซึ่งครอบครัว วีรบวรพงศ์ให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ

ทุกวัน ตอนเช้าผมจะมานั่งทำงานที่ยูนิคแก๊ส พอช่วงบ่ายจะออกไปเรียนต่อปริญญาโท เสร็จแล้วค่อยกลับเข้ามาดูแลธุรกิจอสังหาฯ ช่วงเย็นจนหมดวัน ศุภชัย เล่าถึงตารางการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่แน่นเอี้ยด หลังโดดมาเป็นผู้บริหารธุรกิจก๊าซฯ อย่างเต็มตัว

"ถามว่างานใหม่ท้าท้ายกว่าเดิมมั้ย? คงไม่เชิง แต่เป็นจังหวะชีวิต ที่ต้องอาศัยการบริหารเวลาที่ดี และมากขึ้น"

แม้จะไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปที่จะทุ่มเทเต็มร้อย บริหารเวลาในแต่ละวันให้ลงล็อก สำหรับการแบ่งภาคตัวเอง ขับเคลื่อนธุรกิจในมือที่มีมากกว่าหนึ่งธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่สถาบันฯศศินทร์

นับตั้งแต่ก้าวพ้นจากรั้วมหาวิทยาลัย จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 21 ปี ศุภชัย ก็เริ่มเข้ามาช่วยงานธุรกิจตระกูลอย่างเต็มตัว ถูกสอนให้เรียนรู้ ผ่านบททดสอบให้หลากหลายตำแหน่ง ค่อยๆ สะสมชั่วโมงบินไปเรื่อยๆ

ศุภชัย บอกว่า แต่ละงานที่เขาได้รับมอบหมาย ล้วนเป็นบทเรียนที่สอนให้ได้รู้จักคิดแก้ปัญหา และบริหารธุรกิจให้เป็น

ครั้งหนึ่ง ผมเคยต้องเจอปัญหาขาดคนงานก่อสร้าง ทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนด นั่นเป็นงานแรกที่ทำให้ได้เรียนรู้การบริหารงานในธุรกิจอสังหาฯ ศุภชัยเล่า

สิบปีของการเข้ามาเรียนรู้ธุรกิจครอบครัว เมื่อ "เติบโต" และ "แข็งแกร่ง" จนได้ที่ จึงถึงจังหวะเวลาที่ "เสี่ยเล้ง" ผู้พ่อ จะค่อยๆ ผ่องถ่ายธุรกิจในมือให้กับศุภชัย โดยคอยเป็นเทรนเนอร์ เฝ้าดูแลลูกชายคนนี้อยู่ข้างๆ

คุณพ่อจะวางเป้าหมายมาตั้งแต่เด็ก ทั้งผม และน้องสาว ตอนเรียนอยู่จะคอยถามตลอด เมื่อไหร่จะมาช่วยสักที แต่เขาจะไม่มีการมาสอนผมแบบสเต็ปบายสเต็ป แต่จะเน้นให้ไปลองไปทำงานโน้นงานนี้ดู ให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองเสียมากกว่า ไม่ได้ตีกรอบมาก ค่อนข้างจะให้อิสระทางความคิด ยกเว้นโครงการที่ต้องใช้เงินเยอะ ที่ต้องไปปรึกษาก่อน

สองธุรกิจหลักของครอบครัวที่ศุภชัยต้องเข้ามาบริหาร คือ ธุรกิจก๊าซหุงต้ม และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นธุรกิจที่มีลักษณะแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง

ธุรกิจก๊าซฯ เป็นธุรกิจที่เสถียรพอตัวไม่ต้องดูแลมาก การเติบโตยังไปได้เรื่อยๆ ตามภาวะตลาด ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค่อนข้างจะขึ้นลงหวือหวามากกว่า แต่ในทางกลับกันก็เป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้มากกว่าธุรกิจก๊าซฯ ยกตัวอย่างปีที่แล้ว ยอดขายของพรหมมหาราชแค่โปรเจคเดียว 3,500 ล้านบาท

ทำธุรกิจอสังหาฯ รายได้เข้ามาเยอะกว่า มาร์จินเยอะกว่า แต่ใช้เงินลงทุนสูงกว่า มี Cash flow น้อย ส่วนธุรกิจก๊าซฯ ถึงจะได้กำไรน้อยหน่อย แต่รายได้มีเข้ามาเรื่อยๆ ยอดขายค่อนข้างคงที่ สิ่งเดียวที่จะทำให้ได้ Profit Margin ในธุรกิจก๊าซฯเพิ่มขึ้น คือ การลดค่าใช้จ่าย

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เมืองไทยต้องตกอยู่ในอาการ โคม่า เพราะแบงก์ไม่ปล่อยกู้ กำไรจากธุรกิจก๊าซฯ ของสยามแก๊ส จึงกลายเป็น ออกซิเจน ที่เข้ามาช่วยค้ำจุนให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูลวีรบวรพงศ์ สามารถประคับประคองฝ่าพ้นช่วงวิกฤติ และพลิกฟื้นโครงการได้เร็วกว่าใครเพื่อน

งานก่อสร้างเป็นงานที่ผมภูมิใจ ศุภชัยบอก

โครงการถนัดของพรหมมหาราช คือ อาคารพาณิชย์ ตึกสูง คอนโดมิเนียม และโรงแรม โดยจะเน้นไปที่ทำเลใจกลางเมือง ซึ่งศุภชัยมองว่ายังมีช่องว่างในการเติบโตธุรกิจได้อีกเยอะ อีกทั้งดีมานด์พื้นที่ใจกลางเมืองยังแรงต่อเนื่องต่างกับชานเมืองที่เริ่มแผ่ว

นอกจากโครงการโบ๊เบ๊ 1 และ 2 โครงการประตูน้ำเซ็นเตอร์ ที่เคยฝากฝีมือมาแล้ว โครงการใหม่ที่ศุภชัยกำลังหมายมั่นปั้นมือต่อไป คือ "เยาวราชริเวอร์วิว" ซึ่งอยู่ในย่านใจกลางเมืองอีกเช่นเคย

ตอนนี้ ธุรกิจอสังหาฯ เรามีทุนค่อนข้างน้อย แต่ถ้าระดมทุนมาได้แล้ว เราคงจะบุกธุรกิจนี้มากขึ้น

ในปีหน้า ศุภชัย มีแผนจะผลักดันบริษัทพรหมมหาราช เข้าระดมทุนนับพันล้านบาทในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อหาเงินทุนมาต่อยอดโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายโปรเจค

หนึ่งในอภิมหาโปรเจคคือ โครงการก่อสร้างศูนย์แสดงสินค้าย่าน กม. 39 ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิไปเพียงไม่ถึง 20 กม. มูลค่าโครงการนี้ คาดว่าจะใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท

ศูนย์แสดงสินค้าแถวสุวรรณภูมิ เป็นโปรเจคที่เขียนไว้ใหญ่มาก และอาจจะใหญ่กว่าที่เมืองทองธานี กับไบเทค ศุภชัย บอกถึงอนาคตโครงการใหม่ที่วาดฝันไว้

เส้นทางข้างหน้าของธุรกิจตระกูล วีรบวรพงศ์ คือ การนำเอา 2 กลุ่มธุรกิจหลักของตระกูล คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก๊าซหุงต้ม เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ กระจายหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 30% เพื่อหาเงินมาลงทุน ตะลุยต่อยอดอาณาจักรธุรกิจที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

นำร่องชิมลาง ด้วยกลุ่มธุรกิจก๊าซฯ ซึ่งเตรียมจ่อคิวเข้าตลาดช่วงไตรมาส 3-4 ปีนี้ ในลักษณะโฮลดิ้ง ประกอบด้วย ธุรกิจของสยามแก๊ส ยูนิคแก๊ส และวีเอสพีพี ทุนจดทะเบียนรวมกันประมาณพันล้านบาท ตามมาด้วยกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เตรียมเข็นเข้าตลาดต่อไปในปีหน้า

เป้าหมายในใจสำหรับธุรกิจก๊าซหุงต้ม คู่สองพ่อลูก ทั้งวรวิทย์ และศุภชัย ฝันเอาไว้ว่า อยากจะผงาดขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ซึ่งหากจะทำได้นั่นหมายถึง ต้องโค่นตำแหน่งแชมป์อย่างก๊าซหุงต้ม ปตท. ที่ครองตลาดสูงสุดอยู่ในปัจจุบัน

การตัดสินใจเข้าซื้อกิจการของ "ยูนิคแก๊ส" เมื่อปลายปีที่แล้ว นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญทางธุรกิจ ส่งผลให้กลุ่มสยามแก๊ส ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดจำหน่ายก๊าซหุงต้มรายใหญ่เบอร์ 2 ของประเทศ

ด้วยยอดขายประมาณ 5.7 หมื่นตันต่อเดือน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25% เบียดแซงปิคนิคแก๊ส ที่เพิ่งซื้อกิจการของเวิลด์แก๊ส ไปอย่างเฉียดฉิว โดยปตท. และปิคนิคแก๊ส มีส่วนแบ่งตลาด 45% และ 21% ตามลำดับ

ถ้าบอกว่าเราอยากจะเป็นบริษัทก๊าซฯ ที่ใหญ่ที่สุด ไม่รู้จะพูดเกินจริงหรือเปล่า เพราะตอนนี้รายใหญ่ที่สุด คือ ปตท. แต่ถ้ารัฐบาลเปิดแข่งขันเสรีธุรกิจก๊าซหุงต้ม เปิดให้นำเข้าเสรี ปล่อยลอยตัวราคาก๊าซฯ ก็มีโอกาสพอที่จะเป็นไปได้ หลังลอยตัว ผมมองไว้ว่ามาร์จินธุรกิจก๊าซฯ จะขยับสูงขึ้นแน่ ศุภชัยบอกถึงโอกาสรุกทางธุรกิจ ที่รอเพียงแต่นโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลในการประกาศเปิดเสรีลอยตัวก๊าซหุงต้มอย่างเต็มรูปแบบ

เขา อธิบายว่า หากมีการเปิดเสรีเต็มรูปแบบ กฎเกณฑ์หลายอย่างในการทำธุรกิจก๊าซฯ จะถูกปลดล็อก ทั้งเรื่องเพดานราคาที่ถูกควบคุมเอาไว้ต่ำกว่าราคาจริงในตลาดโลก

ที่สำคัญ คือ เรื่องต้นทุนวัตถุดิบ ที่หลังการเปิดเสรีแล้ว จะทำให้มีทางเลือกในจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งอื่นมากขึ้น นอกเหนือจากการซื้อจากปตท.

ยอดขายเดือนๆ หนึ่งของเรา รวมกัน 60,000 ตัน ก็นับว่ามีอำนาจต่อรองหาซัพพลายก๊าซฯ จากแหล่งอื่นที่ราคาถูกลง

การเข้าซื้อกิจการยูนิคแก๊ส ช่วยสร้างแต้มต่อทางธุรกิจให้กับกลุ่มสยามแก๊สมากขึ้น อย่างน้อยๆ ศุภชัยคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนได้ถึง 10% ช่วย เสริมความพร้อมในเรื่องของคลัง โรงบรรจุก๊าซฯ ท่าเรือ กำลังรถ และเรือ ให้สามารถทำธุรกิจก๊าซฯได้อย่างครบวงจร โดยหลังจากควบรวมกิจการกันแล้ว คาดว่าจะมีรายได้รวม 1 หมื่นล้านบาทต่อปี และมีกำไรประมาณ 400 ล้านบาทต่อปี

"ธุรกิจก๊าซฯ จะทำทั้ง 2 แบรนด์ควบคู่กันไป บางตำแหน่งของประเทศที่ยูนิคด้อยในแถบอีสาน สยามแก๊สเราก็แกร่ง ส่วนทางใต้ ยูนิคแกร่ง แต่เราก็ด้อย จึงเข้ามาเสริมกันได้พอดี การรวมกันจะทำให้เราเพิ่มฐานการทำธุรกิจ สามารถ Sunergy กันได้ทุกจุด และทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น"

นอกจากการเตรียมพร้อมในเรื่องคลัง และโรงบรรจุแล้ว ยังต้องมีการวางกลยุทธ์แบรนดิ้งมาร์เก็ตติ้ง โดยเน้นความปลอดภัยมากขึ้น เพราะหลังลอยตัวก๊าซหุงต้มแล้ว สมรภูมิธุรกิจก๊าซหุงต้มในเมืองไทย จะกลับมาคึกคัก แข่งขันกันดุเดือดมากขึ้นอีกครั้ง

ทุกวันนี้ คู่สองพ่อลูก วรวิทย์ และศุภชัย ยังทำงานในบริษัทด้วยกันอย่างใกล้ชิด และตอนนี้ หากจะสัมภาษณ์เรื่องราวธุรกิจของสยามแก๊ส เสี่ยเล้ง ก็จะคอยบอกโบ้ยให้ไปคุยกับลูกชาย ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ดีกว่า พร้อมด้วยสีหน้าที่ไม่อาจซ่อนความปลื้มปิติ ภูมิใจ และเต็มไปด้วยความหวังในตัวทายาทธุรกิจคนนี้

ผมอยากประสบความสำเร็จในธุรกิจ อยากขยายธุรกิจในเครือไปให้มากกว่านี้ ผมอยากจะให้ธุรกิจตระกูลเราเป็นอีกหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ conglomerate ของเมืองไทย เหมือนอย่างเครือซีพี และถ้าเราจับธุรกิจไหนแล้ว จะพยายามก้าวเป็นที่หนึ่งของธุรกิจนั้นให้ได้ ผู้บริหารหนุ่มวัย 31 ปีอย่างศุภชัย บอกอย่างมุ่งมั่น

------------------------------------------


"ผมอยากประสบความสำเร็จในธุรกิจ อยากขยายธุรกิจในเครือไปให้มากกว่านี้ ผมอยากจะให้ธุรกิจตระกูลเราเป็นอีกหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ conglomerate ของเมืองไทย เหมือนอย่างเครือซีพี "
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

จาก แฟ้มข่าวเก่า

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547

"สยามแก๊ส"

ผงาดครองตลาดแก๊สอันดับสอง

ตั้งเป้าปีหน้าดันยอดขายทะลุหมื่นล้าน เล็งขยายการลงทุนในต่างประเทศทั้งจีนและเวียดนาม ปูทางรุกธุรกิจแอมโมเนีย หวังสร้างกำไรเพิ่มขึ้น

กลุ่ม"สยามแก๊ส" ผงาดครองส่วนแบ่งตลาดอันดับสอง รองจากปตท.หลังเทคโอเวอร์ยูนิคแก๊ส วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มยอดขายปีหน้าหมื่นล้านจากปีนี้ 5,000 ล้าน ชี้มีสถานีบริการครอบคลุมรองรับธุรกิจ พร้อมเตรียมกระจายหุ้น 25%ในตลาดหลักทรัพย์ช่วงไตรมาส 2 ปี'48 ระดมเงิน 250 ล้านบาทขยายธุรกิจ

นายวรวิทย์ วีรบวรพงษ์ ประธานกรรมการ กลุ่มสยามแก๊ส เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายแก๊สรายใหญ่ วงเงินรวม 2,170 ล้านบาท และชำระเงินค่าหุ้นเต็มวันนี้ (22 ธ.ค.) โดยเงินที่นำไปซื้อกิจการของบริษัทดังกล่าว เป็นเงินกู้ 1,000 ล้านบาท

ทั้งนี้การซื้อกิจการครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มสยามแก๊ส ก้าวขึ้นเป็นผู้จำหน่ายแก๊สรายใหญ่อันดับสองของประเทศ ด้วยยอดขาย 57,000 ตันต่อเดือน จากตลาดรวมแก๊สทั้งหมด 220,000 ตันต่อเดือน และคาดว่าจะมียอดขายปีหน้า ประมาณ 10,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่มียอดขายรวม 5,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากซื้อกิจการแล้ว จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ช่วงไตรมาส 2 ของปี 2548 ภายใต้ชื่อ สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีกัล และก่อนเข้าตลาดจะเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 600 ล้านบาท เป็น 1,000 ล้านบาท โดยตามแผนเบื้องต้นนั้น บริษัทจะนำหุ้นออกจำหน่ายสัดส่วน 25% หรือคาดว่าจะได้เงินจากการกระจายหุ้นประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทเพิ่มเป็น 1,250 ล้านบาท

นายวรวิทย์ กล่าวว่า การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำเงินมาใช้ในการขยายกิจการทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นขยายการลงทุนเข้าไปในจีน และเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการขยายธุรกิจการผลิตแอมโมเนีย เนื่องจากคาดว่าจะมีกำไรกว่า 25% ขณะที่การจำหน่ายแก๊ส จะมีกำไรประมาณ 10% เท่านั้น และปัจจุบันบริษัทมียอดหนี้รวม 4,000 ล้านบาท

นายศุภชัย วีรบวรพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอุตสาหกรรมแก๊สสยามจำกัด กล่าวว่า การระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้ เพื่อใช้ในการขยายกิจการโรงบรรจุก๊าซฯ และสถานีบริการ ธุรกิจแอมโมเนีย และการลงทุนในต่างประเทศ

ส่วนจะนำธุรกิจใดเข้าตลาดหลักทรัพย์บ้างนั้น อยู่ระหว่างการจัดโครงสร้างองค์กร เพราะกลุ่มสยามแก๊ส มีบริษัทในเครือจำนวนมาก แต่คาดว่าธุรกิจที่จะจัดโครงสร้างเพื่อเข้าตลาดหุ้นคือ อุตสาหกรรมแก๊ส และแอมโมเนีย รวมถึงธุรกิจที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจคือ ธุรกิจขนส่ง โดยการเข้าซื้อกิจการของบริษัทยูนิคแก๊สนั้น คาดว่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 4 ปี เนื่องจากยูนิคมีความได้เปรียบทั้งมีโรงบรรจุก๊าซในจังหวัดที่สยามแก๊สไม่มี และมีดีลเลอร์และแบรนด์เนมที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว

นายศุภชัย กล่าวอีกว่า หลังการรวมกิจการนั้นจะมุ่งเน้นทำตลาดส่งออกแก๊ส เพราะสามารถทำกำไรดีกว่าจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากราคาแก๊สในประเทศถูกภาครัฐควบคุม ขณะที่การส่งออกต่างประเทศจะมีกำไรประมาณ 1 บาทต่อลิตรขึ้นไป โดยตลาดส่งออกขณะนี้ อาทิ กัมพูชา เป็นต้น

ด้านนายอนุวัฒน์ ภู่สันติพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทอุตสาหกรรมแก๊ส จำกัด กล่าวว่า หลังการรวมกิจการกับยูนิคแก๊สแล้ว จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของกลุ่มสยามแก๊สใกล้เคียงกับ ปตท. หากไม่รวมการจำหน่ายแก๊สให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่เมื่อรวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแก๊สทั้งหมด ปตท.จะครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ ที่ 1 สัดส่วน 45% กลุ่มสยามแก๊ส อันดับ 2 สัดส่วน 25% และปิคนิคแก๊ส อันดับ 3 สัดส่วน 22%

สำหรับยอดขายของบริษัทช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ( ม.ค.-ต.ค. )ประมาณ 528,737 ตัน หากรวมทั้งปี คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มเป็น 620,000 ตัน และปีนี้คาดว่า ยอดขายจะขยายตัวเป็น 720,000 ตัน หรือคิดเป็นรายได้รวม 1 หมื่นล้านบาท หรือเติบโต 10% เนื่องจากมีสถานีบริการมากขึ้น หลังซื้อกิจการจากยูนิคแก๊ส

นายอนุวัฒน์ กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมแก๊สของทั้งประเทศโดยรวมปีหน้า คาดว่าจะเติบโตประมาณ 3-5% โดยเชื่อว่าหลังรัฐบาลปล่อยราคาน้ำมันดีเซลลอยตัวในต้นปีหน้าแล้ว ราคาน้ำมันดีเซลจะแพงกว่าราคาแก๊ส ดังนั้นการนำแก๊สแอลพีจีไปติดตั้งในรถยนต์ จะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง เนื่องจากราคาถูกกว่าการใช้แก๊สเอ็นจีวี

"อนาคตของอุตสาหกรรมแก๊ส เชื่อว่าผู้ประกอบการรายเล็กๆ จะอยู่ลำบากมากขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการรวมกิจการของกลุ่มปิคนิคแก๊สกับเวิลด์แก๊ส และตามมาด้วยกลุ่มสยามแก๊ส และยูนิคแก๊ส ทำให้ต่อไปจะเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเพียง 3 กลุ่มเท่านั้น คือ ปตท.กลุ่มสยามแก๊ส และกลุ่มปิคนิค" นายอนุวัฒน์กล่าว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

:arrow:
ผู้จัดการรายวัน

สยามแก๊ส ฮุบ ยูนิคแก๊ส จ่อคิวเข้าตลาดฯ
กลุ่มสยามแก๊สทุ่มเงิน 2,170 ล้านบาท
เทกโอเวอร์ยูนิคแก๊สฯ
ก้าวสู่ผู้นำการจัดจำหน่ายแก๊สหุงต้ม
รายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ

เบียดแซงปิคนิคแก๊สฯ ตกไปอันดับ 3
ประกาศจะทุ่มเงินอีก 1,000 ล้านบาท
ขยายธุรกิจแก๊สและแอมโมเนียในไทย
รวมทั้งบุกตลาดแก๊ส ในจีนและเวียดนามเพิ่มเติม
พร้อมทั้งจ่อคิวเข้าตลาดหุ้น ในไตรมาส 2-3 ของปี 48

โดย จะขายหุ้นไอพีโอ 25 ล้านหุ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 7

โพสต์


ศุภชัย วีรบวรพงศ์ ชูธงแก๊สสยามขึ้นแท่นอันดับ 2 รอง ปตท.

สัมภาษณ์

หลังจากที่บริษัทอุตสาหกรรมแก๊สสยามได้เข้าซื้อกิจการบริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัล จำกัด (มหาชน) ในเดือนธันวาคม 2547 ด้วยมูลค่า 2,170 ล้านบาท พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทสยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัล ยอดการจำหน่ายก๊าซของบริษัทก็ "คู่คี่" มากับบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเพิ่งใช้กลยุทธ์ในการเข้าซื้อกิจการบริษัทเวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) มาก่อนหน้านี้ไม่นานเช่นกัน แต่พอมาถึงวันนี้ นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามแก๊สฯได้ประกาศถึงความมั่นใจที่ว่า สยามแก๊สฯได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จำหน่ายก๊าซที่ใหญ่เป็นอันดับที่สอง เป็นรองจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เท่านั้น

- แผนการดำเนินการของบริษัท

ในปี 2548 บริษัทสยามแก๊สฯคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของปริมาณการจำหน่ายก๊าซเพิ่มขึ้น 10% จากเดือนธันวาคม 2547 ที่เดือนละ 57,000 ตัน เป็นเดือนละ 60,000 ตัน แบ่งเป็นปริมาณการขายก๊าซของบริษัทยูนิคแก๊สฯเดือนละ 27,000 ตัน กับบริษัทสยามแก๊สฯอีก 30,000 ตัน ส่วนรายได้รวมของบริษัทตั้งไว้ที่ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจก๊าซ 90% รายได้จากธุรกิจแอมโมเนีย 10% กำไรสุทธิจะอยู่ที่ประมาณ 400-600 ล้านบาท

และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทได้ทำแผนเป็นระยะสั้นระยะยาว ในส่วนของแผนระยะสั้น เราจะเน้นไปที่การบริหารจัดการบริษัทยูนิคแก๊สฯด้วยการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการต้นทุนของบริษัทให้ต่ำลง เพื่อเพิ่มส่วนต่างของกำไรให้มากขึ้น ตามมาด้วยการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น โดยการหาทำเลใหม่ๆ ใจกลางเมืองใหญ่เพื่อตั้งปั๊มก๊าซให้ได้อีกประมาณ 5 ปั๊ม ที่สำคัญเราจะเน้นลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมและยานยนต์ให้มากขึ้น โดยอาศัยช่วงราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวสูง เข้าไปแนะนำข้อได้เปรียบของการใช้ก๊าซแทนน้ำมันดีเซล

สำหรับแผนในระยะยาว เราจะเน้นเรื่องการสร้างแบรนด์ ทั้งในส่วนของยูนิคแก๊สฯกับสยามแก๊สฯ ให้ลูกค้าได้เกิดความเชื่อถือมากขึ้นทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและมาตรฐานการบรรจุถังก๊าซ โดยบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจร้านค้าตัวแทนจำหน่ายในจุดต่างๆ ว่าการบรรจุเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ เพราะบางร้านค้าบรรจุถังไม่เต็ม เมื่อลูกค้าใช้หมดเร็วกว่าแบรนด์อื่นก็จะเกิดความไม่เชื่อถือ ซึ่งก็จะทำให้เสียลูกค้า

ต้องเข้าใจว่านโยบายของเราจะไม่รวมแบรนด์ "สยามแก๊สฯ" กับ "ยูนิคแก๊สฯ" เข้าด้วยกัน เพราะแบรนด์ทั้ง 2 ต่างมีจุดอ่อนและจุดแข็งแตกต่างกันไป นอกจากนี้ทั้ง 2 แบรนด์มีถังก๊าซอยู่ในท้องตลาดถึง 10 ล้านใบ ถ้ารวมแบรนด์จะต้องมีการปรับเปลี่ยน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นการรวมแบรนด์อาจจะทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดให้คู่แข่งเข้ามาช่วงชิงได้ เช่น หากบริษัทยูนิคฯมีลูกค้าอยู่แล้วแต่พอเปลี่ยน

แบรนด์เป็นสยามแก๊สฯ ลูกค้าอาจจะไม่มีความมั่นใจก็ได้ จนทำให้เปลี่ยนไปใช้ก๊าซของ ปตท.แทน

- โครงการในต่างประเทศ

บริษัทกำลังทำโครงการอยู่ใน 2 ประเทศหลักๆ คือ เวียดนาม จากเดิมที่บริษัทได้เข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัทเอสซ่อนโมบิล เพื่อทำกิจการจำหน่ายก๊าซในเวียดนามอยู่ประมาณ 14% แต่เนื่องจาก นโยบายของบริษัทเอสซ่อนฯไม่เข้ากับสถานการณ์ของเวียดนามในปัจจุบัน ดังนั้นบริษัทจึงคิดจะขายหุ้นที่ถือในเอสซ่อนโมบิลและออกมาดำเนินการ

ทำตลาดเองทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 200 ล้านบาท ในการก่อสร้างโรงบรรจุก๊าซ 1 โรง และท่าเรือ 1 ท่า จำหน่ายก๊าซ LPG เดือนละ 900 ตัน ส่วนโครงการในกัมพูชา เป็นการขยายการจำหน่ายก๊าซเพิ่มขึ้นจากเดือนละ 450 ตัน เป็นประมาณเดือนละ 900 ตัน ลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนนโยบายการประกาศลอยตัวก๊าซหุงต้มของรัฐบาลนั้น จะต้องรอดูนโยบายว่าจะออกมาในลักษณะใด ถ้าประกาศ ลอยตัวโดยยกเลิกการชดเชยราคาค่าก๊าซ ก็จะไม่เป็นผล เพราะราคาของคู่แข่งก็จะขยับเพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากันหมด แต่ถ้ายกเลิกทั้งระบบให้มีการค้าเสรี (ยกเลิกการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกสูงสุด) โดยอิงกับราคาก๊าซในตลาดโลกก็จะมีผลทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น


http://www.matichon.co.th/prachachart/p ... 2005/07/14
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 36

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 8

โพสต์

รูปภาพ


วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10254

"สยามแก๊ส"ยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหุ้น หวังระดมทุน-ไม่สนภาวะผันผวน

นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ

บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน)

เปิดเผยถึงแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า
บริษัทจะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสนอขายหุ้น (ไฟลิ่ง)
ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ประมาณไตรมาส 3 ปีนี้

โดยจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (ไอพีโอ) จำนวน 240 ล้านหุ้น

โดยบริษัทจะเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง
(PP) 50 ล้านหุ้นก่อนขายไอพีโอ
ขณะนี้มีนักลงทุนสถาบันในประเทศ 2 ราย
และกองทุนต่างประเทศอีก 1รายจากประเทศญี่ปุ่น
แสดงความสนใจติดต่อเข้ามา
น่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาส 2-3 นี้

"หลังจากขายพีพีแล้ว เราจึงจะเสนอขายหุ้นไอพีโอ
และจัดสรรหุ้นสามัญอีก 20 ล้านหุ้น
รองรับการจัดสรรหุ้นให้กับกรรมการและพนักงาน (ESOP)
ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 980 ล้านบาท
จากปัจจุบัน 670 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท
ซึ่งเราพยายามจะเข้าตลาดหุ้นให้ทันปีนี้
แม้ว่าบรรยากาศการลงทุนจะผันผวน
แต่วัตถุประสงค์หลักของบริษัทคือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการระดมทุนเป็นหลัก
เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ และเมื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนทำให้บริษัทมีแหล่งในการระดมทุน"
นายศุภชัยกล่าว

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามในกรณีที่คณะกรรมการของสยามแก๊ส
ปรากฏชื่อพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
นายวิโรจน์ คลังบุญครอง เป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ
มีนายหาญ เชี่ยวชาญ
และนายสุดจิต ทิวารี เป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
อาจทำให้ผู้ลงทุนมองว่าเป็นหุ้นการเมืองนั้น
นายศุภชัยกล่าวว่า ไม่น่าจะมองอย่างนั้น
เนื่องจากบุคคลทั้ง 4 ไม่มีตำแหน่งทางการเมือง
และไม่มีสัดส่วนการถือครองหุ้น เป็นเพียงกรรมการเท่านั้น

นายศุภชัยกล่าวว่า บริษัทดำเนินธุรกิจผู้จำหน่ายก๊าซหุงต้ม (LPG)
โดยมีลูกค้า 3 กลุ่มหลัก คือลูกค้าก๊าซรถยนต์ ลูกค้าอุตสาหกรรม
และภาคครัวเรือน ซึ่งบริษัทดำเนินการขายผ่านแบรนด์สยามแก๊ส
และยูนิคแก๊ส ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกัน 30%
เป็นอันดับสองรองจาก ปตท. และมียอดขายประมาณ 65,000 ตันต่อเดือน
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้น 5 อันดับแรกประกอบด้วย

บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน จำกัด 60%
นายไมตรี ยิ้มแย้ม 11%
นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ 9%
ภาพประจำตัวสมาชิก
BOONPARUEY
Verified User
โพสต์: 184
ผู้ติดตาม: 0

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 9

โพสต์

:lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:
... " บุญ คือ เสบียงของคนไม่ประมาท "  พุทธตรัส ...
tanate@man
Verified User
โพสต์: 209
ผู้ติดตาม: 0

การแนะนำ หุ้น

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมชอบพี่ปรัชญาเขียนมาก ๆ
โพสต์โพสต์