ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คิดว่าไงกันบ้างครับ...

------------------------------------------------------------------------------------

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

กูรูด้านฟันด์ โฟลว์ แนะจับตาตลาดหุ้นไทยกำลังเข้าใกล้ จุดเสี่ยง เข้ามาทุกขณะ โดยคาดว่าจะเกิดการ ปรับฐาน ครั้งใหญ่ในเร็ววัน หลังประเมิน..เม็ดเงินทุน (Funds Flow) ใกล้จะถึงเวลา ไหลออก จากหุ้นไทย โยกกลับไปยังตลาดพันธบัตร ซึ่งให้ผลตอบแทนน่า จูงใจ กว่า บวกกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ใกล้แตะจุด ต่ำสุด แต่..หุ้นไทยยังมีโอกาส "ตีกลับ" มาได้เหมือนกัน หากแบงก์พาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ขึ้นดอกเบี้ยอีก ..


แม้ภาวะการเมืองจะปกคลุมการลงทุนจนหลายฝ่ายมองว่า คือปัจจัยหลักที่กระทบตลาดหุ้น แต่ วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนีตี้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุน หรือ Funds Flow กลับมองต่อตลาดหุ้นไทยว่า อิทธิพลหรือสิ่งที่ผลักดันให้เกิดการปรับฐาน หรือตัวผลักดันให้ดัชนีหุ้นให้หันหัวลงในช่วงนี้ น่าจะเกิดจากการที่นักลงทุนต่างชาติทำ Tacitical Asset Allocation หรือการปรับพอร์ตลงทุนจากตลาดหุ้นสู่ตลาดพันธบัตร เนื่องจากที่ผ่านมา นักลงทุนให้น้ำหนักลงทุนในตลาดหุ้นมากเกินไป

ทำให้ ช่องว่าง ระหว่างอัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทย (Earning Yield) และอัตราผลตอบแทนของตลาดพันธบัตรอายุ 10 ปี (Bond Yield) ถ่างกัน มากขึ้น

เมื่อช่องว่างของผลตอบแทนห่างกัน จึงทำให้อัตราส่วนผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยต่ออัตราส่วนผลตอบแทนตลาดพันธบัตร ต่ำลง

เมื่อใดก็ตามที่อัตราผลตอบแทนจากตลาดหุ้นเทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรต่ำกว่า 2 เท่า ขณะที่แนวโน้มผลตอบแทนในพันธบัตรปรับตัวขึ้น จะทำให้เกิดการเทขายทำกำไรในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นปรับฐานลงมาแรงๆ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ วิศิษฐ์บอกว่า ได้เคยเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี 2546 เรื่อยมา และพิสูจน์แล้วว่าตลาดหุ้นได้ปรับตัวลงค่อนข้างแรง เมื่อช่องว่างของผลตอบแทนของสองตลาดมีมากขึ้น..

เช่น การปรับตัวของตลาดหุ้นในเดือนมกราคมและเมษายน 2547, มิถุนายน 2548 และพฤษภาคม 2549

"การปรับฐานทุกครั้งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา (2546-2549) เกิดจากส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของตลาดหุ้น เทียบกับผลตอบแทนของตลาดพันธบัตร "ต่ำกว่า" 2 เท่า" วิศิษฐ์กล่าว

นั่นแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนได้ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น "มากเกินไป (Over Weight) จึงทำให้อัตราส่วนผลตอบแทนของตลาดหุ้นเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปี เกิดช่องว่างมากเกินไป

อย่างเช่น ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2546 อัตราส่วนผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยเทียบกับผลตอบแทนจากตลาดพันธบัตรในปี 2546 ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนสูงถึงกว่า 3.5 เท่า ส่วนผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรต่ำเพียง 1.62 เท่า หรือในช่วงเดือนเมษายน 2547 ตลาดหุ้นอยู่ที่ 3.4 เท่า ตลาดพันธบัตรอยู่ที่ 1.98 เท่า หรือในเดือนมีนาคม 2548 ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนราว 3.3 เท่า แต่ตลาดพันธบัตรอยู่ที่ 2.24 เท่า และในเดือนพฤษภาคม 2549 ตลาดหุ้นอยู่ที่ 3.5 เท่า แต่ตลาดพันธบัตร 2.04 เท่า เป็นต้น

ปัจจุบัน อัตราส่วนผลตอบแทนของหุ้นไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูงราว 3 เท่า หรือปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 750 จุด ขณะที่อัตราส่วนผลตอบแทนตลาดพันธบัตร (เดือนพ.ค.2550) อยู่ที่ระดับ 1.89 เท่า

เขาประเมินว่า เหตุการณ์เช่นในอดีต กำลังจะกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในเร็ววันนี้..

ผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรรัฐบาล ตอนนี้ได้ปรับตัวขึ้นแล้ว จาก 5% เพิ่มขึ้นเป็น 5.2% และคาดว่าในกลางปีหน้า (2551) อัตราผลตอบแทนจะเพิ่มเป็น 6.5%

หมายถึงว่า การลงทุนในตลาดหุ้น อาจไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจอีกต่อไป เมื่อเทียบกับผลตอบแทนลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาล เพราะการลงทุนพันธบัตร ได้ผลตอบแทนปีละ 5-6% แต่จะหวังผลตอบแทนในตลาดหุ้นราว 5-6% ต่อปี อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอีกแล้ว

วิศิษฐ์บอกว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไป ก็คือ เงินลงทุนในตลาดหุ้น กำลังจะโยกไปยังตลาดพันธบัตร ซึ่งผลตอบแทนกำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น

เพราะเมื่ออัตราผลตอบแทนของตลาดพันธบัตรเริ่มปรับขึ้น ทำให้ "ความอยากเสี่ยง" ของนักลงทุนต่างประเทศเริ่มลดลง แม้หุ้นไทยจะปรับตัวลงไปแล้ว 40 จุด แต่ตัวอัตราส่วนของผลตอบแทนในหุ้นต่อพันธบัตรยังไม่ได้ดีขึ้นมาก ฉะนั้นตลาดหุ้นไทยอาจจะอยู่ในช่วงปรับฐานอีกระยะ

ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยและต่างประเทศมีส่วนต่างกันอยู่ที่ 0.80-1% ถ้าเจบิคไม่ปล่อยเงินกู้ให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า รัฐบาลไทยก็จำเป็นต้องกู้เงินในประเทศแทน ตรงนี้จะมีผลให้อัตราผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นได้

ผลกระทบของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นการ ดึง เม็ดเงินออกจากตลาดหุ้น

ทำให้ตลาดหุ้น เล่นยาก ขึ้นนั่นเอง

อีกปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นตัวชี้ว่าตลาดหุ้นไทยกำลังจะปรับฐาน คือ การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์ หรือ "TFEX" ของนักลงทุนต่างชาติ..

วิศิษฐ์บอกว่า กลยุทธ์การถือ Long และ Short Position เป็นตัวชี้วัดทิศทางตลาดหุ้นได้อย่างหนึ่งว่าจะไปทางไหน โดยหากมีการถือ Long Position ตลาดหุ้นก็มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่หากถือ Short Position มาก ตลาดก็อาจจะปรับตัวลง

น่าสังเกตว่า ก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2550 นักลงทุนต่างชาติได้ ซื้อสุทธิ ตราสารอนุพันธ์มากถึง 3,000 รายการ และเป็นการซื้อแบบ Long Position แต่หลังจากวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ได้ปรับเปลี่ยนการลงทุนเป็น Short Position และลดรายการถือเหลือเพียง 135 รายการ เท่านั้น

การที่นักลงทุนต่างชาติได้เปลี่ยนสถานะการถือครองตราสารจาก Long เป็น Short เป็นตัวบ่งบอกได้อย่างหนึ่งว่าตลาดหุ้นจะไม่ไปต่อ

อีกประเด็นหนึ่งที่วิศิษฐ์แนะให้จับตาว่าจะมีผลทำให้ตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นยังไม่ไปต่อ คือ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index-CCI) ที่ "ไหลลง" อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรด เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 หรือเหตุการณ์ 911 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวลงต่ำสุดมาอยู่ที่ระดับ 60 กว่า เทียบกับช่วงที่ดัชนีความเชื่อมั่นเคยอยู่ในระดับสูงสุด คือ ระดับ 90-100 จุด เช่นต้นปี 2004 ที่ทุกคนมองอนาคตว่าสดใสมาก ตลาดหุ้นก็ตอบรับด้านบวกอย่างมาก

แต่ในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นได้ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 70 กว่าจุดแล้ว

เมื่อดัชนีสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในอนาคตของผู้คน ตลาดหุ้นในระยะสั้น จึงยังคงเต็มไปด้วยความเสี่ยง สูง และเป็นเรื่องยากสำหรับการลงทุน

แล้วตลาดหุ้นไทยจะดึงเม็ดเงินลงทุนกลับมาได้เมื่อไร วิศิษฐ์มองว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก

ปัจจัยแรก..หากอัตราผลตอบแทนของดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริง (เงินฝากหักเงินเฟ้อ) "ติดลบ" หุ้นจะเป็นขาขึ้น เนื่องจากเงินจะไหลจากเงินฝากเข้าสู่ตลาดหุ้น

"เมื่อผลตอบแทนเงินฝากติดลบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนจะไม่อยากฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์อีกต่อไป แต่จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตลาดหุ้น เหมือนกับในปี 2546 ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จนทำให้ดัชนีหุ้นจาก 370.01 จุด ปรับขึ้นไปสูงสุด 772.15 จุด

ตอนนี้เงินฝากในระบบมีถึง 5 ล้านล้านบาท แม้ต่างชาติจะขายออกอย่างเดียว แต่ถ้ามีการโยกเงินจากแบงก์เข้าตลาดหุ้นแค่ 10% ก็มีผลให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้นได้"

ฉะนั้น หุ้นจะเป็นขาขึ้นเร็วแค่ไหนจากนี้ไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าแบงก์พาณิชย์จะปรับดอกเบี้ยลงเร็วแค่ไหน ซึ่งวิศิษฐ์บอกว่า แบงก์ชาติได้ส่งสัญญาณด้วยการลดดอกเบี้ยอาร์พีไปแล้ว จนปัจจุบันอยู่ที่ 3.5% แต่แบงก์พาณิชย์ก็ยังไม่ได้ขยับดอกเบี้ยลงเท่าที่ควร

ปัจจัยสอง..ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) "ห้ามขึ้น" ดอกเบี้ย

วิศิษฐ์บอกว่า ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น หรืออเมริกา ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลายเฮาส์คาดว่า ดอกเบี้ยโลกอาจขึ้นไปอีก 1.5% หรือเป็น 5.50-6% จากปัจจุบัน 5.25%

ถ้าหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยก็จะกระทบตลาดหุ้นไทยได้ เพราะเงินทุนจะไหลออกไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

"แต่ถ้าเฟดไม่ขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่าที่คาด เงินทุนก็อาจจะไหลเข้าตลาดหุ้นได้ ตรงนี้ต้องจับตาดูด้วย" วิศิษฐ์กล่าว

ดังนั้นแม้ช่วงนี้ต่างชาติจะอยู่ระหว่างการปรับพอร์ต แต่เนื่องจากเม็ดเงินซื้อสุทธิของต่างชาติในหุ้นไทยมีเพียง 2.5 แสนล้านบาท เทียบกับเงินฝาก 5 ล้านล้านบาท วิศิษฐ์จึงเชื่อว่า "แรงซื้อ" ของนักลงทุนไทยสามารถ "ต้านทาน" แรงขายของต่างชาติได้

แต่มีข้อแม้ว่าเม็ดเงินของนักลงทุนไทยจะไหลเข้ามา เมื่อผลตอบแทนจากดอกเบี้ย "ติดลบ" ด้วย


สัญญาณเตือน 'Global Funds Flow'

ในมุมมองของ "วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล" บอกว่า การลงทุนในยุคนี้ ปัจจัยความเสี่ยงมาจาก "ภายนอก" มากกว่าภายใน เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนรู้จักสังเกต เข้าใจสภาพคล่องของตลาดโลก จะช่วยให้คาดการณ์ถึงกระแสเงินที่ไหลเข้าตลาดทุนได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยแรก คือ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในโลกมีนโยบายดอกเบี้ยต่ำมากเป็นพิเศษ ทำให้ประเทศอื่นๆ พากันกู้เงินเพื่อไปลงทุนและเก็งกำไรในทรัพย์สินต่างๆ เช่น ญี่ปุ่นมีนโยบายดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์มาประมาณ 7-8 ปี ทำให้หลายประเทศในโลกกู้เงินญี่ปุ่นมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น

"สภาพคล่องที่ท่วม มาจากดอกเบี้ยของญี่ปุ่นที่ต่ำมากเหลือ 0% ซึ่งเราต้องระวังเงินเหล่านี้ด้วย เพราะเมื่อใดที่ดอกเบี้ยเขาปรับตัวขึ้น จะได้รับผลกระทบเหมือนกัน ผู้ลงทุนจึงต้องระวังเม็ดเงินในส่วนนี้ไว้ด้วย"

การที่มีเงินออมในกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่งมาก จะทำให้เกิดเงินออมส่วนเกิน และเงินออมส่วนนี้จะทำให้เกิดสภาพคล่องในการลงทุนเพิ่มขึ้น

"เงินออมที่มีมากเกินไป ทำให้ผู้ลงทุนมองการลงทุนในหุ้นด้วย ซึ่งในปี 2546 และปีนี้ (2550) จะเหมือนกันตรงที่ผลตอบแทนลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี น้อยกว่าผลตอบแทนจากปันผลหุ้น จึงทำให้เงินทุนไหลเข้าหุ้น และผลักดันให้หุ้นปรับตัวขึ้น หลังจากที่หลายปีที่ผ่านมาเม็ดเงินได้ไหลเข้าตลาดบอนด์"

การที่กลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นสัดส่วนที่สูงของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ก็มีส่วนสร้างสภาพคล่อง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดมากๆ จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของกลุ่มประเทศเหล่านั้น เช่น จีน ที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากที่ต่ำกว่าสอง เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ในปี 2544 เป็นเจ็ดเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปัจจุบัน

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เงินสำรองของกลุ่มประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2543 มาสู่ปัจจุบันที่มากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่มาจากการสั่งสมความมั่งคั่งของประเทศจีน และถ้ารวมญี่ปุ่นด้วย เงินสำรองของเอเชียจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์

ตัวเลขอัตราการเติบโตของอุปทานเงิน หารด้วย การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หมายความว่ามีสภาพคล่องในระบบที่สูงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน

Printing Money หรือ การก่อหนี้เพิ่มขึ้น เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้นโยบายเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในตลาดเงิน โดยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียน และยังมีการก่อหนี้โดยเพิ่มปริมาณสินเชื่อ มีโครงการอินฟราสตรัคเจอร์เพิ่มขึ้น

การโยกย้ายเงินระหว่างชั้นของทรัพย์สิน ฟันด์โฟลว์ในลักษณะนี้จะเป็นการเคลื่อนย้ายตามวงจรและวัฏจักรของเศรษฐกิจ เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวใหม่ๆ จะมีเม็ดเงินโยกจากตลาดพันธบัตรเข้าตลาดหุ้นมาก เนื่องจากราคาหุ้นในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวจะมีราคาค่อนข้างถูก

การเป็น High Yield Currency ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งใช้นโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางในอัตราที่สูง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ประเทศนั้นจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติได้มาก

ปิโตรดอลลาร์ การที่กลุ่มประเทศอาหรับมีกำไรและเม็ดเงินจากราคาน้ำมันดิบที่สูง ทำให้สามารถเข้าไปลงทุนในตลาดต่างๆ เช่น ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นที่เกิดใหม่ ทำให้ตลาดเหล่านั้นปรับตัวสูงขึ้น

"ถ้าปัจจัยเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้เม็ดเงินทุนต่างชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย" วิศิษฐ์ กล่าว
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ในมุมมองของกูรูด้านฟันด์ โพลว์ "วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล" ซึ่งติดตาม "เงินฝรั่ง" ใกล้ชิด ขณะนี้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในจังหวะ ปรับฐาน เหตุจากนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติ พร้อมใจปรับพอร์ต


ตลาดหุ้นที่อู้ฟู่มาชั่วระยะหนึ่งเริ่มเปลี่ยนทิศทาง จากตลาดหุ้นที่เข้าข่าย Overweight เงินกำลังไหลกลับไปยังตลาดพันธบัตรที่ผลตอบแทนเริ่มขยับขึ้น ที่สำคัญความเสี่ยงต่ำกว่า

"เงินฝรั่ง" ที่ฝังอยู่ในตลาดหุ้นไทย 2.5 แสนล้าน อาจจะทยอยถอยฉากทำกำไรในเร็วๆ นี้ และแน่นอนว่าจะส่งผลให้ SET Index เกิดการปรับตัวหนักๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาว "เซียนฟันด์ โฟลว์" บอกไว้ว่า มีจังหวะรอรับ เพราะในระหว่างทางของการปรับตัว โอกาสที่หุ้นไทยจะดีดกลับเป็นระยะยังมีอยู่ จากเงินฝากที่มีอยู่ระดับ 5 ล้านล้านบาท
javidol
Verified User
โพสต์: 442
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ดีครับ
ลุงทีม
Verified User
โพสต์: 689
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สัญญาณเตือน 'Global Funds Flow'

ในมุมมองของ "วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล" บอกว่า การลงทุนในยุคนี้ ปัจจัยความเสี่ยงมาจาก "ภายนอก" มากกว่าภายใน เพราะฉะนั้นถ้านักลงทุนรู้จักสังเกต เข้าใจสภาพคล่องของตลาดโลก จะช่วยให้คาดการณ์ถึงกระแสเงินที่ไหลเข้าตลาดทุนได้เป็นอย่างดี



ปัจจัยแรก คือ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในโลกมีนโยบายดอกเบี้ยต่ำมากเป็นพิเศษ ทำให้ประเทศอื่นๆ พากันกู้เงินเพื่อไปลงทุนและเก็งกำไรในทรัพย์สินต่างๆ เช่น ญี่ปุ่นมีนโยบายดอกเบี้ยศูนย์เปอร์เซ็นต์มาประมาณ 7-8 ปี ทำให้หลายประเทศในโลกกู้เงินญี่ปุ่นมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น

"สภาพคล่องที่ท่วม มาจากดอกเบี้ยของญี่ปุ่นที่ต่ำมากเหลือ 0% ซึ่งเราต้องระวังเงินเหล่านี้ด้วย เพราะเมื่อใดที่ดอกเบี้ยเขาปรับตัวขึ้น จะได้รับผลกระทบเหมือนกัน ผู้ลงทุนจึงต้องระวังเม็ดเงินในส่วนนี้ไว้ด้วย"

การที่มีเงินออมในกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่งมาก จะทำให้เกิดเงินออมส่วนเกิน และเงินออมส่วนนี้จะทำให้เกิดสภาพคล่องในการลงทุนเพิ่มขึ้น

"เงินออมที่มีมากเกินไป ทำให้ผู้ลงทุนมองการลงทุนในหุ้นด้วย ซึ่งในปี 2546 และปีนี้ (2550) จะเหมือนกันตรงที่ผลตอบแทนลงทุนในพันธบัตรอายุ 10 ปี น้อยกว่าผลตอบแทนจากปันผลหุ้น จึงทำให้เงินทุนไหลเข้าหุ้น และผลักดันให้หุ้นปรับตัวขึ้น หลังจากที่หลายปีที่ผ่านมาเม็ดเงินได้ไหลเข้าตลาดบอนด์"

การที่กลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นสัดส่วนที่สูงของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ก็มีส่วนสร้างสภาพคล่อง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดมากๆ จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของกลุ่มประเทศเหล่านั้น เช่น จีน ที่มีดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากที่ต่ำกว่าสอง เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ในปี 2544 เป็นเจ็ดเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปัจจุบัน

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น เงินสำรองของกลุ่มประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2543 มาสู่ปัจจุบันที่มากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่มาจากการสั่งสมความมั่งคั่งของประเทศจีน และถ้ารวมญี่ปุ่นด้วย เงินสำรองของเอเชียจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์

ตัวเลขอัตราการเติบโตของอุปทานเงิน หารด้วย การเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หมายความว่ามีสภาพคล่องในระบบที่สูงมาก ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน

Printing Money หรือ การก่อหนี้เพิ่มขึ้น เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้นโยบายเพิ่มสภาพคล่องเข้าไปในตลาดเงิน โดยการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียน และยังมีการก่อหนี้โดยเพิ่มปริมาณสินเชื่อ มีโครงการอินฟราสตรัคเจอร์เพิ่มขึ้น

การโยกย้ายเงินระหว่างชั้นของทรัพย์สิน ฟันด์โฟลว์ในลักษณะนี้จะเป็นการเคลื่อนย้ายตามวงจรและวัฏจักรของเศรษฐกิจ เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวใหม่ๆ จะมีเม็ดเงินโยกจากตลาดพันธบัตรเข้าตลาดหุ้นมาก เนื่องจากราคาหุ้นในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวจะมีราคาค่อนข้างถูก

การเป็น High Yield Currency ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งใช้นโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางในอัตราที่สูง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ประเทศนั้นจะสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติได้มาก

ปิโตรดอลลาร์ การที่กลุ่มประเทศอาหรับมีกำไรและเม็ดเงินจากราคาน้ำมันดิบที่สูง ทำให้สามารถเข้าไปลงทุนในตลาดต่างๆ เช่น ตลาดหุ้นจีน ตลาดหุ้นที่เกิดใหม่ ทำให้ตลาดเหล่านั้นปรับตัวสูงขึ้น

"ถ้าปัจจัยเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้เม็ดเงินทุนต่างชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย" วิศิษฐ์ กล่าว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6492
ผู้ติดตาม: 889

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

รับฟังไว้เป็นเรื่องที่ดีครับ
แต่อย่าให้ความสำคัญมากเกินไป จะทำให้เราหลงทาง
เพราะสุดท้ายราคาหุ้นก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ
4-5 ปีทีผ่านมาเงินทุนพวกนี้ก็เข้าๆออกๆ
หุ้น vi ดีๆหลายตัวก็ขึ้นมาเป็นเท่าตัว ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดาทิศทางเงินทุน

เหมือนเดาใจเจ้ามือที่เป็นต่างชาติ ไม่รู้เค้าจะมาลากวันไหน
ผิดหรือถูกก็ไม่รู้ คนพูดก็เอาที่เดาถูกมาพูด ที่ผิดก็เงียบๆกันไป
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Kuruni
Verified User
โพสต์: 210
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ชอบครับรีบๆปรับเลยเพราะตอนนี้มีเงินแล้ว รอแต่ตัวที่หมายตาไว้ลงมาตามอารมณ์ตลาด :lol: เหมือนเค้าว่า ข่าวดีคือตลาดคงปรับลงไปอีกหลายเดือนแล้วพวกVIคงมีเวลาเลือกซื้อหุ้นได้อีกนาน :o
miracle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 18398
ผู้ติดตาม: 75

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แปลกอยู่หลายประการ

1. ปีนี้สิ้นปี เลือกตั้ง เป็นประการแรก

2. ปีนี้มีหุ้นตัวขนาดใหญ่ที่โดนบีบให้เข้าตลาดหรือ มาด้วยความสมัครใจหลายตัว มีโรงกลั่นประมาณ 1 โรงที่โดนบีบให้เข้าให้ได้ อีกโรงน่าจะเป็นปีหน้า (โดนบีบจนหน้าเขียว) ไม่พอที่สมัครใจก็มี ดีแตก เป็นเบอร์สองในตลาด

3. ปีนี้มีการประมูลงานด้านรถไฟฟ้า ถ้ารายใหญ่ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกไม่ให้กู้ งานนี้ธนาคารในประเทศอาจจะเป็นผู้รับผิดชอบในวงเงินกู้ แถมต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่เห็นแล้วอึ้งกิ้มกี่ก็ได้น่าครับ ใครจะไปรู้ได้ เพราะพี่แกเล่นแง่กันหรือเกิน

งานนี้ต้องดูต่อไปว่า กูรูหรือคนแถวนี้เป็นกูรูกันแน่นอน
เพราะตอนนี้เล่นกันในแนวจิตวิทยามวลชนกันแล้วอ่ะ
ทุกอย่างเอามาใช้งานหมด ต้องดูกันต่อไป
เหมือนในหนังเลยล่ะเนี่ย
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

ระวัง !!! ปรับฐานครั้งใหญ่ Funds Flow ย้อนกลับ..ตลาดบอนด์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ตามความคิดผมนะครับ
fund flow จะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปสูงใช่ไหมครับ
การที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น อาจจะส่งผลให้ bond yield สูงขึ้น
ซึ่งต่างชาติก็จะวิเคราะห์ว่าการลงทุนในหุ้น (กลุ่มที่มี mk cap ใหญ่ๆ พอที่กองทุนจะลงได้) กับพันธบัตร อย่างไหนจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากัน
ซึ่งหุ้นตัวใหญ่ๆ ส่วนมากก็มักจะมีการเติบโตไม่สูงมากนัก ต่างกับหุ้น growth stock (ที่มี mk cap ไม่มากนัก ซึ่งกองทุนต่างชาติก็ไม่สามารถจะลงหุ้นกลุ่มนี้ได้ี้) ที่โตแบบปีละ 30-50% ได้สบายๆ
ต่างชาติก็เลยอาจจะปรับพอร์ตไปลงพันธบัตรบ้าง
ลองมีหุ้นตัวใหญ่ๆ ที่ growth 30% บ้างสิ ดูซิต่างชาติจะไปซื้อพันธบัตรไหม
โพสต์โพสต์