ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 1

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ไหนๆรัฐบาลขวาจัด แสดงไอเดียสุดบรรเจิด ควบคุมเงินทุนไปแล้ว
อยากให้ตลาดหลักทรัพย์ มีมาตรการสนับสนุนปรัชญาพอเพียงดูบ้างโดย
ลด ซิลลิ่ง-ฟลอร์ ภายในวัน จากเดิม บวกลบ 30% เหลือ บวกลบ3%

เราทราบๆกันดีว่าตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูงกว่าตลาดหนี้ แต่ที่เป็นอยู่มันสูงกว่ากันมากๆ ชนิดที่ risk equity premium ที่ให้กันอยู่ยังดูต่ำกว่าที่ควรมาก
(ผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะช่วงนี้นะครับ แต่หมายรวมตลอดเท่าที่สังเกตมา)

เป้าหมาย :
1. ช่วย balance น้ำหนักความต้องการใน capital gain และ dividend yield ของนักลงทุนให้เหมาะสมขึ้น จากทุกวันนี้ส่วนแรก dominate ส่วนหลังค่อนข้างมาก
2. บั่นทอนกิจกรรมของ นายตลาด ให้หงอยลง บรรเทาความเดือดร้อนแก่บรรดา ซังกุงดอยสูงสุดทั้งหลาย
3. ความผันผวนในวันน้อยลง โอกาสการขาดทุนรุนแรงแบบสุดโต่งภายในวันน้อยลง สนับสนุนภาพลักษณ์ในสายตา ผู้ออมเงินในหลักทรัพย์อื่น(ส่วนใหญ่ของประเทศ)ที่เมินตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลว่ามันใกล้เคียงบ่อน
4. ราคาหุ้นไม่จำเป็นต้องสะท้อนพื้นฐานทันทีภายในวันสองวัน เช่นเดียวกับ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ค่อยๆเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามทิศทางราคาหุ้นจะสอดคล้องกับมูลค่ากิจการอยู่ดี

++ การควบคุมลักษณะนี้อาจกระทบธุรกิจโบรกเกอร์ จึงควรกำหนดรายได้ขั้นต่ำแก่โบรกเกอร์ที่ระดับหนึ่งเช่น วอลุ่มเทรด10000ล้านบาท วันไหนมูลค่าเทรดไม่ถึง 10000ล้านบาท ผู้ซื้อขายในวันนั้นต้องจ่ายชดเชยค่าคอมที่แพงขึ้น
ประเด็นนี้ส่งเสริมการลงทุนในระยาวอ้อมๆ


มุมมองผมอาจยังคับแคบไม่ทั่วถึงพอ อยากให้ช่วยกันลองคิดถึง ข้อดี ข้อเสีย เพิ่มเติม ถ้าตลาดหุ้นไทยทำแบบนี้ดูครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nott
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เป้าหมาย :
1. ช่วย balance น้ำหนักความต้องการใน capital gain และ dividend yield ของนักลงทุนให้เหมาะสมขึ้น จากทุกวันนี้ส่วนแรก dominate ส่วนหลังค่อนข้างมาก
2. บั่นทอนกิจกรรมของ นายตลาด ให้หงอยลง บรรเทาความเดือดร้อนแก่บรรดา ซังกุงดอยสูงสุดทั้งหลาย
3. ความผันผวนในวันน้อยลง โอกาสการขาดทุนรุนแรงแบบสุดโต่งภายในวันน้อยลง สนับสนุนภาพลักษณ์ในสายตา ผู้ออมเงินในหลักทรัพย์อื่น(ส่วนใหญ่ของประเทศ)ที่เมินตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลว่ามันใกล้เคียงบ่อน
4. ราคาหุ้นไม่จำเป็นต้องสะท้อนพื้นฐานทันทีภายในวันสองวัน เช่นเดียวกับ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ค่อยๆเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามทิศทางราคาหุ้นจะสอดคล้องกับมูลค่ากิจการอยู่ดี
เรื่อง balance ผมว่าหาจุดที่สมดุลย์ยากครับ เรื่องความผันผวนก็ขึ้นกับบุคคลว่าต้องการให้มีมากแค่ไหน อย่างนักเก็งกำไรก็ต้องการให้มีสูง นักลงทุนเชิงรับก็ต้องการให้มีน้อย ส่วนตัวผมอยากให้มีความผันผวนพอสมควรเพื่อให้เกิดโอกาศในการซื้อของถูกครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
WhiskeySierra
Verified User
โพสต์: 19
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถ้าคุณเป็น value investor ไม่ใช่ trader และไม่ trade ทุกวัน ให้ความใส่ใจพื้นฐานบริษัทดีกว่า

Buffett บอกตลาดจะปิดไป 5 ปี ก็ไม่สนใจ และอย่างหุ้น Washington Post 400 ล้านเหรียญ ไปขายที่กลางมหาสมุทร Atlantic ก็มีคนตามไปซื้อ

จะไปใส่ใจทำไมเรื่องคนอื่นซื้อหรือขายหุ้นในส่วนที่ไม่ใช่ของคุณ ดูอย่างคุณ chatchai ไม่เคยกังวลเรื่องตลาดเลย

รัฐบาลนี้ดี ส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานประเทศมากกว่ามูลค่าตลาด เหมือนบริษัทดีไม่ปล่อยข่าวปั่นหุ้นตัวเอง คนเกลียดรัฐบาลนี้ขายหุ้นทิ้ง ถ้าราคาดีก็น่าซื้อ
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 1

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

คุณnott
จะว่าไป แคปที่3% ไม่ได้ทำให้เสียโอกาสหา cap gainไปเสียทั้งหมด ยกตัวอย่าง หุ้น A มูลค่าเหมาะสมควรเพิ่มขึ้นอีก 15% ในหกเดือนข้างหน้า ไม่ว่าเราจะแคปที่ 30 หรือ 3 สุดท้าย หุ้นA ก็ให้ cap gainแก่นักลงทุนเท่ากัน สิ่งที่แตกต่างกันคือ "เสถียรภาพ"ที่มีสถานการณ์ที่เป็น"ภาพลวงตา"น้อยที่สุด
ตลาดหลักทรัพย์ช่วยได้คือทำกฎเกณฑ์ที่สร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนแก่การลงทุนที่ใช้เหตุผล มากกว่า ใช้อารมณ์

คุณsierra
ที่ผมสนใจอาจไม่เกี่ยวกับผมโดยตรง แต่อยากให้ภาพรวมพัฒนาขึ้น ให้ผู้แสวงหาการลงทุนผ่านตลาดทุนไม่โดนบิดเบือนไปจากวัตุประสงค์ครั้งแรกที่เคยตั้งใจนำเงินมาลงทุน
ลองเปรียบเทียบข้อมูลในอดีตระหว่างการลงทุนในหุ้น กับ หนี้ โดยใช้ ผลตอบแทนที่คาด เทียบกับ ความผันผวนของราคา มันอยู่ในระดับสมเหตุสมผลแค่ไหน การแคปให้ความเสี่ยงลดระดับลงหนึ่งย่อมจูงใจ นักลงทุนระยะยาวเข้ามาลงทุน หรือ ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนแบบฉาบฉวย
ภาพประจำตัวสมาชิก
WhiskeySierra
Verified User
โพสต์: 19
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ok คุยกันเรื่องตลาด

ใส่ floor/ceiling 3% เหมือนจับ Mr.Market ที่สติไม่ดีมาขังกรง แล้ว Lock ไม่เพ่นพ่านแต่ยังไม่หายสติไม่ดี เวลาบริษัทหลักทรัพย์มาร้อง trading ไม่สนุก ลูกค้าไม่มีจะล้มละลาย ต้องปล่อยออกมาเหมือนเดิม คราวนี้อาละวาดหนักกว่าเดิม

นั่นลวงตาหรือไม่

พัฒนาตลาด พัฒนานักลงทุน พัฒนาบริษัท พัฒนาผู้กำกับดูแล ให้มีความสามารถ ดีกว่าตั้งกฏมากบังคับ แต่สุดท้ายก็ทำตามกฏไม่ได้ตลอด กฏกลายเป็นเรื่องฉาบฉวยไม่สมความเป็นจริง ก็ด่าว่า BoT อยู่หรือไม่ใช่
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 87

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

นึกว่าพี่ Eto จะบอกให้ยกเลิก Ceiling และ Floor เลย  ขึ้นลงได้ไม่จำกัด
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
bajjo
Verified User
โพสต์: 152
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถ้าจะมีตลาดที่ขึ้นหรือลงอย่างไม่จำกัด
ตลาดก็ควรจะมีเสถียรภาพก่อนครับ

มิฉะนั้น ตลาดก็จะมีแต่พวกเก็งกำไรระยะสั้นๆ
oonngg51
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เวลานึกถึง พอเพียง กับตลาดหุ้น
ตัวผมเองหน่ะนึกถึงการยกเลิกเล่นมาจิ้น กับ เน็ตเซ็ตเทิลเม้น

ก่อนเรื่องซีลลิ่งกับฟลอ์กี่เปอร์เซ็นต์ดี :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tongue
Verified User
โพสต์: 725
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

อยากให้ตลาดหลักทรัพย์ มีมาตรการสนับสนุนปรัชญาพอเพียงดูบ้าง

เป้าหมาย :
1. ช่วย balance น้ำหนักความต้องการใน capital gain และ dividend yield ของนักลงทุนให้เหมาะสมขึ้น จากทุกวันนี้ส่วนแรก dominate ส่วนหลังค่อนข้างมาก


เสนอให้เปลี่ยนค่าคอมเป็น 0.10 ตอนซื้อ 0.40 ตอนขาย เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางจิตวิยาในตอนซื้อ ทำให้นักลงทุนสนใจตลาดมากขึ้น ต้องการศึกษาข้อมูลมากขึ้น  และเป็นการเพิ่มต้นทุนในตอนขายทำให้นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนใหม่ๆที่ยังไม่มีแนวการลงทุนที่ชัดเจน (ว่าชอบเก็งกำไรหรือถือยาวๆตามพื้นฐาน) ชะลอการตัดสินใจด้วยอารมณ์เมื่อเจอเหตุการณ์ร้าย ลดการผันผวนที่มาจากการตื่นตระหนกขายของนักลงทุน
ในระยะยาว เป็นการสนับสนุน long term investor

2. บั่นทอนกิจกรรมของ นายตลาด ให้หงอยลง บรรเทาความเดือดร้อนแก่บรรดา ซังกุงดอยสูงสุดทั้งหลาย

ออกกฎให้ 1 คำสั่งซื้อขาย มีมูลค่าไม่เกิน 15 เปอร์เซนต์ของวงเงินพอร์ต
(แต่สามารถตั้งหลายคำสั่งได้ ไม่จำกัดจำนวนคำสั่ง)
เป็นการเพิ่มต้นทุนทางเวลาให้กับนักลงทุนเมื่อคิดจะซื้อหุ้นตัวใดในสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อพอร์ต
เป็นการเพิ่มต้นทุนทางเวลาให้มาร์เก็ตติ้ง ทำให้ต้องคีย์หลายคำสั่ง ถ้าหุ้นทั่วไปก็จะไม่มีปัญหามาก แต่ถ้าพวกหุ้นปั่น วิ่งขึ้นวิ่งลงแบบน่ากลัวมากๆ ก็จะคีย์กันไม่ทัน ลำบากมากขึ้น ทำให้ลักษณะการซื้อขายหุ้นเหล่านี้ลดลง (พร้อมกับรายได้ของบล. และเสียงด่าที่มากขึ้นจากบล.)

3. ความผันผวนในวันน้อยลง โอกาสการขาดทุนรุนแรงแบบสุดโต่งภายในวันน้อยลง สนับสนุนภาพลักษณ์ในสายตา ผู้ออมเงินในหลักทรัพย์อื่น(ส่วนใหญ่ของประเทศ)ที่เมินตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลว่ามันใกล้เคียงบ่อน

จำกัดสถานที่และเวลาในการแจ้งราคาหุ้นแบบ real time โดยเฉพาะ ตัววิ่งๆในทีวี เพราะการที่ให้ดูข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณหุ้น โดยที่ไม่มีข้อมูลมาพร้อมกัน เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ทำให้อาจเป็นการสนับสนุนการซื้อขายแบบรายวันได้
(ปล. ในห้องค้า หรือ internet อณุญาติให้มี การแจ้งราคาแบบ real time ได้ เพราะถือว่า นักลงทุนที่มามีความสนใจมากกว่าคนทั่วไปและพร้อมที่จะรับความเสี่ยงได้มากขึ้น แต่ในห้องค้า และหน้าจอเทรด ต้องมี ป้ายแปะ ว่า "ห้ามเล่นการพนัน" :lovl:  :lovl:  :lovl: )



4. ราคาหุ้นไม่จำเป็นต้องสะท้อนพื้นฐานทันทีภายในวันสองวัน เช่นเดียวกับ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ค่อยๆเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามทิศทางราคาหุ้นจะสอดคล้องกับมูลค่ากิจการอยู่ดี


เสนอให้มีการให้คะแนน นักวิเคราะห์ว่า บล.ไหน ควรเชื่อมากๆ บล.ไหน ควรเชื่อน้อยๆ ทำให้นักวิเคราะห์ต้องตั้งใจออกบทวิเคราะห์ให้ดี และเป็นการลดการออกบทวิเคราะห์แบบช่วยรายใหญ่
(ปล. เป็นไอเดียของ รศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช
ใน คอลัมน์ MIF Financial Lab, Biz week ฉบับบวันที่ 22 ธ.ค. 49)

MIF Financial Lab : เลือกหุ้นจากเซียน

การลงทุนในหุ้น จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากในการตัดสินใจ ตลอดจนทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล นักลงทุนจำนวนหนึ่งจึงเลือกที่จะลงทุนตาม เซียน ในที่นี้คือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดข้อมูล และมีทักษะดีกว่าตน ตลอดจนนโยบายของ ก.ล.ต.ที่มุ่งส่งเสริมบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ ให้ผลิตงานวิจัยของตนขึ้นมา


อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในต่างประเทศและไทยพบว่า การลงทุนตามคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้นนั้น ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของตลาด

เมื่อไม่กี่ปีก่อน ก.ล.ต. สหรัฐอเมริกา ปรับ Merril Lynch ไป 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยข้อหาว่า ใช้นักวิเคราะห์หุ้นของตนในการเชียร์หุ้นของลูกค้าที่ใช้บริการอื่นจากบริษัท

โครงการปริญญาโททางการเงิน (MIF) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าปัญหาของประเด็นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก 1.ยังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัย

2.ขาดระบบยกย่องนักวิเคราะห์ที่ทำการวิเคราะห์และเสนอผลงานอย่างมีคุณภาพ

3.การวิเคราะห์หุ้นไม่ได้ระบุน้ำหนักในการลงทุน ทำให้ไม่สามารถสร้างพอร์ตเพื่อเปรียบเทียบผลการลงทุนระหว่างคำแนะนำจากนักวิเคราะห์ 2 ค่ายได้

โครงการ MIF เก็บรวบรวมข้อมูลคำแนะนำหุ้นจากนักวิเคราะห์ค่ายต่างๆ มาหาเฉลี่ยของราคาหุ้นคาดการณ์ แล้วคำนวณหาน้ำหนักการลงทุนในแต่ละหุ้นที่ควรสร้างพอร์ต เราเรียกพอร์ตนี้ว่าพอร์ต เลือกหุ้นจากเซียน

เงื่อนไขการจัดพอร์ต เลือกหุ้นจากเซียน มีดังนี้

1.พิจารณาเฉพาะ 10 บริษัทที่มีมูลค่าบริษัทสูงสุดใน SET50 ของเดือนที่จัดพอร์ตเท่านั้น

2.เรียงอันดับของอัตราผลตอบแทนคาดการณ์ของหุ้นแต่ละตัวจากคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้น

3.กำหนดช่วงอัตราผลตอบแทนคาดการณ์จากคำแนะนำของนักวิเคราะห์หุ้น

4.หุ้นที่ไม่มีนักวิเคราะห์แนะนำในเดือนใด ให้ใช้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตมาคำนวณ

5.คำนวณน้ำหนักการลงทุนในพอร์ต โดยการสร้างพอร์ตที่ให้อัตราผลตอบแทนคาดการณ์สูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่ไม่มากไปกว่าความเสี่ยงของดัชนี SET50

การทดสอบกับข้อมูลเริ่มต้นจากเดือนมกราคม 2005 ถึงเดือนมิถุนายน 2006 ได้ผลเปรียบเทียบผลตอบแทนที่เกิดขึ้นดังตาราง

SET50 พอร์ตเลือกหุ้นจากเซียน

ม.ค.-2005 0.050606 0.087117

ก.พ.-2005 0.056474 0.005256

มี.ค.-2005 -0.08099 -0.13084

เม.ย.-2005 -0.03318 -0.01625

พ.ค.-2005 0.013159 -0.0385

มิ.ย.-2005 0.011909 0.040747

ก.ค.-2005 0.000252 -0.02075

ส.ค.-2005 0.032827 0.036589

ก.ย.-2005 0.036369 0.03722

ต.ค.-2005 -0.05615 -0.05208

พ.ย.-2005 -0.02178 -0.02744

ธ.ค.-2005 0.068858 0.026087

ม.ค.-2006 0.068513 0.152542

ก.พ.-2006 -0.02436 -0.05613

มี.ค.-2006 -0.01452 0.027383

เม.ย.-2006 0.047787 0.109805

พ.ค.-2006 -0.07661 -0.01787

มิ.ย.-2006 -0.04412 -0.04491

อัตราผลตอบแทนสะสม 1.015013 1.083532

ความเสี่ยง 0.048522 0.066964

อัตราดอกเบี้ย 0.001947 0.006555

Sharpe 0.040119 0.097886

ตารางนี้แสดงว่าการลงทุนตาม SET50 ในเวลา 18 เดือน มีอัตราผลตอบแทน 1.5% ในขณะที่ พอร์ต เลือกหุ้นจากเซียน มีอัตราผลตอบแทน 8.3% ซึ่งเมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนพร้อมความเสี่ยง ด้วยวิธี Sharpes Ratio จะพบว่าพอร์ต เลือกหุ้นจากเซียน มีค่าสูงกว่ามาก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงสูงกว่าดัชนีตลาดก็ตาม ท่านผู้อ่านที่สนใจศึกษาวิธีสร้างพอร์ตนี้ สามารถดาวน์โหลดงานวิจัยเบื้องต้นจากเวบไซต์ MIF ที่ http://www.bus.tu.ac.th/mif
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 1

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณคุณ tongue สำหรับความคิดเห็น และข้อมูลครับ

ความเสี่ยง ที่ผมหมายถึงในกระทู้นี้ คือความผันผวนของราคาตลาด  individual stock price volatility ที่เกินเหมาะสม มากกว่า ความเสี่ยงในลักษณะ  expected stock return's diviation from estimation error ครับ

ยกตัวอย่างเราอยู่ รังสิต เรียกแท็กซี่ ไปมาบุญครอง แท็กซี่พาไปจอดแค่ราชเทวี หรือเลยไปจอดสามย่าน ไม่เป็นไร แต่พี่แกเล่นพาไปวนรอบสุวรรณภูมิ แล้วข้ามสะพานมาฝั่งธน ก่อนนี่สิครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
jody4003
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เท่าที่อ่านมา แบงเป็น 2 พวก คือ

1. มีกฏทำไม ให้ความรู้สิ
2. ต้องออกกฎ จะได้คุมได้

ความเห็นของผมไม่อยู่ในทั้ง 2 ข้อ แต่ก้ำกึ่ง คือ
ต้องออกกฎก่อน แต่ไม่ใช่กฏเพื่อควบคุม แต่เพื่อให้นักลงทุนมีความรู้ และรักษาเสรีภาพของตลาดทุนให้เพียงพอ

เช่น กฎว่าด้วยการนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลแก่นักลงทุน
กฎเกี่ยวกับภาษี capital gain
บทลงโทษและความโปร่งใสในการสอบคดีการปั่นหุ้น
และ อื่นๆ นึกไม่ออก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tongue
Verified User
โพสต์: 725
ผู้ติดตาม: 0

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

อองตวน wrote
ความเสี่ยง ที่ผมหมายถึงในกระทู้นี้ คือความผันผวนของราคาตลาด  individual stock price volatility ที่เกินเหมาะสม มากกว่า ความเสี่ยงในลักษณะ  expected stock return's diviation from estimation error ครับ
ผมคิดว่าคุณอองตวนคงหมายถึง เหตุการณ์พวกฟองสบู่(irrational exuberant)รึเปล่าครับ พวกนี้ผมคิดว่าเกิดจากพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนครับ พวก overconfidence, พฤติกรรมตามแห่, infectious greed, greater fool game  อะไรเทือกๆนั้น

ถ้าจะลดพวกนี้ อืมม ผมว่าต้องเริ่มที่ตัวนักลงทุนแต่ละคนเลย ต้องพัฒนาให้เก่งๆครับ พูดสั้นๆคือต้องให้มี rational investor ในตลาดเยอะๆ
ก็คงเป็นเรื่องการพัฒนาให้ความรู้ สร้างวัฒนธรรมความพอดีให้เกิดขึ้น ไม่ให้คนเป็นวัตถุนิยมมาก ไม่เห็นว่าตลาดหุ้นเป็นทางรวยลัด

ไหนๆรัฐบาลก็ขวาจัด อย่างคุณอองตวนว่า ผมก็ขอแสดงไอเดียบรรเจิดๆมั่งละกัน (แต่สุดท้ายผมก็ว่ายากส์ครับ มันขึ้นอยู่กับแต่ละคน)

1. นักลงทุนต้องผ่านการบวช  :lovl:  :lovl:

2. นักลงทุนก่อนมีบัญชีได้ ต้องผ่านการอบรมจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมี 2 วิชาหลักคือ personal fiance, กับ behavioral finance

3. ตลท.(และรัฐบาล)ต้องสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคนอย่างสุดๆ ต้องมีห้องสมุดเยอะๆ พิมพ์หนังสือหรือแปลหนังสือขายในราคาถูกๆเยอะๆ มี investor service คือใครสงสัยอะไรโทรถามได้ ยกตัวอย่างเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยตอนนี้ inflation targeting คืออะไร เรื่องพวกนี้ผมว่านักลงทุนและคนทั่วๆไปควรรู้ว่ามันคืออะไรแต่บางทีมันก็ยากเหลือเกินที่จะรู้ ผมเลยเสนอให้มี center ไปเลยอยากรู้โทรถามหรือไปถามได้
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 1

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ครับผม หมายถึงทั้งทางขึ้นและทางลงเลยครับ การมีแคปซีลลิ่ง/ฟลอร์ที่กว้าง ช่วยให้บุคคลที่เราเรียกว่า .เจ้ามือ. หาทำมาหากินได้ง่าย จากการยั่วยุด้วยความโลภ หรือ ความกลัว ของนักลงทุน

การให้ความรู้เป็นสิ่งต้องทำอยู่แล้ว ได้ผลแค่ไหนนั่นอีกเรื่อง อย่างโครงการที่คุณ tongue ว่ามาถ้าเกิดชึนจริง ผมว่ายังต้องเรียกกลับมา รีเฟรช แนวคิดเป็นระยะๆด้วย

เคยอ่านสัมภาษณ์นักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่ง ที่คุณพ่อปลาไหลนำมาลงกระทู้ไหมครับ แกอยู่ในวงกาหุ้นมากี่ปี ตลาดได้พัฒนาความรู้การลงทุนที่ถูกต้องอะไรให้แกได้บ้าง ผมว่าคนลักษณะนี้บ้านเรายังมีอยู่มากแต่เขาไม่เดือดร้อน และไม่เห็นความจำเป็นต้องหาความรู้เพิ่มเติมก็ได้ เพราะเขาเป็นผู้ชนะหรือเอาตัวรอดได้กับกติกาในแบบนี้
คนเรือ VI
Verified User
โพสต์: 1647
ผู้ติดตาม: 4

ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ floor/ceiling ครับ

มันขึ้นอยู่กับว่า SEC เอาจริงเอาจังแค่ไหนกับการปั่นหุ้น และก็มีมาตรการในการจับความผิดปกติดีแค่ไหนครับ

ceiling/floor มีเพื่ออะไรครับ SP ไปเลยดีกว่ามั้ง เหมือนการสับสวิทช์แล้วให้ประมวลข้อมูลกันใหม่
โพสต์โพสต์