📌รายชื่อหุ้นไทยที่ (อาจ) เข้าเกณฑ์การลงทุน (เบื้องต้น) สไตล์เซียนหุ้นจากดินแดนอาทิตย์อุทัย : ทัตสึโระ คิโยฮาระ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Introverted investor
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 189
ผู้ติดตาม: 436

📌รายชื่อหุ้นไทยที่ (อาจ) เข้าเกณฑ์การลงทุน (เบื้องต้น) สไตล์เซียนหุ้นจากดินแดนอาทิตย์อุทัย : ทัตสึโระ คิโยฮาระ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

📌รายชื่อหุ้นไทยที่ (อาจ) เข้าเกณฑ์การลงทุน (เบื้องต้น) สไตล์เซียนหุ้นจากดินแดนอาทิตย์อุทัย🇯🇵
...


✴️สืบเนื่องจากโพสต์ที่แล้ว ซึ่งผมทิ้งท้ายไว้ว่าจะกลับมาขยายความเรื่องอัตราส่วนทางการเงินต่างๆที่ 'คิโยฮาระ' กล่าวถึงบ่อยๆภายในหนังสือเล่มนี้ และเขามักใช้เป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรองหุ้นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและเข้าลงทุนในลำดับถัดไป
.

🎌[ สรุปแนวคิดจากหนังสือ “วิถีแห่งการลงทุนของผม บทเรียนจากเซียนหุ้นญี่ปุ่น : ทัตสึโระ คิโยฮาระ” ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ร่ำรวยมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2005 : https://www.facebook.com/share/p/183Afy8u74/ ]
.....................

ด้วยเหตุเพราะช่วงนี้ 'ตลาดหุ้นไทย' มันหม่นหมองชอกช้ำระกำใจเสียเหลือเกิน เลยคิดว่าตอนนี้อาจเป็นจังหวะเวลาที่ดีสำหรับการศึกษาและค้นคว้าหาหุ้นคุณภาพดีๆ ราคาถูกๆ เพื่อเข้าลงทุนระยะยาว และเพื่อให้จิตใจไม่จดจ่อกับความผันผวนของสภาวะตลาดมากจนเกินไปนั้น การอ่านหนังสือเป็นทางเลือกและทางออกสำหรับผมเสมอ เผอิญได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ในช่วงเวลาเช่นนี้พอดี จึงนึกสนุกลองเอาแนวคิดดังกล่าวมาคัดกรองหุ้นไทยแบบทีเล่นทีจริง ลองอ่านสนุกๆกันนะครับ ไม่ต้องคิดมาก
...........................................
ใช้งาน333.png
....

☀️รายชื่อหุ้นไทยทั้งหมดในบทความนี้ มีเกณฑ์การคัดเลือกส่วนตัวของผมเพื่อคัดกรองหุ้นเบื้องต้น เพื่อให้ได้บริษัทที่มีคุณภาพ (ในปัจจุบัน) และผลประกอบการที่ดี (ในอดีต) ในระดับหนึ่ง ผสานรวมกับแนวคิดของ 'คิโยฮาระ' ซึ่งมุ่งเน้นการ "ลงทุนในหุ้นเติบโต ขนาดเล็ก และราคาถูก"
.....
🔹Market Cap < 10,000 ล้านบาท
🔹Current Ratio > 1 เท่า
🔹DE Ratio < 1.5 เท่า
🔹ROE ปีล่าสุดมากกว่า 15%
🔹ROE เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังมากกว่า 15%
...
ตัวเลข/อัตราส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นค่าเฉลี่ยประมาณ 5 ปีย้อนหลังนะครับ เพื่อให้ได้ค่ากลางๆที่ไม่สุดโต่งจนเกินไป ยกเว้นตัวเลขไหนที่จำเป็นต้องยึดตัวเลขล่าสุดเพียงเท่านั้น ก็จะเป็นค่าอัพเดตล่าสุดครับ 🙂

🔶เพิ่มเติมอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ที่คิดว่าสำคัญและน่าจะมีประโยชน์ เช่น ROIC เป็นต้น ผลสรุปก็ร่อนหุ้นมาได้ประมาณ 40 กว่าบริษัท
..........................................

🟩ลองมาดูแนวคิด 'คิโยฮาระ' และรายชื่อหุ้นไทยที่ว่ามาทั้งหมดกันนะครับ
.....................

✳️การเพลิดเพลินไปกับ “หุ้นเติบโตขนาดเล็ก ราคาถูก” ควรเข้าซื้อตั้งแต่ช่วงแรก แม้เสี่ยงที่จะผิดพลาดอยู่บ้าง จงอย่าซื้อหลังจากมองเห็นอย่างชัดเจนว่ามันเติบโตแล้ว “คุณต้องซื้อหลังจากคาดการณ์ว่ามันจะเติบโต” หลีกเลี่ยงการเข้าซื้อหุ้นที่ราคาวิ่งสูงขึ้นไปแล้วให้มากที่สุด จะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กให้เริ่มตรวจสอบจากอัตราส่วน PBR และ PER ในกลุ่มหุ้นขนาดเล็ก เลือกหุ้นที่ (คิดว่า) ราคาถูกมา 20 บริษัท นำมาใส่ไว้ใน ‘Watchlist’ จากนั้นเฝ้าคอยติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆอย่างหลากหลาย จึงค่อยเริ่มซื้อหุ้น
.....................

✳️คิโยฮาระชอบหุ้นที่มี PBR ต่ำ และอัตราส่วนเงินสดสุทธิ (NCR) สูง ให้เวลาการถือครองหุ้นประมาณ 3-5 ปี ระหว่างทางการถือหุ้นต้องติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ “หาหุ้นที่มีแนวโน้มจะเติบโตในอนาคตให้เจอประมาณ 10 บริษัท แล้วเข้าซื้อลงทุนไป ก็พอแล้ว”
.....................

✳️คัดกรองหุ้นเรียงตามลำดับราคาถูกโดยใช้ PER และ NCR จากนั้นค่อยๆเจาะลึกหุ้นแต่ละบริษัท ตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง ในกรณีที่คุณค้นพบหุ้นเติบโตก็ถือว่าเป็น ‘โฮมรัน’ อย่าลืมว่านี่เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งเวลาและพลังงานมากมาย มีหลายกรณีศึกษาในอดีตที่ถึงแม้ว่าบริษัทจะไม่เติบโตแต่นักลงทุนก็ทำกำไรจากราคาหุ้นได้มาก เพราะ “PER ต่ำ / NCR สูง”
.....................

✅ตามทัศนะของ ‘คิโยฮาระ’ เขาให้ความสำคัญกับการประเมินมูลค่าโดยใช้อัตราส่วน PER และ Net Cash Ratio มากที่สุด
.....................
🟢PER : (ราคาหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น) คำนิยามคร่าวๆก็คือ หากค่าต่ำ ก็เสมือนหุ้นยิ่งราคาถูก ทั้งนี้ต้องวิเคราะห์คาดการณ์อนาคตไปพร้อมๆกันด้วย เพราะถึงแม้ว่า PER จะต่ำ แต่อนาคตบริษัทมืดมนก็ไม่ถือว่าหุ้นนั้นจะมีราคาถูกแต่อย่างใด และข้อจำกัดของการประเมินด้วยอัตราส่วน PER นั่นคือเป็นการประเมินแบบคร่าวๆ ไม่สามารถคำนวณมูลค่าพื้นฐานได้ และไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างทางการเงินต่างๆ ไม่สนใจสินทรัพย์ถาวรและแผนการลงทุนระยะยาวของบริษัท (PER ก็คือ P/E นั่นแหล่ะครับ เพียงแต่เป็นการยึดเอาตามหนังสือต้นฉบับ เขาใช้แบบนี้)
.....................

🟣Net Cash Ratio : อัตราส่วนเงินสดสุทธิ [(สินทรัพย์หมุนเวียน + หลักทรัพย์เพื่อการลงทุน)*70% - หนี้สิน / Market Cap] บนสมมติฐานที่ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอาจขายออกไปในราคามูลค่าตามบัญชีไม่ได้ทั้งหมด จึงต้องคำนวณโดยการตัดสินค้าคงคลังออกทั้งหมด หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลังเพียง 70% ของมูลค่าตามบัญชี (ซึ่งบริษัทที่มีอัตราส่วนดังกล่าวนี้ติดลบก็คือมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ที่บริษัทจะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะเวลาอันสั้นนั่นเอง)
.....................

🔘(มีการกล่าวถึงอัตราส่วน PBR [Market Cap / ส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิ] ที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นนิยมใช้ว่าไร้ประโยชน์ ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นมูลค่าเมื่อเลิกกิจการ กล่าวคือเมื่อบริษัทปิดตัวลงจะเหลือเงินเท่าไหร่ [สินทรัพย์ - หนี้สิน] ซึ่งในทางปฏิบัติมันคลาดเคลื่อนมากและแทบเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ‘เงินสดสุทธิ’ ต่างหาก (PBR ก็คือ Price per Book Ratio ยิ่งค่าต่ำก็ยิ่งดี)
.....................

🔘 [CNPR = PER*(1-NCR)] เป็นสูตรการปรับค่า PER โดยกำหนดอัตราส่วนเงินสดสุทธิให้เป็นกลาง ในกรณีที่เราต้องการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทว่าหุ้นไหนราคาถูกกว่ากัน (PER ต่ำ) / CNPR = Cash Neutral PER Ratio
.....................

☑️เราอาจเริ่มต้นจากการคัดกรองหุ้น (ที่น่าจะใช้ได้) จากอัตราส่วน PER และ PBR ต่ำๆ จากนั้นตรวจสอบอัตราส่วนเงินสดสุทธิ โดยเรียงลำดับค่าที่มีตัวเลขสูงที่สุด (ค่าที่มากกว่า 1 หมายถึง ‘หุ้นราคาถูกราวกับซื้อบริษัทโดยไม่เสียเงิน แล้วยังแถมเงินสดมาให้อีกด้วย’ เราแทบไม่พบหุ้นขนาดใหญ่อยู่ในการคัดกรองเช่นนี้เลย) มุ่งเน้นไปที่ PER และ Net Cash Ratio จากนั้นเจาะลึกตรวจสอบบริษัทและค่อยเข้าซื้อหุ้น ฟังดูหยาบเกินไป แต่ที่มั่นใจได้ก็คือบริษัทที่มีเงินสดสุทธิติดลบไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เราจะเข้าลงทุนแน่นอน สิ่งที่คาดหวังได้จากบริษัทซึ่งมีฐานะทางการเงินดีคือ การจ่ายเงินปันผลเพิ่มหรือซื้อหุ้นตัวเองคืน และแหล่งที่มาของเงินทุนเหล่านั้นก็คือ ‘เงินสดสุทธิ’
.....................

☑️ณ เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของประเทศญี่ปุ่น หุ้นที่มี PER < 10 ถือว่าราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ ตามทฤษฎีนั้นหุ้นที่ PER สูงจะได้รับผลกระทบเชิงลบมากกว่าหุ้น PER ต่ำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ถึงแม้ว่าแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น แต่ราคาหุ้นเคลื่อนไหวด้วยปัจจัยต่างๆมากมาย
..........................................

⚠️“เมื่อลงทุนในหุ้นราคาถูกแล้วจะได้กำไร แต่จะได้กำไรทันทีหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง” การลงทุนในหุ้น PER ต่ำนั้นการหวังพึ่งพาจินตนาการในอนาคตก็ไม่จำเป็นมากนัก แม้ผลประกอบการของบริษัทในอนาคตจะทรงๆอยู่กับที่ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น
..........................................

🔺หมายเหตุเพิ่มเติม
...
🔹PER = P/E
🔹CR = Current Ratio
🔹CCC = Cash conversion cycle (วงจรเงินสด)
🔹FCF = Free Cash Flow
🔹PBR = P/BV
🔹NCR = Net Cash Ratio (อัตราส่วนเงินสดสุทธิ)
🔹CNPR = Cash Neutral PER Ratio
..........................................

ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ 😊
.....................
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ ‘วิถีแห่งการลงทุนของผม บทเรียนจากเซียนหุ้นญี่ปุ่น’
.
ผู้เขียน : Tatsuro Kiyohara
ผู้แปล : พรทิพย์ สุทธิทวีสุข
สำนักพิมพ์ : เอ็มพิริก้าบุ๊คส์

....
ใช้งาน444.png
ใช้งาน555.png
Try to be a Value Investor.
..............
"I have a passion for keeping things simple."
..............
https://www.facebook.com/Introverted.investor
https://www.instagram.com/introverted.investor.th
https://www.youtube.com/@Introverted_investor
โพสต์โพสต์