🟢ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ในประเทศไทย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Introverted investor
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 270

🟢ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ในประเทศไทย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

......................
1.png
.........
“เครื่องจักรผลิตเงินสดในทัศนะของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" รับเงินไปใช้ก่อน ค่อยจ่ายคืนทีหลัง (หรือไม่ต้องจ่ายเลย?)”
......................................................

“ธุรกิจประกันชีวิต”
........
การเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตสะสมย้อนหลัง 5 ปี (2017 - 2022) มีแนวโน้มทรงตัว ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากนัก มีมูลค่าประมาณ 610,000 ล้านบาท สัดส่วนประเภทเบี้ยประกันชีวิตสะสมต่อปีโดยประมาณคือ
........

1⃣ ประกันชีวิตสามัญทั่วไป : 60% (372,000 ล้านบาท)
2⃣ สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ : 16% (100,000 ล้านบาท)
3⃣ ประกันชีวิตกลุ่ม : 7% (44,000 ล้านบาท)
4⃣ ประกันชีวิตควบการลงทุน : 6% (36,000 ล้านบาท)
5⃣ สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ : 4% (21,000 ล้านบาท)
6⃣ ประกันบำนาญ : 3% (16,000 ล้านบาท)
........

“ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมของธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย ณ ปี 2020”
........
1⃣ บริษัท เอไอเอ (ประเทศไทย) จํากัด : 23% (130,000 ล้านบาท)
2⃣ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) : 15% (92,000 ล้านบาท)
3⃣ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) : 14% (76,000 ล้านบาท)
4⃣ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) : 10% (58,000 ล้านบาท)
5⃣ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) : 8% (45,000 ล้านบาท)
........
✅บริษัทประกันชีวิต 5 อันดับแรกกินส่วนแบ่งทางการตลาดไปแล้วกว่า 70% ของเบี้ยประกันชีวิตรับรวม (บริษัทอันดับที่ 2 จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย) จากบริษัทประกันชีวิตทั้งหมด 23 รายในประเทศไทย เบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมและเติบโตสูงที่สุดในปี 2022 คือ สัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรง เติบโตสูงขึ้นประมาณ 8%
222.png
......................................................

“ธุรกิจประกันวินาศภัย (ประกันภัยอื่นๆที่ไม่ใช่ประกันชีวิต)”
........
การเติบโตเฉลี่ยของเบี้ยประกันภัยรับตรง ย้อนหลัง 20 ปี (2002 - 2022) อยู่ที่ประมาณ 7 – 8% ต่อปี สูงขึ้นจาก 60,000 ล้านบาทในปี 2002 มามีมูลค่าประมาณ 270,000 ล้านบาทในปี 2022 ขณะที่การเติบโตย้อนหลัง 5 ปีล่าสุดเฉลี่ยประมาณ 4 – 5% ต่อปี สัดส่วนประเภทเบี้ยประกันวินาศภัยต่อปีโดยประมาณคือ
........

1⃣ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ : 50% (135,000 ล้านบาท)
2⃣ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล : 12% (32,000 ล้านบาท)
3⃣ ประกันภัยทรัพย์สิน : 11% (30,000 ล้านบาท)
4⃣ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด : 8% (22,000 ล้านบาท)
5⃣ ประกันสุขภาพ : 7% (19,000 ล้านบาท)
6⃣ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ : 7% (19,000 ล้านบาท)
7⃣ ประกันอัคคีภัย : 4% (11,000 ล้านบาท)
8⃣ ประกันภัยทางทะเล : 2% (5,000 ล้านบาท)
........

ประเภทประกันวินาศภัยที่มีการจ่ายค่าสินไหมสูงสุดเมื่อเทียบกับเบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้ (แปลง่ายๆคือ ประกันที่ลูกค้าใช้สิทธิตามสัญญา เคลมเยอะ เคลมบ่อย บริษัทประกันจึงต้องจ่ายเงินประกันเยอะและบ่อยครั้ง) โดยวิเคราะห์จาก ‘Loss Ratio’ สูงสุดเรียงตามลำดับคือ ประกันสุขภาพ ประกันภัยเบ็ดเตล็ด ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันภัยรถยนต์
........

ในทางตรงกันข้ามสัญญาประเภทที่มีการเคลมน้อยที่สุดเรียงตามลำดับคือ ประกันการท่องเที่ยว ประกันอัคคีภัย ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก และประกันภัยทรัพย์สิน
ภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยมี ‘Loss Ratio’ อยู่ที่ประมาณ 60 – 70% กล่าวคือรายได้จากเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งหมดที่บริษัทได้รับจากลูกค้า จะถูกนำจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันประมาณ 60 – 70% เหลือเป็นรายได้สุทธิคร่าวๆ เข้าบริษัทจริงๆประมาณ 30 – 40%
........

“ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย ณ ปี 2020”
........
1⃣ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 16%
2⃣ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 9%
3⃣ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 9%
4⃣ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 5%
5⃣ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 5%
........
บริษัทประกันภัย 5 อันดับแรกกินส่วนแบ่งทางการตลาดไปแล้วกว่า 44% ของเบี้ยประกันภัยรับรวม (บริษัทอันดับที่ 2 – 5 จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย) จากบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด 58 รายในประเทศไทย
........

มาดูให้ลึกลงไปอีกสักหน่อย
........
🟪“ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมเบี้ยประกันอัคคีภัย ณ ปี 2018”

........
1⃣ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 17%
2⃣ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 16%
3⃣ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 12%
4⃣ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 11%
5⃣ บริษัท ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 7%
........

🟪“ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมเบี้ยประกันภัยเบ็ดเตล็ด ณ ปี 2018”
........
1⃣ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 16%
2⃣ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 10%
3⃣ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 9%
4⃣ บริษัท เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) : 7%
5⃣ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 6%
........

🟪“ส่วนแบ่งทางการตลาดรวมของเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ณ ปี 2018”
........
1⃣ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 25%
2⃣ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 7%
3⃣ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) : 6%
4⃣ บริษัท ประกันคุ้มภัย จํากัด (มหาชน) : 6%
5⃣ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) : 5%
........

✅เบี้ยประกันภัยรับตรงซึ่งเติบโตสูงที่สุดในปี 2022 คือสัญญาประกันภัยการเดินทาง ท่องเที่ยว เติบโตสูงถึงกว่า 200% เลยทีเดียว ในทางกลับกันประกันสุขภาพกลับลดต่ำลงกว่า 25% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
111.png
......................................................

📣กล่าวโดยสรุปแบบคร่าวๆ อุตสาหกรรมการประกันชีวิตและประกันภัยในประเทศไทย ณ ปี 2022 มีมูลค่ารวมประมาณ 880,000 ล้านบาท สัดส่วนประกันชีวิตและประกันภัยอยู่ที่ 70% : 30% มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิต 23 ราย และประกันภัย 58 ราย จากทั้งหมดมีบริษัทที่จดทะเบียนให้นักลงทุนสามารถซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นไทยเป็นจำนวน 19 บริษัท
........

หากเราลองมาวิเคราะห์เฉพาะบริษัทประกันที่น่าจะมีความแข็งแกร่งเพียงพอ มีความสามารถในการแข่งขันและอยู่รอดต่อไปได้ในอนาคต โดยพิจารณาจากการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการได้ งบการเงินในอดีต และการครองส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทย จะมีบริษัทที่น่าสนใจลงทุนอยู่ประมาณ 6 – 7 บริษัท เนื่องจากหลายบริษัทที่ดูดี ดูน่าสนใจมากๆนั้นส่วนใหญ่จะจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นบริษัทนอกตลาด ทั้งนี้เราสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน ไม่ได้ยากเย็นเกินไปสำหรับยุคสมัยปัจจุบัน แต่วันนี้เรามามุ่งเน้นกันเฉพาะตลาดหุ้นไทยก่อน
........

🔺“บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) : [TIPH]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 20,000 ล้านบาท
🔺“บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) : [BKI]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 33,000 ล้านบาท
🔺“บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) : [MTI]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 6,500 ล้านบาท
🔺“บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) : [AYUD]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 14,000 ล้านบาท
🔺“บริษัท ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) : [TGH]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 13,000 ล้านบาท
🔺“บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) : [SMK]” ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนฟื้นฟูกิจการ ผลกระทบจากประกัน Covid-19
🔺“บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) : [TLI]” มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดประมาณ 130,000 ล้านบาท
........

ส่วนบริษัทที่ไม่ได้กล่าวถึงก็คือบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ บริษัทนอกตลาด และบริษัทที่ไม่ได้มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทยครับ ไม่ได้หมายความว่าเป็นบริษัทที่ไม่ดี เพียงแค่เป็นการคัดกรองตามเงื่อนไขดังที่กล่าวมาเท่านั้น
......................................................

⭕สุดท้ายบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลภาพรวมของอุตสาหกรรมประกันชีวิตและประกันภัยในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีเจตนาในการแนะนำ โน้มน้าว ให้เกิดการลงทุน หรือเชิญชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินใดๆทั้งสิ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ จากบุคคลอื่น การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้ความรู้และความเข้าใจ เพื่อกำหนดเส้นทางการลงทุนของตนเอง
......................................................

ผมมี ‘Bias’ นะครับ อาจเป็นเพราะชอบโครงสร้างทางธุรกิจนี้เป็นพิเศษ แถมยังได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ด้านมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจประกันมากพอสมควร ไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งใดๆ ที่จะสามารถให้คำแนะนำที่ดีได้ เอาเป็นว่าเลือกเอง รักเอง ช้ำเอง นะครับ ฮ่าๆ ธุรกิจการเงินค่อนข้างซับซ้อน และเข้าใจยากสำหรับมือใหม่ ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ 😊
Try to be : Full Time Investor, Reader, Writer, Learner & Cultural observer.
......................................
I have a passion for keeping things simple.
......................................
https://www.facebook.com/Introverted.investor
โพสต์โพสต์