สรุปหนังสือ "กุญแจอ่านงบการเงิน" สำหรับนักลงทุนหุ้น [PART2]

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Introverted investor
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 117
ผู้ติดตาม: 270

สรุปหนังสือ "กุญแจอ่านงบการเงิน" สำหรับนักลงทุนหุ้น [PART2]

โพสต์ที่ 1

โพสต์

noname2.png

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาต่อกันจากโพสต์ที่แล้ว ยังยืดยาวเหมือนเดิม ไม่พูดพร่ำทำเพลง มาเริ่มกันเลย 🙂 คุณผู้อ่านท่านใดยังไม่ได้อ่าน PART 1 สามารถรับชมได้ทาง link นี้ครับ
...
https://web.facebook.com/photo/?fbid=32 ... 935993179
...............................................

3⃣ งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)
...
แสดงถึงการได้มาและใช้ไปของเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (เงินลงทุนระยะสั้นสภาพคล่องสูง) ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการ และกระแสเงินสดที่ไหลเวียนในกิจการ แบ่งเป็น 3 กิจกรรม
🟩 กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) / CFO
กิจกรรมหลักที่ทำให้เกิดรายได้/ค่าใช้จ่ายของกิจการ ผลจากรายการที่ใช้คำนวณกำไรขาดทุน สะท้อนถึงเงินสดที่แท้จริง กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง (จะไม่บันทึกกำไรขาดทุนพิเศษ/ดอกเบี้ย/ภาษี และการตั้งสำรองต่างๆ) คือการแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีให้เป็นเกณฑ์เงินสด รับจริง จ่ายจริง ในช่วงเวลานั้นๆ
🔹 บวกกลับ : ค่าเสื่อมราคา / ค่าตัดจำหน่าย / ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ / ดอกเบี้ย / ตั้งสำรองหนี้สูญ / ภาษี (เพราะไม่ได้จ่ายเงินสดออกไปจริง)
🔹 หนี้สูญ/หนี้สงสัยจะสูญ : หากเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าไม่ได้จะถูกตั้งสำรองหนี้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
🔹 หักออก : กำไรจากการขายสินทรัพย์ / กลับรายการหนี้สูญ / กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (เพราะยังไม่ได้รับเงินสดจริง)
🔹 กำไรจากการขายที่ดิน : สามารถบันทึกลงในงบกำไรขาดทุนได้ ซึ่งจะทำให้กำไรในงวดนั้นมากกว่าปกติ เวลาวิเคราะห์งบการเงินต้องหักรายการส่วนนี้ออกด้วย เพราะไม่ได้มาจากการดำเนินงาน
🔹 กระแสเงินสดเข้า (รับ) : ขายสินค้า/บริการ รายได้ค่าธรรมเนียม/ค่านายหน้า รับจากลูกค้า/ลูกหนี้
🔹 กระแสเงินสดออก (จ่าย) : ซื้อสินค้า/บริการ เงินเดือนพนักงาน เจ้าหนี้การค้า
🔹 วิธีการดูกำไร/ขาดทุนพิเศษ : ดูบรรทัดต่อจากค่าเสื่อมราคา จะลงรายละเอียดไว้ เวลาดูงบกำไรขาดทุนแล้วอยากรู้ว่ามีรายการพิเศษเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนให้ดูส่วนนี้ ทำให้เห็นภาพจริงของกิจการ
🔹 ควรมีค่าเป็นบวก แสดงถึงกิจการมีรายได้และได้รับเป็นเงินสด (เงินสดจริงๆที่ได้มาจากการดำเนินงานเท่านั้น)
🔹 หากมีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นทั้งงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ(กำไรทางบัญชี) และกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรเงินสด) ถือว่าดี
🔹 กำไรสุทธิ และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดถือว่าดี
🔹 หากบวกในระดับมากกว่า 1,500 ล้านบาทขึ้นไปถือว่ากิจการมั่นคงมาก และถ้ามีค่าใกล้เคียงกำไรสุทธิยิ่งดี
🔹 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานควรมีตัวเลขใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ
...............................................
🟩กิจกรรมลงทุน (Investing Activities) / CFI
การซื้อ/ขายสินทรัพย์ระยะยาว และเงินลงทุนอื่นที่ไม่กระทบการดำเนินงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรต่างๆที่จะก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต
🔹 กระแสเงินสดเข้า (รับ): ขายที่ดิน/อาคาร/อุปกรณ์ เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืม
🔹 กระแสเงินสดออก (จ่าย) : ซื้อที่ดิน/อาคาร/อุปกรณ์ เงินลงทุนระยะยาว/ตราสารทางการเงิน/เงินฝากประจำ เงินให้กู้ยืม
🔹 ลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เพื่อขยายกำลังการผลิต ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น แต่เมื่อบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรมากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ ค่าเสื่อมราคา (ค่าใช้จ่าย)
🔹 การวิเคราะห์ว่าเงินที่ไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ นั้นมากกว่าปกติหรือไม่ ให้ลองเปรียบเทียบกับค่าเสื่อมราคา หากเป็นการจ่ายออกไปในจำนวนพอๆกับค่าเสื่อมราคา แสดงว่าเป็นการซ่อมแซมของเดิมส่วนที่เสื่อมลงเพื่อให้ใช้งานได้ต่อเนื่อง ลองตรวจสอบดูว่าปกติในแต่ละปีมีค่าเสื่อมราคาเท่าไร
🔹 หากมากกว่าปกติ แสดงว่าเป็นการลงทุนซื้อของใหม่เพื่อขยายกิจการ เป็นสิ่งที่ดีถ้าบริษัทเห็นช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น กำไรก็มีโอกาสเติบโต
🔹 ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ หากเพิ่มมากขึ้น ค่าเสื่อมราคาก็จะเพิ่มตาม บริษัทต้องสร้างรายได้เพิ่มเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
🔹 เงินสดที่ได้รับจากการขายที่ดินและสินทรัพย์ต่างๆจะถูกหักออกจากกิจกรรมดำเนินงาน และมาแสดงในกิจกรรมลงทุน
🔹 ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ตราสารทางการเงิน เงินฝากประจำ คือการพักเงิน เพื่อรับดอกผลที่สูงขึ้น ไม่ได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
🔹 ควรมีค่าเป็นลบ เพราะกิจการต้องลงทุนอยู่เสมอ เพื่อดำเนินงาน ขยายกิจการ อย่างน้อยก็ต้องลงทุนเพื่อซ่อมแซมของเดิมที่เสื่อมลง
🔹 ต้องพิจารณาว่าการลงทุนนั้นๆสอดคล้องกับธุรกิจหลักหรือไม่
🔹 หากมีค่าเป็นบวกแสดงว่ามีการขายสินทรัพย์แล้วได้เงินเข้ามาในบริษัท
🔹 ในรายการนี้จะมีทั้งที่เป็นบวก (รับเงิน) และลบ (จ่ายเงิน) หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้ดูในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
🔹 เงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ควรมากกว่าค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เดิม บริษัทจะมีแนวโน้มเติบโต
...............................................
🟩กิจกรรมการจัดหา (Financing Activities) / CFF
การเปลี่ยนแปลงรายการในส่วนของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) และการกู้ยืม
🔹 กระแสเงินสดเข้า (รับ) : การเพิ่มทุน/จำหน่ายหุ้นทุน ออกหุ้นกู้ เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมระยะยาว
🔹 กระแสเงินสดออก (จ่าย) : จ่ายปันผล ไถ่ถอนหุ้นกู้ ชำระหนี้เงินกู้ยืม
🔹 หากมีค่าเป็นบวก แสดงว่ามีการกู้ยืมเงิน ต้องพิจารณาว่ากิจการนำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
🔹 การจัดหาเงิน / เพื่อมาใช้ในกิจการเพิ่มเติม มี 2 ช่องทางหลัก
🔹 กู้ยืมเงิน / เป็นส่วนที่มาจากหนี้สิน หากมีการกู้มากเกินไป กิจการจะมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สินเพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น
🔹 เพิ่มทุน / เป็นส่วนที่มาจากผู้ถือหุ้น เป็นเงินที่ไม่มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ข้อเสียคือ Dilution Effect เพิ่มทุนไปแล้วกิจการต้องทำกำไรให้ได้มากขึ้นเพื่อชดเชย (รวมถึงการแปลงสิทธิ์วอร์แรนต์) หากหุ้นเพิ่มทุนมีราคามากกว่าราคาพาร์ เฉพาะส่วนที่เกินจะถูกบันทึกเป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ
🔹 รายการกู้ยืมเงิน / ถ้ากิจการมีการกู้เงินหรือชำระหนี้คืน จะแสดงไว้ในส่วนนี้
🔹 การจ่ายปันผล
🔹 เป็นเงินสด / จะทำให้สินทรัพย์ (เงินสด) ลดลง และส่วนของผู้ถือหุ้น (กำไรสะสม) ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นมักจะลดลงหลังวัน XD บริษัทจะจ่ายปันผลได้ต่อเมื่อมีกำไรสะสมเท่านั้น
🔹 เป็นหุ้นปันผล / ข้อดีคือบริษัทสามารถเก็บเงินสดไว้เพื่อนำไปขยายกิจการ หุ้นเติบโตสูงมักเลือกวิธีการนี้ แต่เมื่อจำนวนหุ้นงอกเพิ่มขึ้นก็ทำให้กำไรสะสมลดลงเช่นกัน เกิด Dilution Effect
🔹 ควรมีค่าเป็นลบ / จะแสดงว่าบริษัทมีการจ่ายปันผล และชำระคืนหนี้เงินกู้
...............................................
⭕ CFO + CFI + CFF = Net Cash Flow
🔸 เมื่อรวมกระแสเงินสดทั้ง 3 กิจกรรม จะได้เป็นกระแสเงินสดสุทธิในปีนั้น
🔸 กิจการที่มีกำไรมาก ไม่ได้แปลว่ามีเงินสดมากเสมอไป ต้องตรวจสอบเสมอ สภาพคล่องของกระแสเงินสดจำเป็นและสำคัญที่สุด
......
✴งบกระแสเงินสด สามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการ แสดงความสามารถในการจ่ายเงิน การทำกำไร ชำระหนี้ กู้ยืม จ่ายปันผล เพิ่มทุน การบริหารสภาพคล่อง ทราบว่ากิจการนำเงินสำหรับลงทุนไปใช้ทำอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินว่าเป็นส่วนของหนี้สินหรือส่วนของผู้ถือหุ้น เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยงของกิจการในอนาคต
...............................................
4⃣ ส่วนประกอบอื่นของงบการเงิน
🟢งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
การเปลี่ยนแปลงระหว่างงวดของ ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม ส่วนของผู้ถือหุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เพิ่มทุน ถอนทุน กำไร ขาดทุน จ่ายเงินปันผล เป็นการแจกแจงรายละเอียดความเป็นมาเป็นไป ความเคลื่อนไหวส่วนของผู้ถือหุ้น
🔲การเคลื่อนไหวของทุน
🔸 เพิ่มขึ้น : กำไร เพิ่มทุน
🔸 ลดลง : ขาดทุน จ่ายปันผล
🔲หมายเหตุประกอบงบการเงิน
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชี / การรับรู้รายได้ การตัดค่าเสื่อมราคา การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ค้างชำระ
🔸 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ค้างชำระ
🔸 ตรวจดูอายุลูกหนี้ที่ค้างชำระนานเกิน 6 เดือน เพราะเสี่ยงเป็นหนี้สูญ และลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 12 เดือนมักถูกตั้งสำรอง ตรวจสอบดูว่าได้ตั้งสำรองครบแล้วหรือยัง
🔸 ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
🔸 ตรวจดูการเพิ่มขึ้นของรายการนี้ หากมีการขยายกิจการจะต้องมีการลงทุนเพิ่ม บางครั้งไม่ได้แสดงอยู่ในงบกระแสเงินสด
🔸 ธุรกรรมการเงินรายการระหว่างกัน
🔸 ตรวจสอบความเสี่ยงการทุจริตฉ้อโกงในเส้นทางการเงินระหว่างบริษัทแม่ และบริษัทย่อย ดูความสมเหตุสมผล
....................
🟢รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี
เพื่อความมั่นใจในความถูกต้องของงบการเงิน ในการเริ่มต้นอ่านงบการเงินให้เริ่มอ่านตรงส่วนนี้ก่อน!!
🔔 ไม่มีเงื่อนไข : งบการเงินถูกต้องน่าเชื่อถือ ไม่พบสิ่งผิดปกติ เขียนในเชิงบวก ย่อหน้าถัดมาหากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่เน้น ต้องไปอ่านเพิ่ม (ลงทุนได้)
🔔 มีเงื่อนไข : ให้ระวัง เพราะมีบางส่วนไม่ถูกต้อง หรือมีเงื่อนไขเพิ่มเติมบางรายการ มีข้อสงสัย จะมีย่อหน้าที่อธิบายข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เน้น สงสัย ต้องอ่านทำความเข้าใจให้ดีก่อนเริ่มวิเคราะห์งบการเงิน (ลงทุนได้แต่ต้องระมัดระวัง)
🔔 ไม่แสดงความเห็น : หลีกเลี่ยง ผู้สอบบัญชีไม่สามารถรับรองความถูกต้องได้ (หลีกเลี่ยง)
...............................................
ขอให้มีความสุขกับการลงทุน ในทุกๆวันนะครับ🙂
......
🔗ขอขอบคุณส่วนหนึ่งจากหนังสือ "กุญแจอ่านงบการเงิน" กุญแจไขรหัสลับวิธีการอ่านงบการเงินที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นให้สามารถจับจุดวิธีการอ่านงบการเงินทีละขั้นตอน
.
ผู้เขียน : เอิญ สุริยะฉาย (Mr.LikeStock)
Try to be : Full Time Investor, Reader, Writer, Learner & Cultural observer.
......................................
I have a passion for keeping things simple.
......................................
https://www.facebook.com/Introverted.investor
โพสต์โพสต์